Monday, 29 April 2024
เลือกตั้ง

นิพนธ์ - เดชอิศม์ -ไพเจน นายก อบจ. จับมือ สจ. หนุน ปชป.พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งสงขลา

นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้อำนวยการเตรียมการเลือกตั้งพรรคปชป. ประชุมร่วมกับนายเดชอิศม์ ขาวทอง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ภาคใต้ นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และสมาชิกสภาอบจ.สงขลา 28 คน ประกาศจุดยืนเตรียมความพร้อมหนุน พรรคปชป.สู้ทุกเขตเลือกตั้ง ณ บ้านพักเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ทั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของการเตรียมการเลือกตั้งที่จะมาถึงในเร็ววันนี้ โดยนายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคปชป. ผนึกกำลัง 3 ฝ่าย จับมือกับ นายเดชอิศม์ ขาวทอง รองหัวหน้าพรรคปชป.ภาคใต้ ร่วมกับนายไพเจน มากสุวรรณ์ และสมาชิกสภา อบจ.สงขลาทั้ง 28 คน ในการเตรียมความพร้อมติดตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ และพร้อมลงช่วยเหลือผู้สมัครของพรรคปชป.ทุกเขตเลือกตั้ง

ซึ่งนายนิพนธ์กล่าวช่วงหนึ่งว่า วันนี้ผมอยากเห็นพวกเราชาวประชาธิปัตย์ทั้งหมด ผนึกกำลังรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว เพื่อเตรียมความพร้อมในการสู้ศึกเลือกตั้ง เพื่อเป้าหมายสู่ชัยชนะการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสงขลาทั้ง 9 เขต ของพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นจึงอยากให้ท่านสมาชิกสภา อบจ.สงขลาทั้ง 28 คนที่มาร่วมประชุม ได้ติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งในพื้นที่ของตนเอง เพื่อทำการประมวลผล อันจะนำมาซึ่งการพิจารณาหาแนวทางการทำงานของผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคในแต่ละเขตเลือกตั้ง ว่าขณะนี้ผู้สมัครแต่ละเขตกำลังเดินไปในทิศทางใด เพื่อจะนำปัญหาทั้งหมดมาร่วมกันแก้ไขต่อไป

รวมประโยคเด็ด 'ลุงตู่' และวลีทองในตำนาน "นะจ๊ะ"

เรื่องบุคลิกภาพของ 'ลุงตู่' ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภาพจำที่ประชาชนจดจำได้เป็นอย่างดี แม้จะดูเป็นคนดุ พูดประโยคสั้น กระชับ ได้ใจความ ตามสไตล์ชายชาติทหาร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า 'ลุงตู่' มักจะมีประโยคเด็ด ที่เรียกความสนใจประชาชนอยู่เสมอ ๆ

ยกตัวอย่างครั้งหนึ่ง ก่อนการปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ปี 2563 ลุงตู่ได้กล่าวประโยคที่ทำให้บรรดาสื่อมวลชนต้องคัดมาทำเป็นประโยคสำคัญ (Quote) ลุงตู่บอกไว้ว่า... 

“ผมไม่เคยยึดติดกับตำแหน่ง หลายท่านบอกผมอยากอยู่ยาว อยู่นาน ก็ต้องไปถามคนพูด สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผมจะไม่ตัดช่องน้อยแต่พอตัวเพื่อหนีปัญหา ผมจะไม่ละทิ้งหน้าที่ด้วยการลาออกในยามที่ชาติบ้านเมืองมีปัญหาเหมือนคนที่เพิ่งฟื้นไข้ และจะขับเคลื่อนประเทศให้เดินต่อไปจนกว่าจะไม่มีโอกาสได้ทำ”

