Wednesday, 2 July 2025
ECONBIZ

‘INTERLINK’ จัดเลี้ยงอาหารค่ำสุด VIP ให้ผู้รับเหมาโครงการ ณ หาดหัวหิน หนุนสร้างฐานทัพธุรกิจ ให้เติบโตร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง

เมื่อวันที่ 18 - 19 ก.พ. 66 บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ จัดงาน ‘LINK EXCLUSIVE THANK YOU VIP’ ปี 2023 จัดเลี้ยงอาหารค่ำริมหาดหัวหินให้กลุ่มลูกค้าผู้รับเหมา ทั้งงานก่อสร้าง และงานโครงการต่าง ๆ กว่า 60 บริษัท จำนวนรวมกว่า 180 ท่าน ในตีมงานโบฮีเมียน ร่วมสังสรรค์ ดื่มด่ำกับช่วงเวลาแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ลมพัดเย็นพลิ้วไหวริมหาดทราย มีเสียงเพลงบรรเลงคลอเคล้าในค่ำคืนพระจันทร์ส่องสว่าง พร้อมอิ่มอร่อยไปกับอาหารนานาชนิด และซีฟู้ดแบบไม่อั้น 
 

'กฎหมาย' เปิดทางบุคคล 2 คน จดทะเบียนตั้ง 'บริษัทจำกัด' เอื้อเปิดกิจการขนาดเล็ก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจระยะยาว

รัฐบาลได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดขั้นตอน อุปสรรคเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและทยอยมีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่23) พ.ศ. 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทได้เริ่มมีผลบังคับ โดยผลของกฎหมายจะเอื้อให้เกิดการก่อตั้งธุรกิจง่ายขึ้น มีความคล่องตัว ลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการดำเนินงาน สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเป็นกลไกสำคัญสนับสนุนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว

พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23)ฯ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 8 พ.ย. 65 กำหนดให้มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 66 เป็นต้นมา ได้มีการปรับปรุงแก้ไขในหลายประเด็น อาทิ การลดจำนวนขั้นต่ำของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทเป็น 2 คน จากเดิมที่กำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 3 คน ซึ่งเกณฑ์ในเรื่องนี้จะทำให้มีการจัดตั้งธุรกิจได้ง่ายเอื้อต่อการเกิดธุรกิจขนาดเล็กหรือวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) มากขึ้น

กฎหมายยังมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยกำหนดวิธีประชุมกรรมการให้สามารถดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย ส่วนการส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้นได้กำหนดวิธีบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เป็น 2 กรณี ตามชนิดใบหุ้น โดยกรณีผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อมีการลดขั้นตอนการพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ส่วนกรณีหุ้นชนิดผู้ถือ ได้กำหนดให้มีการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือโฆษณาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

'นิพนธ์' ชู!! ศก.พอเพียง แก้ปัญหา ศก.ชายแดนใต้ แนะ!! สร้างความมั่นคงทางอาหาร รับตลาด 'ซาอุฯ-มาเลย์'

(18 ก.พ.66) นายนิพนธ์ บุญญามณี ประธานคณะทำงานและคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานกำหนดแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือ ทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงพาณิชย์ โดยมีคณะทำงานอาทิ นายอรัญ วงศ์อนันต์ รองประธานคณะทำงาน, นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต., ผศ.ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มฟน., ดร.ศิดดิก ลาลีวัน รองผู้จัดการใหญ่สหกรณ์อิบนุเอาฟ์, นายอธิพงศ์ ยาชะรัคน์ เลขานุการเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย, นายอาฟันดี หะชั้น อ.ประจำสาขาวิขายริหารธุรกิจ มฟน., นายอัดนัน อัลฟารีฏีร์ อ.ประจำสาขาเศรษฐศาสตร์การเงินฯ มฟน. ณ ห้องประชุมสะบารัง โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี จังหวัดปัตตานี  

โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) กำหนดแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงติดตามและขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของพื้นที่ ให้เกิดการยกระดับการค้าและการตลาดให้กับกลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม และรวดเร็วทันเหตุการณ์

