Monday, 29 April 2024
เลือกตั้ง

ประเด็นปัญหาในการจัดตั้งรัฐบาลเวลานี้

1.การเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ ยังมีขั้นตอนทางกฎหมายบางอย่างที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ไม่ใช่ลงคะแนน 14 พฤษภาคมแล้วจบ เสร็จกัน

2.หน่วยเลือกตั้ง 95,000 กว่าหน่วย จะต้องตรวจสอบว่า มีหน่วยไหนมีปัญหาจะต้องลงคะแนนใหม่ หรือมีปัญหาอื่นใดหรือไม่

3.มีข้อร้องเรียนทั้งหมด 280 เรื่อง บางเรื่องพิจารณาเสร็จแล้ว รอให้ 7 เสือลงมติ บางเรื่องยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนเพื่อสรุปสำนวนจาก กกต. จังหวัด

4.สำนวนที่ถึงเมื่อ กกต. กลางแล้ว มีการเสนอใบแดง 20 กว่าใบ ยังเหลือสำนวนที่ยังไม่แล้วเสร็จอีกจำนวนหนึ่ง อาจจะเป็นใบแดง ใบส้ม ใบเหลือง หรือยกคำร้องก็เป็นไปได้หมด ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงจากการสอบสวน

5.สรุปน่าจะมีใบแดง ใบส้ม ใบเหลือง 37 ใบ ใบแดงต้องให้ศาลตัดสิน ส่วนใบส้ม ใบเหลืองเป็นอำนาจของ กกต.

6.ใบแดง ต้องเปิดรับสมัครใหม่ ตัดสิทธิ์คนเดิมที่ได้ใบแดง

7.ใบส้ม ใช้ผู้สมัครชุดเดิม แต่ตัดสิทธิ์คนได้ใบส้ม

8.ใบเหลือง ใช้ผู้สมัครชุดเดิม ไม่ตัดสิทธิ์คนได้ใบเหลือง

9.กกต. น่าจะรับรอง ส.ส. ได้ 95% หรือมากกว่าในกรอบ 60 วัน

10.การให้ใบแดง เข้าใจว่า ไม่น่าจะทันในกรอบ 60 วัน เพราะต้องส่งให้ศาลตัดสิน กกต. จึงน่าจะรับรองไปก่อนแล้วสอยทีหลัง

กล่าวสำหรับนครศรีธรรมราช 10 เขตเลือกตั้ง มีเรื่องร้องเรียนไม่น้อย ทั้งจัดเลี้ยง ซื้อเสียง จับซื้อเสียงได้ สัญญาว่าจะให้ เป็นต้น เขตเลือกตั้งที่เข้าข่ายว่าอาจจะต้องจัดเลือกตั้งใหม่มี 2-3 เขต มีบางเขตทหารจับซื้อเสียงได้ บางเขตจัดเลี้ยง (มีหลักฐานเป็นคลิป-มีเสียงพูดชักชวน) ส่วนการจับซื้อเสียงเป็นการกระทำของผู้อื่นไม่ใช่ผู้สมัคร

นำเรียนย้ำอีกครั้งว่า ที่โทรเช็คโทรถามกันมากว่าเขตไหนโดน ยังไม่อาจจะเปิดเผยในทางสาธารณะได้ เพราะเป็นแค่คำบอกเล่า ไม่มีใครเห็นหลักฐาน และสำนวนการสอบสวนที่แท้จริง กกต.ยังมีเวลาตามกรอบของกฎหมาย

หาก กกต. จังหวัดยังไม่สามารถสรุปสำนวนการสอบสวนส่ง กกต. กลางวินิจฉัยได้ทัน หรือ กกต.ไม่สามารถวินิจฉัยได้ทันตามกรอบเวลา ก็สามารถที่จะรับรองไปก่อนได้ แล้วค่อยสอยทีหลัง

ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่เดือนกว่า กกต. จึงยังมีเวลา และเข้าใจว่า กกต.ก็รู้หน้าที่ รู้กระแสกดดันดี เพื่อเร่งรัดในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ต้องเข้าใจ กกต.ด้วยว่ามีกฎหมายที่ต้องปฏิบัติอยู่

นายหัวไทร

‘จาตุรนต์’ ชี้!! ไม่ควรยึดหลักเสียงส่วนใหญ่จากในสภาฯ เพราะบางเสียงไม่ได้มาจากการเลือกของ ปชช.

