Sunday, 5 May 2024
กระทรวงอุตสาหกรรม

‘สุริยะ’ หนุนอุตฯ เครื่องมือแพทย์ ชี้ 9 เดือนโต 22% ดันไทยสู่ Medical Hub

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์สมัยใหม่ หลังพบช่วง 9 เดือน การส่งออกเครื่องมือแพทย์ โตร้อยละ 22.2 คาดทั้งปี แตะร้อยละ 29.6 ชี้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี IoT, 5G, AI รวมถึงนวัตกรรมสู่สังคมดิจิทัล และการแพร่ระบาด COVID-19 เป็นปัจจัยหนุน Digital Healthcare โตเร็ว พร้อมรองรับ Smart Hospital ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องมือแพทย์ในอาเซียน ในปี 2570

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และบริการการแพทย์ครบวงจรเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (S-Curve) ที่รัฐบาลมุ่งเน้นในการเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์มีอัตราการส่งออกเติบโตร้อยละ 22.2 หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 มูลค่า 24,988 ล้านบาท 

และทั้งปี 2564 คาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะมีการเติบโตจากการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 29.6 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 205,664 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้เข้ามามีบทบาทในวงการแพทย์ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการที่สังคมไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์แบบ หรือ Complete Aged Society ในปี 2564 จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ความต้องการสินค้าและเครื่องมือแพทย์เพิ่มสูงขึ้น

ดังนั้น รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม จึงเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และสุขภาพของไทยมีความโดดเด่น มีศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลก และยังเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางด้านสุขภาพของประชาชน ตอบโจทย์ Digital Healthcare ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เร่งดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเร็ว ๆ นี้

สมอ. เตือนอย่าลืมติด QR code ย้ำต้องแสดงคู่เครื่องหมาย มอก. ให้เช็กได้ 

สมอ. ย้ำเตือนผู้รับใบอนุญาต มอก. กว่า 10,000 ราย ต้องแสดง QR code รายละเอียดสินค้าคู่กับเครื่องหมาย มอก. ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ พร้อมทั้งร้องเรียนในกรณีสงสัยในคุณภาพของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หลังจากมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ฝ่าฝืนปรับ 3 แสนบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศเป็นนโยบายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการและประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ตามนโยบาย Ease of Doing Business ของรัฐบาล โดยเฉพาะภารกิจด้านการอนุญาตที่ต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันประชาชนก็สามารถตรวจสอบได้ เช่น รายละเอียดข้อมูลของสินค้าที่ได้มาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ประกาศให้ผู้รับอนุญาตทุกรายต้องแสดง QR Code คู่กับเครื่องหมายมาตรฐานที่สินค้าด้วย ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 

และกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2563 ที่กำหนดให้ผู้รับอนุญาตทุกราย ต้องแสดงรายละเอียดข้อมูลในใบอนุญาต และข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ได้รับใบอนุญาตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ คู่กับเครื่องหมายมาตรฐานที่สินค้า หรือสิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อด้วยก็ได้ โดยให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบและร้องเรียนได้ว่า สินค้าดี มีคุณภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลเพื่อคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้า

ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า สมอ. มีผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต ทั้งที่เป็นผู้ทำในประเทศ และผู้นำเข้ากว่า 10,000 ราย จำนวนใบอนุญาตกว่า 80,000 ฉบับ ครอบคลุมกว่า 800 มาตรฐาน ซึ่งตาม พ.ร.บ.มาตรฐานฯ และกฎกระทรวงฉบับใหม่ กำหนดให้ผู้รับอนุญาตทุกรายจะต้องแสดงรายละเอียดข้อมูลในใบอนุญาต และข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ได้รับใบอนุญาตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ คู่กับเครื่องหมายมาตรฐานที่สินค้าด้วย สมอ. จึงได้จัดทำเป็น QR Code เพื่อให้ผู้รับอนุญาตนำไปแสดงบนสินค้าที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถตรวจสอบรายละเอียดของสินค้าได้ง่าย ๆ เพียงสแกน QR Code ก่อนตัดสินใจซื้อ รวมทั้งเป็นข้อมูลในการตรวจสอบหรือร้องเรียนในกรณีที่สินค้าไม่เป็นไปตามมาตรฐานตามที่ระบุไว้

