Tuesday, 23 April 2024
Y WORLD

กำหนดการรับสมัครสอบนักเรียนเตรียมทหาร เหล่าตำรวจ ประจำปีการศึกษา 2564

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ประจำปีการศึกษา 2564

ดูรายละเอียดและสมัครทางอินเตอร์เน็ต

????ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม 2564 ????


สมัครได้ทาง http://admission.rpca.ac.th/register/

กำหนดการรับสมัครสอบนักเรียนเตรียมทหาร เหล่าทหารบก ประจำปีการศึกษา 2564

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพบก) ประจำปีการศึกษา 2564

ดูรายละเอียดและสมัครทางอินเตอร์เน็ต

????ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 30 มีนาคม 2564 ????

สมัครได้ทาง http://precadet64.crma.ac.th


ที่มา: https://www.facebook.com/113801546641150/posts/451227559565212/

กำหนดการรับสมัครสอบนักเรียนเตรียมทหาร เหล่าทหารเรือ ประจำปีการศึกษา 2564

โรงเรียนนายเรือ เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพเรือ) ประจำปีการศึกษา 2564

ดูรายละเอียดและสมัครทางอินเตอร์เน็ต

????ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 22 มีนาคม 2564 ????

ลิ้งค์สมัครและข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://admission-rtna.net


ที่มา: https://www.facebook.com/316941331691043/posts/3975975832454223/

รมช. ศึกษาธิการ เร่งสตาร์ท "โครงการวิทย์พลังสิบ" หลัง ครม.อนุมัติ มุ่งสร้างโอกาสเด็กไทยเข้าถึงการเรียนวิทยาศาสตร์แนวใหม่ ลดเนื้อหา เพิ่มการปฏิบัติ สร้างความเท่าเทียมองค์ความรู้พื้นฐาน

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เห็นชอบโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ซึ่งเป็นการดำเนินโครงการระยะ 10 ปี ใช้งบประมาณทั้งหมด 9,000 ล้านบาทว่า จะเริ่มดำเนินโครงการทันทีในปีงบประมาณ 2564 โดยจะใช้งบประมาณ จำนวน 200 ล้านบาท สำหรับการพัฒนาครูในการเตรียมความพร้อม เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้เข้าถึงวิทยศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างทั่วถึง รวมทั้งเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รูปแบบใหม่ลดเนื้อหาด้านวิชาการ และเน้นการเรียนแบบปฏิบัติมากขึ้น เพื่อให้เด็กนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้จริง

เนื่องจากในอนาคตการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมีบทบาทมากขึ้น อีกทั้งยังมีบทบาทต่อวงการอุตสาหกรรม และการเกษตรอย่างก้าวกระโดด จึงริเริ่มโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบนี้ขึ้น โดยโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้คนไทยทั้งประเทศ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ได้ตั้งแต่เด็กเล็ก โดยการเพิ่มพลังวิทยาศาสตร์ จาก 10 คน เป็น 100 คน และจาก 100 คน เป็น 1,000 คน

นอกจากนี้ โครงการนี้ถือเป็นการเพิ่มพลังความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แบบต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายให้คนไทยได้มีพื้นฐานความคิดอย่างเป็นระบบ คิดแบบวิธีวิทยาศาสตร์ ดังนั้น จะมีการต่อยอดเพิ่มการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้น ป.4 – ม.6 โดยมีภาคีเครือข่ายจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มาช่วยเติมเต็มการอบรมให้แก่ครูทั่วประเทศให้สอนในเรื่องนี้ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการเรียนรู้ของเด็กด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในอนาคต

“เบื้องต้นยังไม่สามารถดำเนินการได้ทั่วประเทศ เนื่องจากต้องมีการพัฒนาครู ซึ่งจะเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้มีครูที่เชี่ยวชาญเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในรูปแบบใหม่ ที่วิชาเรียนจะน้อยลง เน้นการปฏิบัติมากขึ้น และเพิ่มเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตทั้งการทำงาน และการใช้ชีวิต ที่ประชุม ครม. ขอให้พิจารณาดำเนินการทุกอย่างให้รอบคอบมากที่สุด” รมช. ศึกษาธิการ กล่าว

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกให้ปี 64 เป็นปีแห่งการเดินหน้ายกระดับภาษาอังกฤษ วางแผนให้ครูมีสมรรถนะความรู้ด้านภาษาอังกฤษ สอดแทรกภาษาอังกฤษในทุกกลุ่มการเรียนรู้วิชาหลัก

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ว่า ในปี 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะยกให้เป็นปีแห่งการเดินหน้ายกระดับภาษาอังกฤษ ของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนสังกัด สพฐ. โดยในส่วนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น ขณะนี้ สพฐ.ได้กำหนดกรอบสมรรถนะไว้ ว่า

ครูผู้สอนจะต้องมีพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับ A และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานความรู้ภาษาอังกฤษจะต้องอยู่ในระดับ B ตามตัววัดมาตรฐานสากล หรือ The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR)

