Saturday, 4 May 2024
APEC2022

ผบ.ตร. ประชุมขับเคลื่อน กองอำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัยและการจราจรการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ.2565 (14 – 20 พฤศจิกายน 2565)

(17 พ.ย.65) เวลา 09.00 น. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร./รอง ผอ.กอร. พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ขับเคลื่อนกองอำนวยการร่วม โดยมีการติดตามสถานการณ์ด้านการข่าว สภาพภูมิอากาศ และแผนการปฏิบัติรักษาความปลอดภัยและการจราจรประจำวัน บูรณาการทุกภาคส่วน รวมกว่า 30 หน่วยงาน

​โดยภาพรวมการปฏิบัติมีความพร้อมทุกภาคส่วน และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้มีผู้นำเขตเศรษฐกิจและคณะเดินทางมาพำนักในไทยแล้ว 7 เขตเศรษฐกิจ โดยในวันนี้จะมีการเดินทางมาถึงประเทศไทยของคณะผู้นำเขตเศรษฐกิจ จำนวน 13 เขตเศรษฐกิจ และจะมีงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจในช่วงค่ำวันนี้ ​สภาพการจราจรในวันนี้ ปริมาณรถน้อยเคลื่อนตัวได้อย่างคล่องตัว เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการตามที่รัฐบาลกำหนด แต่อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงเส้นทางตามที่ได้มีประกาศราชกิจจาไว้แล้ว จำนวน 10 เส้นทาง ​ด้านการบริหารจัดการชุมนุมสาธารณะ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ประกาศห้ามชุมนุมสาธารณะในรัศมีห้าสิบเมตรรอบทำเนียบรัฐบาล มีผลบังคับใช้วันที่ 16 พ.ย.65 เวลา 06.00 น. ถึงวันที่ 20 พ.ย.65 เวลา 06.00 น.

คาดเดาบทบาท ‘มาครง’ ในเวที APEC 2022 ผูกมิตรกล่อม ‘จีน’ ด้วยท่าทีที่สวนทาง ‘ทรูโด’

แม้เป้าประสงค์หลักของการประชุมเอเปคจะอยู่ที่การส่งเสริมการค้าแบบพหุภาคี หรือการร่วมพูดคุยกันหลายฝ่าย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก 

แต่ด้วยสมาชิกที่หลากหลาย และครอบคลุมมหาอำนาจโลกหลายแห่ง ซึ่งรวมไปถึง สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้นั้น มันก็คงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเหล่าผู้นำชาติมหาอำนาจที่มารวมตัวกัน จะช่วงชิงอิทธิพลในภูมิรัฐศาสตร์โลก ตามสถานการณ์และวิกฤตโลกที่เกิดขึ้น 

ยกตัวอย่างในปีนี้กับความตึงเครียดที่มากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทั้งเรื่องการค้า และประเด็นไต้หวัน รวมถึงสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ลามผลกระทบไปสู่เรื่องเศรษฐกิจและความมั่นคงด้านพลังต่อประเทศคู่ขัดแย้งที่เกี่ยวพันในห่วงโซ่นี้ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตามใน ‘ทางแจ้ง’ ใครจะวัดพลังกันบนเวที ก็ทำกันไป แต่ใน ‘ทางลับ’ ก็มีเรื่องให้น่าจับตาไม่แพ้กัน เพราะหากสังเกตให้ดีบนเวทีประชุมใหญ่ ๆ ระดับโลกเช่นนี้ ก็มักจะมีท่าทีให้สอดรู้จากผู้นำชาติมหาอำนาจทั้งในกลุ่มเขตเศรษฐกิจ และแขกรับเชิญพิเศษของเจ้าภาพ ซึ่งในปีนี้ไทยเราเชิญมาทั้งสิ้น 3 ชาติ ได้แก่ ฝรั่งเศส, ซาอุดีอาระเบีย และกัมพูชา ที่พร้อมจะใช้เสี้ยวเวลาในการพูดคุย เจรจา หรือปิดดีลบางเรื่องในช่วงเวลาแค่ชั่วพบปะ แล้วเรื่องแบบนี้ก็ไม่ค่อยจะหลุดรอดไปสู่ตาเหยี่ยวสื่อสักเท่าไรด้วย

