Monday, 6 May 2024
เลือกตั้งประเทศไทย

ถามว่า เมื่อต้นปี 2566 มีอะไรใหม่เกิดขึ้นในเมืองไทย หนึ่งในนั้นคือ การเปิด “อุโมงค์มหาราช” สิ่งปลูกสร้างที่อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างแท้จริง

ย้อนเล่าความเป็นมาของ ถนนมหาราช-หน้าพระลาน-วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สถานที่ทั้งสามแห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ มีอายุมากกว่าร้อยปี โดยนับแต่อดีต เคยได้รับการทำนุงบำรุงเรื่อยมา กระทั่งวันเวลาผันผ่าน สถานที่ดังกล่าว ได้กลายเป็นจุดที่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ต่างให้ความสนใจ และเดินทางมาเยี่ยมชมปีละหลายล้านคน

 

กระทั่งเมื่อปี 2562 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนา กรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโบราณสถานเก่าแก่เหล่านี้ จึงหารือในที่ประชุมเกี่ยวกับการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดถนนหน้าพระลานและถนนมหาราช เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณสนามหลวง ถนนหน้าพระลานและถนนมหาราช ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยว และเกิดความปลอดภัยในการสัญจร โดยมอบให้กรุงเทพฯ พิจารณาให้มีความเหมาะสม

กลายเป็นกระแส เมื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถูกบรรดานักข่าวถามถึง ทีมเศรษฐกิจของพรรครวมไทยสร้างชาติ

กลายเป็นกระแส เมื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถูกบรรดานักข่าวถามถึง ทีมเศรษฐกิจของพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยเชื่อมโยงไปถึงทีมเศรษฐกิจของ (ว่าที่) แคนดิเดตนายกฯ แห่งพรรคเพื่อไทย นามว่า “เศรษฐา ทวีสิน” งานนี้ “ลุงตู่” ถึงกับสวนถามนักข่าวทันควัน “เขาเด่นตรงไหนล่ะ ที่เสนอชื่อเขามา เขาเก่งตรงไหน เขาทำอะไรมา เขาทำธุรกิจ และประเทศชาติไม่ใช่ธุรกิจ”

 

เท่านั้นยังไม่พอ ยังเน้นแบบชัดเจนอีกประโยค  จำคำพูดผมเอาไว้นะ คำว่าเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่เศรษฐกิจหรือธุรกิจของครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เข้าใจหรือไม่”

อีกหนึ่งเรื่อง ที่เมื่อไรที่นึกถึง “ลุงตู่” นายกรัฐมนตรีประเทศไทย ตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี ลุงตู่ให้ความสำคัญเรื่องของ “กีฬา” เป็นอย่างมาก

เหตุผลประกอบส่วนหนึ่ง เนื่องจากในอดีต ลุงตู่เป็นผู้ที่ชื่นชอบในการเล่นกีฬาเป็นเดิมทุน ครั้งหนึ่งในการจัดรายการ Government Weekly EP.19 เทปนั้นได้เชิญนักกีฬาทีมชาติสองคน คือ กันตภณ หวังเจริญ นักแบดมินตันทีมชาติไทย และ วิชาสิรี รัตนนัย นักฮอกกี้น้ำแข็งทีมชาติไทย โดยบางช่วงบางตอน ลุงตู่ได้ย้อนเล่าเรื่องราวความชอบกีฬาให้ฟังว่า...

