Thursday, 2 May 2024
มิจฉาชีพ

รองโฆษก ตร. เตือนประชาชนระวังโจรออกอุบาย “เวียนเทียนออนไลน์” หลอกติดตั้งแอปดูดเงิน ย้ำตรวจสอบบัญชี “ทำบุญ” ก่อนโอนเงิน

วันนี้ (5 มี.ค.66) เวลา 08.00 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ต.ท.หญิง ดร.ณพวรรณ ปัญญา รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชน ระวังมิจฉาชีพใช้โอกาสวัน “มาฆบูชา” หลอกลวงออนไลน์

รองโฆษกฯ เปิดเผยสถิติคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนร้องเรียนผ่านแจ้งความออนไลน์ เว็บไซต์ thaipoliceonline.com ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีจำนวนถึง 21,760 คดี ยอดความเสียหายรวมสูงกว่า 1,771 ล้านบาท โดย 5 ลำดับสูงสุด ได้แก่ 1) หลอกลวงซื้อขายสินค้า 2) หลอกให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม 3) หลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (Call Center) 4) หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน และ 5) หลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน

พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณฯ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันกลุ่มโจรออนไลน์มักจะอาศัยจังหวะวันสำคัญทางศาสนา และเทศกาลต่างๆ ฉวยโอกาสหลอกลวงประชาชน ในช่วงวันมาฆบูชานี้ จึงขอแจ้งเตือนถึงรูปแบบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่โจรออนไลน์อาจใช้ในการหลอกลวงประชาชน ดังนี้ 
1. “เช่าวัตถุมงคล เครื่องราง ของขลังออนไลน์” หลอกให้โอนเงินก่อน แต่ไม่จัดส่งสินค้า ส่งสินค้าปลอม ไม่ตรงปก 
2. “เวียนเทียนออนไลน์” หลอกติดตั้งแอปฯ รีโมท เพื่อทำการดูดเงิน 
3. “ทำบุญออนไลน์” หลอกให้โอนเงินทำบุญ ด้วยการให้หมายเลขบัญชีปลอม 
4. “ใบอนุโมทนาบัตรออนไลน์ ลดหย่อนภาษี” หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว 
5. “สะเดาะเคราะห์ แก้กรรม ดูดวงออนไลน์” หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด รูปถ่าย 

 

เตือนภัยสายบุญ!!  ‘ตร.’ หวั่น มิจฉาชีพใช้วันมาฆบูชา ลวงติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน เตือน ปชช. ระวังถูกหลอกทำบุญ ‘เวียนเทียนออนไลน์’ 

(5 มี.ค. 66) ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ต.ท.หญิง ดร.ณพวรรณ ปัญญา รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชน ระวังมิจฉาชีพใช้โอกาส ‘วันมาฆบูชา’ หลอกลวงออนไลน์

สถิติคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนร้องเรียนผ่านแจ้งความออนไลน์ เว็บไซต์ thaipoliceonline.com ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีจำนวนถึง 21,760 คดี ยอดความเสียหายรวมสูงกว่า 1,771 ล้านบาท โดย 5 ลำดับสูงสุด ได้แก่

1.) หลอกลวงซื้อขายสินค้า
2.) หลอกให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม
3.) หลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (Call Center)
4.) หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน
5.) หลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน

พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณฯ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันกลุ่มโจรออนไลน์มักจะอาศัยจังหวะวันสำคัญทางศาสนา และเทศกาลต่าง ๆ ฉวยโอกาสหลอกลวงประชาชน ในช่วงวันมาฆบูชานี้ จึงขอแจ้งเตือนถึงรูปแบบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่โจรออนไลน์อาจใช้ในการหลอกลวงประชาชน ดังนี้