(19 ก.ค. 66) นายจาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย กล่าวในรัฐสภาฯ ระบุว่า…

“เราไม่อาจตีความในทางที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่อาจตีความในทางที่จะเอาเสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภา ที่อาจจะประกอบไปด้วยผู้ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มาหักล้างเจตนารมณ์ของประชาชนที่แสดงออกในการเลือกตั้ง”

5 ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาล ‘นานที่สุดในโลก’

ช่วงนี้การเมืองไทยร้อนระอุ และถูกพูดถึงอย่างหนักหน่วงทั้งในโลกออนไลน์ ออฟไลน์ และสื่อต่างชาติก็ให้ความสนใจอย่างยิ่ง หลายคนเกิดความกังวลว่าการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้จะใช้เวลานานและส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน 

วันนี้ THE STATES TIME ได้รวบรวม 5 ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาล ‘นานที่สุดในโลก’ มาให้ดูกัน จะมีประเทศอะไรบ้างมาดูกัน

1. เบลเยียม ใช้เวลา 541 วัน การเลือกตั้งในปี 2010 ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะความแตกต่างทางนโยบาย จากฝ่ายการเมืองอย่าง ‘พรรคการเมืองฝ่ายเฟลมมิช’ และ ‘ฝ่ายฟรองโคโฟน’ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปประเทศ ไม่มีรัฐบาลกลางเกือบ 2 ปี จนถูกบันทึกลงสถิติโลก

2. สเปน ใช้เวลา 315 วัน ในปี 2015 การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่อาจทำให้สเปนพ้นจากทางตันได้ เพราะถึงแม้พรรคสายอนุรักษ์นิยมจะชนะ แต่ไม่สามารถคุมเสียงข้างมากในสภาที่จำนวน 176 ที่นั่งเอาไว้ได้ จากทั้งหมด 350 ที่นั่ง อีกทั้งพรรคการเมืองอื่น ๆ ก็มีท่าทีต่อต้านการเมืองรูปแบบเดิม ๆ โดยพรรคประชาชนสเปนพยายามเจรจากับกลุ่มพรรคการเมืองอื่นหลายครั้ง แต่ก็ล้มเหลว กว่าจะตั้งรัฐบาลได้สำเร็จก็กินเวลาเกือบ 1 ปี

3. เนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 225 วัน หลังการเลือกตั้งในปี 2017 รัฐบาล 4 พรรคผสมของเนเธอร์แลนด์ ที่มีทั้งสายเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม โดยมีนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศที่ต่างกัน จนต้องใช้เวลาเจรจากัน 225 วัน แถมยังมีเสียงข้างมากเกินรัฐสภาแค่ 1 เสียงเท่านั้น ขณะที่มีพรรคการเมืองอยู่ในสภาถึง 13 พรรค 

4. เยอรมนี ใช้เวลา 136 วัน เกือบจะต้องเลือกตั้งใหม่ เพราะจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ เมื่อนางแองเกลา เมเคิล ผู้นำพรรค CDU ชนะการเลือกตั้งในปี 2017 ด้วยคะแนน 33% ซึ่งถือว่าต่ำมาก จึงต้องจัดตั้งรัฐบาล รวมกับพรรค SDP ซึ่งได้ที่นั่งอันดับ 2 แต่การเจรจาล้มเหลวหลายครั้ง เพราะมีนโยบายไม่ตรงกันหลายเรื่อง จนต้องใช้เวลาเจรจานาน 136 วัน ท้ายสุดต้องยอมยก ก.คลัง ก.ต่างประเทศ ก.แรงงาน ให้พรรค SDP ถือเป็นการเจรจาที่นานที่สุดในประวัติศาสตร์เยอรมนี

5. สวีเดน ใช้เวลา 134 วัน ในปี 2018 พรรค Social Democrats ได้คะแนนเสียงต่ำที่สุดในรอบศตวรรษของพรรค จึงต้องรวมคะแนนเสียงกับกลุ่มพรรคฝั่งซ้ายอื่น ๆ จนอยู่ที่ 40.6% ขณะที่อันดับ 2 รวมคะแนนเสียงได้อยู่ที่ 40.3% ซึ่งนั่นก็ยังไม่พอให้ Social Democrats จัดตั้งรัฐบาลได้ ทางรัฐสภาจึงมีมติหลังการเจรจากว่า 134 วัน ให้ผู้นำพรรค Social Democrats เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย ตัดปัญหาการเลือกตั้งที่หาข้อสรุปไม่ได้ไป

