Saturday, 4 May 2024
APEC2022

รู้ไหม? APEC 2022 จัดประชุมมาแล้ว ตั้งแต่ต้นปี!! | APEC Insight Part 4

การประชุม APEC 2022
การประชุมที่ว่าด้วยผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับ 21 เขตเศรษฐกิจ
หัวข้อการการพัฒนาอย่างยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
เรื่องราวการประชุมตลอดทั้งปี ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่ประเทศไทย

.

THE STATES TIMES ‘Y World’ ตอน APEC Insight ชวนมาไขข้อสงสัยกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป้าหมายกรุงเทพฯ กลไกสำคัญ ยกระดับคุณภาพชีวิต 2 พันล้านคน ใน 21 เขตเศรษฐกิจ

จากการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่ล้มเหลวในปี 2018 และ 2019 สู่การประชุมทางไกล ที่ผู้นำไม่มีโอกาสได้พบหน้าหารือ โอภาปราศรัย ทั้งระหว่างผู้นำและระหว่างผู้นำกับประชาคมนักธุรกิจของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ สู่การประชุมที่มีแรงกดดันสูงในปี 2022

ที่เกริ่นเช่นนี้เพราะ...ไม่ว่าใครจะได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการประชุม APEC ในปี 2022 ก็ต้องประสบกับแรงกดดันของการเป็นเจ้าภาพของการประชุมครั้งแรกที่ผู้นำจะได้มาเจอหน้ากันอีกครั้งทั้งนั้น ท่ามกลางภาวะวิกฤตทั้งจาก สงครามระหว่างรัสเซียกับพันธมิตร NATO ที่ปะทุขึ้นเป็นสงครามในยูเครน, ความพยายามของชาติมหาอำนาจในการยกระดับจากสงครามเศรษฐกิจ

อีกทั้งยังมี สงครามการค้าแบบเดิม ที่ออกมาตรการกีดกันทางการค้า ไปสู่การ Weaponized Economic Interdependency หรือการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า อาทิ บริการการเงิน, การธนาคาร, การโอนย้ายเงินระหว่างประเทศ, ระบบโลจิสติกส์, ระบบประกันภัย ฯลฯ มาเป็นเครื่องมือประหัตประหารซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจจนโลกเกิดทั้งวิกฤตอาหาร, วิกฤตพลังงาน และการดำเนินนโยบายที่ไร้ความรับผิดชอบของระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่สร้างขึ้นด้วยตนเองในอดีต จนนำไปสู่การดูดสภาพคล่อง ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ ที่ทำให้เงินทุนจำนวนมากไหลออกจากหลายเขตเศรษฐกิจ และนำไปสู่ความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน 

ยิ่งไปกว่านั่น การที่บางประเทศเลือกที่จะนำเอาประเด็นทางด้านการเมือง (หรือแม้แต่เหตุผลส่วนตัวด้านครอบครัว) เข้ามาเป็นข้ออ้างในการที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ของประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคน จาก 21 เขตเศรษฐกิจเหล่านี้ ก็อาจจะสร้างความหนักใจให้กับเจ้าภาพการประชุม APEC ได้ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม เราสามารถเชื่อมั่นใจ ‘ประเทศไทย’ ในฐานะประเทศ และเจ้าภาพการประชุมได้ครับ เพราะไทยเรามีความแข็งแกร่งในด้านการมีน้ำใจที่ดีงาม เปิดกว้าง และรักการให้บริการ Thailand Hospitality ซึ่งเหล่านี้ เป็นหนึ่งในหลักประกันได้ในระดับหนึ่งว่า ในฐานะประธานและเจ้าภาพ เราจะให้การต้อนรับผู้แทนในทุกระดับ และคณะทำงานทุกคนที่เข้ามาประชุมในประเทศไทย ตลอดทั้งปี 2022 ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดีที่สุด 

