Sunday, 12 May 2024
SPECIAL

“ดาวม็อบ” แสงสว่างจากธรรมศาสตร์

ปีนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 87 ปี แต่ดูเหมือนช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ ‘ธรรมศาสตร์จะร้อนแรง’ เป็นพิเศษ อย่างที่หลายคนติดตามข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นม็อบสารพัดม็อบก็ดี เหล่าแกนนำม็อบก็ดี อาจารย์ และรวมถึงผู้สนับสนุนจากหลายฝั่งหลายฝ่ายก็ดี พอเชื่อมโยงกันให้ดี ๆ อ้าว ! ถนนทุกสาย วิ่งเข้า วิ่งออก จากคำว่า ‘ธรรมศาสตร์’ แทบทั้งสิ้น ?!

เสมือนเป็น ‘โมเดลลิ่งการเมือง’ ดาวม็อบจากคณะนั้น อาจารย์ผู้เป็นแนวหลังจากคณะนี้ หรือศิษย์ผู้พี่ที่คอยให้กำลังใจจากคณะโน้น และอีกบลา ๆ ๆ

มันอาจจะร้อนแรงดี สำหรับคนกลุ่มหนึ่ง แต่มันก็เป็นเครื่องหมายคำถาม สำหรับคนอีกหลาย ๆ กลุ่ม ที่ต่างตั้งคำถามกลับมาระดับเบา ๆ ถึงหนักมาก ‘ที่นี่เป็นมหาวิทยาลัย บ่มเพาะการศึกษาเป็นพื้นฐาน แต่ที่กำลังทำและเป็นอยู่นั่น มันคืออิหยัง ?’

เรื่องทุกอย่างล้วนมีที่มา เมื่อมีผล ก็ต้องมีเหตุ ย้อนกลับไปเดย์วัน หรือวันแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ด้วยชื่อก็ชัดเจนในตัวระดับหนึ่ง แต่เดิมชื่อของมหาวิทยาลัย คือ ‘มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง’ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 จากเจตนารมย์ของ ศ.ปรีดี พนมยงค์

ในครั้งนั้น ทั้งอาจารย์ปรีดี และคณะราษฎร มีมุ่งหมายที่จะ ‘ยกระดับ’ การศึกษาของประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับระบอบการปกครองของประเทศที่เพิ่งเปลี่ยนใหม่ ดังตามประกาศของคณะราษฎร บางท่อนบางตอนที่ว่า ‘การที่ราษฎรยังถูกดูหมิ่นว่ายังโง่อยู่ ไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นเพราะขาดการศึกษา ที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ 

แม้ในช่วงแรก การศึกษาที่ว่า จะมุ่งเน้นที่วิชากฎหมายและการเมือง แต่เป็นเรื่องเข้าใจได้ เพราะในเวลานั้น การจะหาครูบาอาจารย์ หรือที่เรียกว่า ‘ผู้รู้’ นั้น คงไม่ใช่เรื่องง่าย ทว่าต่อมา ในช่วงปี พ.ศ. 2495 ชื่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ก็ถูกเปลี่ยน โดยตัดคำว่า วิชา และการเมืองออก เหลือไว้เพียง ‘มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ พร้อมการขยับขยายภาควิชาและคณะเรียนให้มากขึ้น

ไม่ว่าเบื้องลึก เบื้องหลัง จะเป็นอย่างไร นั่นเป็นเรื่องของอดีต แต่สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมคือ เมื่อมีวิชาให้เรียนมากขึ้น ประชาชนก็จะได้รู้มากขึ้น และกว้างขึ้น แต่ถึงกระนั้น ไม่ว่าจะธรรมศาสตร์ชื่อสั้น หรือธรรมศาสตร์ชื่อยาว ภาพที่ถูกติดเอาไว้ เหมือนรักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือ การเมือง

ธรรมศาสตร์ กับ การเมือง อยู่คู่กันมาอย่างแยกไม่ออก

ไม่แปลก หากจิตวิญญาณของการสร้างแต่แรกเริ่ม จะยังคงอบอวลอยู่ในสถานที่แห่งนี้ มองในมิติกลับกัน การมีสถานที่ที่เป็นอัตลักษณ์สำคัญให้กับเรื่องใด ๆ ถือเป็นความสำเร็จของผู้สร้าง และกับสถานที่แห่งนั้น รวมทั้งกับคนรุ่นหลังไว้เพื่อศึกษา

เพียงแต่ เมื่อเวลาผ่านไป ภาพที่ติดกับมหาวิทยาลัย กลับถูกนำไปใช้ในบริบททางการเมืองอีกมากมาย ดีร้ายสลับกันไปอย่างแยกไม่ออก แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดและแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ คือ ‘แบรนด์ธรรมศาสตร์‘ ที่ผูกติดกับการเมือง หากว่ากันในโลกการตลาด ถ้าแบรนด์แข็งแรง จะหยิบจับโฆษณาอะไรก็ทำได้โดยง่าย เพียงแต่ปัญหาสำคัญคือ คนที่หยิบจับแบรนด์ไปทำอะไรนั้น เอาไปทำเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองแค่ไหน อย่างไร ?

จึงเป็นที่มาของ ‘ธรรมศาสตร์ร้อนแรง’ ในวันนี้

ประวัติศาสต์ในอดีตมักสะท้อนเรื่องราวอยู่เสมอว่า มีกลุ่มคนไม่กี่คนนักหรอก ที่มักก่อปัญหาให้กับคนหมู่มาก ฉันใดฉันนั้น เวลานี้จึงมีไม่กี่คนนักหรอก ที่กำลัง ‘สุมไฟ’ ให้กับสถาบัน โดยสวนทางเจตนารมย์แรกเริ่ม ในการก่อตั้งขึ้นมาไปสิ้น

‘โง่เพราะขาดการศึกษา...’ แต่พอฉลาดขึ้นมา จึงทำแบบนี้หรือ ?

ปัจจุบัน ‘ธรรมศาสตร์’ มีคณะที่เปิดทำการสอนกว่า 19 คณะ มีวิทยาลัยและสถาบันที่แยกย่อยลงไปอีกมากมาย และประการที่สำคัญ มีบัณฑิตที่ผลิตออกไปนับแสนนับล้านคน คงเป็นการไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย หากคนที่ได้ชื่อว่า เป็นศิษย์ร่วมสถาบัน คนที่ถูกประสิทธิ์ประสาทวิชาจากสถาบันแห่งนี้ คนที่เดินออกไปทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมในบริบทอื่น ๆ อีกมากมาย จะถูกปรามาสว่า เป็นธรรมศาสตร์แบบเดียวกัน

แม้ ‘การเมือง’ จะเป็นเรื่องของทุกคน แต่เรา หรือแม้แต่มหาวิทยาลัย ก็ไม่จำเป็นต้องมี ‘การเมือง’ อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่แค่รู้ว่า หน้าที่อันจริงแท้นั้น ควรทำอะไร และวางบทบาทอย่างไรให้ถูกที่ ถูกเวลา และเหมาะสมตามบริบทสังคม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีอายุ 87 ปี โลกหมุนรอบตัวเองมา 31,755 รอบ มีผู้คนหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านสถานที่แห่งนี้มานับไม่ถ้วน วันนี้ชาวธรรมศาสตร์เชิดหน้ามองตึกโดม ที่ผ่านวันเวลาและความปวดร้าวทางการเมืองมาหลายต่อหลายครั้ง ตึกเก่าหลังแรกของสถาบันยังคงอยู่ คนต่างหากที่เปลี่ยนไป ไม่มีอะไรจีรัง แม้แต่การเมือง...

กาฬสินธุ์ พายุฤดูร้อน หอบลูกเห็บพัดถล่มหลายพื้นที่ เร่งสำรวจช่วยเหลือ

เกิดพายุฤดูร้อนลมหมุนและลูกเห็บตกในหลายพื้นที่ใน จ.กาฬสินธุ์ โดยเฉพาะบริเวณจัดงานมหกรรมโปงลาง แพรวา และงานกาชาดในตัวจังหวัด ความแรงของพายุพัดเต้นท์ ร้านค้าได้รับความเสียหาย โชคดีไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ขณะที่หลายอำเภอเกิดฝนตกหนัก และลูกเห็บตก ด้านผู้ว่าฯกาฬสินธุ์สั่งให้ปภ.กาฬสินธุ์ และทุกอำเภอเร่งสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 21 มีนาคม 2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดลมพายุฤดูร้อนพัดผ่านเข้ามาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งความแรงของพายุ นอกจากจะมีลมกระโชกแรงแล้ว ยังเกิดฝนตก และลูกเห็บตกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณสนามหน้าศาลากลาง จ.กาฬสินธุ์ (หลังเก่า) ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมโปงลาง แพรวา และงานกาชาด จ.กาฬสินธุ์ ประจำปี 2564 โดยแรงลมได้พัดเต้นท์ ร้านค้า โต๊ะ เก้าอี้ ล้มระเนระนาด โชคดีที่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิต ส่วนสินค้า สิ่งของ ได้รับความเสียหายบางส่วน

สอบถามพ่อค้าซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ เล่าว่าก่อนเกิดเหตุมองเห็นท้องฟ้าสีแดง ก่อนที่จะมีลมหมุนพัดเข้ามา แต่ไม่มีฝนตก ซึ่งความแรงของลมพัดเอาเต้นท์ ร้านค้า โต๊ะ เก้าอี้ ที่อยู่ในงานพังเสียหาย ส่วนพ่อค้าแม่ค้า และประชาชนที่กำลังเดินในงานก็พากันวิ่งหลบเข้าที่ปลอดภัย ซึ่งเกิดมาไม่เห็นลมหมุนที่พัดแรงขนาดนี้ 

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าในห้วงเวลาเดียวกัน นอกจากในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จะเกิดพายุลมพายุแรงแล้ว ยังมีรายงานว่าในพื้นที่หลายอำเภอ เช่น อ.กุฉินารายณ์  อ.ยางตลาด อ.เขาวง อ.กมลาไสย โดยเฉพาะที่อนุบาลโรงเรียนบ้านขมิ้น อ.สมเด็จ ซึ่งหลังคาอาคารเรียนถูกความแรงของพายุพัดและหอบหลังคาปลิวว่อน ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า อิทธิพลของพายุฤดูร้อนที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าว โดยเกิดกระแสลมกระโชกแรง ฝนตก และลูกเห็บตกเป็นบริเวณกว้าง โดยที่ อ.เขาวง มีลูกเห็บตกและลมพัดแรง ทั้งนี้จากพายุดังกล่าวทำให้บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหาย ต้นไม้หักโค่น หลายครัวเรือนหลายอำเภอ

โดยล่าสุดนายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ กำชับให้นายธนทร ศรีนาค หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.กาฬสินธุ์ พร้อมนายอำเภอทุกอำเภอที่เกิดพายุ ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งสำรวจความเสียหาย พร้อมทั้งเข้าให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแล้ว


ภาพ/ข่าว : ณัฐพงษ์ ประชากูล กาฬสินธุ์

จุดยืนที่ “ยืนเอง” หรือมีใคร “ชี้จุดยืน” ?

