Monday, 6 May 2024
เลือกตั้งประเทศไทย

จาก 'อนาคตใหม่' ถึง 'ก้าวไกล' บทพิสูจน์ว่า 'ของจริง' แค่ไหน ในเลือกตั้ง66

เลือกตั้ง 24 มีนาคม 62 พรรคอนาคตใหม่ กวาดเก้าอี้ในสภาได้เกินคาดถึง 81ที่นั่ง ได้คะแนนรวมกว่า 6 ล้านเสียง กลายเป็นพรรคอันดับ 3 ในสภา จากระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ส่งให้พรรคอนาคตใหม่ ได้จำนวน ส.ส. ทะลุเป้า ทั้งที่ผู้สมัคร ส.ส.ทุกคนไม่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งมาก่อนเลย 

พรรคอนาคตใหม่เริ่มนับหนึ่ง โดยมีนักธุรกิจหมื่นล้านอย่าง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับ ปิยบุตร  แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นผู้ร่วมกันปลุกปั้น โดยมี 'ช่อ' พรรณิการ์ วานิช อดีตบรรณาธิการและพิธีกรรายการข่าว วอยซ์ทีวี เข้ามารับบทบาทเป็นโฆษกพรรค ขณะที่กลุ่มผู้ก่อตั้งพรรค ที่ส่วนใหญ่เป็นนักกิจกรรมทางสังคมและคนรุ่นใหม่ เป็นส่วนผสมที่โดนใจกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก จำนวนกว่า 7 ล้านคน

แต่เส้นทางการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ ก็ถูกสังคมจับจ้อง ด้วยภูมิหลังของ 'ธนาธร' ตั้งแต่ นามสกุล 'จึงรุ่งเรืองกิจ' ของเขา บทบาทนายทุนนิตยสารฟ้าเดียวกัน รวมถึงการเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2553 ไม่ต่างจาก 'ปิยบุตร' ที่เคยมีบทบาทเป็นหนึ่งในนักวิชาการกลุ่ม 'นิติราษฎร' ที่ออกมาจุดประเด็นในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทำให้ด้านหนึ่ง พวกเขาถูกโจมตีในฐานะบุคคลอันตราย แต่อีกด้าน ก็ทำให้พวกเขาและพรรคอนาคตใหม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงเวลาไม่นาน

พรรคอนาคตใหม่ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน หลายจุดยืนและวิธีคิดของพรรคอนาคตใหม่ ก็ถูกตั้งคำถามจากสังคม ทำให้พรรคอนาคตใหม่ ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหา ถูกร้องในหลายกรณี ซึ่งมีไม่น้อยที่มีความผิดถึงขั้นยุบพรรค 

ย้อนไปในวันที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรก หลังเลือกตั้ง 62  ยังไม่ทันได้เริ่มต้นทำหน้าที่ 'ธนาธร' ก็ต้องเดินออกจากที่ประชุมสภา เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่กรณีถือหุ้นสื่อ บริษัทวี-ลัค มีเดีย ก่อนมีคำวินิจฉัยให้พ้นสภาพ ส.ส. ในวันที่ 20 พ.ย.62

ห่างจากนั้นไม่ถึง 2 เดือน 21 ม.ค.63 พรรคอนาคตใหม่รอดพ้นจากการถูกยุบพรรค หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยปมอิลลูมินาติ ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง 

กระทั่งเดินมาถึงจุดพลิกผันสำคัญ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องของ กกต. กรณีที่ 'ธนาธร' ให้พรรคอนาคตใหม่กู้เงินจำนวน 191.2 ล้านบาท ซึ่งในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ 'ยุบพรรค' ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่จำนวน 16 คน ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง  10 ปี 

จุดสิ้นสุดของพรรคอนาคตใหม่ นำมาสู่การตัดสินใจแยกสายกันเดิน โดยที่ ธนาธร ปิยบุตร และ ช่อ พรรณิการ์ แยกไปตั้ง 'คณะก้าวหน้า' เดินหน้าทำงานการเมืองท้องถิ่น หวังผลักดันการกระจายอำนาจ แต่ประสบความล้มเหลวในการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดในปี 2563 เพราะใน 42 จังหวัดที่คณะก้าวหน้า ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งนายก อบจ. สอบตกทั้งหมด แต่ยังได้เก้าอี้สมาชิก อบจ. 57 คน จาก 20 จังหวัด 

