Sunday, 12 May 2024
WORLD

อดีตนายกฯ ญี่ปุ่น ตำหนิสื่อวิจารณ์แต่ ‘ปูติน’ ทั้งนี้ ‘เซเลนสกี’ มีส่วนทำให้คนยูเครนทุกข์ทรมาน

ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ทำให้ประชาชนในประเทศของเขา ‘ทุกข์ทรมาน’ จากความเห็นของ ‘โยชิโร โมริ’ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น พร้อมตำหนิสื่อมวลชนแดนปลาดิบมีความลำเอียงในการรายงานข่าวความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน

“ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมีแต่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ส่วน เซเลนสกี ไม่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ นี่คือปัญหา เซเลนสกีทำประชาชนยูเครนจำนวนมากทุกข์ทรมาน” โมริ กล่าวระหว่างร่วมกิจกรรมทางการเมืองหนึ่งในกรุงโตเกียวเมื่อวันศุกร์ (18 พ.ย.) ตามรายงานของเกียวโดนิวส์

“สื่อมวลชนญี่ปุ่นลำเอียงเข้าหาฝ่ายหนึ่ง พวกเขาอยู่ภายใต้อิทธิพลรายงานข่าวจากตะวันตก ผมไม่อาจช่วยได้ แต่รู้สึกแค่ว่าพวกเขาพึ่งแต่รายงานข่าวจากยุโรปและอเมริกาเท่านั้น” โมริ ระบุ

นอกจากนี้ โมริ ยังวิพากษ์วิจารณ์จุดยืนของ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่นในความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ว่าลำเอียง และเอนเอียงเข้าหาสหรัฐฯ

น่าปลื้มใจ!! สื่อจีนเผย ‘ละคร-อาหาร-ชุดไทย’ ดึงดูดคนจีนรุ่นใหม่ให้หลงใหลใน ‘วัฒนธรรมไทย’

สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการของจีน ได้เผยเรื่องราวเกี่ยวกับเทรนด์ความสนใจของคนจีนรุ่นใหม่ว่า ปัจจุบันนี้มีความสนใจและชอบในวัฒนธรรมไทยมากขึ้น ผลมาจากการได้ดูละครและชิมอาหารไทย

สำนักข่าวซินหัว ได้เผยข้อมูลว่า ปัจจุบันวัฒนธรรมไทยอันมีเสน่ห์ได้ดึงดูดใจวัยรุ่นชาวจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างจีน-ไทย ที่นับวันจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

“ถ้ามีโอกาสนะ ฉันจะไปเที่ยวกรุงเทพฯ ลองชิมต้มยำกุ้งรสต้นตำรับ สวมชุดไทยแล้วเช็กอินบนโซเชียลมีเดียว่าอยู่ที่พระบรมมหาราชวัง” หลัวเผยเยี่ยน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยครูกว่างซีทางตอนใต้ของจีนพูดคุยถึงประเทศไทยว่า มีหัวข้อให้เธอพูดถึงได้อย่างไม่รู้จบ

“ฉันกดติดตามบล็อกเกอร์ชาวไทยหลายคน ดูพวกเขาแบ่งปันเรื่องราวการใช้ชีวิตในไทย ทำให้รู้สึกว่าไทยเป็นประเทศที่เป็นมิตรและอบอุ่นมาก” หลัวบอกกับนักข่าว พร้อมเสริมว่าแรกเริ่มเธอเรียนรู้วัฒนธรรมไทยผ่านภาพยนตร์จีนที่ถ่ายทำในไทยก่อนจะเขยิบไปดูละครไทยและกินอาหารไทยจนหลงใหลประเทศไทย

การเผยแพร่วัฒนธรรมภาพยนตร์และละครจีน-ไทย ได้หยั่งรากลึกในจิตใจของผู้คนอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นำไปสู่ความร่วมมือด้านละคร ภาพยนตร์ และเนื้อหาออนไลน์มากมายระหว่างสองประเทศ ก่อเกิดผลงานละครและภาพยนตร์ออกสู่สายตาสาธารณชน กลายเป็นสะพานเชื่อมคนรุ่นใหม่เข้าใจวัฒนธรรมของกันและกัน

จีนนั้นเริ่มนำเข้าละครโทรทัศน์ไทยตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ชมภายในประเทศอย่างมาก ขณะการพัฒนาอันรวดเร็วของแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้นในช่วงไม่กี่ปีนี้ช่วยให้ละครและภาพยนตร์ไทยน้ำดีเป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์ ส่วนเหล่าวัยรุ่นมีส่วนเผยแพร่ละครและภาพยนตร์ไทยที่พวกเขาชื่นชอบผ่านการพากย์เสียงและทำซับไตเติล

“ละครไทยไม่เพียงช่วยให้เธอเข้าใจวัฒนธรรมไทย แต่ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญของการเรียนรู้ภาษาไทยด้วย” อิ่นหรุ่ย บัณฑิตสาวจากสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยกลุ่มชาติพันธุ์อวิ๋นหนาน (ยูนนาน) กล่าว โดยสมัยเรียน อิ่นเคยเข้าร่วมชมรมแปลซับไตเติลละครและภาพยนตร์ชื่อดัง รวมถึงข่าวสารของสื่อหลักในไทย

