Wednesday, 1 May 2024
มิจฉาชีพ

เตือนภัย มิจฉาชีพเลียนแบบเพจตำรวจไซเบอร์ หลอกลวงแอดไลน์ อ้างช่วยเหลือคดี แต่กลับเอาข้อมูลส่วนตัวเหยื่อไปก่อเหตุสร้างความเสียหาย

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอม หรือลอกเลียนแบบเพจเฟซบุ๊กของตำรวจไซเบอร์ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หลอกลวงประชาชน อ้างสามารถช่วยเหลือติดตามคดี แต่กลับนำข้อมูลส่วนบุคคลไปก่อเหตุสร้างความเสียหาย แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ดังนี้

ได้รับรายงานจาก กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่าได้ตรวจสอบพบเพจเฟซบุ๊กปลอมชื่อ 'สืบสวน สอบสวน การป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยี' ได้นำตราสัญลักษณ์ของของหน่วยงานมาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการหลอกลวงประชาชน ภายในเพจดังกล่าวพบมีการคัดลอกรูปภาพ ข้อความ การเเจ้งเตือนภัยออนไลน์ต่างๆ และภารกิจของตำรวจไซเบอร์ของเพจจริงมาใช้ ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเพจดังกล่าวเชื่อว่าเป็นเพจจริง เมื่อมีประชาชนติดต่อเข้าไปทาง Facebook Messenger มิจฉาชีพจะส่งไอดีไลน์ พร้อมลิงก์เพิ่มเพื่อนซึ่งใช้บัญชีไลน์ชื่อว่า 'ศูนย์ช่วยเหลือ' โทร 1567 (แท้จริงแล้วเป็นเบอร์ของศูนย์ดำรงธรรม) แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ สามารถช่วยเหลือและติดตามคดีที่ประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ 

จากนั้นจะขอข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล และข้อมูลทางการเงินของเหยื่อ เช่น หมายเลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเครดิต รวมไปถึงหลักฐานทางคดี เช่น หลักฐานการพูดคุยกับคนร้าย หลักฐานการโอนเงิน เป็นต้น ต่อมามิจฉาชีพจะนำข้อมูลที่ได้ไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปแฮ็กบัญชีสื่อสังคมออนไลน์แล้วไปหลอกยืมเงินผู้อื่น หรือใช้รหัสบัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือนำข้อมูลไปขายให้กับแก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์ หรือนำไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมายต่างๆ

ทั้งนี้จากการตรวจสอบเพจปลอมดังกล่าว ได้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 8 มี.ค.66 ขณะนี้มีผู้หลงเชื่อกดติดตามกว่า 7,000 ราย นอกจากนี้มิจฉาชีพยังได้ใช้เทคนิคในการเข้าถึงบุคคลเป้าหมายโดยการโฆษณาอีกด้วย อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.สอท. ได้เร่งทำการสืบสวนเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปโดยเร็วแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ หรือแอบอ้างหน่วยงานราชการต่างๆ มาหลอกลวงประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ

ที่ผ่านมา บช.สอท. โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันการใช้งาน หรือเข้าถึงบริการต่างๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน ระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางคดี ซึ่งมิจฉาชีพอาจใช้โอกาสหลอกเอาข้อมูลไปเเสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างได้ รวมถึงไม่หลงเชื่อเพียงเพราะมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงาน แอบอ้างสัญลักษณ์ของหน่วยงานนั้นๆ หรือมีการยิงโฆษณา หรือมีชื่อเพจ หรือเว็บไซต์ที่คิดว่าน่าจะเป็นของหน่วยงานนั้นจริง

เตือนภัย มิจฉาชีพสร้างเพจกรมการขนส่งทางบกปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินค่าต่อและทำใบอนุญาตขับขี่

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย มิจฉาชีพสร้างเพจเฟซบุ๊ก และไลน์ของกรมการขนส่งทางบกปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หลอกลวงให้ประชาชนโอนเงินค่าทำใบอนุญาตขับขี่ และต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ ดังนี้

ที่ผ่านมาจากการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบการรับแจ้งความออนไลน์ พบว่ามีผู้เสียหายจำนวนหลายรายถูกมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก หลอกลวงให้โอนเงินเพื่อเป็นค่าทำใบอนุญาตขับขี่ใหม่ และค่าต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ที่สิ้นสุดการอนุญาตแล้ว ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก และไลน์ที่มิจฉาชีพสร้างปลอมขึ้นมาเพื่อให้คล้ายคลึงกับเพจเฟซบุ๊ก และไลน์ของกรมการขนส่งทางบกจริง โดยเพจปลอมดังกล่าวใช้บัญชีชื่อว่า “กรมการขนส่ง” ภายในเพจได้ใช้รูปภาพ และตราสัญลักษณ์ของกรมการขนส่งทางบก นำรูปภาพ และคัดลอกเนื้อหาจากเพจกรมการขนส่งทางบกจริงมาใช้หลอกลวงประชาชน โดยมีการประกาศเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปแอดไลน์ปลอมติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยตรง อ้างว่าสามารถต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ได้ทันที ไม่ต้องรอคิวนาน นอกจากนี้ยังตั้งรูปภาพโปรไฟล์เป็นรูปของผู้บริหารกรมการขนส่งทางบก เพื่อสร้างความน่าเชื่อถืออีกด้วย กระทั่งเมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดต่อไปทางไลน์กรมการขนส่งปลอมแล้ว มิจฉาชีพจะให้ส่งข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ เช่น ภาพถ่ายบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ รูปถ่าย และหลอกให้ชำระค่าบริการ ทำให้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก  