ส่วนงานในสภาฯ ส.ส.จากพรรคอนาคตใหม่เดิม ที่เหลือ 55 คน หลังบางส่วนแยกตัวไปอยู่กับพรรคร่วมรัฐบาล ประกาศสานต่อนโยบายเดิม ด้วยการพากันย้ายไปบ้านใหม่ ที่ชื่อ 'พรรคก้าวไกล' โดยมี 'ทิม' พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ รับไม้ต่อเป็นหัวหน้าพรรค 

ด้านหนึ่งต้องยอมรับว่าพรรคก้าวไกลมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ฝ่ายค้าน หยิบยกประเด็นสำคัญขึ้นมาตั้งกระทู้ หรืออภิปรายตรวจสอบรัฐบาล อย่างไรก็ตาม บางจุดยืนที่แข็งแรงของพรรคอนาคตใหม่ที่ส่งต่อมายังพรรคก้าวไกล เช่น ประกาศเป็นขั้วตรงข้ามกับรัฐประหาร จุดยืนเรื่องการแก้ 112 และปฏิรูปสถาบัน ล้วนแต่เป็นยาขมของพรรคการเมืองอื่น และเริ่มกลายเป็นเค้าลางว่าเส้นทางของพรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้งจะไม่ราบเรียบเหมือนปี 62

พรรคก้าวไกล กำลังเผชิญกับทั้ง 'ศึกนอก' ทั้งระบบการเลือกตั้งที่จะกลับมาใช้บัตร 2 ใบ เป็นระบบที่เอื้อ 'พรรคใหญ่' ที่มีกลุ่ม 'บ้านใหญ่' ทำให้พรรคใหม่อย่างก้าวไกลคาดหวังเก้าอี้ในสภาได้น้อยกว่าปี 62 ขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์แลนด์สไลด์ของ 'พรรคเพื่อไทย' หวังเก็บกวาดคะแนนเสียงจากฝั่งประชาธิปไตยไปทั้งหมดเพื่อตั้งรัฐบาลให้ได้ เป็นการส่งนัยถึงการโดดเดี่ยวพรรคก้าวไกลไว้ข้างหลัง

จาก 'โรงงานยาสูบเก่า' พื้นที่กว่า 311 ไร่ สู่โครงการ 'สวนเบญจกิติ' สวนสาธาณะแห่งใหม่ ปอดใหญ่ใจกลางเมือง เพื่อประชาชนทุกคน

หากจะบอกว่า 'สวนป่าเบญจกิติ' คือสิ่งปลูกสร้างที่ช่วยเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ให้กับกรุงเทพ คงไม่ผิดไปนัก จากพื้นที่ที่ซึ่งเป็นของโรงงานยาสูบเดิม ปัจจุบันถูกปรับปรุงโฉม ให้กลายเป็น 'สวนสาธารณะ' แบบเต็มรูปแบบ มากไปกว่านั้น ยังถือเป็น 'ป่าในเมือง' หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น 'ปอดใหญ่' ที่ช่วยสร้างสมดุลทางธรรมชาติให้กับพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ย้อนเวลากลับไปราวปี พ.ศ.2535 กรมธนารักษ์และกระทรวงการคลัง ผู้เป็นเจ้าของที่ดินของโรงงานยาสูบ มีความตั้งใจที่จะคืนพื้นที่บริเวณดังกล่าวนี้ให้เป็นสวนสาธารณะให้กับคนเมือง โดยทำการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่โรงงานยาสูบเดิม ราว 130 ไร่ ให้กลายเป็นสวนน้ำเบญจกิติ 

กระทั่งต่อมา ได้มีการทยอยย้ายโรงงานยาสูบออกไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนหมดสิ้น ทำให้พื้นที่เดิมอีกกว่า 300 ไร่ ได้รับการขยายสร้างให้เป็น 'สวนป่าเบญจกิติ' โดยโครงการดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในปี 2559 ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กระทั่งเสร็จสมบูรณ์ในปี 2565 พร้อมเปิดให้ประชาชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์บนพื้นที่กว่า 300 ไร่แห่งนี้