หรืออีกครั้งหนึ่งเมื่อถูกถามจากนักข่าวเรื่องมีกระแสนายกฯ จะลาออก ลุงตู่ก็ตอบออกมาว่า “ก็ยังทำงานอยู่นี่ไง ทำงานอยู่นี่ ไม่มีคำท้อแท้ ผอมลงมาหน่อยเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นโรคเป็นภัยทั้งสิ้น แข็งแรงทั้งกายและใจ เพราะว่าทำเพื่อคนอื่น และอย่างไรก็ต้องทำจนกว่าจะไม่ได้ทำก็เท่านั้นเอง”

ด้วยสไตล์การตอบคำถาม ตลอดจนการพูดคุยของลุงตู่ ทำให้สื่อมวลชนมักจะได้ 'ประโยคเด็ด' นำไปเสนอข่าวอยู่เป็นประจำ รวมทั้งยังมี 'วลีทองในตำนาน' ที่กลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี นั่นคือ การลงท้ายประโยคด้วยคำว่า “นะจ๊ะ”

'คูหาไม่ปิดลับ' จุดจบการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 และ '16 ล้านเสียง' เหลือเพียงแค่วาทกรรม

ย้อนกลับไปในช่วงที่ 'ทักษิณ ชินวัตร' และพรรคไทยรักไทย กลับมาครองอำนาจบริหารประเทศ ในสมัยที่ 2 หลังการเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ ปี 2548  รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าสมัยแรก ด้วยการเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ที่กุมจำนวน ส.ส. ในสภาถึง 376 เสียง 

แต่ความแข็งแกร่งของรัฐบาลกลับถูกสั่นคลอน เมื่อมีการก่อตัวของมวลชนกลุ่มหนึ่งที่ออกมาประท้วง และเริ่มขยายตัวจนเกิดเป็น 'พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' ยิ่งเกิดกรณีขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเส็กของสิงคโปร์โดยไม่เสียภาษี ความขัดแย้งก็ยิ่งบานปลาย กระทั่ง 'ทักษิณ ชินวัตร' นายกรัฐมนตรี ต้องประกาศยุบสภา เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 2 เมษายน 2549 แต่อีก 3 พรรคการเมือง คือประชาธิปัตย์  ชาติไทย และมหาชน ประกาศ 'บอยคอต' ไม่ลงเลือกตั้ง 

แต่การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ยังคงเดินหน้า โดยมีเฉพาะพรรคไทยรักไทยและพรรคเล็ก ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง และในเขตที่พรรคไทยรักไทยไร้คู่แข่ง จะต้องได้คะแนนเสียง มากกว่า 20% ของผู้มาใช้สิทธิ จึงจะได้รับเลือกตั้ง

จากอดีต 'ถนนลาดพร้าว' จราจรสุดโหด สู่ 'ถนนลาดพร้าว ยุคใหม่' ที่มาด้วย 'รถไฟฟ้าสายสีเหลือง'

ถามว่า ถนนเส้นไหนใน กทม. ที่ขึ้นชื่อว่า ติดโหดที่สุด แน่นอนว่า หนึ่งในเส้นที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์ที่สุด คงหนีไม่พ้น ถนนลาดพร้าว

ถนนลาดพร้าว เริ่มต้นตั้งแต่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว (หรือที่เรียกจนคุ้นเคยว่า ปากทางลาดพร้าว) โดยมีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ กทม. ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก ข้ามคลองน้ำแก้ว คลองบางซื่อ ข้ามคลองลาดพร้าว เข้าสู่พื้นที่เขตวังทองหลาง ตัดกับถนนโชคชัย 4 และถนนประดิษฐ์มนูธรรม จากนั้นเป็นเส้นแบ่งระหว่างแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์กับแขวงพลับพลา จากนั้นตัดกับถนนลาดพร้าว 101 เข้าสู่พื้นที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ ผ่านสามแยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือ ถนนเสรีไทย

‘ชลน่าน-แพทองธาร-เศรษฐา-เพื่อไทย’ เล่นใหญ่!! โพสต์ภาพ-คลิป ‘คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน’