แม้จะผ่านมาแล้วหลายยุค หลายสมัย แต่คำถามตัวใหญ่ๆ ที่มักเกิดขึ้นกับ 'มหาวิทยาลัย' และ 'นักศึกษาธรรมศาสตร์'  คือ การถูก 'ตีตรา' ว่าเป็นกลุ่มเด็กหัวรุนแรงบ้าง หัวก้าวหน้าบ้าง ไม่รักชาติบ้านเมืองบ้าง หรือคิดย้อนแย้งกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทยในช่วงหนึ่งๆ บ้าง 

ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าจะพูดให้ถูกนี่ไม่ควรเป็นการตีตราใส่  'ผ้าขาวบาง' ที่มี 'ความเป็นอิสระ'  ซึ่งพร้อมคิดต่าง เพราะหากมองในแง่บวก นี่คือหัวคิด ที่กล้าคิดกระตุกสังคมไทยแบบที่คัมภีร์ประชาธิปไตยได้กางไว้ให้เดินตาม

และส่วนตัวมองว่านี่ก็คือจุดเด่นของ 'เด็กธรรมศาสตร์' ที่มีเลือดประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัย 14 ตุลาคม 2516 / 6 ตุลาคม 2519 ไหลเวียนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการออกมาพูดเรื่องการปฏิรูประบบการเมือง สถาบันพระมหากษัตริย์ การศึกษา และอีกมากมาย ถือเป็นเรื่องอันดี ในยุคที่สังคมไทยมัวแต่ 'ถนอมน้ำใจ' กันแบบไม่รู้จบ

และหากพวกเขาเหล่านี้ ลุกออกมาแสดง 'จุดยืน' ทางความคิด แต่คนเห็นต่างกลับไปจำกัดความคิด อันนี้น่าจะเรียกว่า 'สังคมใจแคบ' เสียมากกว่าด้วย

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ในหลากหลายเหตุการณ์ที่ธรรมศาสตร์ 'มีซีน' ในสังคม มาพร้อมกับทิศของประชาธิปไตยบนจุดยืนแบบ 'ปัญญาชน' แท้จริงมากเพียงใด...

หากใครเห็นต่าง คือ ศัตรู ใครเชียร์ตรู คือ พวกพ้อง...ทำไมจึงเกิดมิติเหล่านี้เกิดขึ้นกับเมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต ที่ช่วงแรกหลากหลายชนชั้นในสังคมชื่นชมและแอบเชียร์ห่าง ๆ อันนี้คือคำถามตัวโตๆ

ว่ากันตามตรงภายใต้รั้วแม่โดม คงมิได้มีแค่กลุ่มเด็กนักศึกษา แต่มีเหล่าคณาจารย์ / กลุ่มคนที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากความพ่ายแพ้ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง และขณะเดียวกันก็มีก้อนเนื้อทางการเมืองที่แสดงจุดยืนบางประการ คอยตีลู่ให้อนาคตของชาติเดินทางหรือไม่ ?

การแสดงออกเชิงก้าวร้าว ตาต่อตา ฟันต่อฟันสไตล์วัยกระเต๊าะ ที่ไม่ควรเกิด มันมาจาก 'จุดยืน' ของเด็กเอง หรือ 'จุดยืน' ของใคร ?

ครั้งหนึ่งเคยมีโอกาสได้คุย สุริยะใส กตะศิลา อดีตแกนนำพันธมิตร ที่วันนี้ผันตัวไปเป็นอาจารย์ในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต

หากลองคิดตามแบบไม่อคติ สิ่งที่ สุริยะ พูดถึงภาพสถาบันการศึกษาแบบไม่เอ่ยสถาบันนั้น น่าสนใจมาก !!

เขาเล่าว่า บทเรียน และประวัติศาสตร์ ทางการเมือง ถูกย้อมด้วยอุดมการณ์กลุ่มบุคคลที่เรียกได้ว่าครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ล้มเหลวทางการเมืองในยุคตัวเองอย่างเข้มข้น หล่อหลอมจนเป็น 'มายาคติ' ให้เด็กในคลาสผูกพัน

โอ้ !! ถ้าเป็นเช่นนั้น น่ากลัวนะ

เพราะหากเป็นเช่นนั้น หมายความว่า 'ซีน' ที่เกิดขึ้นบนเวทีการต่อสู้ทางการเมืองของเด็กรุ่นใหม่ยุคนี้ มันอาจจะไม่ได้มาจาก 'จุดยืน' ของเด็กทั้งหมด แต่ทั้งหมดมาจาก 'จุดยืน' ของใครที่โหดเหี้ยมในการลากเด็กเข้าไปเป็นแขนขาให้ตนแข็งแรงขึ้น

ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ อาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้านปรัชญาการเมือง เคยเล่าว่า เรื่องนี้มันเป็นภาพแบบ 'เดจาวู' โมเดลการเมืองที่เคลื่อนไหวในยุคนี้มันมีมาแล้ว แค่เปลี่ยนตัวละครจากประเทศจีน เป็นประเทศไทย

โดยมีกลุ่มบุคคล ที่เข้ามาปั่นให้คนเกลียดชัง ดูถูก เหยียดหยามกัน ปลุกปั่นให้มวลชนคิดว่าตนเองเป็นคน ‘ หัวก้าวหน้า ’ กว่าคนอื่นในประเทศ แล้วคิดว่าประเทศไม่ก้าวหน้าเพราะมีพวกคนแก่ฉุดรั้ง ต้องจัดการทิ้งไปให้หมด (ทั้ง ๆ ที่คนปลุกปั่นก็ ‘ หงอก ’ พอ ๆ กัน)

โมเดลการเมืองที่ปั่นให้เด็กวัยรุ่นเกลียดชังผู้ใหญ่ เกลียดครูบาอาจารย์ที่คิดต่าง เกลียดพ่อแม่ ถึงขั้นหากทำร้ายหรือทำให้อับอายได้ (เมื่อตนมีอำนาจ) ก็พร้อมจะทำ เพราะมันรู้สึก 'เท่ห์' และมองว่าคนจาก 'โลกเก่า' หรือ 'ล้าหลัง' คือพวกฉุดรั้งสังคม

โมเดลแบบนี้ เกิดขึ้นกับจีนในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) ระหว่างปี 1967 - 1977 ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร

เพราะสุดท้ายพอหมดช่วงนั้น ทุกคนก็ตาสว่าง แกนนำก็โดนจับ โดนประหาร เด็กวัยรุ่นจีนในวันนั้น วันนี้อายุ 60 - 70 ปี ก็พยายามลืม ๆ ไม่พูดถึงความผิดพลาดที่ตัวเองเคยตกหลุมพราง 'จุดยืน' ที่อาจจะไม่ใช่ของตนในช่วงนั้นอย่างถ่องแท้

เยาวชนในรั้วการศึกษา ณ วันนี้ เหมือนเครื่องมือชั้นดีของกลุ่มที่มี 'จุดยืน' ที่เคยล้มเหลว แล้วเฝ้ารอวันรื้อหรือเปลี่ยนประวัติศาสตร์การเมืองไทยและการเมืองโลก ให้รู้ในมุมที่จำกัดกับผลประโยชน์ในมุมตนเอง แล้วเด็ก ๆ ก็พร้อมคล้อยตามอย่างเพลิดเพลินเป็นตุเป็นตะ

ยกตัวอย่างให้พอขำจากเด็ก ๆ ที่พอได้เคยคุยกันมาบ้าง หลายคนยัง 'ตาใส' ใส่เหตุการณ์กีฬาสี (เหลือง - แดง) และมองว่าการถูกน้ำแรงดันฉีดจนขาถ่างของม็อบคณะราษฎร เป็นการกระทำที่เลวร้ายของประวัติศาสตร์ไทย ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าช่วงกีฬาสี เขาฉีดกระสุนจริง ปาบึ้มใส่กันจนไส้แตก เด็ก ๆ ก็แค่ทำ 'ตาใส' ใส่ซ้ำอีกรอบ

หรือแม้แต่การตั้งคำถามว่า สถาบันกษัตริย์ มีไว้เพื่ออะไร ทั้ง ๆ ที่ในช่วงอายุ ก็มิได้ทราบและไม่สืบแสวงหาความเป็นมา แล้วปล่อยความคิดที่ยึดไปตาม 'ความคิด' ให้ผู้อื่นชักจูง ทำร้ายจิตใจคนไทยที่รับรู้ดีว่าตลอดช่วงพระชนม์ชีพของสถาบันทรงทำสิ่งใดไว้เพื่อคนไทย

นี่คือ 'จุดยืน' ที่มาพร้อมความเบือนบิดหรือไม่ ? (ไม่มีคำตอบให้ หากสุดท้ายคนรุ่นใหม่มักบอกว่าตนมีความคิดอยู่แล้ว)

อย่างไรเสีย ความคิดของเด็ก ก็เป็นเหมือนผ้าขาว อยู่ที่ใครจะป้ายอะไรเข้าไปใส่ เขาคงไม่ได้จ้องจะอาฆาตแค้น หรือไม่ได้ต้องการจะรื้อถอนโครงสร้างใด ๆ ของสังคมไทย อันนี้เป็นเรื่องที่การันตีได้ 100%

พวกเขาแค่อยากตั้งคำถาม แล้วก็อยากเห็นสังคมไทยที่เขารักดีกว่าเดิม

เพียงแต่มันก็อยู่ที่ว่า 'จุดยืน' ของพวกเขา อยู่บน 'ความคิด' ของเขาแค่ไหน แล้วจุดยืนนั้น ๆ มาจากการคิดพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์ ประวัติศาสตร์แบบรอบด้านจริงแท้เพียงใด ?

