Monday, 6 May 2024
น้ำมัน

'ฤทธิ์ ลือชา' โชว์เติมน้ำมันที่มาเลเซีย ลิตรละ 16.4 บาท ถูกจนอยากขับรถเล่นทั้งวัน

(4 ก.ค.65) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘ฤทธิ์ ลือชา’ โพสต์ภาพขณะเติมน้ำมัน โดยระบุข้อความว่า…

เติมเองก็ได้วะ! ถ้ามันถูกขนาดนี้! ที่มาเลย์วันนี้ลงจากรถไปเติมน้ำมันไห้เห็นกันจะ ๆ ไปเลย! 
 

'กรณ์' จี้นายกฯ บี้รมว.พลังงาน แฉ ซ้ำ ราคาหน้าโรงกลั่นถูกลง แต่หน้าปั๊มไม่ลด ปล่อยเพิ่มค่าการตลาดฟันกำไร

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้าเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี กำชับ 'รัฐมนตรีพลังงาน' ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดในช่วงนี้เนื่องจากมีความหละหลวมในการดูแลประชาชนอย่างมาก  เนื่องจากเดือนที่ผ่านมานี้สังคมกดดันท่านรัฐมนตรีเรื่อง 'ค่าการกลั่น' ที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ น้ำมันแพง  ของแพง วันนั้นท่านออกมาสัมภาษณ์ว่า ‘คิดมาก่อนแล้ว เตรียมมาตรการไว้เป็นชุด’ แต่แล้วถึงวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรชัดเจน ส่วน 3-4 วันที่ผ่านมานี้ ท่านได้ปล่อยให้ผู้ขายนํ้ามันเพิ่ม ‘ค่าการตลาด’ (รายได้ของผู้ค้าน้ำมัน) ในกรณีของเบนซินขึ้นมาสูงเกินมาตรฐานปกติอย่างมาก

"วานนี้ (5 ก.ค.) ค่าการตลาด Gasohol95 E10 สูงถึง 3.42 บาทต่อลิตร ส่วน Gasohol 91 อยู่ที่ 3.62 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดปกติไม่ควรเกิน 2 บาท และที่น่าสนใจคือ หากเทียบกับวันที่ พรรคกล้า ได้ออกมากระทุ้งรัฐบาลครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.เราจะเห็นว่า ราคานํ้ามันที่รับจากโรงกลั่นน้ำมันถูกลง แต่ราคาหน้าปั้มยังอยู่ในระดับเดิม แทนที่คนไทยเรา จะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ถูกลง กลับกลายเป็นผู้ค้าเอาไปเป็นรายได้ของตนเอง ซึ่งผู้ค้าใหญ่สุดก็คือ ปตท. นั่นเองรัฐมนตรีพลังงาน ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้อย่างไรครับ" หัวหน้าพรรคกล้า ตั้งข้อสังเกต

เอาแล้ว!! ‘กรณ์’ ถาม รมว.พลังงาน ทำไม ปตท.บริจาคแค่ 3 พันล้าน ชี้ยังห่างไกลสัญญาที่ให้ไว้ 2.4 หมื่นล้านอีกหลายเท่า จี้ปรับโครงสร้างราคาแก้ปัญหาน้ำมันแพง

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า โพสต์เพซบุค ตั้งคำถามนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รมว.พลังงาน ที่เคยอ้างว่าได้รับเงินบริจาคจากโรงกลั่นเข้ากองทุนน้ำมัน 24,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงว่า อย่าหาว่าอะไรเลย แต่ ปตท. บริจาค 3,000 ล้านบาทนี่ นอกจากจะห่างไกล 24,000 ล้านบาทที่ท่านรัฐมนตรีฯ เคยอ้างว่าได้รับแล้ว การทำแค่นี้ ต้องไม่เป็นคำตอบสุดท้ายเรื่องการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเพง อย่างไรก็ตามก็หวังว่า จะเป็นก้าวแรกสู่การปรับโครงสร้างราคา เพื่อลดภาระให้ประชาชน

การแก้เชิงโครงสร้างทำได้โดยลดค่าการกลั่น เพราะ ค่าการกลั่นยังสูงกว่าระดับที่ควรอยู่อย่างน้อย 3 บาท ต่อลิตร และ ค่าการตลาด เบนซินสูงกว่าระดับมาตรฐานอยู่เท่าตัว หากลดสองตัวนี้ได้ ประชาชนจะใช้น้ำมันถูกลงได้ทันที” หัวหน้าพรรคกล้ากล่าว

