Friday, 10 May 2024
เศรษฐกิจ

นักลงทุนต่างชาติแห่ขายหุ้นไทย รวม 1 แสนล้านบาท ซ้ำ!! ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้จำกัด เหตุความกังวลทางการเมือง

เมื่อไม่นานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปี 66 สะสมรวม 1 แสนล้านบาท โดยเฉพาะหลังเลือกตั้งมีแรงเทขายอย่างหนักจากความกังวลทางการเมือง โบรกฯ มองแรง เทขายยังไม่หมด กดดันให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้จำกัด แต่เชื่อว่ายังมีโอกาสฟื้นตัวได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากปัจจัยหนุนเศรษฐกิจไทย และหากการเมืองผ่อนคลายลง

ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงเมื่อวานนี้ 1 มิ.ย. 66 นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยออกมาสุทธิ 101,928 ล้านบาท สวนกับนักลงทุนในประเทศที่ซื้อหุ้นสุทธิ 71,477 ล้านบาท และนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 35,850 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) ปรับลดลงมาตั้งแต่ต้นปีราว 157 จุด หรือ -9.39% จนล่าสุดปิดอยู่ที่ 1,521.40 จุด

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้มีโอกาสฟื้นตัวที่จำกัด

เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทย 18 วันทำการติดต่อกัน มีมูลค่าขายสุทธิ 40,861 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายตั้งแต่ต้นปี โดยแสดงให้เห็นว่าต่างชาติยังไม่มั่นใจการลงทุนหุ้นไทยในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

โดยหากนับตั้งแต่ต้นปี 2565 นักลงทุนต่างชาติเคยซื้อหุ้นไทยสะสมสูงสุด 2.25 แสนล้านบาท แต่ปัจจุบันยอดซื้อสุทธิสะสมลดลงจนเหลือเพียง 1.01 แสนล้านบาท (ช่วง 1 ม.ค. 2565 - 1 มิ.ย. 2566)

ทั้งนี้ ยังมองไม่เห็นสัญญาณการกลับตัวของเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ (Fund Flow) โดยเชื่อว่าตัวแปรหลักที่อาจจะช่วยดึง Fund flow ให้กลับมา น่าจะเป็นการเมืองในประเทศ ซึ่งหากการเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นได้ราบรื่นก็จะเป็นผลดี

ขณะที่เงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ (Fund Flow) ที่ไหลออกอย่างหนัก ได้กดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นไทย ปรับลดลง -8.8% นับตั้งแต่ต้นปี 66 และต่ำที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก จากตลาดหุ้น 92 แห่งเป็นรองจากอันดับ 2 ตลาดตุรี และ อันดับ 1 ตลาดหุ้นโคลัมเบีย

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯ มองว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี 66 จากปัจจัยหนุนเศรษฐกิจไทย และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และหากประเด็นทางการเมืองผ่อนคลายลง

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ก่อนวันหยุดยาว 3 วัน คาด SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1,510 – 1,530 จุด

CEO เครดิตบูโร’ เตือน!! หนี้เสียรถยนต์พุ่งสูงต่อเนื่อง หลัง ‘คนเจน​ Y’ ผ่อนไม่ไหว หวั่นทำเศรษฐกิจไทยพัง

เมื่อไม่นานนี้ นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ชื่อ ‘Surapol Opasatien’ กรณีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาหนี้เสียกลุ่มประเภทรถยนต์ ที่มีความน่าเป็นห่วงมากขึ้น และอาจจะส่งผลกระทบระดับพังเศรษฐกิจไทยได้ โดยระบุว่า…

ข้อมูล​สถิติที่ทำขึ้นมาเพื่อเป็นสัญญานเตือนภัยในหลายปีมานี้​ เริ่มมีผู้คนให้ความสนใจมากขึ้น​
เรื่องหนี้ชาวบ้าน​ มีผู้ใหญ่กล่าวว่า​ มันไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจ​พังแต่มันทำให้เศรษฐกิจ​หงอย​ ซึม​ แต่ถ้ามันไปทำให้ระบบสถาบันการเงินเสียหาย​ อันนั้นแหละ​ จะเป็นเรื่องความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจ​จะพัง

กลับมาดูตัวเลขกันครับ​ หนี้รถยนต์​ในระบบเครดิต​บูโร​ยอดรวม 2.6 ล้านล้านบาท ในไตรมาสที่​ 1 มีสัญญาใหม่ที่ได้รับอนุมัติประมาณ​ 3.5 แสนบัญชี​ 53% เป็นคนเจน​ Y​ ขนาดของวงเงินที่ได้รับอนุมัติช่วง​ 5 แสนถึงสองล้าน คิดเป็น​ 67%

