Tuesday, 14 May 2024
เลือกตั้ง

นักกฎหมาย ชี้ ‘ณัฐวุฒิ’ ไม่เข้าลักษณะ ‘ผู้ช่วยหาเสียง’ ส่อ!! เข้าข่ายครอบงำพรรค หวั่นเข้าเงื่อนไขยุบพรรค

(10 มี.ค. 66) สืบเนื่องจากกรณีนายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ยื่นคำร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ตรวจสอบกรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผอ.ครอบครัวเพื่อไทยปราศรัยบนเวทีพรรคเพื่อไทย แม้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญและร้องขอให้ยุบพรรคเพื่อไทยหรือไม่นั้น ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ‘ดร.ณัฎฐ์’ นักกฎหมายมหาชน ได้แสดงความเห็นทางกฎหมายว่า…

“โครงสร้างพรรคการเมือง ตาม พรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ไม่ได้บัญญัติกำหนดตำแหน่งหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ตำแหน่งดังกล่าวไม่มีกฎหมายรองรับ เป็นเพียงตั้งกลุ่มขึ้นมาทำกิจกรรมทางการเมืองโดยใช้เทคนิคเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย หากพรรคเพื่อไทยถูกยุบพรรค หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยไม่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ให้ตั้งข้อสังเกตว่า ตามริมถนนสาธารณะทั่วไป แผ่นป้ายนโยบายของพรรคเพื่อไทย เป็นรูปภาพ อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย แต่กลับไม่มีภาพการนำเสนอนโยบายของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยมาเสนอต่อประชาชน จึงตั้งข้อสังเกตว่า ค่าใช้จ่ายของหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยจะนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายเป็นเกณฑ์ชี้แจงค่าใช้จ่ายต่อ กกต.หรือไม่” ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าปัญหาเกี่ยวกับระเบียบ กกต.ว่า ด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.พ.ศ. 2561 ได้ให้คำนิยามคำว่า ‘ผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้ง’ หมายถึง ‘ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งตามกฎหมาย’ ซึ่งบุคคลที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองถูกจำกัดสิทธิ์ ใช้สิทธิ์เลือกตั้งจนกว่าที่จะพ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ถึงจะเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.พ.ศ. 2561 ดังนั้น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยและถูกตัดสิทธิ์การเลือกตั้ง จึงไม่อาจเป็นผู้ช่วยหาเสียง ตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.พ.ศ. 2561 ได้

ส่วนรัฐธรรมนูญ หมวด 3 ให้สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อพิจารณาถึงนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ถูกตัดสิทธิทางการเมืองและไม่ได้เป็นผู้ช่วยหาเสียง เพราะขาดหลักเกณฑ์ในการเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จึงมีลักษณะเป็นการควบคุมครอบงำหรือชี้นำกิจการของพรรคในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกพรรคขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ตามความในมาตรา 29 แห่ง พรป.พรรคการเมือง พ.ศ.2560

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รับจ้างเป็น ผอ.ครอบครัวเพื่อไทย สามารถกระทำได้หรือไม่ ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าหากเป็นสัญญาจ้างทำของ มุ่งถึงความสำเร็จของงานเป็นหลัก สามารถกระทำได้ แม้ไม่ได้มีสัญญาว่าจ้าง แต่ต้องแจ้ง กกต.ประจำจังหวัดในพื้นที่ในวันที่หาเสียงหรือปราศรัย แต่เงื่อนไขสำคัญหลัก ต้องพิจารณาถึงรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่พรรคเพื่อไทย ชี้แจงต่อ กกต.เป็นการจ้างทำของหรือไม่

นอกจากนี้ จะต้องพิจารณาถึงคำปราศรัยจ้างในการหาเสียง เป็นผู้กำกับ ควบคุมเองหรือไม่อย่างไร เท่าที่ติดตามข่าว เห็น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผอ.ครอบครัวเพื่อไทย จ้างหลักร้อย เล่นหลักล้าน ต้องมาถอดคำปราศรัยว่า การปราศรัยหรือหาเสียง ครอบงำพรรคหรือไม่ แม้ไม่ผิดระเบียบ กกต.ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.พ.ศ.2561 โดยอาศัยช่องจ้างทำของ แต่ติดเงื่อนไขห้ามมิให้ผู้ใดมิใช่สมาชิกกระทำการใดควบคุม ครอบงำพรรค

“พูดภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ว่า ระหว่างคุณเต้น ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ กับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สถานะทางกฎหมายพรรคการเมืองไม่ต่างกัน เมื่อเป็นผู้ช่วยหาเสียงไม่ได้ ออกช่องรับจ้างทำของ แต่ติดกับดัก มาตรา 28 มาตรา 29 แห่งกฎหมายพรรคการเมือง เป็นอันตรายแก่พรรคการเมือง ซึ่งกฎหมายพรรคการเมือง มาตรา 28 ห้ามไว้โดยชัดแจ้งห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทำการใดอันทำให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกพรรคครอบงำพรรค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ยุบพรรคตามมาตรา 92 (3) ตรงนี้ ผมพูดตามหลักกฎหมาย เป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด” ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว

เมื่อถามว่า กระแสวันประชุมใหญ่พรรคเพื่อไทยวานนี้ (9 มี.ค. 66) กระแสปั่น 310 ที่นั่ง จะเป็นพรรคการเมืองตั้งรัฐบาลพรรคการเมืองเดียว มีความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า กระดานการเมืองของพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่อยู่ที่ได้จำนวนเท่าไหร่ แต่จำนวนที่คาดหมายเป็นการปั่นกระแส หากเป็นรัฐธรรมนูญ 2540 และรัฐธรรมนูญ 2550 อาจเป็นไปได้ แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ได้ออกแบบ สว.จำนวน 250 เสียงและลงมติเห็นชอบร่วมตามมาตรา 272 โอกาสจัดตั้งรัฐบาลพรรคการเมืองเดียว ยืนยันว่าโอกาสน้อย หรือว่า แทบไม่มีโอกาสเลย

