Monday, 6 May 2024
เลือกตั้งประเทศไทย

เยียวยา เยียวใจ "ลุงตู่" นายก ผู้มากับสารพัด โครงการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน

ถ้า “ลุงตู่” จะได้ชื่อว่า เป็น “นายกรัฐมนตรีที่สร้างสรรค์ “บทเพลง” ออกมามากมายแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่ถือว่าเป็น “ที่สุด” เช่นกัน นั่นคือ การเป็นนายกรัฐมนตรีที่มี “โครงการเยียวยาประชาชน” จำนวนมากมาย

คนละครึ่ง, กำลังใจ, เราไปเที่ยวด้วยกัน, ม.33 เรารักกัน, ชิมช้อปใช้, เราไม่ทิ้งกัน, เราชนะ, ช้อปดีมีคืน ฯลฯ นี่คือเหล่าบรรดาชื่อโครงการที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น แม้จะต่างกรรมต่างวาระ แต่ว่ามีวัตถุประสงค์เดียวกัน นั่นคือ “ช่วยเหลือประชาชน”

ถึงจะหลีกเลี่ยงข้อวิพากษ์วิจารณ์ บ้างหาว่า “แจกเงิน” บ้างหาว่า “ประชานิยมทางอ้อม” แต่ไม่จะอย่างไร คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกโครงการล้วนส่งผลต่อการเยียวยาประชาชนอย่างแท้จริง เพราะหากลองวัด “เรตติ้ง” หรือวัดกระแสความนิยม แทบทุกครั้งที่โครงการเหล่านี้ถูกเผยแพร่พร้อมใช้ มักจะมีข่าวสารความเคลื่อนไหวออกมาสู่สังคมเสมอ

เรื่อง 'ทำ' ของพรรคการเมือง

นายกฯ ประยุทธ์ ประกาศยุบสภาเป็นที่เรียบร้อย นับจากนี้เริ่มต้นเข้าสู่วาระแห่งการหาเสียงเลือกตั้ง 2566 แบบเต็มพิกัด งานนี้หลายพรรคออกตัวกันไปบ้างแล้ว และเป็นที่น่าสังเกตว่า วลีคำว่า 'ทำ' กลายเป็นคำฮิตของเหล่าบรรดาพรรคการเมือง THE STATES TIMES ไปรวบรวมมาว่า มีใคร 'ทำ' อะไรกันบ้าง 

เริ่มจาก 'ลุงตู่' ว่าที่แคนดิเดตแห่งพรรค #รวมไทยสร้างชาติ ก่อนหน้านี้เคยมีประโยคที่กลายเป็นกระแสข่าวอยู่หลายวัน นั่นคือ 'ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ' ลุงตู่ประกาศ '3 ทำ' และแน่นอนว่า จะขอ come back กลับมาลุยงานต่อให้จงได้ในสมัยหน้า

ด้านพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร มาด้วยประโยค 'คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน' เน้นว่า 'ทำเป็น' งานนี้ประกาศชัดเจน แม้ว่าจะเป็นการลงเล่นการเมือง 'ครั้งแรก' ของเจ้าตัวก็ตาม

อนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ยกระดับชีวิตคนจน และส่งเสริมการกีฬาเพื่อเยาวชน

แม้ว่า สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และสมศักดิ์ เทพสุทิน จะบอกลาพรรคพลังประชารัฐ ข้ามขั้วไปเปิดตัวกับพรรคเพื่อไทยเรียบร้อยแล้ว  แต่สำหรับ "อนุชา นาคาศัย" หรือ "เสี่ยแฮงค์" อีกหนึ่งแกนนำสำคัญของกลุ่มสามมิตร กลับลั่นวาจาชัดเจนว่าจะขอไปร่วมหัวจมท้าย กับ พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา ที่พรรครวมไทยสร้างชาติ  

