Wednesday, 1 May 2024
มิจฉาชีพ

รองโฆษก ตร. เตือน ปชช. ระวังโจรออนไลน์ หลอกให้โหลดแอปควบคุมมือถือ ก่อนฉกเงินหนี

วันนี้ (5 ม.ค. 66) ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณ ปัญญา รองโฆษก ตร. เปิดเผยกรณี มีผู้เสียหาย ถูกคนร้ายส่งข้อความ “ขอขอบคุณที่ใช้บริการ จะมอบคูปองฟรีให้ 1 ใบ” ตามลิงก์ที่คนร้ายส่งให้ ผู้เสียหายกดลิงก์แอดไลน์ คนร้ายขอให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน ไลอ้อนแอร์ แล้วพิมพ์ชื่อ นามสกุล ภาษาอังกฤษ และเบอร์โทรศัพท์ จากนั้น คนร้ายบอกว่าให้รอห้ามวางสาย ต่อมาปรากฎว่ามีเงินหายไปหมดบัญชี คนร้ายยังกดเงินจากบัตรเครดิตซึ่งผูกกับ แอปพลิเคชันธนาคารออนไลน์ สูญเงินทั้งสิ้นกว่า 2 แสนบาท

รองโฆษก ตร. กล่าวว่า กรณีดังกล่าวคนร้ายแอบอ้างบริษัทเอกชน ที่มีชื่อเสียงต่างๆส่ง sms แจ้งเหยื่อว่าจะได้รับของรางวัล หากหลงเชื่อจะหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมมือถือระยะไกล โดยปกติจะมีขั้นตอนของมันเล็กน้อย คนร้ายอาจจะบอกให้เรากรอก ตัวเลข หรือ ตัวอักษรสักชุด หรือไม่ คนร้ายก็หลอกถามเอาตัวเลขชุดนั้นจากเรา เมื่อคนร้ายได้รหัสหรือตัวเลขบางอย่างจากเครื่องของเรา คนร้ายจะนำรหัสไปใช้ในการควบคุมเครื่องของเราได้ทันที สามารถใช้งานบังคับ ทุกอย่างได้ เปรียบเสมือนเป็นเจ้าของเครื่อง ขณะหลอกให้รอห้ามวางสาย ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นช่วงดูดข้อมูล จากนั้นคนร้ายจะขอเปลี่ยนรหัสเข้าบัญชีเอง เพราะมีเลข OTP ส่งจากธนาคารมาที่โทรศัพท์ผู้เสียหาย แต่คนร้ายสามารถเห็นได้ที่หน้าจอคนร้ายเอง และจะทำการโอนเงินไปสู่บัญชีเป้าหมายด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องให้เหยื่อโอนเงินให้เหมือนวิธีเดิมๆ ทำให้เหยื่อสูญเงินออกจากบัญชี

พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณฯ จึงขอประชาสัมพันธ์ วิธีป้องกันตนเองต่อภัยโจรออนไลน์ในหลากหลายรูปแบบ ในกรณีนี้ สามารถป้องกันได้โดย

1. มีสติ ตรวจสอบข้อความที่ได้รับอย่างระมัดระวัง หากมีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานใดติดต่อหรือแสดงตัว ไม่ว่าเรื่องใด ๆ ให้โทรสอบถามจากเบอร์กลางของหน่วยงานที่ถูกอ้างถึงนั้น ๆ ทุกครั้ง

2. ห้ามกดลิงก์หรือติดตั้งแอปที่ไม่ทราบที่มาที่ไป รวมถึงไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวใด ๆ เมื่อรับสายจากต้นทางที่ไม่ทราบที่มาที่ไปชัดเจน

‘สตม.’ รวบชาวจีนสวมรอยเป็นนักธุรกิจต่างประเทศ หลังหนีหมายจับคดีฉ้อโกง เสียหายกว่า 1,400 ลบ.

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือ เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ประกอบกับนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย  อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 

ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม.,พล.ต.ต.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.สรร พูลศิริ รอง ผบช.สตม.,พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม.,พล.ต.ต.ธนิต ไทยวัชรามาศ ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.รัฐโชติ โชติคุณ รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.อาภากร โกมลสุทธิ รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชิตเดชา สองห้อง ผกก.1 บก.สส.สตม., พ.ต.อ.ณภัทรพงศ  สุภาพร ผกก.ปอพ.บก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชย พานะกิจ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.สตม.