ทำไมไทยต้องนำเข้าน้ำมัน? ทั้งที่ผลิตน้ำมันได้

รู้ไหม? ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตน้ำมัน แล้วไม่พอต่อการใช้งานของคนในประเทศ

ราคาน้ำมันที่มีการผันผวนตลอดเวลา ไม่ว่าจะเนื่องด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมส่งผลต่อความไม่พอใจของประชาชนมาตลอด และเมื่อไม่พึงพอใจก็จะเกิดการเปรียบเทียบ ในวิกฤติราคาน้ำมันทุก ๆ ครั้ง ดังที่จะเห็นจนคุ้นตา คือการที่มักมีบางกลุ่ม เปรียบเทียบราคาพลังงานไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซีย

เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีกรณีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ที่ลงทุนเดินทางไปถึงมาเลเซียเพื่อเติมน้ำมันที่นั่น ก่อนจะเปรียบเทียบราคาน้ำมันของไทยกับมาเลเซียลงสื่อโซเชียล ส่งผลให้รัฐบาลมาเลเซียสั่งการให้มีการตรวจสอบผู้มาขอรับบริการว่าเป็นพลเมืองมาเลเซียหรือไม่ เนื่องจากราคาน้ำมันของมาเลเซีย ได้รับการชดเชยราคาโดยตรงด้วยภาษีของคนมาเลเซีย

แต่หากมองย้อนกลับไปที่ประเทศลาว จะเห็นว่าประเทศลาวนั้น มีราคาน้ำมันที่สูงกว่าไทยตลอด เนื่องจากว่าลาวนั้น ไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงของตนเอง ราคาน้ำมันในลาว จึงเป็นราคาที่เพิ่มค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากประเทศไทยเข้าไปร่วมด้วย เป็นสาเหตุให้มีราคาที่สูงกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง

นั่นทำให้คนลาวบางส่วน เข้ามาเติมน้ำมันในประเทศไทย และประเทศไทยก็สั่งห้ามเช่นเดียวกับมาเลเซีย

หันกลับมาพิจารณาถึงที่มาของราคาน้ำมัน ประเทศที่มีความสามารถในการขุดเจาะน้ำมันได้เอง และกลั่นน้ำมันได้เอง จะมีราคาน้ำมันสำหรับการใช้ในประเทศที่มีราคาถูกลงมากกว่าประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานทั้งหมด

แต่จะถูกมากน้อยเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้น ๆ มีปริมาณน้ำมันสำรอง และกำลังการผลิตมากเพียงพอที่จะตอบสนองของคนทั้งประเทศหรือไม่

จากข้อมูลของ Worldometer ระบุว่า ใน พ.ศ. 2559 มาเลเซียมีปริมาณน้ำมันสำรอง 3,600,000,000 บาร์เรล มากเป็นอันดับที่ 28 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 404,890,000 บาร์เรล อยู่อันดับที่ 50 อีกทั้งมีปริมาณน้อยกว่ามาเลเซียถึง 8.9 เท่า

นอกจากนี้ กำลังการผลิตของมาเลเซียนั้น เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ สำหรับประชากรเพียงแค่ 32 ล้านคน มีน้ำมันเหลือใช้มากถึงวันละ 54,168 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ไทย ทั้ง ๆ ที่ผลิตได้น้อยกว่า แต่กลับมีอัตราการบริโภคที่สูงกว่า จนทำให้กำลังการผลิตต่อวัน น้อยกว่าอัตราการบริโภคมากถึง 770,671 บาร์เรลต่อวันเลยทีเดียว

แต่ถึงแม้มาเลเซียจะมีกำลังการผลิตน้ำมันที่ล้นเหลือ แต่มาเลเซียก็ยังมีการนำเข้าน้ำมันมากถึง 197,489 บาร์เรลต่อวัน และส่งออกน้ำมัน 390,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ราคาน้ำมันในมาเลเซียเองก็ผันผวนตามราคาน้ำมันของโลกด้วยเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ส่งผลกระทบมากเท่ากับประเทศไทยนั่นเอง

จากรายงานของ Worldometer ระบุว่า มาเลเซียมีน้ำมันสำรอง 0.2% เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำมันสำรองของโลก (1,650,585,140,000 บาร์เรล อ้างอิงข้อมูล พ.ศ. 2559) ในขณะที่ประเทศไทย มีปริมาณน้ำมันสำรองเพียง 0.02345% เพียงเท่านั้น