โดยขณะนี้ สพฐ.อยู่ระหว่างการวางแผนให้ครูมีสมรรถนะความรู้ด้านภาษาอังกฤษ เพื่อให้เข้ารับการพัฒนาหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจะมีกระบวนการทดสอบสมรรถนะให้แก่ข้าราชการครู จากนั้นจะมีการไต่ระดับสมรรถนะด้านภาษา รวมถึงจะนำภาษาอังกฤษมากำหนดเป็นค่าคะแนนให้ครูใช้เลื่อนวิทยฐานะด้วย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ด้านภาษาให้แก่ครูมากขึ้น ดังนั้นต่อไปนี้ครูทุกคนจะต้องมีทักษะภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น

"ส่วนตัวผู้เรียนจะเริ่มฝึกการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยด้วยการสื่อสารภาษาคำศัพท์ที่เข้าใจง่าย เพราะต้องยอมรับว่าโลกยุคนี้คงไม่สามารถเรียนรู้ภาษาไทยได้เพียงภาษาเดียวแล้ว ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องส่งเสริมการสื่อสารภาษาอังกฤษในโรงเรียนให้มากขึ้น ซึ่งผมจะกำหนดให้โรงเรียนขับเคลื่อนการสื่อสารภาษาอังกฤษในโรงเรียนอย่างเข้มข้น อีกทั้งครูผู้สอนจะต้องสอดแทรกภาษาอังกฤษในทุกกลุ่มการเรียนรู้วิชาหลักด้วย"เลขาฯ กพฐ.กล่าว


ที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/93107?fbclid=IwAR3G4kD5MLmbw6MfoLL7c7gpVk2vE11BM5rRq---tBTDjBgf1k-D61x5CoU

ทำไม?? เด็กเก่งแถวหน้าประเทศ จึงดั้นด้นมาแข่งขันสอบเข้า ม.4 เรียนม.ปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผู้ปกครองยอมทุ่มเททุนหลักแสน หรือหลักล้าน ในการกวดวิชา และหาช่องทาง...มาคุยกัน

จากการที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โชว์สถิติ ม.6 เลือกเรียนต่อแพทยศาสตร์ อันดับ 1 ปีละเกือบ 500 คน และคณะอื่น ๆ แนวหน้าชั้นนำ มหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ประเทศ

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เปิดเผยสถิติผลการเรียนต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 ที่เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2563 แบ่งเป็นสถิติการศึกษาต่อในคณะต่าง ๆ สูงสุด 10 คณะ พบว่าคณะและมหาวิทยาลัยที่นักเรียนชั้นม.6 เข้าศึกษาต่อ มีดังนี้

คณะที่นักเรียนเตรียมอุดมศึกษา เลือกเรียนมากสุด 10 อันดับ

อันดับหนึ่ง คณะแพทย์ศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 34.36 นับเป็นจำนวนคนสูงถึง 484 คน

อันดับสอง คณะด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ 160 คน คิดเป็นร้อยละ 11.36

อันดับสาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ 143 คน หรือร้อยละ 10.15

อันดับสี่ คณะอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ 120 คน คิดเป็นร้อยละ 8.52

อันดับห้า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี/เศรษฐศาสตร์/บริหาร 112 คน คิดเป็นร้อยละ 7.95

อันดับหก คณะนิเทศศาสตร์/วารสารศาสตร์/ศิลปกรรมศาสตร์ 79 คน คิดเป็นร้อยละ 5.60

อันดับเจ็ด คณะทันตแพทย์ศาสตร์ 76 คน คิดเป็นร้อยละ 5.35

อันดับแปด คณะ เภสัชศาสตร์ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.13

อันดับเก้า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 21 คน คิดเป็นร้อยละ 1.49

อันดับสิบ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ 14 คน คิดเป็นร้อยละ 0.99

อันดับสิบเอ็ด คณะอื่น ๆ และศึกษาต่างประเทศ ทุน และส่วนตัว 115 คน คิดเป็นร้อยละ 8.16

อันดับสิบสอง Gab Year 55 คน คิดเป็น ร้อยละ 3.90

ทั้งนี้ จากจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,409 คน

.

ส่วนมหาวิทยาลัยที่นักเรียนไปเรียนต่อ

อันดับหนึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 716 คน คิดเป็นร้อยละ 50.82 คน

อันดับสอง มหาวิทยาลัยมหิดล 213 คน คิดเป็นร้อยละ 15.11

อันดับสาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 154 คน คิดเป็นร้อยละ 10.93

อันดับสี่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 53 คน คิดเป็นร้อยละ 3.77

อันดับห้า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 24 คน คิดเป็นร้อยละ 1.703

อันดับหก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 19 คน คิดเป็นร้อยละ 1.35

อันดับเจ็ด มหาวิทยาลัยขอนแก่น 11 คน คิดเป็นร้อยละ 0.78

อันดับแปด มหาวิทยาลัยศิลปากร 10 คน คิดเป็นร้อยละ 0.70

อันดับเก้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 9 คน คิดเป็นร้อยละ 0.64

อันดับสิบ เป็นมหาวิทยาลัยอื่นๆ และศึกษาต่างประเทศ เอกชน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 10.30

อันดับสิบเอ็ด Gab Year 55 คน คิดเป็นร้อยละ 3.90

ทั้งนี้ จากจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,409 คน

.

