Saturday, 4 May 2024
กระทรวงอุตสาหกรรม

‘สุริยะ’ เผยดัชนี MPI 11 เดือน โต 1.55% คาดปี 2566 จะขยายตัวช่วง 2.5 – 3.5%

กระทรวงอุตสาหกรรม เผย MPI เดือน พ.ย. ปี 65 ขยายตัวจากเดือนก่อน 1.55% รับเศรษฐกิจในประเทศฟื้น คาดปีหน้าดัชนีภาคอุตฯ ขยายตัวต่อเนื่องหลังเศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวขยายตัว 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 อยู่ที่ 95.11 ขยายตัวร้อยละ 1.55 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 62.63 สำหรับภาพรวมดัชนี MPI สะสม 11 เดือนของปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 98.68 ขยายตัวร้อยละ 1.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิต สะสม 11 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.02 เป็นผลจากการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กลับเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาข้อจำกัดในการผลิตได้คลี่คลายลง อาทิ ค่าระวางเรือมีทิศทางลดลง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้คาดว่าดัชนีอุตสาหกรรมจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2566

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัวร้อยละ 5.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงใหญ่ของโรงงานในอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก ซึ่งจะกลับมาผลิตเป็นปกติในเดือนธันวาคม 2565 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน 2565 ยังคงเป็นยานยนต์ จากรถบรรทุกปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และรถยนต์นั่งขนาดกลาง ที่สามารถผลิตได้ต่อเนื่อง น้ำมันปาล์มจากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ หลังจากราคาปาล์มน้ำมันในปีก่อนปรับสูงขึ้น จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงต้นและลูกปาล์ม ส่งผลให้ปีนี้ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมากกว่าปีก่อน และเครื่องปรับอากาศที่กลับมาเร่งผลิตได้อีกครั้ง ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2565 คาดว่าดัชนี MPI จะขยายตัวจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลาย ทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องสามารถกลับมาเร่ง การผลิตได้อีกครั้ง รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม อุปสงค์สินค้าในตลาดโลกเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิด ด้วยตลาดส่งออกสำคัญมีแนวโน้มจะเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอยจากภาวะเงินเฟ้อและราคาพลังงาน

ทั้งนี้ สศอ. ได้คาดการณ์ดัชนี MPI ปี 2566 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 – 3.5 จากแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังและติดตาม ได้แก่ ราคาพลังงานที่ทรงตัวในระดับสูง การปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนกระทบต่อภาคการส่งออก และทิศทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย 

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

'สุริยะ' ชี้!! 6 เมกะเทรนด์เปลี่ยนโลกธุรกิจในอีก 3 ปี ผู้ประกอบการต้องปรับ 'สินค้า-บริการ' ให้สอดคล้อง

กระทรวงอุตสาหกรรม หรือ MIND แนะผู้ประกอบการปรับตัวรับ 6 เมกะเทรนด์เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ พร้อมพุ่งเป้าปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด 'Industry 4.0' ที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูง มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้พร้อมเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และยั่งยืน

(29 ธ.ค. 65) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ MIND เผย 6 เมกะเทรนด์ที่จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้า ผู้ประกอบการควรพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งแบ่งเป็น 3 แนวทาง...

โดยแนวทางแรก คือ 2 เทรนด์ต้องเร่งทำ ได้แก่...

1) Digitalization หรือระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ทุกธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันกับการค้าในรูปแบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เนื่องจากตลาดสินค้าและบริการในปัจจุบันกลายเป็น 'ตลาดของผู้บริโภค' ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สินค้ามีการหมุนเวียนเร็วขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว นำสินค้าเข้าสู่หน้าร้านออนไลน์ให้ไว ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความรวดเร็ว 

และ 2) Globalization หรือโลกาภิวัตน์ ที่เชื่อมโยงทุกสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน เป็นโอกาสและความท้าทายที่ทุกธุรกิจต้องเผชิญ ผู้ประกอบการควรศึกษาการเข้าสู่ตลาดแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสเติบโตและขยายตลาดให้กว้างขึ้น พร้อมบริหารจัดการความเสี่ยง ควบคุมปัจจัยการผลิต
อย่างระมัดระวัง 

แนวทางที่ 2 คือ 2 เทรนด์ต้องเร่งเสริม ได้แก่...