มาดูเส้นกราฟในภาพตรงกลางครับ​ สีแดงคือ หนี้เสียค้างเกิน​ 90 วัน ตอนนี้มาอยู่แถว 7% ของยอดหนี้​ 2.6 ล้านล้านบาทแระ​ เส้นสีเหลืองที่พุ่งขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ไตรมาสที่​ 4 ปี​ 2564​ มาจนถึงปัจจุบันไตรมาสที่​ 1 ปี​ 2566​ คือหนี้ที่ค้าง​ 1, 2, หรือ​ 3 งวด แต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย​ ไปๆ มาๆ​ เรียกกันตามภาษาสินเชื่อคือ ‘เลี้ยงงวด’ กันอยู่​ ตรงนี้แหละ ที่มีความเป็นห่วงกันว่า​ 1.9 แสนล้านที่กลับไม่ได้ไปไม่ถึงจะไหลไปเป็นหนี้เสียเท่าใด​ ค่างวดที่ต้องส่งต่อเดือนเทียบกับรายได้แต่ละเดือนยังไหวมั้ย​

ภาพด้านล่างคือการเอาข้อมูล​จำนวนบัญชีและจำนวนเงินที่เป็นหนี้มีปัญหามาแยกดูในแต่ละช่วงเวลาและยังแยกตามอาการว่า​ คนเจนไหนเป็นเจ้าของบัญชีที่เริ่มตั้งแต่ค้าง​ 1, 2, 3 และเกิน​ 3 งวดตามสีนะครับ​ เหลือง​ ส้ม​ แดง​ เราจะพบว่าแท่งกราฟมันยกตัวขึ้นเพราะกลุ่มสีเหลืองมันยกตัวขึ้น​ สีเหลือง คือค้างชำระ​ 31-60 วันครับ​ และมันยกตรงกลุ่มเจน​ Y​ ค่อนข้างชัด

มันจึงไม่แปลกที่จะมีข่าวออกมาว่า​ สินเชื่อรถยนต์​ปล่อยกู้ยาก​ คนได้รับสินเชื่อยาก​ ปฎิเส​ธสินเชื่อเยอะ​ จนกระทบกับคนที่ขายรถยนต์​ เพราะบ้านเรามันกู้เงินมาซื้อกันมากกว่าซื้อสด​

ในอนาคตเราคงจะได้เห็น​ หนี้เสียจากรถยนต์​ที่รักโลก​ รักสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแน่ๆ​ จองๆ กันเยอะ​ ยังไงก็ช่วยวางแผนผ่อนจ่ายให้ดีด้วยนะครับ​ อย่าคิดแค่เอาส่วนที่ประหยัดค่าน้ำมันมาจ่ายค่างวดนะครับ... คิดเยอะ ๆ นะครับ

ข้อมูล​จากการบรรยายให้กับสมาชิกเครดิตบูโร​ให้ทราบ​ ให้ระวังการพิจารณา​ ให้เป็นข้อมู​ลในการบริหารและจัดการความเสี่ยง​

 

ซีเค เจิง’ แจง ประเทศนี้ ไม่มีทางล้ม ต่อให้ซาอุฯ-จีน-รัสเซีย-อินเดีย มารวมกัน ก็ยังสู้ไม่ได้

ซีเค เจิง (CK Cheong) นักธุรกิจหนุ่มรุ่นใหม่ ได้โพสต์คลิปสั้นลง TikTok ช่องckfastwork กล่าวถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ว่ามันไม่มีทางจะล้มลงได้ โดยได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวไว้ มีใจความว่า …

ประเทศสหรัฐอเมริกา มันไม่มีทางจะล้ม อเมริกามี คำพูดคำหนึ่ง คำว่า Too Big To fail ใหญ่เกินไปจนล้มไม่ได้แล้ว เพราะถ้าอเมริกาล้ม ก็จะอุ้มทั้งโลกล้มไปด้วย นี่คือความเป็นจริง รัสเซีย อินเดีย จีนพยายามทำเงินเหรียญสกุลของตัวเอง สู้สหรัฐอเมริกา สู้ไม่ได้หรอก คนที่คิดว่าประเทศเหล่านี้จะสู้ได้ เขาเพ้อฝัน ขนาดอาวุธรวมกันทั้งโลกยังสู้อเมริกาไม่ได้เลย เศรษฐกิจตลาดหุ้นทั้งโลกสู้ตลาดหุ้นอเมริกาก็ยังสู้ไม่ได้เลย ตราสารหนี้ทั้งโลกรวมกันยังสู้ไม่ได้เลย สู้อเมริกาไม่ได้ คุณจะเอาอะไรไปสู้กับอเมริกา คุณไม่มีอาวุธ คุณไม่มีตลาดหุ้น คุณไม่มีตราสารหนี้