1.) เช่าวัตถุมงคล เครื่องราง ของขลังออนไลน์ หลอกให้โอนเงินก่อน แต่ไม่จัดส่งสินค้า ส่งสินค้าปลอม ไม่ตรงปก
2.) เวียนเทียนออนไลน์ หลอกติดตั้งแอปพลิเคชั่น รีโมท เพื่อทำการดูดเงิน
3.) ทำบุญออนไลน์ หลอกให้โอนเงินทำบุญ ด้วยการให้หมายเลขบัญชีปลอม 
4.) ใบอนุโมทนาบัตรออนไลน์ ลดหย่อนภาษี หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว 
5.) สะเดาะเคราะห์ แก้กรรม ดูดวงออนไลน์ หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด รูปถ่าย

จะไม่ทน!! ‘หมอยง’ โพสต์เฟซ โดนนำภาพไปหลอกขายยา  วอน!! ปชช. อย่าหลงเชื่อ งานนี้ไม่ยอมความแน่นอน 

(11 มี.ค. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Yong Poovorawan" เตือนภัย หลังพบกลุ่มมิจฉาชีพ แอบอ้างชื่อตนเองไปหลอกขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ โดย "หมอยง" ได้ระบุข้อความว่า

“ช่วยกันส่งต่อ ขณะนี้มีการเอารูปผมไปแอบอ้างโฆษณาผ่าน Facebook และสื่อออนไลน์มากมาย ผมได้ดำเนินการให้ทางตำรวจจัดการแล้ว แต่การดำเนินการค่อนข้างยุ่งยาก ล่าช้า เพราะส่วนใหญ่จะใช้ Proxy ต่างประเทศ ทำให้หาต้นตอค่อนข้างยาก และการขอความร่วมมือกับสื่อต่างประเทศทำได้ยากมาก

ตัวตึงจอมโกง! เซียนพระกำมะลอ ตุ๋นเหยื่อทัวสารทิศ ติดหนี้การพนัน เช็คประวัติมีหมายจับเพียบ ก่อคดีตั้งแต่จบม.6

วันที่ 13 มีนาคม พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หัวหน้าชุด PCT ชุดปฏิบัติการ 5 พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. พ.ต.ท.ยิ่งยศ ลีชัยอนันต์ พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฎศรี รอง ผกก.ฯ พ.ต.ท.สมพงษ์ เกตุระติ สว.ฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 5 กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. ร่วมกันจับกุม
 นายภัทระ หรือฟลุ๊ค ฤทธาภินันท์ อายุ 25 ปี อยู่ที่บ้านเลขที่ 181 หมู่ 9 ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ตามหมายจับศาลแขวงธนบุรี ที่ จ.356/2565 ข้อหาฉ้อโกง จับตัวได้ที่หน้าบ้านไม่ทราบเลขที่ ภายในซอยวัดร่าง บ้านกุดแห่ ถ.ชยางกูร ตำบลกุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร ขณะหลบหนีมาพักอาศัย

สอบสวนผู้ต้องหา ให้การรับสารภาพ ตั้งตนเรียนจบชั้นม. 6 เริ่มก่อเหตุมาตั้งแต่ปี 2560 โดยขณะนั้นอายุประมาณ 19 ปี ไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง แต่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องใหม่สายภาคอีสานใต้ เคยมีเฟซบุ๊กสำหรับโพสต์ประกาศเช่าบูชาพระเครื่องส่งพระให้ลูกค้าจริง ชื่อบัญชี “ ชรัณ มุกธวัตร” มีเครดิต มีคนติดตาม มีรายได้จากการปล่อยเช่าบูชาพระเครื่องกว่าเดือนละ 100,000 ถึง 200,000 บาท/ต่อเดือน แต่เนื่องจากติดการพนันตามบ่อนวิ่ง ไม่สามารถมีเงินมาหมุนทำการเช่าซื้อขายพระได้ จึงใช้เครดิตการเช่าซื้อขายพระที่ตนพอมีชื่อเสียง หลอกเช่าบูชาพระเครื่องกับลูกค้าที่สนใจในกลุ่มเฟซบุ๊ก อาทิ กลุ่มสุดยอดวัตถุมงคลหลวงปูแสง ญาณวโร กลุ่มพระเครื่องหลวงพ่อเล็กวัดท่าขนุน กลุ่ม ครูบากฤษดา