'วีระ' ลั่น!! คำพูดที่ลืมไปตอนใช้หาเสียง ประชาชนส่วนใหญ่จะจดจำไม่มีวันลืม

(24 ก.ค.66) นายวีระ สมความคิด ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

คำพูดที่เคยใช้หาเสียง กับความจริงของชีวิต
คนพูดมันอาจลืมไปแล้ว หรือไม่ได้รู้สึกอะไร
แต่ประชาชนส่วนใหญ่จะจดจำไม่มีวันลืม
และเจ็บปวดทุกครั้ง ที่รู้สึกว่าถูกพวกมันหลอกอีกแล้ว

วีระ สมความคิด
23 ก.ค. 2566

#สัตว์ที่เตรียมตัวสูญพันธุ์

8 ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้นั่งเก้าอี้นายกฯ 

หลังจากประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เมื่อปี 2475 ก็ได้จัดการเลือกตั้งมาแล้วทั้งหมด 27 ครั้ง ซึ่งครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 66 ซึ่งพรรคการเมืองที่ได้คะแนนมากเป็นอันดับ 1 ได้แก่พรรคก้าวไกล ได้ สส.ไปทั้งหมด 151 ที่นั่ง เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่สามารถรวมเสียงในสภาฯ ได้เกินกึ่งหนึ่ง ทำให้จัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ จึงต้องส่งไม้ต่อให้พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีคะแนนมากเป็นอันดับที่ 2

เหตุการณ์อย่างที่ ‘พรรคก้าวไกล’ ประสบพบเจอ ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของไทย แต่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว 7 ครั้ง

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวม 8 ครั้งประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของไทย ที่แม้ ‘ชนะ’ แต่ ‘ไม่ได้นั่งเก้าอี้นายกฯ’ จะมีปีไหนบ้าง? ด้วยเหตุผลอะไร? มาดูกัน!!

‘วิลลาวิเซนซิโอ’ ผู้สมัครชิงตำแหน่ง ปธน.เอกวาดอร์ ถูกลอบยิงดับ ขณะลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 66 นายเฟร์นานโด วิลลาวิเซนซิโอ สมาชิกสภาแห่งชาติและผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเอกวาดอร์ ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตระหว่างไปร่วมงานที่จัดขึ้นในเมืองตอนเหนือของกรุงกีโต เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ตามเวลาท้องถิ่น

ทีมงานหาเสียงของนายวิลลาวิเซนซิโอให้สัมภาษณ์สื่อท้องถิ่นว่า นายวิลลาวิเซนซิโอกำลังก้าวเข้าไปในรถ เมื่อชายคนหนึ่งรุดขึ้นมาข้างหน้าและจ่อยิงเข้าที่ศีรษะของเขา โดยพยานที่เห็นเหตุการณ์ระบุว่า นายวิลลาวิเซนซิโอถูกยิงถึง 3 ครั้ง

ขณะที่อัยการสูงสุดของเอกวาดอร์ระบุผ่านโซเชียลมีเดียว่า ผู้ต้องสงสัยถูกยิงและยังยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ก่อนที่มือปืนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมาเนื่องจากได้รับบาดเจ็บ

ประธานาธิบดีกิเยร์โม ลาสโซ ของเอกวาดอร์ ซึ่งไม่ได้ลงสมัครชิงตำแหน่งในครั้งนี้ให้คำมั่นว่า อาญชากรจะต้องถูกนำตัวมาลงโทษ โดยเขาแสดงความโกรธเคืองและตกใจกับเหตุสังหารดังกล่าว และว่าอาชญากรมาไกลเกินไปแล้ว แต่น้ำหนักของกฎหมายจะต้องกดทับพวกเขา

ทั้งนี้ อาชญากรรมที่รุนแรงมากขึ้นในเอกวาดอร์เมื่อไม่นานมานี้ ได้รับแรงหนุนจากแก๊งค้ายาในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น และเรื่องดังกล่าวได้กลายมาเป็นประเด็นการหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเอกวาดอร์ในปีนี้

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นายลาสโซได้ประกาศภาวะฉุกเฉินและบังคับใช้มาตรการเคอร์ฟิวในช่วงค่ำคืนใน 3 จังหวัดหลัก หลังมีการสังหารหมู่ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มอาชญากร