ขณะเดียวกันอิ่นยังเป็นนักพากย์เสียงละครไทยคนดัง ผลงานพากย์เสียงของเธอที่แชร์บนสื่อสังคมออนไลน์มักมียอดกดถูกใจจำนวนมาก โดยอิ่นเผยว่าการพากย์เสียงละครเรื่องโปรดเป็นอีกหนึ่งวิธีฝึกพูดภาษาไทยของเธอ รวมถึงหวังว่าการแปลและการเผยแพร่ผลงานเช่นนี้จะช่วยให้หลายคนเข้าใจประเทศไทยเพิ่มขึ้น

การสั่งสมประสบการณ์แปลละครไทยสมัยเรียนยังเกื้อหนุนการเลือกอาชีพของอิ่น โดยธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนจีน-ไทย ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้บรรดาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยสามารถเลือกทำอาชีพนักแปลด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนได้ด้วย

อนึ่ง การเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาไทยตามมหาวิทยาลัยจีนในช่วงหลายปีนี้ได้บูรณาการวัฒนธรรมไทยเข้ากับการเรียนการสอนแต่ละวันเพื่อช่วยนักศึกษาเรียนรู้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น การแข่งขันพากย์ละครไทย การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทย สัปดาห์วัฒนธรรมเทศกาลลอยกระทง หรือวันไหว้ครูของไทย

'สี จิ้นผิง' เข้าเฝ้าฯ 'ในหลวง-พระราชินี' พร้อมกราบบังคมทูลจะทำงานร่วมกับไทยต่อไป เพื่อสานสายสัมพันธ์พิเศษที่ใกล้ชิดสนิทสนมดั่งเครือญาติของทั้งสองประเทศ

ฮวา ชุนอิง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีน ได้โพสต์รูปภาพนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีของไทย พร้อมข้อความผ่าน Twitter โดยระบุว่า…

การบินค่อนโลก ดันแผนเหลือนักบินเดียว เพื่อลดต้นทุน ‘เยอรมนี-อังกฤษ-นิวซีแลนด์’ ถกแล้ว หวังทำจริง 2027

(21 พ.ย. 65) เพจ ‘เดือดทะลักจุดแตก’ โพสต์ข้อความกรณีการบินค่อนโลก ดันแผนเหลือนักบินคนเดียว ระบุว่า...

นี่เป็นสิ่งที่จินตนาการไม่เคยออกว่าจะมีอะไรแบบนี้

เราน่าจะคุ้นเคยกับหนังฝรั่งนะครับ เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน นักบิน 2 คนในห้องบังคับจะช่วยกันกู้สถานการณ์  ปกติเครื่องบินจะเป็นระบบขับขี่อัตโนมัติเสมอ นักบินนั่งไว้ป้องกันกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน ก็จะเข้าควบคุมในทันใด ... ซึ่งในหนัง นักบินหลักคนเดียวมักจะเอาไม่อยู่ ต้องให้ผู้ช่วยเข้ามาแก้ไขสถานการณ์เสมอ ย้ำว่า ‘เสมอ’

เอ๊ะ แต่ว่ามันในหนังนะ ... แต่หนังพวกนี้ ส่วนใหญ่ก็ชอบสร้าง ‘อิงจากเหตุการณ์จริง’ นะครับ
 

ลุยรถไฟใต้ดิน ครั้งแรก!! การใช้บริการระบบรางสู่ ม.บอสตัน ถามตัวเองว่า “เราจะใช้ชีวิตอยู่ที่นี่อีกกี่ปีหนอ”

เช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้น เราก็รีบตื่นนอนก่อนคนอื่น เพื่อที่จะได้ใช้ห้องน้ำให้เสร็จ ญาติๆ จะได้ไม่ต้องมาทนฟังเราทำธุรกิจส่วนตัวให้ขยะแขยงโสตประสาท พอคุณอาหญิงตื่นขึ้นมา ก็บอกให้เราหาอาหารทาน 

ตอนเช้าบ้านคุณอา น้องๆ จะทานซีเรียลกันก่อนไปโรงเรียน ส่วนเราเป็นคนไม่ชอบทานอาหารเช้า เราก็เลยขอบคุณคุณอาและไปนั่งดื่มกาแฟอ่านนิตยสารไทยรอไปพลางๆ ในห้องนั่งเล่น เมื่อคุณอาทั้งสองอาบน้ำแต่งตัวเสร็จก็พาเราเข้าเมืองไปพร้อมๆ กัน 

ขณะที่ขับรถจะผ่านโรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น (Mount Auburn Hospital) ในเมืองแคมบริดจ์ (Cambridge) คุณอาทั้งสองก็เล่าให้ฟังว่า ในหลวงรัชกาลที่เก้าประสูติที่โรงพยาบาลนี้ เราถึงกับปลื้มใจยกมือไหว้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านมีต่อประเทศชาติและเหล่าพสกนิกร และทำเช่นนี้ทุกครั้งที่ผ่านโรงพยาบาลนี้ เมื่อมาถึงร้านแว่นตาที่คุณอาทั้งสองทำงาน คุณอาหญิงก็บอกว่าท่านจะสอนให้เราเดินทางไปกลับจากที่ทำงานท่านและโรงเรียนสอนภาษา ตอนนั้นที่ทำงานท่านอยู่ในถนนบอยล์สตัน (Boylston Street) ถนนช็อปปิ้งสายหลักของบอสตัน ซึ่งมีร้านค้าต่างๆ มากมาย 