คุณจะล้มอเมริกาได้อย่างไร เงินของเราทุกคนกองอยู่ที่อเมริกา แล้วอเมริกาจะล้มได้อย่างไร น้ำมันเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ครองโลกได้ก็จริง แต่มูลค่าของมันก็ยังสู้อเมริกาไม่ได้เลย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น บริษัทที่มีมูลค่า มากที่สุดอันดับ 2 ของโลกคือบริษัทน้ำมันของซาอุ แต่ที่มากกว่าบริษัทนั้นก็คือบริษัท Apple ที่เป็นแค่ 1 บริษัท ใน ตลาดหุ้นของอเมริกา แล้วคุณคิดว่าตลาดหุ้นอเมริกาใหญ่กว่า หรือตลาดน้ำมันของซาอุใหญ่กว่า อย่าไปบอกว่าอเมริกาจะแพ้ อเมริกาไม่มีวันแพ้ ผมไม่ได้เข้าข้างอเมริกา ผมพูดถึงความเป็นจริง คนที่บอกว่าซาอุ จีน รัสเซีย อินเดียมาร่วมกัน

แล้วจะล้มสหรัฐอเมริกา ไม่มีทาง มันเป็นไปไม่ได้ บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของซาอุยังใหญ่สู้กับเบอร์ 1 ในบริษัท ของตลาดหุ้นอเมริกาไม่ได้เลย และสิ่งที่พวกเขาใช้อยู่ทุกวัน นี้ Facebook Amazon Microsoft NVIDIA AI ชิพ ทุกอย่าง มันก็มาจากอเมริกาอยู่ดี แล้วเราจะล้มอเมริกาได้อย่างไร ไม่เอาน่า มันเพ้อฝัน เขาสามารถพยายามได้นะครับ แต่ผมไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้น ซีเค เจิงกล่าวทิ้งท้าย

‘ฮ่องกง’ เตรียมประกาศเปิดรับแรงงานต่างชาติเพิ่ม แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน รองรับ GDP โตต่อเนื่อง

เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ‘ฮ่องกง’ ได้เตรียมเปิดรับแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศเพิ่ม โดยนายจอห์น ลี ผู้บริหารเขตปกครองพิเศษฮ่องกงกล่าวว่า ฮ่องกงจะผ่อนปรนกฎการเข้าเมืองสำหรับแรงงานต่างชาติ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานบนเกาะฮ่องกง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงิน

รัฐบาลจะประกาศแผนการดึงดูดคนให้เข้ามาทำงานในภาคส่วนต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง

ฮ่องกงกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคบริการและอุตสาหกรรมอื่นๆ ในขณะที่จำนวนธุรกิจเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่มีการยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้านนักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่า ปัญหามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง ซึ่งรวมถึงแรงงานท้องถิ่นที่ลดลง และนโยบายการย้ายถิ่นฐานของฮ่องกงเองด้วย

เศรษฐกิจของฮ่องกงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาสแรก โดยฟื้นตัวจากภาวะถดถอยขณะที่การเปิดพรมแดนได้ฟื้นฟูการใช้จ่าย โดยจากผลสำรวจล่าสุดของสำนักข่าวบลูมเบิร์กนั้น นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของฮ่องกงจะเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 4.6% ในปีนี้

แม้ว่านายลีไม่ได้ระบุรายละเอียดเฉพาะเจาะจงใดๆ ของแผนการแก้ไขปัญหาแรงงาน แต่ได้อ้างถึงปัญหาในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเดินทาง การขนส่ง และการก่อสร้าง โดยฮ่องกงต้องการแรงงานก่อสร้างอย่างน้อย 10,000 คน และแรงงานในภาคการเดินทางและขนส่ง 8,000 คน
 

ดีขึ้นทุกด้าน!! ‘IMD’ เผย อันดับขีดสามารถในการแข่งขันไทย ปี 66 ดีขึ้น ไต่จากอันดับที่ 64 มาอยู่ที่ 30 ของโลก ที่ 3 ของอาเซียน