ด้วยความที่รักในความมุ่งมั่นทำงานเพื่อประชาชน และความจริงใจของ "ลุงตู่" ซึ่งเขาคิดว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้สามารถประคับประคองรัฐนาวาฝ่าข้ามคลื่นลมมาได้จนถึงเวลาประกาศยุบสภา และ "อนุชา" ในบทบาทรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับนายกฯ ลุงตู่ มากที่สุด 

"อนุชา" เคยสะท้อนตัวตนของเขาผ่านสื่อเมื่อไม่นานมานี้ ว่าแม้เขาเป็นคนพูดน้อย แต่เมื่อลงมือทำแล้วมั่นใจได้ว่าทำจริง เวลาเกือบ 4 ปี ของการเป็นรัฐบาล อนุชาเคยสวมหมวก “พ่อบ้าน" ทั้งของพรรค และของรัฐบาล โดยเป็นเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง และยังเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ต่อเนื่องมาจนกระทั่งยุบสภา

ช่วงที่ "อนุชา" อยู่ในบทบาทเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ต้องฝ่าอุปสรรคความคิดที่หลากหลาย คล้ายมี  “สารพัดก๊ก” ภายในพรรค  แต่เขากลับไม่ได้มองเป็นเรื่องเสียหาย เพียงแค่หยิบส่วนดีของแต่ละฝ่ายนำมาใช้ และต้อง “ไม่เข่นฆ่ากัน” ในช่วงเวลาไล่เรียงกัน เมื่อสภาฯ กำลังจะมีการประชุมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 วาระ 2 และ 3 หลายฝ่ายเป็นห่วงสถานการณ์นอกสภาที่มีการนัดชุมนุม '19 กันยา' เรียกร้องการแก้รัฐธรรมนูญ ที่อาจลุกลามบานปลายไปสู่ความรุนแรง

อนุชา ซึ่งเป็นทั้งเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และรมต.ประจำสำนักนายกฯ ร้องขอให้ ส.ส. ของพรรค เข้าประชุมตามปกติ  พร้อมให้ความเห็น ว่าการชุมนุมเป็นเรื่องปกติทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ออกมาเคลื่อนไหวก็เป็นลูกเป็นหลาน ที่ทั้งรัฐบาลและรัฐสภา ต้องรับฟังข้อเรียกร้องและช่วยกันแก้ปัญหา 

แต่ขณะเดียวกัน เขาก็ร้องขอกลับไปยังกลุ่มผู้ชุมนุม หรือผู้อยู่เบื้องหลัง ให้พยายามใช้กลไกในการแก้ปัญหา หาทางออกร่วมกัน ดีกว่าการนำการเมืองลงถนนเพื่อกดดัน เรียกร้องในสิ่งที่อยากได้ทั้งหมด 

“แม้ว่าผมจะเคยถูกตัดสิทธิทางการเมือง (เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งถูกยุบในปี 2549 ) แต่ไม่เคยคิดลงถนน เพราะการเมืองบนท้องถนน วันหนึ่งมันก็เหมือนเขาลงได้ เราก็ลงได้ ไม่มีวันจบสิ้น และวันข้างหน้าจะไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า เรารักประชาธิปไตย ดังนั้น นักการเมืองคนใด ที่ใช้เวทีเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ตัวเองอยากได้ ผมคิดว่าคนๆ นั้นจะต้องพิจารณาตัวเองว่ารักระบอบประชาธิปไตยจริงหรือไม่” 

หากมองลึกลงในบทบาทรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี “อนุชา” ช่วยประคับประคองและแบ่งเบาภาระ “งานหลังบ้าน” ของรัฐบาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งของ “พล.อ.ประยุทธ์” ตั้งแต่งานรูทีน ที่ต้องกำกับดูแลสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค  บมจ.อสมท. - กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานพระพุทธศาสนา 

ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี หรือ กตน. ทำให้ในหลายๆ ครั้ง เรามักจะได้เห็นภาพเขานำคณะลงพื้นที่ติดตามการแก้ปัญหา และฟังเสียงสะท้อนจากคนเล็กคนน้อยด้วยตนเอง อย่างที่เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล ที่มีปัญหาข้อพิพาทในที่ดินของชุมชนชาวเล หรือที่ชุมชนชาวกะเหรี่ยง บ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ที่ยังต้องแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน

"ชาวนากับงูเห่า" นิทานอีสป ที่ให้ข้อคิดสอนใจว่าอย่าไปไว้ใจสัตว์ร้ายที่เลี้ยงไม่เชื่อง

ซึ่งเปรียบเป็นคนแล้ว ก็คือผู้ที่มีลักษณะคิดไม่ซื่อ ทรยศ หักหลัง ได้แม้คนที่เคยช่วยเหลือฟูมฟักมา

และ "งูเห่า" นี่เองที่เป็น "คำแรง" ใช้เปรียบเปรยนักการเมืองในสภา ที่มีพฤติกรรม ข้ามค่าย ย้ายขั้ว หรือโหวตสวนมติพรรค จนถึงวันนี้ และแน่นอนว่า บรรยากาศการเมืองไทยในช่วงเวลานี้ ที่กำลังเข้าสู่ฤดูกาลแห่งการเลือกตั้ง กิจกรรมการย้ายค่าย สลับขั้วเหล่านี้ ยิ่งทวีความร้อนแรง ว่าแล้ว The State Times เลยขอนำตำนาน “งูเห่าการเมือง” ที่เคยเกิดขึ้น มาย้อนความทรงจำคอการเมืองกันสักหน่อย...

จุดเริ่มต้นของ "งูเห่า" ในสภา เกิดขึ้นเมื่อเกือบ 26 ปีที่แล้ว เป็นคำพูดเปรียบเปรยที่เกิดจากความรู้สึกบอบช้ำแสนสาหัส ของชาวนาที่ชื่อ "สมัคร สุนทรเวช"

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2540 วิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ส่งผลกระทบหนักในไทยและหลายประเทศในเอเชีย ทำให้รัฐบาลของ "พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ" ขณะนั้น ตัดสินใจประกาศ "ลอยตัวค่าเงินบาท" ผลที่ตามมาคือผู้ประกอบการภาคธุรกิจ ภาคการเงินการธนาคาร และภาคอุตสาหกรรมจำนวนมากต้องปิดกิจการ หรือล้มละลายไป รัฐบาลถูกกดดันอย่างหนักทั้งในและนอกสภา จนสุดท้าย "บิ๊กจิ๋ว" ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการประกาศลาออก นำมาสู่การช่วงชิงจังหวะของพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้านในการรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลใหม่

ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเดิม มีพรรคความหวังใหม่ ประชากรไทย ชาติพัฒนา และมวลชน กุมเสียงอยู่ 197 เสียง ตกลงกันว่าจะดึง พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ กลับมาเป็นนายกฯ อีกสมัย ขณะที่ฝ่ายค้าน ที่มีพรรคประขาธิปัตย์เป็นแกนนำได้เสียงจากพรรคกิจสังคม และเสรีไทยย้ายขั้วมาเติม จนมี 196 เสียง น้อยกว่าฝั่งรัฐบาลเพียงแค่เสียงเดียว โดยชู นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาท้าชิง

แต่แล้วก็เกิด "บิ๊กดีล" ขึ้น เมื่อพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการประชาธิปัตย์สมัยนั้น เปิดการเจรจา ดึงเสียงสนับสนุนจาก ส.ส.กลุ่มปากน้ำของพรรคประชากรไทย รวม12 เสียง ไปโหวตสนับสนุน ให้นายชวน หลีกภัย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ด้วยเสียง 208 ต่อ 185 เสียง

สำหรับ ส.ส.กลุ่มปากน้ำ นำโดย นายวัฒนา อัศวเหม เคยมีความขัดแย้งกับพรรคชาติไทย จนไม่มีสังกัดพรรคอยู่ ซึ่งต่อมานายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ในขณะนั้น รับเข้ามาสังกัดพรรค แต่ท้ายที่สุดกลับไปยกมือสนับสนุนฝ่ายตรงข้าม ทำให้นายสมัครรู้สึกเจ็บช้ำน้ำใจ และเปรียบตัวเองเป็นเหมือนชาวนา ช่วยเหลืองูเห่าแต่สุดท้ายกลับมากัดตนเอง และคำว่า "งูเห่า" จึงกลายเป็นคำเรียก ส.ส.กลุ่มปากน้ำ และยังใช้แทน ส.ส. ที่มีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะอีกเหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นคล้อยหลังมาอีก 10 ปี

