Friday, 3 May 2024
APEC2022

‘นันทิวัฒน์’ ยกไทยเจ้าภาพ ‘เอเปค’ สมบูรณ์แบบ แถมได้พรีเซ็นเตอร์ระดับผู้นำ ชวนทั่วโลกตามรอย

(21 พ.ย.65) นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Nantiwat Samart ระบุว่า... 

เอเปกสมบูรณ์แบบ การจัดประชุมเอเปกสำเร็จเสร็จสิ้นลงเรียบร้อย ได้รับคำชมมากมายจากผู้นำทุกประเทศที่มาร่วมประชุม 

งานนี้ ประเทศไทยมีพรีเซนเตอร์ระดับผู้นำโลก ทั้งประธานาธิบดีมาครง ที่ไปชมมวยไทยที่สนามมวยราชดำเนิน เดินชิมอาหารที่สตรีทฟู้ดเยาวราช และพาชมวัดโพธิ์

รองประธานาธิบดีกมลา ไปวัดราชบพิตร เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช และเดินซื้อของที่ตลาดนัดจตุจักร ได้พริกแกงกลับบ้าน และนายกฯ ลีเซียนลุง โพสต์อาหารที่เสิร์ฟในงานเลี้ยงกาลาดินเนอร์ 

เชื่อได้เลยว่า นับจากนี้ จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเดินตามรอยผู้นำเหล่านี้ 

‘นันทิวัฒน์’ ชื่นชม ‘กลมา แฮร์ริส’ ตัวแทนสหรัฐฯ ไม่ยก ม.112 กดดันไทยช่วงประชุมฯ อย่างที่หลายฝ่ายหวัง

(22 พ.ย. 65) นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Nantiwat Samart ว่า อเมริกามหามิตร การประชุมเอเปค 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ถูกบางคนค่อนแคะว่า ไบเดน ผู้นำใหญ่ของโลกประชาธิปไตยไม่มาร่วม จะทำให้การจัดงานประชุมเอเปคครั้งนี้กร่อยแน่นอน

ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า… ในฐานะเจ้าภาพ ไทยอยากให้ผู้นำเอเปคทุกคนมาร่วมประชุมให้ได้ คุณดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกและรัฐมนตรีต่างประเทศ ได้เดินสายมอบหนังสือเชิญด้วยตนเอง แต่เราก็ต้องเข้าใจบริบทในความจำเป็นของผู้นำต่างๆ ที่ติดธุระสำคัญ ไม่สามารถมาร่วมงานได้ และมีอย่างน้อย 4 เขตเศรษฐกิจที่ส่งผู้แทนมาร่วมประชุม

กรณีอเมริกา แม้ไบเดนจะมาไม่ได้ แต่ก็ส่งกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีมาแทน ซึ่งไม่ได้ด้อยค่าอะไรต่อไทยแต่อย่างใด

บทสรุป 3 การประชุมต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียน ‘สุดยอดผู้นำอาเซียน - G20 - APEC’

ตลอด 2 สัปดาห์ที่สายตาของคนทั่วโลกได้เฝ้าติดตาม 3 การประชุมต่อเนื่องที่เกิดขึ้น ณ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…

- การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
- การประชุมเขตเศรษฐกิจ G-20 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
- และ การประชุมสุดยอดความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC ณ กรุงเทพมหานคร

การประชุมทั้ง 3 ถือเป็นการประชุมระดับผู้นำครั้งใหญ่รอบสุดท้ายก่อนจบปี 2022

แม้การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน จะยังไม่ได้มีมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมในการบริหารจัดการกับปัญหาทางการเมืองภายในของประเทศเมียนมา หากแต่ก็มีข่าวน่ายินดี ที่ผู้นำอาเซียนมีฉันทามติที่จะเริ่มต้นกระบวนการรับ ประเทศติมอร์ตะวันออก เข้าเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน ลำดับที่ 11 ถึงแม้ว่ากระบวนการจนกว่า ติมอร์ตะวันออก จะสามารถเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ยังคงต้องใช้เวลา แต่อย่างน้อยที่สุด กระบวนการก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และนั่นเป็นหลักประกันว่า ประชาคมอาเซียน ยังคงเดินหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็งในห้วงเวลาที่ดุลอำนาจทั้งภายในประเทศสมาชิก ในภูมิภาค และในเวทีโลกกำลังเปลี่ยนแปลง