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ หรือแอบอ้างหน่วยงานราชการต่างๆ มาหลอกลวงประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ

ที่ผ่านมา บช.สอท. โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

‘ตร.ไซเบอร์’ เตือนภัย มิจฉาชีพอ้างเป็น จนท.กองสลากฯ หลอกติดตั้งแอปฯ หวังดูดเงิน-ลวงข้อมูล แนะ ควรตรวจสอบให้ดี

(1 เม.ย.66) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยประชาชน กรณีมิจฉาชีพอาจฉวยโอกาส แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หลอกลวงประชาชนเอาทรัพย์สิน หรือเอาข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงินไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ดังนี้

ตามที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้ประกาศผ่าน https://www.glo.or.th ยกเลิกการให้บริการจ่ายเงินรางวัลเป็นเงินสด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป โดยผู้ที่ถูกรางวัลสามารถเลือกรับเงินรางวัลได้ จำนวน 3 วิธีการ ได้แก่ 1.โอนเข้าบัญชีธนาคารได้ทุกธนาคาร ยกเว้นวงเงินเกินกว่า 2,000,000 บาท ขึ้นไป โอนได้เฉพาะบัญชี ธนาคารออมสิน หรือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เท่านั้น 2.รับเช็คธนาคารกรุงไทย สาขาสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยเช็คสั่งจ่ายชื่อผู้ขอรับเงินรางวัล 3.รับเงินรางวัลกับตัวแทน ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขานั้น

มิจฉาชีพอาจฉวยโอกาสดังกล่าวแสวงหาวิธีการมาหลอกลวงเอาทรัพย์สิน หรือเอาข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงินของประชาชน ไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบ หรือนำไปกระทำผิดกฎหมาย โดยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลสร้างความน่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ปลอมให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริง สร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมคัดลอกเนื้อหามาจากเพจจริง หรือส่งลิงก์แนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปยังประชาชน ให้เพิ่มเพื่อนแอดไลน์ หลอกลวงให้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นปลอมซึ่งฝังมัลแวร์และดักรับข้อมูลต่างๆ เป็นต้น

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า การหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าว อาชญากรไซเบอร์จะฉวยโอกาสเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงาน ปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องที่หลอกลวงไปเรื่อยๆ ให้สอดคล้องกับกิจกรรม หรือสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ แต่ยังคงใช้แผนประทุษกรรมในรูปแบบเดิม คือ การหลอกลวงให้เหยื่อติดตั้งแอพพลิเคชั่นปลอม หลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัว กรอกรหัสการทำธุรกรรมทางการเงิน เพราะฉะนั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ หรือบริการต่างๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน ไม่หลงเชื่อเพียงเพราะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงาน แอบอ้างสัญลักษณ์ของหน่วยงานนั้นๆ หรือมีชื่อเว็บไซต์ที่คิดว่าจะเป็นเว็บไซต์จริง และพึงระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งมิจฉาชีพจะฉวยโอกาสไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

​จึงขอฝากประชาสัมพันธ์ถึงวิธีการหลีกเลี่ยงการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง ดังนี้

1.) ผู้ถูกรางวัลสามารถเลือกรับเงินรางวัลได้ตามประกาศของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลดังกล่าวเท่านั้น หากมีการแอบอ้างวิธีอื่นสันนิษฐานว่าคือมิจฉาชีพแน่นอน
2.) การพิมพ์ชื่อหน่วยงานใดๆ เพื่อค้นหาเว็บไซต์ ไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอไป ควรเพิ่มความระมัดระวังในการสังเกตชื่อเว็บไซต์ หรือสังเกต URL อย่างละเอียด และไม่หลงเชื่อเว็บไซต์ที่มีการยิงโฆษณาของมิจฉาชีพ
3.) เว็บไซต์ปลอมมีองค์ประกอบของเว็บไซต์น้อยกว่าเว็บไซต์จริง มิจฉาชีพหวังเพียงให้เหยื่อคลิกปุ่ม หรือ Pop-up ติดตั้งแอพพลิเคชั่นปลอมเท่านั้น
4.) เว็บไซต์ปลอมจะไม่สามารถเข้าคลิกเข้าไปสู่ฟังก์ชั่น หรือคลิกเข้าไปสู่หน้าอื่นๆ ของเว็บไซต์ได้

รองโฆษก ตร. เตือน สงกรานต์นี้ต้องระวัง 'ภัยออนไลน์หน้าร้อน' ย้ำมิจฉาชีพมาได้ทุกรูปแบบ ขู่!!! รับจ้างเปิด 'บัญชีม้า – เบอร์ม้า' ติดคุก 3 ปี ปรับ 3 แสน !!!