อันนี้ก็ยากจะให้คำตอบอีกเช่นกัน...


อ้างอิง:

https://www.thaipost.net/main/detail/74529

เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวในเทศกาลสงกรานต์ มั่นใจระบบมาตรการป้องกันโควิด – 19

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 เมื่อเวลา 15.00 น. สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) โดยสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี จัดแถลงข่าว การเตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยได้รับเกียรติจาก นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการแถลงข่าว ณ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี 

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เนื่องจากเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้ ยังอยู่ในช่วงการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่ก็ยังคงต้องดำเนินการตามมาตรการป้องการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด ซึ่งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยการนำกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ชนิดตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนมาติดตั้งบริเวณทางเข้า เพื่อคัดกรองนักท่องเที่ยวก่อนการเข้าพื้นที่ รวมทั้งการแสกน QR Code ไทยชนะ การติดตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์ในทุกพื้นที่รอบบริเวณ ฉีดพ่น และเช็ดถูทำความสะอาดรถให้บริการ และจุดให้บริการต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยว ทุก ๆ 2 ชั่วโมง รวมทั้งการเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 - 2 เมตร และการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในการเข้าพื้นที่ โดยจะต้องลงทะเบียนก่อนการเข้าเที่ยวชมทุกครั้ง

โดยการเข้ามาตรวจเยี่ยมพื้นที่ของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีในครั้งนี้ ได้เข้าดูกิจกรรม Behind the zoo และการให้บริการในพื้นที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ซึ่งคาดว่าในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์นี้จะมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเข้าเที่ยวชมจำนวนมาก ขอให้นักท่องเที่ยวมั่นใจในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และที่สำคัญต้องขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวในการลงทะเบียนก่อนการเข้าเที่ยวชม เพื่อเป็นช่วยกันป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 อีกทางหนึ่ง

และสำหรับการเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีในปีนี้ นอกจากการเน้นย้ำเรื่องมาตรการความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว ยังเน้นการจัดงานในรูปแบบการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมกับชุมชน ให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมเรียนรู้และลงมือทำ ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ อาทิ การตัดตุง การพับดอกใบเตย การจัดซุ้มสรงน้ำพระ การจัดจุดถ่ายภาพรดน้ำดำหัวตามประเพณีสงกรานต์ลานนา การจัดกาดหมั้วชุมชน เป็นต้น และกิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างสีสันการท่องเที่ยว โดยจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 - 17 เมษายน 2564 นี้

นอกจากนี้ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีได้ร่วมมือกับสายการบินไทยสมายล์, แอร์เอเชีย, นกแอร์, เวียตเจ็ท และไลอ้อน แอร์ มอบของขวัญพิเศษให้แก่นักท่องเที่ยว กับกิจกรรม “บินลัดฟ้าสู่ล้านนา” ตลอดเดือนเมษายนนี้ ซึ่งในระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2564 มอบส่วนลด 20% และพิเศษสุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาในช่วงวันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 10 - 16 เมษายน 2564 ที่เดินทางมากับสายการบินไทยสมายล์, แอร์เอเชีย, นกแอร์, เวียตเจ็ท และไลอ้อน แอร์ เพียงแสดงบัตรโดยสาร หรือ Boarding Pass ที่เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ ภายใน 7 วัน พร้อมบัตรประชาชน รับส่วนลด 50% ในการเที่ยวชมเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

และมอบแพ็กเกจ “ราคาเดียวได้เที่ยวได้พัก” ให้แก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาพักผ่อนและสัมผัสบรรยากาศแบบธรรมชาติ โดยมอบราคาพิเศษที่พักเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี รีสอร์ท ในราคา 999 บาท พร้อมบัตรเข้าชมฯ 2 ท่าน โดยแสดงบัตรโดยสาร หรือ Boarding Pass พร้อมบัตรประชาชน โดยจุดหมายปลายทางในบัตรโดยสารต้องเป็นจังหวัดเชียงใหม่ ภายใน 7 วัน (นับจากวันที่มาถึง) และสงวนสิทธิ์การจองล่วงหน้า

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี โทร. 053 - 999000 หรือ Line@ : nightsafari, Facebook: เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี Chiang Mai Night Safari


ภาพ/ข่าว : นภาพร ขัติยะ เชียงใหม่

เชียงใหม่ เปิดโครงการพัฒนา และฝึกอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ สำหรับมัคคุเทศก์ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รุ่นที่ 1

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 รองศาสตราจารย์  ดร.ชรินทร์ เตชะพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เกียรติ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาและฝึกอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุสำหรับมัคคุเทศก์ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม – 2 เมษายน 2564  ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี แก้วธรรมานุกูล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมด้วย  แขกผู้มีเกียรติจากหน่วยงานผู้สนับสนุนโครงการ และเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ ผศ. สุรพงษ์ เลิศทัศนีย์ ที่ปรึกษาอาวุโสโครงการเมดิโคโพลิสเชียงใหม่ ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) , นายมานพ แซ่เจีย นายกสมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่ , นายพัลลภ แซ่จิว ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชียงใหม่ , ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และสมาคมสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่

รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เซ็กชั่นที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) มากที่สุดก็คือ เช็กชั่นการท่องเที่ยว กลุ่มมัคคุเทศก์ ซึ่งเดิมมีอาชีพหลักอยู่ก็ทำให้ได้รับผลกระทบในระยะยาว  ยังคิดว่าในระยะ 1 ปียังไม่พลิกฟื้นที่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องหาทางเลือกในการประกอบอาชีพให้เขา ประกอบกับทาง TCELS  สนับสนุนในเรื่องงบประมาณในการฝึกอบรมการดูแลผู้สูงอายุ ก็มองเป้าหมายมาที่กลุ่มของมัคคุเทศก์ก่อน เพื่อจะบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบโควิด 19

และเป็นการเตรียมคน เพราะว่าผู้สูงอายุไม่ได้มีเฉพาะคนไทย รวมถึงถ้าการท่องเที่ยวฟื้นกลับมาแบบสมบูรณ์ กลุ่มตลาดท่องเที่ยวใหญ่ที่ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มองเป้าไว้ในเรื่องโครงการเมดิโคโพลิส ก็คือ การทำให้เราเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ กลุ่มหนึ่งก็คือเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นผู้สูงอายุ ฉะนั้นก็จะสอดรับกับกลุ่มมัคคุเทศก์ที่เข้ามา ในการรับการฝึกอบรมในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวฟื้นตัวแล้วเขาไม่ได้ประกอบอาชีพนี้ แต่ท้ายที่สุดมีการท่องเที่ยวของกลุ่มผู้สูงอายุอยู่มัคคุเทศก์ก็สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปที่จะไปดูแลได้  

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี แก้วธรรมานุกูล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สืบเนื่องจากการบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ที่ระบาดไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลกจึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินระดับนานาชาติ (Public health emergency of international concern – PHEIC) ทำให้หลายประเทศออกมาตรการห้ามการเดินทางเข้า - ออกประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเทียวจีนซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนสูงสุดที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นตัวแปรสำคัญในโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

โดยในปี พ.ศ. 2563 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ถึง 83.21% ส่งผลให้ผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ในเมืองท่องเที่ยว เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับผลกระทบ และว่างงานเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าปัญหาการว่างงานเป็นปัญหาที่สำคัญ และควรบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์อย่างเร่งด่วน เพื่ออุดหนุนให้ผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกภาคส่วนให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในขณะเดียวกันนี้ ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2564 โดยจะมีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวพบเช่นเดียวกันเกือบทุกประเทศทั่วโลก

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับความไว้วางใจจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (Thailand Center of Excellence for Life Sciences – TCELS) , สมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่, สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชียงใหม่และเครือข่ายพันธมิตร ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาและฝึกอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุสำหรับมัคคุเทศก์ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) รุ่นที่ 1 ขึ้น เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ใหม่ด้านการดูแลผู้สูงอายุให้แก่มัคคุเทศก์ เพื่อแก้ไขปัญหามัคคุเทศก์ผู้ว่างงานอันเนื่องมากจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา-19 และเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุโดยบูรณาการความรู้ร่วมกับการให้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยผู้เข้าอบรมจะได้เรียนทั้งภาคทฤษฎี/ภาคปฏิบัติ รวมถึงฝึกปฏิบัติภาคสนาม

สำหรับการจัดโครงการพัฒนาและฝึกอบรมในครั้งนี้ มีมัคคุเทศก์เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน จากจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผศ. สุรพงษ์ เลิศทัศนีย์ ที่ปรึกษาอาวุโสโครงการเมดิโคโพลิสเชียงใหม่ ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า TCELS  ได้มาเริ่มโครงการเมดิโคโพลิสที่เชียงใหม่ เมื่อปลายปี 2562“และทราบจากหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ว่ากลุ่มมัคคุเทศก์ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ทาง TCELS ก็ได้ไปปรึกษากับทางคณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่ามีความเป็นไปได้ไหมที่จะอบรมมัคคุเทศก์ให้มีความรู้เบื้องต้นในการดูแลผู้สูงวัยในระดับเบื้องต้น เพื่อที่จะนำความรู้เหล่านี้ไปช่วยในการดูแลผู้สูงวัย และนักท่องเที่ยว เป็นโครงการแรกที่เริ่มทำในปีนี้ และจะมีโครงการต่อๆไปที่ทำร่วมกับหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยเชื่อมโยงการท่องเที่ยวให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่” 

นายมานพ แซ่เจีย นายกสมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่ กล่าวว่า เนื่องจากระหว่างที่โรคระบาดโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย และมัคคุเทศก์ก็ยังตกงาน และเพื่อเป็นการให้มัคคุเทศก์ได้เพิ่มทักษะในการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะหลังโควิด-19 นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทย  แล้วมัคคุเทศก์กลับมาทำงาน ก็จะได้ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะในการดูแลผู้สูงอายุชาวต่างชาติ ซึ่งจะมีผลในด้านความปลอดภัยในสุขภาพของนักท่องเที่ยวในระหว่างที่มาเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทยซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง

ที่ผ่านมามัคคุเทศก์ก็มีทักษะในการดูแลช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น การอบรมครั้งนี้ก็จะเพิ่มความรู้ให้มัคคุเทศก์ที่สามารถสังเกตและให้ความดูแลนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุชาวต่างชาติเป็นความรู้ที่เราจะสามารถเรียนรู้แล้วไปต่อยอดใช้กับงานด้านมัคคุเทศก์ ทำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเทศไทยแล้วมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น เพราะมัคคุเทศก์ได้ผ่านการอบรมโครงการผู้ดูแลผู้สูงอายุมาแล้ว


ภาพ/ข่าว  วิภาดา เชียงใหม่

เทอร์มินอล 21 พัทยา จัดงาน Fresh Farm ขายสินค้าสดจากไร่ เจาะตลาดออแกนิกส์

สดจากไร่! ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 พัทยา จัดงาน Fresh Farm 2021 แคมป์ติดฟาร์ม ดึงผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสินค้าเกษตรอินทรีย์ออกร้านสร้างจุดขายเจาะดึงดูดนักท่องเที่ยวตลาดออแกนิกส์

มีรายงานว่า ระหว่างวันที่ 16 - 24 มี.ค.64 ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 พัทยา จัดงาน Fresh Farm 2021 แคมป์ติดฟาร์ม โดยนำเอาผู้ประกอบการร้านค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสินค้าเกษตรอินทรีย์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร รวมกว่า 30 แห่ง มาร่วมกันออกร้านจำหน่ายสินค้า

กิจกรรมดังกล่าวเป็นการรวบรวมเอาของดีทั่วประเทศมารวบรวมกันไว้ในแบบแคมป์ปิ้ง ช้อปกลางสวน อร่อยกลางฟาร์ม ด้วยคุณภาพคัดสดจากไร่และแหล่งเพาะปลูกถึงมือผู้บริโภค เพื่อเป็นจุดขายสำหรับตลาดรักสุขภาพและผู้ชื่นชอบดูแลตัวเองด้วยอาหารการกินในผลิตภัณฑ์และสินค้าการเกษตรแบบออแกนิกส์หรือปลอดสารพิษ

ภายในงาน Fresh Farm 2021 แคมป์ติดฟาร์ม ในวันแรกนี้ ถือว่าได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและประชาชนทยอยเข้าร่วมเลือกชมและเลือกซื้อสินค้าภายในงานกันอย่างคึกคัก โดนเฉพาะในส่วนของร้านรื่นเริงกัญ โดยวิสาหกิจชุมชนไทยเฮิร์บพลัส ได้ออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าเครื่องดื่มและอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้อย่างถูกกฎหมายมาจำหน่าย ซึ่งได้รับความสนใจกับผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก


ภาพ/ข่าว : นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี ชลบุรี

เผยความต้องการที่แท้จริงของฝ่ายการเมือง ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา

ประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งกำลังดำเนินเรื่องอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรขณะนี้ ผู้คนมีความเห็นที่แตกต่างกันไป ว่าควรแก้ไขเป็นรายมาตรา หรือ การรื้อทิ้งทำใหม่ทั้งฉบับ

ล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่า "การแก้ไขนั้นทำได้" หากแต่เมื่อรัฐธรรมนูญมาจากเสียงประชามติของประชาชนทั้งประเทศที่ร่วมกันลงคะแนนเสียงรับ-ไม่รับ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559

ดังนั้นการแก้ไขก็ควรต้องกลับไปถามประชาชนก่อน

เพราะหากดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบเลือก สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 200 คนเพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้น คาดว่าต้องใช้เวลา 15 เดือนและใช้งบประมาณถึง 11,000-15,000 ล้านบาท แบ่งเป็น

- ค่าทำประชามติแก้ - ไม่แก้ 3,000 - 4,000 ล้านบาท

- [หากแก้ไข] ค่าเลือกตั้ง ส.ส.ร. 3,000 - 4,000 ล้านบาท

- เงินเดือน ส.ส.ร. 200 คน ซึ่งอ้างอิงจากฐานเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว. ตกคนละแสนกว่าบาท/เดือน และเงินเพิ่มอีกคนละ 9 แสนถึง 1 ล้านบาท

- ค่าเบี้ยประชุม ส.ส.ร. รายบุคคล ในทุกครั้งที่มีการประชุมกรรมาธิการ

- ค่าจัดทำประชามติใหม่เพื่อรับ-ไม่รับ รธน.ใหม่ อีก 3,000 - 4,000 ล้านบาท

-------------------

หากแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

-------------------

- ข้อดี : มีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน ทำให้ข้อครหาหรือข้ออ้างว่า รธน.ไม่เป็นประชาธิปไตย” นั้นหมดไป (หรืออย่างน้อยก็ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม)

- ข้อเสีย : ใช้งบประมาณเยอะ และไม่ได้เป็นเรื่องเร่งด่วนในยุคการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 รวมถึงในความเป็นจริง น้อยคนมากที่จะนั่งอ่าน รธน.ใหม่ทั้งฉบับ โดยเฉพาะข้อที่ไม่ได้เกี่ยวกับปากท้องหรือคุณภาพชีวิตของประชาชน ประชาชนก็มักจะไม่สนใจ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ฝ่ายการเมืองแอบยัดใส่ความต้องการของตน(ซึ่งไม่ได้มีประโยชน์ต่อประชาชน)ไว้ได้

-------------------

หากแก้ รธน.เป็นรายมาตราในรัฐสภาฯ

-------------------

- ข้อดี : ประหยัดงบประมาณ ได้นำมาตราที่แต่ละฝ่ายคิดว่าเป็นปัญหาขึ้นมาหารือกัน สื่อมวลชนรายงานเจาะได้เป็นรายมาตรา และประชาชนได้เห็น "ความต้องการที่แท้จริงของฝ่ายการเมือง" อย่างชัดเจน ว่ามาตราที่ต้องการแก้ไขนั้น เกี่ยวกับปากท้องประชาชน การรักษาอำนาจของตน การเข้าสู่อำนาจของพรรคการเมือง หรือการมุ่งเป้าไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ กันแน่?

- ข้อเสีย : แม้จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตามกระบวนการในสภาผู้แทนฯ แต่ฝ่ายค้านและม็อบนอกสภาฯ ยังก็คงนำเรื่อง รธน.ไม่เป็นประชาธิปไตยมาใช้เป็นประเด็นเพื่อเครื่องไหวทางการเมืองต่อไป

-------------------

สิ่งที่สังคมไทยควรตั้งคำถามก่อนตัดสินใจเรื่อง รธน. 

-------------------

1.) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน และ ความวุ่นวายทางการเมืองตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้ ปัญหามาจากรัฐธรรมนูญ หรือมาจากการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพและไม่โปร่งใส ?

2.) กฎหมายที่มีอยู่ เพียงพอในการจะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและโปร่งใสหรือไม่ ?

3.) หากกฎหมายมีประสิทธิภาพพอสมควร เหตุใดการบริหารงานราชการแผ่นดินหลายอย่างจึงมีปัญหา และไม่มีประสิทธิภาพดังกฎหมายที่เขียนไว้ ?

4.) หากเป็นเพราะการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มแข็ง การตรวจสอบและการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนที่ไม่มีประสิทธิภาพ การจะแก้ไขหรือ "ปฏิรูป" ระบบการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพขึ้นต้องทำอย่างไร ?

คำตอบที่ได้ในคำถามทั้ง 4 ข้อนั้น ต้องเป็นคำตอบที่มาจาก "ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ในแง่ของกระบวนการทำงาน" ไม่ใช่เป็นโวหารหลักการลอยๆ อย่างที่ฝ่ายการเมืองใช้โจมตีกันไปมาตลอดหลายปีนี้

*** ในคอลัมน์ตอนต่อไป ผมจะมาเขียนเจาะลึกลงไปถึงปัญหาที่คนไทยทุกคนต่างเคยพบเจอและอยากให้มีการแก้ไขให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทางเท้า สัญญาณไฟจราจร การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ความซ้ำซ้อนในการขออนุญาตของหน่วยงานราชการ ปัญหาด้านการศึกษาที่ขาดประสิทธิภาพ และอื่นๆ

*** เพื่อวิเคราะห์กันให้เห็นว่าปัญหาที่แท้จริงของ การขาดประสิทธิภาพ” นั้น มันต้องแก้ไขหรือ ปฏิรูป” กันอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่ตามเกมการเมืองที่ฝ่ายการเมืองทั้งในและนอกสภาฯ ทำกันอยู่แบบทุกวันนี้แน่นอนครับ


ข่าวอ้างอิงประกอบ:

https://www.posttoday.com/politic/news/631007

https://www.thairath.co.th/news/politic/2048532

https://www.prachachat.net/politics/news-621654

บทบาทแห่งธรรมศาสตร์ ผลิต (อนาคต) ชาติ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย ! อันดับที่ 561 - 570 ของโลก จากการประกาศผล QS World University Rankings 2021 

จัดอันดับโดย QS Quacquarelli Symonds Limited สถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยพิจารณาจากเกณฑ์การจัดอันดับ อันได้แก่ Academic Reputation (ชื่อเสียงทางวิชาการ)  Employer Reputation (การสำรวจผู้ว่าจ้าง) และ Faculty Student (อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา) รวมทั้งการอ้างอิงในรายงานวิจัยแยกย่อยแต่ละคณะ 

ปัจจุบันมีคณะเปิดการเรียนการสอนจากทั้งศูนย์รังสิต ท่าพระจันทร์ ลำปาง และพัทยา ทั้งหมด 19 คณะ 4 วิทยาลัย 1 สถาบัน 1 สำนักวิชา จำนวนหลักสูตรทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 297 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 139 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 6 หลักสูตร ปริญญาตรีควบปริญญาโท 4 หลักสูตร  ปริญญาโท 118 หลักสูตร และปริญญาเอก 34 หลักสูตร จัดการศึกษาทั้งภาคกลางวันและภาคค่ำ 

อันดับและหลักสูตรเหล่านี้บ่งบอกถึงการรักษามาตรฐานในทางวิชาการและการบริหารสถาบันทางการศึกษาไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะคณะสายสังคมศาสตร์ อย่างนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 
ก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบันนี้ 