นายภัทระ กล่าวต่อว่า เมื่อมีลูกค้าเริ่มทราบข่าวถูกตนโกง ผมจะเปลี่ยนชื่อเฟซบุ๊ก โดยใช้วิธีสลับเปลี่ยนชื่อเฟซบุ๊ก มาเป็นชื่อบัญชี Charun , ชื่อบัญชี Pat Pat , ชื่อบัญชี Pattara , ชื่อบัญชี Watpa และช่วงใดที่เล่นพนันได้พอมีเงินก้อนก็จะหยุดโกง เพื่อให้เรื่องซา แล้วกลับมาทำใหม่อีกเช่นเดิมวนไป  เรื่อยๆ
  
“ที่ผ่านมามีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อเดือนละ 20 ราย มีรายได้จากที่หลอกเหยื่อ 5,000-400,000 บาท ก่อเหตุมาตั้งแต่ปี 2560 มีมูลค่าความเสียหายกว่า 5 ล้านบาท

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพใช้เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ปลอม ดึงข้อมูลส่วนบุคคลและทำธุรกรรมทางการเงิน

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย มิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม ผ่านเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ที่ปลอมขึ้นมาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โอนเงินออกจากบัญชีสร้างความเสียหาย ดังนี้ 


กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) โดยกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือบก.ตอท. ได้ตรวจสอบพบเว็บไซต์ปลอมเว็บไซต์หนึ่ง คือ http://moc-no-th.com ซึ่งมิจฉาชีพได้ฉวยโอกาสสร้างเว็บไซต์ดังกล่าวให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริงของกระทรวงพาณิชย์ https://www.moc.go.th โดยภายในเว็บไซต์ปลอมดังกล่าวมีการใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงาน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญหน้าเว็บไซต์มีปุ่มให้คลิกเพื่อทำการติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม เมื่อประชาชนหลงเชื่อคลิกปุ่มจะเป็นการติดตั้งไฟล์อันตราย นามสกุล .APK ลงในโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยก่อนการติดตั้งจะมีการขอสิทธิ์เพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก ขอสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ และขอสิทธิ์ควบคุมโทรศัพท์มือถือ จากนั้นแอปพลิเคชันปลอมจะให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ตั้งรหัส PIN 6 หลัก จำนวนหลายครั้ง เพื่อหวังให้เหยื่อกรอกเลขชุดเดียวกับรหัสในการทำธุรกรรมทางเงินของแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือ กระทั่งเมื่อมิจฉาชีพได้สิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์แล้ว จะทำการล็อกหน้าจอโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ ทำให้เสมือนว่าโทรศัพท์มือถือค้างไม่สามารถใช้งานได้ กระทั่งมิจฉาชีพนำรหัส PIN 6 หลัก ที่ผู้เสียหายตั้ง หรือกรอกไว้ก่อนหน้านี้ไปทำการยืนยันการโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหาย 


ทั้งนี้จากการตรวจสอบเว็บไซต์ปลอมดังกล่าวมีการจดทะเบียนอยู่นอกราชอาณาจักร โดย บช.สอท. ได้ทำการแจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เพื่อทำการปิดกั้นเว็บไซต์ดังกล่าว และได้ทำการประสานกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนไปยังประชาชนต่อไปแล้ว  


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ หรือแอบอ้างหน่วยงานราชการต่างๆ มาหลอกลวงประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง 
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ 