กลับกันการพูดคุยลับ ๆ ที่ถูกทำให้ไม่ลับ ก็อาจจะทำให้เกิดความแคลงใจกันในภายภาคหน้า เหมือนกับกรณี สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน แหกหน้า จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ระหว่างการประชุม G20 ที่อินโดนีเซีย โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้พูดคุยกับนายทรูโด ด้วยรอยยิ้มผ่านล่าม ตำหนิในกรณีที่นายทรูโดระบุว่า จีนแทรกแซงการเลือกตั้งของแคนาดา โดยสี จิ้นผิง กล่าวว่า “ทุกอย่างที่เราได้พูดคุยกันถูกรั่วไหลไปถึงสื่อ และนั่นไม่เหมาะสม” ซึ่งท่าทีของผู้นำแคนาดารายนี้ก็รู้กันอยู่ว่าแทบจะเป็นเงาพี่เงาน้องของลูกพี่แซมอยู่แล้ว ก็ได้แต่พยักหน้า ขณะที่ ผู้นำจีน กล่าวต่อว่า “นั่นไม่ใช่วิธีการที่ควรจะเป็น หากมีความจริงใจต่อกัน เราจะร่วมหารือด้วยทัศนคติที่เคารพซึ่งกันและกัน มิเช่นนั้น ผลที่ตามมาจะคาดเดาไม่ได้”

นี่คือตัวอย่างไม่ดี ที่เด็ก ๆ ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง!!

กลับกันกับท่าทีของอีกหนึ่งผู้นำ ที่เชื่อว่าพญามังกรคงรอดูท่าที คือ ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งมีหลายฝ่ายเชื่อว่า การมาเอเปค 2022 ในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่มาสานความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศไทย-ฝรั่งเศส, ด้านความมั่นคง, หรือ BCG ที่สอดคล้องแผนปฏิรูปสีเขียวของ EU หรือแค่หนุนประเด็นที่ไทยผลักดันในเวทีเอเปคเท่านั้น 

หากแต่นี่ก็คือเวทีที่ มาครง จะได้มีโอกาสใช้จังหวะ ‘ที่ไม่เป็นทางการ’ คุย ‘ประเด็นทางการ’ ต่อ สีจิ้นผิง สืบเนื่องต่ออีกคำรบจากเวที G20 ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าประเด็นที่จะคุย ก็คงไม่พ้นความคาดหวังที่จะให้จีนเป็นตัวกลางเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อการคลี่คลายปัญหาด้านพลังงานในยุโรป และการขาดแคลนชิปของจีน เป็นต้น

‘สี จิ้นผิง’ พบ ‘คิชิดะ’ ประชุมทวิภาคีครั้งสำคัญ ในวาระครบรอบ 50 ปีการทูต ‘จีน-ญี่ปุ่น’

นับว่ามีประเด็นมากมายที่ต้องจับตามอง สำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ 14 - 19 พ.ย. 65 ทั้งในประความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ประเด็นความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประเด็นทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 

โดยอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ต้องจับตามอง คือการประชุมทวิภาคีครั้งสำคัญระหว่างประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดแห่งจีน และนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นการประชุมนอกรอบระหว่างการจัดการประชุมเอเปค ซึ่งเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกของผู้นำทั้งสองในรอบ 3 ปี ด้วยเป้าหมายด้านความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์และมีเสถียรภาพ เนื่องจากปีนี้ ถือเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งผู้นำทั้งสองได้ให้สำคัญของการมีความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ดี ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากกันและกัน

ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในช่วงที่ผ่านมา เต็มไปด้วยความตึงเครียด ด้วยความบาดหมางในอดีตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นทุนเดิม ท่ามกลางความขัดแย้งเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก, การทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ รวมทั้งการที่กองทัพจีนยิงขีปนาวุธตกในน่านน้ำของญี่ปุ่นในการซ้อมรบเพื่อตอบโต้ต่อการเดินทางเยือนไต้หวันของแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และการแข่งขันแย่งชิงบทบาทการเป็นผู้นำในภูมิภาค

โดยทั้งผู้นำจากทั้งสองฝั่ง ต่างแสดงเจตจำนงในการการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสอง

‘ศิโรตม์’ ประณามโรงพยาบาลหยุดช่วงเอเปก ด้านชาวเน็ตถล่มยับ!! ไล่ไปเช็กข้อมูลก่อนวิจารณ์