นอกจากเรื่องควาปลอดภัยแล้ว การรณรงค์หาเสียงของนายวิลลาวิเซนซิโอยังเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาการทุจริต ซึ่งเป็นหัวข้อที่เขาให้ความสำคัญขณะที่ทำงานเป็นนักข่าวมาก่อนหน้านี้ รวมถึงการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม

นายวิลลาวิเซนซิโอเป็น 1 ใน 8 ผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเอกวาดอร์รอบแรก แม้ว่าเขาจะไม่ใช่ผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้นำในการเลือกตั้งดังกล่าว

การสังหารนายวิลลาวิเซนซิโอเกิดขึ้นหลังจากการสังหารนายออกัสติน อินทริอาโก นายกเทศมนตรีเมือง Manta ในเดือนกรกฎาคม และการสังหารนายโอมาร์ เมเนนเดซ ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีในเมือง Puerto López ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

นายออตโต ซอนเนนโฮลซ์เนอร์ อดีตรองประธานาธิบดีและผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในครั้งนี้ ได้แสดงความเสียใจและความเป็นหนึ่งเดียวกับครอบครัวของนายวิลลาวิเซนซิโอ ซึ่งมีบุตรถึง 5 คน

ขณะที่ลุยซา กอนซาเลส ผู้ที่คาดว่าจะมีคะแนนนำในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเอกวาดอร์ ก็แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับครอบครัวของนายวิลลาวิเซนซิโอ พร้อมทั้งบอกด้วยว่า การกระทำอันเลวทรามนี้จะต้องไม่ถูกปล่อยให้ไม่ได้รับโทษ

ทั้งนี้ การเลือกตั้งประธานาธิบดีเอกวาดอร์กำหนดจะมีขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคมนี้

'นักข่าวอาวุโส' ยก 20 เหตุการณ์หลังเลือกตั้ง ประเทศไทย กำลังเดินหน้าแบบ 'Win-Win'

(23 ส.ค.66) นายเถกิง สมทรัพย์ สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ยกเรื่องทักษิณกลับบ้านออกไปก่อน…ย้อนไปดูเหตุการณ์บางเรื่องสักนิด

1. ก้าวไกล ชนะเลือกตั้งมาเป็นอันดับหนึ่ง

2. เพื่อไทย มาเป็นอันดับสอง

3. พรรค 2 ลุง บวกกับ ภูมิใจไทย รวมกันไม่ถึงครึ่งของก้าวไกลกับเพื่อไทย

4. ประชาชนเกือบ 25 ล้านคนเทคะแนนให้พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย

5. คนที่รักพรรค 2 ลุง รวมกันแค่ 6 ล้าน

6. ด้วยคะแนนต่างกันขนาดนี้..ต้องยอมรับว่า ถ้าไม่ใช่เพราะประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก้าวไกลกับเพื่อไทย เป็นรัฐบาลไปแล้ว

7. และเพื่อไทย คือ ตัวแปรสำคัญที่พลิกเกม โดนด่ามากที่สุด เพื่อผลักก้าวไกลออกไปจากอำนาจรัฐ

8. และเพื่อไทยก็เอา 141 มาเทให้กับฝั่งรัฐบาลเดิม

9. รางวัลย่อมต้องตอบแทนผู้ชนะและผู้ทำงานมาก

10. พิจารณาด้วยความเป็นจริง…การเมืองคือเรื่องของผลประโยชน์ที่คนมีอำนาจมากก็ได้มาก มีอำนาจน้อยก็ได้น้อย

11. ที่สำคัญในการแบ่งสันปันส่วนผลประโยชน์ทางการเมืองคราวนี้ตั้งบนพื้นฐานของ 'Win-Win'

12. ลุงป้อม ลุงตู่ ถอยจากตำแหน่ง คนของ กปปส. ประกาศไม่รับตำแหน่งรัฐมนตรี คุณทักษิณยอมกลับมา 'เข้าคุก' เป็น 'นักโทษชาย'…ก้าวไกล ไปเป็นฝ่ายค้านหมดสิทธิ์กดปุ่ม ยกเลิกมาตรา 112 คนวงในที่ไม่เห็นด้วยก็ถอยห่างและวางมือ ไม่ออกมาขัดขวาง

13. ประชาชนก็ได้และเสียไปคนละส่วน...ไม่มีใครได้ทั้งหมดหรือเสียทั้งหมด

14. จากนี้คือการเปิดโอกาสให้การเมืองทำหน้าที่รับใช้ประเทศชาติและประชาชนให้เจริญรุ่งเรืองให้มากที่สุด