(28 ก.พ. 66) พรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์คลิปความยาว 1 นาที รวบรวมนโยบายสำคัญของพรรคเพื่อไทย ที่ได้ทยอยประกาศในวาระต่าง ๆ ไปแล้ว ได้แก่…

1.) คิดใหญ่ : สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง รายได้ 200,000 บาทต่อปี เป็นศูนย์กลางการขนส่งคมนาคมในภูมิภาค เป็นศูนย์กลางงานเทศกาลในภูมิภาคเอเชีย ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ภายในปี 2570 เงินเดือนปริญญาตรี/ข้าราชการ 25,000 บาท ภายในปี 2570 ปฏิรูปกองทัพเป็นทหารมืออาชีพ ปฏิรูประบบราชการทั้งระบบ รายได้เกษตรกรเพิ่มเป็น 3 เท่าภายในปี 2570 ต่อต้านการรัฐประหาร

2.) ทำเป็น : ยกระดับ 30 บาท บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทั่วไทย จองคิวได้เร็ว ผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปทั่วโลก 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ปราบปรามผู้ผลิต และผู้ขายยาเสพติด GDP เติบโตเฉลี่ยอย่างต่ำปีละ 5% ปราบอาชญากรรมไซเบอร์ รัฐบาลดิจิทัลเพื่อประชาชน เพิ่มความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

เปิดตัวล็อตใหญ่!! ‘บิ๊กป้อม’ ปลื้ม พปชร. เปิดหน้าผู้สมัครชุดใหญ่ เสริมแกร่งให้พรรค ลั่น!! จัดตั้งรัฐบาลชัวร์

(1 มี.ค. 66) ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรค นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรค แถลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ในจำนวนนี้ มีทั้ง ส.ส.เก่า และว่าที่ผู้สมัครส.ส. ประมาณ 50 คน บรรยากาศคึกคัก มี ส.ส. อดีต ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เดินทางมาจำนวนมาก

สำหรับว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ที่เปิดตัวครั้งนี้ ประกอบด้วย

ภาคกลาง
- กรุงเทพมหานคร ได้แก่ นายศิริพงศ์ รัศมี ส.ส.กทม. เขต 17
- จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ นายจาตุรนต์ นกขมิ้น, นายฐาปกรณ์ กุลเจริญ ส.ส.สมุทรปราการ, นายอัครวัฒน์ อัศวเหม ส.ส.สมุทรปราการ, นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก ส.ส.สมุทรปราการ, น.ส.ภริม พูลเจริญ ส.ส.สมุทรปราการ, นายแสน บานแย้ม ที่ปรึกษา รมช.เกษตรและสหกรณ์, นายยงยุทธ สุวรรณบุตร ส.ส.สมุทรปราการ, นายต่อศักดิ์ อัศวเหม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายวรพร อัศวเหม
- จังหวัดราชบุรี ได้แก่ นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี เขต 2, นายชัยทิพย์ กมลพันธุ์ทิพย์ ส.ส.ราชบุรี, นายจตุพร กมลพันธุ์ทิพย์
- จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ฉะเชิงเทรา เขต 4
- จังหวัดชัยนาท ได้แก่ นายธนบดี คุ้มชนะ อดีตนายก อบจ.ชัยนาท
- จังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ น.ส.จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร เขต 3
- จังหวัดสระบุรี น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี เขต 1
- จังหวัดสิงห์บุรี นายโชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.สิงห์บุรี เขต 1
- จังหวัดสุพรรณบุรี นายยุทธนา โพธสุธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขต 4 สุพรรณบุรี 