วันนี้ (8 เม.ย.66) เวลา 11.00 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ต.ท.หญิง ดร.ณพวรรณ ปัญญา รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชน ระวังมิจฉาชีพใช้โอกาสเทศกาลสงกรานต์ออกอุบายหลอกลวงออนไลน์

รองโฆษกฯ เปิดเผยสถิติคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนร้องเรียนผ่านแจ้งความออนไลน์ เว็บไซต์ thaipoliceonline.com ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีจำนวนถึง 22,486 คดี ยอดความเสียหายรวมสูงกว่า 1,842 ล้านบาท โดย 5 ลำดับสูงสุด ได้แก่ 1) หลอกซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ไม่เป็นขบวนการ 2) หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 3) หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานฯ 4) ข่มขู่ทางโทรศัพท์ (Call Center) และ 5) หลอกให้กู้เงิน

พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณฯ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันโจรออนไลน์มักจะออกอุบายตามเทศกาลวันสำคัญตามประเพณี ในช่วงฤดูร้อนนี้ จึงขอแจ้งเตือนถึงรูปแบบอาชญากรรมออนไลน์ที่โจรอาจใช้ในการหลอกลวง ดังนี้

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยประชาชนอย่าหลงเชื่อ มิจฉาชีพหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ฉวยโอกาสช่วงค่าไฟฟ้าแพง

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเรียนประชาสัมพันธ์เตือนภัยประชาชน กรณีมิจฉาชีพเข้ามาแฝงตัวในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อหลอกลวงขายหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ดังนี้

ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) พบว่าเริ่มมีมีผู้เสียหายหลายรายทยอยเข้าแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ หลักจากถูกมิจฉาชีพหลอกลวงขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) หรืออุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ให้กับเหยื่อผู้ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายการอุปโภค และบริโภคจากการใช้ไฟฟ้าในรูปแบบของที่พักอาศัย โดยมิจฉาชีพได้ฉวยโอกาสในช่วงที่โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) กำลังเป็นที่นิยม และได้รับความสนใจในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้บัญชีเฟซบุ๊กปลอมแฝงตัวเข้ามาในกลุ่มต่างๆ ที่มีการซื้อขายโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โพสต์ประกาศขายสินค้าดังกล่าวในราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด ใช้รูปภาพที่คัดลอกมาจากช่องทางที่มีการซื้อจริง โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณต่างๆ และมีการเร่งรัดให้รีบตัดสินใจว่าสินค้าใกล้จะหมด และนอกจากนี้แล้วมิจฉาชีพยังใช้วิธีการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมาทั้งหมดเพื่อหลอกลวงขายสินค้าประเภทดังกล่าวอีกด้วย

ที่ผ่านมานับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 - 16 เม.ย.66 พบว่าการหลอกลวงซื้อสินค้า หรือบริการ ยังคงมีประชาชนตกเป็นเหยื่อ โดยได้แจ้งความร้องทุกข์ผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์สูงที่สุดเป็นลำดับที่ 1 จำนวนกว่า 85,395 เรื่อง หรือคิดเป็น 35.61% ของเรื่องที่มีการรับแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด และมีมูลค่าความเสียหายรวมกว่า 1,255 ล้านบาท

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอประชาชนพึงระมัดระวังการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ อย่าเห็นแก่ของถูกแล้วรีบโอนเงิน โดยขอประนามการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว ถือว่าเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ที่ผ่านมา บช.สอท. ยังคงเร่งปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดทุกราย ไม่มีละเว้น เพื่อไม่ให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง โดยล่าสุดได้ทำการจับกุมแก๊งหลอกลวงเหยื่อส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง ทลายโกดังตรวจยึดของกลางจำนวนมาก อยู่ระหว่างขยายผลไปยังนายทุนจีนที่อยู่เบื้องหลัง