15. ดุลยภาพทางการเมืองเวลานี้ สมดุลมากที่สุดในรอบ 17 ปี...รัฐบาลสมดุล ฝ่ายค้านเข้มแข็ง

16. เราจะเอาอะไรมากไปกว่านี้อีก ???…ผมนึกไม่ออก

17. สงครามโลกฆ่ากันหลายสิบล้านยังยุติได้

18. สงครามล้างเผ่าพันธุ์ก็ยุติได้

19. กีฬาสีย่อมมีวันเลิกรา

20. เปิดโอกาสให้กับการเมืองไทยอีกสักครั้ง

‘ดาเนียล โนโบอา’ นักธุรกิจวัย 35 ชนะเลือกตั้ง ปธน.เอกวาดอร์ ท่ามกลางความหวัง ปชช. ช่วยขจัดความรุนแรง-อาชญากรรม

เมื่อวานนี้ (16 ต.ค. 66) สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเอกวาดอร์ รอบ 2 เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 66 ตามเวลาท้องถิ่น โดยผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ที่นับแล้วร้อยละ 90 ชี้ให้เห็นว่า นายดาเนียล โนโบอา นักธุรกิจชื่อดังวัย 35 ปี ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง ซึ่งเป็นการคว้าชัยชนะเหนือ น.ส.ลุยซา กอนซาเลซ คู่แข่งจากพรรคขบวนการปฏิวัติพลเมือง พรรคประชานิยมฝ่ายซ้ายและตัวแทนของอดีตประธานาธิบดีราฟาเอล กอร์เรอา ในการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อเดือน ส.ค. 66 ที่
ผ่านมา

และส่งผลให้นายโนโบอา ขึ้นแท่นเตรียมเป็นผู้นำประเทศที่มีอายุน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ของเอกวาดอร์ โดยประชาชนตั้งความหวังว่าผู้นำคนใหม่จะแก้วิกฤตอาชญากรรมและความรุนแรงในประเทศที่อัตราการฆาตกรรมเพิ่มขึ้นไปกว่า 4 เท่าในช่วง 61-65

กระแสสอย ‘71 สส.ฉาว’ จากหลากพรรคเงียบกริบ ปล่อยนั่งชูคอกินเงินเดือนในสภาฯ ไร้การตรวจสอบ

ครบ 6 เดือนเต็มแล้วที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา จำนวน สส.เขต 400 สส.บัญชีรายชื่อ 100 คน รวมเป็น 500 คน

กกต. รับรองผลการเลือกตั้ง สส.ทุกคนที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดในระบบเขตเลือกตั้ง ท่ามกลางการร้องเรียนเรื่องการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งมากมาย จน กกต.ทำงานไม่ทัน มีเรื่องร้องเรียนทั้งซื้อเสียงเลือกตั้ง จัดเลี้ยง กล่าวหาว่าร้าย (ใส่ร้าย) คู่แข่ง แต่ กกต.ไม่มีปัญญาจับคนทำผิดกฎหมายได้เลยแม้แต่รายเดียว ทั้ง ๆ ที่ กกต.มีกลไกมากมาย ทั้งส่วนกลาง และระดับจังหวัด ทั้งยังมีผู้ตรวจการเลือกตั้งเป็นตัวช่วยอยู่อีกด้วย

ชาวบ้านทุกหย่อมหญ้ารับรู้รับทราบถึงการซื้อเสียงกันครึกโครม ตั้งแต่หัวละ 500-2,000 บาท แต่ละเขตเลือกตั้งผู้สมัครที่คาดหวังว่าจะได้ทุ่มกันเขตละ 20-30-50 ล้านบาท แต่ กกต.กลับไม่มีข้อมูล ไม่มีหลักฐานอะไรที่จะไปสืบเสาะมาได้เลย ทั้ง ๆ ที่มีฝ่ายสืบสวน ฝ่ายสอบสวนอยู่พร้อมสรรพ