(17 พ.ย. 65) เมื่อวานนี้ (16 พ.ย. 65) นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ อาจารย์และผู้ดำเนินรายการทีวีช่องหนึ่ง ได้ออกมาโพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยระบุว่า “ขอประณามรัฐบาลที่สั่งปิดโรงพยาบาลรัฐช่วงเอเปค คำสั่งนี้ต้องยกเลิกทันที ต้องไม่มีใครป่วยหรือตายจากการอยากได้หน้าช่วงเอเปคของรัฐบาล #เอเปค2022 #เอเปค2565”

ต่อมาได้ทวีตข้อความเพิ่มเติมพร้อมแนบลิงก์ข่าวสำนักหนึ่ง และระบุว่า “วิจารณ์สนั่น! รพ.สมุทรปราการประกาศหยุด 16-18 พ.ย. บริการเฉพาะเหตุฉุกเฉิน เหตุมีการจัดประชุมผู้นำเอเปก”

หลังจากนั้นไม่นานชาวเน็ตก็เข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมาย โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวิตตอบโต้ว่า “ป่วยฉุกเฉิน ห้องฉุกเฉินก็เปิดนะคะ ไม่ได้ปิด มีหมออยู่เวรตลอด รวมทั้งในหอผู้ป่วยก็มีหมอและเจ้าหน้าที่อยู่เวรตลอด เดินเข้ารพ.เป็นโรคฉุกเฉินไม่มีใครไม่รักษานะคะ ไม่น่าจะมีใครตายเพิ่มจากการให้รพ.เป็นวันหยุดราชการนะคะ #ไม่ใช่สลิ่มไม่ได้โปรประยุทธแต่อันนี้รบกวนหาข้อมูลนิดนึงค่ะ”

โดยนายศิโรตม์ ได้ตอบกลับว่า “ทราบครับว่าฉุกเฉินเปิด แต่ประเด็นคือโรงพยาบาลไม่ควรถูกปิดแม้แต่นิดเดียวครับ ยิ่งโรงพยาบาลรัฐใหญ่ ๆ ผู้ป่วยนอกบางแห่งวันละ 5-6,000 คำสั่งปิดทำประชาชนเดือดร้อนรวมกันเป็นหมื่นจากทุกโรงพยาบาลในกรุงเทพ-นนทบุรี-สมุทรปราการแน่นอนครับ”

นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายอื่นเข้ามาแสดงความคิดเห็นอีก เช่น 

- เสาร์ - อาทิตย์เขาก็ปิดครับท่าน ในความหมายเดียวกันเลย ไม่ได้หมายความว่าไม่รักษา แต่เปิดบริการเหมือนวันหยุด เสาร์ - อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ครับ เป็นเรื่องปรกตินะครับ แค่เหมือนเพิ่มวันหยุดกรณีพิเศษเข้ามาแค่นั้น

- ปกติอะไรงง ทุกทีเวลาวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ มันคือเว้นว่าง 2 วัน รวมนักขัตฤกษ์ก็ไม่น่าเกิน 3 แต่อันนี้
มันติดต่อกันเกือบสัปดาห์ แล้ววันหยุดเขาประกาศล่วงหน้าเป็นปี มันต้องทบคิวไปกี่วัน

ก้าวสำคัญ!! มิตรภาพ ‘ไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ เปิดประตูเชื่อมหลากประเทศในโลกมุสลิม

การเสด็จเยือนประเทศไทยของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ในฐานะแขกของรัฐบาลไทย และแขกพิเศษการประชุมผู้นำเอเปคครั้งที่ 29 ในวาระเดียวกัน เป็นการตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อไทยที่เพิ่งฟื้นคืนเป็นปกติ และมองอนาคตร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียที่คืบหน้านี้ ทาง ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความคิดเห็นกับ THE STATES TIMES ไว้ว่า…

“ความสัมพันธ์มีความคืบหน้าไปมากหลังจากรัฐบาลไทย ที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ ทำให้มีความคืบหน้าด้านการทูต และความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยได้เดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย ผมคิดว่าได้ประโยชน์ในการสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนทางการค้า การลงทุนในหลายเรื่อง ที่สำคัญและโดดเด่น คือการขอให้ซาอุดีอาระเบียช่วยสนับสนุนไทยทำความตกลงทางการค้า FTA กับกลุ่มประเทศร่ำรวยน้ำมัน ได้แก่ โอมาน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย รวมถึงคูเวต เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันซึ่ง FTA (Free Trade Area) หรือ เขตการค้าเสรี ในปัจจุบันประเทศไทยมี FTA กับกลุ่มประเทศในอาเซียน แต่ไม่มีในตะวันออกกลาง ผมคิดว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์และสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนทางการค้าระหว่างกันซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