นอกจากนั้นสถานีรถไฟใต้ดินก็อยู่ใกล้กับออฟฟิศคุณอา เดินไม่เกินสามนาทีก็ถึง ท่านสอนเราง่ายๆ ว่าเวลาเรานั่งรถจากออฟฟิศท่านไปโรงเรียนให้ขึ้นสถานีออกนอกเมือง (Outbound) และลงที่สถานีบียูเซ็นทรัล (BU Central) ส่วนขากลับมาหาท่านให้ขึ้นสถานีเข้าเมือง (Inbound) และลงที่ป้ายถนนบอยล์สตัน เนื่องจากเป็นวันแรกที่เราใช้ขนส่งมวลชนของรัฐ (MBTA หรือ Massachusetts Bay Transportation Authority) คุณอาเลยให้เหรียญที่จ่ายค่าโดยสาร (token) เป็นเหรียญทองเหลืองใหญ่กว่าเหรียญบาท แต่เล็กกว่าเหรียญห้าบาทปัจจุบัน ท่านให้ไว้สองเหรียญ เพื่อขาไปและกลับ และชี้ให้เราเห็นตู้ที่มีพนักงานขายเหรียญ 

ท่านบอกว่าจริงๆ แล้วเราสามารถที่จะเอาเศษเหรียญจริงๆ จำนวนแปดสิบห้าเซ็นต์มาหยอดได้ ไม่ต้องแลกเหรียญค่าโดยสารก็ได้ แต่บางทีคนก่อนเราอาจจะหยอดเหรียญไม่ครบ ทำให้เราต้องเสียเวลามาจ่ายค่าต่างแทนคนอื่น ดังนั้นแลกเหรียญจ่ายค่าโดยสารไว้ใช้ดีที่สุด โดยเฉพาะบางสถานีจะไม่มีพนักงานขายเหรียญ ถ้าเราไม่มีเงินจ่าย คนขับรถจะพาลไม่ให้ขึ้นเอา ต้องเดินขาลากมาออฟฟิศคุณอา เราได้ยินดังนั้นก็จำไว้ติดใจว่าต้องมีเหรียญไว้จ่ายค่าเดินทางไว้ติดกระเป๋าอยู่เสมอเพื่อไม่ให้พลาดรถ

เมื่อพูดถึงรถไฟใต้ดินของรัฐแมสซาซูเซตส์ ต้องขออนุญาตนอกเรื่องเล่าถึงระบบและสายรถไฟต่างๆ ในยุคนั้นไว้เป็นสังเขป จริงๆ แล้วการที่ใช้คำว่ารถไฟใต้ดินนั้นไม่ถูกเลยทีเดียว เพราะรถโดยสารประเภทนี้ลงทั้งใต้ดินและแล่นบนถนนเคียงข้างกับรถยนต์ ควรจะเรียกว่ารถรางจะเหมาะกว่า ส่วนที่ว่าคนไทยติดใช้คำว่ารถไฟใต้ดินคงจะเป็นเพราะคุ้นเคยกับระบบรถใต้ดินจริงๆ ของปารีสที่รู้จักกันอย่างดีในนามเมโทร (Metro) ส่วนรถใต้ดินของรัฐแมสซาซูเซตส์นั้นเรียกว่าซับเวย์ (Subway) หรือผู้โดยสารทั่วๆ ไปจะเรียกย่อๆ ว่าที (T) มีสี่สาย แต่ละสายใช้สีต่างๆ เป็นสัญลักษณ์คือ เขียว, แดง, ส้ม และน้ำเงิน 

เรื่องเล่าใต้ผืนธงชาติสหรัฐฯ เมื่อชาวมะกันเองก็ยังคลั่งชาติ สิ่งที่ปราชญ์ 3 นิ้วควรรู้ ก่อนกรอกหูเด็กไทยให้ชังชาติตน

ทุกครั้งที่มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นชาติ คนบางกลุ่มจะหงุดหงิดและโจมตีกล่าวหาผู้ที่นิยมชมชอบสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองว่าเป็นพวกคลั่งชาติเสมอ

ทั้งที่สิ่งเหล่านี้คือเครื่องยึดเหนี่ยวสู่ความเป็นชาติ ให้ทุกคนรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเพื่อสร้างประโยชน์ในสังคมไปในทิศทางเดียวกัน โดยทางสังคมวิทยาเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Solidarity’ หรือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมและในความเป็นประเทศ

นักวิชาการตาสว่างมีตรรกะว่า รัฐชาติเป็นเรื่องสมมุติ การที่คนไทยไม่เจริญส่วนหนึ่งมาจากความคลั่งชาติและสถาบัน จากนั้นก็ด่าทอทุกอย่างเกี่ยวกับชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์ โดยมั่นใจไปเองว่าการหยามหมิ่นรากเหง้าตัวเอง คือ ความก้าวหน้าแบบลิเบอรัล ที่ตลกมากที่สุด คือ ชนคนกลุ่มนี้มักอ้างอิงทำนองว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกาไม่คลั่งชาติเด็ดขาด เพราะคิดเอาเองว่าประเทศเสรีประชาธิปไตยอย่างอเมริกาไม่มีเรื่องแบบนี้

อเมริกานั้นเหมือนเบ้าหลอมรวมชาติพันธุ์ เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมจับฉ่ายจากทั่วทุกมุมโลกมาตกคลั่กบนแผ่นดินเดียวกัน และสิ่งที่รวมใจอเมริกันทั้งปวงก็คือความเป็นชาติ โดยมีสัญลักษณ์ชัดเจนอย่างธงชาติอเมริกันนั่นแหละ

อยากเล่าว่า เด็กอเมริกันทุกคนต้องมายืนตาแป๋วทุกเช้าไม่ต่างไปจากนักเรียนไทย จากนั้นก็สาบานตนต่อธงชาติหรือที่เรียกว่า Pledge of Allegiance  ตามนี้...

