Monday, 6 May 2024
เลือกตั้งประเทศไทย

รวมเรื่องน่ารู้ 'พรรคพลังประชารัฐ'

ศึกเลือกตั้งใหญ่ 2566 กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หนึ่งในพรรคการเมืองที่ถูกจับจ้องมากไม่แพ้ใคร ๆ คงต้องยกให้กับ 'พรรคพลังประชารัฐ' ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อ 4 ปีก่อน เมื่อคราวเลือกตั้งใหญ่ 2562 นี่คือพรรคการเมืองที่ร้อนแรงที่สุดในเวลานั้น แม้อายุของพรรคจะไม่มากมาย แต่สมาชิกภายในพรรค ล้วนเต็มไปด้วยเหล่าคนทำงานทางการเมืองที่มากไปด้วยประสบการณ์ของแท้

กับการเลือกตั้งใหญ่หนล่าสุดนี้ พรรคพลังประชารัฐ ที่นำโดยหัวเรือใหญ่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ยังเต็มไปด้วยพลังของความมุ่งมั่นสร้าง 'ประเทศ' ให้เป็นปึกแผ่น ตามสโลแกน 'พลังประชารัฐ พลังเพื่อชาติไทย' แถมยังพร้อมเดินหน้า 'สานต่อ' ภารกิจที่ลงมือทำเอาไว้ในสมัยเป็นรัฐบาลที่ผ่านมา อาทิ สวัสดิการประชารัฐ, เศรษฐกิจประชารัฐ และสังคมประชารัฐ

TIME TO CHANGE เมื่อประเทศเปลี่ยนไป

หากใครเคยผ่านไปบริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้า เขตพระนคร คงคุ้นเคยกันดีว่า ยังมีอีกหนึ่งสะพานที่ตั้งอยู่คู่ขนานกัน นั่นคือ สะพานพระปกเกล้า หรือที่หลายคนเรียกสั้นๆ ว่า สะพานพระปก 

บริเวณสะพานพระปกเกล้า ยังมีสะพานที่ถูกสร้างมาด้วยกันตั้งแต่ปี 2527 เพื่อรองรับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน แต่ต่อมาเมื่อโครงการถูกระงับ สะพานจึงไม่ถูกสร้างต่อ ไม่มีทางขึ้นและทางลง และถูกปล่อยร้างไม่ได้ใช้งานมากว่า 30 ปี จนถูกเรียกขานว่าเป็น 'สะพานด้วน'

ต่อมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางสัญจรบนโครงสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเหตุให้บริเวณช่องกลางสะพานพระปกเกล้า หรือที่เรียกว่า สะพานด้วน ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ กระทั่งกลายเป็นสวนสาธารณะลอยฟ้าที่เชื่อมการสัญจรฝั่งธนบุรีเข้ากับฝั่งพระนคร

และถูกเรียกขานกันภายใต้ชื่อว่า 'พระปกเกล้าสกายปาร์ค' หรือสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ซึ่งเหมือนเป็นการ 'ชุบชีวิต' สะพานร้างที่ไร้ประโยชน์ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง แถมยังกลายเป็นแลนด์มาร์คของคนกรุงเทพอีกแห่งหนึ่ง ให้ได้มาใช้ประโยชน์ ทั้งการสัญจร การออกกำลังกาย หรือแม้แต่ได้พักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางวิวสวยริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ย้อนตำนานวีรกรรม 'ฉีกบัตรเลือกตั้ง'

ในวันเลือกตั้งแต่ละครั้ง หนึ่งในเหตุการณ์ที่มักจะพบเจอได้อยู่เป็นประจำ นั่นคือ 'การฉีกบัตรเลือกตั้ง' ซึ่งตามกฎหมายแล้ว มีโทษปรับ จำคุก และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ส่วนใหญ่จะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือทำโดยจงใจเพื่อต้องการแสดงออกทางการเมือง

