Monday, 20 January 2025
ECONBIZ

ทอท. เพิ่มจุดส่งผู้โดยสารสำหรับ TAXI ใหม่ แก้ปัญหารถติดหน้าอาคาร 2 สนามบินดอนเมือง

เพจโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure ได้โพสต์ข้อความถึงการแก้ปัญหารถติดหน้าสนามบินดอนเมือง อาคาร 2 โดยระบุว่า จุดส่งผู้โดยสารใหม่ Taxi Drop Lane สนามบินดอนเมือง อาคาร 2 

เพิ่มจุดส่งผู้โดยสาร แก้ปัญหารถติดหน้าอาคาร สำหรับ Taxi โดยเฉพาะ!!!

Taxi Drop Lane เป็นการปรับปรุงใหม่ของอาคาร 2 เพื่อมาแก้ปัญหารถติดหน้า Terminal 

ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังกันมาตลอด เพราะการจอดส่งผู้โดยสารหน้าอาคารที่มีปริมาณมาก บางคันใช้เวลามากกว่าปกติ รวมถึงรถบางส่วนที่ต้องการไปจอดรถบนอาคารจอดรถ 7 ชั้นด้วย

ทั้งนี้ AOT มีการจัดจราจรจราจรใหม่ โดยแยกจราจรก้อนหลักคือ รถ Taxi ซึ่งมีจำนวนพอสมควร มาให้ใช้พื้นที่จุดจอดใหม่คือ “Taxi Drop Lane” เพื่อลดปริมาณจราจรหน้า Terminal เพื่อให้คล่องตัวมายิ่งขึ้น และใช้ศักยภาพของถนนหน้าอาคารผู้โดยสารได้เต็มมากยิ่งขึ้น

ซึ่งหลาย ๆ คนคงทราบว่า Terminal 2 สนามบินดอนเมือง มีถนนต่างระดับอยู่หน้า อาคารอยู่ 6 เลน แบ่งเป็น 

- ถนนติดหน้าอาคาร 3 เลน สำหรับส่งผู้โดยสารเดิม ที่รถติดมาก ๆ บางที่ผ่านประตูต้น ๆ กว่าจะถึงประตูด้านหลัก อาจจะต้องใช้เวลา 5-10 นาที (ขึ้นกับปริมาณจราจร) ซึ่งจะมีหางแถวไปกระทบถึงอาคาร 1 และทางขึ้น ต่างระดับเลย

- ถนนต่างระดับ จากอาคาร 1 ลงระดับดิน ซึ่งเส้นนี้ ปกติจราจรน้อยตลอด เพราะ จะรับรถหลักของอาคาร 1 ซึ่งบางส่วนก็ไม่อยากตัดกับจราจรอาคาร 2 เลยยอมผ่านหน้าอาคาร 2 ไปด้วย

ทำให้ทาง AOT เห็นถึงพื้นที่ ๆ สามารถนำมาให้บริการเพิ่มเติมได้ คือ ถนนต่างระดับ จาก อาคาร 1 ลงระดับดิน

ซึ่งตรงนี้จะลดระดับลงจากหน้าอาคาร 2 ประมาณ 3 เมตร ทำให้สามารถทำทางเข้าเสริม เป็น “Taxi Drop Lane” โดยเชื่อมตรงเข้ากับชั้น 2 ของอาคาร 2 ได้เลย

ครม.ปลดล็อกต่างชาติ ซื้อบ้าน-ที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ แลกลงทุน 40 ล้าน ดึงกลุ่มคนรายได้สูงเข้าไทย

ครม.ปลดล็อกต่างชาติที่มีรายได้สูง สามารถซื้อบ้าน-ที่ดิน ได้ไม่เกิน 1 ไร่ แลกลงทุน 40 ล้าน โดยต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ปี จากเดิม 5 ปี

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ขอความเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดิน เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูด คนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. ... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ ให้กลุ่มคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูง 4 ประเภท ได้แก่ 1. กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง 2. กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ 3. กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย และ 4. กลุ่มผู้มีทักษะ เชี่ยวชาญพิเศษ มีสิทธิขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย

ทั้งนี้ กำหนดจำนวนเนื้อที่ไม่เกิน 1 ไร่มาตรา 63 ทวิแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จำนวนเงินลงทุนและระยะเวลาการดำรงทุนต้องไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และดำรงทุนการลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันยื่นคำขอ (กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2565 กำหนด 5 ปี ให้นับมูลค่าการลงทุน ณ วันที่ยื่นคำขอ

โดยมีสาระสำคัญ คือ กำหนดประเภทของคนต่างด้าวที่สามารถขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย สาระสำคัญ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 โดยไม่รวมผู้ติดตามของคนต่างด้าวดังกล่าว