ภาคอีสาน
- จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ นายสุขสันต์ ชื่นจิตร เขต 5 และนายอัครแสนคีรี โล่วีระ เขต 7
- จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ นายสิตกวิน เตียวเจริญโสภา เขต 5 และนายเสรษฐิพณ แท่นดี เขต 6
- จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ นายสมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส.ขอนแก่น เขต 7, นายบัลลังก์ อรรณนพพร ส.ส.ขอนแก่น, นายพิพัฒน์พงศ์ พรหมนอก เขต 8
- จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ นายเกษม ศุภรานนท์ ส.ส.นครราชสีมา เขต 1, นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต 4, นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต 6, นางทัศนียา รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต 7, นางทัศนาพร เกษเมธีการุณ ส.ส.นครราชสีมา เขต 8 และนายณัฐพล ชวนกระโทก

ภาคใต้
- จังหวัดตรัง ได้แก่ นายนิพนธ์ ศิริธร ส.ส.ตรัง เขต 1
- จังหวัดกระบี่ ได้แก่ นายอนันต์ เขียวสด
- จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ นายรงค์ บุญสวยขวัญ ส.ส.นครศรีธรรมราช เขต 1, นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.นครศรีธรรมราช เขต 2, นายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ส.ส.นครศรีธรรมราช เขต 3
- จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ นายสมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เขต 2
- จังหวัดภูเก็ต ได้แก่ นายสุทา ประทีป ณ ถลาง ส.ส.ภูเก็ต เขต 1, นายนัทธี ถิ่นสาคู ส.ส.ภูเก็ต เขต 2
- จังหวัดปัตตานี ได้แก่ นายอันวาร์ สาละ อดีต ส.ส.ปัตตานี
- จังหวัดยะลา ได้แก่ นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ส.ส.ยะลา เขต 1

ภาคเหนือ
- จังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ นายไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชร เขต 1, นายเพชรภูมิ อาภรณ์รัตน์ ส.ส.กำแพงเพชร เขต 2, นายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร เขต 3, นายปริญญา ฤกษ์หร่าย เขต 4
- จังหวัดพิจิตร ได้แก่ นายพรชัย อินทร์สุข ส.ส.พิจิตร เขต 1, นางณริยา บุญเสรฐ เขต 2, นายเอกวิชญ์ เรืองมาลัย 
- จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ ส.ส.เพชรบูรณ์ เขต 1, นายจักรัตน์ พั้วช่วย ส.ส.เพชรบูรณ์ เขต 2, นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ส.ส.เพชรบูรณ์ เขต 3, นายเอี่ยม ทองใจสด ส.ส.เพชรบูรณ์ เขต 5
- จังหวัดพะเยา ได้แก่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา เขต 1 และนายจิรเดช ศรีวิราช ส.ส.พะเยา เขต 3
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ นายปัญญา จีนาคำ ส.ส.แม่ฮ่องสอน เขต 1

อีอีซี
- จังหวัดสระแก้ว ได้แก่ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว เขต 2 และนายสุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์ ส.ส.สระแก้ว เขต 3 
- จังหวัดชลบุรี ได้แก่ นายสรัลชา ศรีชลวัฒนา, ร.อ.จองชัย วงศ์ทรายทอง ส.ส.ชลบุรี, นายประมวล เอมเปีย, นายโอฬาร์ ปัญญปิติพัฒน, นายบรรจบ รุ่งโรจน์, นายนิพนธ์ แจ่มจรัส, นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ ส.ส.ชลบุรี, นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี และ น.ส.กวินนาถ ตาคีย์ อดีต ส.ส.ชลบุรี

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ขอบคุณ ส.ส.เก่าที่ยังอยู่พรรคนี้ และขอบคุณผู้สมัคร ส.ส.ที่ย้ายมาจากพรรคอื่น ขอบคุณผู้สมัคร ส.ส.ใหม่ทุกคน ที่จะมาทำชื่อเสียงให้กับพรรคต่อไป ขอบคุณทุกคน รู้สึกตื่นตันใจ โดยเฉพาะ ส.ส.เก่าที่ยังอยู่กับตน ไม่ไปไหน ขอบคุณมาก วันนี้เราถือว่าเป็นโอกาสดีวันหนึ่งในการเปิดตัวผู้สมัคร ทั้ง ส.ส.เก่าที่ไม่ไปย้ายพรรคอื่น แม้เราจะโดดดูดไปเยอะ แต่ไม่เป็นไร