ถามว่า เมื่อต้นปี 2566 มีอะไรใหม่เกิดขึ้นในเมืองไทย หนึ่งในนั้นคือ การเปิด “อุโมงค์มหาราช” สิ่งปลูกสร้างที่อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างแท้จริง

ย้อนเล่าความเป็นมาของ ถนนมหาราช-หน้าพระลาน-วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สถานที่ทั้งสามแห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ มีอายุมากกว่าร้อยปี โดยนับแต่อดีต เคยได้รับการทำนุงบำรุงเรื่อยมา กระทั่งวันเวลาผันผ่าน สถานที่ดังกล่าว ได้กลายเป็นจุดที่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ต่างให้ความสนใจ และเดินทางมาเยี่ยมชมปีละหลายล้านคน

 

กระทั่งเมื่อปี 2562 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนา กรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโบราณสถานเก่าแก่เหล่านี้ จึงหารือในที่ประชุมเกี่ยวกับการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดถนนหน้าพระลานและถนนมหาราช เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณสนามหลวง ถนนหน้าพระลานและถนนมหาราช ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยว และเกิดความปลอดภัยในการสัญจร โดยมอบให้กรุงเทพฯ พิจารณาให้มีความเหมาะสม

กลายเป็นกระแส เมื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถูกบรรดานักข่าวถามถึง ทีมเศรษฐกิจของพรรครวมไทยสร้างชาติ

กลายเป็นกระแส เมื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถูกบรรดานักข่าวถามถึง ทีมเศรษฐกิจของพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยเชื่อมโยงไปถึงทีมเศรษฐกิจของ (ว่าที่) แคนดิเดตนายกฯ แห่งพรรคเพื่อไทย นามว่า “เศรษฐา ทวีสิน” งานนี้ “ลุงตู่” ถึงกับสวนถามนักข่าวทันควัน “เขาเด่นตรงไหนล่ะ ที่เสนอชื่อเขามา เขาเก่งตรงไหน เขาทำอะไรมา เขาทำธุรกิจ และประเทศชาติไม่ใช่ธุรกิจ”

 

เท่านั้นยังไม่พอ ยังเน้นแบบชัดเจนอีกประโยค  จำคำพูดผมเอาไว้นะ คำว่าเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่เศรษฐกิจหรือธุรกิจของครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เข้าใจหรือไม่”

อีกหนึ่งเรื่อง ที่เมื่อไรที่นึกถึง “ลุงตู่” นายกรัฐมนตรีประเทศไทย ตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี ลุงตู่ให้ความสำคัญเรื่องของ “กีฬา” เป็นอย่างมาก

เหตุผลประกอบส่วนหนึ่ง เนื่องจากในอดีต ลุงตู่เป็นผู้ที่ชื่นชอบในการเล่นกีฬาเป็นเดิมทุน ครั้งหนึ่งในการจัดรายการ Government Weekly EP.19 เทปนั้นได้เชิญนักกีฬาทีมชาติสองคน คือ กันตภณ หวังเจริญ นักแบดมินตันทีมชาติไทย และ วิชาสิรี รัตนนัย นักฮอกกี้น้ำแข็งทีมชาติไทย โดยบางช่วงบางตอน ลุงตู่ได้ย้อนเล่าเรื่องราวความชอบกีฬาให้ฟังว่า...

“ชอบกีฬาทุกอย่าง เพราะเป็นทหารมาก่อน ตั้งแต่เป็นนักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย เขาก็ฝึกให้เรียนรู้กีฬาทุกประเภท สมัยเป็นเด็กก็ชอบฟุตบอล ชอบเล่นฟุตบอลกับเพื่อนสมัยมัธยม เมื่อโตขึ้นเคยเล่นรักบี้ด้วย เมื่อเป็นผู้บัญชาการก็เล่นตระกร้อกับลูกน้อง เล่นกีฬาได้หลากหลาย วอลเลย์บอลก็เล่นได้ คือไม่เก่ง แต่เล่นได้ คือสิ่งที่เราได้ออกกำลังกาย และได้พบปะกับลูกน้อง ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือผู้คนทั่วไป”

ไม่ใช่แค่ชอบเล่น แต่ลุงตู่ยังชื่นชอบในการดูกีฬาอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องติดตามและให้ความสำคัญกับนักกีฬาไทยทุกชนิด ลองสังเกตได้ว่า หากมีรายการกีฬาสำคัญ ๆ หรือทัวร์นาเมนต์กีฬาที่คนไทยให้ความสนใจ ลุงตู่มักจะไปปรากฏตัวร่วมงานอยู่บ่อย ๆ  

พร้อมทั้งตอกย้ำอีกด้วยว่า กีฬาในยุคสมัยนี้ กลายเป็น soft power ที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง รัฐบาลที่ผ่านมา จึงให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือกระทรวงดิจิทัลฯ ที่ให้การส่งเสริมกีฬาอีสปอร์ต จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 

อาจเป็นภาพปกติ ยามเมื่อเหล่านักกีฬาทีมชาติ ที่กำลังเตรียมตัวเดินทางไปแข่งขันในรายการสำคัญ ๆ มักจะเข้าพบกับนายกรัฐมนตรี เพื่อรับคำอวยพร แต่สำหรับ “ลุงตู่” ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ชื่นชอบกีฬา มากกว่าการมอบคำอวยพร คือการมอบแรงใจ ในฐานะคนชื่นชอบกีฬาเหมือน ๆ กัน เพื่อให้เหล่านักกีฬาได้นำไปต่อสู้ในเกมการแข่งขันต่อไป