ต่อมาการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ถึงแม้จะไม่สามารถแสวงหาแถลงการณ์ร่วมได้ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างประเทศคู่กรณีหลากมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติการเมือง-ความมั่นคง ต่อกรณียูเครน และมิติเศรษฐกิจ รวมทั้งการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจในรูปแบบที่ผู้นำหลากหลายประเทศมีความห่วงกังวล ท่ามกลางสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยี แต่อย่างน้อยที่สุด เวที EAS ก็เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้นำของมหาอำนาจที่ทรงอิทธิพลทางความมั่นคง การเมือง และเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้เปิดใจพูดคุยกัน 

ไม่ว่าจะเป็น Sergey Lavrov รมต.ต่างประเทศของรัสเซีย ที่ได้เปิดใจวิพากษ์สหรัฐฯ ที่ดำเนินนโยบายในการสร้างภาพลบให้กับจีน และรัสเซียในมิติเศรษฐกิจ ในขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐ Joe Biden ก็ได้แสดงข้อห่วงกังวลต่อจีนในมิติที่ต้องการขยายอิทธิพลเข้าครอบงำอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น Fumio Kishida ที่ก็รับลูกนำไปขยายผลต่อ 

แต่เวทีนี้ก็ยังเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีจีน Li Keqiang ได้อธิบายเจตจำนงของจีนในการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน และเคารพซึ่งกันและกัน ทั้งหมดแม้จะเป็นความขัดแย้ง ไม่สามารถสรุปผลและออกแถลงการณ์ร่วมได้ แต่ก็วางอยู่บนหลักการที่ไม่นำไปสู่ความรุนแรง หากยังสามารถนำพาผลของการเปิดใจเหล่านี้ไปสู่บรรยากาศที่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นในการประชุมอีก 2 ประชุมที่ต่อเนื่องตามมา

บรรยากาศที่ผ่อนคลายหลังผ่านศึกการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ และหลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 20 ทำให้ทั้ง 2 ผู้นำมหาอำนาจแห่งโลก ประธานาธิบดี Joe Biden และ ประธานาธิบดี Xi Jinping สามารถหารือกันได้ในการประชุมทวิภาคีต่อเนื่องยาวนานถึง 3 ชั่วโมง 8 นาที และหลังจากที่ได้แสดงความไม่พอใจต่อกันไปแล้วจากเวที EAS การประชุม 2 ฝ่ายก็ทำให้ทั้งโลกมั่นใจได้ว่า ถึงแม้ทั้ง 2 ฝ่ายจะยังคงเป็นคู่แข่งขัน และยังคงต่อสู้กันต่อไปในทางยุทธศาสตร์ แต่อย่างน้อยที่สุดทั้ง 2 มหาอำนาจก็ได้ขีดเส้นแดงในประเด็นที่แต่ละฝ่ายไม่สามารถยินยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งล่วงละเมิดได้ และทั้ง 2 ฝ่ายก็ยอมรับ รวมทั้งยังจะเปิดช่องทางในการสื่อสารระหว่างกันให้มากกว่านี้ 

การประชุม G-20 แม้จะมีประเด็นหลักในการเดินหน้าสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสาธารณสุขหลังการระบาดของโควิด-19 การเตรียมความพร้อมสมาชิกสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และการเดินหน้าสู่การใช้พลังงานทางเลือก สำหรับ 1 เขตเศรษฐกิจ นั่นคือ สหภาพยุโรป และ 19 ประเทศสมาชิก แต่ด้วยสถานการณ์ความรุนแรงระหว่างรัสเซีย และพันธมิตร NATO ซึ่งปะทุในสนามรบยูเครน ทำให้ประเด็นการเมืองความมั่นคง ถูกดึงขึ้นมาเป็นประเด็นหลักของการประชุม (ยิ่งเมื่อมีสถานการณ์ขีปนาวุธจากระบบป้องกันภัยทางอากาศ ตกลงในพื้นที่ของประเทศโปแลนด์ก็ยิ่งสร้างความตึงเครียดให้กับการประชุมมากยิ่งขึ้น) 

แน่นอนว่า เมื่อผู้นำระดับโลกมารวมตัวกันมากขนาดนี้ คงปฏิเสธความรับผิดชอบในการที่จะไม่พูดถึงประเด็นความมั่นคงและประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองจนทำให้ผู้คนในยูเครนบาดเจ็บล้มตายไม่ได้ นั่นจึงนำไปสู่การประชุมทางไกลที่อนุญาตให้ประธานาธิบดี Volodymyr Zelenskyy เข้ามานำเสนอแผนการสร้างสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้จะทำให้ฝ่ายรัสเซียไม่พอใจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางกลับก่อนที่จะสิ้นสุดการประชุม G-20 แต่ผู้นำ G-20 ก็ยังคงสามารถออกปฏิญญาบาหลี ที่ประณามการรุกรานอำนาจอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนได้ แม้จะไม่มีคำว่า War และ Russia ในเอกสารก็ตาม