คดีที่ 1 'รวบหนุ่มแดนมังกรสวมรอยเป็นนักธุรกิจต่างประเทศชักชวนหลอกลงทุนความเสียหายกว่า 1,400 ล้านบาท' เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สส.สตม, กก.1 บก.สส.สตม. และ กก.ปอพ.บก.สส.สตม. ได้ร่วมกันจับกุมตัว MR.Shangguan หรือ นายฉางกวน (นามสมมุติ) อายุ 44 ปี ในข้อหา 'เป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต' 

พฤติการณ์กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ร่วมกันสืบสวนติดตามบุคคล ราย MR.Shangguan หรือ นายฉางกวน อายุ 44 ปี ซึ่งได้รับการขอร้องให้ช่วยติดตามจับกุมผู้ต้องหารายสำคัญจากสำนักงานกงสุล(ฝ่ายตำรวจ) ณ นครคุณหมิง โดยผู้ต้องหารายดังกล่าว ได้ฉ้อโกงประชาชน มีมูลค่าความเสียหาย กว่า 1,400 ล้านบาท โดยผู้ต้องหาได้เปิดบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศและทำการชักชวนให้ประชาชนเข้าทำการลงทุน ซึ่งเป็นการหลอกลวง ทางเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้สืบสวนจนทราบว่า ผู้ต้องหาได้หลบหนีไปอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้เดินทางมาตรวจสอบ พบบุคคลมีตำหนิรูปพรรณคล้าย MR.Shangguan จึงแสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

ผู้ต้องหารับว่าตน คือ MR.Shangguan อายุ 44 ปี ไม่มีหนังสือเดินทางจริง และรับว่าได้หลบหนีเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านผ่านช่องทางธรรมชาติเข้ามาที่ประเทศไทย  จึงได้ให้ดูหมายจับประเทศจีน รับว่าเป็นบุคคลเดียวกันในหมายจับดังกล่าวจริง และจากการตรวจค้นตัว พบโทรศัพท์มือถือที่ติดตัวมาจากประเทศจีน,เอกสาร

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยข้อความสั้น (SMS) หลอกให้กดลิงก์รับอั่งเปาในช่วงเทศกาลตรุษจีน

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสใช้เทศกาลต่างๆ สำคัญก่อเหตุหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ดังนี้
วันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีนถือเป็นเทศกาลที่สำคัญ มีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยวันตรุษจีนปีนี้ ตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2566 ตามธรรมเนียมจะเป็นวันที่จะไปไหว้ขอพรญาติผู้ใหญ่ หรือคนที่เรานับถือ รวมถึงมีการมอบอั่งเปาให้ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่มอบให้เด็ก ลูกหลานมอบให้พ่อแม่ เป็นต้น

แต่ก็เป็นหนึ่งในแผนประทุษกรรมเดิมๆ ของมิจฉาชีพที่นำมาใช้ในการหลอกลวงประชาชน โดยมิจฉาชีพจะฉวยโอกาสดังกล่าวส่งลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น (SMS) อ้างว่าท่านได้รับอั่งเปาฟรี ได้รับสิทธิพิเศษ หรือได้รับเงินรางวัลต่างๆ มิจฉาชีพจะหลอกลวงประชาชนคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ปลอม หลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเดบิตหรือเครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัส OTP เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปเข้าถึงบัญชีสื่อสังคมออนไลน์แล้วไปหลอกยืมเงินผู้อื่น ใช้บัตรเดบิตหรือเครดิตรูดชำระค่าสินค้า หรือถูกโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือนำไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัวของประชาชน ไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

รองโฆษก ตร. ออกโรงเตือนประชาชนระวังมิจฉาชีพออกอุบาย หลอกแจก 'อั่งเปาออนไลน์' ย้ำระมัดระวังอัคคีภัยในช่วงเทศกาลตรุษจีน

วันนี้ (18 ม.ค.66) เวลา 08.00 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณ ปัญญา รองโฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝากประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการหลอกลวงออนไลน์ในช่วงเทศกาลตรุษจีน

พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณฯ กล่าวว่า ในช่วงวันที่ 20-22 มกราคม 2566 จะเป็นช่วงเทศกาลวันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยเชื้อสายจีนและปัจจุบันกลุ่มโจรออนไลน์มักจะอาศัยจังหวะตามเทศกาลต่างๆ ฉวยโอกาสหลอกลวงประชาชน โดยในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ มิจฉาชีพอาจชักจูงให้เหยื่อหลงเชื่อว่ามีการ 'แจกอั่งเปาฟรี' แล้วส่งลิงก์เพื่อให้เรากรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ หรืออาจจะหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมมือถือระยะไกล หรือ แอปรีโมท แล้วทำการดูดเงินในบัญชี หากเราได้รับ SMS ในลักษณะดังกล่าวห้ามกดลิงก์โดยเด็ดขาด รวมถึงไม่กรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ กรณีมีข้อความเลขรหัสเข้าเครื่องโทรศัพท์ไม่ทราบที่มาที่ไป ห้ามเผยแพร่บุคคลอื่นทราบ หากเผลอกดลิงก์ติดตั้งแอปฯ แปลกปลอมดังกล่าว ให้รีบลบหรือรีเซต เครื่องใหม่ทันที หากโทรศัพท์ไม่ค้างหรือดับ วิธีที่ตัดทุกอย่างคือ 'เปิดโหมดเครื่องบิน' หากเครื่องค้างให้ กดปุ่มเปิด-ปิดแช่ไว้ เป็นการตัดสัญญาณโทรศัพท์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทันที 

ตำรวจไซเบอร์ เรียนชี้แจงกรณีผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพโอนเงินออกจากบัญชีตามที่ปรากฎเป็นข่าว

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอเรียนชี้แจงกรณี ตามที่ปรากฎเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ มีผู้เสียหายหลายรายเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน บช.สอท. แจ้งว่าถูกมิจฉาชีพแฮ็กบัญชีธนาคารในโทรศัพท์มือถือแล้วโอนเงินออกไปจนหมดบัญชี โดยผู้เสียหายคาดว่าเกิดจากการใช้ที่ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ ดังต่อไปนี้

กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ได้ซักถามผู้เสียหาย และทำการตรวจสอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายพบว่า กรณีดังกล่าวเกิดจากการที่ผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพสร้างกลอุบายหลอกลวงให้กดลิงก์ ดาวน์โหลด หรือติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอปพลิเคชันที่มีไว้สำหรับการหาคู่, แอปพลิเคชันดูไลฟ์สด ดูภาพลามกอนาจาร และแอปพลิเคชันพูดคุยยอดนิยม เช่น Viber, Sweet meet, Bumble, Snapchat, Kakao Talk และ Flower Dating เป็นต้น โดยเมื่อติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าวจะขอสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (permission) หลายรายการ ทำให้มิจฉาชีพสามารถเชื่อมต่อระบบเข้ามา และควบคุมหน้าจอโทรศัพท์ของเหยื่อเมื่อใดก็ได้ โดยจะทิ้งระยะเวลาให้เหยื่อตายใจ ระหว่างนี้มิจฉาชีพจะสังเกตพฤติกรรมของเหยื่อ เช่น ใช้ธนาคารใด มีเงินในบัญชีเท่าไหร่ และจดจำรหัสผ่านจากที่เหยื่อกดเข้าระบบของแอปพลิเคชันธนาคาร กระทั่งเวลาผ่านไปจนเหยื่อเผลอ เมื่อได้โอกาสมิจฉาชีพจะเชื่อมต่อแล้วโอนเงินออกจากบัญชีไป นอกจากนี้แล้วยังพบการเข้าถึงเว็บไซต์อันตรายหลายรายการอีกด้วย ซึ่งยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องการใช้สายชาร์จโทรศัพท์ตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินแจกตั๋วเครื่องบินฟรีในฤดูกาลท่องเที่ยว

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินส่งข้อความสั้น (SMS) และโทรศัพท์ไปหลอกลวงประชาชนแจ้งว่าเป็นผู้โชคดีได้รับคูปองเที่ยวบินฟรี ดังนี้