1) New Technologies ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งทางด้านเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัล และเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งความรวดเร็ว แม่นยำ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการประหยัดงบประมาณได้มากขึ้น 

และ 2) Collaborative Business Models การผสานความร่วมมือทางธุรกิจ เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ การร่วมมือและช่วยเหลือพึ่งพากันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงและผลกำไรของกิจการระหว่างกันเป็นกลุ่มก้อนซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกภาคส่วน

‘สุริยะ’ นำทีมเยือนญี่ปุ่น ดึงนักลงทุน หนุนพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่าง 2 ประเทศ

‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รมว.อุตสาหกรรม นำทีมเยือนญี่ปุ่น หารือร่วมรัฐมนตรี METI ย้ำความสัมพันธ์แน่นแฟ้นเชิงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) อย่างรอบด้าน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (MIND) เปิดเผยถึงผลการหารือกับนายนิชิมุระ ยาสึโทชิ (Mr.Nishimura Yasutosh) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ระหว่างเยือนประเทศญี่ปุ่น วันที่ 11-15 มกราคม 2565 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่าง 2 ประเทศ ว่า บรรยากาศการหารือเป็นไปด้วยดี ตอกย้ำความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยและญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจร่วมกันมาอย่างยาวนานในหลายด้าน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่นักลงทุนญี่ปุ่นได้มาลงทุนในประเทศไทย 

โดยการเข้าหารือกับ METI ยังเป็นการครบรอบ1 ปี ที่ทั้ง 2 กระทรวงฯ คือ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) และกระทรวงอุตสาหกรรม (MIND) ได้ร่วมกันปรับแนวคิดจาก 'Connected Industries' มาสู่ความร่วมมือ Co-Creation for Innovative and Sustainable Growth ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เมื่อปลายปี 2565 โดยเฉพาะประเด็นการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะบุคลากร ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือ Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0 ขับเคลื่อน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 

1. แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 2. การขับเคลื่อนนโยบาย BCG ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิดการร่วมสร้าง (Co-Creation)

นายสุริยะ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังหารือในประเด็นการลงทุนภายใต้กรอบ AJIF (Asia-Japan Investing for the Future) มุ่งเน้นความเชื่อมโยงระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศต่าง ๆ จึงเน้นย้ำถึงความพร้อมของประเทศไทย ในการต้อนรับนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ที่กำกับดูแลโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล รวมทั้งสิ้น 67 แห่ง ใน 16 จังหวัด พื้นที่รวมเกือบ 2 แสนไร่ (ประมาณ 320 ตารางกิโลเมตร) เป็นนิคมฯที่ทันสมัย และมีเงินลงทุนสะสมรวมกว่า 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

‘สุริยะ’ เผย ‘ไดกิ้น’ พร้อมใช้ไทยเป็น ‘ฮับ’ อาเซียน โชว์ศักยภาพนิคมฯ ‘สมาร์ท ปาร์ค’ รองรับทุกการลงทุน

'สุริยะ' แย้มข่าวดี 'ไดกิ้น' ยืนยันใช้ไทยเป็น 'ฮับ' ในอาเซียน โชว์ความพร้อมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม รองรับนักลงทุนญี่ปุ่นทุกรูปแบบ ล็อคเป้า 'นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) - ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 2)'

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม 2566 มีโอกาสได้พบกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Daikin Co.,Ltd. ที่นครโอซาก้า เพื่อหารือถึงการพัฒนาบริษัท Daikin ในประเทศไทย ซึ่งบริษัท Daikin ระบุว่า มีแผนที่จะพัฒนาบริษัท Daikin ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทยเป็นฮับของอาเซียน ที่คาดว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานแรงงานไทยได้ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคน โดยบริษัท Daikin ปีนี้ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่ทำกำไรสูงสุดเป็นอันดับสองของญี่ปุ่น รองจากบริษัทโซนี่อีกด้วย

“นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทาง บริษัท Daikin เล็งเห็นศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นฮับของอาเซียน โดยเฉพาะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ.ซึ่งปัจจุบัน บริษัท Daikin ประเทศไทย มีโรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) 4 โรงงาน และที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง) อีก 1 โรงงานอีกด้วย” นายสุริยะ กล่าว

นอกจากนี้ ได้หารือกับนายมัตสึโอะ ทาเคฮิโกะ (Mr. Matsuo Takehiko) อธิบดีกรมนโยบายการค้า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Director General, Trade Policy Bureau Ministry of Economy, Trade and Industry : METI ) ถึงประเด็นการสนับสนุนโครงการไฮโดรเจนในนิคมอุตสาหกรรม Smart Park  โดย กนอ.ได้ย้ำถึงการเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมพลังงานสะอาด และแผนการนำพลังงานไฮโดรเจนเข้ามาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถรับส่งแรงงาน/พนักงานภายในนิคมอุตสาหกรรม การใช้พลังงานไฮโดรเจนเป็นพลังงานทดแทนด้านพลังงาน การสร้างสังคมปราศจากคาร์บอนโดยการประยุกต์ใช้พลังงานไฮโดรเจนขยายผลเทคโนโลยีรถยนต์พลังงาน รวมถึงการตั้งโรงงานเพื่อผลิตไฮโดรเจน 