‘พิชัย’ ชี้!! ผูกขาดโรงกลั่น ทำราคาน้ำมันพุ่ง แนะ!! จำกัดการผูกขาดให้น้อย เพิ่มโอกาสคนรุ่นใหม่

(8 พ.ย. 65) เมื่อเ วลา 10.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า น่าเสียดายที่สุราเสรีไม่ผ่านการโหวตในสภา โดยแพ้ไปเพียง 2 เสียงเท่านั้น หากผ่านได้จะทำให้จำกัดการผูกขาดสุราในประเทศ เกิดการกระจายรายได้ให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งพรรคไทยรักไทยเคยคิดเรื่องนี้แล้วตั้งแต่ปี 2546 จึงหวังว่าในอนาคตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สุราเสรีจะเกิดขึ้นได้จริง 

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีปัญหาการผูกขาดอย่างมาก ขนาดองค์กรระหว่างประเทศยังจัดอันดับประเทศไทยในลำดับท้าย ๆ ที่จัดการการผูกขาดได้ย่ำแย่ จึงต้องหาทางจำกัดการผูกขาดในทุกด้าน เพื่อให้โอกาสคนรุ่นใหม่สามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาได้ ทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นเมื่อมีการแข่งขันที่แท้จริง 

นายพิชัย กล่าวต่อว่า อยากให้มีการจำกัดการผูกขาดผลิตน้ำมันและกลั่นน้ำมันในประเทศไทย เพราะมีปัญหามาตลอด เพราะโรงกลั่น 6 โรงใน 7 โรงกลั่น เป็นของ บมจ.ปตท. ซึ่งคุมปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่กลั่นแล้วเกือบทั้งหมด ทำให้มีปัญหาราคาโครงสร้างราคาน้ำมัน ดังนี้ 

1.) ราคาหน้าโรงกลั่นจะต้องเท่ากับสิงคโปร์โดยไม่บวกค่าขนส่ง ราคาขายในประเทศจะต้องเท่ากับราคาส่งออก เพราะบริษัทในเครือ บมจ.ปตท. ขยายการกลั่นเพื่อการส่งออก แสดงว่าราคาส่งออกก็กำไรอยู่แล้ว 

2.) ค่าการตลาดควรจะถูกจำกัดที่ลิตรละ 1.40 บาท ตามที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ อย่าปล่อยให้ราคาค่าการตลาดพุ่งสูงแบบไม่สมเหตุผล 

กระจ่างชัด!! ทำไมน้ำมันไทยมีหลายประเภท แล้วแต่ละประเภทต่างกันยังไง

ในปัจจุบันน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนในประเทศไทยใช้กันเป็นประจำทุกวัน แต่ทราบหรือไม่ว่าน้ำมันแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง แล้วทำไมราคาถึงไม่เท่ากัน? 

ก่อนที่จะมาหาข้อแตกต่างระหว่างน้ำมันแต่ละชนิด เราต้องเข้าใจถึงความแตกต่างกันระหว่าง ‘เครื่องยนต์’ ก่อนว่ามีหลายรูปแบบ เช่น เครื่องยนต์ ‘ดีเซล’ กับ ‘เบนซิน’ แต่ละแบบก็มีอัตรากลไกการทำงานที่ต่างกัน อย่าง อัตราส่วนของการอัดอากาศ ก็คนละอย่างกัน อาทิ ดีเซล จะมีอัตราการอัดอากาศเยอะ ในขณะที่เบนซินจะมีแรงอัดอากาศที่ต่ำกว่า

โดยดีเซลไม่ใช่ชื่อตัวละครใน Fast And Furious แต่อย่างใด แต่น้ำมันดีเซลเป็นส่วนหนึ่งของน้ำมันดิบที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน (เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีการใช้งานมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะใช้กับรถกระบะ, รถบรรทุก, เรือประมง, เรือโดยสาร, เพราะสามารถสร้างแรงบิดได้สูง ตั้งแต่ในรอบต่ำ นั้นจึงเหมาะกับการฉุดลากหรือขนส่งสิ่งของนั้นเอง 

ส่วนน้ำมันไบโอดีเซล คือ น้ำมันที่สกัดจากพืชผลทางการเกษตร เช่น ปาล์ม (ส่วนหลัก), ข้าวโพด, รำข้าว, สบู่ดำ, มะพร้าว, ทานตะวัน, ถั่วเหลือง, เมล็ดเรพ และน้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว นำมาทำปฏิกิริยาทางเคมีจนเกิดเป็น สารเอสเตอร์ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล เรียกว่า ‘ไบโอดีเซล’ หรือ ‘B100’

ทีนี้ เรามาดูกันต่อ สำหรับความแตกต่างระหว่างน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ว่ามันต่างกันอย่างไร?