“ชอบกีฬาทุกอย่าง เพราะเป็นทหารมาก่อน ตั้งแต่เป็นนักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย เขาก็ฝึกให้เรียนรู้กีฬาทุกประเภท สมัยเป็นเด็กก็ชอบฟุตบอล ชอบเล่นฟุตบอลกับเพื่อนสมัยมัธยม เมื่อโตขึ้นเคยเล่นรักบี้ด้วย เมื่อเป็นผู้บัญชาการก็เล่นตระกร้อกับลูกน้อง เล่นกีฬาได้หลากหลาย วอลเลย์บอลก็เล่นได้ คือไม่เก่ง แต่เล่นได้ คือสิ่งที่เราได้ออกกำลังกาย และได้พบปะกับลูกน้อง ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือผู้คนทั่วไป”

ไม่ใช่แค่ชอบเล่น แต่ลุงตู่ยังชื่นชอบในการดูกีฬาอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องติดตามและให้ความสำคัญกับนักกีฬาไทยทุกชนิด ลองสังเกตได้ว่า หากมีรายการกีฬาสำคัญ ๆ หรือทัวร์นาเมนต์กีฬาที่คนไทยให้ความสนใจ ลุงตู่มักจะไปปรากฏตัวร่วมงานอยู่บ่อย ๆ  

พร้อมทั้งตอกย้ำอีกด้วยว่า กีฬาในยุคสมัยนี้ กลายเป็น soft power ที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง รัฐบาลที่ผ่านมา จึงให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือกระทรวงดิจิทัลฯ ที่ให้การส่งเสริมกีฬาอีสปอร์ต จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 

อาจเป็นภาพปกติ ยามเมื่อเหล่านักกีฬาทีมชาติ ที่กำลังเตรียมตัวเดินทางไปแข่งขันในรายการสำคัญ ๆ มักจะเข้าพบกับนายกรัฐมนตรี เพื่อรับคำอวยพร แต่สำหรับ “ลุงตู่” ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ชื่นชอบกีฬา มากกว่าการมอบคำอวยพร คือการมอบแรงใจ ในฐานะคนชื่นชอบกีฬาเหมือน ๆ กัน เพื่อให้เหล่านักกีฬาได้นำไปต่อสู้ในเกมการแข่งขันต่อไป

 

การเลือกตั้งไทย ครั้งที่ ‘สกปรกที่สุด’ ในประวัติศาสตร์

26 ก.พ. 2500 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยมีจัดการเลือกตั้งใหญ่ แต่เกิดเหตุการณ์หลายอย่างที่ไม่ชอบมาพากล อาทิ การใช้เวลานับคะแนนนานถึง 7 วัน 7 คืน เกิดกรณีใช้ความรุนแรงทำร้ายคู่แข่งการเมือง ตรวจพบบัตรเลือกตั้งที่ถูกกามาตั้งแต่โรงพิมพ์ การเวียนเทียนคนใช้สิทธิเลือกตั้ง และอีกหลากปรากฏการณ์ด้านลบที่เกิดขึ้น ทำให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 กลายเป็นภาพจำในประวัติศาสตร์การเมืองว่าเป็น "การเลือกตั้งที่สกปรกที่สุด" 

ที่มาของเหตุการณ์ครั้งนั้น ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 2498  หลังจากการเดินสายรอบโลก เยือนสหรัฐอเมริกา ตามด้วยหลายประเทศในยุโรป ซึ่งล้วนยึดโยงกับแนวคิดเสรีประชาธิปไตย ทำให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีแนวคิดกลับมาเริ่มรณรงค์ “ประชาธิปไตย” และให้สัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2500 โดยหมายมั่นให้เป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม

จึงเป็นที่มาของการออกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2498  และการประกาศให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500โดยมีพรรคเสรีมนังคศิลา ที่จอมพล ป. เป็นหัวหน้าพรรค ลงสมัครรับเลือกตั้ง พร้อมด้วยพรรคประชาธิปัตย์ คู่แข่งสำคัญ และพรรคการเมืองอื่น รวมทั้งสิ้น จำนวน 23 พรรค

หลังเลือกตั้ง ปรากฏว่าชัยชนะเป็นของพรรคเสรีมนังคศิลา ได้ 86ที่นั่งจากทั้งหมด 160 ที่นั่ง แต่ผลการเลือกตั้งกลับไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้งและพบการโกงการเลือกตั้งหลายรูปแบบ

การเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยคำถาม นำมาสู่การก่อตัวของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนเคลื่อนไหวเรียกร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และให้มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ขณะที่สื่อมวลชนได้ประณามการเลือกตั้งครั้งนี้ ว่าเป็น "การเลือกตั้งที่สกปรก" แต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้แถลงผ่านสื่อว่าควรเรียกเป็น “การเลือกตั้งไม่เรียบร้อย”

นอกจากกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้ชุมชุม และสื่อมวลชนแล้ว ยังมีความเคลื่อนไหวสำคัญจากฟากพรรคการเมือง เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ โดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เขียนคำฟ้องต่อศาลในนามนายควง อภัยวงศ์ และ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์รวม 9 คน กล่าวหาว่าการเลือกตั้งมีความไม่ชอบธรรมในหลายเรื่อง 

ทั้งช่วงก่อน และระหว่างเลือกตั้ง ที่พบว่ามีการจัดเลี้ยงผู้กว้างขวาง และนายตำรวจผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือพรรคเสรีมนังคศิลา มีการเพิ่มชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างผิดปกติ รวมถึงมีการตรวจพบบัตรเลือกตั้งที่เรียกว่า ‘ไพ่ไฟ’ คือบัตรเลือกตั้งที่พิมพ์จากโรงพิมพ์โดยมีการกาเลือกผู้สมัครไว้แล้วเป็นจำนวนมาก และมีการใช้ ‘พลร่ม’ คือใช้กลุ่มคนเวียนลงคะแนนให้พรรคเสรีมนังคศิลาหลายรอบ

ขณะที่วันเลือกตั้งก็พบการก่อกวน มีการใช้ความรุนแรงในหน่วยเลือกตั้ง รวมถึงบางหน่วยเลือกตั้งที่เปิดให้ลงคะแนนช้า หรือยืดเวลาลงคะแนนออกไปหลังเวลาปิดหีบ และการนับคะแนนในหลายเขตที่ไม่โปร่งใส 

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมต.ผู้ปราบการกระทำผิดไซเบอร์ แห่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

อยู่ในตำแหน่ง ส.ส. ครบ 4 ปี และแม้จะเป็นรัฐมนตรีไม่นานมากนัก แต่ต้องยอมรับว่า "ชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์ มีบทบาทในการขับเคลื่อนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส  รวมถึงการทำหน้าที่ผู้แทนราษฎร ที่มีจุดยืนชัดเจนในการปกป้องสถาบันหลักของชาติ เรียกได้ว่า "พร้อมชน" ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งการจัดการกับ "ข่าวปลอม" ต่างๆ  การอภิปรายในสภา หรือให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเพื่อตอบโต้การเคลื่อนไหวหรือการทำกิจกรรมใดๆ ที่สุ่มเสี่ยงหรือเข้าข่ายกระทบสถาบัน

หากย้อนมองเส้นทางการเมืองของ "ชัยวุฒิ" ที่ครั้งหนึ่งเคยใฝ่ฝันอยากเป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานการเมือง เริ่มต้นจากการเป็น ส.ส. สิงห์บุรี กับพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2544  และขยับไปเป็น ส.ส.สิงห์บุรีอีกสมัยกับพรรคชาติไทย ในปี 2550 คล้อยหลังมา 1ปี เจ้าตัวจำต้องเว้นวรรค ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี  เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยซึ่งถูกยุบ ในคดียุบพรรคการเมือง ปี 2551

จากนั้นก็ผันตัวไปทำงานอื่นอยู่พักใหญ่ก่อนหวนกลับมาสู่การเมืองอีกครั้ง เมื่อถูกทาบทามให้เข้ามาช่วยปลุกปั้นพรรค "พลังประชารัฐ" สู้ศึกเลือกตั้งในปี 2562 ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 10 และมีบทบาทสำคัญในการบริหารขับเคลื่อนพรรค ต่อมาเมื่อถึงช่วงเวลาปรับ ครม. เดือนมีนาคม 2564  "ชัยวุฒิ" จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