ทั้งนี้ กนอ.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOC) การศึกษาเพื่อพัฒนา “นิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Industrial Estate) ในพื้นที่มาบตาพุด” ร่วมกับหน่วยงานภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ 7 ราย เพื่อสนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน และการกักเก็บพลังงานหมุนเวียน เพื่อพยายามลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล  ขณะเดียวกัน องค์การส่งเสริมการต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization : JETRO) ได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาไฮโดรเจน โดยมีเป้าหมายในการขอทุนจากองค์กรพัฒนาพลังงานและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมใหม่ (New Energy and Industrial Technology Development Organization : NEDO) ในการพัฒนาและลงทุนไฮโดรเจนในนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ด้วย

‘สุริยะ’ ห่วงค่าไฟแพง กระทบต้นทุนผลิต แนะผู้ประกอบการใช้พลังงานทดแทนช่วย

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยทิศทางราคาพลังงานทรงตัวระดับสูง กดดันต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรม แนะผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุนการผลิต

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์ทิศทางราคาพลังงานที่ทรงตัวในระดับสูงส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น และเป็นการเร่งอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยลดลง โดยคาดว่าสถานการณ์ราคาพลังงานจะมีผลกระทบในระยะยาว ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ทำการศึกษาผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม พบว่าการขึ้นค่าไฟฟ้าที่อัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.88 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า รองลงมา ได้แก่ ซีเมนต์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เครื่องแต่งกาย และเซรามิค

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สศอ. ได้ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าต่อภาคอุตสาหกรรม โดยใช้ข้อมูลจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จากการศึกษาพบว่าการขึ้นค่าไฟฟ้าที่อัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.41 ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.47 ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.96 ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.14 ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.98 และต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเซรามิคเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.49 

‘สุริยะ’ สั่ง กรมโรงงานฯ เร่งอบรมเจ้าหน้าที่ กทม.  ก่อนถ่ายโอนภารกิจกำกับดูแลโรงงานจำพวกที่ 1 และ 2

‘สุริยะ’ สั่ง กรมโรงงานฯ เร่งเครื่องอบรมเจ้าหน้าที่ กทม. กำกับโรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 เน้นทำงานได้จริง สอดคล้อง 'MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน'

(23 ม.ค.66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกำชับกรมโรงงานอุตสาหกรรม อบรมเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต เน้นการลงมือปฏิบัติงานจริง โดยบูรณาการกับหลักทฤษฎีที่ได้เรียนรู้ เพื่อให้การถ่ายโอนภารกิจกำกับโรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 ให้ กทม. เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามที่กฎหมายกำหนด ลดความขัดแย้ง สร้างความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้ประชาชน สอดคล้อง ‘MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน’

นายสุริยะ เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) รับนโยบายรัฐบาลในการถ่ายโอนภารกิจกำกับดูแลโรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมถึงกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ อปท. และ กทม. ควบคุมดูแลกิจการโรงงานจำพวกที่ 1 และ 2  และรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2  ตลอดจนตรวจสอบกรณีโรงงานก่อเหตุเดือดร้อนในพื้นที่ โดยได้แต่งตั้งข้าราชการของ อปท. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน 

ทั้งนี้ ได้กำชับให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ให้การสนับสนุนด้านคำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของ อปท. และ กทม. ให้ปฏิบัติภารกิจได้ถูกต้อง เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามกฎหมาย สามารถบริการด้านการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 ได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้ประชาชน มุ่งสู่การปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมวิถีใหม่ สอดคล้องแนวทางนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2566 ‘MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน’

‘สุริยะ’ หนุนภาคอุตฯ ใช้ ‘ปูนไฮดรอลิก’ ทำคอนกรีต แทนปูนปอร์ตแลนด์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กระทรวงอุตสาหกรรม หนุนภาคอุตสาหกรรมใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชี้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า เร่ง สมอ. แก้ไขมาตรฐานคอนกรีตและปูนทั้ง 71 มาตรฐาน ให้สามารถใช้ปูนซีเมนต์ ไฮดรอลิกเป็นส่วนผสม เพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก

(2 ก.พ. 66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไข เพื่อบรรเทาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดแก่ประชากรโลก กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลภาคอุตสาหกรรม จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน โดยมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งรัดดำเนินการกำหนดมาตรฐานเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว 

สุริยะ กล่าวว่า "ผมได้รับรายงานว่า สมอ. ได้มีการกำหนดและแก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตและปูนซีเมนต์ โดยให้สามารถใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่าง ๆ แทนการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ซึ่งการผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยมีการคิดค้นพัฒนาการผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ซึ่งมีส่วนประกอบของปูนเม็ดในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณทั้งหมด โดยใช้วัสดุอื่นมาผสมทดแทน เช่น หินปูน กากถลุง และปอซโซลาน เป็นต้น"

