Friday, 29 March 2024
กระทรวงพาณิชย์

‘จุรินทร์’ ยันให้เกียรตินายกฯ และทุกพรรคร่วมรัฐบาล เชื่อนายกฯ คลี่คลายปัญหาให้เรียบร้อย

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี, รมว.พาณิชย์ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงการที่นายกรัฐมนตรีมอบให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล 4 กรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เคยอยู่ในการดูแลของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตรมช.เกษตรฯ ว่า ตนไม่ขอพูดอะไรถึงเรื่องนี้เพิ่มเติม เพราะทุกอย่างเหมือนกับที่เคยพูดไปในเรื่องความเห็น อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้รับทราบเรื่องนี้แล้ว ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะออกมาด้วยดี

เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีจะเปลี่ยนให้ทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวมาอยู่ในการดูแลของ รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่? นายจุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องถามนายกรัฐมนตรี แต่อย่างน้อยที่สุด ตนได้สื่อสารถึงนายกฯ แล้ว และท่านได้รับทราบ ทั้งนี้ส่วนตัวตนเชื่อว่าทุกอย่างจะออกมาด้วยดี พรรคประชาธิปัตย์ให้เกียรตินายกรัฐมนตรีในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล และให้เกียรติทุกพรรคที่ร่วมรัฐบาล เพราะเราเข้าใจดีถึงวัฒนธรรมของพรรคการเมืองในการทำงานร่วมกัน ในรูปแบบรัฐสภาและรัฐบาลผสม  ดังนั้นให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้คลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น  ส่วนจะเป็นการออกคำสั่งใหม่หรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ ขอให้ไปถามนายกรัฐมนตรี เพราะตนได้สื่อสารให้ท่านทราบแล้ว

 

เร่งแก้ราคาหมูแพง พาณิชย์เตรียมเปิดจุดขายราคาถูก 400 แห่งทั่วปท.

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงปัญหาราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจนทำให้ราคาเนื้อหมูปลายทางมีราคาสูงขึ้นอย่างมากในขณะนี้ ว่า ปัญหามาจากผลกระทบน้ำท่วมในหลายพื้นที่ที่เลี้ยงสุกรในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา รวมทั้งต้นทุนของผู้เลี้ยงสุกรมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะวัตถุดิบ เช่น ข้าวโพคเลี้ยงสัตว์ที่มีราคาสูงขึ้นเท่าตัว ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงหมูขยับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงได้สั่งการให้กรมการค้าภายในไปเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนแล้ว

ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบกรมการค้าภายใน อยู่ระหว่างหารือร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมมือกันจัดทำโครงการจำหน่ายเนื้อหมูราคาพิเศษขึ้นมาใน 400 จุดทั่วประเทศ ในราคาต่ำกว่าท้องตลาด คาดว่า จะดำเนินการได้ในเร็ว ๆ นี้

'พาณิชย์' ปลื้ม ผัก-ผลไม้ไทยครองตลาดจีน มันสำปะหลังแชมป์ผัก-ทุเรียนแชมป์ผลไม้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยผักและผลไม้ไทย ครองส่วนแบ่งตลาดในจีนเป็นอันดับหนึ่ง มีสัดส่วนสูงถึง 45% ส่วนยอดส่งออก 11 เดือนปี 64 มีมูลค่า 6,013.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 81% เกินดุลการค้า 5,180.99 ล้านเหรียญสหรัฐ ระบุ “มันสำปะหลัง” นำโด่งส่งออกผัก “ทุเรียน” อันดับหนึ่งส่งออกผลไม้

27 ธ.ค. 64 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามสถิติการค้าสินค้าผักและผลไม้ไทยของไทยในตลาดจีน พบว่า ในช่วง 10 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-ต.ค.) จีนมีการนำเข้าผักและผลไม้จากไทยสูงเป็นอันดับหนึ่ง โดยไทยครองส่วนแบ่งตลาดผักและผลไม้สูงถึง 45% ของการนำเข้าทั้งหมดของจีน ส่วนชิลีเป็นอันดับ 2 มีส่วนแบ่ง 14.01% และเวียดนามอันดับ 3 มีส่วนแบ่ง 6.45% แคนาดา อันดับ 4 มีส่วนแบ่ง 4.14% และนิวซีแลนด์อันดับ 5 มีส่วนแบ่ง 3.75%