"ที่ผมเข้ามาทำงานในกระทรวงดิจิทัล ภารกิจหลักของผมคือปกป้องสถาบันหลักของชาติ"

ประโยคสั้นๆ จากบางช่วงบางตอน ที่ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ในฐานะ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชี้แจงระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 3 กันยายน 2564 หลังถูกตั้งคำถามเรื่องการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่

วันนั้น เขาขยายความเหตุที่ต้อง ‘ปกป้อง’ สถาบันหลักของชาติ เพราะกำลังถูกบ่อนทำลาย โดยการใช้โซเชียลมีเดีย ใช้คอมพิวเตอร์ สื่อสารข้อมูลเท็จ บิดเบือน สร้างความเกลียดชัง เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างในประเทศ

นายกฯ ไทยที่มีอายุการทำงาน ''สั้นและยาวที่สุด''

อีกประมาณ 2 เดือนข้างหน้าจะเข้าสู่การเลือกตั้งใหญ่ เป็นที่รู้กันว่าตามรัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติไว้ให้นายกรัฐมนตรีมีวาระในการดำรงตำแหน่งไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 8 ปี หากย้อนดูในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 29 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีวาระในการดำรงตำแหน่ง และห้วงเวลาสั้น ยาว แตกต่างกันไป

แต่ถ้าพูดถึงนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในอำนาจสั้นที่สุด นั่นคือ  "ทวี บุณยะเกตุ" ซึ่งอยู่ในตำแหน่งเพียง 18 วัน เป็นช่วงเวลาแสนสั้น  แต่ภารกิจนั้นกลับสำคัญยิ่ง

ย้อนกลับไปเมื่อ 15 สิงหาคม 2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเข้าสู่จุดสิ้นสุดเมื่อญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงคราม นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ได้ออก “ประกาศสันติภาพ” อันมีใจความสำคัญว่า การประกาศสงครามของไทยต่ออังกฤษและสหรัฐฯ เป็นโมฆะ ทำให้รัฐบาลนายควง  อภัยวงศ์ ลาออกตามมารยาทการเมือง

ขณะที่ต้องรอเวลาให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา เดินทางกลับมาที่ไทยเพื่อรับตำแหน่งนายกฯ ต่อไป ทว่ามีภารกิจเร่งด่วนที่สุดของประเทศที่รอไม่ได้ คือการเจรจายุติสงครามกับอังกฤษและสหรัฐฯ  จึงจำเป็นต้องตั้ง "รัฐบาลเฉพาะกิจ" เร่งจัดการเรื่องต่างๆ ช่วงรอยต่อจากภาวะสงคราม

"ทวี บุณยเกตุ" คือบุคคลที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี "ขัดตาทัพ" ด้วยความที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผ่านประสบการณ์ทางการเมืองเป็นเลขา ครม.ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ และเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดคือ นายทวี เป็นแกนนำคณะเสรีไทย ที่นายปรีดี พนมยงค์ ไว้ใจ รวมถึงเป็นที่ยอมรับของฝ่ายสัมพันธมิตร

ดังนั้นรัฐบาลของนายกฯ "ทวี บุณยเกตุ"  จึงมีอายุเพียงแค่ "18 วัน" ตั้งแต่ 31 สิงหาคม-17 กันยายน 2488  ในการทำภารกิจสำคัญเร่งด่วน คือ เตรียมการเจรจายุติสถานะสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐฯ  พร้อมปูทางให้ไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวมถึงเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “ไทยแลนด์” กลับมาใช้ชื่อ “สยาม”  และยุบตำแหน่ง “ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน” เพื่อลดเกียรติภูมิของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ตัดสินใจให้ความร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นก่อนหน้านั้น

กระทั่ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับถึงไทย วันที่ 17 กันยายน 2488 นายทวีได้นำคณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อเปิดทางให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช จัดตั้งรัฐบาลตามที่ตกลงกันไว้ เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจของนายกรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาอยู่ในตำแหน่งสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