ที่ผ่านมา บช.สอท. โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ  
โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อประชาชนเริ่มรับทราบ หรือรู้เท่าทันกลโกงมิจฉาชีพในเรื่องใดๆ แล้ว มักจะฉวยโอกาสเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน ปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ แต่ยังคงใช้แผนประทุษกรรมในรูปแบบเดิม คือ การหลอกลวงให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมเพื่อเอารหัสการทำธุรกรรมทางการเงินของเหยื่อ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ หรือบริการต่างๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน ไม่หลงเชื่อเพียงเพราะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงาน แอบอ้างสัญลักษณ์ของหน่วยงานนั้นๆ หรือมีชื่อเว็บไซต์ที่คิดว่าน่าจะเป็นเว็บไซต์จริง และพึงระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งมิจฉาชีพจะฉวยโอกาสไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ  
 

'มิจฉาชีพ' เปลี่ยนรูปแบบ 'หลอกหลอน' ชาวบ้านไม่พักเลย

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วย ผบ.ตร./หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้ร่วมกันนำเสนอสถิติการรับแจ้งความออนไลน์รอบสัปดาห์และภัยที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีภูมิป้องกันภัยออนไลน์ ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12-18 มี.ค.2566) รวมทั้งสัปดาห์มีผู้แจ้งความ 4,291 เคส/351,191,412.31 บาท สถิติการรับแจ้งลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,496 เคส/26,093,473.69 บาท โดยสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า 1,500 เคส/14,003,677.05 บาท  2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม 578 เคส/71,469,279.03 บาท  3) คดีหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่เป็นขบวนการ(call center) 529 เคส/65,547,808.73 บาท 4) คดีหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน 429 เคส/17,113,573.64 บาท  และ 5) คดีหลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน 236 เคส/10,637,571.37 บาท 

ภัยออนไลน์ที่น่าสนใจและเกิดขึ้นมากในรอบสัปดาห์ เรื่องที่ 1 คือ  คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า นม Thai-Denmark โดยมิจฉาชีพสร้างเพจ Facebook 'Thai-Denmark นมไทยแท้ ส่งทั่วไทย' คล้ายของจริง  เมื่อมีผู้หลงเชื่อมาสอบถามเพื่อขอซื้อนม เพจจะให้ผู้หลงเชื่อโอนเงินให้ก่อน แล้วปิดเพจหนีไป จุดสังเกตุ ของปลอม พบการกดปุ่มโกรธ (angry) จำนวนมาก สถานะของเพจเป็นอสังหาริมทรัพย์ เพิ่งเปิดเพจ และผู้จัดการเพจอยู่ต่างประเทศ  ส่วน ของแท้ เป็นธุรกิจท้องถิ่น และ เปิดมานานและผู้จัดการเพจอยู่ประเทศไทย จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนควรสงสัยไว้ก่อนว่าของดีและถูกเกินกว่าราคาตลาดมากๆ และบัญชีรับโอนเงินบุคคลธรรมดา น่าจะหลอกลวง 

เรื่องที่ 2 คดีแก๊งคอลเซนเตอร์ติดต่อร้านอาหารผ่านแอปพลิเคชันไลน์หลอกสั่งข้าวกล่อง และโอนมัดจำให้ร้านค้าก่อน  วันต่อมา คนร้ายได้โทรศัพท์บอกให้ร้านอาหารสั่งชุดอาหารพิเศษเพิ่ม 7 ชุด และส่ง QR Code มาให้ร้านแอด และบอกว่าจ่ายเงินเพิ่มให้ภายหลัง และอ้างด้วยว่าเป็น QR Code แอดไลน์เท่านั้น แต่เมื่อแสกน QR Code พบว่า หน้าจอค้าง เจ้าของโทรศัพท์จึงรีบเข้าแอปฯ ธนาคาร เพื่อโอนเงินออกไปบัญชีอื่นก่อน และปิดเครื่อง  จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ตรวจสอบแหล่งที่มาของ  QR Code ให้ดีก่อนที่จะ Scan หรือโอนเงิน