ภาพรวมผลการจัดอันดับระดับโลก ในปี 2566 IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก (ประเทศรัสเซียและยูเครน ไม่ได้ร่วมการจัดอันดับในปี 2566 นี้ อย่างไรก็ตาม ประเทศคูเวต ได้เข้าร่วมการจัดอันดับในปีนี้เป็นปีแรก) โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจความเห็นของผู้บริหาร ณ ไตรมาสแรก ปี 2566 และข้อมูลเชิงประจักษ์ (Hard data) ปี 2565 ซึ่งยังคงจัดอันดับโดยประเมินเขตเศรษฐกิจต่างๆ ใน 4 ด้าน ได้แก่

1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance)
2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency)
3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency)
4) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

ภาพรวมของผลการจัดอันดับในปี 2566 นี้ พบความแตกต่างของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างเขตเศรษฐกิจที่ใช้นโยบายการค้าเสรี (Open-trade economies) และเขตเศรษฐกิจที่ใช้นโยบายปกป้องทางการค้า (Protectionist economies) อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านการเมือง (Politics) ด้านเศรษฐกิจ (Economics) และด้านสังคม (Social) ซึ่งผู้บริหารองค์กรที่จะสามารถนำพาธุรกิจให้ก้าวข้ามผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบันได้ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างเงินเฟ้อ (Inflation) ความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) และโลกที่มีความแบ่งแยกแตกต่างกัน (Fragmented world) มากขึ้น นอกจากนี้ ผลการศึกษาของปี 2566 ยังแสดงให้เห็นว่าเขตเศรษฐกิจอย่างไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เริ่มเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในปีนี้ จากการกลับมาเปิดประเทศ หลังดำเนินนโยบายปิดประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 มาอย่างยาวนาน

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2566 เดนมาร์กยังคงได้รับการจัดอันดับเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด จาก 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันจากความแข็งแกร่งในปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) รวมถึงการปรับอันดับดีขึ้นเล็กน้อยของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ไอร์แลนด์ อันดับ 2 ในปีนี้ ขยับขึ้นมา 5 อันดับจากปีที่แล้ว จากความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ที่สามารถสร้างเศรษฐกิจที่มีความสามารถในการปรับตัว (Resilient economies) สูง อันดับ 3 สวิตเซอร์แลนด์ จากจุดแข็งด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) รวมถึงสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ที่ปรับอันดับดีขึ้นค่อนข้างมากมาอยู่ที่อันดับ 18 จากอันดับ 30 ในปีก่อน
.
นอกจากนั้น เป็นที่น่าสนใจว่า เขตเศรษฐกิจที่ได้รับการจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกในปี 2566 ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็ก (Smaller Economies) ที่มีกรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional frameworks) ที่ดี รวมถึงมีระบบการศึกษาที่แข็งแกร่ง (Strong education systems) และมีความสามารถในการเข้าถึงตลาด (Access to markets) และพันธมิตรทางการค้า (Trading partners) ได้ดี เช่น เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ และสิงคโปร์ ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับการจัดอันดับในอันดับ 4-10 ตามลำดับ ในปี 2566 ได้แก่ อันดับ 4 สิงคโปร์ ซึ่งหล่นจากอันดับ 3 ในปีที่แล้ว อันดับ 5 เนเธอร์แลนด์ ดีขึ้น 1 อันดับจากปี 2566 อันดับ 6 ไต้หวัน ขยับขึ้น 1 อันดับจากปี 2566 อันดับ 7 ฮ่องกง ปรับอันดับลง 2 อันดับจากปีก่อน อันดับ 8 สวีเดน ร่วงลง 4 อันดับจากปีที่แล้ว อันดับ 9 สหรัฐอเมริกา ดีขึ้น 1 อันดับจากปี 2566 และอันดับ 10 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
.
ยิ่งไปกว่านั้น ผลการศึกษายังพบว่า ประเทศที่มีแหล่งผลิตพลังงานที่มั่นคง (Stable indigenous energy production) ห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง (Robust supply chains) และดุลการค้าที่ดี (Favorable trade balances) เป็นของตนเอง เช่น จีน ซาอุดีอาระเบีย สวิตเซอร์แลนด์ และไต้หวัน จะสามารถรักษาหรือพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไว้ได้ จากผลกระทบด้านความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
.
ผลการจัดอันดับของไทย


ปี 2566 ในภาพรวม ไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันอยู่ที่อันดับ 30 จาก 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ปรับดีขึ้น 3 อันดับจากอันดับที่ 33 ในปีที่แล้ว โดยมีผลคะแนนสุทธิดีขึ้นจาก 68.67 มาอยู่ที่ 74.54 ในปีนี้