หากแต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นคือ ‘สารัตถะ’ และการประสานงานของเจ้าภาพอย่างประเทศไทยต้องการผลักดัน ยังคงต้องเกิดขึ้นได้ ท่ามกลางความแตกแยก แม้จะไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมของผู้นำจากทุกเขตเศรษฐกิจร่วมกันได้ก็ตาม แต่ประเทศไทยต้องประสานงาน ดำเนินการทั้งในทางปกติ และในทางลับ เพื่อให้ในที่สุด แม้จะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก็ตาม ประเทศไทยในฐานะประธานจะยังสามารถออกแถลงการณ์ของประธานในที่ประชุม ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกทั้ง 21 เขตได้ และ สารัตถะสำคัญ นั้นคือ ‘เป้าหมายกรุงเทพฯ’ Bangkok

เป้าหมายกรุงเทพฯ คือ การต่อยอดจากโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG ของประเทศไทยที่วางอยู่บนแนวคิดสำคัญคือ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ และความต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs 2030) ที่ประเทศไทยต้องการเชิญชวนให้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมกันสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Economies) 

เปิดตัว 5 ผู้นำใหม่ใน APEC 2022 ครั้งแรกบนเวทีที่ทั่วโลกเฝ้าจับตา

Highlight สำคัญของการประชุม APEC ในปี 2022 ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่การประชุมสุดยอดผู้นำของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการประชุมตลอดทั้งปีของหลากหลายคณะทำงานเพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อันจะส่งผลดีต่อประชากรมากกว่า 2 พันล้านคน ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี รวมทั้งการประชุมของภาคเอกชนที่จะเสนอแนะข้อเสนอต่อผู้นำในรูปแบบของ Track 2 และการสร้างความร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสทางการค้าและการลงทุนด้วยกันเองระหว่างภาคเอกชน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจไม่แพ้กันด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกมิติที่ถือเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจับตามองการประชุม APEC ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วง APEC Week เดือนพฤศจิกายน 2022 ในประเทศไทย นั่นก็คือ ‘การเปิดตัวผู้นำใหม่ของโลกหลายๆ คน ที่จะเดินทางมาประชุมสุดยอดผู้นำ APEC เป็นครั้งแรก’ 

โดยท่าทีของผู้นำใหม่เหล่านี้ในเวทีการประชุมหลัก การประชุมย่อย และการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชน จะเป็นอีกมิติที่ทั่วโลกจับตา โดยผู้นำใหม่เหล่านี้ได้แก่…

1. Anthony Albanese นายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งพึ่งจะเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา เขาเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคแรงงาน และเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในสมัยของ อดีตนายกรัฐมนตรี Kevin Rudd ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ออสเตรเลียนำพาประเทศออกจากความร่วมมือ Quadrilateral Security Dialogue (QSD) หรือ The Quad ซึ่งมีสหรัฐเป็นแกนนำ และเขายังต้องเข้ามาสะสางปัญหาความไม่พอใจของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย ที่ไม่พอใจอย่างยิ่งเมื่อ อดีตนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย Scott Morrison นำพาประเทศไปสู่การติดอาวุธนิวเคลียร์ภายใต้ความร่วมมือ AUKUS นโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะในมิติเศรษฐกิจ ที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องสัมพันธ์กับความมั่นคง จึงเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายจับตา


2. Gabriel Boric ประธานาธิบดีของประเทศชิลี ที่เข้ารับตำแหน่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเป็นประธานาธิบดีจากกลุ่มแนวคิดซ้ายจัดรายแรกและรายใหม่ของประเทศ ภายหลังจากที่ประเทศชิลีมีอดีตประธานาธิบดี 2 ท่าน คือ Michelle Bachelet (ปนวคิดกลาง-ซ้าย) และ Sebastián Piñera (แนวคิดอนุรักษ์นิยม) ที่หมุนเวียนผลัดกันขึ้นมาผูกขาดตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ปี 2006-2022 จนนำไปสู่การประท้วงทางการเมืองที่ใหญ่โตรุนแรงต่อเนื่องตลอดปี 2019-2022 เพื่อขับไล่ ปธน. Sebastián Piñera โดยคาดการณ์ว่าในการประท้วงต่อเนื่องนี้ มีผู้ออกมาร่วมชุมนุมมากกว่า 3.7 ล้านคน มีผู้เสียชีวิต 36 ราย บาดเจ็บเรือนหมื่น และถูกคุมขังกว่า 28,000 คน ชิลี คือตลาดที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OECD ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี แบบปรับค่าเสมอภาคของค่าเงิน (Per Capita GDP (PPP)) ที่สูงที่สุดในภูมิภาคอเมริกาใต้ เป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง 