"มันจบแล้วครับนาย" ประโยคที่ "เนวิน ชิดชอบ" ส่งถึง "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายเก่า เป็นประโยคทิ้งท้าย ย้อนภาพจำถึงอีกหนึ่งจุดพลิกผันทางการเมืองในปี 2551 เป็นที่มาของเหตุการณ์ที่ถูกเรียกขานต่อมาว่า "งูเห่าภาค 2"

หลังพรรคไทยรักไทยถูกยุบเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของพรรคพลังประชาชน "เนวิน ชิดชอบ" เป็นหนึ่งในสมาชิกบ้าน 111 ที่ถูกเว้นวรรคทางการเมือง แต่เขายังคงมีอิทธิพลต่อ ส.ส. สายอีสาน "กลุ่มเพื่อนเนวิน" จำนวนมากกว่า 20 คนในพรรคพลังประชาชน

พิษยุบพรรค

นับจากวันนี้ ถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าสู่การเลือกตั้งใหญ่ 14 พฤษภาคม 2566 หลายพรรคการเมืองเริ่มทยอยเปิดตัวผู้สมัคร  ชูนโยบายหาเสียง และเริ่มลงพื้นที่ปราศัยกันมากขึ้น แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกพรรคการเมืองต้องระแวดระวัง คือการดำเนินการใดๆ ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย จนอาจนำไปสู่โทษสูงสุด คือการถูก "ยุบพรรค" ซึ่งที่ผ่านมา มีหลายเหตุการณ์ ที่ชวนให้ย้อนกลับไปดูเพื่อทวนความจำและนำเป็นบทเรีบนให้กับการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง

จุดเปลี่ยนสำคัญของการปฏิรูปการเมืองร่วมสมัย คือการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่มีการออกแบบให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง พร้อมกับเกิดองค์กรอิสระต่างๆ  รวมถึง คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. และ ศาลรัฐธรรมนูญ  และเมื่อมีบทบัญญัติที่ให้เสรีภาพบุคคลในการรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมืองได้แล้ว อีกด้านก็มีกลไกที่นำไปสู่การ "ยุบพรรค" ได้ หากพรรคการเมืองมีการดำเนินการที่ขัดต่อหลักการตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องบัญญัติไว้  ซึ่งที่ผ่านมามีหลายกรณียุบพรรค ที่กลายเป็นบันทึกหน้าสำคัญของประวัติศาสตร์การเมือง

เริ่มจากกรณี "จ้างพรรคเล็ก" นำมาสู่การยุบ "พรรคไทยรักไทย" จนเกิดเป็นตำนานบ้านเลขที่ 111

ย้อนไปเมื่อต้นปี 2549  ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา ก่อนกำหนดวันเลือกตั้ง 2 เมษายน แต่อีก 3 พรรคการเมือง ที่เป็นคู่แข่งในสภา คือประชาธิปัตย์  ชาติไทย และมหาชน ประกาศ "บอยคอต" เหลือเพียงพรรคไทยรักไทยที่เดินหน้าส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง บนเงื่อนไขกฎหมายที่กำหนดว่า ในเขตที่มีผู้สมัครพรรคเดียว ไร้คู่แข่ง จะต้องได้คะแนนเสียง มากกว่าร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นจึงจะได้เก้าอี้ ส.ส. ซึ่งต่อมาเกิดการร้องเรียนว่า พรรคไทยรักไทยทำผิดกฎหมายจากการ "จ้างพรรคเล็ก" ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อหนี "เกณฑ์ร้อยละ 20"  