เสร็จการเลือกตั้งจึงมีเรื่องร้องเรียนการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งมากมาย ผู้ร้องต้องหาหลักฐานไปส่งให้ กกต.เอง แต่จะด้วยเหตุผลอะไรไม่ทราบ ก่อนการเลือกตั้ง กกต.ไม่มีปัญญาสอยผู้สมัครรายใดได้เลย แม้แต่รายเดียว แถมเสร็จการเลือกตั้ง กกต.กลับรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่มีคะแนนอันดับ 1 และมีเรื่องมีราวร้องเรียนอยู่ เข้าไปเดินเฉิดฉายอยู่ในสภา นั่งชูคอสะล่อนเกือบครึ่งสภา ไม่มีใบแดง ใบเหลือง หรือใบส้ม ใบดำ เลยแม้แต่ใบเดียว

แถมยังออกมานั่งชูคอแถลงข่าวคอเป็นเอ็น ‘ผลการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม’ เป็นการแถลงรับรองผลการเลือกตั้ง ท่ามกลางข้อร้องเรียน และความสงสัยของชาวบ้าน

ก่อนหน้านี้เมื่อสักสองเดือนก่อน มีข้อมูลหลุดออกมาจาก กกต.ว่า เตรียมสอย สส. 71 เขต จากทั้งหมด 400 เขต จากพรรคการเมืองหลักเกือบทุกพรรค ทั้งเพื่อไทย ก้าวไกล ภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ มีระบุชัดว่ามีจังหวัดไหน เขตไหน แต่แล้วข่าวนี้ก็หายไปตามกระแสลมหวน ไม่มีข่าวไม่มีคราวความคืบหน้าอะไรออกมาอีกเลยจนถึงวันนี้

6 เดือนเต็มที่ กกต.ปล่อยให้ผู้ถูกร้องเรียน และส่อว่าจะมีมูล เข้าไปนั่งอยู่ในสภาอันทรงเกียรติ กินเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทางจากภาษีประชาชน เดือนละ 2-3 แสนบาท แถมบางคนไม่ได้เป็น สส.ที่มีส่วนร่วมอยู่ในการทำความผิดต่อกฎหมายเลือกตั้ง กลับได้รับการแต่งตั้งให้มีตำแหน่งทางการเมือง เข้าไปเบ่งกล้ามอยู่ในทำเนียบบ้าง ในกระทรวงต่าง ๆ บ้าง ลูกน้องเดินตามหน้าตามหลังเบ่งอำนาจบารมีกันยิ่งกว่า ‘แมงปอ’

หรือว่า กกต. ขี้ขลาดจากประสบการณ์ที่เลินเล่อ เสนอให้ใบส้ม ‘สุรพล เกียรติ์ไชยากร’ ผู้สมัคร สส.เขต 8 เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย และศาลพิพากษาให้ กกต.ต้องชดใช้เงิน 62 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายสุรพล เกียรติไชยากร ผู้สมัคร ส.ส. เชียงใหม่ เขต 8 พรรคเพื่อไทย

หรือการปล่อยข่าวออกมาว่าจะสอย 71 เขตเลือกตั้ง และทอดเวลาออกไปสองเดือน เป็นการเคาะกะลา แม้จะยังมีเวลาอยู่ตามกรอบของกฎหมายสอยได้ใน 1 ปี แต่ไม่ควรลืมว่า ‘ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม’ และประชาชนเป็นผู้เสียโอกาส กกต.ควรจะเร่งมืออย่างรอบคอบ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ใช่ทอดเวลาออกไปจนชาวบ้านชาวช่องรู้สึกได้ถึงความอ่อนด้อย และไร้ประสิทธิภาพ

'วลาดิมีร์ ปูติน' ขอครองอำนาจต่ออีก 6 ปี ประกาศลงชิง ปธน.รัสเซีย สมัย 5 ในปีหน้า

เมื่อวานนี้ (8 ธ.ค.66) สำนักข่าวทาสส์ของทางการรัสเซียรายงานว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียในปีหน้า ซึ่งหากประสบชัยชนะจะทำให้เขาดำรงตำแหน่งผู้นำรัสเซียสมัยที่ 5 เป็นเวลาอีก 6 ปี

ทั้งนี้ การเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียจะมีขึ้นเป็นเวลา 3 วันระหว่างวันที่ 15-17 มี.ค.2567

ผลการสำรวจของ Levada Center พบว่า ปธน.ปูตินได้รับคะแนนความพึงพอใจจากชาวรัสเซียสูงถึง 85% ในเดือน พ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.2560

นอกจากนี้ ผลการสำรวจของ Public Opinion Foundation (FOM) พบว่า ชาวรัสเซียที่มีสิทธิเลือกตั้งราว 70% ต้องการให้ปธน.ปูตินลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียในครั้งนี้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top