Saturday, 4 May 2024
APEC2022

บช.ทท. รับมอบหมายให้เป็นหน่วยสนับสนุน การปฏิบัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการดำเนินการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกการจราจร ให้แก่ บุคคลสำคัญ และผู้เข้าร่วมประชุมพำนักในประเทศไทย

(15 พ.ย.65)  เวลา 15.00 น. พล.ต.ท.สุคุณ พรหมายน ผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว เดินทางตรวจเยี่ยม ให้โอวาท พร้อมทั้งมอบสิ่งของบำรุงขวัญและกำลังใจ ให้แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ที่ปฏิบัติหน้าที่ สายตรวจรถยนต์ สายตรวจจักรยาน สายตรวจรถพลังงานไฟฟ้า แบบ 2 ล้อ (Segway) และอาสาสมัครตำรวจท่องเที่ยว เพื่อเตรียมความพร้อม การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ณ สวนลุมพิน กรุงเทพฯ 

โดยภารกิจการดูแลรักษาความปลอดภัย ที่กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยวรับผิดชอบ มีรถยนต์โมบายประจำจุดที่กรุงเทพฯ บริเวณสวนลุมพินี จำนวน 1 คัน และรถโมบายเคลื่อนที่ประจำที่อยุธยาอีก 1 คัน รถยนต์สายตรวจ 34 คัน รถสายตรวจจักรยาน 42 คัน และรถเซคเวย์ 6 คัน รวมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ทั้งสิ้น 153 นาย เพื่อใช้ตรวจตราดูแลรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในบริเวณพื้นที่จัดการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ตลอดจนสืบสวนหาข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลต่างๆที่จะกระทบต่อความปลอดภัยในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ

‘คาเวียร์’ ไข่ปลาสเตอร์เจียน โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ที่ ‘ดอยดำ’ สามารถสร้างผลผลิตปีละ 10-15 กิโลกรัม

หลังจากมีคนแซะ!! บอกว่า เมนูอาหารรับผู้นำ APEC เซิร์ฟ คาร์เวียหรูจากปลาสเตอร์เจียน...มันไทยตรงไหน?....

หลายท่านที่สงสัย อาจจะไม่รู้ว่า โครงการพระราชดำริ ‘ดอยดำ’ ของไทยได้เพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนสำหรับนำไปผลิตคาร์เวียได้มานานแล้ว...

ทั้งนี้ ต้องเล่าย้อนไปว่า ประเทศไทยได้มีการเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2548 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริ ให้กรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการหาแนวทางเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนบนพื้นที่สูง ภายในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชดำริ ดอยดำ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและชาวเขามีอาชีพเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศบนเขาที่หนาวเย็น โดยการเลี้ยงใช้เวลา 8 ปี ถึงเริ่มมีผลผลิต (ไข่ปลา) ส่วนวิธีเลี้ยงมีข้อจำกัดในเรื่องของอุณหภูมิน้ำเท่านั้น เพราะปลาต้องอยู่ในน้ำอุณหภูมิประมาณ 12-24 องศาเซลเซียส คาดว่าอีก 3-4 ปีจะมีพ่อแม่พันธุ์พร้อมให้ลูกรุ่น 1 ได้ ปัจจุบันไข่ปลาคาเวียร์ ดอยดำ จะจำหน่ายผ่านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ มีขนาด 25, 50 และ 100 กรัม (มีจำหน่ายตามฤดูกาลของผลผลิต)

ด้านนางสาวสมพร กันธิยะวงศ์ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์กับ mgronline.com (ผู้จัดการออนไลน์) ว่า ปลาสเตอร์เจียนที่เลี้ยงในโครงการฯ จะออกไข่ประมาณเดือนกันยายนถึงเมษายนของทุกปี แต่ผลผลิตไข่ปลาสเตอร์เจียนหรือที่รู้จักกันว่า ไข่ปลาคาเวียร์ ยังมีจำกัดเพียง 10-15 กิโลกรัมต่อปีเท่านั้น โดยราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 50,000 บาท ซึ่งเป็นราคาถูกกว่าไข่ปลาคาเวียร์นำเข้าในระดับคุณภาพเดียวกันเล็กน้อย 