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพส่งข้อความสั้น (SMS) มายังโทรศัพท์มือถือของตน แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินต่างๆ เช่น สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (Thai Lion Air) พร้อมกับข้อความในลักษณะว่า “ ขอบคุณที่ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ท่านได้รับบินเที่ยวฟรี ” โดยให้กดลิงก์ที่แนบมากับข้อความดังกล่าวเพื่อเป็นการเพิ่มเพื่อนสายการบินทางแอปพลิเคชันไลน์ จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่โทรศัพท์ติดต่อไปยังผู้เสียหายสอบถามข้อมูลต่างๆ และหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของสายการบินที่ส่งให้ทางไลน์อีกครั้ง เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกให้เข้าไปกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงิน หรือให้ตั้งรหัส PIN 6 หลัก รวมถึงการให้สิทธิ์แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนต่างๆ ทำให้มิจฉาชีพสามารถเชื่อมต่อระบบเข้ามา และควบคุมหน้าจอโทรศัพท์ของเหยื่อเมื่อใดก็ได้ โดยจะทิ้งระยะเวลาให้เหยื่อตายใจ ระหว่างนี้มิจฉาชีพจะสังเกตพฤติกรรมของเหยื่อ เช่น ใช้ธนาคารใด มีเงินในบัญชีเท่าไหร่ และจดจำรหัสผ่านจากที่เหยื่อกดเข้าระบบของแอปพลิเคชันธนาคาร กระทั่งเวลาผ่านไปจนเหยื่อเผลอ เมื่อได้โอกาสมิจฉาชีพจะเชื่อมต่อแล้วโอนเงินออกจากบัญชีไป

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแอบอ้างเป็นหน่วยงานต่างๆ ไปหลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนให้ทำงานเสริม หรือทำภารกิจออนไลน์ ฝากผู้ปกครองหมั่นตรวจสอบพฤติกรรมของลูกหลาน

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอฝากเตือนมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนให้ทำงานเสริม หรือทำภารกิจออนไลน์ ดังนี้

ในช่วงที่ผ่านมาปรากฏเป็นเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ทำงาน หรือทำภารกิจออนไลน์ต่างๆ เพื่อหารายได้เสริมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงจ้างให้กดไลก์ (Like) กดแชร์ (Share) ดูคลิปวิดีโอจากยูทูบ (YouTube) กดรับออร์เดอร์สินค้า หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่มิจฉาชีพออกอุบายประกาศ เชิญชวนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, Tiktok เป็นต้น หรือผ่านทางการส่งความสั้น (SMS) ให้เหยื่อกดลิงก์เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ เช่น ประกาศรับสมัครด่วนงานดูคลิป YouTube จำนวน 10 คลิป 400 บาท 20 คลิป 800 บาท แต่ต้องมีค่าเงินประกัน 100 บาท หรือให้กดไลก์ กดแชร์เพจ เพิ่มระดับเลเวลเพื่อที่จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม แต่ต้องโอนเงินเข้าไปในระบบก่อน หรือเชิญชวนให้ทำภารกิจกดรับออเดอร์สินค้า โดยเริ่มจากสินค้าหลักร้อยและเพิ่มสูงขึ้นไปตามระดับภารกิจ แต่จะบอกว่าเราทำผิดขั้นตอน ให้โอนเงินไปเพิ่ม เป็นต้น

การหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว จะเห็นได้ว่าต้องมีการโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของมิจฉาชีพ หรือเติมเงินเข้าไปในระบบที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมาเสียก่อนเสมอ โดยในช่วงแรกๆ เราจะได้เงินกลับคืนมาจริง แต่หลังจากนั้นมิจฉาชีพก็จะออกอุบายต่างๆ เพื่อให้เหยื่อเติม หรือโอนเงินเพิ่ม เช่น อ้างว่ายอดเงินในระบบไม่เพียงพอ อ้างว่าเป็นค่าเอกสาร ค่าปิดบัญชี ค่าภาษี เป็นต้น เมื่อเหยื่อรู้ตัวว่าถูกหลอกลวงก็จะปิดการติดต่อหลบหนีไป ยกตัวอย่างคดีอุทาหรณ์ เช่น ในกรณีนักเรียนชั้น ม.3 อายุ 15 ปี ถูกหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อหาค่าคอมมิชชั่นจากการทำงานกดรับออเดอร์สินค้า เป็นเหตุให้เครียดและทำอัตวินิบาตกรรม กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.สอท. ได้สืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน ทำการจับกุมตัวผู้ต้องหาตามหมายจับรวมกว่า 9 ราย ส่ง พงส.ดำเนินคดีตามกฎหมายในเวลาต่อมาตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงประชาชนให้ทำภารกิจ หรือทำงานออนไลน์เพื่อหารายได้เสริม โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง ทำให้มิจฉาชีพเหล่านี้ไม่มีจุดยืนในสังคม เพราะถือเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เสียหายที่ยังเป็นเด็ก เยาวชน ยังไม่บรรลุนิติภาวะ อาจจะส่งผลกระทบโดยไม่คาดคิด 

การกระทำลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน “ โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (1) วรรคท้าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ” หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยดูจากพฤติการณ์แต่ละกรณีมาประกอบ ซึ่งในฐานความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัว หากต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดี ผู้เสียหายจะต้องมาร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดต่อไป

ระวัง!!มิจฉาชีพสวมรอย‘ธ.ก.ส.’หลอกโหลดแอป-กดลิงก์ ดูดเงินเกลี้ยง

‘ผู้ช่วยฯสมพงษ์-ศปอส.ตร.’เตือนระวังมิจฉาชีพสวมรอย‘ธ.ก.ส.’หลอกโหลดแอป-กดลิงก์ ดูดเงินเกลี้ยง

9 กุมภาพันธ์ 2566 พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) หัวหน้าอำนวยการด้านประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) , พล.ต.ต.ทินกร รังมาตย์ รอง ผบช.สพฐ./หัวหน้าด้านข่าวสารและประชาสัมพันธ์ , พล.ต.ต.อรุษ แสงจันทร์ รอง ผบช.ศปก.ตร./หัวหน้าฝ่ายแถลงข่าวและประสานงานสื่อมวลชน ศปอส.ตร. , พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ฯ ปฏิบัติหน้าที่ ศปอส.ตร. และ พ.ต.อ.ภัคพงศ์ สายอุบล รอง ผบก./รองหัวหน้าฝ่ายแถลงข่าวและประสานงานสื่อมวลชน ร่วมกันเปิดเผยว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. หลอกลวงประชาชน

สำหรับรูปแบบ คือ มิจฉาชีพมักจะอ้างว่าต้องตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคารและตรวจสอบการชำระภาษี หรือเสนอเงินกู้ผ่านแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กหรือแอปพลิเคชันไลน์ หลังจากนั้นมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้คลิกและติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมากับมัลแวร์ ผ่านทาง SMS และสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งหากเราหลงเชื่อคลิกลิงก์ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้มิจฉาชีพสามารถเข้ามาควบคุมโทรศัพท์ของเราได้ และสามารถดูดเงินออกจากบัญชีได้ เพราะฉะนั้นขอเตือนว่าอย่าคลิกลิงก์หรือโหลดแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ เครือซีพี รวมพลังแฉกลโกงมิจฉาชีพออนไลน์ หวังต้านอาชญากรรมไซเบอร์

วันที่ 10 ก.พ. 66 เวลา 15.00 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์สื่อสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แทนลงนาม ทั้งนี้มีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าร่วมพิธีฯ 

สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ สืบเนื่องจากสถานการณ์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรืออาชญากรรมไซเบอร์ในปัจจุบันมีสถิติที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่หลงกลตกเป็นเหยื่อจนได้รับความเดือดร้อน สูญเสียทรัพย์สิน ซึ่งในบางรายถึงกับต้องสูญเสียชีวิต ซึ่งจากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2565 – 6 ก.พ. 2566  มีการรับแจ้งความอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำนวนทั้งสิ้น 192,031 คดี รวมมูลค่าความเสียหาย 29,546,732,805 บาท สามารถติดตามอายัดบัญชี  65,872 บัญชี อายัดได้ทัน 445,265,908 บาท

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยพล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และห่วงใยประชาชน จึงบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (Public Private Partnership (PPP) เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการยับยั้ง ป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกัน (Cyber Vaccine) แก่ประชาชนเพื่อให้รู้เท่าทันกลโกงรูปแบบต่างๆ ของมิจฉาชีพ ซึ่งตลอดระยะเวลาการดำเนินงานได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ไปยังประชาชน 

ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่อาชญากรรมไซเบอร์ได้พัฒนารูปแบบกลลวงอย่างหลากหลายและรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาความมั่นคงระดับชาติ เพราะส่งผลกระทบทั้งต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย และความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ในการประชุม World Economic Forum 2023 ได้จัดให้ 'ภัยคุกคามไซเบอร์' เป็น 1 ใน 5 ความเสี่ยงที่สำคัญระดับโลก โดยมีการคาดการณ์ว่าผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ จะสูงถึง 10.5 ล้านล้านเหรียญภายในปี 2025 นั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มบริษัทในเครือฯ ในฐานะของผู้นำธุรกิจภาคเอกชน จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำร่องด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับกลโกงต่างๆ ของอาชญากรรมไซเบอร์เป็นองค์กรแรก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไซเบอร์วัคซีนให้ประชาชนชาวไทยมีความรู้เท่าทันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการร่วมสร้างความตื่นรู้ให้สังคมไทยในครั้งนี้ สอดคล้องกับค่านิยม 3 ประโยชน์ที่เครือฯ ยึดมั่นในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน สร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ

โดยเครือฯ ได้ระดมสรรพกำลังของกลุ่มธุรกิจในเครือ เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์กลโกงของอาชญกรรมไซเบอร์ในทุกช่องทางการสื่อสารอย่างเต็มศักยภาพรวมระยะเวลา 2 ปี ทั้งจากกลุ่มโทรคมนาคมและร้านค้าปลีกค้าส่ง คือการส่ง SMS เตือนภัยผ่านเครือข่ายทรูมูฟ เอช ซึ่งมีผู้ใช้บริการรวม 37 ล้านเลขหมาย ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในเดือนมกราคมที่ผ่านมา การเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อภายในลักษณะต่างๆ ในร้านเซเว่น – อีเลฟเว่นกว่า 13,000 สาขาประเทศ ซึ่งมีจำนวนลูกค้าเข้าใช้บริการ 11,404,314 คนต่อวัน ในแม็คโคร 152 สาขา และโลตัสมากกว่า 2,000 สาขา การประชาสัมพันธ์รายการในสถานีข่าว TNN16 และช่อง True4U การจัดกิจกรรมแฮกกาธอนในกลุ่มเยาวชน คิดค้นไอเดียรับมือกลโกง รวมถึงการกระจายข่าวสารผ่านพนักงานกว่า 361,570 คนทั่วประเทศ ซึ่งความหลากหลายทางธุรกิจฯ ของเครือ จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ข่าวสารเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง และทำให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงรูปแบบต่างๆ ของมิจฉาชีพได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดความสูญเสียทั้งต่อประชาชนและประเทศชาติที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการจัดการเสวนา “จุดกระแส On Stage” ดำเนินรายการโดย คุณกรรชัย  กำเนิดพลอย ในหัวข้อ “แฉสารพัดกลโกงมิจฉาชีพหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์” ซึ่งมีผู้ร่วมแชร์ประสบการณ์ ได้แก่ คุณมยุรา เศวตศิลา นักแสดงชื่อดัง, คุณภาณุพงศ์  หอมวันทา ยูทูปเบอร์เจ้าของช่อง Epic Time,  ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมกระบวนการกลโกง Call Center  และผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเคยตกเป็นเหยื่อกลโกงแอพออนไลน์ดูดเงินโดยแอบอ้างสรรพากร โดยมีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกันว่าโครงการความร่วมมือครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนไทย เพราะความรู้ผ่านสื่อต่างๆ จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกมิจฉาชีพออนไลน์หลอกลวง และจากที่เคยตกอยู่ในสถานะของเหยื่อมาแล้วนั้น ทำให้มั่นใจมากว่า ถ้ารู้ทันกลโกงก่อนจะไม่ตกเป็นเหยื่ออย่างที่ผ่านมา และหวังว่าการสื่อสารประชาสัมพันธ์ถึงกลโกงผ่านช่องทางที่หลากหลาย จะเข้าถึงคนไทยทุกกลุ่มทั่วประเทศได้ รวมถึง “ความร่วมมือของภาคเอกชน ต้านภัยออนไลน์ด้วยวัคซีนไซเบอร์” โดย พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหาร ยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และคุณศิริพร  เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) 