“พรรคผม ถือเป็นพรรคที่โดนดูดส.ส.มากที่สุด แสดงว่าพรรคเราเข้มแข็ง พรรคอื่นถึงดึงไป ขอบคุณทุกคนที่ยังอยู่พรรคนี้ ขอบคุณคนที่ย้ายเข้ามาในพรรคใหม่ ที่มาจากพรรคอื่นมาอยู่ในพลังประชารัฐ ซึ่งยินดีต้อนรับทุกคน โดยเฉพาะผู้สมัคร ส.ส.ใหม่ ที่จะมาเป็นกำลังให้กับพรรค เราหวังว่าจะได้ ส.ส.มาก คราวที่แล้วเราได้อันดับสอง คราวนี้ผมอยากได้อันดับหนึ่ง” พล.อ.ประวิตร กล่าว

'ขุนศึก กทม.' ของ 6 พรรคการเมืองใหญ่

ศึกนี้ใหญ่แน่ๆ เลยวิ! กำลังพูดถึง 'พื้นที่กรุงเทพมหานคร' ที่ว่ากันว่า ศึกเลือกตั้ง 66 จะเป็นสมรภูมิแห่งการเลือกตั้งที่บรรดาพรรคการเมืองสู้กันดุเดือด โดยเบื้องต้นคณะกรรมการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้จัดสรรโควตา ส.ส.กรุงเทพมหานครไว้ที่ 33 คน เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 จำนวน 3 ที่นั่ง แน่นอนว่า ยิ่ง 'เก้าอี้ ส.ส.' มากขึ้น การแข่งขันเพื่อช่วงชิงโควต้า ส.ส.ก็ยิ่งทวีความร้อนแรงอย่างไม่ต้องสงสัย

'สมศักดิ์ เทพสุทิน' รมต.ยุติธรรม สายนักสร้าง สร้างมาตรฐานนักโทษในเรือนจำ และสร้างโอกาสใหม่ในชีวิต

หากมองลงไปในคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หนึ่งในรัฐมนตรีที่นับว่ามีพรรษาทางการเมืองสูงสุด ก็คือ 'สมศักดิ์ เทพสุทิน' 

จากท้องถิ่น ถึงการเมืองชาติ ผู้นำ 'บ้านใหญ่' พื้นที่ จ.สุโขทัย ในวัย 68 ปี ผ่านประสบการณ์การบริหารบ้านเมืองมานับไม่ถ้วน ทั้งในบทบาทรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง จนกระทั่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากระทรวงยุติธรรม และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนพรรคพลังประชารัฐในฐานะประธานยุทธศาสตร์พรรค

“42 ปีทางการเมือง ผมยังมีไฟแก้ปัญหา อาจทำได้ไม่ทั้งหมด แต่จะพยายามทำให้ดีที่สุด”

คือประโยคทิ้งท้ายในงานฉลองวันเกิด 13 มกราคม ปีที่แล้วของนักการเมืองรุ่นใหญ่ ผู้คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงการเมือง ตั้งแต่ก้าวเข้ามาในสนามการเมืองท้องถิ่นปี 2523 สู่บทบาททางการเมืองในระดับชาติ และยังคงมีจังหวะก้าวอยู่ในเส้นทางการเมืองจนถึงวันนี้ 

และหากมองเข้าไปถึง หลักคิด วิธีการ และเป้าหมายในการตัดสินใจทางการเมืองของนักการเมืองที่ชื่อ 'สมศักดิ์ เทพสุทิน' เจ้าตัวเคยให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้ ว่า เขาให้ความสำคัญกับ ‘ดิน ฟ้า อากาศ’