“I pledge allegiance to the Flag 
of the United States of America, 
and to the Republic for which it stands, 
one Nation under God, indivisible, 
with liberty and justice for all.”
______________________________
"ข้าพเจ้าขอสาบานต่อธงชาติแห่งสหรัฐอเมริกาว่า
จะจงรักภักดีต่อสาธารณรัฐแห่งนี้
ที่ดำรงอยู่อย่างเป็นเอกภาพ
ภายใต้พระผู้เป็นเจ้าอันไม่อาจแบ่งแยก
ด้วยเสรีภาพและความยุติธรรมต่อส่วนรวม"

‘เจฟฟ์ เบโซส’ พร้อมบริจาคทรัพย์สิน 1.24 แสนล้าน ตั้งใจส่งมอบเพื่อการกุศลในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่

‘เจฟฟ์ เบโซส’ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon.com ในโรงรถเล็ก ๆ ที่เมืองซีแอตเติ้ล จนกลายเป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของโลก ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการของ โคล มีลาส ใน CNN ว่า เขาตั้งใจที่จะบริจาคทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่เขามีกว่า 1.24 แสนล้านเหรียญเพื่อการกุศลในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ 

โดยอภิมหาเศรษฐีแห่ง Amazon ต้องการบริจาคเงินในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ป้ญหาสภาพอากาศของโลก และอีกส่วนหนึ่งจะสนับสนุนกลุ่มคนที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือสังคมที่กำลังเผชิญวิกฤติด้านความแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรงในขณะนี้ และได้ร่างแผนบริจาคเงินเพื่อการกุศลร่วมกับ ลอเรน ซานเชซ คู่ชีวิตคนปัจจุบันของเขา 

ก่อนหน้านี้ เจฟฟ์ เบโซส ถูกวิจารณ์อย่างหนัก ในฐานะที่เขาเป็นถึงมหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก แต่กลับไม่มีโครงการเพื่อการกุศลอย่างชัดเจน เหมือนกับอภิมหาเศรษฐีรายอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน อย่าง บิล เกตส์ หรือ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 

'อีลอน' เสียงอ่อย หลังพนักงานทวิตเตอร์ 'อยากออก' เยอะเกินคาด!! ยอมถอยให้ WFH ให้ผจก.รับผิดชอบ ไม่เวิร์ก โดนออกเอง

(18 พ.ย.65) เพจ 'เดือดทะลักจุดแตก' โพสต์ความเคลื่อนไหวล่าสุดของทวิตเตอร์ หลังพนักงานพร้อมลาออกกันเยอะเกินคาด ว่า...

ทำไปทำมา คนจะออกกันทั้งบริษัท 

กระแสตีกลับ ทำไปทำมา มันชักจะใหญ่จนพอจะโหมพลิกเรือได้แล้วน่ะสิครับ ปั่นป่วนวุ่นวายกันไปหมดแล้ว

ไม่โพสต์ซ้ำแล้วนะครับ เรื่องที่อีลอน มัสก์ต้องการให้คนของเขาทำอะไรบ้าง --- พนักงานทวิตเตอร์รู้สึกเหลือทน จากที่ตอนแรกกริ่งเกรงจะต้องเสียงาน ทว่าตอนนี้ มาทำนองว่า "ออก ก็ออกสิวะ! ออกยกไปกันแ_งให้หมดเลย"

แต่ อีลอน มัสก์ เริ่มมีผ่อนปรนนะครับ (แน่นอนว่าเรื่องชั่วโมงทำงานแบบ "ฮาร์ดคอร์" นั้นไม่มีทางผ่อน)

คาดเดาบทบาท ‘มาครง’ ในเวที APEC 2022 ผูกมิตรกล่อม ‘จีน’ ด้วยท่าทีที่สวนทาง ‘ทรูโด’

แม้เป้าประสงค์หลักของการประชุมเอเปคจะอยู่ที่การส่งเสริมการค้าแบบพหุภาคี หรือการร่วมพูดคุยกันหลายฝ่าย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก 

แต่ด้วยสมาชิกที่หลากหลาย และครอบคลุมมหาอำนาจโลกหลายแห่ง ซึ่งรวมไปถึง สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้นั้น มันก็คงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเหล่าผู้นำชาติมหาอำนาจที่มารวมตัวกัน จะช่วงชิงอิทธิพลในภูมิรัฐศาสตร์โลก ตามสถานการณ์และวิกฤตโลกที่เกิดขึ้น 