ทั้งนี้ ส่วนแบ่งตลาดผักและผลไม้ของไทยในจีนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับสถิติการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น โดยตัวเลขล่าสุด 11 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-พ.ย.) ทำได้มูลค่า 6,013.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 81% และนำเข้าจากจีน มูลค่า 832.04 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.2% เกินดุลการค้า 5,180.99 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 105%

โดยในการส่งออกไปจีน เป็นการส่งออกผัก มูลค่า 1,199.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 96% โดยมันสำปะหลังส่งออกอันดับหนึ่ง มูลค่า 1,145.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 90% รองลงมา คือ พริกสดและแช่เย็น มูลค่า 36.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 157,369% และถั่วเขียวและถั่วทองแห้ง มูลค่า 6.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 131% และผลไม้ มูลค่า 4,813.32 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 78% โดยทุเรียนสด ส่งออกอันดับหนึ่ง มูลค่า 3,054.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 105% รองลงมา คือ มังคุดสด มูลค่า 506.00 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 39% และลำไยสด มูลค่า 472.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 64% ส่วนการนำเข้าจากจีน มีสินค้าผัก เช่น เห็ดแห้ง แคร์รอตสด แช่เย็น กะหล่ำปลีสด แช่เย็น และผลไม้เมืองหนาว เช่น แอปเปิล องุ่นสด ลูกแพร์ และส้ม เป็นต้น

4 แนวทางจัดการ ‘หมูแพง’

4 แนวทางจัดการ ‘หมูแพง’

- ห้ามส่งออกหมูชั่วคราว 3 เดือน

- สั่งเช็กสต็อกหมูทั่วประเทศ ป้องกันการกักตุน

‘พาณิชย์’ เผยส่งออกปี 64 โต 17.1% มองปี 65 คาดขยายตัวเพิ่มอีก 3-4%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกของประเทศในเดือนธ.ค. 64 ว่า การส่งออกของไทยในเดือนธ.ค. ยังเป็นบวกอยู่ที่ 24.2% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่ากว่า 24,930 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ทำให้ตัวเลขการส่งออกทั้งปีเติบโตถึง 17.1% โดยเป็นยอดส่งออกทั้งสิ้น 271,173 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินบาท 8.5 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเดือนธ.ค. ถือว่า เป็นไปตามทิศทางเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้การส่งออกของโลกดีขึ้นตาม แม้ปัญหาโควิดในเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนจะแพร่ระบาดแต่ไม่น่าจะรุนแรงไปมากกว่านี้ ทำให้ภาครัฐและเอกชนยังคงเดินหน้าร่วมกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ รวมถึงเร่งเจาะตลาดในหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งตลาดเก่าและตลาดใหม่ โดยเฉพาะในตลาดรัสเซียในกลุ่มซีไอเอส เอเชียใต้ อาเซียน ตะวันออกกลาง แอฟริกา เกาหลีใต้ กลุ่มซีแอลเอ็มอี สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป 

'การส่งออก' ปี 64 พุ่งทะลุเป้า โต 17% รับบทขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤตโรคระบาด

ต้องยอมรับว่า ช่วง 2 ปี ของการระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

แต่ทว่าในภาวะวิกฤต ยังมีพระเอกเข้ามาช่วยประคับประคองและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ นั่นคือ การส่งออก ที่เติบโตได้ทะลุเป้าอย่างสวยงาม เมื่อจบปี 2564

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ที่เปิดเผยล่าสุด ระบุว่า การส่งออกของไทย ณ เดือนธันวาคม 2564 ขยายตัวได้ 24.2% โดยมีมูลค่า 24,930 ล้านเหรียญสหรัฐ

ขณะที่การส่งออกทั้งปี 2564 ขยายตัวถึง 17.14% สูงสุดในรอบ 11 ปี ทะลุเป้าหมาย คิดเป็นมูลค่ารวม 2.71 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

จากเดิมที่ตั้งเป้าว่าจะเติบโตจากปีก่อนหน้า ราว 15-16% แต่กลับเติบโตได้ถึง 17.14%

แน่นอนว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ

ขณะเดียวกัน ส่วนหนึ่งก็ต้องยกเครดิตให้ ‘จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์’ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะแม่ทัพดูแลด้านการค้าขายของประเทศ ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการปรับบทบาท ‘ทูตพาณิชย์’ ให้เป็น ‘เซลส์แมน’ พร้อมกับเป็นนักการตลาด เพื่อหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มยอดส่งออกให้กับประเทศ ที่เห็นผลมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563