3. John Lee หัวหน้าคณะผู้บริหารเขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนที่ Carrie Lam เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2022 แน่นอนว่า เขาคือผู้นำสูงสุดของฮ่องกงที่ขึ้นดำรงตำแหน่งหลังเหตุการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองที่รุนแรงต่อเนื่อง และเป็นผู้นำคนแรกภายหลังจากที่ฮ่องกงมีการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง รวมทั้งในการเลือกตั้งที่ชนะเลิศและได้รับการดำรงตำแหน่งจากคณะผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ยังมีเครื่องหมายคำถามมากมาย เพราะเขาคือตัวเลือกเพียงตัวเลือกเดียว เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดต้องผ่านการตรวจสอบประวัติและได้รับการรับรองจากรัฐบาลกลางที่กรุงปักกิ่งว่าเป็นผู้รักชาติ ดังนั้นชะตากรรมของพื้นที่ที่เคยเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกคือสิ่งที่ทุกคนจับตาดูจากการดำเนินนโยบายของเขา

4. Yoon Suk-yeol ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งพึ่งจะเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ 10 พฤษภาคม 2022 ท่ามกลางเสียงครหาที่ว่า การเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2022 คือการเลือกตั้งเพื่อเลือกตัวแทนที่ย่ำแย่น้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากตัวแทนดั้งเดิมที่เป็นที่คาดหมายและวางตัวของแต่ละพรรคการเมืองใหญ่ของเกาหลีในเวลานั้นต่างก็เผชิญหน้ากับวิบากต่างๆ จนไม่สามารถลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งด้วยกันทั้งสิ้น และผลการเลือกตั้งที่ออกมาก็ยังทำให้มีเครื่องหมายคำถามเช่นกัน เนื่องจาก Yoon Suk-yeol เอาชนะ Lee Jae-myung ด้วยสัดส่วนคะแนนเพียง 0.73% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ออกมาใช้สิทธิกัน 77.1% รวมทั้งคำถามอีกมากมายที่คนเกาหลีถามถึงในมิติภาวะผู้นำ ทั้งที่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ความไม่สงบในคาบสมุทรเกาหลี และความขัดแย้งระหว่างจีน และสหรัฐ เป็นประเด็นสำคัญที่คนเกาหลีห่วงกังวล

‘คามาลา แฮร์ริส’ จะเข้าร่วม APEC 2022 ในฐานะตัวแทนของประธานาธิบดีโจ ไบเดน

ทำเนียบขาวยืนยันแล้ว รองประธานาธิบดีสหรัฐ ‘คามาลา แฮร์ริส’ มาไทยร่วมเอเปกซัมมิต 18-19 พ.ย.นี้แทนปธน.โจ ไบเดน 

(29 ต.ค. 65) ‘คารีน ฌอง ปิแอร์’ โฆษกทำเนียบขาว แถลงยืนยันว่า รองประธานาธิบดีแฮร์ริส จะเป็นตัวแทนของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เดินทางมาที่กรุงเทพ เพื่อเข้าร่วมการประชุมกับผู้นำเอเปกในระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย. โดยการมีส่วนร่วมของรองประธานาธิบดีสหรัฐจะเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ รวมถึงพูดถึงเป้าหมายสำหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปกของสหรัฐในปี 2566 ด้วย

ขณะที่เยือนประเทศไทยรองประธานาธิบดีสหรัฐยังจะได้พบกับผู้นำไทยและตัวแทนภาคประชาสังคม เพื่อยืนยันและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐและไทย รวมถึงเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือต่างๆ หลังจากนั้น เธอจะเดินทางไปเยือนกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

การมาเยือนประเทศไทยของรองประธานาธิบดี ‘คามาลา แฮร์ริส’ ถือว่าสมเกียรติส
มศักดิ์ศรีมากแค่ไหน ‘นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว’ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศและที่ปรึกษาพิเศษด้านการต่างประเทศของสำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้แสดงความคิดเห็นไว้ดังนี้…