โดยคนต่างด้าวต้องลงทุนในธุรกิจหรือกิจการประเภทหนึ่งประเภทใด หรือหลายประเภทรวมกัน ดังนี้

1. การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงิน หรือดอกเบี้ย 2. การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้าง พื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (เพิ่มกองทุนรวมโครงสร้าง พื้นฐานจากกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2555)

3. การลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (เพิ่มขึ้นใหม่จาก กฎกระทรวงฯ พศ. 2555) 4. การลงทุนในทุนเรือนหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 5. การลงทุนในกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศ ให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับ การส่งเสริมการลงทุนได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

สำหรับกรณีมีการจำหน่ายที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนครบกำหนดจำนวน 1 ไร่ ให้นำจำนวนที่ดินในส่วนที่ได้จำหน่ายไปแล้วมารวมกับสิทธิที่จะได้มา ซึ่งที่ดินตามกฎกระทรวงนี้ด้วย ส่วนกรณีที่ได้มาซึ่งที่ดินครบจำนวน 1 ไร่แล้ว ต่อมาได้จำหน่ายที่ดินทั้งหมด หรือบางส่วนไป สิทธิที่จะได้มาซึ่งที่ดินตามกฎกระทรวงนี้เป็นอันระงับไป

'บิ๊กป้อม' ขอบคุณ 'หัวเว่ย' หนุนดิจิทัลไทยก้าวหน้า สู่ไทยแลนด์ 4.0 พร้อมปูทางผู้นำ 5G ของภูมิภาค

พล.อ.ประวิตร ปาฐกถาเปิดงานยิ่งใหญ่ 'Global Mobile Broadband Forum 2022' ครั้งที่ 13 หนุนความร่วมมือ 'ไทย-หัวเว่ย' พลิกโฉม สู่ ไทยแลนด์ 4.0 มุ่งก้าวเป็นผู้นำ 5G ของภูมิภาค 

(26 ต.ค. 65) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธาน เปิดงานประชุมสัมมนา และนิทรรศการ Global Mobile Broadband Forum 2022 ครั้งที่ 13 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กทม. ห้องบอลรูม 1-4 

จากนโยบายของรัฐบาลไทย ที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0 โดยสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน 5G ให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงการใช้ประโยชน์ สร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ดึงดูดการลงทุน พร้อมหนุนขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของภูมิภาค ซึ่งบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และเครือข่ายพันธมิตร (GSMA) ได้ขานรับนโยบายของรัฐบาลไทย เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ในอนาคต

การจัดงานในครั้งนี้ บริษัท หัวเว่ยฯ ได้ร่วมกับองค์กรกำกับดูแลมาตรฐานผู้ให้บริการการสื่อสาร (GSMA) และ GTI ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม โดยร่วมกันจัดงานขึ้นเป็นประจำทุกปี และครั้งนี้จัดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ทางอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยี นวัตกรรมดิจิทัล ให้สามารถเชื่อมต่อองค์ความรู้ และเทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อยกระดับภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

‘หาดชะอำ’ สุดสำราญ นทท.คืบคลานไม่แพ้บางแสน ดึงบรรยากาศการค้าคึกคักอีกครั้งช่วงวันหยุดยาว

พวกเขากลับมาแล้วจริง ๆ

ในระหว่างที่ช่วงหยุดยาววันปิยมหาราช ทั้งชาวไทยใคร ๆ ก็ต่างพาไปโฟกัสบางแสน ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งนอกและในพื้นที่นับล้าน คืบคลานเข้ามาร่วมสร้างความคึกคักนั้น

ช่วงเดียวกัน บรรยากาศการท่องเที่ยวที่ชายหาดชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยว และพักผ่อนยอดฮิตริมทะเลของ จ.เพชรบุรี ก็เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาตินับหมื่นคนที่เดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ เพื่อมาพักผ่อนเล่นน้ำทะเลดับร้อนจำนวนมากพร้อมกับมานั่งรับประทานอาหารริมชายหาด 

ช่วงวันหยุดยาว ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น เปลี่ยนบรรยากาศบริเวณชายหาดชะอำที่เคยเหงา แลดูมีสีสัน โดยส่วนใหญ่มากันเป็นครอบครัว และหมู่คณะ แถมตลอดแนวชายหาดชะอำเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ 

ผลดีชัด ๆ คือ พ่อค้าแม่ค้ายอดขายดีขึ้นมาก กอบโกยรายได้กันตั้งแต่ด้านถนนเพชรเกษมตั้งแต่บริเวณแยกเข้าชายหาดชะอำ ไปจนถึงเขตติดต่อ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

'กอบศักดิ์' ชี้ ญี่ปุ่นเลือกกดดอกเบี้ย-ค่าเงิน หวังทำสงครามกับนักเก็งกำไร ปลายทางมักจบไม่สวย

(25 ต.ค. 65) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์ข้อความ ผ่านเฟสบุ๊ก Kobsak Pootrakool ระบุว่า

หนทางสู่วิกฤตของญี่ปุ่น !!!!

