Monday, 6 May 2024
น้ำมัน

ปตท. เผยผลดำเนินงานตลอดปี 2565 รวมกลุ่ม ปตท. นำเงินส่งรัฐกว่า 86,395 ล้านบาท

(16 ก.พ. 66) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีมติจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 2 บาท ซึ่งได้จ่ายปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 1.30 บาท เมื่อตุลาคม 2565 คงเหลือเงินปันผลที่จะจ่ายอีกในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท 

โดยกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และกองทุนวายุภักษ์รับปันผล 36,144 ล้านบาท จากผลการดำเนินงานของ ปตท. และบริษัทย่อยที่มีกำไรสุทธิในปี 2565 จำนวน 91,175 ล้านบาท (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิที่ 3.6%) ลดลงจำนวน 17,188 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.9 จากปีก่อน แม้ว่ากำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก ธุรกิจสำรวจและผลิตที่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นตามราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานในตลาดโลก และปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว 

ขณะที่ธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลงจากต้นทุนก๊าซฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก จากการนำเข้า Spot LNG เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซในประเทศ และธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีที่ราคาปิโตรเคมีปรับลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงในปี 2565 ต้นทุนทางการเงิน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ และ ผลขาดทุนจากการรับรู้รายการขาดทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำสุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2564

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 20 - 24 ก.พ.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 27 ก.พ. - 3 มี.ค.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงขึ้น ซึ่งจะกดดันเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน โดยตลาดคาดว่าในปี 66 Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบัน สู่ระดับ 5.25-5.50% มากกว่าที่เคยคาดการณ์ 0.25% ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน โดยดัชนีดอลลาร์ (DXY Index) ซึ่งเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลก วันที่ 24 ก.พ. 66 ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 0.61 จุด จากวันก่อนหน้า อยู่ที่ 105.21 จุด สูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ กดดันราคาน้ำมัน

อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันโลกจะได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์น้ำมันของจีนที่กำลังฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคการเดินทางทางอากาศ โดยสำนักวิเคราะห์ Wood Mackenzie, FGE, Energy Aspects และ S&P Global Commodity Insight คาดการณ์ว่าจีนจะนำเข้าน้ำมันดิบในปี 66 เพิ่มขึ้น 0.5 – 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 11.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ตลาดกังวลว่าอุปทานน้ำมันจากรัสเซียจะตึงตัว หากรัสเซียลดการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทมากกว่า 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. 66 ตามที่เคยประกาศไว้ เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรและตั้งเพดานราคาน้ำมัน (Price Cap) ของชาติตะวันตก โดย Reuters รายงานรัสเซียมีแผนลดการส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Primorsk และ Ust-Luga ในทะเลบอลติก และท่า Novorossiysk ในทะเลดำ 25% ในเดือน มี.ค.-เม.ย. 66

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 80 – 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 6 - 10 มี.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 13 - 17 มี.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent และ NYMEX WTI ยังสามารถยืนเหนือระดับ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ แม้เกิดสถานการณ์วิกฤตการเงินในสหรัฐฯ จากปัญหา Silicon Valley Bank (SVB) ประกาศล้มละลายหลังประสบปัญหาสภาพคล่อง และธนาคาร Signature Bank ถูกสั่งปิดกิจการตามคำสั่งของหน่วยงานด้านการกำกับกิจการประจำรัฐนิวยอร์ก เพื่อป้องกันวิกฤตการธนาคารลุกลาม ล่าสุด ประธานาธิบดี Joe Biden แถลงการณ์ยืนยันให้ผู้ฝากเงินที่ธนาคาร SVB และ Signature Bank สามารถถอนเงินได้ในวันจันทร์ที่ 13 มี.ค. 66 หลังจากที่กระทรวงการคลังประกาศคุ้มครองเงินฝาก นับเป็นการล่มสลายของสถาบันการเงินใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2008

ด้านตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ดีกว่าที่คาดการณ์ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) ในเดือน ก.พ. 66 เพิ่มขึ้น 311,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า (นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 205,000 ราย) อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 3.6% ตลาดจับตามองมติการประชุมนโยบายทางการเงิน (FOMC) ครั้งต่อไปในวันที่ 21-22 มี.ค. 66 โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามีโอกาส 42.5% ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% และมีโอกาส 57.5% ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ล่าสุด Goldman Sachs คาดว่าสถานการณ์ความปั่นป่วนในขณะนี้ อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงิน (FOMC) วันที่ 21-22 มี.ค. นี้ นับว่าพลิกผันเป็นอย่างมากจากที่เดิมตลาดคาดการณ์ว่าจะขึ้น 0.25% และระยะหลังคาดว่าจะขึ้นแรงถึง 0.5%