“สมอ. ขอย้ำเตือนผู้รับใบอนุญาตทุกราย รีบดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย หาก สมอ. ตรวจพบจะตักเตือนก่อนในครั้งแรก และหากยังพบการกระทำผิดซ้ำ จะดำเนินการตามกฎหมายทันที ซึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3 แสนบาท และต้องถูกพักใช้ใบอนุญาตอีกด้วย โดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.tisi.go.th และ www.facebook.com/tisiofficial หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองตรวจการมาตรฐาน 1 โทร. 02-430-6822, กองตรวจการมาตรฐาน 2 โทร. 02-430-6823 และกองตรวจการมาตรฐาน 3 โทร. 02-430-6824” เลขาธิการ สมอ. กล่าวทิ้งท้าย

กนอ. ขานรับนโยบาย ‘สุริยะ’ ดันโรงงานมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว คิกออฟ ‘นิคมฯ หนองแค โมเดล’ ที่แรก

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ชู ‘นิคมฯหนองแค โมเดล’ พัฒนาตามแนวทางส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล เน้นพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ภายใต้การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยเพื่อชุมชน เตรียมปรับเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ปี 2565 พร้อมผลักดันสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียวให้เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้! 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งส่งเสริมให้ การประกอบกิจการต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล หรือ BCG Model ที่เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติไปพร้อมกัน ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลเกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน

“กระทรวงฯมุ่งมั่นผลักดันโรงงานสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) โดยตั้งเป้าทุกแห่งภายในปี 2568 แบ่งเป็น เป้าหมาย 60% ในปี 2565 เป้าหมาย 80% ในปี 2566 เป้าหมาย 90% ในปี 2567 และเป็น 100% ในปี 2568 ซึ่งเป็นไปตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียว 2564 - 2580 เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ส่งเสริมและกำกับดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการ” นายสุริยะ กล่าว

‘รมต.กระทรวงอุตสาหกรรม’ เปิดโรงงานแบตไฟฟ้าใหญ่สุดในภูมิภาคอาเซียน “อมิตา”!! พร้อมก้าวสู่โลกพลังงานสะอาดแบบครบวงจร

วันนี้ (12 ธ.ค.2564) ที่ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพิธี เปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ทันสมัย มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคอาเซียน โดยมี นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.กระทรวงแรงงาน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายกวิน ทังสุพานิช เลขานุการรัฐมนตรีพลังงาน รองศาสตราจารย์.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ฉะเชิงเทรา พร้อม ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในพิธี

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทพลังงานบริสุทธิ์จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียน-พลังงานไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่า โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงาน จะเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และการนำพลังงานหมุนเวียนที่มีเสถียรภาพเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้ออกแบบให้โรงงานแห่งนี้ใช้ระบบที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการผลิตได้ง่ายขึ้น เพื่อตอบโจทย์เทคโนโลยีในอนาคต อีกทั้งโรงงานยังเน้นแนวคิดที่ใช้พลังงานในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการรีไซเคิลในกระบวนการผลิตให้มากที่สุด โดยได้รับความร่วมมือจาก บริษัท อมิตา เทคโนโลยี อิงค์ (ไต้หวัน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในไต้หวันมากว่า 20 ปี

ทั้งนี้ กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ได้เข้าร่วมทุน ถ่ายทอดประสบการณ์และเทคโนโลยีในการสร้างโรงงานจนเป็นผลสำเร็จ ผ่านบริษัทย่อยภายใต้ ชื่อ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่มากขึ้นในระดับ World Class เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ชนิด Pouch Cell ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และวัสดุที่มีความปลอดภัยสูงในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ให้สามารถจุพลังงานได้สูง มีน้ำหนักเบา มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นอันตราย เช่น กรดหรือตะกั่ว และใช้เทคนิคพิเศษในการผลิตเซลล์ เมื่อหมดอายุการใช้งาน นำไปรีไซเคิล ด้วยการคัดแยกแผ่นขั้วบวกและขั้วลบได้ง่าย เพราะเป็นแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้แบตเตอรี่ของอมิตายังออกแบบให้เข้ากันกับเทคโนโลยีแบบ Ultra-Fast Charge ที่รองรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ภายในเวลาเพียง 15 นาที พร้อมรองรับการชาร์จได้สูงถึง 3,000 รอบ ที่จะเป็นจุดเด่นสำหรับรองรับการใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจัยเรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการใช้งานอย่างคุ้มค่าที่สุด”

แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้กับยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า และเรือโดยสารไฟฟ้า เพื่อช่วยในการลดการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ที่ผลิตได้ในระยะเริ่มต้น ขนาด 1 กิกะวัตต์ หรือ 1,000,000 กิโลวัตต์ สามารถนำมาใช้ในรถโดยสารไฟฟ้า ขนาด 11 เมตร ซึ่งขับเคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 240 กิโลเมตร ได้ถึง 4,160 คันต่อปี และการใช้รถโดยสารไฟฟ้า จำนวน 4,160 คัน สามารถช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission Reduction) ประมาณ 91,709 ตันต่อปี และลดปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลได้กว่า 97,066,667 ลิตรต่อปี เมื่อเทียบกับรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันดีเซล

‘สุริยะ’ เผยอุตฯ ยานยนต์ไทยเริ่มฟื้น คาดปี’65จะผลิตรถยนต์ได้ 1.7 ล้านคัน

สุริยะ ปลื้มอุตฯ ยานยนต์ไทยมีสัญญาณการเติบโตดี หลังเปิดประเทศ ผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ทุ่มทุนอัปเกรดโรงงาน เตรียมผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ปีหน้า สนองนโยบายส่งเสริมอุตฯ ยานยนต์สมัยใหม่ คาดปี’ 65 การผลิตจะอยู่ที่ 1.7 ล้านคัน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วิกฤตโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกทำให้การผลิตชะลอตัว นักลงทุนจึงมีการทบทวนแผนการลงทุน และปรับแผนการผลิตในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีค่ายรถยนต์หลายบริษัท หันมาให้ความสนใจเพิ่มการลงทุนในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนมีความเชื่อมั่นศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศไทย และนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-Curve) ของประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย ยกระดับการเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนสมัยใหม่ 

‘ก.อุตฯ’ เปิดโรงงานผลิตแบตฯ ใหญ่สุดในอาเซียน เตรียมดันไทยสู่สังคมพลังงานสะอาดยั่งยืน

ไม่นานมานี้ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพิธี เปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ทันสมัย มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคอาเซียน โดยมี นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.กระทรวงแรงงาน, นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี, นายกวิน ทังสุพานิช เลขานุการรัฐมนตรีพลังงาน, รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา, นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ฉะเชิงเทรา พร้อมผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในพิธี

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทพลังงานบริสุทธิ์จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียน-พลังงานไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่า โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงาน จะเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และการนำพลังงานหมุนเวียนที่มีเสถียรภาพเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้ออกแบบให้โรงงานแห่งนี้ใช้ระบบที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการผลิตได้ง่ายขึ้น เพื่อตอบโจทย์เทคโนโลยีในอนาคต อีกทั้งโรงงานยังเน้นแนวคิดที่ใช้พลังงานในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการรีไซเคิลในกระบวนการผลิตให้มากที่สุด โดยได้รับความร่วมมือจาก บริษัท อมิตา เทคโนโลยี อิงค์ (ไต้หวัน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในไต้หวันมากว่า 20 ปี

ทั้งนี้ กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ได้เข้าร่วมทุน ถ่ายทอดประสบการณ์และเทคโนโลยีในการสร้างโรงงานจนเป็นผลสำเร็จ ผ่านบริษัทย่อยภายใต้ ชื่อ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่มากขึ้นในระดับ World Class เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ชนิด Pouch Cell ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และวัสดุที่มีความปลอดภัยสูงในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ให้สามารถจุพลังงานได้สูง มีน้ำหนักเบา มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นอันตราย เช่น กรดหรือตะกั่ว และใช้เทคนิคพิเศษในการผลิตเซลล์ เมื่อหมดอายุการใช้งาน นำไปรีไซเคิล ด้วยการคัดแยกแผ่นขั้วบวกและขั้วลบได้ง่าย เพราะเป็นแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้แบตเตอรี่ของอมิตายังออกแบบให้เข้ากันกับเทคโนโลยีแบบ Ultra-Fast Charge ที่รองรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ภายในเวลาเพียง 15 นาที พร้อมรองรับการชาร์จได้สูงถึง 3,000 รอบ ที่จะเป็นจุดเด่นสำหรับรองรับการใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจัยเรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการใช้งานอย่างคุ้มค่าที่สุด”

