(29 ต.ค. 65) เพจ โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure ได้ Update ความคืบหน้าของสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) ซึ่งเป็นประตูเชื่อมเพื่อนบ้านแห่งใหม่ เพื่อเชื่อมโยง ไทย-ลาว-เวียดนาม ไว้ว่า...
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) คืบหน้าแล้วกว่า 57% อีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์ เชื่อมโยงภูมิภาค ไทย-ลาว-เวียดนาม
อย่างที่หลายๆ คนทราบว่า ตอนนี้บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่เนื้อหอมมาก เพราะเป็นทั้งจังหวัดใหม่ที่ยังขาดการพัฒนา และพัฒนาได้ง่าย พร้อมกับทรัพยากร ที่สดใหม่พร้อมพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวที่นิยมใหม่ๆ และที่สำคัญเป็นเมืองชายแดนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
ทำให้ รัฐบาลมีการวางแผน และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายในบึงกาฬ เพื่อเชื่อมโยงบึงกาฬ กับจังหวัดข้างเคียง และประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างเต็มที่ แบ่งเป็น
>> โครงการที่เริ่มก่อสร้างแล้ว...
- โครงการสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)
- โครงการเลี่ยงเมืองบึงกาฬ เชื่อมสะพานมิตรภาพ
>> สะพานที่อยู่ระหว่างศึกษาและออกแบบ...
- ทางหลวงสายใหม่ อุดรธานี-บึงกาฬ
- สนามบินบึงกาฬ
(ลิงก์รายละเอียดการศึกษา ตามนี้ https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=1535116113593529&id=491766874595130)
>> โครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาแผนแม่บท...
- มอเตอร์เวย์+รถไฟ MR3 บึงกาฬ-สุรินทร์
ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเห็นเลยว่า ตอนนี้บึงกาฬกำลังเป็นจังหวัดที่น่าจับตามองมากๆ
มาดูรายละเอียด สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) กันหน่อย
จริงๆ ผมเคยโพสต์รายละเอียดสะพานมิตรภาพนี้มาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ตามลิงก์นี้ https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=598828117222338&id=491766874595130&mibextid=nJa2DX
ซึ่งช่วงนั้นผมมีงานอยู่ที่เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ตรงข้ามกับจังหวัดบึงกาฬ เลยทำให้เข้าใจสภาพพื้นที่ และความน่าดึงดูดของจังหวัดนี้เลย
>> สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)
- สะพานเป็นรูปแบบ สะพานคานขึง (Extradose Bridge) ซึ่งช่วยให้ลดจำนวนเสา กลางแม่น้ำเพียง 4 ต้น ระยะห่างระหว่างเสา 150 เมตร
- ความยาว สะพาน 1.35 กิโลเมตร
- ความยาวถนน รวมเลี่ยงเมือง 15 กิโลเมตร
- พร้อมอาคารด่าน ตม. 2 ฝั่ง
- อัตลักษณ์ สะพาน เป็นรูปแคน
***มูลค่าก่อสร้างรวม 3,640 ล้านบาท
ซึ่งด่านนี้จะเน้นการขนส่งสินค้าทางเกษตร เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา เพื่อมาแปรรูปที่ฝั่งไทย
(ปัจจุบัน การเดินทางข้ามฝากด้วยแพขนานยนต์ ซึ่งเป็นจุดข้ามสำคัญ เช่น รถไฟที่ใช้ในการก่อสร้างรถไฟ ลาว-จีน ก่อนหน้านี้)