เมื่อพิจารณาปัจจัย 4 ด้านที่ใช้ในการจัดอันดับ ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นจากปีที่แล้วในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับดีขึ้นมากที่สุดถึง 18 อันดับ ตามมาด้วย ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) และด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ที่ต่างขยับอันดับดีขึ้น 7 อันดับ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ขยับดีขึ้น 1 อันดับ โดยมีประเด็นสำคัญในแต่ละด้าน ดังนี้

- ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance): ภาพรวมอันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 18 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 16 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 11 อันดับ จากอันดับ 33 ในปี 2565 มาอยู่ที่อันดับ 22 ในปีนี้ จากการที่ในปี 2565 นักลงทุนต่างชาติ มีการลงทุนในไทยรวม มูลค่ากว่า 128,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 46,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 56 โดยมีการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นสูงสุดถึง 39,515 ล้านบาท ตามด้วยสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา และการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ที่ไทยอันดับดีขึ้นถึง 8 อันดับ จากปีก่อนมาอยู่ที่อันดับ 29 เนื่องจากตัวชี้วัด 1.2.12 Exports of commercial services ($bn) และ 1.2.13 Exports of commercial services (%) ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับมูลค่าการส่งออกบริการเชิงพาณิชย์ ที่เป็นการขนส่ง เดินทาง รวมถึงบริการและรายได้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น จากการที่ไทยกลับมาเปิดประเทศ หลังวิกฤตโควิด 19 ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวฟื้นตัว

- ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency): ภาพรวมอันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 24 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยกรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional Framework) และกฎหมายธุรกิจ (Business Legislation) ที่ทั้ง 2 ปัจจัยย่อยนี้ ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 7 อันดับ จากอันดับ 41 และ 38 ในปี 2565 มาอยู่ที่อันดับ 34 และ 31 ตามลำดับในปีนี้ โดยในปีนี้ ตัวชี้วัดที่เป็นจุดแข็งภายใต้ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional Framework) ได้แก่ ตัวชี้วัด 2.3.02 Cost of capital อันดับ 11 และตัวชี้วัด 2.3.05 Central bank policy อันดับ 11 และภายใต้ปัจจัยย่อยกฎหมายธุรกิจ (Business Legislation) ได้แก่ ตัวชี้วัด 2.4.16 Labor regulations อันดับ 6 ตัวชี้วัด 2.4.17 Unemployment legislation อันดับ 12 และตัวชี้วัด 2.4.06 Investment incentives อันดับ 14

- ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency): ภาพรวมอันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 23 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ
(Productivity & Efficiency) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 9 อันดับ จากอันดับ 47 ในปี
2565 มาอยู่ที่อันดับ 38 ตามลำดับในปีนี้ โดยตัวชี้วัดที่เป็นจุดแข็งภายใต้ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ (Productivity & Efficiency) ได้แก่ ตัวชี้วัด 3.1.08 Large corporations อันดับ 11

- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure): ภาพรวมอันดับดีขึ้น 1 อันดับ จากปี 2565 มาอยู่ที่อันดับ 43 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยโครงสร้างด้านเทคโนโลยี (Technological
Infrastructure) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 9 อันดับ จากอันดับ 34 ในปี 2565 มาอยู่ที่
อันดับ 25 ตามลำดับในปีนี้ โดยตัวชี้วัดที่เป็นจุดแข็งภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างด้านเทคโนโลยี
(Technological Infrastructure) ได้แก่ ตัวชี้วัด 4.2.08 Internet bandwidth speed และตัว
ขี้วัด Investment in Telecommunications ที่ต่างอยู่ในอันดับ 5 ตัวชี้วัด 4.2.15 High-tech
exports (%) อันดับ 11 ตัวชี้วัด 4.2.03 Mobile telephone costs อันดับ 15 ตัวชี้วัด 4.2.04
Communications technology อันดับ 15 และตัวชี้วัด 4.2.11 Public-private partnerships
อันดับ 18

มีรายละเอียดของผลการจัดอันดับในแต่ละปัจจัย ดังนี้

สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance)