'ดิน' คือ ประชาชน รากหญ้า ความต้องการของประชาชนคือสิ่งสำคัญ 'ฟ้า' คือต้องดูพรรคการเมืองที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และ 'อากาศ' คือประเมินข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ 

ดิน ฟ้า และอากาศ จึงเป็นสามปัจจัยสำคัญที่เจ้าตัวให้ความสำคัญ และเป็นหลักยึดในการตัดสินใจกับพรรคพลังประชารัฐในช่วงเวลาที่ผ่านมา 

เบื้องหลังการขับเคลื่อนพรรคพลังประชารัฐตั้งแต่การหาเสียงเลือกตั้ง จนนำไปสู่การเป็นแกนหลักในการจัดตั้งรัฐบาล และสนับสนุนพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังเลือกตั้ง 2562 ส่วนหนึ่งมาจากพลังการขับเคลื่อนของกลุ่ม ส.ส. และนักการเมืองในนาม 'กลุ่มสามมิตร' 

'สามมิตร' เป็นกลุ่มการเมืองเฉพาะกิจ มีสามแกนหลักคือ 3 รัฐมนตรีในครม.ชุดปัจจุบัน คือ 'สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ' รมต.อุตสาหกรรม 'อนุชา นาคาศัย' รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ 'สมศักดิ์ เทพสุทิน รมต.ยุติธรรม

สะเทือนแลนด์สไลด์!! อดีต ส.ส.เพื่อไทย เปิดใจเหตุย้ายพรรคร่วมงาน 'ลุงป้อม' เชื่อ!! เป็นผู้นำเชื่อมทุกฝ่ายก้าวข้ามความขัดแย้ง

(2 มี.ค. 66) นายบัลลังก์ อรรณนพพร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ขอนแก่น พรรคพลังประชารัฐ และอดีต ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงการตัดสินใจย้ายออกจากพรรคเพื่อไทยมาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐว่า เหตุผลที่ตนตัดสินใจมาร่วมงานกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เนื่องจากนโยบายของพรรค ที่เข้าถึงประชาชน อย่างเช่น บัตรประชารัฐ ที่จะนำเงิน 700 บาทต่อเดือนสู่ประชาชนที่กำลังเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงไปนโยบายการปฏิรูประบบที่ดิน คืนที่ทำกินให้ประชาชน โดย เร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทุกประเภท เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ก็เป็นประโยชน์อย่างมากกับชาวอีสาน เพราะส่วนใหญ่มักจะถือครองที่ดิน ส.ป.ก. และอีกนโยบายหลักที่สำคัญมาก ๆ คือ การก้าวข้าวความขัดแย้ง

นายบัลลังก์ กล่าวว่า การบริหารประเทศของพรรคพลังประชารัฐ ภายใต้การนำของพล.อ.ประวิตร ถือว่าได้แก้ปัญหาความเดือดร้อนด้านปากท้องของประชาชนซึ่งตนในฐานะ ส.ส.เขต ทำงานกับชาวบ้านอย่างใกล้ชิดเชื่อว่า นโยบายของพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งครั้งนี้จะสามารถเข้าถึงประชาชนได้แน่นอน

"ผมจะนำนโยบายไปประชาสัมพันธ์ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ให้ประชาชนทุกคนเข้าใจในนโยบายของพรรค ในพื้นที่ภาคอีสาน ต้องยอมรับความการประชาสัมพันธ์นโยบายของพรรคการเมืองอื่น ที่ไม่ใช่พรรคเพื่อไทย ยังไม่สามารถเข้าถึงชาวอีสานได้ ผมก็จะเป็นตัวกลางประสานงานกับชาวบ้าน เพื่อทำความเข้าใจกัน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า"จับเข่าคุยกัน"นายบัลลังก์ กล่าว