คิดก่อนจรดปากกา 14 พฤษภา เลือกตั้งประเทศไทย  ผลลัพธ์ครั้งนี้ อาจเปลี่ยนบทบาทไทยต่อเมียนมาไปอีกนาน

การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นกับเมืองไทยในวันที่ 14 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ อาจจะไม่ได้แค่ชี้ชะตาอนาคตของประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่อาจชี้ชะตาต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนด้วย โดยเฉพาะเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ซึ่งเอย่ากล้าพูดเลยว่าการเลือกตั้งหนนี้มีผลชี้ชะตาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอย่างแน่นอน

อย่างที่ใครๆ ก็เห็นว่าที่ผ่านมามีพรรคการเมืองบางพรรคพยายามเป็นตัวตั้งตัวตีในการต่อต้านกองทัพเมียนมา ซึ่งแน่นอนหากพรรคการเมืองดังกล่าวได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล มั่นใจได้ว่าฝ่ายต่อต้านกองทัพเมียนมาจะต้องพยายามดึงรัฐบาลไทยเข้ามาอยู่ในเกมเพื่อคว่ำบาตรรัฐบาลเมียนมาอย่างแน่นอน โดยเอย่าขอแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วนคือ 'ภายในประเทศ' และ 'ระหว่างประเทศ'

*** ภายในประเทศ : จะเห็นได้ว่าท่าทีของพรรคการเมืองที่สนับสนุนประชาธิปไตยเหล่านั้น หากได้เป็นรัฐบาลคงเอื้อต่อกลุ่มนอกประเทศของตัวเอง โดยที่ผ่านมาฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตย ก็ใช้ไทยเป็นศูนย์บัญชาการนอกประเทศมาตลอด แต่ไม่เปิดเผย

ดังนั้น หากรัฐบาลใหม่ขึ้นมา เอย่าเชื่อว่ากลุ่มนี้คงไม่ต้องปิดบังตัวเองอีกต่อไป และคงตั้งฐานปฏิบัติการในไทยอย่างเป็นกิจลักษณะได้เต็มที่ เพราะไทยพร้อมสรรพด้วย NGO ที่พร้อมเป็นแหล่งฟอกเงิน แหล่งจัดหาทุนและอาวุธ รวมถึงหน่วยรักษาพยาบาลที่ใช้คำอ้างสวยหรูว่าเปิดมาเพื่อมนุษยธรรมแต่เบื้องหลังคือรักษาผู้บาดเจ็บจากการรบฝั่งเมียนมา

ต่อมาในประเด็นสังคมหากรัฐบาลไทยเปิดรับผู้ลี้ภัยเต็มที่ให้โอกาสเช่นเดียวกับที่เยอรมนีให้แก่ผู้อพยพชาวซีเรียก็คงไปดูว่า สถิติอาชญากรรมที่พุ่งพรวดขึ้นในเยอรมนีจนถึงขั้นที่คนเยอรมนีรับไม่ได้ แต่คนไทยอาจจะรับได้ก็เป็นได้ ตามคำที่ติดปากคนไทย ว่า “คนไทยลืมง่าย”

***ในด้านระหว่างประเทศ : เชื่อได้ว่าไทยและเมียนมาอาจจะลดความสัมพันธ์ลง และทำให้คนไทยเดินทางเข้าเมียนมายากขึ้นก็เป็นได้ เช่นเมียนมาอาจจะให้คนไทยต้องทำวีซ่าเหมือนเดิมเวลาเข้าเมียนมาก็เป็นได้

ในด้านเศรษฐกิจ หากไทยสนับสนุนการรบจนกะเหรี่ยงชนะและประกาศแยกการปกครองได้ ไทยเราหากจะส่งออกสินค้าไปขายเมียนมาหรือนำเข้าเมียนมาผ่านด่านแม่สอดต้องเสียภาษี 2 ต่อ คงต้องตั้งคำถามตัวโตๆว่า “ไทยได้อะไรจากสิ่งนี้”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top