'ดอน' เผย 'สี จิ้นผิง' มาร่วมประชุม APEC 2022 ย้ำ!! ดูแลความปลอดภัยสูงสุด

APEC 2022 นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ เผย 'สี จิ้นผิง' มาร่วมประชุมแน่นอน ย้ำดูแลความปลอดภัยสูงสุด

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในการประชุมเอเปคครั้งนี้ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ถือเป็นการประชุมที่ยิ่งใหญ่ในรอบ 3 ปีที่จะมีการประชุมเต็มรูปแบบ โดยทุกประเทศใน 21 เขตเศรษฐกิจจะมาเข้าร่วมประชุม เพียงแต่ว่าจะอยู่ในระดับไหนเท่านั้น

โดยแขกที่ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการที่จะมาเยือนที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น มีประมาณ 6-7 ประเทศ รวมถึงนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจีนถือเป็นการเยือนพิเศษ เพราะมีการพูดคุยกันมานานแล้ว ส่วนนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียคงต้องรอต่อไป ซึ่งจนถึงวันนี้ยังยืนตามนี้ไปก่อน ส่วนจะเปลี่ยนหรือไม่ต้องรออีกสักระยะ

สำหรับสหรัฐอเมริกาจะส่งนางกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ มาแทนตามที่โฆษกสหรัฐฯ ได้ชี้แจงไว้ ส่วนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและไต้หวัน แม้ไม่ได้เป็นประเทศ แต่ก็ถือว่าเป็นเขตเศรษฐกิจ ที่เหลือเป็นระดับผู้นำที่จะเดินทางมา เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียที่ส่งตัวแทนมา เนื่องจากกำลังมีการเลือกตั้งในประเทศในวันที่ 29 พ.ย. และประเทศเม็กซิโกที่มีปัญหาในบ้านเมือง

APEC 2022 เช็กลิสต์ ผู้นำ-แขกพิเศษ ใครตอบรับร่วมประชุมแล้ว

เช็กแถวผู้นำเขตเศรษฐกิจ และแขกพิเศษ ที่จะมาร่วม APEC 2022 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศไทย ในวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน นี้ ใครตอบรับมาร่วมบ้าง ไปดูกันเลย

ผบ.ตร. ผนึกกำลัง ผู้ว่าฯกทม. ดูแลความปลอดภัยในการประชุม APEC 2022 เตรียมเพิ่มกล้อง CCTV ดึงเทศกิจ พร้อมบูรณาการแก้ปัญหายาเสพติด และการจราจรร่วมกันอย่างจริงจัง

วันนี้ (2 พ.ย. 65) เวลา 09.00 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย รอง ผบ.ตร., รองผู้ว่าฯ กทม. และข้าราชการระดับสูงในสังกัดทั้งสองหน่วยงาน เข้าร่วมประชุมเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่าง กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ในการร่วมมือกันดูแลรักษาความปลอดภัยและการจราจร เพื่อเตรียมการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ.2565 รวมทั้งหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด และการจราจรติดขัด

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านการรักษาความปลอดภัยและการจราจรฯ มีดำริให้แสวงหาความร่วมือจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และทุกภาคส่วน เพื่อมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยให้แก่การจัดการประชุมเอเปค วันนี้จึงได้เชิญท่านผู้ว่า กทม. และผู้บริหารระดับสูง มาหารือ เพื่อบูรณาการความร่วมมือกันระหว่าง ตร.​และ กทม. ซึ่งมีเรื่องเร่งด่วน 3 เรื่องที่ต้องหารือร่วมกัน คือ