 

การเลือกตั้งไทย ครั้งที่ ‘สกปรกที่สุด’ ในประวัติศาสตร์

26 ก.พ. 2500 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยมีจัดการเลือกตั้งใหญ่ แต่เกิดเหตุการณ์หลายอย่างที่ไม่ชอบมาพากล อาทิ การใช้เวลานับคะแนนนานถึง 7 วัน 7 คืน เกิดกรณีใช้ความรุนแรงทำร้ายคู่แข่งการเมือง ตรวจพบบัตรเลือกตั้งที่ถูกกามาตั้งแต่โรงพิมพ์ การเวียนเทียนคนใช้สิทธิเลือกตั้ง และอีกหลากปรากฏการณ์ด้านลบที่เกิดขึ้น ทำให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 กลายเป็นภาพจำในประวัติศาสตร์การเมืองว่าเป็น "การเลือกตั้งที่สกปรกที่สุด" 

ที่มาของเหตุการณ์ครั้งนั้น ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 2498  หลังจากการเดินสายรอบโลก เยือนสหรัฐอเมริกา ตามด้วยหลายประเทศในยุโรป ซึ่งล้วนยึดโยงกับแนวคิดเสรีประชาธิปไตย ทำให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีแนวคิดกลับมาเริ่มรณรงค์ “ประชาธิปไตย” และให้สัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2500 โดยหมายมั่นให้เป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม

จึงเป็นที่มาของการออกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2498  และการประกาศให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500โดยมีพรรคเสรีมนังคศิลา ที่จอมพล ป. เป็นหัวหน้าพรรค ลงสมัครรับเลือกตั้ง พร้อมด้วยพรรคประชาธิปัตย์ คู่แข่งสำคัญ และพรรคการเมืองอื่น รวมทั้งสิ้น จำนวน 23 พรรค

หลังเลือกตั้ง ปรากฏว่าชัยชนะเป็นของพรรคเสรีมนังคศิลา ได้ 86ที่นั่งจากทั้งหมด 160 ที่นั่ง แต่ผลการเลือกตั้งกลับไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้งและพบการโกงการเลือกตั้งหลายรูปแบบ

การเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยคำถาม นำมาสู่การก่อตัวของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนเคลื่อนไหวเรียกร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และให้มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ขณะที่สื่อมวลชนได้ประณามการเลือกตั้งครั้งนี้ ว่าเป็น "การเลือกตั้งที่สกปรก" แต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้แถลงผ่านสื่อว่าควรเรียกเป็น “การเลือกตั้งไม่เรียบร้อย”

นอกจากกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้ชุมชุม และสื่อมวลชนแล้ว ยังมีความเคลื่อนไหวสำคัญจากฟากพรรคการเมือง เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ โดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เขียนคำฟ้องต่อศาลในนามนายควง อภัยวงศ์ และ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์รวม 9 คน กล่าวหาว่าการเลือกตั้งมีความไม่ชอบธรรมในหลายเรื่อง 

ทั้งช่วงก่อน และระหว่างเลือกตั้ง ที่พบว่ามีการจัดเลี้ยงผู้กว้างขวาง และนายตำรวจผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือพรรคเสรีมนังคศิลา มีการเพิ่มชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างผิดปกติ รวมถึงมีการตรวจพบบัตรเลือกตั้งที่เรียกว่า ‘ไพ่ไฟ’ คือบัตรเลือกตั้งที่พิมพ์จากโรงพิมพ์โดยมีการกาเลือกผู้สมัครไว้แล้วเป็นจำนวนมาก และมีการใช้ ‘พลร่ม’ คือใช้กลุ่มคนเวียนลงคะแนนให้พรรคเสรีมนังคศิลาหลายรอบ

ขณะที่วันเลือกตั้งก็พบการก่อกวน มีการใช้ความรุนแรงในหน่วยเลือกตั้ง รวมถึงบางหน่วยเลือกตั้งที่เปิดให้ลงคะแนนช้า หรือยืดเวลาลงคะแนนออกไปหลังเวลาปิดหีบ และการนับคะแนนในหลายเขตที่ไม่โปร่งใส 

ชะตากรรมเลือกตั้ง 66 พรรคการเมืองใหญ่ ‘ฝ่ายรัฐ-ฝ่ายค้าน’ ต้องผวา!! หลัง ‘บรรดานักร้อง’ เรียงหน้าขุดหลักฐานยื่น ‘ยุบพรรค’

เมื่อไม่นานมานี้ (9 มี.ค.66) ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางสังคม และอาจารย์ ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในคลิปวิดีโอหัวข้อ ‘จับตา! กระแสยุบพรรค...ชะตากรรมเลือกตั้ง 66’ ที่เผยแพร่ทางช่องยูทูบ ‘Suriyasai Channel’ โดยระบุว่า…

เกาะติดสถานการณ์ทางการเมืองก่อนมีพระราชกิจฎีกาเลือกตั้ง ก็พบว่า มีกระแสยุบพรรคถูกจุดขึ้นมาอีก เดี๋ยวจะขอมาเรียบเรียงที่มาที่ไป ที่มันจะทำให้เกิดความวุ่นวายก่อนการเลือกตั้ง หรือความวุ่นวายช่วงเลือกตั้ง 