ยกตัวอย่างในปีนี้กับความตึงเครียดที่มากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทั้งเรื่องการค้า และประเด็นไต้หวัน รวมถึงสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ลามผลกระทบไปสู่เรื่องเศรษฐกิจและความมั่นคงด้านพลังต่อประเทศคู่ขัดแย้งที่เกี่ยวพันในห่วงโซ่นี้ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตามใน ‘ทางแจ้ง’ ใครจะวัดพลังกันบนเวที ก็ทำกันไป แต่ใน ‘ทางลับ’ ก็มีเรื่องให้น่าจับตาไม่แพ้กัน เพราะหากสังเกตให้ดีบนเวทีประชุมใหญ่ ๆ ระดับโลกเช่นนี้ ก็มักจะมีท่าทีให้สอดรู้จากผู้นำชาติมหาอำนาจทั้งในกลุ่มเขตเศรษฐกิจ และแขกรับเชิญพิเศษของเจ้าภาพ ซึ่งในปีนี้ไทยเราเชิญมาทั้งสิ้น 3 ชาติ ได้แก่ ฝรั่งเศส, ซาอุดีอาระเบีย และกัมพูชา ที่พร้อมจะใช้เสี้ยวเวลาในการพูดคุย เจรจา หรือปิดดีลบางเรื่องในช่วงเวลาแค่ชั่วพบปะ แล้วเรื่องแบบนี้ก็ไม่ค่อยจะหลุดรอดไปสู่ตาเหยี่ยวสื่อสักเท่าไรด้วย

กลับกันการพูดคุยลับ ๆ ที่ถูกทำให้ไม่ลับ ก็อาจจะทำให้เกิดความแคลงใจกันในภายภาคหน้า เหมือนกับกรณี สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน แหกหน้า จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ระหว่างการประชุม G20 ที่อินโดนีเซีย โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้พูดคุยกับนายทรูโด ด้วยรอยยิ้มผ่านล่าม ตำหนิในกรณีที่นายทรูโดระบุว่า จีนแทรกแซงการเลือกตั้งของแคนาดา โดยสี จิ้นผิง กล่าวว่า “ทุกอย่างที่เราได้พูดคุยกันถูกรั่วไหลไปถึงสื่อ และนั่นไม่เหมาะสม” ซึ่งท่าทีของผู้นำแคนาดารายนี้ก็รู้กันอยู่ว่าแทบจะเป็นเงาพี่เงาน้องของลูกพี่แซมอยู่แล้ว ก็ได้แต่พยักหน้า ขณะที่ ผู้นำจีน กล่าวต่อว่า “นั่นไม่ใช่วิธีการที่ควรจะเป็น หากมีความจริงใจต่อกัน เราจะร่วมหารือด้วยทัศนคติที่เคารพซึ่งกันและกัน มิเช่นนั้น ผลที่ตามมาจะคาดเดาไม่ได้”

นี่คือตัวอย่างไม่ดี ที่เด็ก ๆ ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง!!

กลับกันกับท่าทีของอีกหนึ่งผู้นำ ที่เชื่อว่าพญามังกรคงรอดูท่าที คือ ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งมีหลายฝ่ายเชื่อว่า การมาเอเปค 2022 ในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่มาสานความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศไทย-ฝรั่งเศส, ด้านความมั่นคง, หรือ BCG ที่สอดคล้องแผนปฏิรูปสีเขียวของ EU หรือแค่หนุนประเด็นที่ไทยผลักดันในเวทีเอเปคเท่านั้น 

หากแต่นี่ก็คือเวทีที่ มาครง จะได้มีโอกาสใช้จังหวะ ‘ที่ไม่เป็นทางการ’ คุย ‘ประเด็นทางการ’ ต่อ สีจิ้นผิง สืบเนื่องต่ออีกคำรบจากเวที G20 ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าประเด็นที่จะคุย ก็คงไม่พ้นความคาดหวังที่จะให้จีนเป็นตัวกลางเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อการคลี่คลายปัญหาด้านพลังงานในยุโรป และการขาดแคลนชิปของจีน เป็นต้น

‘คิชิดะ - สี จิ้นผิง’ ไว้ใจ ‘ประเทศไทย’ ล็อกหมุดหมายจัดประชุมซัมมิต ‘ญี่ปุ่น-จีน’

ไม่เพียงแค่การประชุม APEC 2022 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ ที่ถือเป็นอีกความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ ที่ได้โชว์ศักยภาพและความเป็นไทยออกสู่สายตาชาวโลก

แต่ข่าวใหญ่ที่น่าจะเป็นข่าวดีอีกระลอก คือ ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจาก ‘ญี่ปุ่น-จีน’ ให้เป็นเวทีในการจัดประชุมซัมมิตสุดยอดผู้นำระหว่าง ‘ญี่ปุ่น-จีน’ ครั้งแรกในรอบ 3 ปี ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย

ทั้งนี้ต้องบอกก่อนว่า ระยะหลังความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและจีนนั้นไม่ค่อยสู้ดีเท่าไหร่นัก หรือเรียกอีกอย่างคือ ‘ร้าวฉาน’ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เกิดจากการที่จีนแผ่อิทธิพลและเพิ่มมาตราการทางการทหารอย่างแข็งกร้าวต่อไต้หวัน ประเทศในภูมิภาค รวมถึงแถบโพ้นทะเล

หนำซ้ำ หนึ่งในมิสไซล์ของจีนที่ยิงออกไปเพื่อตอบโต้การเยือนไต้หวันครั้งสำคัญของแนนซี เพโลซี ดันไปตกในเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเลญี่ปุ่นอีกด้วย 

นอกจากนี้ จีนยังได้มีการเคลื่อนไหวรอบๆ หมู่เกาะพิพาทเซ็งกากุ (Senkaku Islands) หรือหมู่เกาะเตียวหยูในภาษาจีน ซึ่งหมู่เกาะนี้อยู่ในการครอบครองของญี่ปุ่น แต่จีนกลับอ้างสิทธิ

เท่านั้นยังไม่พอ จุดยืนในการเมืองโลกของทั้งสองประเทศก็ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากญี่ปุ่นสนับสนุนยูเครนร่วมกับพันธมิตรชาติตะวันตก แต่จีนยืนหยัดเคียงข้าง ‘รัสเซีย’ ซึ่งถือเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงของยูเครนและชาติตะวันตก 

ทารกหญิงจากฟิลิปปินส์ ประชากรโลกคนที่ 8 พันล้าน ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2022 เวลา 01.29 น.