ในปี 2566 ปัจจัยด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจของไทย มีพัฒนาการของการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอย่างมากจากปีก่อนถึง 18 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 16 จากอันดับที่ดีขึ้นของทุกปัจจัยย่อย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic Economy) ที่อันดับดีขึ้น 7 อันดับจากปีก่อน มาอยู่ที่อันดับ 44 ในปีนี้ การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ที่อันดับดีขึ้น 8 อันดับจากปีก่อนมาอยู่ที่อันดับ 29 การลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) ที่อันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 11 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 22 การจ้างงาน (Employment) ที่อันดับดีขึ้น 1 อันดับจากปีก่อน มาอยู่ที่อันดับ 3 และระดับราคาและค่าครองชีพ (Prices) ที่อันดับดีขึ้นจากปีก่อน 4 อันดับมาอยู่ที่อันดับ 27

IMD’ ขยับขีดความสามารถแข่งขันไทยดีขึ้น 3 อันดับอยู่ที่ 30 จาก 64

IMD’ ขยับขีดความสามารถแข่งขันไทยดีขึ้น 3 อันดับอยู่ที่ 30 จาก 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ชี้คะแนนหลายด้านดีขึ้นทั้งสมรรถนะเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพภาครัฐ - ธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ‘TMA’ ได้เผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ ‘IMD’ สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2566 ไทยปรับอันดับดีขึ้น 3 อันดับจากปีที่แล้ว มาอยู่ที่อันดับ 30 จาก 64 เขตเศรษฐกิจในปีนี้ 

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาปัจจัย 4 ด้านที่ใช้ในการจัดอันดับ ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นจากปีที่แล้วในทุกด้าน ได้แก่
    
1.) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) : ภาพรวมอันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 18 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 16 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 11 อันดับ และการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ที่ไทยอันดับดีขึ้นถึง 8 อันดับ จากปีก่อน 

2.) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) : อันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 24 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยกรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional Framework) และกฎหมายธุรกิจ (Business Legislation) ที่ทั้ง 2 ปัจจัยย่อยนี้ ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 7 อันดับ

3.) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) : ภาพรวมอันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 23 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ (Productivity & Efficiency) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 9 อันดับ

4.) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) : อันดับดีขึ้น 1 อันดับ จากปี 2565 มาอยู่ที่อันดับ 43 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยโครงสร้างด้านเทคโนโลยี (Technological Infrastructure) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 9 อันดับ

โดยเมื่อเทียบกับในอาเซียนไทยอยู่อันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ ที่อยู่อันดับ 4 และมาเลเซีย อยู่อันดับที่ 27 ของโลก
 

ไทยคว้าเจ้าภาพ ‘บิมสเทค รีทรีต’ ดันสร้างกลไกรับมือวิกฤต  หนุนความร่วมมือด้าน ‘การเกษตร-วัฒนธรรม-การทูต’ ให้ภูมิภาค

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 66 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่ข่าวว่า ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศบิมสเทคอย่างไม่เป็นทางการ (BIMSTEC Retreat) ที่กรุงเทพ โดยประเทศสมาชิกบิมสเทคทั้ง 7 ประเทศ ได้แสดงความมุ่งมั่นอีกครั้งหนึ่งที่จะเสริมสร้างให้บิมสเทคเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง ยืดหยุ่น และมีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น

ในโอกาสนี้ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นประธานการประชุมดังกล่าวและประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม ประกอบด้วย บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล และศรีลังกา

รัฐมนตรีต่างประเทศบิมสเทคได้ชื่นชมว่าการประชุมครั้งนี้เป็นประโยชน์ และเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีในการแลกเปลี่ยนความเห็นต่าง ๆ อย่างเป็นกันเอง รวมทั้งเห็นพ้องถึงความจำเป็นที่จะส่งเสริมให้กรอบการดำเนินงานและกลไกความร่วมมือต่าง ๆ ของบิมสเทคมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อความเจริญเติบโตและความมั่งคั่งของภูมิภาค นอกจากนี้ ได้มีการหารือประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นข้อห่วงกังวลร่วมกันด้วย

ประเทศสมาชิกเห็นพ้องร่วมกันถึงความสำคัญของการสร้างกลไกในการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เพื่อประสานงานในภาวะฉุกเฉินตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และได้หารือในประเด็นสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร สาธารณสุข พลังงาน และการเงิน รวมถึงความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ได้มีการพิจารณาที่จะจัดตั้งระบบการชำระเงินดิจิทัลระหว่างประเทศสมาชิกบิมสเทค รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ และการป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ

รัฐมนตรีต่างประเทศบิมสเทค ได้ย้ำถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการประสานงาน ในประเด็นระดับโลกและประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ ประกอบด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าบิมสเทค เทคโนโลยีด้านการเกษตร ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนเยาวชน และการฝึกอบรมด้านการทูต