และหากจำกันได้ช่วงเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้วในปี 62 ก็มีพรรคใหญ่พรรคหนึ่ง ชื่อพรรคไทยรักษาชาติ หรือ ทษช. ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแค่ 23 วัน ต้องออกจากสนามเลือกตั้ง ทำให้นักวิเคราะห์มองว่า คะแนนของปีกฝ่ายค้านกับปีกพรรคร่วมรัฐบาลมันไม่ได้สะท้อนข้อเท็จจริง มันกลายเป็นการโหวตเพียงเพราะว่าไม่มีพรรคที่เรารักให้โหวตเลยจะต้องไปโหวตฝั่งพรรคอื่น มันเลยเกิดความคาราคาซังอย่างที่ได้เห็นกัน 

ส่วนการเลือกตั้งในรอบนี้ ปี 2566 ก็ต้องรอนายกฯ ประกาศยุบสภาก่อน ส่วนการเลือกตั้งก็คงเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมอย่างแน่นอน และคาดว่าเป็นช่วงต้นเดือน แต่ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น กระแสความวุ่นวายที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วนั่นก็คือ กระแสยุบพรรคการเมือง ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่คนหยิบยกมาพูดกันอย่างล้นหลาม ส่วนความคิดเห็นก็แตกต่างกันไป ส่วนประเด็นที่เราจะยกมาพูดในวันนี้ก็คือแนวโน้มของเรื่องนี้จะเอียนไปทางไหน จะเกิดเหตุซ้ำรอยปี 62 หรือไม่? หรือมีอะไรที่น่ากังวลมากกว่าเดิมหรือไม่?

>> เริ่มที่ประเด็นที่มีการร้องเรื่องยุบพรรคใหญ่ ๆ ในขณะนี้ที่โดนกันเกือบทุกพรรค

พรรคล่าสุดที่โดนคือ ‘เพื่อไทย’ เพราะมีคนไปร้องว่า ‘คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ’ ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี ถูกห้ามยุ่งเกี่ยวการเมือง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญระบุชัดเลยว่า ห้ามไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพียงแต่ศาลไม่ได้บอกว่าห้ามไปยุ่งนั้น ห้ามขนาดไหนอย่างไร พอไม่ได้เขียนอย่างนั้น อาจทำให้คุณณัฐวุฒิ สนใจหรือไม่สนใจหรือเปล่า ภาพที่ปรากฏออกมาคือคุณณัฐวุฒิ ไปมีบทบาทผู้นำในพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่เป็นผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย การแจกแจงแถลงยุทธศาสตร์แลนสไลด์ ผมคิดว่าคุณณัฐวุฒิปราศรัยทุกครั้ง ชูเรื่องนี้มากกว่าหัวหน้าพรรค พูดมากกว่าใครอีก 

นี่เลยกลายเป็นประเด็นที่มีคนไปร้องพรรคเพื่อไทยว่าปล่อยให้คนที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจกรรม หรือการดำเนินงานของพรรคเพื่อไทยนั่นเอง

ซึ่งก่อนหน้านี้เพื่อไทยก็โดนร้องกรณีที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ซึ่งอยู่ต่างประเทศ และถูกตัดสิทธิทางการเมือง หนีคดีด้วย ที่ดูเหมือนเล่นบทบงการพรรค หรือกระทั่งบงการว่าที่นายกคนที่ 30 ด้วยซ้ำไป กลายเป็นคนที่เหมือนชักใยอยู่แล้ว จะบอกว่าใครเหมาะไม่เหมาะ มันก็เลยทำให้ภาพดูยังมีบทบาทกับพรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทยอยู่ ซึ่งก็มีคำร้องเรียนนี้ไว้แล้ว แต่เข้าใจว่ากรรมการการเลือกตั้งยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาด

ต่อมาคือ ‘ก้าวไกล’ จำได้ว่าคุณศรีสุวรรณ จรรยา นักร้องเบอร์ 1 ก็ไปร้องยุบพรรคก้าวไกล เรื่องร้องเรียนคล้าย ๆ กับกรณีที่ คุณสนธิญา สวัสดี ที่ไปร้องพรรคเพื่อไทยล่าสุดว่า คุณปิยบุตร คุณธนาธร ซึ่งถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี แต่ไปขึ้นเวทีปราศรัย แล้วก็มีบทบาทนำในพรรคก้าวไกลอยู่ในขณะนี้ แม้จะทำในนามกลุ่มก้าวไกลก็ตาม แต่โดยเฉพาะการขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงเคียงคู่กันมันทำได้หรือไม่อย่างไร หรือเข้าข่ายไปผิดกฎหมายเลือกตั้ง จนถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่นี่ก็เป็นที่ร้องสักระยะแล้ว

ถัดไปเป็นพรรคใหญ่อย่าง ‘พลังประชารัฐ’ ของลุงป้อมในเรื่องที่ไปโยงกับทุนสีเทา ตู้ห่าว ที่บริจาคให้เงินสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ มีคนไปร้องว่าไปรับบริจาคจากคนที่ไม่มีสัญชาติไทย เป็นชาวต่างชาติ กฎหมายทำไม่ได้ บริจาคบาทเดียวก็ไม่ได้ อันนี้บริจาค 3 ล้าน เรื่องก็คาอยู่ที่คณะกรรมการเลือกตั้ง

ต่อมาพรรคลุงตู่ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ ก็มีคนออกมาพูดเรื่องที่ทำการพรรค สำนักงานพรรคไปโยงกับ ส.ว. คนหนึ่ง ที่คุณโรม รังสิมันต์ โฆษกพรรคก้าวไกล บอกว่าเป็น ส.ว. ทรงเอ แล้วก็เป็นอาคารสถานที่ ที่ไปโยงของเรื่องการได้มาที่มิชอบ หรือไม่สุจริต แล้วมันเป็นที่ทำการพรรคได้อย่างไร ก็มีคนพยายามเปิดประเด็นที่ว่าจะนำไปสู่การยุบพรรคหรือไม่ ซึ่งอันนี้ก็เป็นภาพของพรรคใหญ่