ความสำเร็จในการเจรจาพูดคุยเรื่องการเมือง ความมั่นคงจากเวที G-20 ทำให้ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจที่มาประชุมกันต่อใน กรุงเทพมหานคร ในการประชุม APEC มีความตั้งใจที่จะเน้นการหารือมาที่ประเด็นเศรษฐกิจ ความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาปากท้อง ของประชากรกว่า 2 พันล้านคน จากเขตเศรษฐกิจที่ครอบคลุมกว่า 2 ใน 3 ของมูลค่าเศรษฐกิจของโลกได้อย่างไม่ต้องห่วงกังวล และนั่นทำให้ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2022 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการประชุม เขตเศรษฐกิจทั้ง 21 เขต จึงสามารถมีแถลงการณ์ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ทั้งใน 3 มิติ นั่นคือ...

ผลลัพธ์ความสำเร็จจาก APEC 2022 ต่อยอดความพร้อมศูนย์ฯ สิริกิติ์ สู่ เวทีโลก

(24 พ.ย. 65) ปิดฉากลงด้วยความสำเร็จอย่างงดงามและภาคภูมิใจ สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (29th APEC Economic Leaders’ Meeting and Related Meetings) ภายใต้แนวคิดหลัก ‘เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล’ หรือ ‘Open. Connect. Balance.’ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยให้การต้อนรับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และผู้แทนจาก 20 เขตเศรษฐกิจ แขกเชิญพิเศษ รวมถึงสื่อมวลชน รวมกว่า 5,000 คน นับเป็นภาพความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทยในทุกมิติ 

นายธนาธิป อุปัติศฤงค์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการ APEC 2022 Task Force กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า “เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดงาน APEC 2022 Thailand มาจากการร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วน ทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ที่มุ่งมั่นเตรียมความพร้อมมาเป็นเวลาหลายปี รวมถึงคนไทยทุกคนที่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจสูงสุดแก่ผู้มาเยือน” 

“ผมในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการ APEC 2022 Task Force ขอขอบคุณในทุกความทุ่มเท ที่ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ความสำเร็จของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี 2565 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมของไทยในทุกด้าน ที่สำคัญยังยืนยันความพร้อมของไทยในการจัดการประชุมระหว่างประเทศ ด้วยสถานที่จัดงานที่มีมาตรฐานระดับเวิลด์คลาส ครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยี ที่ทันสมัย และบุคลากรที่มีความเป็นมืออาชีพที่พร้อมให้บริการด้วยความอบอุ่นแบบไทย” 

นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กล่าวว่า “ในฐานะสถานที่จัดประชุม ศูนย์ฯ สิริกิติ์ได้ให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยี และบริการ ความสำเร็จในครั้งนี้ได้ตอกย้ำการเป็น “ที่สุดของอีเวนต์แพลตฟอร์ม” ที่สามารถรองรับการจัดงานได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัด และยังเป็นพื้นที่ส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงานทุกคน” 

นอกจากด้านพื้นที่แล้ว ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ยังได้รับความไว้วางใจให้บริการจัดงานเลี้ยงรับรองในระดับผู้นำ รัฐมนตรี และผู้เข้าร่วมประชุม ไปจนถึงสื่อมวลชน ตลอดทั้งสัปดาห์การประชุม ภายใต้โจทย์ BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว 

‘จิราพร’ เย้ย ‘ประยุทธ์’ เป็นแค่คนจัดอีเวนต์เอเปค ประเมินให้สอบตกเพราะ ‘ขาดภาวะผู้นำ - ไม่มีวิสัยทัศน์’

‘จิราพร’ ให้คะแนน ‘ประยุทธ์’ สอบตกจัดเอเปคแค่งานอีเวนต์ เย้ยชูเจรจาการค้าแบบเมกา 20 ปีก่อนยังกล้าโชว์เป็นผลงาน