ภาพจำการฉีกบัตรเลือกตั้งที่ถูกพูดถึงอย่างมาก ต้องย้อนความไปถึงบรรยากาศการเมืองในช่วงต้นปี 2549 ที่เริ่มขมึงเกลียว เมื่อ 'ทักษิณ ชินวัตร' นายกรัฐมนตรีขณะนั้นประกาศยุบสภา ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ หลังถูกกล่าวหากรณีครอบครัวทำการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปโดยเลี่ยงภาษี  

และเมื่อทั้งวุฒิสภาและศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องเพื่อพิจารณา  ฝ่ายค้านจึงขอยื่นอภิปรายทั่วไป เพื่อขอให้ตอบซักถามต่อสาธารณะ แต่ 'ทักษิณ' ปฏิเสธด้วยการเลือกยุบสภา ก่อนประกาศเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549

บรรยากาศการเมืองตึงเครียดมากขึ้น เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ประกาศ 'บอยคอต' ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตัั้ง และมีการรณรงค์ให้ 'โนโหวต' แสดงออกต่อการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม  

แต่สำหรับ 'รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร' หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯในขณะนั้น  กลับเลือกวิธีการ 'อารยะขัดขืน' ในรูปแบบที่ต่างไป โดยช่วงสายของวันที่ 2 เมษายน 2549 รศ.ไชยันต์ ไชยพร เดินทางไปที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เพื่อใช้สิทธิ ที่หน่วยลือกตั้งที่ 62 เขตสวนหลวง

หลังจากเดินเข้าคูหาและกาช่องไม่เลือกใคร เจ้าตัวได้ถือบัตรเลือกตั้งทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ ออกมา ประกาศว่าขอทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ก่อนจะ 'ฉีกบัตรเลือกตั้ง' ต่อหน้าสื่อมวลชน และผู้ที่เดินทางมาให้กำลังใจ

จากนั้น อาจารย์ไชยันต์ ได้อ่านแถลงการณ์ชี้แจงเหตุผลที่กระทำการดังกล่าว ก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ประเวศจะเชิญตัวไปให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนฐานกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 108 ซึ่งมีโทษจำคุก 1 ปี  ปรับ 20,000 บาทและถูกเพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้ง 5 ปี

รวมประโยคเด็ด 'ลุงตู่' และวลีทองในตำนาน "นะจ๊ะ"

เรื่องบุคลิกภาพของ 'ลุงตู่' ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภาพจำที่ประชาชนจดจำได้เป็นอย่างดี แม้จะดูเป็นคนดุ พูดประโยคสั้น กระชับ ได้ใจความ ตามสไตล์ชายชาติทหาร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า 'ลุงตู่' มักจะมีประโยคเด็ด ที่เรียกความสนใจประชาชนอยู่เสมอ ๆ

ยกตัวอย่างครั้งหนึ่ง ก่อนการปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ปี 2563 ลุงตู่ได้กล่าวประโยคที่ทำให้บรรดาสื่อมวลชนต้องคัดมาทำเป็นประโยคสำคัญ (Quote) ลุงตู่บอกไว้ว่า... 

“ผมไม่เคยยึดติดกับตำแหน่ง หลายท่านบอกผมอยากอยู่ยาว อยู่นาน ก็ต้องไปถามคนพูด สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผมจะไม่ตัดช่องน้อยแต่พอตัวเพื่อหนีปัญหา ผมจะไม่ละทิ้งหน้าที่ด้วยการลาออกในยามที่ชาติบ้านเมืองมีปัญหาเหมือนคนที่เพิ่งฟื้นไข้ และจะขับเคลื่อนประเทศให้เดินต่อไปจนกว่าจะไม่มีโอกาสได้ทำ”