เมื่อพูดถึง “นายกฯ ที่มีอายุงานสั้นที่สุด” ในมุมตรงข้าม นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด ต้องยกให้ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม"  ที่เป็นนายกรัฐมนตรี 2 ช่วง รวมเวลายาวนานถึง 15 ปี กับอีก 11 เดือน

8 ปี 154 วัน กับความทรงจำนายกรัฐมนตรีไทย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

อีกประมาณ 2 เดือนข้างหน้าจะเข้าสู่การเลือกตั้งใหญ่ เป็นที่รู้กันว่าตามรัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติไว้ให้นายกรัฐมนตรีมีวาระในการดำรงตำแหน่งไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 8 ปี

หากย้อนดูในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 29 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีวาระในการดำรงตำแหน่ง และห้วงเวลาสั้น ยาว แตกต่างกันไป 

แต่ถ้าพูดถึงนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในอำนาจสั้นที่สุด นั่นคือ  "ทวี บุณยะเกตุ" ซึ่งอยู่ในตำแหน่งเพียง 18 วัน เป็นช่วงเวลาแสนสั้น  แต่ภารกิจนั้นกลับสำคัญยิ่ง 

ย้อนกลับไปเมื่อ 15 สิงหาคม 2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเข้าสู่จุดสิ้นสุดเมื่อญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงคราม นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ได้ออก “ประกาศสันติภาพ” อันมีใจความสำคัญว่า การประกาศสงครามของไทยต่ออังกฤษและสหรัฐฯ เป็นโมฆะ ทำให้รัฐบาลนายควง  อภัยวงศ์ ลาออกตามมารยาทการเมือง

ขณะที่ต้องรอเวลาให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา เดินทางกลับมาที่ไทยเพื่อรับตำแหน่งนายกฯ ต่อไป ทว่ามีภารกิจเร่งด่วนที่สุดของประเทศที่รอไม่ได้ คือการเจรจายุติสงครามกับอังกฤษและสหรัฐฯ  จึงจำเป็นต้องตั้ง "รัฐบาลเฉพาะกิจ" เร่งจัดการเรื่องต่างๆ ช่วงรอยต่อจากภาวะสงคราม

"ทวี บุณยเกตุ" คือบุคคลที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี "ขัดตาทัพ" ด้วยความที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผ่านประสบการณ์ทางการเมืองเป็นเลขา ครม.ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ และเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดคือ นายทวี เป็นแกนนำคณะเสรีไทย ที่นายปรีดี พนมยงค์ ไว้ใจ รวมถึงเป็นที่ยอมรับของฝ่ายสัมพันธมิตร

ดังนั้นรัฐบาลของนายกฯ "ทวี บุณยเกตุ"  จึงมีอายุเพียงแค่ "18 วัน" ตั้งแต่ 31 สิงหาคม-17 กันยายน 2488  ในการทำภารกิจสำคัญเร่งด่วน คือ เตรียมการเจรจายุติสถานะสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐฯ  พร้อมปูทางให้ไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวมถึงเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “ไทยแลนด์” กลับมาใช้ชื่อ “สยาม”  และยุบตำแหน่ง “ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน” เพื่อลดเกียรติภูมิของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ตัดสินใจให้ความร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นก่อนหน้านั้น 

กระทั่ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับถึงไทย วันที่ 17 กันยายน 2488 นายทวีได้นำคณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อเปิดทางให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช จัดตั้งรัฐบาลตามที่ตกลงกันไว้ เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจของนายกรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาอยู่ในตำแหน่งสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
 
เมื่อพูดถึง “นายกฯ ที่มีอายุงานสั้นที่สุด” ในมุมตรงข้าม นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด ต้องยกให้ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม"  ที่เป็นนายกรัฐมนตรี 2 ช่วง รวมเวลายาวนานถึง 15 ปี กับอีก 11 เดือน 