ชวนทำความรู้จัก 'ระบบบัญชีรายชื่อ' ให้ลึกและรอบมากขึ้น ก่อนการเลือกตั้งจะมาถึง

การเลือกตั้งใหญ่ 2566 ที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ จะมีความแตกต่างจากการเลือกตั้งปี 2562 ที่ครั้งนั้นใช้บัตรใบเดียวเลือกทั้ง ส.ส.เขต 350 คน และส.ส.บัญชีรายชื่อ อีก 150 คน ภายใต้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม และคำนวณจากสูตรจำนวน ส.ส. พึงมี

แต่หนนี้จะกลับมาใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ซึ่ง 1 ใบสำหรับเลือก 'คน' ที่รัก อีก 1 ใบสำหรับ 'พรรค' ที่ชอบ โดย ส.ส. 500 คน จะมาจาก ส.ส.เขต 400 และบัญชีรายชื่อ อีก 100 คน 

การเลือก 'ผู้แทนราษฎร' ระบบบัญชีรายชื่อ หรือ ปาร์ตี้ลิสต์ ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็คือระบบที่ให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือก 'พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง' โดยแต่ละพรรคจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้ไม่เกินเพดานจำนวนที่กำหนด และเมื่อผ่านการลงคะแนนแล้ว ผู้สมัครที่อยู่ในบัญชีของพรรคนั้นก็จะได้รับเลือกตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้รับ 

สำหรับประเทศไทยนั้น มีจุดเปลี่ยนสำคัญหลังการปฏิรูปการเมืองจนได้มาซึ่ง 'รัฐธรรมนูญปี 2540' ที่มีการนำเสนอระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ที่พลิกโฉมการเมืองไทย คือระบบ 'ปาร์ตี้ลิสต์' เป็นครั้งแรก เจตนารมณ์เพื่อ 'เพิ่มบทบาทของพรรคการเมืองและนโยบายของพรรค' ทำให้พรรคการเมืองมีความสำคัญมากขึ้น และทำให้ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือก ส.ส. ในเขตพื้นที่ และพรรคการเมืองที่ชื่นชอบแตกต่างกันได้ 

'ปาร์ตี้ลิสต์' ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในการเลือกตั้งปี 2544 โดยมีการแยกที่มาของ ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อออกจากกันชัดเจนด้วยบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และใช้บัญชีปาร์ตี้ลิสต์เดียวเป็นแบบเขตเดียวทั้งประเทศ

ต่อมา 'รัฐธรรมนูญ 2550' มีการปรับมาใช้ระบบ 'สัดส่วน' แบ่งพื้นที่การเลือกตั้งทั้งประเทศเป็น 8 กลุ่มจังหวัด แต่ละพรรคการเมืองจะต้องส่งรายชื่อผู้สมัคร 8 บัญชี ลงสมัครใน 8 กลุ่มจังหวัด บัญชีละไม่เกิน 10 คน เรียงตามลำดับหมายเลข   

อย่างไรก็ตาม รูปแบบดังกล่าวนี้ใช้ได้เพียง 1 ครั้ง  เมื่อต่อมา ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเปลี่ยนมือมาเป็น 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' สภาผู้แทนราษฎรก็ลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องระบบการเลือกตั้ง ส.ส. กลับไปใช้บัญชีรายชื่อบัญชีเดียวทั่วประเทศ จำนวน 125 คน

กระทั่งถึง 'รัฐธรรมนูญ 2560' มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้ง โดยมีการนำ 'ระบบจัดสรรปันส่วนผสม' มาใช้  มีการเพิ่มจำนวน ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อขึ้นเป็น 150 คน และให้ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวเลือกทั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขต และระบบบัญชีรายชื่อ 

จนมาถึงการเลือกตั้ง 2566 นี้ จะมีการปรับกลับมาใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และใช้การคิดคำนวณแบบคู่ขนาน หรือ Mixed Member Majoritarian System ซึ่งมีจำนวน ส.ส.เขต 400 คน และ ปาร์ตี้ลิสต์ 100 คน เหมือนการเลือกตั้ง ปี 2544 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top