‘จุรินทร์’ กาง 7 แผนสอดรับ Saudi Vision 2030 เน้นขยายการค้า บุกตลาด ‘ฮาลาล’ เต็มพิกัด

หลังจากที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีคำสั่งให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ วิเคราะห์สถานการณ์การค้าของไทยกับซาอุดีอาระเบีย หากมีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน สืบเนื่องจากการเยือนของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2565 ตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบียนั้น

ล่าสุด นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงข้อวิเคราะห์และรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมือง เจดดาห์ ระบุว่า เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบีย พระองค์เป็นมกุฎราชกุมารและเป็นว่าที่กษัตริย์แห่งซาอุดีอาระเบียองค์ต่อไป ทั้งยังเป็นผู้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ Saudi Vision 2030 ที่ใช้ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศซาอุดีอาระเบีย การที่นายกรัฐมนตรีประเทศไทยมีโอกาสเข้าเฝ้าหารือกับเจ้าชายนั้น ทำให้เป็นโอกาสที่ซาอุดีอาระเบียจะฟื้นความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความคล่องตัวในหลายด้าน เช่น การผ่อนปรนการเข้าออกประเทศ การผ่อนปรนมาตรการทางการค้า การสั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น การร่วมลงทุนและการนำแรงงานฝีมือจากประเทศไทยเข้าไปทำงานในซาอุดีอาระเบีย
ส่วนแผนงานและกิจกรรม ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยส่งเสริมการค้าระหว่างไทย วางแผนตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของนายจุรินทร์ กับประเทศซาอุดีอาระเบีย ได้แก่... 

1.) การจัดกิจกรรมสัมมนาให้ความรู้ด้านการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคเปิดกว้างทางวัฒนธรรมของซาอุฯ ภายใต้ยุทธศาสตร์ Saudi Vision 2030 
2.) การจัดคณะผู้แทนการค้านักธุรกิจทั้งจากไทยไปซาอุฯ และจากซาอุฯ มาเยือนประเทศไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายระหว่างกัน 
3.) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในซาอุฯ เช่น ข้าว อาหารฮาลาล และผลไม้ เป็นต้น เพื่อให้สินค้าได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น 
4.) การเชิญผู้ประกอบการไทยร่วมงานแสดงสินค้าในซาอุฯ เช่น งานแสดงสินค้าอาหารและสินค้าฮาลาล Saudi Food Expo 
5.) การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าอาหารสินค้าฮาลาล ผ่านช่องทางออนไลน์
6.) การเชิญผู้นำจากซาอุฯ ร่วมเจรจาการค้าผ่านออนไลน์ Online business Matching 
7.) การเชิญผู้นำจากประเทศซาอุฯ ร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติของไทย ทั้งรูปแบบปกติ หรือรูปแบบไฮบริด และรูปแบบออนไลน์ 

โดย 7 แผนงานนี้ จะมีขึ้นในปี 2565 ขอให้ติดตามความเคลื่อนไหวจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และอยากแนะนำให้ติดตามข่าวสารโดยผ่านทุกช่องทางของกระทรวง ผู้ประกอบการที่สนใจจะได้โอกาสและไม่พลาดตลาดสำคัญอีกแห่งหนึ่ง

'พาณิชย์' ยัน! ภาพรวมราคาสินค้ายังทรงตัว

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังประชุมคณะทำงานกำกับติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าว่า ภาพรวมราคาสินค้าส่วนใหญ่ทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเนื้อหมู ปรับลดลงชัดเจน ราคาหมูเนื้อแดง เฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่กิโลกรัมละ 175 บาท และในห้างต่างๆ เหลือเพียงกิโลกรัมละ 164-170 บาท จากสัปดาห์ที่แล้วเฉลี่ยถึงกิโลกรัมละ 187 บาท เพราะผู้บริโภคเปลี่ยนไปบริโภคเนื้อไก่แทน ขณะที่เนื้อไก่ ยังอยู่ในการกำกับดูแล ราคาน่องติดสะโพก มาห้างเฉลี่ยกิโลกรัมละ 65 บาท ส่วนในตลาดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70-75 บาท