หรืออีกครั้งหนึ่งเมื่อถูกถามจากนักข่าวเรื่องมีกระแสนายกฯ จะลาออก ลุงตู่ก็ตอบออกมาว่า “ก็ยังทำงานอยู่นี่ไง ทำงานอยู่นี่ ไม่มีคำท้อแท้ ผอมลงมาหน่อยเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นโรคเป็นภัยทั้งสิ้น แข็งแรงทั้งกายและใจ เพราะว่าทำเพื่อคนอื่น และอย่างไรก็ต้องทำจนกว่าจะไม่ได้ทำก็เท่านั้นเอง”

ด้วยสไตล์การตอบคำถาม ตลอดจนการพูดคุยของลุงตู่ ทำให้สื่อมวลชนมักจะได้ 'ประโยคเด็ด' นำไปเสนอข่าวอยู่เป็นประจำ รวมทั้งยังมี 'วลีทองในตำนาน' ที่กลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี นั่นคือ การลงท้ายประโยคด้วยคำว่า “นะจ๊ะ”

'คูหาไม่ปิดลับ' จุดจบการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 และ '16 ล้านเสียง' เหลือเพียงแค่วาทกรรม

ย้อนกลับไปในช่วงที่ 'ทักษิณ ชินวัตร' และพรรคไทยรักไทย กลับมาครองอำนาจบริหารประเทศ ในสมัยที่ 2 หลังการเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ ปี 2548  รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าสมัยแรก ด้วยการเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ที่กุมจำนวน ส.ส. ในสภาถึง 376 เสียง 

แต่ความแข็งแกร่งของรัฐบาลกลับถูกสั่นคลอน เมื่อมีการก่อตัวของมวลชนกลุ่มหนึ่งที่ออกมาประท้วง และเริ่มขยายตัวจนเกิดเป็น 'พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' ยิ่งเกิดกรณีขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเส็กของสิงคโปร์โดยไม่เสียภาษี ความขัดแย้งก็ยิ่งบานปลาย กระทั่ง 'ทักษิณ ชินวัตร' นายกรัฐมนตรี ต้องประกาศยุบสภา เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 2 เมษายน 2549 แต่อีก 3 พรรคการเมือง คือประชาธิปัตย์  ชาติไทย และมหาชน ประกาศ 'บอยคอต' ไม่ลงเลือกตั้ง 

แต่การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ยังคงเดินหน้า โดยมีเฉพาะพรรคไทยรักไทยและพรรคเล็ก ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง และในเขตที่พรรคไทยรักไทยไร้คู่แข่ง จะต้องได้คะแนนเสียง มากกว่า 20% ของผู้มาใช้สิทธิ จึงจะได้รับเลือกตั้ง

จากอดีต 'ถนนลาดพร้าว' จราจรสุดโหด สู่ 'ถนนลาดพร้าว ยุคใหม่' ที่มาด้วย 'รถไฟฟ้าสายสีเหลือง'

ถามว่า ถนนเส้นไหนใน กทม. ที่ขึ้นชื่อว่า ติดโหดที่สุด แน่นอนว่า หนึ่งในเส้นที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์ที่สุด คงหนีไม่พ้น ถนนลาดพร้าว

ถนนลาดพร้าว เริ่มต้นตั้งแต่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว (หรือที่เรียกจนคุ้นเคยว่า ปากทางลาดพร้าว) โดยมีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ กทม. ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก ข้ามคลองน้ำแก้ว คลองบางซื่อ ข้ามคลองลาดพร้าว เข้าสู่พื้นที่เขตวังทองหลาง ตัดกับถนนโชคชัย 4 และถนนประดิษฐ์มนูธรรม จากนั้นเป็นเส้นแบ่งระหว่างแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์กับแขวงพลับพลา จากนั้นตัดกับถนนลาดพร้าว 101 เข้าสู่พื้นที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ ผ่านสามแยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือ ถนนเสรีไทย