ว่าแต่...เพราะเหตุใดคาเวียร์จึงมีราคาแพง ราคาของคาเวียร์ (Caviar) แตกต่างกันไปตามชนิดของปลาสเตอร์เจียนในแต่ละแหล่งที่จับหรือเพาะเลี้ยง ส่วนมากจะบรรจุประมาณ 30-250 กรัม สาเหตุที่ทำให้ราคาคาเวียร์มีราคาแพงก็เนื่องมาจากหายากและต้องรอเวลายาวนานกว่าจะได้ผลผลิต คาเวียร์แท้ๆ ต้องมาจากปลาสเตอร์เจียนเท่านั้น แต่มีหลายชนิด เช่น Beluga, Osetra หรือ Sevruga

‘ธนกร’ ซัด ‘พิธา’ วิจารณ์ ‘BCG Model’ มั่วนิ่ม เหน็บ!! ไม่พูดสักเรื่อง ก็ไม่มีใครว่าเป็นใบ้

‘ธนกร’ สวน ‘พิธา’ หยุดวิจารณ์ BCG Model ถ้าไม่รู้จริง อัดอย่าเอาทุกเรื่องมาปนกันจนประชาชนสับสน แจงปัญหา PM2.5 นายกฯ สั่งหน่วยงานเกี่ยวข้องแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง เหน็บไม่พูดเรื่องที่ไม่รู้จริงสักเรื่องก็ไม่มีใครหาว่าเป็นใบ้ โว BCG Model จะเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศที่สร้างมูลค่ากว่า 4.4 ล้านล้านบาท ใน 5 ปีข้างหน้า

นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุว่า รัฐบาลฝันที่จะใช้การประชุมเอเปกสร้างเศรษฐกิจสีเขียว แต่แค่ PM2.5 ฝุ่นข้ามชาติ ยังไร้ภาวะผู้นำที่จะแก้ไขว่า ถ้านายพิธาไม่รู้จะพูดเรื่องอะไรเพื่อให้ตัวเองได้คะแนนนิยม การไม่วิจารณ์เรื่องการประชุมเอเปกแบบมั่ว ๆ ด้วยชุดข้อมูลผิด ๆ สักเรื่องก็คงไม่มีใครหาว่านายพิธาเป็นใบ้ เพราะนายพิธาไม่ควรเอาทุกเรื่องมาโยงเป็นเรื่องเดียวกันจนทำให้ประชาชนสับสน 

ทั้งนี้ เรื่อง BCG Model เป็นเรื่องหลักที่รัฐบาลจะนำไปหารือในการประชุมเอเปกครั้งนี้ ซึ่งเป็นจุดแข็งในภาคเกษตรของไทย มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดขยะ และเน้นการใช้กระบวนการที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงในอนาคตการประกอบธุรกิจภายใต้แนวคิด BCG อาจจะได้ประโยชน์ทางด้านภาษีเมื่อทำการค้าระหว่างประเทศด้วย สอดคล้องกับเทรนด์ของโลกเรื่องสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหนึ่งทางออกที่ครอบคลุมให้ทุกการพัฒนาไม่มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลด้วย 

ส่วนเรื่องปัญหา PM2.5 นั้น รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ดังนั้น หากนายพิธาไม่รู้ก็ควรจะหาข้อมูลให้ได้ข้อเท็จจริงก่อน ไม่ใช่วิพากษ์วิจารณ์แบบตีหัวแล้วเข้าบ้าน ซึ่งไม่น่าจะใช่แนวทางของนักการเมืองรุ่นใหม่อย่างที่พรรคนายพิธามักจะกล่าวอ้างอยู่บ่อย ๆ

นายธนกร กล่าวอีกว่า BCG Model ดำเนินการภายใต้นโยบายของรัฐบาลไทยตามแผนการปฏิบัติด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังสอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย 

‘บิ๊กตู่’ เปิดประชุมวิชาการเอเปค ที่จุฬาฯ ชู ‘ภาคการศึกษา’ พื้นฐานขับเคลื่อน ศก. – สังคม