(16 พ.ย. 65) องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 15 พฤศจิกายน 2022 เป็นวันที่ประชากรโลกมีครบ 8,000 ล้านคน โดยมีทารกน้อยเพศหญิง ชื่อว่า Vinice Mabansag เกิดที่โรงพยาบาล Dr. Jose Fabella Memorial ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อคืนวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 01.29 น. เธอได้รับเลือกให้เป็นบุคคลที่ 8,000 ล้านของโลกอย่างเป็นทางการ

การเพิ่มขึ้นของประชาการโลก จาก 7,000 ล้านคน เป็น 8,000 ล้านคน ใช้เวลาทั้งสิ้น 11 ปี (ค.ศ.2011 หรือ พ.ศ.2554 ถึง ค.ศ.2022 หรือ พ.ศ. 2565) นอกจากนี้ องค์กรสหประชาชาติยังได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านคนในอีก 58 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี ค.ศ.2088

ทั้งนี้ ตามรายงานใหม่ของสหประชาชาติผู้คนทั่วโลกมีอายุยืนยาวขึ้นและมีลูกน้อยลง โดยอายุขัยของคนโดยเฉลี่ยคาดว่าจะอยู่ที่ 77.2 ปี ในปี 2050 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 72.98 ปี ในปี 2019 ส่วนอัตราการเกิดทั่วโลกก็ชะลอลง

ชาติสมาชิกยูเอ็นแสดงจุดยืน ‘ไม่เลือกข้าง’ ถอนวาระ ‘รมต.NUG’ เข้าร่วมงาน GTH 2022

เป็นอะไรที่เซอร์ไพรส์มากกับข่าวของ Daw Zin Mar Aung รัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเงาของเมียนมา (NUG) และทีมของเธอได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Global Town Hall 2022 (GTH 2022) เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

แต่ในงานกลับเซอร์ไพรส์กว่า เมื่อมีการถอนวาระของเธอออกจากการประชุมในนาทีสุดท้าย ด้วยเหตุผลที่ทางตัวแทนชาติสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้กล่าวกับผู้จัดงานว่า หากให้ Daw Zin Mar Aung และทีมงานของเธอเข้าร่วมในงานครั้งนี้ ก็เท่ากับเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในเมียนมา ซึ่งเพียงแค่นี้ก็แสดงให้เห็นจุดยืนของตัวแทนชาติสมาชิกในงานประชุมครั้งนี้ในระดับหนึ่งแล้ว 

ทั้งนี้หากวิเคราะห์ว่าทำไมทางสหประชาติถึงไปกล่าวกับผู้จัดงาน จนทำให้เกิดการถอนวาระนี้ในที่สุด ก็เพราะว่า…

1.) ประเทศสมาชิกของสหประชาติมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุน NUG ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ NUG และฝ่ายที่วางตัวเป็นกลาง หากการที่ตัวแทนชาติสมาชิกในงานประชุมครั้งนี้ยอมรับให้ทาง NUG เข้าร่วมอาจจะส่งผลในบทบาทบนเวที UN ได้

2.) ทางตัวแทนชาติสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุมนี้ น่าจะได้ประเมินแล้วว่าการให้ NUG มากล่าวโดยไม่มีฝ่ายกองทัพมาพูดเป็น ก็เสมือนสนับสนุนการกระทำของฝ่าย NUG นั้นว่าถูกต้อง

3.) ฝ่าย NUG นั้นยอมรับว่าเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนการต่อสู้ของ PDF ที่ก่อความไม่สงบและเข่นฆ่าผู้คนในเมียนมาในขณะนี้ด้วยเช่นกัน

‘หนุ่มมะกัน’ ทำร้ายหลานเจ้าของร้านอาหารไทย หลังถูกเจ้าของร้านปฏิเสธ ‘ไม่ให้กินฟรี’

‘ชายชาวอเมริกัน’ ลงมือทำร้ายร่างกาย ‘หลานชายเจ้าของร้านอาหารไทย’ แห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย หลังถูกเจ้าของร้านปฏิเสธไม่ให้ ‘กินฟรี’

เหตุระทึกดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 พ.ย. เวลาประมาณ 17.15 น. ที่ร้านอาหารไทยแห่งหนึ่งในเมืองเบิร์กลีย์ (Berkeley) โดยตามรายงานของสถานีโทรทัศน์ ABC7 ระบุว่า หลานชายเจ้าของร้านพยายามเข้าไปเจรจากับลูกค้าที่มีปัญหา ก่อนจะถูกอีกฝ่ายใช้กำลังทำร้าย

ภาพจากกล้องวงจรปิดในร้านเผยให้เห็นว่า ชายคนดังกล่าวลุกขึ้นจากเก้าอี้ และเตะหลานเจ้าของร้านจนล้มหงายหลังไปกับพื้นก่อนจะกระทืบเข้าที่ท้อง และพยายามวิ่งหนีไปที่ประตู ทว่าถูกลูกค้าพลเมืองดีหลายคนช่วยกันล็อกตัวเอาไว้ได้จนกระทั่งตำรวจมาถึง