ประเภททุนต่างประเทศที่มีชื่อเสียง และได้รับความนิยม ที่นักเรียนเตรียมอุดมได้เลือกไปเรียนเป็นจำนวนมากทุกปี และสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

1. ทุนเล่าเรียนหลวง 6-9 ทุน จาก ทั้งหมด 9 ทุนทุกปี

2. ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย 1-3 ทุน จากทั้งหมด 3 ทุนทุกปี

3. ทุนวิวัฒน์ไชยนุสรณ์ปีละ 1 ทุนได้แทบทุกปี

4. ทุนกระทรวงต่างประเทศ ได้เป็นจำนวนหลายทุนทุกปี

5. ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับทุนหลายทุนทุกปี

6. ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น Monbugakagusho ( MEXT) ได้หลายทุนทุกปี

และทุนต่างประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย

จากสถิติ ทั้งการเข้าเรียนต่อคณะในฝันของเด็กไทย และความสนใจของผู้ปกครอง มหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ การเป็นตัวแทนประเทศในรายการแข่งขันระดับโลก และความสำเร็จในการงานหลังจบการศึกษามา

สิ่งเหล่านี้จึงเป็นตัวกระตุ้นและความคาดหวัง ทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง ให้ได้มีโอกาสเข้ามาสู่สังคมการศึกษาในโรงเรียนที่ดีอันดับหนึ่งของประเทศ..นั่นคือ เตรียมอุดมศึกษา

ตอนที่ 2 จะมาคุยกันต่อว่า เตรียมตัวล่วงหน้าอย่างไร เพื่อเข้าเรียนม.ปลาย เตรียมอุดมให้ได้ ในสายการเรียนที่เป็นความฝัน


โดย AodDekTai คุณพ่อผู้สนใจการศึกษาไทยและต่างประเทศ

อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก งานแนะแนวโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จับมือ สมุทรสาคร เดินหน้า "ศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤติการศึกษาหรือ Smart Refer" รับมือวิกฤตการเรียนรู้ถดถอย-หลุดนอกระบบ พัฒนาสู่สมุทรสาครโมเดล

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จับมือ สมุทรสาคร เดินหน้า "ศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤติการศึกษาหรือ Smart Refer" รับมือวิกฤตการเรียนรู้ถดถอย-หลุดนอกระบบ พัฒนาสู่สมุทรสาครโมเดล

นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวถึงสถานการณ์การปิดเรียนของจังหวัดว่า สมุทรสาครยังคงเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด แม้ว่าสถานการณ์การระบาดจะดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังคงต้องประเมินรายวัน จึงจำเป็นต้องปิดโรงเรียนมาตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 และให้มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยมอบหมายศึกษานิเทศคอยติดตามประเมินว่าการเรียนออนไลน์ได้ผลมากน้อยอย่างไร

อย่างไรก็ตามพบว่ามีเด็กบางกลุ่มที่เข้าไม่ถึงอุปกรณ์เทคโนโลยี ซึ่งได้แจ้งให้ศึกษาธิการจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา หากพบว่ามีเด็กคนใดต้องการเครื่องมืออุปกรณ์ เน้นเฉพาะรายที่ไม่มี ขาดแคลนจริงๆ เมื่อมีการร้องขอเข้ามา ทางจังหวัดยินดีที่จะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อดูแลเด็กและเยาวชนในจังหวัดสมุทรสาครของเรา

นายธีรพัฒน์ กล่าวว่า “การจัดการเรื่องนี้ ต้องพิจารณาหลาย ๆ ส่วนร่วมกันทั้ง ด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และเรื่องการศึกษา ก็เป็นส่วนสำคัญ ต้องทำ ๆ ทุกอย่างในเวลาเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตอนนี้บุคลากรทางการศึกษาทั้งหมดรับทราบสถานการณ์ แต่ยังมีความจำเป็นไม่ให้เด็กเจอกัน เกรงว่าปัญหาการระบาดจะเกิดขึ้น ทางจังหวัดสมุทรสาครได้เตรียมประชุมร่วมกันกับหน่วยงานทางการศึกษาทั้งหมดเพื่อรับทราบข้อมูล และลงทำงานในพื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมถึงเด็กทุกคน”

“เป็นเรื่องที่ดีที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้เข้ามาร่วมช่วยกับจังหวัดสมุทรสาคร ฉะนั้นเด็กนักเรียนยากจนพิเศษก็จะได้รับการดูแลจากจังหวัด และจากความร่วมมือจาก กสศ. ต้องขอขอบคุณ กสศ. ที่เข้ามาช่วยจังหวัดสมุทรสาคร และทุกฝ่ายที่ให้ความสนใจเรื่องการศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งช่วยให้สามารถชดเชยสิ่งที่ขาดหายไปสำหรับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส ให้ได้มีสิทธิและความเท่าเทียมกับเด็กคนอื่น ๆ เพราะอย่างไรก็ตามพวกเขาคือต้นกล้าต้นหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ”

ด้าน นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า จากการประเมินผลกระทบการปิดโรงเรียนที่ยาวนานในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า กลุ่มเด็กนักเรียนยากจนด้อยโอกาสกำลังเผชิญวิกฤตทางการศึกษา 2 ด้าน คือ