1. การจัดการประชุมเอเปค 2022 
ซึ่งตร. จะมีการจัดอบรม แนะนำให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่เทศกิจ และพนักงานรักษาความสะอาด พ่อค้าแม่ค้า คนขับรถสาธารณะ เพื่อช่วยให้การสอดส่องดูแลป้องกันเหตุ และเป็นเครือข่ายในการแจ้งเหตุแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยจะมีรางวัลให้กับผู้แจ้งเหตุจนนำไปสู่การจับกุมผู้ก่อความไม่สงบ นอกจากนั้น ทาง กทม.จะสนับสนุนติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมทั้งเส้นทาง สถานที่ประชุม ตลอดจนสถานที่พักของผู้นำประเทศ และผู้เข้าร่วมประชุมด้วย 
2. การแก้ไขปัญหาการจราจร
จะมีการตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในระดับ บช.น. กับ กทม. และ คณะทำงานย่อย ในระดับพื้นที่ สง.เขต กับ บก. และ สน.พื้นที่ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาได้ทันที ใช้ข้อมูลอุบัติเหตุจากระบบ อบถ. มาวิเคราะห์หาจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย เพื่อทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงในการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้ตั้งป้าย และปรับปรุงแก้ไขลักษณะทางกายภาพได้ถูกต้อง เทศกิจ กับ ตำรวจจราจร จะร่วมมือในการกวดขันรถจอดในที่ห้าม มีการอบรมอาสาจราจรให้กับเทศกิจ  เพื่อจะสามารถช่วยจัดการจราจร การบริหารสัญญาณไฟจราจร โดยใช้ระบบ AI การแก้ปัญหารถบรรทุกฝ่าฝืนวิ่งในเวลาห้ามและขึ้นสะพานที่ห้ามรถบรรทุกขึ้น น้ำหนักรถบรรทุกเกินส่งผลต่อผิวการจราจร และเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือรถจอดเสียส่งผลกระทบการจราจรอย่างมาก รวมทั้งให้ กทม. สามารถเชื่อมฐานข้อมูลจาก อบถ. เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันอุบัติเหตุ 

3. การอบรมนักเรียนป้องกันตนเองจากเหตุกราดยิง หรือ Active shooter  
ตร. ได้จัดทำหลักสูตร การอบรมเด็กและเยาวชนในโรงเรียน ทั้งเขต กทม. และทั่วประเทศ เพื่อให้รู้วิธีในการเอาตัวรอดจาก Active shooter เหมือนเหตุการณ์ Terminal 21 และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ จ.หนองบัวลำภู นอกจากนี้ยังได้มีการหารือแนวทางการป้องกันกรณีคนเหยียบกันเช่น เหตุการณ์โศกนาฏกรรม อิแทวอน ประเทศเกาหลี ซึ่งท่านผู้ว่า กทม. จะเชิญวิทยากรของตำรวจไปอบรมให้กับเด็กนักเรียนครบทุกโรงเรียนใน 50 เขต รวมถึงบริษัทเอกชนด้วย 

ผบ.ตร. กล่าวต่อว่า หลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน 4 ด้าน คือ
1. คณะทำงาน Smart safty zone : ซึ่ง ตร.​ ได้นำโครงการ SMART SAFETY ZONE 4.0 มาใช้เพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชน โดยจะมีเชื่อมต่อระบบกล้อง CCTV ของ กทม. ,ตร. และ ทุกภาคส่วน 

2. คณะทำงานเรื่องยาเสพติด : ตร.​ได้ขอพื้นที่ในศูนย์คัดกรอง ของ กทม.เป็นสถานที่ดูแลชั่วคราว 24 ชม.ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 115 ทั้งนี้เพื่อไม่ต้องนำผู้เสพที่สมัครใจบำบัดไปเข้า สน. หรือที่อื่น เนื่องจากเมื่อซักถามแล้วก็ต้องส่งศูนย์คัดกรอง และขอขยายสถานที่การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด โดยเฉพาะที่มีอาการทางจิตเพิ่มขึ้น เช่น ทุ่งสีกัน กับ ดอนเมือง ในสังกัด ทอ.กห. และร้องขอให้กรมการแพทย์(สบยช.) สนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยง ก็จะสามารถรับคนป่วยจิตเวชในพื้นที่ กทม.ที่ผ่านการบำบัดแล้วได้ อันเป็นการเพิ่มจำนวนเตียงให้กับ กทม.ด้วย

นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือกรณีตำรวจค้นหาผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดที่สมัครใจบำบัด ได้แล้วส่งศูนย์คัดกรอง ให้ กทม.ใช้กระบวนการบำบัดรักษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน CBTx โดย ตำรวจจะสนับสนุนการปฏิบัติเพื่อคืนคนดีสู่สังคม

ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า!! ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | THE STATES TIMES Y WORLD EP.17

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ แห่งเดียวในไทย เปิดตัวแบบอลังการ ใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า!! จุคนได้เป็นแสน พร้อมรองรับการจัดงานทุกรูปแบบ และทุกไลฟ์สไตล์คนเมือง!