อุตสาหกรรมไทย 65 ลุ้นขยายตัว 2.5-3.5% รับแรงหนุนตลาดส่งออกโตต่อเนื่อง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำหรับภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดว่าจะขยายตัว 5.2% ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2563 ที่ MPI หดตัว 9.3% ขณะที่คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2565 อัตราการใช้กำลังการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ประมาณการ MPI ขยายตัว 4.0-5.0% ส่วน GDP ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 2.5-3.5% เป็นผลจากตลาดส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึงตลาดในประเทศเริ่มฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ

ทั้งนี้ ยังต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ประกอบกับต้องพิจารณาปัจจัยราคาพลังงานและการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาในปี 2564 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสอดคล้องกับสถานการณ์การผลิต ต่อยอดอุตสาหกรรมกลุ่มเดิมที่มีศักยภาพ และการเพิ่มเติมอุตสาหกรรมอนาคตเสมอ

ขณะที่ในปี 2565 ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญต่อการยกระดับพัฒนาและคำนึงถึงสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะนำเสนอนโยบายสำคัญต่อคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมศักยภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเกิดการบูรณาการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น... 

‘สุริยะ’ ปลื้ม!! ‘แผนคุมโควิด-ฉีดวัคซีน’ อุตฯ เข้ม!! ดันดัชนีผลผลิตฯ 64 ทะลุเป้า พ่วงยอดส่งออกสูงลิ่ว

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนธันวาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 6.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2564 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.93 สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยคาดว่าเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 23.56 มีมูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ การนำเข้าเพื่อการผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้น ตลาดภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการเปิดประเทศและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัวใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้าสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ทั้งปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 5.93 สูงกว่าเป้าหมายที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประมาณการซึ่งจากเดิมคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0-5.0 นอกจากนี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมปี 2565 คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสัญญาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยาน) เดือนธันวาคมที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 23.56 ซึ่งมีมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 19,572.3 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) เดือนธันวาคม 2564 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดเตรียมการผลิตต่อไป

“สถานการณ์เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังประเทศคู่ค้ามีมาตรการรับมือทางด้านเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการกระจายวัคซีนที่ดีขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นกลไกสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่าในปี 2565 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้น รวมถึงตลาดภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและได้รับการสนับสนุนผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ” นายสุริยะ กล่าว 

กระทรวงอุตฯ X ดีแทค เชื่อมภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกระดับสู่ ‘หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์’

กระทรวงอุตสาหกรรมจับมือกับดีแทคเน็ตทำกิน นำดิจิทัลเชื่อมต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นยกระดับ “หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” จำนวน 152 หมู่บ้าน จาก 76 จังหวัด พร้อมฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีใหม่ ตั้งเป้ารายได้กว่า 250 ล้านบาท

นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า “เราตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อนำชุมชนร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรมได้วางแผนและตั้งเป้าหมายในการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) ที่มีศักยภาพจำนวน 152 หมู่บ้าน เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและการบริโภคเศรษฐกิจระดับชุมชน (Local Economy) โดยการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวสร้างและพัฒนาไกด์ชุมชน (Local Guide) สร้างและพัฒนานักขายชุมชน ถอดรหัสผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นเชิงอัตลักษณ์สู่สากล และเตรียมความพร้อมพื้นที่สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยว แต่ทั้งหมดจะทำได้ยั่งยืนก็ต่อเมื่อทุกชุมชนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการเชื่อมต่อมาสร้างคุณค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ 

กระทรวงจึงมีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับ “ดีแทค เน็ตทำกิน” ที่จะร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงฯ ช่วยเสริมศักยภาพการทำการตลาดออนไลน์ การสร้างตัวตนดิจิทัลเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในชุมชน โดยคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 250 ล้านบาท (เป็นรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์ รายได้จากการขายของที่ระลึก รายได้จากการท่องเที่ยวเช่น ค่าที่พัก อาหาร อื่นๆ) สอดคล้องกับเทรนด์การท่องเที่ยวใหม่  อันจะเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ”

ปัจจุบันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เกิดผลกระทบไปถึงการชะงักงันของเศรษฐกิจการค้า การทำงานผลิต อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โรงแรม ร้านอาหาร รวมทั้งส่งผลโดยตรงกับภาคเศรษฐกิจและบางกลุ่มประชากร ยังน่าเป็นห่วงว่าอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับรายได้จากการท่องเที่ยวของหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่มีรายได้ลดลงมากกว่าร้อยละ 70 และหากมีการถูกกระทบอีกระลอกจะเป็นความเสี่ยงต่อเนื่องที่ภาครัฐควรยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อที่จะสร้างรายได้ที่มีเสถียรภาพและกระจายรายได้อย่างสมดุล สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “เราภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้จับมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมสร้างมูลค่าเศรษฐกิจภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) ดีแทคเห็นในศักยภาพที่โดดเด่นของภูมิปัญญาชุมชนที่ตกผลึกถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จนมีอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และมีเรื่องราวที่น่าสนใจ เมื่อนำภูมิปัญญาของชุมชนผสานกับดิจิทัลจะติดปีกให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมา ดีแทคมองเห็นช่องว่างทางดิจิทัลในการปรับตัวของคนไทย จึงได้ดำเนินโครงการดีแทค เน็ตทำกิน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การสร้างทักษะการทำธุรกิจยุคดิจิทัลให้กับคนตัวเล็กที่สุดในสังคม ที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการดีแทค เน็ตทำกินมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 40-50% และเพื่อสร้างโอกาสหาเลี้ยงชีพใหม่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ทีมดีแทคเน็ตทำกินจะเริ่มฝึกทักษะให้กับ 20 หมู่บ้านนำร่องจาก 152 หมู่บ้าน ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมนี้ พร้อมขยายผลลงพื้นที่ให้ครอบคลุมทั้ง 152 หมู่บ้านภายใน 1-2 ปีนับจากนี้”

‘ก.อุตฯ’ ผนึก ‘พลังงาน’ ปั้นขยะเป็นไฟฟ้าใช้ในภาคอุตฯ พร้อมหนุนตั้งโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ ลดการฝังกลบ

กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ กระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือการบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมเพื่อผลิตไฟฟ้า (Waste-to-Energy) และการส่งเสริมการผลิตการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แสดงความยินดีในความร่วมมือในครั้งนี้ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงพลังงานลงนามในบันทึกความเข้าใจการบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมเพื่อผลิตไฟฟ้า (Waste-to-Energy) และการส่งเสริมการผลิตการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีระยะเวลาความร่วมมือ 4 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ และได้พลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ เพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ สร้างมูลค่าจากขยะอุตสาหกรรม สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เน้นในการพัฒนา 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) หรือโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มีความต้องการให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดในทุกกระบวนการ และสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industry) และนโยบายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด รวมทั้งการส่งเสริมการผลิต การใช้พลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนทางพลังงานของประเทศ

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้วางแผนการดำเนินงาน (Roadmap) กำหนดเป้าประสงค์ (Achievement Target) และเป้าความสำเร็จย่อยเป็นระยะ ๆ (Milestone) โดยมีคณะกรรมการร่วมฯ ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065 โดยได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลธุรกิจอุตสาหกรรมรวมถึงวัตถุอันตรายด้านการผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ตามกรอบของกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินงาน

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า กรอ. จะเร่งดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจ โดยสนับสนุนข้อมูลพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการตั้งโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับขยะอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น ปริมาณ ประเภท และคุณสมบัติของขยะอุตสาหกรรม รวมทั้งข้อมูลผู้ประกอบกิจการขยะอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อสนับสนุนให้ขยะอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบการจัดการที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้สำรวจปริมาณขยะอุตสาหกรรมที่มีค่าความร้อนที่เหมาะสมสำหรับนำมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า เช่น เศษพลาสติก เมื่อทราบปริมาณและพื้นที่เป้าหมายแล้ว จะนำมาวางแนวทางความเป็นไปได้ในการตั้งโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรมต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top