'ขุนศึก กทม.' ของ 6 พรรคการเมืองใหญ่

ศึกนี้ใหญ่แน่ๆ เลยวิ! กำลังพูดถึง 'พื้นที่กรุงเทพมหานคร' ที่ว่ากันว่า ศึกเลือกตั้ง 66 จะเป็นสมรภูมิแห่งการเลือกตั้งที่บรรดาพรรคการเมืองสู้กันดุเดือด โดยเบื้องต้นคณะกรรมการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้จัดสรรโควตา ส.ส.กรุงเทพมหานครไว้ที่ 33 คน เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 จำนวน 3 ที่นั่ง แน่นอนว่า ยิ่ง 'เก้าอี้ ส.ส.' มากขึ้น การแข่งขันเพื่อช่วงชิงโควต้า ส.ส.ก็ยิ่งทวีความร้อนแรงอย่างไม่ต้องสงสัย

'สมศักดิ์ เทพสุทิน' รมต.ยุติธรรม สายนักสร้าง สร้างมาตรฐานนักโทษในเรือนจำ และสร้างโอกาสใหม่ในชีวิต

หากมองลงไปในคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หนึ่งในรัฐมนตรีที่นับว่ามีพรรษาทางการเมืองสูงสุด ก็คือ 'สมศักดิ์ เทพสุทิน' 

จากท้องถิ่น ถึงการเมืองชาติ ผู้นำ 'บ้านใหญ่' พื้นที่ จ.สุโขทัย ในวัย 68 ปี ผ่านประสบการณ์การบริหารบ้านเมืองมานับไม่ถ้วน ทั้งในบทบาทรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง จนกระทั่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากระทรวงยุติธรรม และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนพรรคพลังประชารัฐในฐานะประธานยุทธศาสตร์พรรค

“42 ปีทางการเมือง ผมยังมีไฟแก้ปัญหา อาจทำได้ไม่ทั้งหมด แต่จะพยายามทำให้ดีที่สุด”

คือประโยคทิ้งท้ายในงานฉลองวันเกิด 13 มกราคม ปีที่แล้วของนักการเมืองรุ่นใหญ่ ผู้คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงการเมือง ตั้งแต่ก้าวเข้ามาในสนามการเมืองท้องถิ่นปี 2523 สู่บทบาททางการเมืองในระดับชาติ และยังคงมีจังหวะก้าวอยู่ในเส้นทางการเมืองจนถึงวันนี้ 

และหากมองเข้าไปถึง หลักคิด วิธีการ และเป้าหมายในการตัดสินใจทางการเมืองของนักการเมืองที่ชื่อ 'สมศักดิ์ เทพสุทิน' เจ้าตัวเคยให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้ ว่า เขาให้ความสำคัญกับ ‘ดิน ฟ้า อากาศ’

'ดิน' คือ ประชาชน รากหญ้า ความต้องการของประชาชนคือสิ่งสำคัญ 'ฟ้า' คือต้องดูพรรคการเมืองที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และ 'อากาศ' คือประเมินข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ 

ดิน ฟ้า และอากาศ จึงเป็นสามปัจจัยสำคัญที่เจ้าตัวให้ความสำคัญ และเป็นหลักยึดในการตัดสินใจกับพรรคพลังประชารัฐในช่วงเวลาที่ผ่านมา 

เบื้องหลังการขับเคลื่อนพรรคพลังประชารัฐตั้งแต่การหาเสียงเลือกตั้ง จนนำไปสู่การเป็นแกนหลักในการจัดตั้งรัฐบาล และสนับสนุนพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังเลือกตั้ง 2562 ส่วนหนึ่งมาจากพลังการขับเคลื่อนของกลุ่ม ส.ส. และนักการเมืองในนาม 'กลุ่มสามมิตร' 

'สามมิตร' เป็นกลุ่มการเมืองเฉพาะกิจ มีสามแกนหลักคือ 3 รัฐมนตรีในครม.ชุดปัจจุบัน คือ 'สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ' รมต.อุตสาหกรรม 'อนุชา นาคาศัย' รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ 'สมศักดิ์ เทพสุทิน รมต.ยุติธรรม