ส่วนของตลาดแรงงานไทยในซาอุดีอาระเบีย หลังจากฟื้นฟูความสัมพันธ์ ดร.ศราวุฒิ ให้ความเห็นว่า “ตลาดแรงงานของซาอุดีอาระเบียได้เปลี่ยนแปลงไป เราต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า เมื่อ 30 - 40 ปีที่แล้ว ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่เจริญเติบโตจากการขายน้ำมันและมีภูมิประเทศเป็นทะเลทราย ซึ่งเขาต้องการพัฒนาประเทศให้อยู่ดีกินดี สร้างความทันสมัย เจริญก้าวหน้า เพราะฉะนั้นแรงงานที่ไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบียในอดีต คือ แรงงานที่ไปสร้างวัตถุปัจจัยต่าง ๆ แต่ในวันนี้ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศร่ำรวย ประชาชนมีสวัสดิการดี บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทันสมัยไปเรียบร้อยแล้ว รูปแบบของตลาดแรงงานวันนี้จึงกลายเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมัน ภายใต้วิสัยทัศน์ 2030 โดยต้องอาศัยการลงทุนขนาดใหญ่ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ความต้องการแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ และรวมถึงการเปิดรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้กลายเป็นการเปิดกว้างแก่แรงงานและนักลงทุนทั่วโลก ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้วิสัยทัศน์ 2030 กลายเป็นจริง” 

ในด้านการท่องเที่ยวและความมั่นคงทางอาหาร ก็เป็นอีกประเด็นที่ซาอุดีอาระเบียมุ่งเน้นผลักดันไม่แพ้กัน ซึ่ง ดร.ศราวุฒิ เห็นว่า “ประเทศซาอุดีอาระเบียพยายามผลักดันเรื่องการท่องเที่ยว ปัจจุบันซาอุฯ เป็นศูนย์กลางศาสนสถานของโลกมุสลิม และมีผู้ศรัทธาไปแสวงบุญ ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน ทำให้มีรายได้เข้าประเทศ นอกจากนี้ยังพยายามขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ท่องเที่ยวย่านที่ติดทะเลแดง มีโบราณสถานหลายแห่ง ที่เป็น Unseen ของโลก ตรงนี้ผมคิดว่าประเทศไทยสามารถที่จะเข้าไปประสานความร่วมมือและมีอะไรที่สนับสนุนกันได้ นอกจากนี้ยังมองเห็นปัญหาทางด้านความมั่นคงทางอาหารของซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลัง ประสบปัญหาราคาอาหารสูงขึ้นและกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียต้องนำเข้าอาหารจากโลกเยอะมาก และประเทศไทยได้ร่วมสนับสนุนซาอุดีอาระเบียเรื่องของไก่และเรื่องของอาหารฮาลาล จึงเป็นความร่วมมือที่ประเทศไทยอาจได้ประโยชน์ในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร ส่วนความร่วมมือทางการเกษตรก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทางซาอุดีอาระเบียมีศักยภาพในการผลิตปุ๋ยได้ในราคาถูก และประเทศไทยก็มีความต้องการให้บริษัทผู้ผลิตปุ๋ยในประเทศซาอุดีอาระเบียส่งออกปุ๋ยให้กับประเทศไทยในราคาสมเหตุสมผล”

ผลบวกเน้นๆ 'กระตุ้นศก. - หนุน Soft Power' โอกาสที่ไทยจะได้จากการประชุมเอเปคหนนี้

(18 พ.ย. 65) The World Echo ได้เผยข้อมูลประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับผ่านการประชุมเอเปคครั้งนี้ ว่า…

หลายคนอาจสงสัยในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพ จัดงานเลี้ยงอย่างใหญ่โตด้วยเงินภาษีของประชาชน แล้วประชาชนอย่างเรา ๆ จะได้ประโยชน์อะไรจากงานนี้ ขอสรุปเป็นข้อ ๆ...