เส้นทางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เริ่มจากการเป็นกำลังสายทหารในคณะราษฎร ร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ก่อนนำกำลังปราบกบฏบวรเดช ปูทางก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ในปี 2481 ต่อจากพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา 

ในห้วงแรกของการเป็นนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. เดินหน้านโยบายสร้างชาติ ปลูกฝังกระแสชาตินิยมต่อเนื่อง  ตั้งแต่ออกกฎหมายสงวนอาชีพบางอย่างเฉพาะคนไทย  ใช้คำขวัญ "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" มีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้ทันสมัย เช่น สั่งห้ามกินหมาก ให้ข้าราชการนุ่งกางเกงขายาว สวมหมวก สวมรองเท้า และกล่าวคำว่า "สวัสดี" เมื่อพบปะทักทายกัน

ขณะที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิก็ถูกก่อสร้างในสมัยจอมพล ป. รวมถึง มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ด้วย 

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป. ตัดสินใจเลือกเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น กระทั่งปี 2487 เกิดเหตุการณ์รัฐบาลแพ้โหวตร่างกฎหมายสำคัญในสภา ทำให้จอมพล ป. ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 

'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' นายกฯ หญิงคนเดียวของประเทศ กับวิบากกรรม 'จำนำข้าว'

ย้อนเวลาไป 12 ปีก่อน การเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนมากกว่า 15 ล้านเสียง ได้ส.ส. 265 จาก 500 คน เกินครึ่งของที่นั่งในสภา แต่ที่สำคัญกว่าการชนะเลือกตั้ง คือการผลักดัน 'นายกรัฐมนตรีหญิง' คนแรกของไทยก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง เธอคือ 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' โดยเป็นการพิสูจน์และเปิดประตูความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่น่าเสียดายที่บทส่งท้าย ของประวัติศาสตร์หน้าสำคัญนี้ กลับกลายเป็นความผิดพลาด เกิดวิบากกรรมทางการเมืองที่ทำให้เจ้าตัวยังไม่กลับประเทศไทยจนถึงวันนี้ 

กล่าวถึง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เธอเป็นบุตรสาวของนายเลิศ ชินวัตร อดีต ส.ส.เชียงใหม่ โดยในบรรดาลูกๆ ทั้ง 10 คนของนายเลิศ หลายคนเดินตามรอยของบิดาในการก้าวเข้าสู่สนามการเมือง ไม่ว่าจะเป็นอดีตนายกฯ ทักษิณ นางเยาวลักษณ์ นางเยาวเรศ นางเยาวภา และนายพายัพ ชินวัตร ส่วนลูกสาวคนสุดท้อง 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' เดิมไม่สนใจการเมืองแต่มุ่งหน้าเติบโตในสายธุรกิจ 

จนเมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ในราวปลายปี 2551 เข้าสู่ยุคของพรรคเพื่อไทย 'ยิ่งลักษณ์' เป็นทางเลือกแรกของอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่จะให้เป็นหัวหน้าพรรคแต่ยังถูกปฏิเสธ ด้วยไม่อยากเข้าสู่การเมืองและสนใจทำธุรกิจเท่านั้น ต่อมาปี 2554 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินใจเข้าสู่สนามการเมือง หลังได้รับการร้องขอให้ลงสมัครรับเลือกตั้งแทน 'ดร.ทักษิณ' พี่ชาย โดยนำทัพพรรคเพื่อไทยสู้ศึกเลือกตั้ง ในฐานะผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 และใช้เวลาเพียง 49 วัน พาเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง กรุยทางสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ในวัยเพียง 44 ปี 