ทางเทคนิคสัปดาห์นี้คาดการณ์แนวโน้มราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 80-85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากที่ก่อนหน้านี้ทดสอบระดับแนวรับจิตวิทยาสำคัญที่ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทำให้สามารถ Rebound ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 84, 85, และ 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ กอปรกับ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง โดยดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลกปิดตลาดวันที่ 10 มี.ค. 66 ลดลง 0.73 จุด อยู่ที่ 104.58 จุด ลดลงต่อเนื่องวันที่สอง

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
•หน่วยงานศุลกากรของจีน (General Administration of Customs) รายงานปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ ในช่วง ม.ค.-ก.พ. 66 ลดลง 1.3% จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 10.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน

‘มิ่งขวัญ’ ชูแคมเปญ ‘ลดเบนซิน 18 บาท-ดีเซล 6 บาท’ ลั่น!! อยากได้น้ำมันราคานี้ ต้องเลือก ‘พปชร.’

(18 มี.ค.66) เมื่อเวลา 18.20 น.นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายพรรคพปชร. กล่าวปราศรัยโดยชูนโยบายลดราคาน้ำมัน ว่า พรรคพปชร.มีแคมเปญราคาน้ำมัน ที่จะส่งให้พรรคพปชร. เข้าไปนั่งอยู่ในใจของประชาชนทุกคน โดยราคาพลังงานจะสามารถปรับลงลดเพื่อช่วยประชาชนได้ เรามีแนวคิดที่จะรื้อโครงสร้างราคาน้ำมัน โดยจะปรับลด 1 ปี นับตั้งแต่เป็นรัฐบาล เมื่อเป็นรัฐบาลแล้ว ช่วง 3-4 เดือนแรก จะมีคณะกรรมการขึ้นมาปรับโครงสร้างใหญ่ คือ ภาค 2 ที่จะดำเนินการ การปรับลดสามารถทำได้ เมื่อเราเป็นรัฐบาล เพื่อลดรายจ่าย ค่าเดินทาง การขนส่งสินค้า

ที่สำคัญที่สุด คือ ลดต้นทุนการผลิตสินค้า ทุกขั้นตอนลดอัตราเงินเฟ้อ และจะทำให้ราคาสินค้า อุปโภคบริโภคของประชาชนถูกลง หากโครงสร้างถูกปรับเปลี่ยน จะสามารถลดราคาน้ำมันเบนซิน ลงได้ประมาณลิตรละ 18 บาท และลดราคาน้ำมันดีเซล ลงประมาณลิตรละ 6 บาท

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 13 - 17 มี.ค.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 20 - 24 มี.ค.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง โดยราคาน้ำมัน ICE Brent และ NYMEX เฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงสู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ ธ.ค. 64 ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Dubai ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 สัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนต่อสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะเผชิญความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) โดยตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์มีโอกาส 75% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 4.75 - 5.0% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ในวันที่ 21 - 22 มี.ค. 66 ขณะที่มีโอกาส 25% ที่ Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม หลังสัปดาห์ก่อน ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature Bank ปิดกิจการจากปัญหาสภาพคล่อง

ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ยังคงเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอเงินเฟ้อ โดยวันที่ 16 มี.ค 66 ECB มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำรองของธนาคารพาณิชย์ (Deposit Facility Rate) อยู่ที่ 3.0%, อัตราดอกเบี้ยนโยบายสำหรับการปล่อยสภาพคล่องให้ระบบธนาคารพาณิชย์ (Main Refinancing Operations Rate) อยู่ที่ 3.5% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ให้ธนาคารกู้ยืม (Marginal Lending Facility Rate) อยู่ที่ 3.75% สูงสุดตั้งแต่ปี 51 ทั้งนี้ ประธานธนาคารกลางออสเตรีย (Reserve Bank of Australia: RBA) นาย Robert Holzman คาดว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate สู่ระดับ 4.0% ภายในปี 66 แม้ตลาดกังวลต่อความไม่แน่นอนของภาคธนาคารยุโรป ล่าสุด ธนาคารแห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์ (Swiss National Bank) อนุมัติเงินกู้ให้ธนาคาร Credit Suisse มูลค่า 5 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ภายใต้แผนปรับโครงสร้างหนี้และเพิ่มสภาพคล่องในระยะสั้น

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 70 - 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยแนวรับสำคัญคือ 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งต้องจับตาการประชุม FOMC และสถานการณ์วิกฤตธนาคาร ซึ่งหากสถานการณ์คลี่คลาย ราคา ICE Brent มีโอกาสทดสอบแนวต้านที่ 70 - 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

-Goldman Sachs ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนในปี 66 อยู่ที่ 6.0% จากปีก่อนหน้า จากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 5.5% จากปีก่อนหน้า จากจีนเปิดประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

‘จีน’ พบ ‘แหล่งน้ำมัน-ก๊าซ’ ขนาดใหญ่ในทะเลโป๋ไห่ คาด มีปริมาณกักเก็บสำรองมากกว่า 1 พันล้านตัน!!

เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 66 สำนักข่าวซินหัว, เทียนจิน รายงานว่า บริษัทน้ำมันนอกชายฝั่งแห่งชาติจีน (CNOOC) ประกาศการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ปริมาณสำรองประมาณ 300 ล้านตัน ในทะเลโป๋ไห่ของจีน ในปี 2022

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขดังกล่าว พุ่งแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ คือการค้นพบบ่อน้ำมัน 2 แห่งเมื่อปีที่แล้ว ได้แก่ โป๋จง 19-2 (Bozhong 19-2) และโป๋จง 26-6 (Bozhong 26-6) ซึ่งโป๋จง 26-6 เป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติกว่า 100 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมัน

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบบ่อน้ำมันรวม 5 แห่ง ที่มีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซมากกว่า 100 ล้านตัน บริเวณทะเลโป๋ไห่ ขณะที่ปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซที่ค้นพบใหม่ในพื้นที่ทะเลดังกล่าวสะสมมากกว่า 1 พันล้านตัน


ที่มา : https://www.xinhuathai.com/china/348797_20230331

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 10-14 เม.ย.66  จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 17-21 เม.ย.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ท่ามกลางตามความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มแข็งแกร่งขึ้น โดยรายงานฉบับเดือน เม.ย. 66 ของ IEA ประเมินอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 65 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 99.91 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 66 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.03 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 101.94 ล้านบาร์เรลต่อวัน 

ในขณะเดียวกัน เหตุอุปทานน้ำมันชะงักชะงันจากการส่งออกน้ำมันดิบจากเขตปกครองพิเศษเคอร์ดิสถานทางตอนเหนือของอิรักผ่านท่อ Kirkuk-Ceyhan ซึ่งสูบถ่ายน้ำมันดิบที่ระดับ 400,000-450,000 บาร์เรลต่อวัน (จากขีดความสามารถในการสูบถ่าย 700,000 บาร์เรลต่อวัน) หยุดดำเนินการวันที่ 25 มี.ค. 66 ยังไม่กลับมาดำเนินการ เนื่องจากตุรกีและรัฐบาลกลางอิรักยังเจรจาเรื่องค่าชดเชย 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ตุรกีต้องจ่ายให้อิรักก่อนกลับมาสูบถ่ายน้ำมัน

อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มถูกกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หลังตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิตของสหรัฐฯ แข็งแกร่งขึ้น ล่าสุด นาย Thomas Barkin ประธาน Fed สาขา Richmond เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขับเคลื่อนไปได้กับอัตราดอกเบี้ยในระดับนี้ ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงเติบโต ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% จากระดับปัจจุบันระดับที่ 4.75-5.00% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ในวันที่ 2-3 พ.ค. 66

ในสัปดาห์นี้คาดการณ์ราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 83-88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากอุปทานในตลาดโลกตึงตัวมากขึ้นจาก OPEC+ ขยายระยะเวลาและลดปริมาณการผลิตเพิ่มเติมถึงสิ้นปี 66

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 17-21 เม.ย.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 24-28 เม.ย.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงกว่า 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) ประกาศอาสาลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรวมกัน 1.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ค. - ธ.ค. 66 ทำให้ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เคลื่อนไหวในช่วงประมาณ 80 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 66 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม วันที่ 19 เม.ย. 66 ราคาเริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง และจะส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

สัปดาห์นี้ คาดการณ์ราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 80 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อน Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) วันที่ 2 - 3 พ.ค. 66 นอกจากนี้ ตลาดเริ่มคลายความตระหนกจากการตัดสินใจลดการผลิตของ OPEC+ รวมทั้งอุปทานจากรัสเซียและสหรัฐฯ ที่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- นักวิเคราะห์ 90% คาดการณ์ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ 5.0-5.25% ในการประชุมนโยบายการเงิน (FOMC) วันที่ 2-3 พ.ค. 66 และนักวิเคราะห์ 59% คาดว่าหลังจากนั้นจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับใหม่ไปจนถึงสิ้นปี 66 และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 3.5% ไปอยู่ที่ 4.3% ในช่วงปลายปี 66 

- EIA รายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. 66 เพิ่มขึ้น 0.56 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 4.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน (+1.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า) ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน (0.64 ล้านบาร์เรลต่อวัน) เนเธอร์แลนด์ (0.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และสหราชอาณาจักร (0.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน) 