เริ่มทางการแล้วประชุมวิชาการเอเปค ‘บิ๊กตู่’ ร่ายยาว เปิดงาน APEC University Leaders ย้ำความร่วมมือระหว่างกันเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาประเทศให้ก้าวผ่านวิกฤตไปได้ ขอคนไทยโชว์รัก สามัคคี พร้อมต้อนรับด้วยยิ้มแห่งสยาม 

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 16 พ.ย. ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมเป็นประธานกล่าวเปิดงาน APEC University Leaders’ Forum: “Preventing the Next Pandemic (AULF) ภายใต้หัวข้อการเตรียมพร้อมรับมือโรคระบาดครั้งต่อไป โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า 

ยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมทางวิชาการ APEC University Leaders Forum 2022 ในวันนี้ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิกกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งสอดรับกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้ APEC โดยเป็นโอกาสให้เครือข่ายการศึกษาทั่วโลกได้พัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในระดับนานาชาติ และเป็นเวทีในการแบ่งปันประสบการณ์ในมิติต่าง ๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆที่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่และอาจต้องเผชิญอีกในอนาคตโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนนั้น เป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันจากความท้าทายดังกล่าว อีกทั้งเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการฟื้นฟูและเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมั่นคงและยั่งยืน ได้ต่อไป

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเป็นเจ้าภาพ APEC ของไทยในปีนี้ เรามุ่งผลักดันการสร้างความร่วมมือภายใต้แนวคิด 'Open. Connect. Balance.' เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในยุคหลังโควิด - 19 โดยในส่วนของเรื่อง Open เน้นการผลักดันให้เอเปคนำเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกมาหารือใหม่ เพื่อให้เอเปคสามารถรับมือกับความท้าทายและใช้โอกาสจากบริบทโลกแบบใหม่ อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล การค้ากับโรคระบาด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ในส่วนของ Connect ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูความเชื่อมโยงของภูมิภาคในทุกมิติ ทั้งการเดินทางข้ามพรมแดนอย่างสะดวกปลอดภัย และความเชื่อมโยงทางดิจิทัล เพื่อให้เอเปคมีแนวทางการรับมือกับวิกฤตโรคระบาดในอนาคต โดยยังสามารถรักษาการเดินทางและกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากที่สุด และสุดท้าย Balance เน้นการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม โดยส่งเสริมโมเดลธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่สร้างผลกำไรควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และชับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกันทั้งสังคม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งผลลัพธ์สำคัญของการเป็นเจ้าภาพเอเปคในครั้งนี้ คือ ไทยจะเสนอให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค รับรองเอกสารเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG เพื่อนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ของไทยมาเร่งกระบวนการทำงานในเอเปค และวางบรรทัดฐานใหม่ให้เอเปคมุ่งเน้นการสร้างเสริมการค้าการลงทุนควบคู่ไปกับการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สำหรับการประชุมในครั้งนี้ที่นอกจากจะให้ความสำคัญกับด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังมุ่งขยายความสำคัญไปถึงการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยเพื่อยกระดับองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาสังคมและสร้างความปลอดภัยในชีวิตให้แก่ประชาชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตนเชื่อว่าขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ผู้วางนโยบาย และผู้นำธุรกิจจะได้มาร่วมมือกันสร้างสรรค์นโยบาย ออกแบบทิศทางและแผนการบริหารประเทศที่สอดรับกับวิถีความปกติใหม่ของโลก โดยเฉพาะความปลอดภัยด้านสาธารณสุข ที่แม้ว่าเราจะก้าวผ่านการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 มาแล้ว แต่องค์ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุขยังต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นเร่งด่วนของทั่วโลกในขณะนี้คือการทำวิจัยที่เกี่ยวกับชีวการแพทย์ การบำบัดโรค และการพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์ที่พร้อมต่อการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุด คือนวตกรรมเชิงป้องกัน และการนำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดผลเป็นรูปธรรมสำหรับประชาชนอย่างทั่วถึง