สืบนครบาลรวบยุทธ ท่าเรือ หลอกลงทุนอ้างให้ผลตอบแทนคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดทุกรูปแบบซึ่งสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมาก โดยชุดลาดตระเวนออนไลน์สืบนครบาลร่วมกับชุด PCT5 ได้รับแจ้งเบาะแสพฤติกรรมของยุทธ ท่าเรือ หลอกให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนระดมทุน โดยอ้างให้ผลตอบแทนคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือนเป็นอย่างน้อย โดยใช้วิธีการให้นักลงทุนหรือลูกค้ามาทำสัญญาคู่ค้าร่วมหรือกิจการร่วมค้า และให้ค้ำประกันเป็นสลากออมสิน แต่มิได้บอกว่าสลากออมสินนั้นเปิดเป็นประเภทบุคคลธรรมดา โดยมีชื่อเป็นผู้ทรงตั๋วร่วมกับเจ้าของเงินด้วย ซึ่งถ้าเจ้าของเงินที่หลงเชื่อร่วมลงทุนไม่เข้าใจระบบการเงินจะตกเป็นเหยื่อทันที โดยผู้ก่อเหตุไม่แจ้งข้อมูลนี้ให้ผู้ที่หลงเชื่อร่วมลงทุนทราบ รวมทั้งมีพฤติการณ์หลอกให้ผู้เสียหายโอนค่าดำเนินการต่างๆ เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่าทนาย ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหาย กว่า 2 ล้านบาท

จากการตรวจสอบประวัติของบุคคลดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนพบข้อมูลว่ามีหมายจับที่ต้องการตัวเพื่อดำเนินคดีอยู่ 2 หมายจับ คือ 

พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. / ผอ.ศปอส.ตร. (PCT) ได้เร่งรัดให้ดำเนินการสืบสวนเพื่อติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายให้ได้โดยเร็วเนื่องจากมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อประชาชนในสังคม

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566  พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น./  หน.PCT ชุดที่ 5  พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง  , พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รอง ผบก สส.บช.น. , พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท.ยิ่งยศ ลีชัยอนันต์ , พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฎศรี รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท.สมพงษ์ เกตุระติ สว.กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 5 กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. พร้อมชุด PCT5  ได้ร่วมกันสืบสวนติดตามจับกุมตัว 

นายศักย์ศรณ์ หรือศรณ์ หรือยุทธ ท่าเรือ  สิทธิศักดิ์ อายุ 47 ปี อยู่ที่ 828 ถนนเทศบาล 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามหมายจับศาลอาญามีนบุรี ที่ จ.1826/2565 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกง และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ”  

โดยสามารถติดตามจับกุมตัวได้ที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารจอดรถภายในห้างสรรพสินค้าเดอะ สตรีท รัชดา ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยไม่ให้ความร่วมมือที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม 

จากการตรวจสอบข้อมูลผู้เสียหายที่ได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้พบมูลค่าความเสียหายของผู้เสียหายแต่ละราย รายละกว่า 900,000 บาท มูลค่าความเสียหายร่วมกว่า 2,000,000 บาท ซึ่งเมื่อวิเคราะห์จากพฤติการณ์ก่อเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมเชื่อว่าน่าจะมีผู้เสียหายที่เคยถูกก่อเหตุในลักษณะเช่นนี้อีก ตลอดจนเชื่อว่ามีผู้ที่อยู่ระหว่างถูกก่อเหตุ หรือเริ่มสงสัยในพฤติกรรมของผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมรายอีก 

ตำรวจไซเบอร์ รวบแก๊งหลอกลวงเป็นชาวต่างชาติส่งพัสดุราคาแพงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ จ่ายค่าธรรมเนียม สูญเงินกว่า 36 ล้านบาท

วันนี้ (2 พ.ค. 2566) ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 ได้สั่งการให้มีการจับกุมขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหลอกลวงสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างจริงจัง

สืบเนื่องจากเมื่อต้นปี 2564 มีผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊ก โปรไฟล์ ชื่อ 'Helen' ส่งข้อความมาหาผู้เสียหายทางเฟซบุ๊ก อ้างว่า ถูกกักตัวอยู่ในค่ายทหารที่ประเทศซีเรีย โดยมีแผนที่จะหลบหนี เพราะในค่ายมีการสู้รบกันทุกวัน จึงขอความช่วยเหลือจากผู้เสียหาย ให้รับพัสดุที่จะส่งมายังประเทศไทยไว้ให้ก่อน แล้วจะมารับพัสดุดังกล่าวภายหลังจาก เข้ามาประเทศไทย โดยแจ้งแก่ผู้เสียหายว่าในกล่องพัสดุดังกล่าวเป็นเงินสหรัฐ จำนวน 1,700,000 เหรียญ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 50 ล้านบาท ต่อมามีการติดต่อกันผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ ชื่อ 'Helen' และ 'T' จากนั้นเฟซบุ๊กดังกล่าวก็มีการปิดตัวลง

