Monday, 20 January 2025
ECONBIZ

5 เทรนด์ AI ในปี 2023 ที่จะเกิดขึ้นจริง ทำหน้าที่แทนมนุษย์ได้เนียนจนแยกไม่ออก

Marketingoops เผย 5 เทรนด์ AI ในปี 2023 ที่จะเกิดขึ้นจริง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาจนสามารถทดแทนความสามารถของมนุษย์ได้หลายๆ เรื่องกันเลยทีเดียว

1. AI จะต่อยอดศักยภาพให้ 5G
การสื่อสารแบบ 5G เมื่อมาเชื่อมต่อกับ AI จะทำให้นวัตกรรมล้ำยุคต่าง ๆ ใช้งานได้อย่างแพร่หลาย เช่น รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ กล้องวีดีโอสตรีมมิ่งเรียลไทม์ความละเอียดสูง โดรนควบคุมระยะไกล ฯลฯ

2. AI จะสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเชื่อถือได้
ความกดดันทางธุรกิจอันเกิดจากความผันผวนทางเศรษฐกิจสามารถแก้ไขได้ด้วย AI ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ทั้งการคาดการณ์การคำนวณสิ่งที่จำเป็นและการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

3. AI ช่วยลดต้นทุนและหลีกเลี่ยงปัญหา
ปัญหาของโลกยุคใหม่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น แต่ AI จะช่วยคำนวณ การลดต้นทุน และคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพื่อหาทางหลีกเลี่ยง

รู้จัก ‘alt.Eatery’ คอมมูนิตี้แห่ง Plant-based อาหาร ‘สุขภาพ-รักษ์โลก’ ในราคาที่เอื้อมถึง

กระแส Plant-based กำลังกลายเป็นเทรนด์ระดับโลก เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ผนวกกับเทรนด์ในการรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อมเด่นชัดขึ้น เนื่องจากกระบวนผลิตและบริโภคเนื้อจากพืช (Plant-based) ช่วยลดโลกร้อนได้ อีกทั้งยังคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ที่กลายเป็นอาหารของมนุษย์มาอย่างยาวนาน 

ก่อนหน้านี้ได้มีผลสำรวจจาก Euromonitor International's Voice of the Industry: Health and Nutrition 2022 ที่ตั้งคำถามว่า “เหตุผลอะไรที่คุณบริโภค Plant-based” โดยสำรวจไว้เมื่อปี 2021 และล่าสุดเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2022 แล้ว ก็ปรากฏว่า เหตุผลใน 3อันดับแรกที่เคยสำรวจไว้ไม่แตกต่างกัน ได้แก่... 

- ร้อยละ 37 ทาน Plant-based เพราะรู้สึกแข็งแรงขึ้น 
- ร้อยละ 25 ทาน Plant-based เพราะต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพในระยะยาว 
- และร้อยละ 24 ทาน Plant-based เพราะรสชาติอร่อย

ขณะที่บริษัท Euromonitor and Alliesได้ประมาณการมูลค่าตลาดของ Plant-based ในประเทศไทยไว้ ว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 845 ล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2562 เป็น 1,500 ล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งถือเป็นการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี 

จากข้อมูลเหล่านี้ จึงเริ่มชี้ชัดว่า ธุรกิจอาหาร Plant-based จะกลายเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ ตอบโจทย์ทั้งในเชิงของการรักษ์โลกและสุขภาพที่กำลังเป็นเทรนด์มาแรงอีกด้วย

สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันก็เริ่มมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ Plat-Based เกิดขึ้นมาก แต่ที่โดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด ก็คือหนีไม่พ้นคอมมูนิตี้แห่งอาหาร Plant-based ที่ใช้ชื่อว่า ‘alt.Eatery’

คุณพรรณนภิศ ฤทธิไพโรจน์ (คุณพลอย) ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจและการตลาด บริษัท นิวทรา รีเจนเนอเรทีฟ โปรตีน จำกัด (NRPT) บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (บริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้น 100%) กับบริษัท โนฟ ฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากพืชแบบครบวงจร ได้พูดคุยถึงธุรกิจ ‘Life Science’ ของอาหารเพื่อสุขภาพ Plant-based กับทีมข่าว THE STATES TIMES ว่า…

“ร้าน alt.Eatery เป็นคอมมูนิตี้อาหาร Plant-based ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ แห่งแรกบนพื้นที่ของแสนสิริ ริมถนนสุขุมวิท 51 ภายในร้านประกอบด้วย 2 โซน ได้แก่ร้านอาหาร และ Mini Mart ในโซนร้านอาหารมีเมนูตั้งแต่ Appetizer, Main, ของหวาน โดยในโซน Mini Mart นั้นจะมีสินค้า Plant-based มากกว่า 500 ชนิด จากผู้ประกอบการมากกว่า 80 ราย ให้เลือกซื้อ”