วันนี้ (24 พ.ย. 65) น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ที่เพิ่งจบลงว่า ในภาพรวมอาจดูเหมือนว่าไทยประสบความสำเร็จในการจัดอีเวนต์ แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ สอบตกในด้านสารัตถะและการแสดงภาวะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ เพราะประเด็นหลักที่ไทยชูในการประชุมครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) ที่แม้จะเป็นแนวคิดที่ดี แต่เป็นเรื่องเก่าที่เคยเสนอเมื่อราว 20 ปีที่แล้ว การเสนอจัดทำเขตการค้าเสรี FTAAP ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเคยมีการพูดคุยครั้งแรกตั้งแต่ปี 2547 โดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิด โดยเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้วสมาชิก APEC ที่เป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่าง สหรัฐ รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น มีแนวนโยบายการค้าที่ไม่ขัดแย้งกันรุนแรงเหมือนในปัจจุบัน การผลักดันให้จัดตั้ง FTAAP ก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ยิ่งสถานการณ์ปัจจุบันที่มีปัญหาสงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ รวมถึงความขัดแย้งในระดับภูมิภาคระหว่างชาติมหาอำนาจ ทั้งสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย และสมาชิกชาติตะวันตก ทำให้เป้าหมายการจัดตั้งเขตเสรีทางการค้า FTAAP แทบจะเป็นไปไม่ได้ 

บทบาทยังไม่จบ เจตจำนงจาก APEC 2022 ต้องไม่เลือนหาย ความท้าทายที่รัฐบาลไทยต้องดันซ้ำสู่ปีต่อๆ ไป

ย้อนไปเมื่อ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ อาคารรัฐสภาสหรัฐ ใจกลางกรุงวอชิงตัน ดีซี ได้มีการจัดงานเลี้ยง US-Asia Institute 2022 Capitol Hill Reception: A Tribute to Special Supporters + Celebrating US Chairmanship of APEC 2023 เพื่อเป็นการต้อนรับวาระที่สหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้รับไม้ต่อจากประเทศไทยในการเป็นประธานและเจ้าภาพการประชุม APEC และการประชุมที่เกี่ยวข้องตลอดปี 2023 

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าหน้าที่ของประเทศไทย รัฐบาลไทย และภาคเอกชนไทย จะสิ้นสุดลง และเราสามารถผลักความรับผิดชอบทั้งหมดไปให้สหรัฐฯ ขับเคลื่อนสิ่งที่เป็นเป้าหมายกรุงเทพฯ ได้โดยไม่ต้องทำอะไร 

หากแต่ประเทศไทยยังคงต้องแสดงความจริงใจ และดำเนินการในเรื่องสำคัญๆ ที่ไทยแจ้งต่อที่ประชุม APEC 2022 ว่าเป็นวาระสำคัญของโลกต่อไป เพราะต้องอย่าลืมว่าการประชุม APEC มีลักษณะเป็น Concerted Unilateralism นั่นหมายความว่า ผลการประชุม APEC มิได้เป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพัน หากแต่เป็นการแสดงเจตจำนงร่วมกันของผู้นำทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ว่าเห็นพ้องต้องการที่จะขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ดังที่แถลงการณ์ร่วมกันเอาไว้ในการประชุมที่กรุงเทพ

แน่นอนว่า ในแถลงการณ์ร่วมในปี 2023 และในฉบับของปีต่อๆ ไป ก็จะมีการอ้างถึง Bangkok’s Goal 2022 เช่นเดียวกับที่ก็จะมีการอ้างถึง APEC Putrajaya Vision 2040 ที่เสนอโดยมาเลเซียในปี 2020 และ Aotearoa Plan of Action ที่เสนอโดยนิวซีแลนด์ในปี 2021 

เรื่องสำคัญประการแรกที่ไทยคงต้องเฝ้าระวัง คือ คอยสนับสนุนส่งเสริมให้ทุกเขตเศรษฐกิจยังคงต้องร่วมกันเดินหน้าอย่างจริงจัง นั่นคือ แผนการเจรจาเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP ที่ถูกวางเอาไว้ในระยะ 4 ปีต่อจากนี้ เขตการค้าเสรีของ 21 เขตเศรษฐกิจ ประชากรกว่า 3 พันล้านคน และเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าเศรษฐกิจของโลก จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นฟูห่วงโซ่อุปทานของโลกที่กำลังซัดส่ายจากสงครามการค้า รวมทั้งจะเป็นตัวเร่งการฟื้นตัวจากภาวะซึมเซาในช่วงโควิด-19 ไทยคงต้องเร่งสนับสนุนผลักดันในทุกเวทีให้มีการเร่งดำเนินการตามแผนที่วางเอาไว้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าภาพในปี 2023 มีแนวโน้มที่จะไม่สนับสนุนแนวคิดการค้าเสรีอีกต่อไป