เรื่องที่ 3 คดีกลรักออนไลน์(Romance Scam) ถูกหลอกซ้ำซ้อน คือหลอกให้โอนเงิน 2 ครั้ง และหลอกให้ผู้เสียหายเปิดบัญชีม้าโดยไม่รู้ตัว  เรื่องนี้คนร้ายได้ติดต่อพูดคุยกับผู้เสียหายทาง Facebook จากนั้นอ้างว่าอยากจะมาอยู่เมืองไทย มาใช้ชีวิตคู่กับผู้เสียหาย และส่งสินค้ามีค่ามาให้ โดยให้ผู้เสียหายโอนเงินชำระภาษี ถือเป็นการหลอกให้โอนเงินรอบแรก จากนั้นจะหลอกว่าต้องการทำธุรกิจร่วมกับผู้เสียหาย แล้วให้ผู้เสียหายเปิดบัญชีไว้สำหรับการลงทุน จากนั้นคนร้ายได้หลอกผู้เสียหายคนที่ 2 และให้โอนเงินเข้าบัญชีผู้เสียหายคนแรก และให้ผู้เสียหายคนแรก ซื้อเหรียญคลิปโตให้คนร้าย ทำให้ผู้เสียหายคนแรก กลายเป็นผู้ต้องหาในคดี  จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของคนร้าย 

ด้วยความปรารถนาดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT)

คดีหลอกลวงซื้อขายผลิตภัณฑ์สินค้า 'Thai-Denmark นมไทยแท้ ส่งทั่วไทย'
กลโกง จุดสังเกต วิธีป้องกัน
1. สร้างเพจ Facebook ขึ้นมาโดยใช้ชื่อ รูปโปรไฟล์ รูปปก ที่อยู่ ข้อความแนะนำ ใกล้เคียงกับเพจ 'Thai-Denmark' ที่เป็นของจริง  
2. สร้างเป็นเพจ Facebook หรือซื้อโฆษณาเพจเพื่อให้คนเห็นได้จากระบบอินเตอร์เน็ต
3. เมื่อมีผู้หลงเชื่อมาสอบถามเพื่อขอซื้อ เพจจะให้ผู้หลงเชื่อโอนเงินให้ก่อน 
4. เมื่อถึงวันรับสินค้า เหยื่อจะส่งข้อมูลไปสอบถาม คนร้ายจะถ่วงเวลา 
5. เปลี่ยนเป็นเพจใหม่ เพื่อหลอกขายเช่นเดิมไปเรื่อยๆ ของปลอม 
1.พบการกดปุ่มโกรธ (angry) จำนวนมาก
2.สถานะของเพจเป็นอสังหาริมทรัพย์ 
3. เพิ่งเปิดเพจ และผู้จัดการเพจอยู่ต่างประเทศ
ของแท้ 

1.สถานะของเพจเป็นธุรกิจท้องถิ่น
2. เปิดมานานและผู้จัดการเพจอยู่ประเทศไทย
1. ตรวจสอบเพจ Facebook ให้แน่ใจก่อนซื้อ โดยกด เกี่ยวกับ 'ความโปร่งใส' ก็จะเห็นว่าเปิดมานานเท่าใด  ผู้จัดการเพจอยู่ประเทศไทยหรือไม่(อยู่ต่างประเทศ ควรหลีกเลี่ยง)  
2. ดูช่องกดไลค์(มีเครื่องหมาย 'โกรธ' ดูโพสต์เป็นหลัก อย่าดูด้านใต้ชื่อเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถซื้อ 'ไลค์' ได้  
3. ลองนำชื่อเพจนั้น ไปใส่ช่องค้นหาใน Facebook ว่ามีเพจอื่นอีกหรือไม่ แล้วนำมาเปรียบเทียบกันดูว่า เพจไหนจริง/ปลอม
4. 'ของดีและถูกเกินกว่าราคาตลาดมากๆ' ให้สงสัยไว้ก่อนว่าหลอกลวง
5. บัญชีรับโอนเงินควรเป็นบัญชีชื่อร้าน หากเป็นบัญชีบุคคลธรรมดา ให้สงสัยไว้ก่อนว่าหลอกลวง