รัฐมนตรีต่างประเทศบิมสเทครู้สึกยินดี เมื่อได้รับทราบถึงความคืบหน้าของการจัดตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิว่าด้วยการกำหนดทิศทางของบิมสเทคในอนาคต เพื่อกำหนดแผนดำเนินการขององค์กร บนพื้นฐานของผลประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศสมาชิกและประชาชน

รัฐมนตรีต่างประเทศบิมสเทคเห็นพ้องที่จะจัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ เป็นประจำ โดยหากเป็นไปได้ จะจัดในช่วงไตรมาสแรกของทุกปี ทั้งนี้ อินเดียได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทคครั้งต่อไปในห้วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติในเดือนกันยายน 2566

ทั้งนี้ ไทยเป็นประธานบิมสเทคหรือกรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล สำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) วาระปี 2565 – 2566 ภายใต้แนวคิดการเสริมสร้างบิมสเทคสู่การเป็นภูมิภาคที่มั่งคั่ง (Prosperous) ยั่งยืน ฟื้นคืน (Resilient) และเปิดกว้าง (Open) หรือ ‘PRO BIMSTEC’ ภายในปี ค.ศ. 2030

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 คืบหน้า 82.5%  คาด!! พร้อมเปิดให้บริการ ภายในปี 2567

(19 ก.ค. 66) สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทยทั้ง 4 มิติ (บก ราง น้ำ และอากาศ) ให้เชื่อมโยงการเดินทางสู่ภูมิภาคอาเซียนอย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงการเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ด้วยระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงได้เร่งขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5  เชื่อมระหว่างบึงกาฬ และแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว ซึ่งมีความคืบหน้ามาโดยลำดับ แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคจากวิกฤติโควิด แต่ล่าสุด โครงการมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 82.550% คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนของทั้งสองประเทศได้ในปี 2567

สำหรับโครงการดังกล่าว คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ได้มีมติอนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ว่าด้วยการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ในปี 2562 

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ได้เข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5  ที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ และแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว

รูปแบบการก่อสร้างของโครงการนี้ กรมทางหลวงออกแบบเป็นสะพานขึงคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง ขนาด 2 ช่องจราจร ความยาว 1,350 เมตร พร้อมอาคารด่านพรมแดนสำหรับกระบวนการข้ามแดน และถนนเชื่อมต่อโครงข่ายของทั้งสองฝั่ง โครงการมีระยะทาง 16.18 กม. วงเงิน 4,010.067 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยมีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ วงเงิน 2,630 ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง 2,553 ล้านบาท และค่าควบคุมงานก่อสร้าง 77 ล้านบาท) ฝั่ง สปป.ลาว โดยกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (MPWT) เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ วงเงิน 1,380.067 ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง 1,256 ล้านบา ท ค่าที่ปรึกษา 44 ล้านบาท ค่าบริหารจัดการ 15 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 63 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมบริหารของ สพพ. 2.067 ล้านบาท)

ทั้งนี้เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเป็นประตูเชื่อมโยงระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม และมณฑลกว่างสีของประเทศจีน เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทย กับ สปป.ลาว ทำให้การขนส่งสินค้าจากไทยไปสู่ตลาดในจีนตอนใต้ เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากภาคกลางของ สปป.ลาว สู่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังของไทย เพื่อส่งออกทางทะเลต่อไปยังภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน

วงจรหายนะของ ‘ฝรั่งเศส’ ที่ฉุด ‘เศรษฐกิจ’ ให้ถดถอย หลังตัวจุดชนวน ‘การประท้วง’ ปะทุบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อไม่นานนี้ ผู้ใช้ติ๊กต็อกบัญชี ‘@spacebarmediath’ ซึ่งเป็นช่องที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับข่าวเศรษฐกิจ สำหรับ EP. นี้ จะเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสที่กําลังเดินวนอยู่ในวงจรหายนะ ยิ่งวนอยู่ในวงจรนี้นานเท่าไร เศรษฐกิจก็ยิ่งถดถอย แล้ววงจรนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? ‘คุณทราย-โศธิดา โชติวิจิตร’ พิธีกรดำเนินรายการ ได้ออกมาอธิบายเอาไว้ว่า…