“นี่เป็นครั้งแรกที่เราเจอเหตุการณ์แบบนี้ มันน่าตกใจ และทุกคนก็กลัวมาก” หนึ่งในเจ้าของร้านที่ชื่อ ซาราห์ (Sarah) ให้สัมภาษณ์กับ ABC7

'รถเทสลา' ซิ่งสยองในเมืองจีน ชนดับ 2 เจ็บ 3 คนขับอ้างเบรกไม่ทำงาน เทสลาสวนไม่เห็นไฟเบรกขึ้น

คลิปที่แชร์ในโลกออนไลน์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนถนนเมือง Chaozhou มณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน เมื่อวันที่ (5 พ.ย.) ที่ผ่านมา เป็นนาทีที่รถไฟฟ้าเทสลา โมเดล Y สีขาว กำลังจะจอดข้างทาง จู่ ๆ รถกลับเบนออกไปบนถนน และวิ่งด้วยความเร็วสูงอย่างไม่สามารถควบคุมได้ เป็นระยะทาง 2.6 กม. แม้คนขับพยายามคุมพวงมาลัยและบีบแตรไปตลอดทาง แต่ก็พุ่งชนรถมอเตอร์ไซค์ 2 คัน และจักรยานสองคัน ทั้งยังชนกับรถบรรทุกเล็ก เป็นเหตุให้เศษชิ้นส่วนกระจายว่อน ก่อนหยุดในที่สุดเมื่อชนกับด้านข้างตึกหลังหนึ่งจนฝุ่นฟุ้งปกคลุมไปทั่ว

สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ผู้เสียชีวิต 2 คน เป็นคนขี่รถจักรยานยนต์ กับ นักเรียนมัธยมปลาย นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย ตำรวจเปิดเผยว่ารถวิ่งด้วยความเร็ว 150 กม./ชม. ขณะเกิดอุบัติเหตุ 

ต่อมา เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ที่ผ่านมา ญาติของคนขับรถเทสลา นำคลิปมาโพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมระบุว่า คนขับ วัย 55 เป็นคนขับรถบรรทุกอาชีพ ได้รับโอนรถคันนี้มาจากเพื่อนเมื่อต้นเดือนพ.ย. ขณะพยายามจอดรถที่หน้าร้านค้าของครอบครัว คนขับอ้างว่าระบบเบรคไม่ตอบสนอง เมื่อตั้งค่าจอดรถ ก็หยุดรถไม่สำเร็จ พอรถเคลื่อนไปข้างหน้า รถก็เร่งความเร็วทันที กล้องวงจรปิดแสดงให้เห็นไฟเบรกหลังรถหลายจังหวะ แต่รถไม่ลดความเร็วลง ส่วนประเด็นคนขับใช้ยาเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์ ถูกตัดออกไป

COP 27 เวทีสำคัญถกแก้วิกฤตโลกร้อน มุ่งรักษาอุณภูมิโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

โลกร้อนที่กำลังคุกคามชีวิตกับ COP 27 จะมีผลเพียงใด

"We are on a highway to climate hell with our foot on the accelerator," UN Secretary General Antonio Guterres told the summit.

เรากำลังเหยียบคันเร่งบนถนนไฮเวย์ไปสู่ภูมิอากาศที่เลวร้ายราวนรกในขณะนี้ (นายกูเตอเรสกำลังบอกว่าโลกของเรากำลังพุ่งไปสู่ปัญหาภูมิอากาศที่ร้ายแรงในขณะนี้ ถ้าไม่ร่วมมือกันแก้ไข-ผู้เขียน)

นั่นคือคำเตือนของนายอันโตนิโอ กูเตอเรส เลขาธิการสหประชาชาติที่พูดในการประชุม COP 27 ที่จัดขึ้นในอียิปต์ระหว่างวันที่ ๖ – ๑๘ พฤศจิกายนนี้

COP ย่อมาจาก Conference of the Parties เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในช่วง ๒๖ ปีที่ผ่านมาและถือเป็นเครื่องมือที่จะแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกไปสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศ

เรื่องภูมิอากาศโลกนี่เราคงคิดว่ายังอยู่ไกลตัว แต่ถ้าท่านลองใช้เวลาอ่านบทความนี้สักนิดจะเห็นว่าการประชุม COP ที่อียิปต์ในขณะนี้ มันกำลังใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกทีและน่าวิตกยิ่ง เพราะ ปัญหาโลกร้อนที่เพิ่มดีกรีขึ้นเรื่อย ๆ กำลังคุกคามชีวิตทุกชีวิตบนโลกนี้

COP27 opened on Sunday with a warning from the UN that our planet is "sending a distress signal".