ลุยต่อเนื่อง!!! สืบนครบาลลาดตระเวนออนไลน์ตะครุบมิจฉาชีพทางโซเชี่ยล 2 ราย ความเสียหาย10.5 ล้านบาท

ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.  และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ ผอ.ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  PCT ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบซึ่งสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริต พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. กับ พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. สั่งการให้สืบนครบาล IDMB ลาดตระเวนออนไลน์ปราบปรามมิจฉาชีพทางโลกโซเชี่ยล

คดีที่ 1 บุกจับ 'หนุ่มหลอกขายสินค้าไอที' ผู้เสียหายกว่า 280 คน มูลค่า 10 ล้านบาท เมื่อวันที่ 23 มี.ค.66 เวลาประมาณ 13.00 น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. หัวหน้าชุดปฏิบัติการ PCT 5 พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.บช.น. พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น.,พ.ต.ท.ยิ่งยศ ลีชัยอนันต์ พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฏศรี รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. พ.ต.ต.ทศรัสมิ์ กิติธารา
สว.กก.วิเคราะห์ข่าวฯ พร้อมกำลังชุดปฏิบัติการที่ 4 นำหมายค้นศาลจังหวัดธัญบุรีที่ 147/2566 เข้าตรวจค้นบ้านแห่งหนึ่ง หมู่ 1 ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานีได้ร่วมกันจับกุมตัว นายณิชพน (สงวนนามสกุล) อายุ 35 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 39/280 หมู่ที่ 1 ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาพระโขนง ที่ 96/2566 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 

ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน 'ฉ้อโกงประชาชนและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อประชาชน' มีหมายจับติดตัวอีก 5 หมาย

1. หมายจับศาลอาญามีนบุรี ที่ 73/2566 ลงวันที่ 27 มกราคม 2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน 'ร่วมกันฉ้อโกง'
2. หมายจับศาลแขวงพระนครเหนือ ที่ 98/2566 ลงวันที่ 30 มกราคม 2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน 'ฉ้อโกง' 
3. หมายจับศาลแขวงนครราชสีมา ที่ 570/2565 ลงวันที่ 27 กันยายน 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน 'ร่วมกันฉ้อโกง'
4. หมายจับศาลแขวงนนทบุรี ที่ 824/2565 ลงวันที่ 15  ธันวาคม 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน 'ฉ้อโกง'
5. หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 360/2565 ลงวันที่  30 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน 'ฉ้อโกง และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์'

‘เสือร้องไห้’ แถลง!! ถูกมิจฉาชีพอ้างชื่อรับงาน ฉกเครดิตบริษัท ‘แอบอ้าง-หลอกโอนเงินผ่านไลน์’

(25 มี.ค.66) ทางเพจ ‘เสือร้องไห้’ ได้โพสต์ข้อความ ประกาศระบุว่า...

ประกาศ เรื่องการแอบอ้างชื่อเพจในเครือบริษัท

ขณะนี้ ได้มีมิจฉาชีพนำข้อมูลบริษัทไปใช้แอบอ้างในการรับงานของเพจ ‘เสือร้องไห้’ และ ‘พี่เอ็ด7วิ’ (เพจในเครือบริษัท) โดยแอบอ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทในการติดต่อกับลูกค้า มีการหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์และผ่านทางแอปพลิเคชัน LINE

ทางบริษัท เอส แอล เอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ขอชี้แจงว่า บริษัทฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด หากท่านได้รับการติดต่อจากบุคคลที่ท่านสงสัยว่าเป็นมิจฉาชีพ หรือพบเห็นการกระทำในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้โดยตรงที่ E-mail : [email protected] หรือเบอร์โทร 06-3849-9991

ที่มา: https://www.facebook.com/223080274411883/posts/pfbid024jghCCv81a3x3mp9HghuiqwY8rNfwYZPKWoNwgYMK8dGNVWSynP2fcb8HTf6zjx5l/?mibextid=cr9u03


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top