นายนิพนธ์ กล่าวว่า "เราต้องมาดูกระบวนการผลิตว่าจะมาปรับทำอย่างไร และเมื่อประตูการค้าเปิดการค้าขายแล้วเราจะทำอย่างไร ซึ่งประเทศซาอุดีอาระเบียถือเป็นตลาดใหญ่ของตะวันออกกลาง วันนี้ก็เป็นกระบวนการหนึ่งในการที่จะส่งเสริมการผลิตแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เราคิดกันไว้ว่าอย่างไร 

"แต่ก่อนที่จะไปถึงการค้าระหว่างประเทศเราต้องถือว่าทำอย่างไรการผลิตในพื้นที่จะต้องเพียงพอกับการบริโภคภายใน ตามหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงคือ ผลิตเพื่อบริโภค และเหลือไปจำหน่าย นี่คือหลักคิดที่รัชกาลที่ 9 ท่านได้ทรงวางไว้ให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อเดินตามยุทธศาสตร์และจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับพื้นที่ ซึ่งนอกจากซาอุฯ แล้ว วันนี้ยังคิดว่าที่จะจับคู่การค้ากับมาเลเซีย เพราะตลาดต้มยำกุ้งเป็นตลาดที่ใหญ่อีกตลาดหนึ่ง ถ้าสิ่งใดที่ปรับฐานการผลิตของเรา ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทางได้ เราก็ยังเชื่อได้ว่าการส่งออกยังมีช่องทางอีกมากในการที่จะจับคู่การค้ากับมาเลเซีย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจากบ้านเรายังเป็นที่ต้องการของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย 

"ผมเคยเดินทางไปดูที่มาเลเซียมาแล้วพบว่ายังมีช่องทางการค้า การลงทุนไม่ว่าจะเป็นสินค้าประมงที่เราเลี้ยง สัตว์น้ำทั้งกุ้ง ปลายังนำไปเป็นวัตถุดิบต้มยำกุ้ง ก็ต้องไปจากประเทศไทยทั้งนั้น นอกจากนั้นยังมีพืชผักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตะไคร้ มะกรูด คะน้ารวมถึงหอม กระเทียม พริก เป็นต้น ผมจึงคิดว่ายังมีช่องทางอีกมาก ดังนั้นทำอย่างไรที่จะส่งเสริมส่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นี่คือที่มาที่บอกว่า ทำให้เป็นพื้นที่ที่มีความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยสภาพแวดล้อมโดยภูมิศาสตร์แล้ว ทางนี้เหมาะอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยง การประมง การปศุสัตว์ ซึ่งกระทรวงเกษตรได้ส่งเสริมอยู่ในขณะนี้ ทั้งในเรื่องของโครงการโคบาลชายแดนใต้ หรือโครงการโคเนื้อ หรือโคเนื้อลังกาสุกะก็ดี นี่คือสิ่งที่จะทำรายได้ให้กับเกษตรกร เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ ในเชิงโครงสร้างได้อย่างแท้จริงนั่นคือความยากจน"

ปตท. เผยผลดำเนินงานตลอดปี 2565 รวมกลุ่ม ปตท. นำเงินส่งรัฐกว่า 86,395 ล้านบาท

(16 ก.พ. 66) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีมติจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 2 บาท ซึ่งได้จ่ายปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 1.30 บาท เมื่อตุลาคม 2565 คงเหลือเงินปันผลที่จะจ่ายอีกในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท 

โดยกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และกองทุนวายุภักษ์รับปันผล 36,144 ล้านบาท จากผลการดำเนินงานของ ปตท. และบริษัทย่อยที่มีกำไรสุทธิในปี 2565 จำนวน 91,175 ล้านบาท (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิที่ 3.6%) ลดลงจำนวน 17,188 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.9 จากปีก่อน แม้ว่ากำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก ธุรกิจสำรวจและผลิตที่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นตามราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานในตลาดโลก และปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว 

ขณะที่ธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลงจากต้นทุนก๊าซฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก จากการนำเข้า Spot LNG เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซในประเทศ และธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีที่ราคาปิโตรเคมีปรับลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงในปี 2565 ต้นทุนทางการเงิน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ และ ผลขาดทุนจากการรับรู้รายการขาดทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำสุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2564