1.) การไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาในช่วงล็อคดาวน์เพราะขาดอุปกรณ์จึงส่งผลให้เกิดภาวะความรู้ถดถอย (learning loss) และ

2.) มีแนวโน้มที่เด็กและเยาวชนยากจนด้อยโอกาสเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษาเพิ่มขึ้น

เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว กสศ.ได้ประสานจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อนำกลไกศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาหรือ smart refer ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในคณะกรรมการบริหารกสศ. เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข เข้ามาสนับสนุนการช่วยเหลือเด็กยากจนด้อยโอกาสที่ประสบกับภาวะวิกฤติทางการศึกษา โดยการทำงานจะแบ่งเป็น 2 ระยะ

1.) ระยะวิกฤต ประคับประคองเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ให้ได้รับการช่วยเหลือตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทันสถานการณ์ และ

2.) ระยะฟื้นฟู จัดทำโปรแกรมการช่วยเหลือดูแลรายคนให้สามารถกลับเข้าสู่ภาวะวิถีปกติทางการศึกษาหรือได้รับการศึกษาตามสภาพปัญหาของแต่ละคนต่อไป

ทั้งนี้สามารถแจ้งความช่วยเหลือได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 079 5475 ต่อ 8

การที่กสศ.ริเริ่มศูนย์ smart refer นี้ขึ้น เพื่อปิดช่องว่างไม่ให้เด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤตทางการศึกษาคนใดตกหล่น ในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ โดยเริ่มต้นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่แรก เพื่อพัฒนาให้เป็นสมุทรสาครโมเดล ก่อนขยายการทำงานต่อไป


ที่มา: https://www.komchadluek.net/news/government-of-thailand/458223

หลายคนสงสัยว่าโรงเรียนนานาชาติกับการเรียน English Program นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร? เพราะทั้งสองหลักสูตรก็เน้นการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษเหมือนกัน จะเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรนั้น ไปดูกัน!

โรงเรียนนานาชาติ

- ข้อมูลทั่วไป

ในโรงเรียนนานาชาติ หลักสูตรที่ใช้เรียนจะเป็นหลักสูตรจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร British, US, IB, Singapore และอื่นๆ การเรียนการสอนจะเป็นการเรียนกับครูต่างชาติหรือครูเจ้าของภาษาที่เป็น Native Speaker ค่าใช้จ่ายสูง โดยค่าใช้จ่ายนั้นหลักแสนถึงหลักล้านต่อเทอม

- การเรียนในระดับชั้นอนุบาล, ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

จะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 100% แต่จะมีภาษาไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 คาบ นักเรียนในห้องมีประมาณ 10-20 คน การประเมินผลการเรียนนั้นจะประเมินตามหลักสูตรที่เรียน หากเรียนเป็นหลักสูตรอังกฤษ จะต้องสอบ IGCSE และ A-level, หากเป็นหลักสูตรอเมริกาจะต้องสอบ IB เป็นต้น โดยเด็กจะสามารถเลือกลงวิชาตามที่ตัวเองชอบและถนัดได้

- จุดเด่นของการเรียนโรงเรียนนานาชาติ

การเรียนในโรงเรียนนานาชาติ ภาษาอังกฤษและภาษาที่สามจะค่อนข้างแน่น ภาษาไทยอ่านออกเขียนได้แต่อาจจะไม่คล่อง ไม่แน่นมาก นอกจากนี้ในโรงเรียนนานาชาติจะมี Facility ต่าง ๆ ค่อนข้างเพียบพร้อม เช่น ห้องสมุดที่ดี ห้องซ้อมดนตรีและอุปกรณ์ดนตรีต่างๆ ห้องแสดงละคร Art gallery สำหรับให้เด็กสร้างสรรค์และแสดงผลงาน ห้องคอมพิวเตอร์และห้องแลปสำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เป็นต้น ที่สำคัญ เด็กในโรงเรียนนานาชาติจะได้เปรียบในการไปเรียนต่อต่างประเทศในระดับมหาวิทยาลัย

English Program

- ข้อมูลทั่วไป

หลักสูตรของ English Program นั้นจะเป็นหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเหมือนโรงเรียนหลักสูตรไทย การเรียนการสอนจะเรียนทั้งกับครูเจ้าของภาษาและครูที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ในส่วนของค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าการเรียนในโรงเรียนนานาชาติ โดยค่าใช้จ่ายนั้นจะอยู่ที่หลักหมื่นต่อเทอม

- การเรียนในระดับชั้นอนุบาล, ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

ในระดับอนุบาลจะเรียนเป็นภาษาอังกฤษประมาณ 50% และภาษาไทยประมาณ 50% ในระดับชั้นประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมนั้นจะสอนเป็นภาษาอังกฤษในวิชา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา ส่วนในวิชาอื่นๆ จะสอนเป็นภาษาไทย เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฏหมายไทย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย นักเรียนในห้องจะไม่เกินห้องละ 30 คน การประเมินผลจะเหมือนกับนักเรียนไทยและจะมีการสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL , IELTS หรือ TOEIC ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด

- จุดเด่นของการเรียน English Program

ในการเรียน English Program ค่าเทอมจะเป็นมิตรกับผู้ปกครองมากกว่าการเรียนในโรงเรียนนานาชาติ ภาษาไทยจะคล่องและแน่น ภาษาอังกฤษแข็งแรงแต่อาจจะไม่เท่ากับเด็กที่เรียนในโรงเรียนนานาชาติ ส่วนในด้านการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย จะสามารถเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศภาคภาษาไทยได้ง่ายกว่าเด็กนานาชาติ


ขอบคุณที่มา: https://www.facebook.com/1403037013276211/posts/2782927105287188/

HSK คือ การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนมาตรฐานสากลสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง เพื่อวัดความสามารถในการนำภาษาจีนไปใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงานและการเรียน

รวมรายชื่อ 14 สถาบันจัดสอบ HSK ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด

1. สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

https://www.chula.ac.th/academic/confucius-institute/

2. สถาบันขงจื่อแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา http://cibsru.th.chinesecio.com/node

3. สถาบันขงจื่อแห่งมหาวิทยาลัยบูรพา

http://confucius.buu.ac.th/th/?page_id=180

4. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

https://clc.hcu.ac.th/index.php

5. ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

https://sclc.mfu.ac.th/sclc-home.html

6. วิทยสถานแห่งวัฒนธรรมตะวันออก (OCA)

http://www.ocanihao.com/index.php?route=common/home

7. สถาบันขงจื่อแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

https://confucius.human.ku.ac.th/

8. สถาบันขงจื่อแห่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิตสุพรรณบุรี

https://ilac.dusit.ac.th/2020/10/3433.html/

9. โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิง วาณิชย์บำรุง จังหวัดเชียงใหม่

http://www.chongfah.ac.th/?p=87988

10. สถาบันขงจื่อแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

http://www.ci.cmu.ac.th/tha/index.php

11. ศูนย์สอบสถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

https://confucius.kku.ac.th/home/th/

12. สถาบันขงจื่อแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

https://www.psu.ac.th/th/node/614

13. มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปีกกิ่ง กรุงเทพฯ

http://www.blcubangkok.com/detailblcubangkok.php?qno=1

14. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

http://www.rbru.ac.th/


ขอบคุณที่มา: https://www.facebook.com/101346805058193/posts/215189883673884/

ประกาศโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เรื่อง การปิดที่ทำการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19

ประกาศโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เรื่อง การปิดที่ทำการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19

ม.เกษตรศาสตร์ ทุ่มงบกว่า 300 ล้านบาท ให้ความช่วยเหลือนิสิตอย่างต่อเนื่อง ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการศึกษา มอบทุน จัดระบบให้บริการสนับสนุนการเรียนการสอนและการสอบออนไลน์ ออกมาตรการยกเว้นและลดหย่อนค่าหอพักแก่นิสิต ทุกวิทยาเขต

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความห่วงใยและคำนึงถึงความปลอดภัยของนิสิตและบุคลากรในสถานการณ์ที่ยังมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 แม้ว่าขณะนี้ในภาพรวมของประเทศ ได้มีนโยบายผ่อนคลายมาตรการและแนวทางการปฏิบัติต่าง ๆ แล้วก็ตาม

มหาวิทยาลัยตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของนิสิต อาจารย์ บุคลากรและผู้ปกครองในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือนิสิตและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก ดังนี้

มาตรการที่หนึ่ง การลดหย่อนค่าธรรมเนียมการศึกษา และให้ทุนการศึกษา ในภาคฤดูร้อน ภาคต้น และภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 รวมเป็นเงินจำนวน 237,331,307.30 บาท ได้แก่ การลดหย่อนค่าธรรมเนียมการศึกษาร้อยละ 10 หรือมากกว่า ระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ภาคฤดูร้อน และ ภาคต้น ปีการศึกษา 2563 เป็นเงิน 147,012,540 บาท ทุนช่วยเหลือนิสิตช่วงโควิด-19 ภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 939 ทุน ทุนละ 10,000 บาท เป็นเงิน 9,390,000 บาท ทุนการศึกษา ทั้งภาคต้นและภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 เช่น ทุนการศึกษาผ่านกองกิจการนิสิต ทุนการศึกษาโครงการเรียนล่วงหน้า ทุนการศึกษาจากสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเงิน 80,928767.30 บาท

มาตรการการที่สอง การจัดระบบให้บริการสนับสนุนการเรียนการสอนและการสอบออนไลน์ และปรับลดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในภาคต้นและภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 แก่นิสิตและอาจารย์ รวมเป็นเงินจำนวน 23,079,638.40 บาท ได้แก่ สนับสนุนและจัดหาซิมการ์ดอินเทอร์เน็ต แก่นิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 2,000 คน เป็นเงิน 550,000 บาท จัดหา iPad ราคา education จำนวน 170 เครื่อง สนับสนุนและพัฒนาระบบการเรียนการสอนและการสอบออนไลน์ เช่น ระบบ KU Learn ,KU- LAM ปรับปรุงห้องเพื่อการสอบ Walk-in Exam เป็นเงิน 22,039,638.40 บาท ออกเอกสารรับรองทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล และพัฒนาระบบรับคำร้องออนไลน์ เป็นเงิน 490,000 บาท ยกเว้นค่าปรับและค่าธรรมเนียมที่มีเหตุผลจำเป็น เช่น การลงทะเบียนล่าช้า,การขยายเวลาผ่อนผันชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา จำนวน 1,446 คน