นอกจากกระแสความนิยมในตัว 'ดร.ทักษิณ' ที่นำพา 'ยิ่งลักษณ์' ก้าวขึ้นสู่อำนาจแล้ว หากลองดูนโยบายของพรรคเพื่อไทยในช่วงปีนั้นก็ถือว่า หลายนโยบายที่ใช้หาเสียงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางเศรษฐกิจที่เรียกคะแนนนิยมจากการเลือกตั้งด้วย ทั้งนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท , จบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท , โครงการรถยนต์คันแรก , ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก , แจกแท็บเลตให้เด็กนักเรียนให้เข้าถึงคอมพิวเตอร์และการเรียนออนไลน์ รวมถึงนโยบายที่ให้ทั้งคุณและโทษกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ นั่นคือ 'โครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด' 

'ประชาธิปัตย์' พรรคการเมืองที่ไม่เคยห่างหายไปจาก 'การเมืองไทย'

ใกล้เลือกตั้งเข้าไปทุกขณะ หากสำรวจข้อมูลพรรคการเมืองจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566 พบว่ามีพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น 88 พรรค   

ใน 88 พรรค มีอยู่เพียงแค่พรรคเดียว ที่อายุยืนยาวที่สุด เป็นพรรคเดียวที่จัดตั้งในยุคแรกและยังคงดำเนินการจนถึงวันนี้ ไม่เคยห่างหายไปจากการเมืองไทย  เดาไม่ยาก ว่าพรรคการเมืองที่ว่านั้นคือ พรรคประชาธิปัตย์

ย้อนกลับไป ในช่วงเวลาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีแนวคิดจัดตั้งพรรคการเมืองอยู่เป็นระยะ แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้เป็นรูปเป็นร่างได้ ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี 2488  บรรยากาศประชาธิปไตยในไทยเปิดกว้างมากขึ้น พรรคการเมืองไทยยุคแรกจึงก่อตัวขึ้นในยุคนั้น

ปี 2489  พรรคประชาธิปัตย์ถูกก่อตั้งขึ้นโดย 'พันตรีควง อภัยวงศ์' คณะราษฎรสายพลเรือน พร้อมกับขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก โดยมี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เลขาธิการพรรคคนแรกนำพรรคก้าวหน้าของตนมารวมกับพรรคประชาธิปไตยของ ดร.โชติ คุ้มพันธ์ แล้วให้ชื่อว่า 'พรรคประชาธิปัตย์'

จนถึงวันนี้ พรรคประชาธิปัตย์มีหัวหน้าพรรคมาแล้ว  8 คน ในจำนวนนี้ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 คน คือ พันตรีควง อภัยวงศ์ , ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช , นายชวน หลีกภัย และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่วนอีก 4 คน ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกฯ คือ พ.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ , นายพิชัย รัตตกุล , นายบัญญัติ บรรทัดฐาน และหัวหน้าพรรคคนปัจจุบันคือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 

ยุคทองของพรรคประขาธิปัตย์ ซึ่งถือว่ารุ่งเรืองที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ถึงขั้นมีวลีที่ว่า "ส่งเสาไฟฟ้าลงสมัครยังชนะ" และ "คนใต้กรีดเลือดมาเป็นสีฟ้า" นั้น ก่อตัวและเกิดขึ้นในยุคของผู้นำพรรคที่ชื่อ 'ชวน หลีกภัย' 

จุดเริ่มต้นการสั่งสมความนิยมในภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ เกิดขึ้นในปี 2523 ที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคร่วมรัฐบาล เนื่องจาก พลเอกเปรม ซึ่งพื้นเพเป็นคนสงขลา ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีความซื่อสัตย์ สุจริต ทำให้ได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชนสูง

พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.ในพื้นที่ภาคใต้จำนวนมาก จึงเริ่มสร้างความนิยมในภาคใต้อย่างแนบแน่นในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากพลเอกเปรม กระทั่ง ปี 2531 กระแสฟีเวอร์ นายชวน หลีกภัย ซึ่งได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อจากนายพิชัย รัตตกุล เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ 