เตือนภัยออนไลน์ หลอกทำใบขับขี่โดยไม่ต้องสอบ และลงทุนทิพย์

เนื่องจากในรอบสัปดาห์ มีข่าวการหลอกลวงทำใบขับขี่โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง  และมีคดีออนไลน์ ที่เกิดขึ้นมาก ได้แก่ การหลอกให้ลงทุนในแอปพลิเคชันปลอม Wish Shop สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพดังกล่าว จึงมอบหมายให้ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะทำงาน แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ 16 พ.ค.๒๕๖๖ เวลา ๑0.๐๐ น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  
พล.ต.อ.สมพงษ์  ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (7 -13 พ.ค.2566)  มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ  5 อันดับ ได้แก่  อันดับ 1)  คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ  2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ  3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) และ 5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับคดีออนไลน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวงในช่วงนี้ คือ หลอกลวงให้โอนเงินทำใบขับขี่โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง  และหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม Wish Shop ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนต้องเตือนให้ประชาชนได้รับทราบ  
พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี      บช.สอท. กล่าวถึงรายละเอียดภัยออนไลน์ที่น่าสนใจและเกิดขึ้นมากในรอบสัปดาห์  
1. เรื่องที่ ๑ มิจฉาชีพแอบอ้างว่าสามารถทำใบขับขี่ได้โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง    คดีนี้ 
มิจฉาชีพโพสรับทำใบขับขี่ใน Facebook โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง มีหน้าม้าโพสรีวิวว่าสามารถทำได้ และได้รับใบขับขี่จริง ผู้เสียหายทักสอบถามรายละเอียด มิจฉาชีพให้ผู้เสียหายเพิ่มเป็นเพื่อนในไลน์ แล้วให้ส่งข้อมูลส่วนตัว ชื่อ ที่อยู่ รูปถ่าย และรูปบัตรประชาชน หน้า-หลัง พร้อมทั้งขอเก็บเงินล่วงหน้า ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้ก่อน ต่อมาผู้เสียหายติดต่อขอรับใบขับขี่  มิจฉาชีพอ้างว่ามีค่าเอกสาร ค่าดำเนินการ ค่าขนส่ง ต้องโอนเงินเพิ่ม  สุดท้ายไม่ได้รับใบขับขี่ และสูญเสียเงินโดยมีผู้เสียหายแจ้งความเข้ามาเป็นจำนวนมาก 
1.1 จุดสังเกต   
      1.1.1 ตรวจสอบในเพจ  มีการกดถูกใจน้อยมาก        
      1.1.2 มีการกดอีโมชันด้านลบ (โกรธ)     
      1.1.3 เป็นการทำใบขับขี่ในประเทศไทย แต่คนจัดการเพจส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ 
๑.๑.๔ กรมการขนส่งไม่มีการทำใบอนุญาตขับขี่รถทุกประเภท โดยไม่ต้องมีการสอบ 
         และไม่มีการทำใบอนุญาตขับขี่แบบออนไลน์ 
1.2 วิธีป้องกัน  
  1.2.1 ตรวจสอบกฎเหล็ก Facebook ดังนี้ 
1.2.1.1 เป็นบัญชีทางการ (Official) ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ (มีเครื่องหมาย ✔ หรือไม่) 
1.2.1.2 มีการกดอิโมชันด้านลบ (โกรธ) หรือไม่ 
1.2.1.3 เพจมีความโปร่งใสหรือไม่ 

1) ประวัติการสร้างเพจ : สร้างมานานหรือไม่ 
2) ประวัติการเปลี่ยนชื่อ : เปลี่ยนชื่อบ่อยหรือไม่  
3) คนจัดการเพจอยู่ที่ใด สอดคล้องกับเพจหรือไม่ 
4) ในข้อมูลเกี่ยวกับ : มีการสร้างยอดผู้ติดตามให้เห็นว่ามีจำนวนมากหรือไม่   

1.2.2 กรณีมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามสำนักงานขนส่งทุกสาขาหรือโทร  Call Center 1584 
นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่าปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างว่าสามารถทำธุรกรรมกับกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ผ่านทางเพจ Facebook โดยเฉพาะรับทำหรือต่ออายุใบขับขี่รถยนต์ โดยจะนำรูปตราสัญลักษณ์ ขบ. มาใส่ในรูปโฟรไฟล์  หรือนำรูปภาพของผู้ที่ได้รับใบขับขี่มาแอบอ้าง  เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือโดยจะโฆษณาหลอกลวงว่าสามารถออกใบขับขี่หรือต่ออายุใบขับขี่โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานขนส่ง หรือใช้คำว่า “รับทำใบขับขี่โดยไม่ต้องสอบ ไม่ต้องอบรม รอรับได้เลย” และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอยู่ที่ประมาณ  1,000 – 6,000 บาท เมื่อผู้เสียหายโอนเงินไปแล้วจะเรียกร้องให้โอนเงินเพิ่มอีกและเงียบหายไป ขบ. จึงขอย้ำเตือนว่าหย่าหลงเชื่อหรือทำธุรกรรมกับเพจเหล่านี้โดยเด็ดขาด นอกจากจะทำให้สูญเสียทรัพย์สินและเอกสารส่วนบุคคลแล้ว  ยังเสี่ยงที่จะได้รับใบขับขี่ปลอมและเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารทางราชการหรือใช้เอกสารราชการปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากพบเพจ Facebook ปลอมให้กดรายงานบัญชีหรือเพจ Facebook (report) หรือสามารถแจ้งเบาะแสมาได้โดยตรง หรือ โทร.1584 ตลอด 24 ชั่วโมง 