ถ้าทางการญี่ปุ่นยังเลือกที่จะเดินตามแนวทางปัจจุบัน

กดดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลไว้ให้ต่ำ เพื่อช่วยรัฐบาลที่มีหนี้มาก

กดค่าเงินไว้ไม่ให้อ่อนไปกว่านี้

ทั้งหมด คงจบลงด้วยการเกิดวิกฤต

ที่จะเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ในเชิงเศรษฐศาสตร์ 3 สิ่งที่อยู่ด้วยกันแล้วจะเป็นเรื่อง ก็คือ ค่าเงินที่คงที่ ดอกเบี้ยที่เลือกกำหนดตามใจฉัน และเงินทุนที่ไหลอย่างอิสระ (Free Flow of Capital)

ทฤษฎีนี้เรียกว่า Impossible Trinity หรือ “สามเป็นไปไม่ได้” ซึ่งถูกคิดค้นโดย Robert Mundell นักเศษฐศาสตร์รางวัลโนเบล และ John Fleming เมื่อช่วงปี 1960-1963

ประเทศไหนก็ตามที่พยายามจะทำใน 3 สิ่งนี้พร้อม ๆ กัน ปัญหาก็จะตามมา

โดยประเทศที่มีค่าเงินคงที่ แต่อยากจะกดดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ เงินจะไหลออกจากประเทศ จากดอกเบี้ยต่ำ ไปหาประเทศที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า นำมาซึ่งเงินสำรองที่จะร่อยหรอลงจนสุดท้าย ก็เกิดวิกฤตค่าเงิน

หรือประเทศที่กดดอกเบี้ยไว้ต่ำกว่าคนอื่น แต่อยากตรึงค่าเงินไว้ ณจุดใดจุดหนึ่ง สุดท้ายก็จะประสบปัญหาเดียวกัน คือเงินไหลออก นำไปสู่แรงกดดันต่อค่าเงินที่ตรึงไว้อย่างต่อเนื่อง ทำให้สุดท้ายเงินสำรองก็ร่อยหรอ และสุดท้ายก็ไม่สามารถคงค่าเงินไว้ได้ กลายเป็นวิกฤตเช่นกัน

สิ่งที่ทางการญี่ปุ่นทำขณะนี้ ก็คือเรื่องนี้

1. โลกที่ญี่ปุ่นอยู่ คือโลกของเงินที่ไหลเวียนอย่างอิสระ

2. อีกด้าน การที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีหนี้ภาครัฐเยอะมาก สูงถึง 264% ของ GDP ซึ่งหนี้ส่วนใหญ่ เป็นหนี้ในประเทศ ทำให้ทางการญี่ปุ่นซึ่งขาดดุลการคลังอยู่แล้วถึง 8% ของ GDP และมีภาระดูแลสังคมผู้สูงวัย อ่อนไหวกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศอย่างยิ่ง

ไม่น่าแปลกใจ ที่แบงก์ชาติญี่ปุ่นจึงมีหน้าที่พิเศษอีกอย่าง ก็คือ ต้องพยายามช่วยกดดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของญี่ปุ่นเอาไว้ โดยดูแลดอกเบี้ยใน Yield Curve ของญี่ปุ่นที่อายุช่วง 7-10 ปีลงมา ให้ปรับตัวขึ้นไม่มาก เพียงแค่ 0.25% เท่านั้น ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ แบงก์ชาติญี่ปุ่น ได้ประกาศโครงการรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ต้องประกาศ Emergency Bond Buying Program อีก 2.5 แสนล้านเยน

3. ค่าเงิน จากเดิมที่ญี่ปุ่นเคยปล่อยให้ค่าเงินเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด แต่เนื่องจากช่วงนี้ค่าเงินเยนได้อ่อนค่าลงต่อเนื่อง อ่อนสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 30 กว่าปี ทางการญี่ปุ่นจึงเริ่มกังวลใจ และเริ่มเข้าแทรกแซงค่าเงินไม่ให้อ่อนไปกว่านี้ ซึ่งตอนนี้ พยายามขีดเส้นไว้ที่ประมาณ 150 เยน/ดอลลาร์

ซึ่งในเรื่องนี้ หากทางการญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการตรึงค่าเงินไว้ที่ 150 เยน/ดอลลาร์ ตามที่ตั้งใจได้ ระบบค่าเงินเยนก็จะทำตัวเหมือนอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือใกล้เคียงกับระบบดังกล่าว