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัย ยังได้ออกมาตรการยกเว้นและลดหย่อนค่าหอพักแก่นิสิต ทุกวิทยาเขต สำหรับบางเขน ในช่วงเดือน เมษายน–ธันวาคม 2563 มีจำนวน 1,690 คน เป็นเงิน 12,857,200 บาท และเร่งดำเนินการช่วยเหลือนิสิต บัณฑิต ผู้ปกครอง และ บุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด -19 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจ โดยการจ้างงาน ให้ทำงาน ในส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะที่ 1-2 ในช่วงเดือน มิถุนายน - กันยายน 2563 จำนวน 592 อัตรา เป็นเงิน 16,299,000 บาท และระยะที่ 3 โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563–ธันวาคม 2564 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ ได้รับงบประมาณเพื่อจ้างงานสูงสุด 140 ตำบล 66 อำเภอ 27 จังหวัด 2800 อัตรา วงเงิน 487,620,000 บาท

"มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความห่วงใยและพร้อมให้การช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่นิสิตและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง และกำชับทุกหน่วยงานของมก.จัดระบบให้บริการและอำนวยความสะดวกในเรื่องการเรียนการสอน และการสอบออนไลน์อย่างเต็มที่ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หากนิสิตมีปัญหาต้องการคำแนะนำในด้านจิตวิทยา การปฏิสัมพันธ์ การใช้ชีวิตวิถีใหม่ฯ เรามี KU Happy Place หรือ หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตและให้คำปรึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง เราจะต้องปรับตัวและอยู่ร่วมกับสถานการณ์โควิด-19 นี้ให้ได้ ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนร่วมกันผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกันและใช้ชีวิตในวิถีปกติใหม่ให้เร็วที่สุด" ดร.จงรัก กล่าว


ที่มา: https://siamrath.co.th/n/219727

มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในไทย ประจำปี 2021 จัดอันดับโดย QS World University Rankings

การจัดอันดับ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก โดย QS หรือ Quacquarelli Symonds ซึ่งเป็นผู้ให้บริการการวิเคราะห์และข้อมูลเชิงลึกชั้นนำของโลกสำหรับภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วโลก ซึ่งครั้งนี้เป็นการรวบรวมรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในไทย ประจำปี 2021 มีมหาวิทยาลัยไหนบ้าง ไปดูกัน!

1.) อันดับ 208 ของทั้งโลก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.) อันดับ 252 ของทั้งโลก มหาวิทยาลัยมหิดล

3.) อันดับ 561-570 ของทั้งโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4.) อันดับ 601-650 ของทั้งโลก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5.) อันดับ 801-1000 ของทั้งโลก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

6.) อันดับ 801-1000 ของทั้งโลก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

7.) อันดับ 801-1000 ของทั้งโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

8.) อันดับ 801-1000 ของทั้งโลก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ขอบคุณที่มา :

https://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2021

https://www.sanook.com/campus/1402911/

นักเขียนรุ่นใหม่ไฟแรง ใฝ่ฝันทำสื่อสร้างสรรค์สังคม 'สรวง สิทธิสมาน' | Click on Clever EP.2

จากการอบรมบ่มเพาะของครอบครัวนักเขียน นักสื่อสารมวลชน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะเล่าเรื่องผ่านงานเขียน จากมุมมองของตัวเองตั้งแต่อายุ 17 ปี

วันนี้ "สรวง สิทธิสมาน" พร้อมส่งต่อพลังสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น แบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

ทำความรู้จักกับนักเขียนหนุ่มไฟแรงคนนี้ได้เลยค่ะ

.

 

 

รักภาษาอะไร?! บอกรักยังไงให้แฟนงง 7 ภาษาบอกรักจากทั่วโลก

วาเลนไทน์ทั้งที ก็ต้องมีโมเมนต์หวานเอาใจคนมีความรักกันสักหน่อย แต่จะให้บอก ‘ฉันรักคุณ’ แบบธรรมดาก็อาจจะเชยไป วันนี้เรามีภาษาบอกรักแบบอินเตอร์ส่งตรงจากประเทศต่าง ๆ มาฝาก บอกเลยว่าคัดมาแต่ภาษาแปลก ๆ รีบไปฝึกออกเสียงให้ดี แล้วพุ่งไปบอกคนที่คุณรักในวันวาเลนไทน์นี้ได้เลยยยย

ทำความรู้จักกับ ‘Music Medication’ เพราะเรียนดนตรีไม่ใช่แค่เรื่องของเด็ก บทสัมภาษณ์จากประสบการณ์ตรงของครูสอนเปียโนและนักอรรถบำบัด ที่สอนได้ตั้งแต่เด็กเล็ก เด็กพิเศษ วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ไม่เว้นแม้วัยสูงอายุ (ตอนที่ 2)

จากบทสัมภาษณ์ครูส้ม ตอนที่ 1 เราทิ้งท้ายไว้ว่า การเรียนดนตรีสำหรับผู้ใหญ่ ก็น่าสนใจไม่แพ้กับการเรียนดนตรีของเด็กๆ แต่เหตุผลในการเล่นดนตรี และการเรียนนั้นต่างกันออกไปตามช่วงวัยที่ต่างกัน

สอนดนตรีผู้ใหญ่เป็นยังไงบ้างคะ ทำไมเค้ามาเรียนกัน?