2. เรื่องที่ 2 มิจฉาชีพชักชวนให้ลงทุนในแอปพลิเคชันปลอม Wish Shop โดยโฆษณาทาง Facebook ชักชวนให้ลงทุนโดยใช้รูปและโปรไฟล์ที่น่าเชื่อถือ   ผู้เสียหายหลงเชื่อทักสอบถาม มิจฉาชีพคนที่ 1 จึงให้แอดไลน์ มิจฉาชีพคนที่ 2 เพื่อแจ้งรายละเอียดการทำงาน โดยให้ผู้เสียหายโหลดแอปพลิเคชัน Wish ปลอม(นอก Play Store) สมัครสมาชิก และตั้งชื่อร้าน  โดยให้ทำตามขั้นตอน เริ่มจากลงทะเบียน เลือกสินค้ามาขาย โดยมีเงื่อนไขและจำนวนที่จะทำให้ผ่านภารกิจ และต้องเติมเงินก่อนขายทุกครั้ง ช่วงแรกให้สั่งซื้อสินค้าครั้งละ 3 ชิ้น และสามารถถอนเงินทุนและกำไรคืนได้  แต่ช่วงหลังจะมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นมา คือ สินค้าต้องถึงมือลูกค้า และต้องเคลียร์สินค้าทุกชิ้นก่อน จึงจะได้ถอนเงินได้  ผู้เสียหายเริ่มติดปัญหา เช่น ออร์เดอร์ของลูกค้ามีราคาสูงขึ้น ทำให้ต้องเติมเงินเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้า หรือ มีจำนวนออร์เดอร์ใหม่เข้ามาจำนวนมาก หรือ สินค้าไปไม่ถึงมือลูกค้า ผู้เสียหายจึงขอปิดร้าน แต่มิจฉาชีพอ้างว่ายังมีออร์เดอร์ค้างอยู่ และถ้าจะปิดหรือถอนเงินจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 1) ค่าปิดร้าน 2) กรณีถอนเงิน ต้องจ่ายภาษี 7% 3) ค่าธรรมเนียมโอน 5% 4) ค่าบริการโอนเงิน 15% และ 5) อ้างว่าเงินสะสมในร้านมีจำนวนมากเกิน 2 ล้าน ถูกจำกัดโดยระบบ ต้องโอนยอด 30% เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นบัญชีของผู้เสียหาย โดยจะหลอกให้โอนเงินทีละขั้นตอน หากไม่ทันเวลาจะถูกหัก 10% ของยอดเงิน เมื่อโอนเงินแล้ว จึงจะหลอกขั้นตอนต่อไป และทุกครั้งจะหลอกว่าจะโอนเงินคืนทั้งหมด 
 
2.1 จุดสังเกต

2.1.1 การเปรียบเทียบของปลอม-ของจริง  
1) ใช้โลโก้แบบเก่า  1) เปลี่ยนรูปแบบโลโก้และไอคอนเป็นแบบใหม่ 
2) คะแนน Rating เขียน “Rating”  2) คะแนน Rating เขียน “Ratings” 
3) นำโลโก้ Shoppee ผสมใน App Wish และเพิ่มองค์ประกอบต่างๆ  3) ใช้โลโก้ wish เท่านั้น  
4) ใช้โทนสีส้มเป็นหลักคล้ายกับแอป Shopee และใช้ไอคอนเมนูจากแหล่งอื่น 4) ใช้โทนสีฟ้า-เขียว-เหลือง 

2.1.2 ปัจจุบันแอปพลิเคชั่น Wish ยังไม่รองรับการซื้อขายสินค้าในประเทศไทย  
2.1.3 Wish เป็นแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่นิยมใช้ไลน์ ในการสนทนาแบบ ข้อความด่วน ฉะนั้นในไลน์ จึงไม่มีบัญชี Wish ที่เป็นทางการ 
2.1.4 เนื้อหาภาษาไทยในแอป และฝ่ายบริการลูกค้า การสนทนาทางไลน์ ใช้การแปลคำจากภาษาต่างประเทศ 

2.2 วิธีป้องกัน
2.2.1 ศึกษากลโกงของมิจฉาชีพจากแหล่งความรู้ต่างๆ  เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