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในวิกฤตสาธารณสุขที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่า ความถูกต้องของข้อมูลและการเผยแพร่ รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในการบริหารสถานการณ์วิกฤตของรัฐบาล การเผยแพร่ข้อเท็จจริงสู่สาธารณชน ต้องอาศัยความถูกต้องทางวิชาการ ทั้งจากการศึกษา ค้นคว้า ซึ่งภาคการศึกษา มหาวิทยาลัย นักวิชาการ เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งในการชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องแก่สังคม เพื่อขจัดข้อมูลเท็จ โฆษณาชวนเชื่อ และข่าวปลอมที่แพร่กระจายและเป็นภัยอยู่ในสังคม ยกตัวอย่างเช่นในช่วงต้นของการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ที่ประชาชนบางส่วนมีความกังวลใจเกี่ยวกับผลค้างเคียงของวัคซีนจากข้อมูลข่าวสารที่อาจไม่ถูกต้อง 

แต่ในภายหลัง ความหวาดกลัวได้คลายลงเมื่อข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อถือได้เริ่มปรากฏออกมามากขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดได้อย่างน่าพอใจ และในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนนี้ การสร้างความร่วมมือระหว่างกันเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาประเทศให้ก้าวผ่านวิกฤตไปได้ โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับคำชมจากองค์การอนามัยโลก และนานาประเทศถึงนโยบายและมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการดูแลประชาชน ทั้งการป้องกัน การควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และด้วยความสำเร็จนี้ องค์การอนามัยโลกได้เลือกให้ประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบในโครงการนำร่องการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา ถือเป็นความภาคภูมิใจที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา ทั้งสถาบันการศึกษาและศูนย์วิจัยต่าง ๆ ตลอดจนอาสาสมัครและประชาชนทุกคน และมิตรประเทศ รวมถึงความม่งมั่นในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี ยารักษาโรค วัคซีน และเครื่องมือทางการแพทย์กับประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องด้วย

“ผมขอชื่นชมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคการศึกษาทั้งหมดที่ได้ร่วมมือกับ ศบค. ในการช่วยเหลือประเทศภายใต้รูปแบบ นวัตกรรมเพื่อสังคมโดยได้นำผลการศึกษาวิจัยมาพัฒนาให้สามารถใช้งานได้จริง และนำมาช่วยเหลือสังคมในช่วงวิกฤต เช่น CU-RoboCOVID (ซี-ยู-โรโบ-โควิด) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์ภายในโรงพยาบาลสนาม และ Chula COVID-19 Strip Test (จุฬา-โควิด-19-สตริป-เทสต์) รวมถึงนวัตกรรมการรักษา 'วัคซีนใบยา' ที่เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA (เอ็ม-อาร์-เอ็น-เอ) ที่ทางมหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้น โดยนวัตกรรมต่าง ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกิดขึ้นจากการร่วมมือพัฒนาของนักวิชาการและนักวิจัยสหสาขา 

‘ทิพานัน’ เผย ประชาชนให้ความสนใจ APEC 2022 พร้อมชู ‘BCG โมเดล’ พัฒนาศก.ไทย กระจายรายได้สู่ฐานราก

‘ทิพานัน’ เผยประชาชนตื่นตัวให้ความสนใจการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปก โชว์ศักยภาพไทยพัฒนาเศรษฐกิจ BCG โมเดล กระจายรายได้สู่ฐานราก โต้เพื่อไทยชูทักษิณนักโทษหนีคดีเป็นแบบอย่างน่าอายไปทั่วโลก