แม้ว่าห้วงเวลานี้ ในแวดวงการศึกษาอาจจะมีคำถามถึงความจำเป็นของบทบาทของมหาวิทยาลัยอยู่บ้างก็ตาม แต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือรั้วแม่โดมแห่งนี้ก็ยังคงยืนหยัดพัฒนาต่อไป เพราะหากมองลึกเข้าไปถึงคุณของความมีอยู่ของมหาวิทยาลัย คุณค่าที่นอกจากการบริการวิชาการแล้ว ยังรวมไปถึงสภาพแวดล้อม สังคม ผู้คน และจิตวิญญาณ ซึ่งเมื่อกล่าวถึงจิตวิญญาณของความเป็น “คนธรรมศาสตร์” กลิ่นอายของเสรีภาพ ประชาธิปไตย และการขับเคลื่อนกิจกรรมทางการเมืองก็ลอยขึ้นมาเตะจมูกทันที

นอกจากความโดดเด่นทางวิชาการ และจิตวิญญาณคนธรรมศาตร์แล้ว ธรรมศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 นี้ สิ่งที่เห็นได้ชัดในยุคของฮองเฮา หรือ อธิการบดีหญิง รองศาสตราจารย์เกศินี  วิฑูรชาติ คือการพัฒนาสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยให้น่าอยู่และรักษ์โลก 

จากการตั้งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน ลดการใช้พลาสติก และรักษาสภาพแวดล้อม การเอาจริงเอาจังด้านความยั่งยืนนี้ จึงทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเลือกจาก International Sustainable Campus Network (ISCN) หรือเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนนานาชาติ ให้เป็น Award Winner ประจำปี 2020 ด้าน Cultural Change for Sustainability จากการรณรงค์สร้างวิถีชีวิตที่ปลอดจากการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง (No More Single Use Plastics) นับเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยไทยได้รางวัลจาก ISCN

ไม่เพียงเท่านั้น ในด้านขยายฐานการผลิตอนาคตของชาติ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ยังแตกหน่อ ต่อยอดการบริหารการศึกษาเป็นโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากแนวคิดที่เห็นปัญหาของระบบการศึกษา คือ การเน้นท่องจำมากกว่าทำความเข้าใจ และบรรยากาศของการแข่งขันเพื่อไปสู่ความสำเร็จตามค่านิยมของสังคม 

กลายเป็นปัญหาที่สะสมอยู่ในวัฒนธรรมการศึกษาไทย จนส่งผลให้เด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยขาดความสุขในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มองโรงเรียนเป็นเพียงพื้นที่แห่งการแข่งขัน และเติบโตเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาโดยปราศจากการค้นพบศักยภาพและความสนใจของตัวเอง 

จึงเป็นที่มาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาภายใต้รั้วเหลืองแดงแห่งนี้ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Active Learning) สร้างวัฒนธรรมการเคารพและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน ผู้สอนและผู้ปกครองด้วย

รั้วมหาวิทยาลัยยังคงเป็นดินแดนที่นักเรียนจำนวนมากใฝ่ฝันที่จะก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง แต่ละสถาบันก็จะมีอัตลักษณ์และภาพจำที่แตกต่างกันไป นอกจากอันดับความแข็งแกร่งทางวิชาการแล้ว คุณค่าที่สำคัญของมหาวิทยาลัยที่ทำให้แตกต่าง คือ กลุ่มสังคมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

การเข้าถึงโอกาสทางอาชีพการงาน และเปิดโอกาสทางสังคมในการพบเพื่อนใหม่ๆ ให้การศึกษาเป็นตัวนำทางในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับอีกหลาย ๆ คน 

“การศึกษา” จึงเป็นความเท่าเทียมแรกของมนุษย์ทุกคนที่ควรจะมีโอกาสเข้าถึง และตลอดระยะเวลา 86 ปี รั้วแม่โดมแห่งนี้ ก็ดูเหมือนว่ากำลังทำหน้าที่นี้อยู่ ดั่งปรัชญาของการตั้งมหาวิทยาลัย ปรากฏตามสุนทรพจน์ ของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รายงานต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในครั้งพิธี เปิดมหาวิทยาลัยขึ้น เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 ว่า “มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา”

ศรชล.ร่วม หน่วยงานทางทะเล ปล่อยลูกหอยลาย 5 ล้านตัว รักษาความสมดุลทางธรรมชาติสัตว์น้ำ

น.อ.ธัญญ์นิธิ แก้วเวียงเดชณรัฐ  รอง ผอ.ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จว.ประ จวบคีรีขันธ์ (รอง ผอ.ศรชล.จว. ประจวบคีรีขันธ์) ว่าที่ น.อ.ไกรพิชญ์ กรวีร์ปภาวิทย์ หน.ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ศคท.จว.ประจวบคีรีขันธ์) นายอติชาติ ชัยศรี นายกสมาคมประมงปราณบุรี นายนุกูล วัฒนากร ปลัดอำเภอปราณบุรี และหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน อาทิ ศูนย์รับแจ้งเรือเข้าออกปราณบุรี ตำรวจน้ำปราณบุรี และประมงปราณบุรี ร่วมปล่อยลูกหอยลาย จำนวน 5,000,000 ตัว โดยได้รับการสนับสนุนลูกหอยลาย จากศูนย์วิจัยประมงคลองวาฬ ประจวบคีรีขันธ์

มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปล่อยลูกหอยลายจำนวน 5,000,000 ตัว ลงสู่ท้องทะเล เพื่อรักษาความสมดุลย์ทางธรรมชาติของสัตว์น้ำ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และชายฝั่งในพื้นที่ อ่าวปราณบุรี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ซึ่งเกิดขึ้นจาก ความร่วมมือของ ศรชล.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประมงอำเภอปราณบุรี สมาคมประมง และผู้ประกอบการประมงปราณบุรี และศูนย์วิจัยประมงคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ภาพ/ข่าว : นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน

เจ้าหน้าที่คุมเข้มจังหวัดชายแดนใต้ วันแรกของการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รอบใหม่ครั้งที่ 63

หน่วยกำลังในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพิ่มการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดภายหลังเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง นับตั้งแต่เหตุการณ์เผายางรถยนต์และลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ จนมาถึงเหตุการณ์ปล้นรถยนต์ ในพื้นที่ จ.ยะลา และเหตุการณ์คนร้ายยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่ทหารพรานเสียชีวิตที่ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี และเมื่อวันที่ 19 มี.ค.นี้ ตรงกับวันสุดท้ายของการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ครั้งที่ 62 และในวันนี้ 20 มี.ค.จะเป็นวันแรกของต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รอบใหม่ครั้งที่ 63 ซึ่งมีการบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 19 มิ.ย.64 ซึ่งทำให้กลุ่มคนร้ายในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ถูกจำกัดเสรี

เมื่อวันที่ 20 มี.ค.64  ที่ศูนย์ปฏิบัติการร่วมทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และหน่วยกำลังภาคประชาชนในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ได้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดภายหลังเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง นับตั้งแต่เหตุการณ์เผายางรถยนต์และลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ จนมาถึงเหตุการณ์ปล้นรถยนต์ ในพื้นที่ จ.ยะลา และเหตุการณ์คนร้ายยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่ทหารพรานเสียชีวิตที่ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี และในวันที่ 19 มี.ค.นี้ ตรงกับวันสุดท้ายของการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ครั้งที่ 62 และในวันนี้ 20 มี.ค.จะเป็นวันแรกของต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รอบใหม่ครั้งที่ 63

ซึ่งมีการบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 19 มิ.ย.64 ทำให้กลุ่มคนร้ายถูกจำกัดเสรี   ขณะที่มีรายงานว่ากลุ่มผู้ก่อเหตุพยายามที่จะสร้างสถานการณ์เพื่อเบี่ยงเบนเจ้าหน้าที่เพื่อเปิดช่องให้กลุ่มวางระเบิดนำระเบิดที่จัดเตรีมมาเพื่อทำการวางคาร์บอมบ์ในย่านเศรษฐกิจในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจ 3จังหวัดชายแดนใต้ โดยทำการลอบวางระเบิดแสวงเครื่องขนาดเล็ก (ไปป์บอมบ์) ภายในร้านสะดวกซื้อ และตู้เอทีเอ็มเพื่อทำการสร้างสถานการณ์ ขณะที่การรักษาความปลอดภัยในเขตเมือง

เพื่อป้องกันเหตุรุนแรงโดยเฉพาะในวันแรกของต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รอบใหม่ครั้งที่ 63 ซึ่งมีการบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 19 มิ.ย.64  ซึ่ง พ.ต.อ.เอกชัย พราหมณกุล ผกก.สภ.เบตง บอกว่าได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจต่าง ๆ เฝ้าระวังรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ต้องสงสัยอย่างเข้มงวด รวมถึงขอกำลังทหารและอาสาสมัครรักษาดินแดนเพิ่มเติมเข้ามาดูแล นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยตามสถานที่ราชการและแหล่งชุมชนเพื่อป้องกันความรุนแรงอย่างเข้มงวด และขอความร่วมมือจากประชาชนคอยเป็นหูเป็นตาด้วย

ขณะที่เมื่อเวลา 20.00 น. ที่ผ่านมา  รับแจ้งว่า มีปล้นทรัพย์ บริเวณบ้านเลขที่ 108 ม.9 บ.บุดี ต.สะเตงนอก อ.เมืองยะลา จ.ยะลา โดยมีกลุ่มคนร้าย 7 - 8 คน ปิดบังใบหน้า บุกเข้าไปภายในบ้าน และปล้นเอารถยนต์กระบะ โตโยต้า แคปสีบรอน ทะเบียน บจ 3793 ยะลา โดยคนร้าย ใช้รถยนต์ฮอนด้า CRV เป็นพาหนะในการก่อเหตุ แล้วหลบหนีไปทาง แยกปารามีแต อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ต่อมาได้รับแจ้งจาก ร.อ.วิถีชัย อ่อนสนิท ผบ.ร้อย ทพ.4113  ได้ตรวจพบรถยนต์กระบะวีโก้ หมายเลขทะเบียน 3793  ยะลา ซึ่งถูกปล้นไปโดยคนร้ายได้นำมาจอดทิ้งไว้ในพื้นที่ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง/คุณชานนท์ บ้าน ปะกาสาแม ม.1  ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการเข้าตรวจสอบ