2.2.2 ตรวจสอบกับทางบริษัทหรือร้านค้าทุกครั้งก่อนทำภารกิจใดๆ                     
2.2.3 การทำงานหรือทำภารกิจใดๆ  ที่ต้องมีการโอนเงินให้ก่อน  ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นกลโกง 
ของมิจฉาชีพ 
2.2.4 หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ  
Apple Store เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิ้งค์หรือข้อความที่มีคนส่งให้

 3. เรื่องที่ 3 มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงหลอกโอนเงิน โดยส่ง SMS แจ้งว่าเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจดเลขมิเตอร์เกิน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ โดยเพิ่มเพื่อนใน line กับมิจฉาชีพซึ่งใช้ชื่อสำนักงานการไฟฟ้า และอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงแล้วส่งลิงก์มาให้หลงเชื่อและกดลิงก์ เพื่อให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอพพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย          
3.1 จุดสังเกต   - การเปรียบเทียบของปลอม-ของจริง  
ของปลอม ของจริง 
1) เวบไซต์ชื่อ www.xk-line.cc นามสกุลของโดเมนไม่ถูกต้อง 1) เวบไซต์ชื่อ www.mea.or.th นามสกุลของโดเมนคือ .or.th 
2) ไลน์เป็นบัญชีส่วนบุคคล สามารถโทรหากันได้ 2) ไลน์เป็นบัญชีทางการ ไม่สามารถโทรหากันได้ 
3) ใช้โลโก้ กฟน. เหมือนของจริง แต่ใช้ชื่อบัญชี “สำนักงานการไฟฟ้า” 3) ใช้ชื่อบัญชี “การไฟฟ้านครหลวง”  

3.2 วิธีป้องกัน  
3.2.1 ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอก 
ให้ติดตั้ง  
3.2.2 กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ  ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับการไฟฟ้านครหลวง MEA  
call center โทร. 1130 โดยตรง  
3.2.3 กรณีมีการส่ง Link แปลกปลอม  ให้ตรวจสอบจากเวบไซต์ www.who.is  
3.2.3  หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store  
หรือ Apple Store  เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิ้งค์หรือข้อความที่มีคนส่งให้ 
 พล.ต.อ.สมพงษ์  ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวเพิ่มเติมว่า การระงับการทำธุรกรรมและอายัดบัญชีตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  พ.ศ.2566 ห้วงวันที่ 17 มี.ค.66 – 5 พ.ค.66 มีรายละเอียด ดังนี้ 
Case ID ในความรับผิดชอบ 
(Case ID) พงส.แจ้งธนาคารทราบถึงการรับคำร้องทุกข์ 
(Case ID) พงส.แจ้งให้อายัดการทำธุรกรรม/อายัดบัญชี 
(Case ID) จำนวนบัญชีที่ขอระงับ/อายัด 
(บัญชี) บัญชี จำนวนเงินที่ขออายัด 
(บาท) อายัดทัน 
(บาท) 
30,439 988 762 16,597 685,310,290 92,132,049 

‘นพวรรณ’ เตือนระวังมิจฉาชีพ โทรเข้ามา ป้องกันโดนหลอก โอนเงินหรือล้วงข้อมูล

วันนี้(4 มิ.ย.2566)  น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น อดีตโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ฝ่ายการเมือง) ออกมาโพสต์เตือนมิจฉาชีพโทรหลอกลวง  โดยระบุว่า  ถ้าใครยังคงมีเบอร์แปลกๆที่ไม่รู้จัก หรือเบอร์โทรที่มีเครื่องหมายบวก (+) นำหน้าตามด้วยรหัสต่างประเทศโทรเข้ามาที่โทรศัพท์มือถือ  ให้ต้องสงสัยว่าอาจเป็นมิจฉาชีพโทรเข้ามาหลอกลวง เพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลธนาคารทางการเงิน  โดยมักจะอ้างว่ามีการโอนเงินผิด, มีพัสดุตกค้าง หรือพัสดุผิดกฎหมาย, อ้างว่าเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล ฯลฯ ควรห้ามรับสายจะช่วยป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวงได้  โดยเราสามารถตรวจสอบเบอร์มิจฉาชีพ ดังนี้