ชวนทำความรู้จัก 'ระบบบัญชีรายชื่อ' ให้ลึกและรอบมากขึ้น ก่อนการเลือกตั้งจะมาถึง

การเลือกตั้งใหญ่ 2566 ที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ จะมีความแตกต่างจากการเลือกตั้งปี 2562 ที่ครั้งนั้นใช้บัตรใบเดียวเลือกทั้ง ส.ส.เขต 350 คน และส.ส.บัญชีรายชื่อ อีก 150 คน ภายใต้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม และคำนวณจากสูตรจำนวน ส.ส. พึงมี

แต่หนนี้จะกลับมาใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ซึ่ง 1 ใบสำหรับเลือก 'คน' ที่รัก อีก 1 ใบสำหรับ 'พรรค' ที่ชอบ โดย ส.ส. 500 คน จะมาจาก ส.ส.เขต 400 และบัญชีรายชื่อ อีก 100 คน 

การเลือก 'ผู้แทนราษฎร' ระบบบัญชีรายชื่อ หรือ ปาร์ตี้ลิสต์ ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็คือระบบที่ให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือก 'พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง' โดยแต่ละพรรคจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้ไม่เกินเพดานจำนวนที่กำหนด และเมื่อผ่านการลงคะแนนแล้ว ผู้สมัครที่อยู่ในบัญชีของพรรคนั้นก็จะได้รับเลือกตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้รับ 

สำหรับประเทศไทยนั้น มีจุดเปลี่ยนสำคัญหลังการปฏิรูปการเมืองจนได้มาซึ่ง 'รัฐธรรมนูญปี 2540' ที่มีการนำเสนอระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ที่พลิกโฉมการเมืองไทย คือระบบ 'ปาร์ตี้ลิสต์' เป็นครั้งแรก เจตนารมณ์เพื่อ 'เพิ่มบทบาทของพรรคการเมืองและนโยบายของพรรค' ทำให้พรรคการเมืองมีความสำคัญมากขึ้น และทำให้ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือก ส.ส. ในเขตพื้นที่ และพรรคการเมืองที่ชื่นชอบแตกต่างกันได้ 

'ปาร์ตี้ลิสต์' ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในการเลือกตั้งปี 2544 โดยมีการแยกที่มาของ ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อออกจากกันชัดเจนด้วยบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และใช้บัญชีปาร์ตี้ลิสต์เดียวเป็นแบบเขตเดียวทั้งประเทศ

ต่อมา 'รัฐธรรมนูญ 2550' มีการปรับมาใช้ระบบ 'สัดส่วน' แบ่งพื้นที่การเลือกตั้งทั้งประเทศเป็น 8 กลุ่มจังหวัด แต่ละพรรคการเมืองจะต้องส่งรายชื่อผู้สมัคร 8 บัญชี ลงสมัครใน 8 กลุ่มจังหวัด บัญชีละไม่เกิน 10 คน เรียงตามลำดับหมายเลข   

อย่างไรก็ตาม รูปแบบดังกล่าวนี้ใช้ได้เพียง 1 ครั้ง  เมื่อต่อมา ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเปลี่ยนมือมาเป็น 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' สภาผู้แทนราษฎรก็ลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องระบบการเลือกตั้ง ส.ส. กลับไปใช้บัญชีรายชื่อบัญชีเดียวทั่วประเทศ จำนวน 125 คน

กระทั่งถึง 'รัฐธรรมนูญ 2560' มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้ง โดยมีการนำ 'ระบบจัดสรรปันส่วนผสม' มาใช้  มีการเพิ่มจำนวน ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อขึ้นเป็น 150 คน และให้ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวเลือกทั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขต และระบบบัญชีรายชื่อ 