นอกจากนี้ยังมีรถยนต์เฝ้าระวัง อีกจำนวน 5 คันที่กลุ่มคนร้ายได้ปล้นไป และมีรถจักรยานยนต์เฝ้าระวังพิเศษ อีก จำนวน 41 คัน ซึ่งรถจักยานยนต์บางส่วนเจ้าหน้าที่สามารถตามตรวจยึดคืนได้บ้างส่วน ซึ่งเจ้าหน้าที่เกรงว่าจักรยายนต์และรถยนต์ กลุ่มคนร้ายจะนำไปเพื่อเตรียมก่อเหตุระเบิดที่ได้ล็อตเป้าหมายเอาไว้แล้ว


ภาพ/ข่าว : ธานินทร์  โพธิทัพพะ

เปิดศูนย์ท่องเที่ยวภูพระบาทบ้านติ้ว อุดรธานี พร้อมเตรียมยกระดับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

วันที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 14.30 น. ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ  จ.อุดรธานี นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผช.รมว.วัฒนธรรม เป็นประธานเปิด “ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” เพื่อยกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวมาตรฐานระดับสากล เตรียมความพร้อมในการนำเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม , นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร นายวันชัย จันทร์พร รอง ผวจ.อุดรธานี ร่วมพิธี 

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินจอมธาตุ-ภูพระบาท (เตรียมการ) พื้นที่ 3,430 ไร่ พบหลักฐานทางโบราณคดีและโบราณสถาน กระจายอยู่ทั่วบริเวณ และเกิดขึ้นในหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ 54 จุด มากที่สุดในประเทศไทย , เพิงผาหินขนาดใหญ่ , วัดที่สร้างขึ้นในสมัยลานช้างกว่า 70 แห่ง รวมทั้งรอยพระพุทธบาท 3 รอย ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับตำนานพระธาตุพนม สมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราขสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2535

นายมนตรี ธนภัทรพรชัย หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท นำ นายปรเมศวร์ฯ ผช.รมว.วัฒนธรรม พร้อมคณะ เข้าชมนิทรรศการภายในอาคารศูนย์ฯ เป็นอาคารภายนอกโปร่งแสง จัดแสดงเนื้อหาพัฒนาการด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ และศาสนา ของผู้คนในพื้นที่ภูพระบาท และใกล้เคียง รวมทั้งมีห้องให้บริการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ โดยห้องจัดแสดงแบ่งออกเป็น 6 ส่วน  คือ ธรรมชาติบนภูพระบาท , ธรณีวิทยาแห่งเทือกเขาภูพาน , ภูพระบาทภูเขาศักดิ์สิทธิ์ , ห้องโบราณคดีผ่านสื่อผสมผสาน , ห้องอริยสงฆ์ภูพระบาท และ ห้องชาติพรรณไทยพวน   

จากนั้นคณะ ขึ้นรถไฟฟ้าบริการท่องเที่ยว เข้าชมกลุ่มโบราณสถาน และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แบบประเพณีอีสาน ด้วย “ขันหมากเบ็ง” ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ ที่มนุษย์ที่อยู่ในยุคต่างกัน ได้ดัดแปลงเพิงผาหินทราย ลายล้อมด้วยใบเสมาขนาดต่าง ๆ ให้เป็นศาสนสถานประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นกลุ่มกระจายอยู่ทั่วภูพระบาท โดยเริ่มต้นที่ หอนางอุสา ก่อนเดินเท้าชมพื้นที่โดยรอบ อาทิ หีบศพพ่อตา , หีบศพเท้าบารส , หีบศพนางอุสา และถ้ำพระ ตลอดเส้นทางเดินถูกปรับแต่งให้เดินได้สะดวก พร้อมป้ายอธิบายความเป็นมา รวมทั้งป้ายชื่อต้นไม้ตลอดทาง

นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร ได้จัดสรรงบประมาณ 15.34 ล้านบาท จากงบยุทศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว กีฬา และวัฒนธรรม พัฒนาและปรับปรุงศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเดิม เพื่อเพิ่มศักยภาพอาคารปฏิบัติการ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มารับบริการ ยกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวมาตรฐานสากล เตรียมความพร้อมเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก   

“นอกจากนี้ยังบริการให้ข้อมูลด้วยเทคโนโลยี ที่ผสมโลกของความเป็นจริงกับโลกเสมือน หรือ AR สำหรับเด็ก เยาวชน ผู้สูงวัย และคนพิการ ทั้งนี้เนื้อหาที่จัดแสดง เหมาะสำหรับผู้มารับริการหลายช่วงอายุ  ที่มีความสนใจในพัฒนาการด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ และศาสนาของคนในพื้นที่ภูพระบาท และบริเวณใกล้เคียง โดยได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูล และวัตถุจัดแสดงจากชาวไทยพวนบ้านผือ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ ”

นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผช.รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และภูมิทัศน์ศักดิ์สิทธิ์ของผู้คนในลุ่มน้ำโขงและอุดรธานี ที่มีความพร้อมและศักยภาพ สำหรับการเสนอชื่อขึ้นเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ โดยกรมศิลปากรจะเสริมสร้างศักยภาพ ให้มีความพร้อมในทุกด้าน เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาขึ้นทะเบียน นอกจากจะได้อนุรักษ์โบราณสถานอย่างเหมาะสมแล้ว ยังได้ปรับปรุงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ยกระดับให้ได้มาตรฐานระดับสากล หวังว่าวันนี้จะเป็นก้าวแรกของศูนย์ฯ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาในด้านอื่น ๆ ต่อไป 

สำหรับ“อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” เคยได้ขึ้นบัญชีชั่วคราวรับการประเมินเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ศูนย์มรดกโลกได้รับเอกสารฉบับสมบูรณ์ วันที่ 30 มกราคม 2558 , ผู้เชี่ยวชาญ ICOMOS ลงพื้นที่วันที่ 17-24 กันยายน 2558 ,  ต่อมาประเทศไทยต้องส่งข้อมูลเพิ่มเติมตามคำขอวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 , ICOMOS ส่งรายงานการประเมินฉบับสมบูรณ์วันที่ 11 มีนาคม 2559 เพื่อให้เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ยูเนสโก ที่กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ระหว่างวันที่ 10-20 กรกฎาคม 2559 แต่ประเทศไทยถอนตัว เพราะเชื่อว่าเอกสารไม่สมบูรณ์ ต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2562 ครม.ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนนำเสนออีกครั้ง โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่าง การจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม


ภาพ/ข่าว : นายกฤษดา จันทร์ดวง (ผู้สื่อข่าว)

สถานีตำรวจภูธรเมืองกระบี่ ส่งมอบประติมากรรมสึนามิ “กอดฉันให้แน่น” ผลงานของหลุยส์ บูร์ชัวร์ ศิลปินชื่อก้องโลก

ประติมากรรมสึนามิ “กอดฉันให้แน่น”  ผลงานของหลุยส์ บูร์ชัวร์ ศิลปินชื่อก้องโลก สถานีตำรวจภูธรเมืองกระบี่ ส่งมอบให้อุทยานหมู่เกาะพีพี  หลังเก็บรักษาไว้นานกว่า10 ปี  ขณะที่อุทยานหารือกับจังหวัดเตรียมจัดหาสถานที่ติดตั้งที่ปลอดภัย  เผยมีมูลค่ากว่า 100ล้าน

วันที่ 19 มี.ค.2564 ที่สถานีตำรวจภูธร เมืองกระบี่   พ.ต.อ.ณรงค์  ลักษณะวิมล  ผกก.สภ.เมืองกระบี่  ได้ทำการส่งมอบ ประติมากรรมสึนามิ   “กอดฉันให้แน่น” ( Hold me close ) จำนวน 2 ชิ้น  ให้แก่นายประยูร  พงศ์พันธ์  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี  จ.กระบี่  เพื่อนำไปเก็บรักษาในที่ปลอดภัย ก่อนที่จะนำไปติดตั้งในสถานที่ใหม่  โดยมีนายสมภพ   บัวสกุล  สรรพากรพื้นที่อำเภอเมืองกระบี่  เป็นพยานในการรับมอบ  

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี  กล่าวว่า ประติมากรรมสึนามิ กอดฉันให้แน่น ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่ สภ.เมืองกระบี่ มาประมาณ 10 ปี  ปัจจุบันอาคารสภ.เมืองกระบี่ มีสภาพเก่าจะต้องมีการรื้อถอน เพื่อก่อสร้างใหม่ทำให้ไม่มีที่เก็บ  ทางสภ.เมืองกระบี่ จึงได้แจ้งให้หน.อุทยานฯหมู่เกาะพีพี ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการเก็บรักษาประติมากรรมสึนามิ มารับไปเก็บรักษาดูแล  ซึ่งได้เดิมทีทางนายสมชาย หาญภักดีปฏิมา รองผวจ.ได้ประสานสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่นำเก็บรักษาในเซฟ แต่ตู้มีขนาดเล็กไม่สามารถเก็บประติมากรรมฯได้ ทางอุทยานฯจึงต้องมารับไปเก็บรักษาเอง ทั้งนี้ประติมากรรม กอดฉันให้แน่น  ที่ชิ้นงานศิลปะที่ทรงคุณค่า มีเพียง1 เดียวในโลก มีมูลค่าไม่ต่ำกว่ากว่า 100 ล้านบาท

สำหรับประติมากรรมสึนามิ กอดฉันให้แน่น  เป็นผลงานของ “หลุยส์ บูร์ชัวส์” (Louise Bourgeois) ประติมากรหญิงชื่อดังระดับโลกเชื้อสายฝรั่งเศส ซึ่งเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 31 พ.ค.2553 ด้วยวัย 98 ปี  ได้สร้างขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์ สึนามิ ถล่มชายฝั่งอันดามัน เมื่อปลายปี 2547  และถูกนำไปติดตั้งไว้ที่บริเวณสวนสน หาดนพรัตน์ธารา ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-.หมู่เกาะพีพี  เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวหลังได้รำลึกถึงเหตุการณ์สึนามิ

ต่อมามีผู้พบเห็น ประติมากรรมทั้งสองชิ้น ถูกนำแสดงอยู่ที่ชั้น 9 หอศิลป์ กรุงเทพฯ ในนิทรรศการสันติภาพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน - 22 สิงหาคม 2553 โดยกระทรวงวัฒนธรรม  ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงควาไม่เหมาะสม  ชาวจังหวัดกระบี่เรียกร้องให้นำกลับมาไว้ที่เดิม  ก่อนที่นำไปจัดเก็บไว้ที่ สภ.เมืองกระบี่ หลังศิลปินเจ้าของผลงานเสียชีวิต ส่งผลให้ผลงานศิลปะของเธอที่มีคุณค่า หายาก และเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั่วโลก....