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 1-5 พ.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 8-12 พ.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยสัปดาห์สิ้นสุด 5 พ.ค. 66 ลดลง 5.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนอยู่ที่ 74.95 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงและเปลี่ยนไปถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย จากความวิตกกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาอาจเข้าสู่สภาวะถดถอย ทั้งในภาคงบประมาณ การเงิน และการธนาคาร อาทิ วันที่ 4 พ.ค. 66 หุ้น PacWest Bancorp ลดลง 51% แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หลังธนาคารเปิดเผยว่าอาจพิจารณาเพิ่มทุนหรือขายกิจการ, หุ้น Western Alliance Bancorp ลดลง 38% ขณะที่ธนาคารยืนยันสถานะทางการเงินว่ายังไม่ต้องขายกิจการ, หุ้น First Horizon ลดลง 33% ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2551 หลัง Dominion Bank ของแคนาดายุติการเจรจาซื้อกิจการ 

ทางด้านนักวิเคราะห์ Reuters คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve: Fed) อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือน ก.ย. 66 ทั้งนี้วันที่ 3 พ.ค. 66 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ 5.0-5.25% และจะมีการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 13-14 มิ.ย. 66 

คาดว่าราคา ICE Brent ในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 70-80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Joe Biden มีแผนหารือร่วมกับแกนนำรัฐสภา 4 ท่าน ในวันที่ 9 พ.ค. 66 ทั้งฝั่งวุฒิสภา ได้แก่ นาย Chuck Schumer (Democratic Senator - Majority Leader), นาย Mitch McConnell (Senate Republican leader) และฝั่งสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ นาย Kevin McCarthy (Speaker of the House - Republican), และนาย Hakeem Jeffries (House Minority Leader) ในประเด็นการใช้จ่ายงบประมาณ และขยายเพดานหนี้

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- 4 พ.ค. 66 ที่ประชุมธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ (Deposit Facility Rate) มาอยู่ที่ 3.25% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ (Marginal Lending Facility Rate) มาอยู่ที่ 4%

‘ซาอุฯ’ หวังร่วมมือกับ ‘จีน’ ไม่ขอเป็นคู่แข่ง ลุยลงทุน 'ด้านการค้า-พลังงานหมุนเวียน'

📌 (12 มิ.ย. 66) เจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานซาอุดีอาระเบีย เปิดเผยว่า ซาอุดีอาระเบียต้องการความร่วมมือกับจีนให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ในด้านการลงทุนทางการค้าและการไหลเวียนของพลังงาน แทนที่จะแข่งขันกับจีน โดยรับรู้ถึงความเป็นจริงในปัจจุบันว่าขณะนี้จีนกำลังนำอยู่ และจะยังคงเป็นผู้นำต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องแข่งขันกับจีน โดยได้กล่าวกับสำนักข่าวซีเอ็นบีซี ระหว่างการประชุมธุรกิจอาหรับ-จีน เมื่อวันอาทิตย์ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา

เจ้าชายบิน ซัลมาน ได้กล่าวเสริมว่า การทำงานกับจีนนั้นมีคุณค่า เพราะจีนเป็นผู้นำในการหาโรงงานผู้ผลิตที่เหมาะสม โดยเฉพาะในด้านพลังงานหมุนเวียน และจะไม่กลับไปเล่นเกมที่มีฝ่ายใดเป็นผู้ได้หรือเสียอีก

เมื่อต่อข้อคำถาม ทำไมซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกโอเปกจึงได้มุ่งความสนใจไปที่จีน

เจ้าชายบิน ซัลมาน เชื่อว่าอุปสงค์ด้านน้ำมันของจีนยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นเรื่องสำคัญที่ซาอุดีอาระเบียจะต้องคว้าโอกาสนี้ไว้

ทั้งนี้ จีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก และซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันให้จีนมากที่สุดในเดือนเมษายน แม้ว่าน้ำมันรัสเซียที่ถูกคว่ำบาตรจะราคาถูกกว่าก็ตาม

และในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัทซาอุดี อารามโค ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ได้ประกาศข้อตกลงโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ 2 ฉบับ ซึ่งจะส่งออกน้ำมัน 690,000 บาร์เรลต่อวัน ให้กับบริษัทหร่งเซิง ปิโตรเคมิคอล (Rongsheng Petrochemical) และบริษัทเจ้อเจียง ปิโตรเคมิคอล (Zhejiang Petrochemical) โดยข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2565 ที่ผ่านมา

นี่ไม่ได้หมายความว่าซาอุฯ จะไม่ร่วมมือกับประเทศอื่น ยังมีประเทศกลุ่มประเทศอื่นที่ซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์ทางการค้าด้วย ไม่ว่าจะเป็นยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐ และลาตินอเมริกา

อย่างไรก็ตาม การประชุมในกรุงริยาดนั้น จัดขึ้นท่ามกลางความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการทูตของจีนและซาอุดีอาระเบียที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในขณะเดียวกันจีนและซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับชาติตะวันตก
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top