ประการที่ 2 ที่ไทยต้องเร่งผลักดันทั้งในเวทีระหว่างประเทศ และในเวทีภายในประเทศ นั่นคือ แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งประกาศไว้อย่างชัดเจนใน เป้าหมายกรุงเทพฯ ความห่วงกังวลคือ ถ้าประเทศไทยเรานำเสนอเรื่องนี้ แต่ประเทศไทยเราเองกลับมีความขัดแย้งทางการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จนทำให้ไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายดังกล่าวที่ประเทศไทยเองนำเสนอว่า นี่คือสิ่งที่ดี นี่คือสิ่งที่ถูกต้องในเวทีโลก นั่นก็เท่ากับ เราเองทำลายผลงานของเราด้วยตนเอง ดังนั้นความต่อเนื่องในมิติ กำลังคน งบประมาณ และการสนับสนุนด้านงบประมาณ ที่ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของแนวร่วมใดที่ขึ้นมามีอำนาจที่ต้องร่วมกันผลักดันวาระ BCG Model ต่อเนื่องในเวทีโลกจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง ผู้ออกแบบโลโก้ชะลอม APEC 2022 นักออกแบบสร้างสรรค์แห่งปี

งานใหญ่ปลายปีที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่าง APEC 2022 (APEC Economic Leaders Meeting) จบลงไปแล้วอย่างสวยงาม โดยไทยถูกชื่นชมจากแขกที่มาร่วมงานถึงการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เปิดบ้านตอนรับแขกบ้านแขกเมืองได้สมศักดิ์ศรี สร้างความประทับใจให้กับผู้นำหลาย ๆ ประเทศอย่างมาก

ภาพรวมที่ออกมาสวยงามน่าชื่นชม แต่ก็แฝงไปด้วยความท้าทายเช่นกัน เพราะในฐานะเจ้าบ้านแล้ว เราต้องทำให้ดีที่สุด เริ่มตั้งแต่หัวข้อการประชุม คอนเซปต์การประชุม สถานที่ประชุม ที่พักของผู้นำระดับโลก อาหารที่จะนำขึ้นโต๊ะรับรองเหล่าผู้นำ และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเรื่อง ‘โลโก้’ ของการประชุม ที่กลายเป็นภาพจำชัดเจนว่า ประเทศไทย คือ เจ้าภาพจัดประชุม APEC 2022 หนนี้

หลายคนอาจจะมองว่า ‘ก็แค่โลโก้’ จะมีความสำคัญขนาดไหน? แต่ต้องขอบอกเลยว่ากว่าจะได้โลโก้ที่ใช้อย่างเป็นทางการนั้น ไม่ได้ง่ายเลย!! เพราะมีการประกวด คัดเลือก กว่าจะได้มา โดยโลโก้ที่เราได้เห็นในงานนี้นั้นเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของ ‘นายชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง’ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา อายุ 21 ปี ซึ่งใช้ความพยายามและความสามารถเอาชนะผู้ร่วมประกวดเกือบ 600 คน

ชวนนท์ ได้บอกเล่าว่า “ช้าง วัด หรือยักษ์ มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของไทย แต่ผมมองว่ามันธรรมดาเกินไป และอยากคิดนอกกรอบ และไม่อยากใช้สัญลักษณ์ที่ใช้กันบ่อย ๆ จึงนึกถึง ‘ชะลอม’ ขึ้นมา”

นอกจากนี้ ชวนนท์ ยังเล่าอีกว่า “เรานึกถึงต้มยํากุ้งเมื่อพูดถึงอาหารไทย หรือรถตุ๊กตุ๊กเมื่อพูดถึงการขนส่ง แล้วสัญลักษณ์ของเศรษฐกิจในไทยที่อยู่คู่กับคนไทยมานานคืออะไร ผมนึกถึงชะลอม ซึ่งเป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้งานกันมาแต่โบราณ มันจักสานขึ้นจากไม้ไผ่และเป็นงานฝีมือที่ยั่งยืน ซึ่งสะท้อนความสมดุลของวิสัยทัศน์การประชุมฯ ในปีนี้” 

ชวนนท์ใช้เวลาราว ๆ 3 เดือนในการปรับแต่งลักษณะของชะลอมจนกลายออกมาเป็นโลโก้ที่เรา ๆ ได้เห็นกัน และแฝงไปด้วยความหมายที่ลึกซึ้ง โดนชะลอมที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นมาจะมีช่องว่าง 21 ช่อง ซึ่งสื่อถึงสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจของ APEC ส่วนตัวปลายชะลอมที่ชี้ขึ้นฟ้าก็ต้องการสื่อถึงการเติบโตของ APEC


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top