“1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คือ มูลค่าความเสียหายคร่าว ๆ เฉพาะภาคการท่องเที่ยวสําหรับการประท้วงฝรั่งเศสครั้งนี้ เพราะว่านักท่องเที่ยวต้อง ‘ยกเลิก’ ทริปการท่องเที่ยวทั้งหมด เพราะผู้ชุมนุมประท้วงได้ทุบทําลายและปล้นซูเปอร์มาร์เก็ตไปมากกว่า 250 แห่ง เผาธนาคารไป 250 แห่ง ทำลายร้านค้าเล็ก ๆ ไปอีก 250 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีรถยนต์ที่ถูกเผาไปรวมกันมากกว่า 5,000 คัน จากความเสียหายเหล่านี้ ทำให้มีตัวเลขที่จะออกมา ‘กดดันเศรษฐกิจ’ คือ ‘ค่าเคลมประกัน’ ที่ตอนนี้ยอดสูงถึง 305 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการเคลมประกันถึง 5,900 เคส 

จุดที่เป็นตัวกระตุ้นของการประท้วงครั้งนี้ เกิดจากที่ตํารวจไปยิงเด็กวัยรุ่นเสียชีวิตก็จริง แต่ความอัดอั้นทุกข์ทนที่ทําให้คนออกมาเผาบ้านเมืองตัวเองได้ขนาดนี้ มันเกิดจาก ‘ความยากจน’ ต่างหาก ซึ่งในประเทศฝรั่งเศส เด็ก ๆ ไม่มีบ้านอยู่กันมีมากกว่า 3 หมื่นคน และอาศัยอยู่ในสลัมอีกมากกว่า 9 พันคน รวมถึงทุก ๆ ปี จะมีเด็กมากกว่า 140,000 คน ต้องออกจากโรงเรียนเพราะว่า ‘ไม่มีเงิน’ สําหรับอัตราความยากจนของประเทศฝรั่งเศสตอนนี้พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มากถึง 15.6% นอกจากนี้ ความรุนแรงที่ตำรวจใช้ในการขับไล่คนไร้บ้านก็ยังถูกพาดหัวข่าวให้เห็นกันอยู่เสมอ

สําหรับตอนนี้ PMI Service Sector ที่ได้แก่ การท่องเที่ยว การขายส่ง แฟชัน ตกลงจาก 52.5 มาอยู่ที่ 48 ซึ่งถือว่าเยอะมาก ตั้งแต่เปิดโควิดเป็นต้นมา และ Service Sector นับเป็นอัตราส่วน 80% ของเศรษฐกิจประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเกิดความเสียหายมากที่สุดในตอนที่มีคนมาชุมนุมประท้วง เพราะว่าคนไม่มาเที่ยว คนไม่ซื้อของหรู ไม่ซื้อหลุยส์ วิตตอง ไม่ไปดินเนอร์หรู ไม่ไปปาร์ตี้บนเรือยอร์ช หรือไม่เช่ารถลีมูซีน

ซึ่งการประท้วงในฝรั่งเศสดูจะบ่อยมากขึ้น เพราะนอกจากครั้งนี้ หากย้อนกลับไปครั้งล่าสุดก็ 3 เดือนที่แล้วนี้เอง และถ้าย้อนกลับไปแค่ประมาณปีกว่า ๆ ก็คือภายในปี 2022 ฝรั่งเศสประท้วงมาแล้ว 4 ครั้ง 

หากมองเป็นภาพวงจร ก็คือ คนจน > โกรธ > ประท้วง > เศรษฐกิจเสียหาย > เงินก็ยิ่งน้อย > คนก็จนลงไปอีก ทีนี้จึงเกิดความรู้สึกโกรธ และก็เกิดการประท้วงวนลูปอยู่อย่างนี้ต่อไป ยิ่งวนเศรษฐกิจก็ยิ่งหดตัว 

ส่วนรัฐบาลฝรั่งเศสเองก็มีปัญหาใน ‘การใช้จ่าย’ คือ ใช้เงินเกินรายได้ และตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา รัฐบาลใช้จ่ายเงินเกินรายได้ไปเยอะมากมาโดยตลอด ส่วนอัตราภาษีตอนนี้ก็อยู่ที่ 45% แล้ว ถ้าจะไปขูดรายได้เพิ่มจากการเก็บภาษีประชาชน ก็คงดูจะทำได้ลําบากยิ่งขึ้น ทำให้ประธานาธิบดี ‘แอมานุแอล มาครง’ จึงต้องไปจีบทั้งจีนและบริดจ์ โดยที่ไม่สนใจการแตกแถวจากสหรัฐอเมริกา

แต่ประเทศฝรั่งเศสที่ปัจจุบันร่ำรวยเป็นอันดับ 7 ของโลกจะเดินออกมาจากวงจรแห่งความหายนะนี้ได้หรือไม่? เราก็คงทำได้แค่เอาใจช่วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top