คุณพลอย เล่าต่อว่า “การรับประทานอาหาร Plant-based เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน เพราะมันเป็นทั้งไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่จะได้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แถมยังช่วยรักษ์โลกได้ในเวลาเดียวกัน 

สำหรับ ‘alt.Eatery’ นั้น ไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญด้านอาหาร Plant-based เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญแม้กระทั่งตัวอาคารของร้าน alt.Eatery ที่สะท้อนถึงความยั่งยืนในทุกจุด เริ่มจากตัวอาคารที่สร้างด้วยแนวคิด Low Carbon Footprint ด้านหลังร้านมีการตั้งจุดชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถ EV ส่วนด้านบนหลังคาของอาคารมีการใช้ระบบ Solar Roof เพื่อประหยัดพลังงาน หรือแม้กระทั่งตัวอาคารก็สร้างแบบ Complete Knock-Down ไม่มี Construction Wastes เลย 

THE STATES TIMES ได้ถามคุณพลอยอีกว่า ความต่างของ Plant-based กับอาหารในปัจจุบันอยู่ที่ตรงไหน คุณพลอยอธิบายว่า “Plant-based คือ นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต นวัตกรรมทำให้สามารถแยกโปรตีนและแป้งออกจากกันได้ สามารถพัฒนาโภชนาการอาหารเพื่อสุขภาพ เน้นให้เหมาะกับบุคคลแต่ละกลุ่ม ตามอายุ เพศ หรือความต้องการด้านโภชนาการเพื่อป้องกันโรคและโภชนาการทางการแพทย์ (Medical Nutrition) หรือแม้แต่สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการดูแลทางโภชนาการ ผู้ป่วยเฉพาะโรค 

“ยกตัวอย่างเช่น คนที่ทานแต่เนื้อสัตว์และไม่ทานพืชผักเลย ก็อาจจะขาดกรดอะมิโนบางชนิดที่อยู่ในพืชผักได้ ซึ่ง Plant-based สามารถใส่กรดอะมิโนลงไปหรือการพัฒนาโภชนาการอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในอนาคต เราสามารถ Customize ให้เหมาะสม หรือในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวเราสามารถใช้นวัตกรรมปรับเนื้อให้อ่อนนุ่มเพื่อให้ผู้สูงอายุเคี้ยวได้ง่ายขึ้น” 

'แบงก์ชาติ' เผยเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 3 ปี 65 'เกษตร-ท่องเที่ยว' ฟื้นต่อเนื่อง เชื่อ Q4 ดีกว่านี้

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ (ธปท. สภน.) โดยนางพรวิภา ตั้งเจริญมั่นคง ผู้อำนวยการอาวุโส แถลงข่าว “ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือ ไตรมาส 3/2565” ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 3/2565 ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามกิจกรรมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยรายได้ภาคเกษตรขยายตัว ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ทั้งราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการส่งออก ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และราคาปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิต ส่วนด้านผลผลิตเกษตรขยายตัวแม้ชะลอลงบ้างจากผลผลิตสุกรที่ยังหดตัวจากปัญหาโรคระบาด ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว ตามการผลิตในหมวดอาหาร เช่น ข้าวโพดกระป๋อง ถั่วแระแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์โคนม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวและแป้ง จากความต้องการของตลาดต่างประเทศ รวมทั้งหมวดเครื่องดื่มปรับดีขึ้นตามกิจกรรมในประเทศที่ทยอยฟื้นตัว

ภาคท่องเที่ยวขยายตัว จากนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้ามาภาคเหนือมากขึ้นหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด 19 และนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ โดยส่วนใหญ่เป็นชาวสิงคโปร์ มาเลเซีย และเกาหลีใต้ สะท้อนจากการเดินทางเข้ามาภาคเหนือทั้งทางบกและอากาศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งอัตราการเข้าพักสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะหมวดบริการขยายตัวตามภาคการท่องเที่ยว หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค หมวดยานยนต์ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับดีขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ยังมีแรงกดดันจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น การลงทุนภาคเอกชนหดตัวเล็กน้อย ตามการลงทุนก่อสร้างที่หดตัว และการลงทุนของการผลิตเพื่อส่งออกชะลอลงหลังจากเร่งตัวในช่วงก่อนหน้า การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวต่อเนื่อง จากรายจ่ายประจำที่กลับมาหดตัว ขณะที่รายจ่ายลงทุนยังหดตัวตามการก่อสร้างให้กับท้องถิ่นและโครงการก่อสร้างระบบถนน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามราคาอาหารสด ส่วนราคาพลังงานชะลอลง ตลาดแรงงานปรับดีขึ้น สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ในระบบประกันสังคมที่สูงกว่าก่อนช่วงโควิด 19 ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้ประกอบอาชีพอิสระปรับดีขึ้นต่อเนื่อง