และล่าสุดตอนนี้คุณชูวิทย์ ก็เดินหน้าตรวจสอบ ‘ภูมิใจไทย’ อย่างแรง ทั้งเรื่องรถไฟสายสีส้ม เบื้องหน้าเบื้องหลังการประมูล จนกระทั่งเรื่องที่ดินรถไฟ ที่ดินเขากระโดง แล้วก็ใช้นอมินีถือหุ้นแทนเปิดโปงรายวัน ลามไปถึงขั้นประกาศว่าจะทำคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะว่าเรื่องมันไปโยงกับ ‘คุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ’ ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยด้วย

จะเห็นว่าพรรคใหญ่ 5-6 พรรคเหมือนถูกจ่อคอหอยอยู่เลยนะ แต่ความคิดเห็นบางคนบอกว่าไม่น่าถึงขั้นยุบพรรค หรือไม่น่าจะมีความผิดขนาดนั้น แต่จริง ๆ ก็ไปคาดการณ์อะไรที่มันจะร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะการเมืองไทย

ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมไม่ถึงขั้นไปเชียร์กฎหมายยุบพรรค เพราะกว่าจะทำพรรคให้เป็นองค์กร เป็นสถาบัน มีสมาชิก มีสาขาตามเงื่อนไขมันยาก อีกทั้งพรรคการเมืองบ้านเรายังไม่มีความเป็นสถาบัน แล้วหากมีบางพรรคกำลังก่อตัวแล้วไปยุบพรรค ลางสังหรณ์ผมไม่ค่อยเห็นด้วย แต่ในทางกลับกันก็ไม่อาจปล่อยให้พรรคการเมืองทำอะไรตามใจชอบจนเลยเถิด กลายเป็นกลุ่มเป็นแก็งเป็นก๊วนมาหาประโยชน์ โดยอ้างตัวแทนประชาชนไม่ได้ 

ฉะนั้นความพอดีของกฎหมายมันก็ต้องมี หรือความผิดทางกฎหมายมันก็ต้องบรรจุไว้ เรื่องยุบพรรค จึงไม่ได้ลบทิ้งไป ยังคงต้องคาไว้ ในรัฐธรรมนูญ 60 ก็เหมือนกัน ยังเห็นความจำเป็นต้องกำกับควบคุมพรรค โดยเฉพาะการกระทำที่มันทำลายความมั่นคง หรือเข้าข่ายกระทบต่อระบอบของการเมือง การปกครอง 

สำหรับเรื่องนี้บางคนอาจจะชอบ เห็นด้วยว่ามันต้องมี บางคนอาจจะมองกฎหมายว่ามันไม่ควรมี มันก็แล้วแต่คนจะตีความหมาย 

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ประเด็นนี้ถูกหยิบมาพูดหนักมาก ๆ ในช่วงนี้ และมีความออกมาชี้เป้า ออกมาเตือนให้จับตาดูว่าอาจจะทำให้การเมืองพลิกกระดานได้ ก็เพราะว่ามีบางคนใช้คำว่า กฎหมายติดเทอร์โบ หมายความว่ามันกำหนดช่วงเวลา วินิจฉัย คำร้องเรียนเรื่องยุบพรรคเร็วมาก ทำให้ไม่สามารถปล่อยทิ้งค้างไว้เป็นปีสองปี หรือจนลืมไปเลย มันทำไม่ได้ เพราะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นเจ้าภาพเบื้องต้นของข้อร้องเรียนเรื่องยุบพรรค กลายเป็นคนออกระเบียบมาเอง
.
ย้อนไปเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กกต. หรือกรรมการการเลือกตั้งชุดนี้ออกประกาศ ออกระเบียบ กกต. ว่าด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐาน ของนายทะเบียนพรรคการเมือง พ.ศ. 2566 ว่าด้วยขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนยุบพรรค หรือที่เรียกว่า ยุบพรรคติดเทอร์โบ 

โดยกำหนดว่าเมื่อมีคำร้อง ขั้นตอนแรกเจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องต้องใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน สำหรับตรวจสอบพยานหลักฐานเอกสารดูก่อนว่ามันเข้าองค์ประกอบหรือไม่ หรือมันเป็นแค่บัตรสนเทศ ใบปลิว หรือมันมีตรรกะ มีพยานหลักฐานสมน้ำสมเนื้อควรเป็นคำร้องภายใน 7 วัน คณะทำงานชุดนี้ต้องหาข้อยุติ 

เมื่อเห็นมันเข้าข่ายที่ต้องวินิจฉัยให้เป็นกระแสความ ก็ส่งไปที่กรรมการชุดใหญ่ กรรมการชุดใหญ่ก็ต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาวินิจฉัยคำร้องนี้ 30 วัน โดยต้องหาข้อยุติว่าเข้าข่ายต้องยุบพรรคหรือไม่? ถ้าหากเวลา 30 วัน ไม่พอสำหรับหาเอกสาร หรือหลักฐานที่มันยังเบาไปอยู่ แต่มีมูลจะหาต่อก็ขยายไปได้อีก 30 วัน รวมแล้วกลายเป็น 60 วัน แต่สามารถทำให้จบได้ภายใน 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วันในขั้นแรก 

หมายความว่าทำให้จบภายใน 30 วันได้ จากเดิมเริ่มที่ 7 วัน เป็น 30 วัน ก็ใช้เวลาแค่ 37 วัน แต่ถ้ามีเรื่องที่จะต้องสืบเพิ่ม ก็สามารถขยายได้อีก 30 วัน รวมเป็น 67 วัน สรุปคือ กกต. ใช้เวลาได้ไม่เกิน 67 วัน หรือสองเดือนกว่า ๆ ขยายยังไงก็ได้ไม่เกิน 67 วัน และสามารถทำให้จบก่อนหน้านั้นได้ 