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนและช่องทางสื่อสารในสังคมออนไลน์ มีพี่น้องประชาชนให้ความสนใจและตื่นตัวในการเป็นเจ้าภาพที่ดี ต้อนรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปก 2022 ในช่วงสัปดาห์นี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำเสนอประเทศไทยในมิติต่าง ๆ รวมถึง ‘เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG’ เพื่อให้เอเปกมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน สร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยเฉพาะโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่รัฐบาล ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เร่งผลักดันและส่งเสริมนั้น ได้รับความสนใจจากนานาชาติ โดยเฉพาะศักยภาพทางด้านการออกแบบสินค้าเชิงสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ในภาคอุตสาหกรรม การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่หลายผลิตภัณฑ์ของไทยได้มาตรฐานสากลและวางจำหน่ายในยุโรปบางประเทศแล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ในชุมชนถึงรากหญ้า 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า กระแสโมเดลเศรษฐกิจ BCG ยังปลุกให้บรรดาสตาร์ตอัปในประเทศให้ความสนใจและเข้าใจโมเดล BCG มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เมนูอาหารของผู้นำเอเปกที่นำวัตถุดิบชั้นดีจากทั่วประเทศมาประกอบอาหาร กลายเป็นสินค้าขายดี นำเสนอซอฟต์พาวเวอร์อย่างเห็นผล สร้างรายได้ตั้งแต่ยังไม่เริ่มการประชุมอย่างเป็นทางการนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่สำคัญการประชุมเอเปกยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้ทำหน้าที่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพหลัก จัดการประชุมสุดยอดซีอีโอแห่งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก 2022 หรือ ‘เอเปก ซีอีโอ ซัมมิท 2022’ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 พ.ย.65 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเวทีสำคัญที่มีภาคเอกชน ผู้นำและซีอีโอระดับชั้นนำของภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่จะมีการนำประเด็นโมเดลเศรษฐกิจ BCG เข้ามาแลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอดกัน โดยเป้าหมายหลักจะเน้นในเรื่องของการส่งเสริมการเปิดเขตเสรีการค้าและการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านสังคมและการพัฒนาในทุกมิติ

บิ๊กป้อม ย้ำต้องไม่มีใครมาขัดขวางการประชุม APEC 2022 ขอบทุกฝ่ายปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศ ย้ำ ผบ.ตร.เพิ่มความเข้มการักษาความปลอดภัย และอำนวยการจราจร 

วันนี้ (16 พ.ย. 65) เวลา 09.00 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการฯ ได้มอบหมาย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร./รอง ผอ.กอร. เป็นประธานประชุมขับเคลื่อนกองอำนวยการร่วมฯ ติดตามสถานการณ์ด้านการข่าว สภาพภูมิอากาศ และแผนการปฏิบัติรักษาความปลอดภัยและการจราจรประจำวัน บูรณาการทุกภาคส่วน รวมกว่า 30 หน่วยงาน

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ เปิดเผยว่า ภาพรวมการปฏิบัติมีความพร้อมทุกภาคส่วน และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้สถานการณ์ด้านการข่าวทั้งในและนอกพื้นที่ กทม. ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งทุกฝ่ายได้เตรียมแผนการปฏิบัติรองรับไว้แล้ว และ สภาพการจราจรในวันนี้ ปริมาณรถน้อยเคลื่อนตัวได้อย่างคล่องตัว เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการตามที่รัฐบาลกำหนด ทั้งนี้ ได้มีประกาศราชกิจจาลงวันที่ 14 พ.ย. 65 ประกาศข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขต กทม. ว่าด้วยการจัดการจราจรการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 - 19 พ.ย.65 ดังนี้
1. ห้ามรถทุกชนิดเดินรถในถนนตลอดเวลา ถนนรัชดาภิเษก (ตั้งแต่แยกอโศกมนตรี ถึงแยกพระรามที่ 4) และถนนดวงพิทักษ์ (ตลอดสาย)
2. ห้ามรถทุกชนิดเดินรถในถนนเฉพาะเวลา 18.00 น. – 06.00 น.(ของวันรุ่งขึ้น) ถนน 5 สาย
3. ให้เดินรถทางเดียวในถนนเฉพาะเวลา 18.00 น. – 06.00 น.(ของวันรุ่งขึ้น) ถนน 3 สาย

งดการใช้สถานีรถไฟฟ้า MRT ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 16 – 19 พ.ย.65 และกำหนดพื้นที่ควบคุมการเดินเรือเป็นการเฉพาะคราวแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.65  สำหรับการลงทะเบียนของผู้พักอาศัยบริเวณถนนที่งดการใช้การจราจรขณะนี้มีกว่า 48,000 รายในพื้นที่ สน.ลุมพินี และ สน.ทองหล่อ และได้เปิดให้ลงทะเบียนต่อเนื่องจนถึงวันที่ 19 พ.ย.65 กรณีเจ้าหน้าที่ขนส่งพัสดุ ไปรษณีย์ อาหารหรือเอกสารต่างๆ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณจุดตรวจและแสดงเอกสารหลักฐานเพื่อขอเข้าพื้นที่ได้ตามแต่กรณี