ภาพ/ข่าว : ณัฏฐพงษ์ ศรีปล้อง

เริ่มแล้ว! งาน "Cars and Coffee on Vacation ตอน Skaters Paradise" นักท่องเที่ยวไทย-เทศ เข้าร่วมงานอย่างคึกคัก ดารานักร้องชื่อดังยุค 90 "เต๋า สมชาย" ร่วมแจม สร้างสีสัน

เมื่อเวลา​ 18.00 น.​ วันที่​ 20 มีนาคม​  2564​ ที่​ลานสีฟ้า แหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา จ.ชลบุรี​ ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่เก็บภาพบรรยากาศ​งาน "Cars and Coffee on Vacation ตอน Skaters Paradise" พบว่ามีประชาชนทั้งคนไทยชาวต่างชาติ​ ทั้งในพื้นที่​ จ.ชลบุรี​ และจังหวัด​ต่างๆ เข้าร่วมงานอย่างคึกคัก นอกจากนี้ยังมีนักร้องนักแสดงชื่อดังยุค 90 "เต๋า" สมชาย​ เข็มกลัด เข้าร่วมงาน ร่วมแจมกับเหล่า Skaters สร้างสีสันให้กับกิจกรรมเป็นอย่างมาก

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับเมืองพัทยา และกลุ่ม Cars And Coffee Club Thailand กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคมนี้ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำหรับกลุ่มผู้ชื่นชอบรถยนต์ประเภทต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ให้พัทยาเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มที่ชื่นชอบการขับรถ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวและพักผ่อนยังเมืองพัทยามากขึ้น สร้างสีสันการท่องเที่ยวในเมืองพัทยาให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง

โดยภายในงานเป็นการรวมตัวของเหล่าสาวกคนรักรถจากทั่วสารทิศกว่า 300 คัน ที่มามีตติ้ง พบปะพูดคุย สังสรรค์ ภายใต้ธีมงานพิเศษที่มีพื้นที่สำหรับเ​หล่า skaters ทุกท่าน ในแบบริมทะเลบาลีฮาย มีร้าน foodtruck อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งภายในงานจะมีจุดวัดตรวจอุณหภูมิคัดกรอง ผู้ร่วมงานต้องสวมหน้ากากอนามัย รวมถึงรถทุกคันต้องติดป้ายทะเบียนมาร่วมงาน

ทั้งนี้ กำหนดจัดกิจกรรม 2 วัน โดยในวันที่ 20 มีนาคม จัดขึ้นที่ลานสีฟ้า แหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เวลา 16.00-20.00 น. โดยประมาณ ส่วนในวันที่ 21 มีนาคม งานจะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. ซึ่งเหล่าขบวนรถที่เข้าร่วมงานจะไปรวมตัวจอดรถที่ 2 ฝั่งถนนตลอดแนวริมทะเลพัทยา ตั้งแต่พัทยาเหนือเป็นต้นไป


ภาพ/ข่าว​ : อนันต์​  สุข​วัฒนะ​ /  เอกชัย​  สุข​วัฒนะ​

ผู้​สื่อข่าว​ภูมิภาค​ พัทยา​ จ.ชลบุรี

ปลดล็อก!! ‘นิ้วล็อก’

ในโลกยุคดิจิทัล เพียงใช้ปลายนิ้วสัมผัสก็สามารถเนรมิตทุกสิ่งได้ตามที่ต้องการ ผลที่ตามมาคือมีผู้ประสบปัญหา ‘นิ้วล็อก’ จำนวนมากขึ้นและที่สำคัญคือช่วงอายุที่เป็นน้อยลง เนื่องจากการใช้งานของนิ้วมือที่เปลี่ยนไป จากที่เคยใช้นิ้วกดแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ พัฒนาเป็นการแตะเลื่อนหน้าจอโทรศัพท์มือถือแทน นอกจากนี้ยังติดเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานอีกด้วย จึงส่งผลให้ชะลอการเจริญเติบโตทางโครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อในร่างกาย วัยรุ่นหลายคนมีอาการกระดูกสันหลังคด หลังค่อม เสียบุคลิกภาพ และเมื่อถึงวัยทำงานก็อาจเกิดออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

‘นิ้วล็อก’ เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่ไม่สามารถ ‘งอ’ หรือ ‘เหยียด’ ได้อย่างปกติ ต้องใช้นิ้วมือด้านตรงข้ามมาแกะนิ้วที่ล็อกออกจนเกิดเสียงดัง ‘กึ้ก’ คล้ายเสียงไกปืนลั่น อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว หากเป็นมาก นิ้วอาจค้างอยู่ในท่างอ(ท่าเหนี่ยวไกปืน) พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 3 - 4 เท่า และ พบในนิ้วมือข้างที่ถนัดมากกว่า

ใครที่เสี่ยงต่อการเป็น ‘นิ้วล็อก’ !?!

  • แม่บ้านที่ชอบหิ้วถุงพลาสติกหนักๆเวลาจ่ายตลาด หรือ ทำอาหาร
  • ชอบยกของหนัก เช่น หม้อแกง กะละมังใส่น้ำจนเต็ม
  • ทำอาชีพรับจ้างซักผ้า หรือ ต้องบิดผ้า โดยมักจะเป็นนิ้วล็อกที่นิ้วชี้
  • แม่ค้าขายข้าวแกงที่ต้องใช้ตะหลิวหรือทัพพีทำกับข้าวปริมาณเยอะ ๆ
  • นักเรียน นักศึกษา ต้องจับดินสอปากกาบ่อย ๆ หรือ อาชีพนักเขียน จิตรกร
  • เล่นเกม หรือ พิมพ์งานด้วยคอมพิวเตอร์
  • นักกีฬาประเภทที่ต้องออกแรงกำมือมากกว่าปกติ เช่น กอล์ฟ เทนนิส ปิงปอง หรือ แบดมินตัน
  • ทำอาชีพที่ต้องใช้มือทำงานหนัก ๆ ซ้ำ ๆ เช่น ช่างที่ต้องใช้ไขควง ใช้เครื่องเจาะถนน คนส่งน้ำ คนส่งแก๊ส คนสวนที่ต้องใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้, ใช้จอบเสียมขุดดิน
  • ทำอาชีพขายเนื้อสัตว์ จะมีการใช้มือซ้ำๆในการสับเนื้อสัตว์
  • ทันตแพทย์
  • ช่างงานฝีมือเย็บปักถักร้อย ช่างตัดเสื้อผ้า
  • ช่างตัดผม ช่างทำผม

ความเสี่ยงต่าง ๆ ล้วนเกิดจากการใช้งานนิ้วมือซ้ำ ๆ ทำให้เอ็นในนิ้วมือเสียดสีกับอุโมงค์หุ้มเอ็นในขณะใช้งานครั้งแล้วครั้งเล่า เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบซ้ำ ๆ เอ็นในนิ้วมือหรืออุโมงค์หุ้มเอ็นมีการปรับตัวหนาขึ้นจนเกิดเป็นพังผืด เป็นเหตุให้เอ็นในนิ้วมือสูญเสียความยืดหยุ่น ประกอบกับเมื่อช่องอุโมงค์หุ้มเอ็นหนาตัวแคบเข้า ส่งผลให้เอ็นในนิ้วมือลอดผ่านอุโมงค์ได้ยากเรียกว่า “นิ้วล็อก”

อาการของ ‘นิ้วล็อก’ 4 ระยะ

ระยะแรก มีการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ เมื่อกดแล้วเจ็บปวดมากขึ้น แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด ส่วนใหญ่ปวดมากหลังตื่นนอนตอนเช้าหรืออากาศเย็น

ระยะที่ 2 เริ่มมีอาการสะดุดของนิ้วเวลางอหรือเหยียดนิ้วมือ เวลากำมือหรือแบมือจะรู้สึกตึงๆ เหยียดนิ้วได้ไม่คล่อง อาจได้ยินเสียงดัง ‘กึ้ก’ คล้ายเสียงไกปืนลั่น เกิดจากเอ็นที่เคลื่อนผ่านอุโมงค์หุ้มเอ็น โดยมีการปวดรุนแรงมากขึ้นเมื่อทำงานหนัก

ระยะที่ 3 เกิดอาการ “นิ้วล็อก” พร้อมกับการเจ็บปวด บวม ชา ไม่สามารถเหยียดนิ้วมือออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยเหยียด นิ้วมืออาจค้างอยู่ในท่างอ(ท่าเหนี่ยวไกปืน) หรืออาจติดล็อกในท่าเหยียดนิ้วมือจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

ระยะที่ 4 มีการอักเสบบวมและเจ็บปวดมาก นิ้วมือบวมและติดอยู่ในท่างอไม่สามารถเหยียดออกได้ ถ้าใช้มืออีกข้างช่วยเหยียดจะปวดมาก สร้างความเจ็บปวดและความยากลำบากในการใช้งานมือ

การรักษา “นิ้วล็อก”

ในระยะแรกที่เริ่มปวด ควรพักการใช้งานมือจนอาการปวดทุเลาลง อาจใช้เวลาหลายวัน ในช่วงนี้อาจประคบด้วยความเย็น 15 นาทีใน 1 - 2 วันแรก หลังจากนั้นแช่น้ำอุ่น 15 นาทีในวันถัดมา ทำวันละ 3 - 4 ครั้ง อาจร่วมกับการกินยาต้านการอักเสบหรือวิตามินบีด้วย

ระยะที่ 2 ถ้ามีอาการปวดมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันสามารถกินยาระงับปวดได้ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อลดการปวดและภาวะตึงของเอ็นนิ้วมือ

ระยะที่ 3 แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์ที่อุโมงค์หุ้มเอ็น ซึ่งเป็นการรักษาแบบชั่วคราว ช่วยลดการอักเสบได้ดี อาการจะดีขึ้นใน 2 - 3 วันหลังจากฉีดยา แต่ไม่ควรฉีดมากกว่า 3 ครั้งต่อปี

ระยะที่ 4 การผ่าตัดเพื่อเปิดอุโมงค์หุ้มเอ็นให้กว้างขึ้นให้เอ็นนิ้วมือเคลื่อนผ่านได้สะดวก

อย่างไรก็ตาม ‘นิ้วล็อก’ อาจเกิดซ้ำได้อีก โดยการดูแลเพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิด ‘นิ้วล็อก’ มีดังนี้