แนวโน้มเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 4/2565 คาดว่าปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคบริการและการท่องเที่ยว ประกอบกับด้านแรงงานที่ทยอยฟื้นตัว และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริโภคฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ยังมีปัจจัยกดดันจากค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกคาดว่าทรงตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง

แม้สถานการณ์โควิด 19 คลี่คลายลงมาก แต่ ธปท. ยังคงมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีโครงการ 'มหกรรมร่วมใจแก้หนี้' เป็นโครงการร่วมระหว่างกระทรวงการคลัง และ ธปท. เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังกลับมาไม่เต็มที่ และอาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยมี 2 รูปแบบ คือ...

'วราวุธ' ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในงาน GCNT Forum 2022 รวมพลังภาคธุรกิจนำพาประเทศไทย ก้าวสู่สังคม Carbon Neutrality 

วันนี้ (2 พฤศจิกายน 2565) เวลา 11.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) เข้าร่วมการประชุมผู้นำความยั่งยืนประจำปี GCNT Forum 2022 ภายใต้แนวคิด Accelerating Business Solutions to Tackle Climate & Biodiversity Challenges ที่สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ GCNT (Global Compact Network Thailand) ร่วมกับ สหประชาชาติ ประเทศไทย และองค์กรสมาชิกกว่า 110 องค์กร ทั้งไทยและต่างประเทศรวมพลังจัดขึ้น เพื่อเพิ่มมาตรการรับมือกับวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ 

ในการประชุมฯ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ 'เร่งหาทางออกของภาคธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนและวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ' โดยมองว่า ภาคเอกชนและสหประชาชาติเป็นภาคีที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของไทย ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งผลักดันให้ใช้แนวคิด BCG มาส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ อาทิ การฟื้นฟูการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การจัดการป่าไม้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ที่เพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้ประชาชนท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งสิ่งสำคัญ คือ การขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วนมีขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานให้ประเทศไทยมีโครงข่ายรากฐานที่เข้มแข็ง พร้อมทั้งร่วมประกาศเจตนารมณ์ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปกป้องธรรมชาติอย่างเป็นรูปธรรม วัดผล และขยายผลได้

สถาบันยานยนต์ ผนึก เกาหลี ร่วมเทสต์แบตเตอรี่รถอีวี เสริมศักยภาพการทดสอบแบตฯ รถยนต์ไฟฟ้าของประเทศ

สถาบันยานยนต์ ร่วมมือ เกาหลี พัฒนาการทดสอบแบตฯ ยานยนต์ไฟฟ้า เสริมศักยภาพการทดสอบของประเทศไทย

เมื่อวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2565 สถาบันยานยนต์ (สยย.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOC (Memorandum Of Cooperation) ด้านการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า ร่วมกับ Korea Conformity Laboratories (KCL) ประเทศเกาหลีใต้ ณ ห้องประชุม 301 สถาบันยานยนต์ สำนักงานกล้วยน้ำไท

โดย นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ และ นายคิม แจฮง (Mr. Kim 
Jae Hong) ประธานของ KCL เป็นผู้ลงนามความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า อาทิ เทคโนโลยีด้านการทดสอบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประเมินผลการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า และการพัฒนามาตรฐานการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และประเทศเกาหลีใต้ ให้เดินหน้าไปพร้อม ๆ กัน อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ก.เกษตรฯ ผนึกจังหวัดเพชรบุรีเดินหน้าโครงการ แก้ไขปัญหาลิงแสมพระนครคีรีเป็นตัวอย่างต้นแบบ

'อลงกรณ์' นำทีมกรมปศุสัตว์สำรวจเขาวังและเกาะลิงแก่งกระจานพร้อมดึงมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าร่วมทีม หวังฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเพชรบุรีโดยเร็ว

รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานการประชุมและลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อม 'โครงการแก้ไขปัญหาลิงแสมบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี' โดยประชุมหารือร่วมกับ นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีระวุฒิ สุวัฒน์เชาว์ ที่ปรึกษากรมปศุสัตว์ด้านการจัดสวัสดิภาพสัตว์ นายสมเกียรติ พันธ์ศรี ผู้อำนวยการกองสวัสดิภาพสัตว์และสัตว์แพทย์บริการ กรมปศุสัตว์ นางสาวศิริวรรณ เครือเล็ก เกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายกรรัตน์ คุ้มกระ ปศุสัตว์จังหวัด Mr.Edwin Wiek ประธานมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

ทั้งนี้ผู้แทนกรมปศุสัตว์แจ้งต่อที่ประชุมว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายให้กรมปศุสัตว์เร่งแก้ไขปัญหาประชากรลิงแสมที่เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในชุมชนเมืองของหลายจังหวัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงและโรคอื่น ๆ ที่ลิงเป็นพาหะสู่คน โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจะเป็นโครงการนำร่องภายใต้เพชรบุรีโมเดล จึงได้จัดทำโครงการทั้งแผนงานและงบประมาณเสร็จแล้วและเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาลิงแสมบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นรองประธาน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบุรี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนครคีรีหน่วยงานภายใต้กรมปศุสัตว์และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช หน่วยราชการในจังหวัดเพชรบุรีองค์กรภาคประชาชนและองค์กรภาคประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นกรรมการ โดยมีรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ บูรณาการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายโดยเร็วที่สุด   

นายอลงกรณ์ได้กล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือในโครงการนี้ ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดโรคต่าง ๆ ที่ลิงเป็นพาหะสู่คน ยังช่วยฟื้นฟูธุรกิจการค้าและพระนครคีรีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเพชรบุรีที่ซบเซามาหลายปีรวมทั้งทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนดีขึ้นมีรายได้และอาชีพเพิ่มขึ้น

ตม.ยืนยัน ภาพต่างชาติแน่นสุวรรณภูมิ ของจริง!! แต่มั่นใจ 'ตรวจสอบ-อำนวยความสะดวก' อยู่หมัด

จากกรณีมีการเผยแพร่ภาพ ผู้โดยสารปริมาณหนาแน่นมากบริเวณจุดรอเข้ารับการตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า ด่าน ตม.สนามบินสุวรรณภูมิ โดยขึ้นหัวว่า "สุวรรณภูมิแตก นักท่องเที่ยวแห่เข้าไทย" และวิจารณ์ว่า เป็นภาพสถานการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมานานนับตั้งแต่สถานการณ์โควิดระบาดรุนแรงเกือบ 3 ปีนั้น

เมื่อวานนี้ (1 พ.ย. 65) พล.ต.ต.เชิงรณ ริมผดี ผบก.ศท.ตม. ในฐานะโฆษกสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้เปิดเผยว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพผู้โดยสารที่กำลังรอรับการตรวจหนังสือเดินทางที่ ขาเข้า ด่าน ตม.สนามบินสุวรรณภูมิ 'จริง'

โดยได้รับข้อมูลจาก ตม.ขาเข้า ว่า เหตุดังกล่าว เป็นสถานการณ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 ต.ค. 2565 ช่วงเวลา 13.00 – 17.00 น. ซึ่งมีเที่ยวบินลงถึง 76 เที่ยวบิน หรือ ชั่วโมงละประมาณ 20 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารเฉลี่ยชั่วโมงละ 3,000 ถึง 4,000 คน หนาแน่นสุดคือช่วง 14.00 - 16.00 น. 

จากสถานการณ์ดังกล่าว ทาง พล.ต.ต.มนตรี ปานเจริญ ผบก.ตม.2 ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.หญิง รุ่งทิพย์ เข็มทอง ผกก.ฝ่าย ตม.ขาเข้าฯ จัดกำลังพลรองรับสถานการณ์ดังกล่าวเต็มกำลังทุกช่องตรวจ จนสามารถระบายผู้โดยสารให้เข้ารับการตรวจเฉลี่ยอย่างช้าไม่เกิน 1 ชม. 