‘ชัชชาติ’ เตือนม็อบห้ามเคลื่อนขบวน-ค้างคืน ชี้!! หากออกจากลานคนเมือง กทม.ไม่รับผิดชอบ

(16 พ.ย. 65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมกิจกรรมที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) ถึงกรณีเปิดพื้นที่ให้ชุมนุมในช่วงการประชุมเอเปคบริเวณลานคนเมืองวันนี้เป็นวันแรก ว่า กรุงเทพมหานครมีหน้าที่รับนโยบายจากภาครัฐมาปฏิบัติเป็นหลัก โดยมีการวางกำลังกระจายเจ้าหน้าที่พร้อมประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดเวลา

“จากกระแสว่าจะมีการชุมนุมค้างคืน ผมขอย้ำว่าไม่มีการอนุญาตให้ค้างคืน การชุมนุมต้องเป็นไปตามนโยบายและข้อตกลง เรื่องนี้ได้มอบหมายให้พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก และ พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย ซึ่งจากการประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับการร้องขอให้เปิดพื้นที่ลานคนเมืองให้เป็นที่แสดงออกในการชุมนุม ประชาชนจะได้ไม่ต้องลงถนนหรืออาจไปกระทบต่อการเดินทางของผู้ร่วมประชุมเอเปค” นายชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าพื้นที่ลานคนเมืองทำให้ประชาชนแสดงออกได้ตามหลักประชาธิปไตย และไม่กังวลเพราะเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การชุมนุมแสดงความเห็นต่างเป็นเรื่องที่สากลเข้าใจ และเป็นเรื่องที่สวยงามหากไม่แสดงออกด้วยความรุนแรง อย่างไรก็ตาม หากมีการเคลื่อนตัวออกนอกพื้นที่ที่กำหนด อำนาจหน้าที่จะเป็นของฝ่ายความมั่นคงในการจัดการดูแลทันที เพราะ กทม.ดูแลได้เฉพาะพื้นที่ที่กำหนดให้เท่านั้น และไม่มีการเชิญชวนให้ใครมาชุมนุม เพียงแต่เปิดพื้นที่ให้สามารถแสดงออกได้ ซึ่งได้เปิดมาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้ว

‘เทมส์ ไกรทัศน์’ วอนอย่าทำเสียบรรยากาศเอเปค ชี้ เป็นโอกาสสำคัญฟื้นท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด

นายเทมส์ ไกรทัศน์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ภูเก็ต  พรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวว่า วันนี้เราคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า เรากำลังเข้าสู่ห้วงเวลาสัปดาห์การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค #APEC2022THAILAND เป็นเวลาและโอกาสสำหรับประเทศไทยที่จะได้แสดงศักยภาพของประเทศ รวมถึงการเน้นย้ำความเป็นผู้นำโลกในเรื่องของการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองระดับสำคัญและผู้มาเยือนจากทั่วโลก 

ขณะเดียวกัน ห้วงเวลานี้ของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยและโดยเฉพาะชาวภูเก็ตที่เป็นธุรกิจท่องเที่ยวและบริการทั้งจังหวัดเกือบ 100% เรากำลังมีการเปิดฤดูการท่องเที่ยว ที่จะเป็น High Season แรกที่เราจะทำมาหากินกันได้อย่างเต็มที่ หลังวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 

'บช.น.' แจ้งหลีกเลี่ยงเส้นทางในการประชุมเอเปค วันที่ 17 พ.ย.2565 เวลา 18.00 น. – 20.00 น.และ เวลา 21.00 น. – 23.00 น.