ดังนั้นหากเรื่องตกไปตั้งแต่ขั้นตอนคณะทำงานรับเรื่อง ก็ไม่ต้องลุ้น ไม่ต้องกังวล แต่หากมันมีมูลต้องสอบ ก็ต้องไปรอคำวินิจฉัยของ กกต. ชุดใหม่ ก็จะทำให้พรรคการเมืองที่ถูกร้อง ต้องอยู่ในภาวะหวาดระแวง ทำการหาเสียงไป ชำเลืองมองไปว่า จะถูกวินิจฉัยว่าอย่างไร จะได้หาเสียงแบบสบายใจหรือต้องเอามือก่ายหน้าผาก

อย่างไรก็ตามเมื่อครบ 60 วัน คณะทำงานไม่เกิน 7 วัน กกต. ชุดใหญ่พิจารณาชี้ขาดไม่เกิน 30 วัน ขยายได้ไม่เกิน 30 วัน รวมเป็น 67 วัน ถ้าชุดใหญ่ กกต. เห็นว่ามีมูล สมควรวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นใช้คนนอกพรรค ไม่ได้เป็นสมาชิกมาบงการพรรค ทำได้หรือทำไม่ได้แค่ไหนอย่างไร ก็ต้องส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเรื่องนี้ กกต. ไม่มีอำนาจวินิจฉัย 

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมต.ผู้ปราบการกระทำผิดไซเบอร์ แห่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

อยู่ในตำแหน่ง ส.ส. ครบ 4 ปี และแม้จะเป็นรัฐมนตรีไม่นานมากนัก แต่ต้องยอมรับว่า "ชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์ มีบทบาทในการขับเคลื่อนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส  รวมถึงการทำหน้าที่ผู้แทนราษฎร ที่มีจุดยืนชัดเจนในการปกป้องสถาบันหลักของชาติ เรียกได้ว่า "พร้อมชน" ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งการจัดการกับ "ข่าวปลอม" ต่างๆ  การอภิปรายในสภา หรือให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเพื่อตอบโต้การเคลื่อนไหวหรือการทำกิจกรรมใดๆ ที่สุ่มเสี่ยงหรือเข้าข่ายกระทบสถาบัน

หากย้อนมองเส้นทางการเมืองของ "ชัยวุฒิ" ที่ครั้งหนึ่งเคยใฝ่ฝันอยากเป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานการเมือง เริ่มต้นจากการเป็น ส.ส. สิงห์บุรี กับพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2544  และขยับไปเป็น ส.ส.สิงห์บุรีอีกสมัยกับพรรคชาติไทย ในปี 2550 คล้อยหลังมา 1ปี เจ้าตัวจำต้องเว้นวรรค ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี  เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยซึ่งถูกยุบ ในคดียุบพรรคการเมือง ปี 2551

จากนั้นก็ผันตัวไปทำงานอื่นอยู่พักใหญ่ก่อนหวนกลับมาสู่การเมืองอีกครั้ง เมื่อถูกทาบทามให้เข้ามาช่วยปลุกปั้นพรรค "พลังประชารัฐ" สู้ศึกเลือกตั้งในปี 2562 ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 10 และมีบทบาทสำคัญในการบริหารขับเคลื่อนพรรค ต่อมาเมื่อถึงช่วงเวลาปรับ ครม. เดือนมีนาคม 2564  "ชัยวุฒิ" จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

"ที่ผมเข้ามาทำงานในกระทรวงดิจิทัล ภารกิจหลักของผมคือปกป้องสถาบันหลักของชาติ"

ประโยคสั้นๆ จากบางช่วงบางตอน ที่ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ในฐานะ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชี้แจงระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 3 กันยายน 2564 หลังถูกตั้งคำถามเรื่องการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่

วันนั้น เขาขยายความเหตุที่ต้อง ‘ปกป้อง’ สถาบันหลักของชาติ เพราะกำลังถูกบ่อนทำลาย โดยการใช้โซเชียลมีเดีย ใช้คอมพิวเตอร์ สื่อสารข้อมูลเท็จ บิดเบือน สร้างความเกลียดชัง เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างในประเทศ

‘เพื่อไทย’ หวั่น!! กกต. แบ่งเขตเลือกตั้งพิสดาร ชี้!! ไม่ควรแยกย่อยแขวง ป้องกัน ปชช. สับสน

(14 มี.ค.66) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นำโดย นายวิชาญ มีนชัยอนันต์ ประธานภาค กทม. น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวานิช ส.ส.กทม. และนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. แถลงเสนอความเห็นต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประเด็นการแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่อาจไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.

โดย น.ส.ธีรรัตน์กล่าวว่า ในฐานะตัวแทน ส.ส.กทม. มีหลายพรรคการเมืองไม่เห็นด้วยกับการแบ่งเขตที่ กกต. อาจจะเลือกใช้ โดยเห็นว่าหลักของการแบ่งเขต ควรรวมเขตขนาดใหญ่ไว้ด้วยกัน ไม่ใช่การรวมแขวง เพราะจะทำให้ ส.ส.เขต กลายเป็น ส.ส.แขวง และจะทำให้เกิดความสับสน ทั้งสำหรับ ส.ส.ที่จะต้องดูแลพื้นที่ และประชาชนที่จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

ทั้งนี้หาก กกต. แบ่งแขวงหนึ่งไปรวมกับอีกเขตการปกครอง ที่ไม่ได้มีพื้นที่เชื่อมต่อกัน และประชาชนไม่คุ้นเคย ไม่สะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิ อาจเป็นช่องโหว่ให้เกิดการทุจริตเลือกตั้งได้ รวมถึงเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง เกิดความไม่คุ้นเคยกับประชาชนจากแขวงอื่นที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง

“การแบ่งเขตควรคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง แต่ดูแล้วการแบ่งเขตของ กกต. เองดูจะเข้าทางกลุ่มผู้มีอำนาจเป็นหลักหรือไม่ อันนี้ท่านจะกลับหลังทัน คิดถึงประโยชน์ของประชาชนให้มากกว่าจะคิดถึงประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง” น.ส.ธีรรัตน์กล่าว

ด้าน นายวิชาญ ให้รายละเอียดการแบ่งเขตของ กกต. 4 แบบ ว่า กทม. 33 เขต เป็นที่จับจ้อง เนื่องจากเป็นชิ้นเค้กชิ้นหนึ่งที่หลายพรรคการเมืองอยากได้ เพราะเป็นเขตที่ติดต่อกัน และมีความหนาแน่นของคนเมือง

พรรค พท.เคยมีการแถลงข่าวและเตือนไปแล้วครั้งหนึ่ง ว่าการแบ่งเขตรอบแรกมีความผิดเพี้ยนและได้บอกให้คำนึงถึงกฎหมาย พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 29 ที่ต้องยึดโยงเรื่องเขตปกครองเป็นหลัก หมายความว่าต้องเอาอำเภอเป็นหลัก หากไม่สามารถแบ่งได้ ค่อยไปแบ่งตามแขวง นอกจากนี้ยังต้องยึดโยงตามการเดินทาง ให้ความสะดวกกับประชาชนให้ได้มากที่สุด และต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยวันนี้ยังไม่ทราบว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งจะออกมาเป็นรูปแบบไหน

“สิ่งสำคัญต้องไม่ทำให้ประชาชนสับสน ครั้งที่แล้วเราเตือน กกต. ว่าการแบ่งเขตที่ส่งรูปแบบมา รูปแบบที่ไม่เหมาะสม คือ 6-7 แต่พอภาคประชาชนท้วงไป กกต.ก็เปลี่ยนมามี 4 รูปแบบ 4 รูปแบบที่ว่า 1 และ 2 เป็นแบบที่เราท้วงไป ทั้งนี้ ตนตั้งข้อสังเกตว่า หากมองให้ลึก การประกาศต้องผ่านราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ รูปแบบ 1 และ 2 ขัดต่อ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 27 ที่ต้องรวมอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่ง กทม. ก็คือ เขต และเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 มีการเอาเขตเป็นตัวตั้งมากกว่าเอาแขวงมาเป็นตัวตั้ง แต่รอบนี้ รูปแบบที่ 1 และ 2 กลับกำหนดตำบลหรือแขวงมาเป็นตัวตั้ง ย้ำว่าจัดแบบนี้วุ่นวายไปหมด ข้าราชการเองก็งง จึงมาบอกทางประชาชนและบอกทางพรรคการเมืองให้ช่วยดู”

“ถามว่า กกต.ได้อะไร ได้ความสนุกหรือไม่ กกต.แบ่งเพื่อที่จะให้ 10% แต่ไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน ความวุ่นวายการเสียจำนวนเงิน ประชาสัมพันธ์ เขายังไม่ได้คำนึงถึงเรื่องกฎหมายหากมีใครมายืนร้อง หลังเลือกตั้งประกาศผลไม่ได้ เป็นโมฆะ กกต.รับผิดชอบหรือไม่ ประเทศเรามีนักร้องเยอะมาก กทม. ทะเลาะกันแน่นอน” นายวิชาญกล่าว

นายกฯ ไทยที่มีอายุการทำงาน ''สั้นและยาวที่สุด''

อีกประมาณ 2 เดือนข้างหน้าจะเข้าสู่การเลือกตั้งใหญ่ เป็นที่รู้กันว่าตามรัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติไว้ให้นายกรัฐมนตรีมีวาระในการดำรงตำแหน่งไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 8 ปี หากย้อนดูในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 29 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีวาระในการดำรงตำแหน่ง และห้วงเวลาสั้น ยาว แตกต่างกันไป

แต่ถ้าพูดถึงนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในอำนาจสั้นที่สุด นั่นคือ  "ทวี บุณยะเกตุ" ซึ่งอยู่ในตำแหน่งเพียง 18 วัน เป็นช่วงเวลาแสนสั้น  แต่ภารกิจนั้นกลับสำคัญยิ่ง

ย้อนกลับไปเมื่อ 15 สิงหาคม 2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเข้าสู่จุดสิ้นสุดเมื่อญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงคราม นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ได้ออก “ประกาศสันติภาพ” อันมีใจความสำคัญว่า การประกาศสงครามของไทยต่ออังกฤษและสหรัฐฯ เป็นโมฆะ ทำให้รัฐบาลนายควง  อภัยวงศ์ ลาออกตามมารยาทการเมือง

ขณะที่ต้องรอเวลาให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา เดินทางกลับมาที่ไทยเพื่อรับตำแหน่งนายกฯ ต่อไป ทว่ามีภารกิจเร่งด่วนที่สุดของประเทศที่รอไม่ได้ คือการเจรจายุติสงครามกับอังกฤษและสหรัฐฯ  จึงจำเป็นต้องตั้ง "รัฐบาลเฉพาะกิจ" เร่งจัดการเรื่องต่างๆ ช่วงรอยต่อจากภาวะสงคราม

"ทวี บุณยเกตุ" คือบุคคลที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี "ขัดตาทัพ" ด้วยความที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผ่านประสบการณ์ทางการเมืองเป็นเลขา ครม.ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ และเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดคือ นายทวี เป็นแกนนำคณะเสรีไทย ที่นายปรีดี พนมยงค์ ไว้ใจ รวมถึงเป็นที่ยอมรับของฝ่ายสัมพันธมิตร