ส่วนราคาผักแตกต่างกันไปแต่ละจังหวัด เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกเฉพาะพื้นที่ ทำให้บางพื้นที่ต้องมีต้นทุนขนส่ง แต่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นไปกว่านี้แล้ว เช่นเดียวกับราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวด เริ่มเห็นมีการปรับลดลงเล็กน้อย ในห้างค้าปลีก เหลือขวดละ 61-62 บาท ร้านสะดวกซื้อ ขวดละ 64-65 บาท โดยราคาน่าจะทรงตัวไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์ จากสตอกเก่า ก่อนจะทยอยปรับลดลง เพราะผลปาล์มเริ่มออกสู่ตลาด จะมีการเก็บเกี่ยวมากขึ้นในเดือนมีนาคม ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มน่าจะลดลงชัดเจนในเดือนมีนาคมนี้ รวมไปถึงสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ราคายังทรงตัว โดยภาคใต้จะสูงกว่าภาคอื่นเล็กน้อยจากการขนส่งที่ไกลกว่า

นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์มีชุดสายตรวจเฉพาะกิจในส่วนกลาง และมีทีมพาณิชย์จังหวัดออกตรวจสอบทั่วประเทศ เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า และกำกับดูแลให้ปิดป้ายแสดงราคาให้ชัดเจน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคตัดสินใจก่อนซื้อ ส่วนความคืบหน้าการตรวจสอบห้องเย็นสินค้าปศุสัตว์ ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ หรือ กกร. ที่ให้ห้องเย็นรายใหญ่ ที่มีสตอกเกิน 5,000 กิโลกรัม ให้แจ้งปริมาณ และราคาจำหน่ายทุกสัปดาห์นั้น กระทรวงพาณิชย์ ได้ตรวจสอบห้องเย็นทั้งหมด ไม่เฉพาะรายใหญ่เท่านั้นตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น จำนวนทั้งหมด 616 ราย พบปริมาณเนื้อหมูในสตอก รวมกันกว่า 19 ล้าน 5 แสนกิโลกรัม 

CPF ประเดิมส่งไก่ล็อตแรกไปซาอุฯ ช่วยหนุนส่งออกไก่ปีนี้ เพิ่มเป็น 9.8 แสนตัน

กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับซีพีเอฟ ได้ฤกษ์ปล่อยขบวนตู้คอนเทนเนอร์ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่เที่ยวแรกของไทยไปยังซาอุดีอาระเบีย หลังฟื้นความสัมพันธ์ 2 ประเทศ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ร่วมกันทำพิธีปล่อยตู้คอนเทนเนอร์ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่แปรรูป ออกจากโรงงานแปรรูปไก่เนื้อ มีนบุรี เพื่อเตรียมส่งออกไปยังประเทศซาอุดีอาระเบีย

โดยนายจุรินทร์ระบุว่า หลังเสียโอกาสมานาน 18 ปี ครั้งนี้นับเป็นผลิตภัณฑ์ไก่จากประเทศไทย ล็อตแรก ตั้งแต่ปี 2547 โดยรัฐบาลซาอุฯ ได้อนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของไทยจากโรงงาน 11 แห่ง ที่ผ่านการตรวจรับรองแล้ว ทำให้ในปี 2565 ตั้งเป้ายอดการส่งออกไก่ เพิ่มเป็น 9.8 แสนตัน มูลค่ารวม 1.1 แสนล้านบาท เฉพาะประเทศซาอุฯ ประมาณ 6 หมื่นตัน จากที่ปี 2564 สามารถส่งออกได้ 9 แสนตัน โดยมั่นใจว่าคุณภาพไก่ไทย สามารถแข่งขันในตลาดโลกอย่างไม่มีปัญหา ขณะเดียวกันยังได้สั่งให้มีการควบคุมราคาขายไก่ในประเทศให้เป็นไปตามต้นทุน ป้องกันการขึ้นราคาจนประชาชนเดือดร้อน

‘จุรินทร์’ เบรก!! ขึ้นราคามาม่า ยัน!! ยังไม่ได้อนุญาตให้ปรับ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังไม่มีการอนุมัติให้ปรับราคาขึ้นตามที่เป็นข่าว โดยกระบวนการบริหารจัดการทางการตลาดภายในของธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เช่น การกำหนดสัดส่วนการขายส่ง-ปลีก ภายในของกระบวนการทางธุรกิจ สำหรับราคาที่ผู้บริโภคหรือราคาขายปลีกยังไม่มีการอนุญาตให้ปรับขึ้นแต่อย่างใด

สำหรับกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีกระแสข่าวว่า ซัพพลายเออร์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเด้นท์ฟู้ด จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา มาม่า ได้ทยอยแจ้งการปรับขึ้นราคาสินค้าไปยังคู่ค้าต่าง ๆ หลังจากที่พยายามตรึงราคามาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top