ทั้งหมดจะทำให้ญี่ปุ่นเข้าเงื่อนไขของทฤษฎี “สามเป็นไปไม่ได้” หรือ Impossible Trinity

และหมายความต่อไปว่า ถ้ายังคงเดินไปตามทางนี้ เงินดอกเบี้ยต่ำในญี่ปุ่น ก็จะไหลออกไปหาเงินดอกเบี้ยสูงในสหรัฐ โดยมีทางการญี่ปุ่นช่วยดูแลความเสี่ยงเรื่องค่าเงินให้

'อลงกรณ์' ชี้ 2565 จุดเปลี่ยนประเทศไทยสู่ยุคใหม่ ลดก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุภาวะโลกร้อน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานมูลนิธิ Worldview Climate Foundation (WCF) บรรยายพิเศษ หัวข้อ 'ศักยภาพของโครงการบลู คาร์บอนในประเทศไทย' (Potential for blue carbon projects in Thailand) ในการประชุมนานาชาติจัดโดยมูลนิธิ Worldview International ที่กรุงเทพมหานครวันนี้ โดยแสดงวิสัยทัศน์อนาคตประเทศไทยในการเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Nation) เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Climate Change) ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases:GHGs) อย่างจริงจังตามพันธกรณีที่นายกรัฐมนตรีของไทยประกาศเป้าหมายในการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์

'ทิพานันท์' เผย 'บิ๊กตู่' พลิกโฉมนวัตกรรมการเงินไทย โชว์ล้ำธุรกรรมการเงินระหว่างชาติ เอื้อ 'ลงทุน-ท่องเที่ยว-บริการ'

'ทิพานัน' เผยรัฐบาล 'พล.อ.ประยุทธ์' สร้างภูมิทัศน์ใหม่พลิกโฉมนวัตกรรมการเงินไทย โชว์ความก้าวหน้าธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ หนุนการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและบริการ ชี้ไทยได้ประโยชน์ 4 เรื่อง จากนโยบายนวัตกรรม 'การเชื่อมโยงระบบการชำระเงิน' ชูเป็นต้นแบบให้สมาชิกเอเปค 

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าตามที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ส่งเสริมและมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมทางการเงินเพื่อเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัลโดยเร็ว ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงพัฒนากับธนาคารกลางอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนร่วมกันผลักดันโครงการ ASEAN Payment Connectivity ตั้งแต่ปี 2562 เพื่อให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคมีความสะดวก ปลอดภัย และต้นทุนต่ำ ผลสำเร็จที่เห็นชัดคือ ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ (cross-border payment) สองรูปแบบคือ (1) การชำระเงินด้วย QR payment และ (2) การโอนเงินระหว่างประเทศ ผ่านบัญชีอย่างสะดวกและรวดเร็ว จนประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนจากการมีจำนวนการเชื่อมโยงด้านการเงินมากที่สุด

“ในปัจจุบันมี 6 ประเทศนำร่อง การโอนเงินระหว่างประเทศกับไทย (Cross-border QR Payment) คือ ญี่ปุ่น, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าการใช้บัตรเครดิต วิธีการง่าย ๆ เพียงสแกนไทยคิวอาร์โค้ด ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ 5 ธนาคารพาณิชย์ ได้แก่กรุงเทพ, กสิกรไทย, กรุงไทย, ไทยพาณิชย์ และกรุงศรีอยุธยา” น.ส. ทิพานัน กล่าว

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ซึ่งความสำเร็จนั้น เป็นการต่อยอดมาจากการพัฒนา Thai QR payment ภายใต้ระบบ PromptPay ของรัฐบาล พล.อประยุทธ์ จนทำให้ไทยมี QR code ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และได้กลายมาเป็นบริการชำระเงินที่คนไทยคุ้นเคยในทุกวันนี้ จากโครงการที่ประสบผลสำเร็จทั้งทางด้านนวัตกรรมการเงินดังกล่าว ไทยจึงเสนอแนวปฏิบัติการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างเขตเศรษฐกิจ ภายใต้ชื่อ "APEC Policy Considerations for Developing Cross-Border Payments and Remittances” ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา รวมทั้งยังได้จัดแสดงนวัตกรรมการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Payment) ประกอบด้วย Cross-border QR Payment และ Digital Supply Chain Solution  เพื่อเป็นแนวทางให้กับสมาชิกเอเปคอื่น ๆ นำนวัตกรรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับประเทศสมาชิกเอเปคในอนาคต  ซึ่งการนำเสนอนวัตกรรมการเงินดิจิทัลนี้ จะทำให้คนไทยและธุรกิจไทยได้ประโยชน์ 4 เรื่องคือ...