การประชุม COP 27 ที่เปิดไปเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายนที่ผ่านมาสหประชาชาติได้ส่งคำเตือนที่น่าตกใจว่าโลกที่เราอาศัยอยู่กำลังส่งสัญญาเตือนภัยออกมาบ่อยครั้งขึ้น และประเทศต่างๆพึงจะได้ช่วยกันแก้ไขก่อนที่จะสายเกินไปจนแก้ไม่ได้

ก่อนที่เราจะไปดูการประชุม COP 27 ของปีนี้หรือความพยายามของประเทศต่างๆที่จะลดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ climate change ขอพูดถึงคำ ๆนี้ ก่อนว่าส่งผลต่อ changing the weather อย่างไร

Climate change หรือการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศเกิดจากการกระทำของมนุษย์ส่วนใหญ่ โดยมาจากการเผาไหม้ถ่านหิน, การใช้น้ำมันและก๊าซ เพื่อเป็นพลังงานที่มนุษย์ใช้เพื่อการดำรงชีวิตและทำธุรกิจต่างๆ การเผาไหม้พลังงานเหล่านี้ทำให้โลกร้อนขึ้นทุกปีเพราะมนุษย์เพิ่มการใช้พลังงานนี้ขึ้นทุกปี เมื่อโลกร้อนขึ้นได้ส่งผลต่อสภาพอากาศของโลก ๔ อย่างคือ ๑. อุณหภูมิโลกสูงขึ้น คลื่นความร้อนแผ่กระจายนานขึ้น ๒. แผ่นดินแห้งแล้งนานขึ้น ๓. ไฟป่าเกิดบ่อยขึ้น และ ๔. ฝนตกหนักมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้คงไม่ต้องอธิบายเพราะเราคงรู้ดีว่ามีผลต่อชีวิตอย่างไร ตัวอย่างเช่นอินเดียและปากีสถานเผชิญกับคลื่นความร้อนติดต่อกันมาห้าปีแล้ว  ปีที่แล้วในแคนาดาเมืองๆหนึ่งเกิดไฟไหม้เมื่ออุณหภูมิสูงถึง ๔๙.๖ องศาเซลเซียส เกิดไฟป่าอย่างรุนแรงในฝรั่งเศส สเปน และกรีซเป็นต้น ไฟป่าในสหรัฐกินพื้นที่กว้างขึ้นกว่าเดิม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำคนหนึ่งของสหรัฐบอกว่า ถ้าเกิดความแห้งแล้งอย่างรุนแรงในที่หนึ่งและในอีกที่หนึ่งของโลกจะเกิดฝนตกอย่างรุนแรง

องค์กรระหว่างประเทศคือ Intergovernmental Panel on Climate change (IPCC) คาดว่าประชากรราว ๒๐ ล้านคนในอัฟริกาตะวันออกจะเผชิญกับความอดอยากจากปัญหาความแห้งแล้ง

สภาพอากาศที่รุนแรงที่เกิดขึ้นเหล่านี้คือที่มาของการประชุม COP ที่สหประชาชาติพยายามขอความร่วมมือจากประเทศต่างๆ แต่ก็ยังไม่ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยนักตัวอย่างง่าย ๆ บีบีซีภาษาอังกฤษรายงานว่าก่อนการประชุมใหญ่สหประชาชาติขอให้ประเทศที่จะเข้าประชุม (๒๐๐ ประเทศ) เสนอแผนการภูมิอากาศที่ประเทศนั้น ๆ มุ่งมั่นว่าจะพยายามทำแต่ปรากฏว่ามีเพียง ๒๕ ประเทศเท่านั้นที่เสนอมา 

ทีนี้มาดูกันว่าที่ประชุม COP 27 ที่อียิปต์เขาจะมีประเด็นสำคัญอะไรกันบ้าง มีอยู่ ๓ เรื่องสำคัญคือ ๑. ลดพฤติกรรมทั้งหลายที่จะทำให้เกิดมลพิษลง ๒. ให้ความช่วยเหลือต่อประเทศต่างๆในการเตรียมการหรือรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และ ๓.ให้ความมั่นใจในความช่วยเหลือทางเทคนิคและให้เงินกับประเทศที่กำลังพัฒนาในสองประเด็นแรกที่กล่าวถึง

พร้อมกันนี้จะยังนำประเด็นจากการประชุม COP 26 เมื่อปีที่แล้วที่ยังทำไม่สำเร็จมาหารือกันอีก เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินต่อประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเช่นน้ำท่วม น้ำแล้งให้ฟื้นคืนตัว แต่มิใช่จะให้เงินเฉพาะการป้องกันเท่านั้นหากแต่จะพยายามให้ประเทศเหล่านั้นลดการใช้ถ่านหินลงด้วย (เพราะเป็นเชื้อเพลิงราคาถูก แต่ก่อให้เกิดมลพิษสูง)

ความสำคัญของการประชุม COP 27 ปีนี้ไม่ได้จำกัดวงแต่เพียงสิ่งที่กล่าวมาเท่านั้น แต่หัวใจที่รัฐบาลทุกประเทศและประชากรโลกต้องทำคือ พยายามที่จะไม่ให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นถึง ๑.๕ องศาเซลเซียสให้ได้  IPCC ชี้ว่าหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมาอุณหภูมิโลกได้เพิ่มขึ้นไปแล้ว ๑.๑ องศาและถ้าหาก อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นในระดับ ๑.๗-๑.๘ องศาเซลเซียส IPCC คาดว่าประชากรโลกราวครึ่งหนึ่งจะผจญกับระดับความร้อนและความชื้นที่มีผลต่อชีวิตได้เลยและด้วยความตระหนักถึงอันตรายของความร้อนนี้จึงมีการลงนามในข้อตกลงปารีส  the Paris Agreement ในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ โดยประเทศต่าง ๆ ถึง ๑๙๔ ประเทศให้คำมั่นสัญญาว่าจะพยายามช่วยกันจำกัดไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น ๑.๕ องศา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บอกว่าจะต้องทำให้ได้ภายในปี ๗๘ ปีข้างหน้า (ค.ศ. ๒๑๐๐)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top