สุริยะ กล่าวอีกว่า จากองค์ประกอบที่มีอัตราส่วนของปูนเม็ดน้อยลง จึงทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตน้อยลงตามไปด้วย โดยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกนั้นมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการนำไปใช้งานที่ดีเทียบเท่ากับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หากประมาณการเบื้องต้นในเชิงของการผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก 1 ตัน จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 0.05 ตัน (CO2) เมื่อเทียบกับการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในปริมาณที่เท่ากัน ดังนั้น การนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมาใช้งานทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้

ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม สมอ. ได้กำหนดและแก้ไขมาตรฐานให้สามารถใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่างๆ แล้วจำนวน 71 มาตรฐาน ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อน ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ จึงขอเชิญชวนให้ภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมาใช้งานทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนร่วมกัน

กระตุ้นเศรษฐกิจ!! ‘ครม.’ เคาะราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 64/65 ที่ 1,106.40 บาท/ตัน คาด สัปดาห์หน้า ยื่นราคาขั้นต้น ปี 65/66 เข้าที่ประชุม ครม.

(8 มี.ค. 66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 เห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 2564/65 ราคาเฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราที่ 1,106.40 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อย เท่ากับ 66.38 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย 474.17 บาทต่อตันอ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/65 ที่ราคา 1,070 บาท ซึ่งการที่ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น 36.40 บาท/ตันอ้อย จะสามารถเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่ง

นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 2564/65 แล้ว หลังจากนี้ สอน.จะดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
 

‘สุริยะ’ นัดประชุมข้าราชการระดับสูง 17 มี.ค.  โหมสะพัด!! อำลาตำแหน่ง ซบ ‘เพื่อไทย’

(14 มี.ค.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเย็นวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งปลัดกระทรวง อธิบดีกรมต่าง ๆ รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง และผู้อำนวยการสถาบันเครือข่ายทั้งหมดของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับแจ้งทางไลน์ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ขอนัดประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม เวลา 10.00-12.00 น. ของวันที่ 17 มีนาคม 2566

'สุริยะ' สั่ง 'กรมโรงงาน' จับตา 8 กลุ่มอุตฯ เกิดเพลิงไหม้บ่อย เข้มผู้ประกอบกิจการเฝ้าระวัง หวั่น!! อัคคีภัยช่วงฤดูร้อน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมห่วงใยโรงงาน เน้น 8 กลุ่มอุตสาหกรรม เพลิงไหม้สูงปีที่ผ่านมา ให้เฝ้าระวังอัคคีภัยช่วงฤดูร้อน สั่งการกรมโรงงานอุตสาหกรรมเตรียมรับมือ โดยกำหนดข้อปฏิบัติในการป้องกันอัคคีภัยในโรงงานช่วงฤดูแล้ง แบบตรวจสอบและประเมินตนเองด้านอัคคีภัย (Self Checklist) พร้อมขอความร่วมมือผู้ประกอบกิจการ เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์

(15 มี.ค.66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่อากาศแห้ง ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย จึงขอให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานทุกประเภท โดยเฉพาะใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งมีสถิติเกิดเหตุเพลิงไหม้สูงในปีที่ผ่านมา ระมัดระวัง ตรวจสอบ ตรวจตราอุปกรณ์เครื่องจักรให้พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ที่สามารถติดไฟได้ง่าย ต้องมีความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ หากเกิดเหตุขึ้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอุตสาหกรรมและประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เตรียมมาตรการรองรับการเกิดอัคคีภัย โดยการจัดทำข้อปฏิบัติในการป้องกันอัคคีภัยในโรงงานช่วงฤดูแล้ง และแบบตรวจสอบและประเมินตนเองด้านอัคคีภัย (Self Checklist) รวมถึงรณรงค์การป้องกันอัคคีภัยในช่วงฤดูร้อน ให้โรงงานได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของโรงงาน ลดผลกระทบต่อชุมชน ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ตามนโยบาย MIND ที่เน้นสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของอุตสาหกรรม

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการจากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงถึง 40 - 43 องศาเซลเซียส เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัย โดยจากข้อมูลสถิติอุบัติเหตุปี 2565 พบว่าอุบัติเหตุในโรงงานใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม กว่า 76% เป็นการเกิดเพลิงไหม้ 81 ครั้ง มากที่สุดในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม และเกิดมากสุดในอุตสาหกรรมพลาสติก โฟม กระดาษ ยาง 26% อุตสาหกรรมสิ่งทอและเส้นใย 14% อุตสาหกรรมโกดังและคลังสินค้า 14% อุตสาหกรรมอาหาร 8% อุตสาหกรรมกากหรือขยะ 6% อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ 6% อุตสาหกรรมสี ไวไฟ 4% และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี สารเคมี 3% ตามลำดับ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top