1. นำเบอร์โทรศัพท์ หรือเบอร์แปลกที่โทรเข้ามาไปเช็กใน Google เพื่อตรวจสอบประวัติเบอร์ผู้ใช้
2. พิมพ์หมายเลขค้นหาใน Facebook หากเบอร์โทรนั้นเคยผูกกับบัญชีเฟซบุ๊ก คุณก็มีสิทธิ์จะพบเบอร์โทรดังกล่าว
3. เช็คเบอร์มิจฉาชีพ ค้นหาผ่านช่องทาง Line โดยกดช่อง “เพิ่มเพื่อน” จากนั้นเลือก “หมายเลขโทรศัพท์” ถ้าเบอร์โทรนั้นผูกกับไลน์ ก็มีสิทธิ์จะพบเบอร์โทรดังกล่าว
4. เช็คเบอร์มิจฉาชีพ แอปพลิเคชัน WHOSCALL เพื่อช่วยระบุตัวตนผู้โทรเข้าที่ไม่รู้จัก  ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ เบอร์โทรแปลก ๆ ที่โทรเข้ามา โดยแอปจะแจ้งเตือนที่หน้าจอว่าเบอร์ที่โทรเข้ามานั้นเป็นเบอร์ของใคร
5. เช็กเบอร์มิจฉาชีพ โดยเช็คผ่านทางเว็บไซต์
www.blacklistseller.com โดยผู้เสียหายที่เคยโดนหลอกลวงต่างๆจะโพสต์แจ้งข้อมูลเอาไว้ เพื่อไม่ให้คนอื่นๆหลงกลมิจฉาชีพเหล่านี้

‘ตร.ไซเบอร์’ เปิดปฏิบัติการล่าตัวราชาคริปโตฯ เครือข่ายจีนแสบ หลังหลอกตุ๋นลงทุนข้ามชาติ เสียหายทั่วโลกนับหมื่นล้าน!!

(27 มิ.ย. 66) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. สั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์, พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ, พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์, พล.ต.ต.ไพโรจน์ สุขรวยธนโชติ, พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผบก.สอท.2, พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 ปฏิบัติการ ‘Trust No One ล่าข้ามโลกราชาคริปโตฯ Ep : 2’ ปิดล้อมตรวจค้น 10 จุด ประกอบไปด้วย ในพื้นที่กรุงเทพกรีฑา 7 จุด ย่านสาทร 1 จุด จังหวัดสมุทรปราการ 1 จุด และพัทยา จังหวัดชลบุรี 1 จุด แสวงหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

โดยจุดสำคัญคือการเข้าตรวจค้นห้องชุดชั้น 37 มูลค่า 128 ล้านบาท ภายในคอนโดหรูย่านสาทร ซึ่งห้องดังกล่าวมีการตกแต่งบิ้วอินสุดหรู โดยพบว่าห้องดังกล่าวเป็นของ ‘นายอาบิน เย่’ สามีของ ‘นางเคอ ยี เย่’ หรือ ‘คี ยี’ เย่อายุ 25 ปี ผู้ต้องหาชาวจีนตามหมายจับศาลอาญาที่ 1665-1666/2566 ลงวันที่ 26 พ.ค. ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันฟอกเงิน ที่ถูกจับกุมไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งทางนายอาบิน เย่ คือ ผู้ต้องหาตามหมายแดงของตำรวจสากล ในความผิดฉ้อโกงประชาชน ที่ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนต้องการตัวหลังก่อเหตุหลอกคนจีน สูญเงินมากกว่า 180 ล้านหยวน หรือมากกว่า 900 ล้านบาท

เบื้องต้นพบพยานเอกสารจำนวนมาก และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางส่วนที่ถูกทิ้งไว้ จึงได้ทำการตรวจยึดไว้ตรวจสอบ นอกจากนี้ ในจุดอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นบ้านหรูหลังละ 60-80 ล้านบาท รวมทั้งในส่วนที่ จ.สมุทรปราการ และ จ.ชลบุรี ซึ่งในทางสืบสวนพบว่าถูกซื้อในนามนิติบุคคลของกลุ่มทุนจีน เจ้าหน้าที่จึงได้ยึดอายัดไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง

มีรายงานว่า ปฎิบัติการครั้งนี้เป็นการขยายผลจากปฏิบัติการ ‘Trust No One ล่าข้ามโลกราชาคริปโตฯ  Ep : 1’ โดยครั้งนั้นบช.สอท.ได้เข้าตรวจค้น 6 จุด ในย่านศรีนครินทร์ และจับกุมนายเซาเซียน ซู อายุ 31 ปี และนางคี ยิ ยี อายุ 25 ปี ผู้ต้องหาชาวจีนตามหมายจับศาลอาญาที่ 1665-1666/2566 ลงวันที่ 26 พ.ค. ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันฟอกเงิน  หลังก่อเหตุใช้โปรไฟล์ปลอมตีสนิท ผู้เสียหายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ก่อนจะชวนลงทุนในแพลตฟอร์มปลอมสําหรับเทรดเงินสกุลดิจิตอลหรือ สินทรัพย์ต่างๆ ในลักษณะหลอกลงทุนไฮบริดสแกรม ซึ่งมีผู้เสียหายในพื้นที่สน.ศาลาแดง,สน.โชคชัย และ สภ.บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ รวมมูลค่ากว่า 35 ล้านบาท อย่างไรก็ตามสำหรับผลการปฎิบัติทางตำรวจไซเบอร์จะแถลงในเวลา 13:00 น. ที่ บช.สอท.ต่อไป
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top