น้ำมันเบนซินนั้นไม่มีส่วนผสมของสารที่เอาไว้เพิ่มค่าออกเทนหรือเอทานอล ส่วนแก๊สโซฮอล์นั้นมาจากคำว่า แก๊สโซลีน + แอลกอฮอล์ หรือน้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล โดยในประเทศไทย 

แก๊สโซฮอล์ไม่เพียงหมายถึงการผสมเอทานอลในระดับต่ำ (E 10, E 20) แต่ยังรวมถึงเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นด้วย (เช่น E 85 ซึ่งเป็นส่วนผสมของเอทานอล 85% และน้ำมันเบนซิน 15%)

ในการใช้งาน ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เบนซินให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า และการหล่อลื่นที่ดียิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันน้ำมันเบนซินหาได้ยาก ในขณะที่แก๊สโซฮอล์จะเป็นที่แพร่หลายมากกว่า

อย่างไรก็ตาม แก๊สโซฮอล์ ก็ยังมีทั้งแก๊สโซฮอล์ 91 กับ 95 แล้ว 2 ตัวนี้ มันต่างกันยังไง? 

'สหรัฐฯ' ยอมปลดล็อกคว่ำบาตรเวเนซุเอลา แลกขุดเจาะน้ำมันอย่างจำกัดได้นาน 6 เดือน

เอเจนซีส์/รอยเตอร์ - เป็นชัยชนะของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่สามารถหาแหล่งพลังงานใหม่ใกล้บ้านเพื่อช่วยเหลือชาวอเมริกันสำเร็จ หลังวอชิงตันยอมคลายคว่ำบาตรเวเนซุเอลาเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี การประกาศวันเสาร์ (26 พ.ย) เกิดขึ้นเมื่อประธานาธิบดีเวเนซุเอลา นิโคลัส มาดูโร ยอมลงนามข้อตกลงข้อปกป้องทางสังคมร่วมกับฝ่ายค้านคาราคัส ระหว่างที่นอร์เวย์เป็นกาวใจให้เพื่อให้เงินช่วยเหลือกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ที่ถูกสหรัฐฯ และชาติตะวันตกสั่งแช่แข็งให้ปล่อยออกมาเพื่อมนุษยธรรม บริษัทพลังงานเชฟรอนได้รับอนุญาตจากวอชิงตันให้สามารถนำน้ำมันจากเวเนซุเอลาเข้าสหรัฐฯ ได้นานครึ่งปี

อัลญะซีเราะฮ์ สื่อกาตาร์รายงานวานนี้ (26 พ.ย.) ว่า รัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน คลายมาตรการคว่ำบาตรบางส่วนให้รัฐบาลเวเนซุเอลา หลังตัวแทนคาราคัส และตัวแทนการเมืองฝ่ายค้านเวเนซุเอลาร่วมลงนามข้อตกลงการปกป้องทางสังคม (social protection agreement) อ้างอิงชื่อจากสื่อฟรานซ์ 24 เพื่อสร้างกองทุนที่มาจากสหประชาชาติเพื่อมอบความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมให้แก่ประชาชนเวเนซุเอลา

โดยในการลงนามเกิดขึ้นวันเสาร์ (26 พ.ย.) ที่กรุงเม็กซิโก ซิตี โดยมีนอร์เวย์เป็นตัวกลาง พบว่าผู้แทนรัฐบาลประธานาธิบดีเวเนซุเอลา นิโคลัส มาดูโร และฝ่ายค้านเวเนซุเอลา ที่รวมไปถึงปีกฝ่ายค้านนำโดย ฮวน กวยโด (Juan Guaido) ที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุน

การลงนามทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาอีกครั้งเพื่อปูทางนำเวเนซุเอลากลับไปสู่ประชาธิปไตยหลังหยุดไปนานร่วม 15 เดือน ฟรานซ์ 24 ชี้ว่า การลงนามทั้ง 2 ฝ่ายสำหรับข้อตกลงทางมนุษยธรรรมในด้านการศึกษา สาธารณสุข ความมั่นคงทางอาหาร มาตรการตอบโต้น้ำท่วม และโครงการกระแสไฟฟ้า และยังมีความเห็นที่จะยังคงหารือร่วมกันสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีเวเนซุเอลาที่จะถึงกำหนดในปี 2024