1.) พักการใช้งานมือ เมื่อต้องใช้มือทำงานหนักเป็นเวลานาน

2.) หมั่นเคลื่อนไหวข้อมือและข้อนิ้วมือทุกข้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและป้องกันไม่ให้เกิดการคั่งค้างของของเสียบริเวณข้อต่อ

3.) ออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อแขน, ข้อมือและนิ้วมือ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายดังนี้

ยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมืออีกข้างหนึ่งกระดกขึ้น - ลง

ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ 10 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อชุด ทำ 3 ชุดต่อวัน

  

ฝึกกำ - แบมือ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือและเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อภายในมือ

หรืออาจบีบลูกบอลในฝ่ามือก็ได้

สามารถเพิ่มกำลังกล้ามเนื้องอ-เหยียดนิ้วมือโดยการใช้หนังยางเป็นแรงต้าน

เหยียดนิ้วมืออ้าออกพร้อมออกแรงต้านกับยางยืดค้างไว้ 10 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อชุด ทำ 3 ชุดต่อวัน

4.) นวดและดูแลมือให้สะอาดอยู่เสมอ เมื่อพบอาการติดขัดหรือเคลื่อนไหวลำบากของนิ้วมือ โดยเฉพาะช่วงหลังตื่นนอน สามารถใช้นิ้วมืออีกข้างนวดและช่วยยืดเหยียดนิ้ว

วางนิ้วโป้งขวาไว้ที่โคนนิ้วโป้งซ้าย จากนั้นเคลื่อนนิ้วโป้งขวากดนวดจากโคนนิ้วจนสุดข้อมือ

ทำเช่นนี้ทีละนิ้วจนครบทุกนิ้ว สลับมืออีกข้างในลักษณะเดียวกัน

ใช้นิ้วโป้งขวานวดคลึงกล้ามเนื้อฝ่ามือซ้ายในลักษณะวงกลมเล็ก ๆ ซ้อนกัน

เริ่มจากทางด้านนิ้วก้อยไปหานิ้วโป้ง

ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ประกบเข้ากับนิ้วที่ต้องการนวด ออกแรงนวดจากปลายนิ้วไปยังโคนนิ้ว ทั้งด้านหน้า ด้านหลังและด้านข้างของทุกนิ้ว

ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ประกบเข้ากับด้านข้างของนิ้วที่ต้องการนวด

ออกแรงดึงจากโคนนิ้วไปยังปลายนิ้ว

ทำเช่นนี้ทีละนิ้วจนครบทุกนิ้ว สลับมืออีกข้างในลักษณะเดียวกัน

5.) เมื่อต้องทำงานลักษณะกำมือหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น จับตะหลิว หิ้วของ จับปากกา ควรดัดแปลงอุปกรณ์ที่ใช้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเหมาะสม เพื่อช่วยกระจายน้ำหนัก หรือ หาอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรง เช่น ใช้เสียมด้ามใหญ่ทำให้ไม่ต้องกำมือแน่นเกินไป หรือ ใช้ผ้าจับช่วยหมุนเปิดขวด เป็นต้น

6.) ระมัดระวังการใช้งานมือและไม่ใช้มือทำงานผิดประเภท เช่น ขุดดิน ปอกเปลือกมะพร้าว เป็นต้น และถ้ามีการบาดเจ็บให้รีบรักษาทันที


เอกสารอ้างอิง

รศ.นวลอนงค์ ชัยปิยะพร. (2556). นิ้วล็อก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

นพ.วิชัย วิจิตรพรกุล. (2548). นิ้วล็อก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้ากรุ๊ป.

กนกอร บุญพิทักษ์. (2555). นิ้วล็อกกับโรคของกระดูกและเอ็น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์ feel good.

หมายชูชาติ หรือ หมาย ชังชาติ

สำนักไหนหมายชูประเทศชาติ สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง

ข้อความนี้ตัดถ้อยคำมาจากเพลงประจำมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ทำนองมอญดูดาว) อันเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพลงแรก ประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา เมื่อ พ.ศ. 2478 จากวันที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เพื่อเป็นตลาดวิชาที่ให้การศึกษาด้านกฏหมายและการเมืองแก่ประชาชนทั่วไป จนถึงวันนี้กว่า 87 ปี ที่สำนักนี้สร้างบุคลากรคุณภาพจำนวนมากออกมาขับเคลื่อนประเทศไทย หลายท่านเป็นบุคคลสำคัญของประเทศและของโลก แต่ ณ ปัจจุบัน “สำนักนี้ยังหมายชูประเทศชาติจริงหรือ ?”

เพราะหากเรามองช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่าน บริบทโดยรวมของขบวนการนักศึกษาที่ผลักดันความชอบธรรมของสังคมพร้อมด้วยคณะอาจารย์ผู้ปลูกฝังสำนึกของธรรมศาสตร์นั้นเปลี่ยนไปมาก สังเกตได้จาก “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งไม่ทราบว่าจะไม่ทนอะไร ? เพราะบรรยากาศวันนั้นทุกประเด็นที่เรียกร้องโดยนักศึกษา มีแต่ความย้อนแย้ง หยาบคาย ไม่สร้างสรรค์ กักขฬะ ตื้นเขินทางปัญญาและความคิดเป็นอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ 10 ข้อ ก็รับมาอ่านบนเวทีทั้ง ๆ ที่ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมี และไม่ทราบว่ามาจากใคร ร่วมไปถึงอีกหลาย ๆ ภาพกิจกรรมบนเวที ที่ละเมิดขอบเขตทางกฏหมายอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นความจริงอันน่ารันทดว่านักศึกษาธรรมศาสตร์บางส่วนได้กลายเป็นหุ่นเชิดไร้สมองไปเสียแล้ว นอกจากนั้นการแสดงความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยก็ช่างมักง่าย อาจารย์ระดับรองอธิการบดี ออกมาแก้ต่างเรื่องการชุมนุมว่า “ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีการทำผิดกฏหมายเกิดขึ้น” แต่จะดำเนินมาตรการต่าง ๆ ตามบทบาทและหน้าที่ของมหาวิทยาลัย

สุดท้ายก็ไม่มีสิ่งใดที่แสดงถึงการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ไม่น่าเชื่อเลยว่านี่คือมหาวิทยาลัยที่เริ่มโดยนักกฏหมายและมุ่งเน้นสอนให้คนรู้กฏหมาย แต่เมื่อมีคนทำผิดกฏหมายซึ่งหน้า กลับปิดตาทั้งสองข้างแล้วบอกว่าตนไม่เคยรู้มาก่อน ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า “ตอแหล” เช่นนี้แล้ว สำนักนี้หมายชูประเทศชาติจริงหรือ ? แล้วจะชูด้วยอะไร ?

เหลืองของเราคือธรรมประจำจิต แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้ อีกหนึ่งวรรคทองของธรรมศาสตร์อันหมายถึง สำนึกในความเป็นธรรมและความเสียสละเพื่อสังคม วรรคทองนี้คงไม่อยู่ในใจของคณาจารย์ที่ประท้วงหยุดสอนแต่ยังรับเงินเดือน ขู่ว่าจะลาออกแต่ก็กลับคำ คณาจารย์หน้าเดิมที่ไม่เคยสร้างประโยชน์อื่นใดให้สังคมนอกจากการแก้มาตรา 112 ทั้งยังสอนสั่งสอนลูกศิษย์ด้วยความบิดเบี้ยวทางความคิด ให้พวกเขาเติบโตอย่างต่ำตม จริยธรรมและสำนึกความเป็นธรรมศาสตร์ของอาจารย์พวกนี้หายไปไหน ?  

นอกจากนี้ยังมี อีแอบระดับอดีตอธิการบดี รองอธิการบดีและนักวิชาการทางกฏหมายที่บิดเบือนกฏหมายตามใจ ปลูกฝังและชักใยอยู่เบื้องหลังมายาวนาน คอยบงการให้นักศึกษามาลงถนน มาแสดงเสรีภาพอันบ้าคลั่ง วิพากษ์และระรานทุกคนที่เห็นต่าง นี่หรือ “ธรรมะ” ที่อาจารย์ธรรมศาสตร์บางจำพวก สอนแก่ลูกศิษย์ ส่วน “แดง” ที่แทน “โลหิต” นั้น อีแอบ กลุ่มเดิมคงมุ่งหวังให้เกิดการนองเลือด เลือดของนักศึกษาที่เรียกว่า “ลูกศิษย์” เพื่อเป็นปัจจัยในการป้ายสีและสร้างความไม่ชอบธรรม ให้เกิดกับสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย อีแอบพวกนี้ ยังสุมไฟแห่งความแตกแยก ทำลายสำนึกในความเป็นธรรมและเสียสละเพื่อสังคมอันเป็นรากฐานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนหมด

ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน วลีอมตะ สะท้อนชัดซึ่งหลักการของประชาคมและจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ แต่จากแถลงการณ์ล่าสุดที่อ้างว่ามาจากผู้บริหารและคณาจารย์ธรรมศาสตร์รวมไปถึงแถลงการณ์ขององค์การนักศึกษาและชุมนุมต่าง ๆ ที่ปราศจากคนลงนามรับผิดชอบ ประกอบกับบรรดาอาจารย์ล้มเจ้าที่ทยอยเปิดตัวออกมาพล่ามข้อกฏหมายที่เป็นประโยชน์เพียงฝ่ายตน บิดเบือนทุกเรื่องอย่างไร้มโนสำนึก กดดันให้ศาลพิจารณาการประกันตัวเพื่อปล่อยตัวนักศึกษาผู้ทำผิดซ้ำซาก เหยียบย่ำระบบยุติธรรม เหยียบย่ำหัวใจของประชาชนคนอื่น ๆ หรือประชาชนของธรรมศาสตร์วันนี้จะมีแค่ พริษฐ์ ชิวารักษ์ และ ปณัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ประชาชนที่ธรรมศาสตร์รักคือใคร ? คือคนประเภทไหนในประเทศนี้ ?

เราเชื่อว่า คนดีและจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ยังคงมีอยู่ แต่แสงไม่เคยส่องไปถึงพวกเขาเพราะเรามัวแต่หลงอยู่กับสีที่คนเลวสาดอยู่ทุกวัน จนภาพของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับกลายไปหมดแล้วอย่างน่าอนาถใจ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top