ข้อแรก-การจัดงานจะส่งผลช่วยเศรษฐกิจไทย ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ หลังการระบาดของโควิด 19  เรื่องนี้นับเป็นประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับทั่วหน้า โดยเฉพาะด้านธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ข้อสอง-นี่คือช่องทางให้ไทยได้แสดงศักยภาพและความพร้อม ในการจัดการประชุมระดับโลก หลังการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทั้งโลกอยู่ในภาวะซบเซา โดยเฉพาะครั้งนี้เป็นการประชุมแบบพบปะกัน ไม่ใช่เป็นการประชุมแบบออนไลน์

'บิ๊กตู่' พร้อม!! ภารกิจสำคัญเพื่อชาติใน APEC 2022 คิวแน่นเช้ายันค่ำ 'หารือ-ถก-ต้อนรับ' เหล่าผู้นำสำคัญ

กำหนดการ #APEC2022THAILAND 
18 พ.ย. 65 

เวลา 08.03 น.  นายกรัฐมนตรี ต้อนรับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ ครั้งที่ 29 ณ ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 

เวลา 09.15 น.  นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเขตผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 (Retreat ช่วงที่ 1) ภายใต้หัวข้อ 'การเจริญเติบโตที่สมดุล ครอบคลุมและยั่งยืน (Balanced, Inclusive and Sustainable Growth)'

เวลา 11.15 น.  นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับแขกพิเศษ (APEC Leaders’ Informal Dialogue with Guests) 

เวลา 12.30 น.  นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีกับ นางคริสตาลินา กอร์เกียวา (Ms. Kristalina Georgieva) กรรมการจัดการกองทุนเงินระหว่างประเทศ (IMF) 

‘โซเชียล’ ชูผลงาน ‘บิ๊กตู่’ ตอกหน้า ‘ผู้บริหารอสังหาฯ ดัง’ หลังวิจารณ์ ‘ผู้นำไทย’ ไม่พาประเทศไปสู่เวทีโลก

เมื่อวานนี้ (17 พ.ย. 65) เพจเฟซบุ๊ก ‘สายตรงข่าวกรอง’ ได้โพสต์ข้อความตอบโต้กรณีที่ ‘นายเศรษฐา ทวีสิน’ ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เคยกล่าวไว้ว่า 6-8 ปีที่ผ่านมาผู้นำของเราไม่ได้นำประเทศไทย ไปมีจุดยืนในเวทีโลกเลย ผู้นำคนต่อไปผมว่าต้องกล้า ที่จะเดินออกไปสู่เวทีโลก โดยระบุว่า…

เราอยู่ในโลก...ใบเดียวกับเขามั๊ย?
หรืออยู่คนละ #universe 

***ฝากบอกเขาหน่อยนะ
#ลุงตู่ ใช่ไหม? ที่ฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ที่ห่างหายมานานกว่า 30 ปี ได้สำเร็จ

***และ 8 ปีที่ผ่านมา
#ลุงตู่ เดินทางเยือนต่างประเทศ และเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ อย่างเป็นทางการ เกือบทุกภูมิภาคของโลก รวม 75 ครั้ง (ไม่นับรวมการประชุมผ่านระบบทางไกล ในช่วงโควิดระบาดอีก 13 การประชุม) 

#ลุงตู่ ให้การต้อนรับผู้นำต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนไทย อย่างเป็นทางการ 29 ครั้ง 

#ลุงตู่ เป็นประธานการประชุมระหว่างประเทศมาแล้ว โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ 5 การประชุม...

(1) ความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ปี 2557 
(2) ความร่วมมือเอเชีย (ACD) ปี 2559 
(3) ความร่วมมืออิรวดี-เจ้าพระยา–แม่โขง (ACMECS) ปี 2561 
(4) การประชุมสุดอาเซียน (ASEAN) ปี 2562 อีก 2 ครั้ง 

กรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยโฉม 8 สินค้า GI ในเอเปค 2022

กรมทรัพย์สินทางปัญญา พาชมสุดยอด 8 สินค้า GI สินค้าท้องถิ่นของดีของไทย ที่ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ในเอเปค 2022

1. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ 
จังหวัดศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ และมหาสารคาม 

2. เนื้อโคขุนโพนยางคำ จังหวัดสกลนคร 

3. ปลากุเลาเค็มตากใบ จังหวัดนราธิวาส 

4. ไวน์เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top