​​

​​พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น./โฆษก บช.น. และ พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ 
รอง ผบช.น./รอง โฆษก บช.น. ขอประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ประชาชนทราบ ตามที่รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมเอเปค ครั้งที่ 29 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล รับผิดชอบภารกิจการรักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรให้แก่ผู้นำประเทศ และผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติในการจัดการจราจรดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องปิดการจราจร ในวันพฤหัสบดีที่ 17 พ.ย. 2565 เวลา 18.00 น. – 20.00 น. และ เวลา 21.00 น. – 23.00 น. ในบางเส้นทาง และบางช่วงบางเวลา จึงอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทางของพี่น้องประชาชน จึงแจ้งมาเพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมความพร้อมและวางแผนการเดินทาง ดังนี้ 
1. เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบ  
1.1) เส้นทาง (พื้นราบ) ฝั่งขึ้น/ลง ด่วนพระราม 4-2
1) ถ.เพลินจิต (แยกราชประสงค์ - แยกเพลินจิต )
2) ถ.สุขุมวิท (แยกเพลินจิต – ซอยสุขุมวิท 22 )
3) ถ.ราชดำริ (แยกราชประสงค์ – แยกศาลาแดง)
​4) ถ.วิทยุ (แยกเพลินจิต - แยกวิทยุ)
​5) ถ.รัชดาฯ (แยกอโศกมนตรี – แยกพระราม4)
6) ถ.พระราม4  (แยกศาลาแดง - แยกพระราม 4)
7) ถ.สาทร (แยกวิทยุ - แยกนรินธร )
1.2)  เส้นทางที่ได้รับผลกระทบ (พื้นราบ) ฝั่งขึ้น/ลง ด่วนยมราช
1) ถ.เพชรบุรี (แยกอุรุพงษ์  - แยกยมราช )
2) ถ.พิษณุโลก (แยกยมราช – แยกสวนมิสกวัน )
3) ถ.ราชดำเนินนอก (แยกสวนมิสกวัน – แยกจปร.)
4) ถ.วิสุทธิกษัตริย์​
​5) ถ.อรุณอัมรินทร์ (ตลอดสาย)
6) สะพานพระราม 8

1.3) เส้นทางทางด่วน
​1) ทางขึ้นด่วนสุรวงศ์ ​​​5) ต่างระดับพญาไท – ต่างระดับมักกะสัน
 ​2) ทางลงด่วนสีลม ​​​6) ทางขึ้น/ลงด่วนเพลินจิต
 ​​3) ทางลงด่วนอุรุพงษ์ ​​​7) ทางขึ้น/ลงด่วนพระราม 4/2
​​4) ทางขึ้น/ลงด่วนยมราช

รองต่อศักดิ์ลงพื้นที่ จ.ประจวบฯ-ชุมพร ตรวจเยี่ยมด่าน ตรวจความมั่นคง เน้นย้ำกำลังพลเพิ่มความเข้มในการปฎิบัติหน้าที่ช่วงการประชุมเอเปค 2022

เมื่อเวลา 9.30 น. วันที่ 16 พ.ย.2565 พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. ( ปป.) พล.ต.ต. ศิร์ธัชเขต ครูวัฒนเศรษฐ์ รองผบช.ก. เดินทางมาตรวจเยี่ยมกำลังพล จุดตรวจมั่นคงห้วยยาง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีพล.ต.ต.บุญญฤทธิ์ รอดมารอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.วันชัย ธารณธรรม ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธุ์ พ.ต.อ.ภาคภูมิ โห้ใย รองผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์พ.ต.อ.นนท์ ภักดีพันธ์ ผกก.สภ.ห้วยยาง พ.อ.พรรณศักดิ์ เพรียวพานิช รอง ผบ.ฉก.จงอางศึก และ น.ส.วิยะรัตน์ หนูเอกปลัดฝ่ายความมั่นคง อ.ทับสะแก ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปภารกิจ โดยด่านตรวจแห่งนี้เป็นหนึ่งในหลายๆด่านตรวจถาวร ที่เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก โดยมีการปฏิบัติร่วมกันหลายหน่วยงานทั้งตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครองร่วมปฎิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2565 จนถึง 20 พ.ย. 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 ด่านตรวจแห่งนี้ได้เพิ่มมาตรการในการตรวจค้น และเฝ้าระวังกลุ่มบุคคนที่เป็นเป้าหมายด้านความมั่นคงมากขึ้นเป็นพิเศษ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top