นักเรียนที่เป็นผู้ใหญ่ วัตถุประสงค์หลักของเค้าคือคลายเครียด และโดยพื้นฐานเค้าจะมีความชอบดนตรีอยู่แล้ว มีร้องเพลงบ้าง เรียนเปียโนบ้าง อายุที่มาเรียนก็ประมาณ 30 ปีจนถึง 80 ปี

การเรียนดนตรีของผู้ใหญ่เป็นไงบ้าง แตกต่างจากการเรียนของเด็กมั้ย?

การสอนดนตรีของผู้ใหญ่สำหรับผู้สอนจะท้าทายหน่อย เพราะผู้ใหญ่มีความคาดหวังสูง เค้าได้ยินเพลงมาเยอะ เค้าอยากเล่นเพราะ ๆ ให้ได้เหมือนนักดนตรีที่เค้าชื่นชอบ อย่างโชแปงหรือบีโทเฟน แต่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้ใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาซ้อมเนื่องจากงานหรือภาระต่าง ๆ ผู้ใหญ่จะใจร้อนกว่า คิดเยอะ วิเคราะห์เยอะ แต่เอาจริง ๆ แล้วกล้ามเนื้อยังไม่พร้อม ความคิดกับทักษะที่มียังไม่บาลานซ์กัน

ส่วนเด็กเค้าจะพอใจง่ายเมื่อเค้าเล่นโน้ตได้ไม่กี่ตัว สำหรับเด็กแค่เล่นเพลงหนูมาลีได้ก็ดีใจแล้ว มีความสุขแล้ว แต่ผู้ใหญ่ก็ยังมีข้อดีอีกอย่าง คือผู้ใหญ่จะมีแพชชั่นมากกว่าเด็ก ตั้งใจกว่าพยายามเยอะกว่าไปได้เร็วกว่าถ้าเค้าซ้อม ถ้าขยันเล่นแปบเดียวก็เป็นเพลงแล้ว มีข้อจำกัดนิดหน่อยเรื่องมือสวยซึ่งเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ต้องแยกระหว่างเล่นเป็นกับเล่นเพราะ บอกตามตรงเลยคือผู้ใหญ่เล่นเป็นเร็วแต่จะเล่นเพราะช้ากว่าเด็กหน่อย มันเป็นเรื่องเทคนิค เรื่องกล้ามเนื้อ ส่วนเด็กเล่นเป็นช้าแต่ซ้อมสม่ำเสมอก็จะเล่นได้เพราะเอง

 

สิ่งหนึ่งที่ส้มเห็นเลย คือผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเรียนดนตรีมาก่อน เค้าจะได้เจอกับมิติที่ไม่ใช่การทำงาน เป็นมิติของความผ่อนคลาย เหมือนเป็นอีกโลกหนึ่งที่ไม่ต้องคิดเรื่องงาน ปล่อยให้อารมณ์พาไปสู่ความรู้สึกสงบ ต่อให้ยังเล่นไม่เป็นเพลงก็เข้าถึงความสงบได้

แบบนี้เรียกว่า music medication คือดนตรีเพื่อลดหรือบรรเทาอาการเครียด ช่วยให้จิตใจได้ผ่อนคลาย คนละอันกับ music therapy คนไทยอาจเข้าใจสับสนได้ ในภาษาไทยเราชอบใช้คำว่าบำบัด แต่ในภาษาอังกฤษ บำบัด คือคำว่า therapy ซึ่งต้องเป็น therapist หรือนักบำบัดเท่านั้น ส้มจะเลี่ยงใช้คำว่าบำบัด จะไม่เคลมว่าเป็นนักดนตรีบำบัด บ้านเราจะใช้คำว่าบำบัดทั้งในทางการแพทย์และในทางเพื่อผ่อนคลาย อย่างไรก็แล้วแต่ ประโยชน์ที่ทุกคนจะได้แน่ ๆจากดนตรีก็คือช่วยผ่อนคลายช่วยบรรเทาความเครียด

แปลว่าที่ผู้ใหญ่มาเรียนดนตรีเค้ามาเพื่อความผ่อนคลาย?

ใช่ค่ะ ผู้ใหญ่ชัดเจนมาก มาเพื่อผ่อนคลาย มาเรียนร้องเพลงบ้าง เรียนเปียโนบ้าง หรือบางคนเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้สมองเสื่อม ส่วนเด็กมาเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ นอกจากนั้นสิ่งที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่รู้แต่ได้กลับไปหลังจากมาเรียนดนตรี คือพ่อแม่ที่เล่นดนตรีจะช่วยให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกได้ ต่างจากพ่อแม่ที่อยากเรียนแต่กลับส่งลูกไปเรียนแทน ซึ่งถ้าลูกเค้าไม่ได้อยากเรียนเหมือนเรา ลูกจะรู้สึกถูกบังคับถูกกดดัน เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดี เป็น negative feeling