.

ตามไปดูความอลังการได้ใน THE STATES TIMES Y World

‘เพรียงทราย’ วัตถุดิบก๋วยเตี๋ยวรสเด็ด รับผู้นำเอเปก โปรตีนทางเลือกคุณภาพสูงเทียบเท่าไข่ไก่

เมนูเด็ดประเทศไทยที่จะเตรียมเสริฟแก่ผู้นำ APEC นั่นก็คือ 'เพรียงทราย' ไส้เดือนทะเล วัตถุดิบเมนูก๋วยเตี๋ยวรสเด็ด ต้อนรับผู้นำเอเปกโปรตีนคุณภาพสูงจาก 'ไส้เดือน'

จากที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปก 2022 หรือ APEC 2022 ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.นี้ ได้มีการเตรียมพร้อมในหลาย ๆ ด้าน เพื่อต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ภายใต้ธีม 'เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล' หรือ 'Open. Connect. Balance.' และยังจัดเตรียมอาหารไทย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเมนูอาหารอนาคตจากการประกวด จะนำมาเป็นเมนูในการประชุมเอเปก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพด้านซอฟต์พาวเวอร์ อาหารไทย ไปสู่สายตาชาวโลก

แต่ละเมนูมีความหลากหลาย จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เมนูเสริมสุขภาพ และเมนูใช้นวัตกรรมเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของวัตถุดิบที่มาจากในประเทศไทย รวมทั้งรักษาสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 8 เมนู 

1.) ข้าวถั่วลูกไก่ยำปักษ์ใต้ผัก 5 สี โปรตีนสูง 
2.) ราเมนจากเส้นโปรตีนไข่ขาว ไร้แป้ง เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ 
3.) ไอศกรีมปราศจากนม เพิ่มรสชาติด้วยผัดเคล และเสาวรส 
4.) ห่อหมกวีแกนเพื่อสุขภาพ 
5.) ขนมชั้นสูตรลดน้ำตาลเสริมใยอาหาร และโปรไบโอติกส์ 
6.) โครเก็ตพะแนงแพลนต์เบส 
7.) ก๋วยเตี๋ยวจากเพรียงทราย โซเดียมต่ำ ภูมิปัญญาชุมชน 
และ 8.) ไอติมจากโปรตีนจิ้งโกร่ง

‘บิ๊กตู่’ ปัดตอบการเมือง ขอโฟกัสประชุม ‘อาเซียน-เอเปก’ วอน!! ทุกฝ่ายช่วยทำให้การประชุมเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย

นายกฯ พยักหน้ารับ หลังเอเปกจะชัดเจนอนาคตทางการเมือง ขณะนี้ยังไม่มีความเห็น ขอให้ความสำคัญประชุมอาเซียน-เอเปก ขอร้องกลุ่มต่างให้การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ช่วงนี้จะมีการประชุมสำคัญ คือการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน และการประชุมเอเปคที่ไทย ซึ่งจะมีผู้นำทยอยเดินทางเข้ามาก่อนการประชุมเอเปคในวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน จึงอยากขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่จะทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยในช่วงนี้ ขอแรงด้วยในการนำเสนอข่าวต่างๆ อย่าให้มีผลกระทบซึ่งกันและกัน ถือว่าการประชุมทั้งสองการประชุมมีความสำคัญ 

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าวันนี้ในทุกภูมิภาค ทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจให้ความสำคัญกับภูมิภาคอาเซียนอย่างที่สุดในขณะนี้ ทำอย่างไรจะทำให้การประชุม เป็นไปอย่างเรียบร้อยปลอดภัย มีความคืบหน้า หลายประเทศต้องการมาลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นเป้าหมายหลักสำคัญ ขอให้ทุกคนคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากทำให้การประชุมมีปัญหา ขอร้องไปยังกลุ่มต่างๆ ขอให้ประชาชนช่วยกันเฝ้าระมัดระวัง 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top