1. ระบบการชำระเงินไทย จะมีโครงสร้างพื้นฐานและมีโอกาสขยายฐานไปสู่สมาชิกเอเปค ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ด้านการชำระเงิน ที่สอดรับกับการพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจการเงินได้รวดเร็ว มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ รองรับการใช้ประโยชน์จากผู้ประกอบการที่หลากหลาย ก่อให้เกิดนวัตกรรมบริการชำระเงินที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ และมีโครงสร้างธรรมาภิบาลด้านการชำระเงินที่เหมาะสม รวมทั้งมีการกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น มีประสิทธิผลและเท่าทันความเสี่ยงใหม่ในยุคดิจิทัล

'กรุงเทพ' คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวพักผ่อน 'ที่ดีที่สุด' ในเอเชียแปซิฟิก

(23 ต.ค.65) Business Traveller สื่อธุรกิจท่องเที่ยวชื่อดัง ประกาศรายชื่อ ผู้ชนะรางวัลด้านการท่องเที่ยวอันยิ่งใหญ่ในภูมิภาค นั้นก็คือ รางวัล Business Traveller Asia-Pacific จัดขึ้นเป็นปีที่ 31 ของงานแจกรางวัล และยังคงจัดอย่างต่อเนื่องเพื่อเฉลิมฉลองให้กับสิ่งที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมการเดินทางและการโรงแรม ซึ่งได้รับการโหวตจากกรรมการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดในภูมิภาค ได้แก่ ผู้อ่าน Business Traveller Asia-Pacific

ผู้อ่านของเราเป็นผู้เชี่ยวชาญ สำหรับการเดินทางเพื่อทำธุรกิจ โดยเฉลี่ย 19 ครั้งต่อปี (ก่อนเกิดโควิด-19) ซึ่งสามารถประเมินว่าอะไรคือเที่ยวบินที่สมบูรณ์แบบและโรงแรมที่ยอดเยี่ยม ในแต่ละปีเราเชิญสมาชิกที่ภักดีของเรามากกว่า 30,000 รายให้ลงคะแนนเสียงใน Reader Poll และแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับทุกอย่างตั้งแต่แบรนด์โรงแรมที่พวกเขาชื่นชอบหรือโรงแรมที่ต้องการในเมืองใดเมืองหนึ่ง ไปจนถึงประสบการณ์บนเครื่องบินที่ดีที่สุด หรือสนามบินและสายการบินที่ต้องการ

ในขณะที่ปีนี้เรากลับมาขอความคิดเห็นของผู้อ่านในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเท่านั้น (ปีที่แล้วคือ 24 เดือนเนื่องจากสถานการณ์ทั่วโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน) เรายังคงขอให้ผู้อ่านพิจารณาประสบการณ์ที่ไม่ใช่การเดินทางที่เกี่ยวข้องกับโควิดและผลที่ตามมา รวมถึงระดับ ด้านการสื่อสาร ประสิทธิภาพ ความอ่อนไหว และการสนับสนุนจากบริษัทและองค์กรภายในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ล้ำหน้าไปอีกก้าว!! EA เปิดตัว EV Mini Truck MT30 รถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกฝีมือไทย

คนไทยทำได้ EA เปิดตัวรถกระบะไฟฟ้า 100% EV Mini Truck MT30 พร้อมจดทะเบียนเป็นรถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกของไทย ภายใต้นวัตกรรมไทย ยกระดับการขนส่งเชิงพาณิชย์ ต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบบ New S-Curve ตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

นับเป็นก้าวสำคัญในการพลิกโฉมประวัติศาสตร์ด้านการคมนาคม ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่สังคมปลอดคาร์บอนได้เร็วยิ่งขึ้น หลังจากกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้ออกแบบและพัฒนา ‘EV Mini Truck MT30’ รถกระบะไฟฟ้าฝีมือคนไทย 100% สำหรับใช้งานในเชิงพาณิชย์ ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษในภาคขนส่ง 

ทั้งนี้ EV Mini Truck MT30 หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างผู้ประกอบการที่สนใจการใช้งานรถไฟฟ้า ที่คำนึงถึงการลดต้นทุนค่าขนส่งและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยตัวรถจะมาพร้อมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด (Li-Ion Battery) 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่ผลิตโดย อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ขับเคลื่อนได้ไกลกว่า 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ ใช้เวลาชาร์จเพียง 15 นาที (30-80%) ด้วยเทคโนโลยี DC Fast Charge จาก EA Anywhere ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีที่กลุ่ม EA ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ให้การใช้งานยานยนต์เชิงพาณิชย์มีประสิทธิภาพสูงสุด 

รมว.สุชาติ สั่ง รุกสถานประกอบการต่อเนื่อง เดินหน้าเสิร์ฟตำแหน่งงานผ่านแอป ‘ไทยมีงานทำ’