โดยทาง จนท.ตม.ใช้เวลาในการตรวจข้อมูลหนังสือเดินทาง ตรวจวีซ่า เก็บข้อมูลบุคคลด้วย Biometric และ เปรียบเทียบข้อมูล Blacklist ใช้เวลาเฉลี่ยไม่เกิน 45 วินาทีต่อคน ซึ่ง จนท.ตม.ต้องระมัดระวังบุคคลต่างชาติแฝงตัวเป็นนักท่องเที่ยวเข้ามากระทำผิด โดยเฉพาะกลุ่มคอลเซนเตอร์ หรือ ก่อเหตุความวุ่นวายในช่วง APEC ที่จะถึงนี้ 

ทั้งนี้ พล.ต.ต.เชิงรณฯ ยืนยันว่า ทาง พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม.ได้ให้ความสำคัญ กับการอำนวยความสะดวกในการตรวจหนังสือเดินทางภายใต้หลักความมั่นคง นับตั้งแต่รัฐบาลเปิดประเทศ เมื่อ 1 พ.ย. 2564 ซึ่งทาง บก.ตม.2 ในฐานะที่รับผิดชอบ ด่าน ตม.สนามบินหลัก ได้มีมาตรการรับสถานการณ์ที่สำคัญ ได้แก่...

SET ยก ปตท. สุดยอดองค์กรนวัตกรรม 'ยั่งยืน-ยอดเยี่ยม' เคลื่อนธุรกิจเติมคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างต่อเนื่อง

ปตท.คว้ารางวัลสูงสุดด้านความยั่งยืน และรางวัลยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรมต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากเวที SET Awards 2022

เมื่อ (28 ต.ค. 65) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2565 ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร รวม 2 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน (Sustainability Awards of Honor) และรางวัลบริษัทยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม (Best Innovative Company Awards) สะท้อนความมุ่งมั่นของ ปตท.ที่ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน พร้อมพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างต่อเนื่อง

รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability Awards of Honor เป็นรางวัลสูงสุด โดย ปตท.ได้รับต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากการปรับแผนการลงทุนสู่ธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตและธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน ครอบคลุมธุรกิจเกี่ยวเนื่องในระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด นอกจากนี้ ปตท.ยังได้ประกาศเจตนารมณ์มุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2040 และเป้าหมาย Net Zero Emissions ในปี ค.ศ. 2050 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยที่กำหนดไว้ในปี ค.ศ. 2065 และแสดงออกถึงการปฏิบัติจริงเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ทิศทางความยั่งยืน 

อนึ่ง รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน เป็นรางวัลที่มอบแก่องค์กรที่เคยได้รับรางวัล Best Sustainability Awards ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แสดงถึงความสามารถขององค์กรในการรักษาความโดดเด่นและยอดเยี่ยมด้านความยั่งยืน

'บิ๊กป้อม' แง้ม!! 'โมโตจีพี 65' ดูด 800 ล้านคนชมสด สร้างมูลค่าเศรษฐกิจเข้าไทย กว่า 4,048 ล้านบาท

พล.อ.ประวิตร เผยผลสำเร็จ จัดแข่งจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก โมโตจีพี ปี 65 มีผู้เข้าร่วมงาน 178,463 คน รับชมถ่ายทอดสดทั่วโลกกว่า 800 ล้านคน สร้างมูลค่า ศก.กว่า 4,048 ล้านบาท

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (1 พ.ย.65)  ถึงผลสรุปการจัดการแข่งขันจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก รายการโมโตจีพี ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถเพิ่มมูลค่ากีฬาที่มีศักยภาพเพื่อการท่องเที่ยว มีการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ประมาณ 178,463 คน และมีผู้รับชม การถ่ายทอดสดทั่วโลก มากกว่า 800 ล้านคน ซึ่งการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติในครั้งนี้ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมเป็น มูลค่ากว่า 4,048,000,000 บาท

INTERLINK Group พร้อมแล้ว จะเป็น The No.1 Submarine Cable

ILINK เซ็นรับงาน PEA มูลค่า 1,786.17 ลบ. “ก่อสร้างสาย Submarine Cable ไปเกาะเต่า” เตรียมขึ้นแท่นครองตลาดอย่างแข็งแกร่งที่สุด 

The No.1 Submarine Cable : บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ชนะการประกวดงานโครงการใหญ่ ก่อสร้างสาย Submarine Cable จากเกาะพะงัน ไปเกาะเต่า โดยได้รับหนังสือสั่งจ้างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 1,786.17 ล้านบาท 

งานนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้พิจารณาตกลงให้ “INTERLINK CONSORTIUM” ซึ่งประกอบด้วยบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เพาเวอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้ดำเนินการดังกล่าว โดยวันนี้ (1 พ.ย. 2565) นายสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ได้ร่วมลงนามในสัญญาจ้างกับ นายประพันธ์ สีนวล รองผู้ว่าการวิศวกรรม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ตกลงก่อสร้างสายเคเบิลใต้น้ำ ระบบ 33 เควี ไปยังเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 48 กิโลเมตร มูลค่างานทั้งสิ้น 1,786,170,260 บาท ซึ่งเป็นมูลค่างานโครงการสายเคเบิลใต้น้ำที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับผลงานในอดีตของบริษัทฯ ที่เคยรับมานานกว่า 15 ปี โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 540 วัน นับจากวันที่ลงนามในสัญญา   