ดังนั้นรัฐบาลของนายกฯ "ทวี บุณยเกตุ"  จึงมีอายุเพียงแค่ "18 วัน" ตั้งแต่ 31 สิงหาคม-17 กันยายน 2488  ในการทำภารกิจสำคัญเร่งด่วน คือ เตรียมการเจรจายุติสถานะสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐฯ  พร้อมปูทางให้ไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวมถึงเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “ไทยแลนด์” กลับมาใช้ชื่อ “สยาม”  และยุบตำแหน่ง “ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน” เพื่อลดเกียรติภูมิของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ตัดสินใจให้ความร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นก่อนหน้านั้น

กระทั่ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับถึงไทย วันที่ 17 กันยายน 2488 นายทวีได้นำคณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อเปิดทางให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช จัดตั้งรัฐบาลตามที่ตกลงกันไว้ เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจของนายกรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาอยู่ในตำแหน่งสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

เมื่อพูดถึง “นายกฯ ที่มีอายุงานสั้นที่สุด” ในมุมตรงข้าม นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด ต้องยกให้ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม"  ที่เป็นนายกรัฐมนตรี 2 ช่วง รวมเวลายาวนานถึง 15 ปี กับอีก 11 เดือน

‘ไพบูลย์’ ไม่หวั่น ปม ส.ส.ทยอยลาออกจาก พปชร. ลั่น!! เตรียมตัวมาดี หากยุบสภาฯ พร้อมเดินหน้าทันที

(14 มี.ค. 66) ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรค พปชร. ให้สัมภาษณ์ กรณีที่มี ส.ส.ของพรรคทยอยลาออก โดยล่าสุดคือ นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี และแกนนำพรรค พปชร. ว่า คนที่ออกไปส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่จะลาออกตั้งแต่ต้น มีเจตจำนงค์ที่จะไปพรรคอื่น แต่ยังไม่ลาออกอย่างเป็นทางการ วันนี้เป็นการลาออกอย่างเป็นทางการ และคนที่ออกไปก็อยู่ในจำนวนที่เคยบออกไปตั้งแต่แรกว่าเป็นส่วนน้อย แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่พรรค

และยังมีกลุ่ม ส.ส.ที่มาจากพรรคอื่นที่เข้ามาจำนวนมาก ยืนยันว่า พรรค พปชร. มีความพร้อมที่สุดที่จะเข้าสู่การเลือกตั้ง ที่มีข่าวว่าคนนู้นคนนี้ลาออก เป็นเรื่องที่เกินไป ไม่ใช่อย่างนั้น พรรคไม่มีปัญหา และกระแสพรรคตอนนี้ไม่ได้ดรอปและดีขึ้น โดยพรรคได้จัดทำโพลสำรวจเป็นระยะ จึงไม่รู้สึกหนักใจอะไร ขณะเดียวกันเรื่องที่ดี คือหัวหน้าพรรคมีภาพลักษณ์และทำกิจกรรมที่มีภาพปรากฎในสื่อเป็นไปในทางบวก ถือเป็นข้อดี

นายไพบูลย์ กล่าวว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมเลือกตั้ง จะมีคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้ามาดูแลขับเคลื่อนการดำเนินงานของพรรค อาทิ ฝ่ายดูแลเวทีและกิจกรรมของพรรค โดยมีนายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหัวหน้าพรรค เป็นผู้ดูแล คณะกรรมการฝ่ายอำนวยการเลือกตั้ง โดยมีนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรค เป็นผู้ดูแล และมีนายวราเทพ รัตนากร เป็นผู้ช่วยดูแล คณะกรรมการจัดทำนโยบาย มีนายอุตตม สาวนายน เป็นประธาน คณะกรรมการยุทธศาสตร์การเมือง มีนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นผู้ดูแล และตนเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายกฎหมาย

ทั้งนี้ เมื่อยุบสภาฯ จะเข้าสู่การเลือกตั้งเต็มรูปแบบ พรรคก็จะดำเนินการให้เต็มรูปแบบ ขณะนี้ทีมงานมีความพร้อมที่ดีมาก และมีผู้รับผิดชอบในแต่ละด้านทั้ง 7 ฝ่าย สำหรับขุนพลปราศรัยของพรรคมีทุกเวที และน่าจะมีคนเกินมากกว่าเวที โดยการปราศรัยแต่ละครั้งต้องมีประชาชนมาฟังให้เต็ม ไม่ใช่มีแต่เก้าอี้ ที่พูดไม่ได้ประชดใคร ขณะที่การขึ้นเวทีดีเบต พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค พปชร. ได้มอบหมายให้หลายคนเป็นตัวแทน พล.อ.ประวิตร จะพูดบนเวทีปราศรัย หรือการให้สัมภาษณ์พิเศษ

ผู้สื่อข่าวถามว่า บุคคลที่ลาออกซึ่งรับผิดชอบพื้นที่เลือกตั้ง จำเป็นต้องมีการปรับอะไรหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น เพราะหัวหน้าพรรคมอบหมายงานให้รับผิดชอบ ซึ่งแต่ละพื้นที่ไม่ได้มีคนเดียว มี 2-3 คนอยู่แล้ว คนที่อยู่ก็ทำงานต่อ คนที่ออกก็ออกไป ไม่มีผลกระทบอะไร ยืนยันว่าพรรคมีความพร้อมในการเลือกตั้ง เนื่องจากรายชื่อที่ออกไป พรรครู้และเตรียมการไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหรือเซอร์ไพรส์อะไร เราทราบก่อนหน้านั้นแล้ว แค่วันนี้ออกอย่างเป็นทางการ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top