ต่อมามีการเลือกตั้งหลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง และนายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งครั้งนั้นมีการรณรงค์หาเสียงชูประเด็น 'นายกฯ คนใต้' ตามรอยพลเอกเปรม นับตั้งแต่นั้นมานายชวน หลีกภัย และพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้สร้างความนิยมให้เกิดขึ้นแก่พรรคประชาธิปัตย์ในหมู่คนภาคใต้จนถึงปัจจุบัน

รัฐบาล 'ลุงตู่' อยู่ในใจ

นับถอยหลัง รัฐบาลที่นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังจะหมดวาระลงในวันที่ 23 มีนาคม 2566 ถึงตรงนี้ หลายฝ่ายกะเก็งว่า “ลุงตู่” จะยุบ หรือไม่ยุบสภา ก่อนรัฐบาลหมดวาระ แต่หากก้าวข้ามเรื่องราวเหล่านี้ไป ในช่วงเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้สร้างสรรค์ผลงานเอาไว้มากมาย ซึ่งถ้าจะให้นึกถึง “ภาพจำ” ที่รัฐบาลได้สร้างเอาไว้ The State Times ขอยกให้ 6 เรื่องราวเหล่านี้

เริ่มจากภาพการต่อสู้กับวิกฤติโควิด-19 ซึ่งใช้เวลากว่า 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2563 มาจนถึงปี 2566 ระหว่างทางต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากมาย เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า โรคระบาดนี้เกิดขึ้นครั้งแรกของโลก ไม่มีใครรู้ดีกว่าใคร และที่สำคัญ ไม่มีใครที่มีวัคซีน แต่ผลสุดท้าย รัฐบาล โดยการนำของลุงตู่ ก็สามารถฝ่าทุกกระแสดราม่า ทำให้ประชาชนคนไทย ก้าวข้ามจากโควิด-19 และได้ฉีดวัคซีนกันถ้วนหน้า

เชื่อมโยงจากเรื่องโควิด-19 มาถึงการได้เปิดประเทศ ต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และหลายๆ ประเทศที่มีวิทยาการก้าวล้ำกว่าประเทศไทย ยังเปิดบ้านเปิดเมือง “ช้ากว่า” เราอยู่ไม่น้อย ถึงวันนี้ นักท่องเที่ยวเดินแบกเป้กันเต็มเมือง ส่วนหนึ่งเพราะการวางมาตรการการดูแลป้องกันที่เข้มงวด จึงสามารถเปิดประตูประเทศได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่น่าประทับใจ

พูดถึงความสัมพันธ์ต่างประเทศ รัฐบาล โดยการนำของลุงตู่ ถือว่ามีภาพจำที่ดีไม่น้อย โดยเฉพาะกับงานใหญ่อย่าง “การประชุมเอเปค” เมื่อปลายปี 2565 ซึ่งการจัดงานผ่านพ้นไปด้วยดี และที่ดีมากกว่านั้น คือภาพความสัมพันธ์ของลุงตู่กับผู้นำหลายต่อหลายชาติ แม้จะเป็นเพียงภาพถ่ายไม่กี่ช็อต ที่ถูกนำเสนอตามหน้าสื่อ แต่สำหรับในเวทีโลกแล้ว นี่คือ “พลัง” ของความเป็นประเทศไทย ที่จะถูกฉายและขับเคลื่อนต่อไปในเวทีระดับนานาชาติ

4 ปีของรัฐบาลลุงตู่ ไม่ได้มีแต่เรื่องบวกๆ หลายๆ เรื่องที่ต้องเรียกว่าเป็นปัญหา จนนำมาซึ่งอีกภาพจำหนึ่ง นั่นคือ การเยียวยาดูแลประชาชน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วงเวลา 4 ปีนี้ มีโครงการ “เยียวยาประชาชน” เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าใครจะมองว่าเป็นการ “แจกเงิน” หรือ “ประชานิยมทางอ้อม” แต่สุดท้ายแล้ว “ผลประโยชน์” ตกไปสู่มือคนไทยทุกระดับอย่างแท้จริง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top