เริ่มแล้ว!! รฟท.เปิดขายตั๋วรถไฟทางไกล ย้ายบริการจากหัวลำโพง สู่ 'สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์'

รฟท.ดีเดย์ (1 พ.ย. 65) เปิดบริการจำหน่ายตั๋วรถไฟที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เตรียมการย้ายขบวนรถทางไกล รถด่วน รถเร็วทุกสาย ยกเว้นสายตะวันออก จาก ‘หัวลำโพง’ ไปสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ย้ำมีความพร้อมเดินทางสะดวก เชื่อมสายสีแดง และ MRT สีน้ำเงิน

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้จัดทำแผนการเปิดใช้ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ ซึ่งจะปรับเปลี่ยนสถานีต้นทางปลายทางของรถไฟทางไกล กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน และรถเร็วทุกสาย (ยกเว้นสายตะวันออก) จากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

โดยจะเปิดให้บริการจำหน่ายตั๋วโดยสารรถไฟที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการปรับสถานีต้นทางปลายทางรถไฟทางไกลของรถไฟทางไกล อำนวยความสะดวก และเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ใช้บริการ พร้อมเปิดให้บริการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์มีเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วโดยสารของระบบรถไฟทางไกลอยู่ในบริเวณชั้น 1 ฝั่งทางด้านทิศเหนือ ที่ให้บริการขบวนรถไฟทางไกล (ฝั่ง LD) และฝั่งทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้า MRT (ฝั่ง CT)

ในเบื้องต้นจะเปิดให้บริการจำหน่ายตั๋วรถไฟทางไกล บริเวณด้าน CT ก่อน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นจุดเชื่อมต่อกับผู้โดยสารที่เดินทางด้วยระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่มีความประสงค์ซื้อและจองตั๋วโดยสารขบวนรถไฟทางไกล สามารถซื้อตั๋วโดยสารได้ทุกขบวน ทั้งตั๋วประจำวัน ตั๋วล่วงหน้า และตั๋วขบวนรถนำเที่ยวของการรถไฟฯ

'เฉลิมชัย' ชงแผนพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม 5 ปี พร้อมดีเดย์ฉบับแรกของประเทศ 1 มกราคม 2566

'เฉลิมชัย' ดีเดย์แผนพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม 5 ปี ฉบับแรกของประเทศ 1 มกราคม 2566 ด้าน 'อลงกรณ์' พอใจการปฏิรูปบริการดิจิทัลภาครัฐของกระทรวงเกษตรฯ 175 ระบบคืบหน้า 95% 

(31 ต.ค. 65) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และ คณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการประชุมผ่านระบบทางไกลออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting ครั้งที่ 5/2565 พร้อมด้วย นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม รองเลขาธิการ ส.ป.ก., นายโฆสิต สุวินิจจิต ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness), นายกฤชฐา โภคาสถิตย์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน e-Commerce, ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ, นายฉันทานนท์ วรรณเขจร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech, นายสัญชัย รัศมีจีรวิไล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศทส.), ดร.เจษฎา วิชาพร รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร, รศ.ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, รศ.ดร.พัชรศักดิ์ อาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย และนายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการฯ 

อีกทั้ง ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ภาคการศึกษา ภาคเอกชน และศูนย์ AIC จากทั่วประเทศ 492 ราย ร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน Big Data และ Gov Tech ด้านเกษตรอัจฉริยะ ด้าน e-Commerce และด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness) 

โดยที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 
ดังนี้...

1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงานผลการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านระบบออนไลน์ มีมูลค่าการจำหน่ายสินค้า จากวันที่ 27 เมษายน 2563 ถึง วันที่ 15 ตุลาคม 2565 เป็นเงินจำนวน 523,792,120 บาท และในการขับเคลื่อนบูรณาการงานด้านการส่งเสริมธุรกิจเกษตร จะมีการจัดงาน Creative and Innovation for Agribusiness ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2565 ณ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) โดยคณะทำงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน

2. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน e-Commerce ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงาน ในความพร้อมและการขายสินค้าเกษตรแบบพรีออร์เดอร์ และการจัดฝึกอบรมเกษตรกรรายย่อยด้านช่องทางการทำตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทาง tiktok 

3. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี 2565-2566 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่  (1) การพัฒนา IoTs Platform สำหรับการผลิตทุเรียนแปลงใหญ่อัจฉริยะ (2) แอปพลิเคชันทำนายและตรวจวิเคราะห์ศัตรูพืช (โรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืช) ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) (3) การพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร (เครื่องสาง+เครื่องม้วนใบอ้อย) เพื่อแก้ปัญหาการเผาอ้อย และความก้าวหน้าการเชื่อมโยงและเข้าถึงข้อมูลสภาพอากาศของเกษตรกรเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอัจฉริยะ

4. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีความก้าวหน้าการดำเนินงานด้าน Gov Tech โครงการบริการออนไลน์ e-Service ระบบบริการภาครัฐของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีการให้บริการในรูปแบบ Digital ทั้งสิ้น จำนวน 175 บริการ เป็น Digital Service จำนวน 166 บริการ คิดเป็น 95% เหลืออีก 5% อยู่ระหว่างดำเนินการให้เป็น Digital Service จำนวน 9 บริการ ซึ่งนายอลงกรณ์แสดงความชื่นชมและพอใจต่อความคืบหน้าโดยขอให้บรรลุ 100% ในปีนี้

ส่วนการพัฒนาระบบบริการดิจิทัลที่เชื่อมโยง NSW แล้ว จำนวน 55 บริการ มีการอนุมัติและเป็น e-Signature ทั้งสิ้น 5 หน่วยงาน 46 บริการ มีการชำระเงิน และเป็น e-Payment ทั้งสิ้น 4 หน่วยงาน 38 บริการ อีกทั้งได้มีการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้าน Big Data โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร มีระบบงานที่พัฒนาขึ้น จำนวน 5 ระบบ โดยผู้สนใจสามารถเข้าใช้งานผ่านทางเว็บไซต์ http://nabc.go.th/app/application ได้แก่...

(1) ระบบการบูรณาการข้อมูลและจัดทำรายงาน 
(2) ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) 
(3)ระบบปฏิทินการผลิตสินค้าเกษตร 
(4) ระบบ Coaching Program Platform (CPP)
และ (5) ระบบ Public AI ให้บริการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตร

ที่ประชุมยังรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในเรื่องต่างๆ ดังนี้...

(1) การบริหารการขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้ดำเนินการติดตั้งระบบการบริหารจัดการน้ำ เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อรายงานสถานการณ์น้ำ ระดับน้ำ และระยะเวลาระบายน้ำ พัฒนาระบบเตือนภัยน้ำท่วมสำหรับเกษตรกรในพื้นลุ่มต่ำ กรณีศึกษา โครงการบางระกำโมเดล โดยเกษตรกรจะสามารถเข้าถึงระบบได้โดยผ่านทางโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์

(2) ผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในฐานะศูนย์ AIC จังหวัดนครราชสีมาและ ศูนย์ความเป็นเลิศโคเนื้อในโครงการพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์และการขุนวัวโคราชวากิว ให้มีไขมันแทรกสูง โดยใช้พ่อพันสายพันธุ์วากิวแท้ 100% (Full Blood) ที่มีการตรวจยีนการสร้างไขมันแทรกเป็นที่ยอมรับทั่วโลก และสามารถนำมาผสมกับแม่พันธุ์โคผสมสายพันธุ์ต่างๆในประเทศไทยสามารถให้ลูกที่มีไขมันแทรกสูง เนื้อคุณภาพ สามารถส่งขายได้ในราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาด โดยในปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยทางภาคอีสานสามารถขุนเองให้ได้มาตรฐานตรงตามที่ตลาดต้องการ

(3) แผนพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ฉบับแรกของประเทศสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13 โดยฝ่ายเลขาฯ ได้แจ้งประสานไปยังสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัดเพื่อให้จัดทำแผนฯ และส่งข้อมูลภายใน 30 พ.ย. 2565 ซึ่งพร้อมจะเสนอให้รัฐมนตรีเกษตรฯ ประกาศแผนดังกล่าวในวันที่ 1 มกราคม 2566

'ดอน' เผย 'สี จิ้นผิง' มาร่วมประชุม APEC 2022 ย้ำ!! ดูแลความปลอดภัยสูงสุด

APEC 2022 นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ เผย 'สี จิ้นผิง' มาร่วมประชุมแน่นอน ย้ำดูแลความปลอดภัยสูงสุด

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในการประชุมเอเปคครั้งนี้ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ถือเป็นการประชุมที่ยิ่งใหญ่ในรอบ 3 ปีที่จะมีการประชุมเต็มรูปแบบ โดยทุกประเทศใน 21 เขตเศรษฐกิจจะมาเข้าร่วมประชุม เพียงแต่ว่าจะอยู่ในระดับไหนเท่านั้น