อัลญะซีเราะฮ์รายงานว่า กระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวผ่านแถลงการณ์ว่า ข้อตกลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นย่างก้าวที่สำคัญในหนทางที่ถูกต้องในการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยในเวเนซุเอลา และสหรัฐฯ ได้ออกใบอนุญาต GL 41 ให้บริษัทพลังงานเชฟรอนกลับไปขุดเจาะน้ำมันอย่างจำกัดได้อีกครั้งนาน 6 เดือน แต่สามารถยกเลิกเมื่อใดก็ได้ อ้างอิงจาก CNN สื่อสหรัฐฯ

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 26 - 30 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 2 - 6 ม.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 โดยผู้เดินทางเข้าประเทศไม่ต้องกักตัวแต่ต้องแสดงผลตรวจ RT-PCR เป็นลบภายใน 2 วันก่อนออกเดินทาง นอกจากนี้ อนุญาตให้ชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศ และให้ผู้ที่เดินทางมาเปลี่ยนเครื่องบินในจีนไม่ต้องขอ Visa ประกอบกับ วันที่ 27 ธ.ค. 65 นาย Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย ลงนามในพระราชกำหนดห้ามจัดส่งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปรัสเซีย ให้แก่ชาติที่เข้าร่วมมาตรการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) โดยน้ำมันดิบมีผลวันที่ 1 ก.พ.- 30 มิ.ย. 66 ส่วนน้ำมันสำเร็จรูปจะประกาศภายหลัง เพื่อตอบโต้สหภาพยุโรป (EU) และกลุ่มชาติมหาอำนาจ G7 รวมทั้งออสเตรเลีย ที่ใช้มาตรการ Price Cap น้ำมันดิบรัสเซียที่ขนส่งทางทะเล ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 65  

สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 82 - 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยทิศทางตลาดน้ำมันมีแนวโน้มได้รับการสนับสนุนจากการเปิดประเทศของจีน

ด้านผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นาง Kristalina Georgieva ระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปี 66 มีแนวโน้มเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากขึ้น โดยเศรษฐกิจของประเทศราว 1 ใน 3 ของโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (EU) และจีน ชะลอตัวในเวลาเดียวกัน ประกอบกับยอดการติดเชื้อ COVID-19 ในจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 66 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว

นอกจากนี้ ผลสำรวจนักวิเคราะห์ของ Reuters ในวันที่ 30 ธ.ค. 65 คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในปี 66 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 89.37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วน NYMEX WTI อยู่ที่ 84.84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 93.65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 87.80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกเผชิญภาวะเงินเฟ้อ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 30 ม.ค. - 3 ก.พ.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 6 - 10 ก.พ.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 เดือน จากธนาคารกลางหลักทั่วโลกทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายพร้อมกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%, ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 4.0% และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำรองของธนาคารพาณิชย์ (Deposit Facility Rate) และอัตราดอกเบี้ยสำหรับปล่อยสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ (Main Refinancing Operations Rate) มาอยู่ที่ 2.5% และ 3.0% ตามลำดับ

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) ในเดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้น517,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า สูงกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 187,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราว่างงาน (Unemployment Rate) อยู่ที่ 3.4% ต่ำสุดในรอบ 54 ปี ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง กดดันให้เศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ดี ประธาน Fed นาย Jerome Powell คาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถลดอัตราเงินเฟ้อสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% (อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 65 อยู่ที่ 6.5%)

โดยทางเทคนิค สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 80 - 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
-Caixin/Markit รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคบริการ (Composite Purchasing Manager Index: PMI) ของจีน ในเดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้น 2.8 จุด จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 51.1 จุด ขยายตัวครั้งแรกตั้งแต่เดือน ส.ค. 65 โดยได้แรงหนุนจากการยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19

-วันที่ 1 ก.พ. 66 ที่ประชุม Joint Ministerial Monitoring Committee (JMMC) ของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) คงนโยบายลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบตามผลการประชุมเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 65 ที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงสิ้นปี 2566 ทั้งนี้ จะมีการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 3 เม.ย. 2566


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top