แต่ถ้าพ่อแม่มาเรียนดนตรีด้วยตัวเองจะช่วยให้พ่อแม่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก คุยเรื่องดนตรีด้วยกันกับลูก พอลูกเห็นเราเล่นดนตรีแล้วรู้สึกสนใจ ลูกก็อยากเรียนกับเราอยากเล่นกับเราไปด้วย เกิด positive feeling เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในครอบครัว

ฉะนั้น พ่อแม่ที่สนใจอยากเรียนดนตรีอยู่แล้วควรมาเรียนด้วยตัวเองจะดีกว่า ได้ทั้งผ่อนคลาย ได้เรียนอะไรใหม่ ๆ และได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวไปด้วย

หากใครกำลังคิดจะเริ่มเรียนดนตรี ครูส้มมีวิธีในการเลือกเครื่องดนตรีให้เหมาะกับเรามั้ย?

เลือกจากเสียงเครื่องดนตรีที่เราชอบฟัง เสียงเพลงที่เราชอบฟัง ลองสังเกตว่าเพลงนี้ใช้เครื่องดนตรีอะไรเล่นนะ

 

อยากให้ครูชักชวนคนที่กำลังตัดสินใจมาเรียนดนตรีหน่อย?

ถ้าชอบ มีตังค์ มีเวลา ทำเลย ไม่ต้องกลัว  อะไรที่ทำแล้วมีความสุขทำเลย ส้มมองว่าการคิดว่าอายุเยอะแล้ว แก่แล้วทำไม่ได้หรอกมันเป็นเรื่องทัศนคติ แค่ได้เริ่มเราจะรู้ว่าเราทำได้ ส้มไม่ขายฝันนะ ไม่ง่ายนะ ลองทำสิ่งที่ท้าทายตัวเอง การเล่นดนตรีทำให้เราหลั่งสารอะดรีนาลีนในตอนที่เรากำลังเล่นท่อนนั้นท่อนนี้ อารมณ์เหมือนเรากำลังเล่นเกมเก็บเลเวล พอเล่นได้มันจะฟินนาเล่มาก

อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะเสริม คือวัตถุประสงค์หลักของดนตรีคือการได้ผ่อนคลาย ถ้าเราเรียนดนตรีเพื่อไว้โชว์ความสามารถก็ทำได้ แต่มันทำให้เรากลัวที่จะเล่น และความสุขของเราจะไปอยู่แค่ตอนที่เราเล่นได้สำเร็จ ซึ่งจริง ๆความสุขมันเกิดขึ้นตั้งแต่ได้เล่นแล้ว

สุดท้าย ครูมีอะไรอยากจะฝาก?

เราพูดถึงเด็กกับผู้ใหญ่ไปแล้ว ยังไม่ได้พูดถึงนักเรียน นักศึกษา ส้มฝากถึงนักเรียน นักศึกษา ถ้าใจรักจะเป็นนักดนตรีต้องเริ่มจริงจังตั้งแต่เด็ก เก็บไว้แต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่เบบี๋ นี่คือประสบการณ์ตรงของส้มเลย ซึ่งส้มว่ามันสำคัญที่จะแบ่งปัน ถ้าคิดว่าไม่ต้องรีบฝึกหนักก็ได้ในตอนที่เรายังเป็นนักเรียนแล้วมัวทำตามสังคมที่นิยมไปเรื่อย ๆ ทำสิ่งที่คนอื่น ๆ ว่าดี ทั้ง ๆ ที่เราก็ชอบดนตรี พอเรียนจบเราต้องทำงาน มีความรับผิดชอบด้านอื่น มีภาระตามมา พอเราโตแล้วเรารู้ว่าดนตรีคือส่วนหนึ่งของเรา มันจะไม่ทันแล้ว

การเป็นนักดนตรีมืออาชีพกับการเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายเพื่อความสุขมันคนละเรื่องกัน สำหรับคนเป็นนักดนตรี การเล่นดนตรีคือข้าว อาหารที่เราต้องกินทุกวัน ฉะนั้น ถ้าคิดจะเลือกเป็นนักดนตรีต้องตัดสินใจให้ดีและฝึกฝน นักเรียน นักศึกษาควรคำนึงถึงตรงนี้และวางแผนให้ดีด้วย

มีกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดหลากหลายวิธีให้เราเลือก แล้วแต่ความชอบความสะดวกของแต่ละบุคคล  หากการเล่นดนตรีนอกจากจะให้ความเพลิดเพลินความผ่อนคลายแล้วยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวได้ และยังเสริมสร้างวินัยแก่ผู้เรียนดนตรีอีกด้วย

การเรียนดนตรีน่าจะเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สมควรรับไว้พิจารณาในช่วงที่เราเริ่มมีเวลา เปิดโอกาสตัวเองให้ได้ลองสัมผัสกับอีกมิติที่ครูส้มบอกทิ้งไว้ว่า มันคืออีกโลกแห่งความสงบของคนเป็นผู้ใหญ่ โลกที่ยังมีอะไรที่ไม่ใช่เพียงการทำงาน


ขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์ ครูส้ม ณัจยา อร่ามกุล

เขียนและเรียบเรียงเรื่องโดย: พิมพ์นารา สุวรรณไตรย์

Credit: เพจ The Study Times


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top