โดยแขกที่ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการที่จะมาเยือนที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น มีประมาณ 6-7 ประเทศ รวมถึงนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจีนถือเป็นการเยือนพิเศษ เพราะมีการพูดคุยกันมานานแล้ว ส่วนนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียคงต้องรอต่อไป ซึ่งจนถึงวันนี้ยังยืนตามนี้ไปก่อน ส่วนจะเปลี่ยนหรือไม่ต้องรออีกสักระยะ

สำหรับสหรัฐอเมริกาจะส่งนางกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ มาแทนตามที่โฆษกสหรัฐฯ ได้ชี้แจงไว้ ส่วนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและไต้หวัน แม้ไม่ได้เป็นประเทศ แต่ก็ถือว่าเป็นเขตเศรษฐกิจ ที่เหลือเป็นระดับผู้นำที่จะเดินทางมา เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียที่ส่งตัวแทนมา เนื่องจากกำลังมีการเลือกตั้งในประเทศในวันที่ 29 พ.ย. และประเทศเม็กซิโกที่มีปัญหาในบ้านเมือง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ตัวชี้วัดภาคการผลิตของไทยที่ยัง ขยายตัวต่อเนื่อง

ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ล่าสุดกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า MPI เดือนกันยายน 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.36 และไตรมาส 3 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 8.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ส่งผลให้ 9 เดือนแรก MPI ขยายตัวร้อยละ 2.83 ส่วนการส่งออกสินค้าอุตฯ ขยายตัวร้อยละ 7.92 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 22 รับผลบวกจากรถยนต์มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 

‘รถไฟลอยน้ำ’ ชมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กลับมาแล้ว การรถไฟฯ เริ่มเปิดให้บริการเที่ยวแรก 5 พ.ย.นี้

การรถไฟฯ จัดขบวนรถไฟลอยน้ำต้อนรับฤดูกาลท่องเที่ยว พาไปสัมผัสลมหนาวกลางเขื่อนกับขบวนรถพิเศษนำเที่ยวเส้นทางกรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 – มกราคม 2566 เริ่มเที่ยวแรก 5 พฤศจิกายน นี้

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังมาถึงนี้ การรถไฟฯ ขอเชิญชวนประชาชน และนักท่องเที่ยว ร่วมเดินทางสัมผัสลมหนาวเส้นทางอันซีนหนึ่งเดียวของเมืองไทย นั่งรถไฟลอยน้ำสุดโรแมนติก กลางเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยได้จัดขบวนรถพิเศษนำเที่ยว เส้นทางกรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 – มกราคม 2566 โดยเปิดให้บริการเที่ยวแรก 5 พฤศจิกายน 2565 และเริ่มจำหน่ายตั๋วโดยสารพร้อมกันทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อตั๋วโดยสารล่วงหน้าได้ที่สถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศ หรือระบบ D-Ticket รวมถึงสามารถจองเดินทางเป็นหมู่คณะแบบเช่าเหมาคันหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย 

สำหรับประวัติขบวนรถไฟลอยน้ำ เดิมเป็นทางรถไฟสายกรุงเทพ บัวใหญ่ หนองคาย อยู่ในบริเวณลุ่มน้ำป่าสักในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และต่อมาพื้นที่ดังกล่าวถูกพัฒนาเป็นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อใช้กักเก็บน้ำ แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน พร้อมกับมีการสร้างทางรถไฟยกระดับขึ้นเหนือน้ำเพื่อใช้สัญจรไปยังจังหวัดต่างๆ ได้ ซึ่งเมื่อขบวนรถไฟวิ่งลัดเลาะไปตามขอบของอ่างเก็บน้ำ  และมองออกไปนอกหน้าต่างจะดูคล้ายกับรถไฟแล่นไปบนผิวน้ำ ขบวนรถไฟนี้จึงได้ชื่อว่า “รถไฟลอยน้ำ” 

ทั้งนี้ ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะเปิดให้บริการแบบเช้าไปเย็นกลับ ซึ่งในปีนี้ได้กำหนดจัดในทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2565 – มกราคม 2566 รวม 24 วัน ประกอบด้วย 

วันที่ 5–6, 12-13, 19-20, 26-27 พฤศจิกายน 2565 
วันที่ 3-4, 10-11, 17-18, 24-25 ธันวาคม 2565 
วันที่ 7-8, 14-15, 21-22, 28-29 มกราคม 2566 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top