เมื่อกกต.ตรวจสอบหลักฐาน ชี้มูลความผิด จึงนำไปสู่การยื่นร้องให้ยุบพรรคต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่ระหว่างนั้นเกิดรัฐประหาร 19 ก.ย. ทำให้ต่อมาคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ถูกแต่งตั้งขึ้น มีมติ ในวันที่ 30 พ.ค. 2550 ให้ "ยุบพรรค" ไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ฐานเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ผลที่ตามมาคือกรรมการบริหารพรรคทั้ง 3 พรรค รวม 111 คน ถูกตัดสิทธิการเมือง 5 ปี  เป็นที่มาของ "บ้านเลขที่ 111"

วิบากกรรมยังมีต่อเนื่อง เมื่อบรรดาขุนพลไทยรักไทยเดิมที่ยังเหลือรอด พากันย้ายบ้านมาที่ "พรรคพลังประชาชน" ลงสู้ศึกเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550  แต่กลับเกิดกรณี "ยงยุทธ ติยะไพรัช" ส.ส. บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ถูก กกต.ให้ใบแดง เนื่องจากพบการกระทำที่น่าเชื่อได้ว่า "ทุจริตเลือกตั้ง" เช่นเดียวกับพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่กรรมการบริหารพรรคกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเช่นกัน กรณีดังกล่าวนำมาสู่การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 สั่งให้ทั้งยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค ส่งผลให้คณะกรรมการบริหารทั้ง 3 พรรค รวม 109 คน ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ในจำนวนนั้น มีนายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยที่ต้องเว้นวรรคทางการเมืองไปด้วย

กาลล่วงมาจนถึงยุคของการใช้รัฐธรรมนูญ ปี 60 ผลจากการกำหนดการเลือกตั้งแบบ "จัดสรรปันส่วนผสม" ป้องกันการผูกขาดในสภา ทำให้พรรคใหญ่อย่าง "เพื่อไทย" ต้องปรับกลยุทธ์ แตกแบงค์พันเป็นแบงค์ร้อย ด้วยการจัดตั้งพรรคการเมืองเครือข่ายเพื่อเรียกจำนวน ส.ส. ในสภา หนึ่งในนั้นคือ "พรรคไทยรักษาชาติ"

นอกจากถูกจับตาเพราะกรรมการบริหารพรรคเป็นอดีตรัฐมนตรี และ ส.ส. คนรุ่นใหม่ในเครือข่ายพรรคเพื่อไทยแล้ว ยังมึประเด็นที่ถูกจับตาที่สุดคือการ ยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรค เป็นเหตุให้ กกต. มีมติยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค

'ลุงตู่' นายกฯที่ สร้างความสัมพันธ์อันดี ต่อมิตรประเทศ

'ลุงตู่' ประกาศยุบสภาไปเรียบร้อย หากย้อนคิดถึงการบริหารงานของนายกรัฐมนตรีคนนี้ นับแค่ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ถามว่ามีเรื่องไหนที่โดดเด่นไม่แพ้ใคร ต้องบอกว่า เรื่องสร้าง 'มิตรประเทศ' ของลุงตู่ โดดเด่นเป็นอย่างมาก

ตลอด 4 ปีมานี้ แม้จะมีช่วงโควิด-19 ระบาด จนต้องหยุดการเดินทางไปยังต่างประเทศอยู่บ้าง แต่ที่ผ่านมา ถือว่านายกฯ ประยุทธ์ออกเดินทางไปเยี่ยมเยือน รวมทั้งไปร่วมงานประชุมครั้งสำคัญๆ ในระดับนานาชาติอยู่ตลอดเวลา 

แต่ที่ถือว่าเป็นภาพที่น่าจดจำสำหรับการ 'ผูกมิตร' และรวมถึงการสร้างภาพลักษณ์อันดีให้ประเทศ คงต้องยกให้กับ 2 เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้ นั่นคือ การเป็นผู้นำในการประชุมเอเปค และการเดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี 2565

สำหรับการเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย นายกประยุทธ์มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือข้อราชการ แต่ประเด็นสำคัญที่ฉายภาพชัดกว่านั้น นี่คือการเยือนในระดับผู้นำรัฐบาลระหว่างสองประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี ซึ่งถือเป็นการสานสัมพันธ์ที่ขาดหายไปของมหามิตรอย่างซาอุดีอาระเบียได้เป็นอย่างดี

จากวิถีการเดินทาง 'รถไฟไทย' แบบดั้งเดิม สู่โครงการ 'รถไฟความเร็วสูง' ที่เป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้

พูดคำว่า “โครงการรถไฟความเร็วสูง” ในเมืองไทย นับถึงวันนี้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน หรือจับต้องไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งหากย้อนกลับไป โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไม่ว่าจะเป็นสายไหนก็ตาม) ถูกคิดริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2535 หรือกว่า 31 ปีมาแล้ว

แต่เมื่อผ่านกาลเวลา ผ่านหลายต่อหลายรัฐบาลที่เข้ามาบริหาร และผ่านหลายเหตุการณ์ทางการเมือง กระทั่งปี 2557 หลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้มีการเดินทางไปที่ประเทศจีน เพื่อหารือกับนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ก่อนที่จะได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงส่งเสริมความร่วมมือด้านรถไฟไทย–จีน (โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ–หนองคาย)

โดยหลังจากคณะทำงานได้ทำการศึกษาในรายละเอียด จนได้ข้อสรุปว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง จะเริ่มก่อสร้างช่วงกรุงเทพ–นครราชสีมา เป็นระยะเริ่มต้น และเพิ่มความเร็วของรถไฟจาก 160–180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในวงเงินลงทุน 1.79 แสนล้านบาท ซึ่งฝ่ายไทยจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 100%

กระทั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ–นครราชสีมาและต่อมาในเดือนกันยายน 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เดินทางไปเยือนจีนเพื่อพบปะกับประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง อีกครั้ง และได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทยและจีนเส้นดังกล่าว และเริ่มต้นก่อสร้างโครงการในวันที่ 21 ธันวาคม 2560 นับเป็นการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย

เส้นทางของ "รัฐบาลประยุทธ์"

ในที่สุด รัฐนาวาภายใต้การนำของ "ลุงตู่" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็สามารถฝาคลื่มลมทางการเมืองมาเกือบ 4 ปี จนถึงปลายทางที่จบลงด้วยการยุบสภา รอเลือกตั้งอีกครั้งในอีกไม่ถึง 2 เดือนข้างหน้า

เส้นทางของ "รัฐบาลประยุทธ์" ที่ผ่านมาถือว่าไม่ง่าย เพราะต้องผ่านทั้งวิกฤติ โควิด - 19 รวมทั้งบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองทั้งใน และนอกสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อ ที่นำมาสู่การเติบโตของขบวนการข่าวปลอม หรือ "เฟกนิวส์"

ท่ามกลางอุปสรรคขวากหนามที่ว่า มี "หนึ่งคน" ที่มีบทบาทชัดเจน ในการออกหน้า ปะ ฉะ ดะ ปกป้องตอบโต้ ชี้แจง กรณีที่มีการพาดพิง หรือเกิดข่าวปลอม เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีอยู่เสมอ จนได้รับขนานนามเป็น "องครักษ์พิทักษ์ลุงตู่" เดาไม่ยากว่า ใครคนนั้นคือ "ธนกร วังบุญคงชนะ" รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั่นเอง

วิถีชีวิตของ รมต. คนนี้ไม่ธรรมดา หากย้อนเวลากลับไป เขามีฝันอยากเป็นนักการเมืองมาตั้งแต่เยาว์วัย นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นและแรงขับดันให้ "แด๊ก - ธนกร วังบุญคงชนะ" เด็กหนุ่มจาก อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ก้าวเดินตามฝัน แม้เป็นลูกชาวบ้านธรรมดา แต่เขาได้รับการปลูกฝังความเป็นผู้นำ และหัวจิตหัวใจในการช่วยเหลือผู้อื่นจาก พ่อและแม่มาตั้งแต่ยังเล็ก