ประธานมูลนิธิปวีณาฯ พาพ่อแม่และพี่ชายของ ด.ญ. 11 ขวบ เข้าพบ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เพื่อให้ข้อมูลมิจฉาชีพแชตคุยหลอกเป็นหมอดูให้ถ่ายรูปโป๊เปลือย

วันที่ 13 ก.พ.66 เวลา 14.00 น. นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาฯ พาพ่อแม่และพี่ชายของ ด.ญ. 11 ขวบ เข้าพบ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เพื่อให้ข้อมูลมิจฉาชีพแชตคุยหลอกเป็นหมอดูให้ถ่ายรูปโป๊เปลือยส่งไปให้ ก่อนแบล็กเมล์แชร์รูปประจานลงในโซเชียล และขอให้เร่งติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี ซึ่งคาดว่าอาจมีเด็กๆ ตกเป็นเหยื่อหลายราย ที่สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต

สืบเนื่องจาก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 ก.พ. 66  เวลา 13.30 น. ที่มูลนิธิปวีณาฯ พ่อแม่เด็ก นร.วัย 11 ปี ร้อง "ปวีณา" ช่วยให้ตำรวจลากตัวแก๊งหลอกเด็กถ่ายรูปโป๊ ใน social  ช่วงที่ ด.ญ.เอ(นามสมมติ) อายุเพียง 8 ขวบ ถูกหลอกให้ถ่ายรูปโป๊ ส่งไปให้ โดยอ้างเป็นหมอดู ถามเด็กบอกอยากเป็นแพทย์ต้องเรียนรู้เรื่องเพศ ให้ส่งรูปโป๊ ชื่อที่อยู่ บัตร ปชช.ไปให้ อีก 2 ปีต่อมาได้เฟซบุ๊กขอให้เด็กส่งภาพโป๊ไปอีก เด็กไม่ทำ แก๊งหลอกเด็กจึงโพสต์รูปโป๊เด็กส่งให้เพื่อนๆเด็กในโรงเรียน วันที่ 9 ก.พ. 66 ส่งรูปโป๊ประกาศขายตัวกระจายไปทั่ว ครูทราบเรื่อง จึงแจ้งมายังผู้ปกครอง พ่อแม่แทบช๊อคเดินทางมาขอปวีณาช่วยทันที  หลังนางปวีณา รับเรื่อง ได้ประสาน พ.ต.อ.คงศักดิ์  ปานน้อย ผกก. สน.บางกอกใหญ่ พา ด.ญ.เอ เข้าแจ้งความ และในวันจันทร์ที่ 13 ก.พ. 66  เวลา 14.00 น. นางปวีณาฯ ได้พาพ่อแม่ ด.ญ.เอ เข้าพบ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์  หักพาล  รอง ผบ.ตร. ซึ่งให้ความสำคัญยิ่งจะเร่งสอบรายละเอียดคดี นำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีโดยเร็ว

ความเป็นมา เมื่อประมาณปี 2562 ด.ญ.เอ (นามสมมุติ) อายุได้ 8 ขวบ ได้นั่งเล่นไอจีอยู่ที่บ้านคนเดียว จากนั้นมีแก๊งหลอกเด็กได้ทักไอจีมา และแนะนำตัวว่าเป็นหมอดูดวง สอบถาม ด.ญ.เอ ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ด.ญ.เอบอกว่าอยากเป็นหมอ แก๊งหลอกเด็กบอกว่าถ้าอยากเป็นหมอจะต้องทำการศึกษาทางเพศเรียนรู้ร่างกายก่อน โดยให้ถ่ายรูปเปลือยกายพร้อมกับบัตรประชาชนชื่อโรงเรียนส่งให้ก่อน เพื่อจะทำการดูดวงให้ว่าโตขึ้นจะได้เป็นหมอหรือไม่ ด.ญ.เอยังไม่ปักใจเชื่อ จึงได้ขอดูรูปหน้าของหมอดูก่อน จากนั้นหมอดูได้ส่งรูปภาพของผู้หญิงโป๊เปลือยมาให้ดู และให้ ด.ญ.เอถ่ายรูปภาพโป๊ตามนี้ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top