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบกรมการจัดหางาน ลุยสถานประกอบการต่อเนื่อง เตรียมตำแหน่งงานรองรับคนหางานทั่วประเทศ ใช้บริการได้ผ่าน 'ไทยมีงานทำ'

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดแรงงาน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการจ้างงานเต็มที่ สร้างความยั่งยืนให้กับภาคแรงงาน โดยเฉพาะการเตรียมตำแหน่งงานรองรับคนหางานและนักศึกษาจบใหม่ ให้มีหลักประกัน มีรายได้ที่มั่นคง

“ผมได้มอบหมายกรมการจัดหางานลงพื้นที่หารือสถานประกอบการที่มีศักยภาพในการจ้างงาน มีสวัสดิการที่ดี เป็นบริษัทที่คนให้ความสนใจร่วมงานด้วย ที่ผ่านมาเราได้รับความร่วมมือที่ดีจากหลายบริษัทชั้นนำที่แจ้งตำแหน่งงานผ่านแพลตฟอร์ม 'ไทยมีงานทำ' เราจะดำเนินการเชิงรุกอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คนหางานทั่วประเทศมีตำแหน่งงานรองรับ  ขอบคุณบริษัทที่เข้ามามีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนภาคแรงงานให้เติบโตอย่างยั่งยืน" นายสุชาติ กล่าว

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เปิดงาน TGS 2022 พร้อมเคียงข้างเหล่าเกมเมอร์สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์

“การที่มาวันนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ หลายคนคงงงว่า กทม.มาเกี่ยวอะไรกับเกม ซึ่งหากถามว่าเมืองคืออะไร สำหรับกทม. เมืองคือคน เมืองไม่ใช่สิ่งปลูกสร้าง แต่คนคือตัวแทนของเมือง แล้วถ้าคนเล่นเกม เมืองก็ต้องเข้าใจเกมด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต” นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวในการเป็นประธานเปิดงาน Thailand Game Show (TGS) 2022: Come Back วันนี้ (21 ต.ค. 65) ณ เวทีใหญ่ Exhibition Hall 3-4 ชั้น G ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเน้นเรื่อง Creative Economy หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเกมคือตัวอย่างที่ดีของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ เมื่อ 5-10 ปีที่แล้วยังไม่เคยมี มันถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาในช่วงเวลาอันสั้น และอนาคตยังก็ยังไปต่อ เท่าที่ทราบมา ธุรกิจเกมในเมืองไทยมีมูลค่า 34,000 ล้านบาท เป็นมูลค่าเยอะมากและมีโอกาสเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล แต่ธุรกิจเกมของคนไทยยังมีมูลค่าแค่ 400 ล้านบาท คือประมาณ 1% ทำอย่างไรที่เราจะมีส่วนร่วม มีส่วนแชร์ตรงนี้ได้ ทำอย่างไรให้เด็กรุ่นใหม่สามารถใช้โอกาสตรงนี้ในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจตรงนี้ขึ้นมาได้ ซึ่งเมืองต้องเป็นเจ้าภาพที่เข้มแข็ง

'อลงกรณ์' พอใจ 62 จว.คืบหน้าพัฒนาเกษตรฯยั่งยืน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.ทั้งในเมือง - ชนบท

'อลงกรณ์' พอใจ 62 จังหวัดเดินหน้าพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองคืบหน้ากว่า 500 โครงการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ควบคู่กับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในชนบท 7,255 ตำบลทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ (20 ต.ค. 65) ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองเป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานผ่านระบบทางไกลออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting โดยมี นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community) นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนำชัย แสนสุภา นายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนการเคหะแห่งชาติ พร้อมทั้งหน่วยงานทั้งภาคราชการ ภาคสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมี นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นเลขานุการการประชุม

โดยที่ประชุมรับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับจังหวัด ซึ่งได้มีการขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่เป้าหมายเพื่อดำเนินการ โดย ณ วันที่ 25 ก.ย. 2565 มีจำนวน 591 แห่ง ใน 62 จังหวัดประกอบด้วย (1) พื้นที่วัด จำนวน ๑๙ แห่ง (2) พื้นที่โรงเรียน สถานศึกษาและมหาวิทยาลัย จำนวน 372 แห่ง (3) พื้นที่โรงพยาบาล จำนวน 13 แห่ง (4) พื้นที่ชุมชน จำนวน 90 แห่ง และ (5) พื้นที่อื่นๆ ได้แก่ พื้นที่ของหน่วยงานราชการและพื้นที่เอกชน จำนวน 97 แห่ง