"ธนกร" เริ่มเลียบเคียงแวดวงการเมือง ค่อยๆ ขยับเข้าใกล้จนถึงเป้าหมายที่เขาตั้งไว้ เริ่มจากการเลือกศึกษาด้านสื่อสารมวลชน จบออกมาเริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าวสายทำเนียบฯ ประจำหนังสือพิมพ์สยามรัฐในช่วงสั้นๆ ก่อนขยับไปเป็นเลขานุการกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติหรือ ปปช. เกือบ 2 ปี จนได้รับโอกาสเข้าสู่เส้นทางการเมืองเต็มตัวจากการชักนำของ "สมศักดิ์ - อนงค์วรรณ เทพสุทิน" ซึ่งธนกร ยกให้เป็นครูทางการเมืองของเขา

หลังจากนั้นเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งหนแรกกับพรรคมัชฌิมาธิปไตย ก่อนขยับมาเป็นที่ปรึกษา และเลขานุการรัฐมนตรีหลายกระทรวง จนกระทั่งมีโอกาสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพรรคพลังประชารัฐในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาล "ธนกร" ผ่านการรับบทบาทเป็นโฆษกพรรค เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นโฆษกรัฐบาล ต่อมาได้รับตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และได้ก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในที่สุด

ด้วยตำแหน่งหน้าที่ ทั้งโฆษกรัฐบาล และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ทำให้ธนกรเป็นหนึ่งในผู้ที่ทำงานใกล้ชิด และมีบทบาทในการดูแล ติดตามสานต่อนโยบายของพลเอกประยุทธ์ แต่ที่ผ่านมา เขาถูกมองว่าทำเกินหน้าที่ หรือ ทำตัวเป็น "องครักษ์พิทักษ์ลุงตู่" จากการออกมาเปิดหน้าชน เป็นปากเป็นเสียง ตอบโต้กรณีที่มีประเด็นให้ร้าย โจมตีหรือพาดพิงนายกรัฐมนตรีอยู่เสมอ

แต่ธนกร มองว่าการออกมาปกป้องพลเอกประยุทธ์ ไม่ใช่หน้าที่ แต่เป็นความเต็มใจ ด้วยความเคารพ และเชื่อมั่นในตัวพลเอกประยุทธ์ จึงต้องออกมาปกป้อง ดูแลเท่าที่จะสามารถทำได้

สิ่งที่เป็นเรื่องอันน่าจดจำสำหรับ “รัฐบาลลุงตู่”

รัฐบาลลุงตู่ยุบสภา และเตรียมเดินหน้าสู่การ #เลือกตั้ง66 สิ่งที่เป็นเรื่องอันน่าจดจำสำหรับ “รัฐบาลลุงตู่” ที่เชื่อเหลือเกินว่า คงมีคนพูดถึงกันไปอีกนาน นั่นคือ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบางคนเรียกสั้นๆ ว่า “บัตรลุงตู่”

โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มต้นขึ้นราวปี 2560 และอย่างที่ทราบกันว่า เป็นการช่วยเหลือเยียวยาคนไทย “ผู้มีรายได้น้อย” หรือคนยากคนจน ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า โครงการเปิดมาเพียงไม่กี่ปี ก็เกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาดใหญ่ทั่วโลก ไม่มากก็น้อย บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เข้าช่วยเหลือคนยากไร้ได้อย่างมากมาย

ส่งท้าย 'รัฐบาลลุงตู่' ส่งขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่รัฐ

ถึงจะประกาศยุบสภาไปเรียบร้อยแล้ว แต่รัฐบาลลุงตู่ยังคงทำหน้าที่รักษาการ ไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2566 แต่ถึงอย่างนั้น ก่อนจะประกาศยุบสภา รัฐบาลโดยการนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังส่งขวัญกำลังใจไปสู่เหล่าข้าราชการส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการ ด้วยการปรับอัตราเงินเดือน 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top