จนมาถึงการเลือกตั้ง 2566 นี้ จะมีการปรับกลับมาใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และใช้การคิดคำนวณแบบคู่ขนาน หรือ Mixed Member Majoritarian System ซึ่งมีจำนวน ส.ส.เขต 400 คน และ ปาร์ตี้ลิสต์ 100 คน เหมือนการเลือกตั้ง ปี 2544 

''สุชาติ ชมกลิ่น'' รมต.กระทรวงแรงงาน ผู้แก้ปัญหาแรงงานไทยใน วิกฤติโควิด-19 พร้อมเปิดตลาดแรงงานสู่ ซาอุดิอาระเบีย ในรอบหลายสิบปี

"สุชาติ ชมกลิ่น" เป็นหนึ่งในรัฐมนตรีที่ปรากฏตัวหน้าสื่อค่อนข้างบ่อย  ทั้งในบทบาทหนึ่งในการเป็นคีย์แมนของพรรคพลังประชารัฐ และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน  โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ระบาดโควิด - 19 นอกจากกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องทำงานหนักเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสแล้ว ในส่วนของปัญหาปากท้อง และผลกระทบที่เกิดกับแรงงานในและนอกระบบ ทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว ก็เป็นโจทย์ใหญ่ให้กระทรวงแรงงานต้องเร่งแก้ไข เยียวยาผลกระทบไม่แพ้กัน

สุชาติ  ชมกลิ่น หรือ "เสี่ยเฮ้ง" เริ่มผันตัวจากนักธุรกิจ เข้าสู่วงการเมืองท้องถิ่นด้วยการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เขตอำเภอเมืองชลบุรี ก่อนเข้าสู่การเมืองสนามใหญ่ ด้วยการเป็น ส.ส.สมัยแรกกับพรรคบ้านใหญ่ชลบุรีอย่าง "พลังชล" ในปี 2554  และได้รับเลือกเป็นส.ส.เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกันในปี 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ กระทั่งคล้อยหลังเลือกตั้งหนึ่งปี  เดือนสิงหาคม 2563  "สุชาติ" จึงมีโอกาสเข้ามารับตำแหน่ง "จับกัง 1" เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ด้วยบุคลิกที่เป็น "คนตรง - ขาลุย" เป็นนักปฏิบัติ โดยเจ้าตัวเคยให้สัมภาษณ์ เปรียบตัวเองเป็น "ปลาเป็น" จึงต้องว่ายทวนน้ำ ไม่ปล่อยตัวไหลไปตามน้ำเหมือนปลาที่ตายแล้ว  ประกอบกับตัวเองมีความผูกพันกับผู้ใช้แรงงานในฐานะที่เคยเป็นผู้ใช้แรงงานมาก่อน จึงทำให้เข้าใจหัวอกคนใช้แรงงาน ซึ่งหัวใจสำคัญในการดำเนินนโยบายของ "สุชาติ"  คือการทำให้แรงงานมีหลักประกัน มีกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย ที่สามารถปกป้อง คุ้มครองให้ได้รับความเป็นธรรม

ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีแรงงานคนนี้ ยังเข้ามาบูรณาการข้อมูล และระบบการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ภายใต้การกำกับของกระทรวง ตั้งเป็นศูนย์อำนวยการแรงงานแห่งชาติ ขับเคลื่อนทุกเรื่อง ในทุกมิติของกระทรวงแรงงาน ทั้งการพัฒนาฝีมือแรงงาน การจัดหางาน การจัดสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน และแก้ปัญหาต่างๆ ได้ถูกจุดและรวดเร็ว

ยกตัวอย่างช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังมีการร้องเรียนจากผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารคนไทย ให้ตรวจสอบคนต่างชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจไม่ถูกกฎหมาย ใช้นอมินีคนไทยจดทะเบียนตั้งบริษัทแย่งอาชีพคนไทย และจ้างลูกจ้างชาวต่างชาติเป็นพนักงาน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top