นายอลงกรณ์ได้แสดงความพอใจต่อความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับจังหวัดโดยยกตัวอย่างรายงานการดำเนินงานของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งได้นำเสนอผลงานการขับเคลื่อนโครงการต่อที่ประชุมดังนี้ 1.โครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) มีแปลงปฏิบัติการวิจัยพืชสวน พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ และสิ่งแวดล้อม รวม 74 ไร่ และฐานการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเป็น “แหล่งเรียนรู้ สร้างรายได้เสริม พัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน” 

2. โครงการโรงเรียนสีเขียว (Green School) “เก่ง ดี มีทักษะ (ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต) มีสุขภาพดี” โดยฝึกการทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตรกรรมสำหรับการปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ น้ำนิ่ง หรือการปลูกพืชแบบไร้ดิน เป็นการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืช การเลี้ยงปลาดุก และกบในวงบ่อ รวมถึงการเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งผลผลิตที่ได้ทั้งในส่วนของพืชผัก ปลาดุก กบและไข่ไก่นำมาใช้ในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียน และนำส่วนที่เหลือจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้ให้กับนักเรียนและเป็นการสร้างนิสัยในการออมทรัพย์โดยฝากไว้กับธนาคารของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างทักษะอาชีพแก่นักเรียนที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งและเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนที่สนใจได้มาเรียนรู้

เปิดมาตรการเข้มคุ้มครองผู้บริโภค หลัง 'กสทช.' มีมติรับทราบควบรวมทรู-ดีแทค

(21 ต.ค. 65) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม หลังมีมติเสียงข้างมากรับทราบการควบรวม ทรู-ดีแทค โดยที่ประชุมมีข้อกังวล 5 ข้อและเห็นชอบ เงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะดังนี้

ข้อกังวลเรื่องอัตราค่าบริการและสัญญาการให้บริการ มีเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ดังนี้

1) การกำหนดเพดานราคาของอัตราค่าบริการเฉลี่ย

ก. อัตราค่าบริการเฉลี่ยลดลงร้อยละ 12 โดยใช้วิธีการเฉลี่ยราคาใหม่ ด้วยการถ่วงน้ำหนักตามจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละรายการส่งเสริมการขาย (WEIGHTED AVERAGE) ภายใน 90 วันหลังจากมีการควบรวม)

ข. ให้มีทางเลือกของราคาที่แยกรายบริการเพื่อให้เป็นทางเลือก

ค. ให้นำส่งข้อมูลต้นทุนและข้อมูลที่จำเป็นโดยให้มีหน่วยงานตรวจสอบ

ง. ให้ผู้แจ้งการรวมธุรกิจประกาศให้ผู้ใช้บริการรับทราบ เพื่อมีการตรวจสอบและมีบทลงโทษกรณีทำไม่ได้ เช่น ปรับเป็นจำนวนร้อยละของรายได้ หรือปรับเป็นขั้นบันได และเพิกถอนใบอนุญาต

2) การกำหนดราคาค่าบริการ โดยใช้ราคาเฉลี่ยทางเศรษฐศาสตร์ (Average Cost Pricing)

ก.ให้นำส่งข้อมูลตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรายงานบัญชีแยกประเภทในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2564 ให้ครบถ้วน โดยให้แยกรายละเอียดเป็นรายเดือน และนำส่งสำนักงาน กสทช. ทุก 3 เดือน หรือเมื่อ กสทช. ร้องขอ เพื่อใช้ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนรวมเฉลี่ย ซึ่งเป็นราคาในตลาดที่มีการแข่งขัน (Average Cost Pricing) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่เป็นปัจจุบันและถูกต้อง

ข. จัดให้มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญด้านการสอบทาน (Verify) ข้อมูลโครงสร้างต้นทุน อัตราค่าบริการ หรือข้อมูลด้านอัตราต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในต่างประเทศมาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยให้ กสทช. เป็นผู้กำหนด และให้ผู้ยื่นคำร้องรวมธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการจัดหาและจัดจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้ยื่นคำร้องขอรวมธุรกิจ เพื่อสอบทาน (Verify) ความถูกต้องของข้อมูลตามข้อ (ก) ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ย (AC) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่ถูกต้องของแต่ละรายบริการ เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น เมื่อมีการรวมธุรกิจให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

ค. จัดให้มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเช่นเดียวกับข้อ (ข) เพื่อทำหน้าที่สอบทาน (Verify) ความถูกต้องของข้อมูลตามข้อ (ก) ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ย (AC) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันของแต่ละรายบริการ เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น ปีละ 4 ครั้ง (รายไตรมาส) โดยต้องจัดให้มีที่ปรึกษาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือตลอดระยะเวลาอายุใบอนุญาตสิ้นสุดลงในกรณีที่อายุใบอนุญาตน้อยกว่า 10  ปี โดยให้ กสทช. เป็นผู้กำหนด และให้ผู้ยื่นคำร้องรวมธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการจัดหาและจัดจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้ยื่นคำร้องขอรวมธุรกิจ

ง. จะต้องมีการกำหนดและแสดงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แยกตามรายบริการ (Unbundle)  เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น หรือการส่งเสริม การขายแบบแยกรายบริการ (Unbundle Package) เพื่อให้ผู้ใช้บริการปลายทางได้รับทราบก่อน โดยให้กำหนดอัตราค่าบริการตามต้นทุนเฉลี่ยรายบริการ (Average Cost Pricing) โดยคิดราคาตามที่มีการใช้งานจริง โดยจะต้องไม่มีการกำหนดการซื้อบริการขั้นต่ำไว้ ทั้งนี้ การกำหนดอัตราตามต้นทุนเฉลี่ยรายบริการ (Average Cost Pricing) ให้นำไปใช้กับกรณีค่าบริการส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรายการส่งเสริมการขายแบบแยกรายบริการ (Unbundle Package) และการส่งเสริมการขายแบบรวมรายบริการ (Bundle Package) ด้วย

จ. จะต้องจัดช่องทางการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ครอบคลุมและง่ายต่อการเลือกซื้อ เปลี่ยนแปลง (เพิ่ม ลด) การใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการปลายทาง โดยปราศจากข้อจำกัด ทั้งนี้ ต้องแสดงรายละเอียดของบริการ อัตราค่าบริการแยกตามรายบริการ หรืออัตราค่าบริการแบบส่งเสริมการขาย ตลอดจนวิธีการ เงื่อนไขการเลือกรับบริการไว้โดยชัดแจ้ง และเป็นปัจจุบัน

3) การคงทางเลือกของผู้บริโภค  การกำหนดให้บริษัท TUC และ บริษัท DTN ยังคงแบรนด์การให้บริการแยกจากกัน เป็นระยะเวลา 3 ปี

4) สัญญาการให้บริการ บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องคงไว้ซึ่งเงื่อนไขของสัญญาและข้อตกลงระหว่างบริษัทและผู้ใช้บริการ รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้รับตามที่ได้มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงไว้ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา เว้นแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาที่เป็นคุณหรือเป็นประโยชน์และได้รับการยินยอมจากผู้ใช้บริการแล้ว

5) การประชาสัมพันธ์การให้บริการเพื่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการ ภายหลังการรวมธุรกิจ บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบถึงการคงไว้ซึ่งคุณภาพในการให้บริการและค่าบริการที่เป็นธรรม และจะต้องกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการหลังการรวมธุรกิจ โดยสำนักงาน กสทช. อาจกำหนดแนวทางและระยะเวลาการดำเนินการ รวมถึงเงื่อนไขในการปฏิบัติในเรื่องการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้บริษัท TUC และบริษัท DTN ดำเนินการต่อไป

2.2 ข้อกังวล อุปสรรคการเข้าสู่ตลาด – ขาดประสิทธิภาพการแข่งขัน และการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย มีเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ดังนี้ 

‘บิ๊กพลังงาน’ ผนึก TCNN พาไทยสู่ Net Zero ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์

กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลังเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ยกระดับลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมขับเคลื่อนประเทศมุ่งสู่ Net Zero 

ไม่นานมานี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN) ได้เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายฯ (Council Board) ประจำปี 2565 

โดยในงานนี้มี นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายฯ และผู้บริหารกลุ่ม ปตท. เข้าร่วมการประชุม เพื่อสรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการฯ ยังได้หารือถึงแผนการดำเนินงานให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ TCNN ในการเป็น ‘เครือข่ายแกนนำของประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero’ อีกด้วย

ปตท. ผนึก ‘ม.เชียงใหม่-ซีพีพี’ แปลงของเสียเป็นพลังงาน ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก พาไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ปตท. ลงนาม MOU ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ บริษัท ซีพีพี ในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายณรงค์ไชย ปัญญไพโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T-VER) กับ ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คุณอานนท์ฤทธิ์ธาร ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการ ผู้แทนจากบริษัท ซีพีพี จำกัด 

สำหรับการลงนามความร่วมมือดังกล่าว เป็นการต่อยอดจากการพัฒนาก๊าซไบโอมีเทนอัดจากน้ำเสียและของเสียโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ของ บริษัท ซีพีพี โดยการกักเก็บก๊าซมีเทนจากการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซ NGV ในสถานีบริการ NGV ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันได้ต่อยอดความร่วมมือ เพื่อขอการรับรองคาร์บอนเครดิต ในโครงการ T-VER ทั้งนี้เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศอย่างแข็งแรงและยั่งยืนตลอดไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top