‘ปตท.’ ยุติการลงทุนในธุรกิจถ่านหิน มุ่งหน้าสู่ ‘ความเป็นกลางทางคาร์บอน’

เมื่อวานนี้ (15 ก.พ.66) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า บริษัท PTT International Holdings Limited (PTTIH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้นทั้งหมด ได้) ซึ่ง PTTIH ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ให้กับบริษัท ดำเนินการขายหุ้นในบริษัท PTT Mining Limited (PTTMLPT Astrindo Nusantara Infrastruktur Tbk หรือบริษัทในเครือของ Astrindo เป็นที่แล้วเสร็จ รวมมูลค่า 486 ล้านเหรียญสหรัฐ (รวมดอกเบี้ย) ส่งผลให้ PTTML สิ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อยของบริษัท PTTIH  และเป็นการยุติการลงทุนในธุรกิจถ่านหินทั้งหมดของ ปตท.

'รองโฆษกฯ' เผย รบ. ไฟเขียวจดตั้งบริษัท 2 คนได้ เอื้อ กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก หนุน ศก. เติบโตในระยะยาว

(17 ก.พ. 66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดขั้นตอน อุปสรรค เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและทยอยมีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท เริ่มมีผลบังคับใช้ โดยจะเอื้อให้เกิดการก่อตั้งธุรกิจง่ายขึ้น มีความคล่องตัว ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเป็นกลไกสำคัญต่อการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ได้มีการปรับปรุงแก้ไขในหลายประเด็น อาทิ การลดจำนวนขั้นต่ำของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทเป็น 2 คน จากเดิมที่กำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 3 คน ซึ่งเกณฑ์ในเรื่องนี้จะทำให้มีการจัดตั้งธุรกิจได้ง่าย เอื้อต่อการเกิดธุรกิจขนาดเล็กหรือวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) มากขึ้น โดยกฎหมายได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง กำหนดวิธีประชุมกรรมการ ให้สามารถดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

ส่วนการส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ กำหนดวิธีบอกกล่าว เรียกประชุมใหญ่เป็น 2 กรณี ตามชนิดใบหุ้น โดยกรณีผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อมีการลดขั้นตอนการพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ส่วนกรณีหุ้นชนิดผู้ถือ ได้กำหนดให้มีการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือโฆษณาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! เอกชนญี่ปุ่น เชื่อมั่นศักยภาพ ศก.ไทย จ่อขยายการลงทุน มั่นใจ ศก.ปี 66 พุ่งจากการท่องเที่ยว

(17 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ประจำครึ่งปีหลัง พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 29 พ.ย. - 23 ธ.ค.2565 โดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (Japanese chamber of commerce, Bangkok: JCCB) และยินดีที่ภาคเอกชนญี่ปุ่น ให้ความเชื่อมั่นศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และมีแผนที่จะขยายการลงทุนมากขึ้น โดยคาดการณ์จีดีพี ปี 2566 จะเติบโตมากขึ้นจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง

นายอนุชา กล่าวว่า ผลการ สำรวจฯ คาดการณ์ว่าดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 จะอยู่ที่ 28 สูงขึ้นจากช่วงครึ่งหลังของปี 2565 อยู่ที่ 21 โดยผู้ประกอบการญี่ปุ่นคาดว่า การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวขาเข้า จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและชิ้นส่วนจะได้รับการแก้ไข

นักลงทุนต่างชาติ แห่ตั้งฐานการผลิตใน ‘ไทย’ ด้าน J.P.Morgan ชี้!! ‘ไทย’ น่าลงทุนที่สุดในอาเซียน

ดูเหมือนว่าภูมิภาคเอเชียจะเป็นที่จับจ้องสนใจของนักลงทุนต่างชาติอย่างมาก นักลงทุนหลายๆ เจ้าอยากจะย้ายฐานการผลิตมาตั้งในภูมิภาคนี้ เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่ดึงดูดนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงที่ถูกว่ายุโรป-สหรัฐฯ จำนวนแรงงานที่มีมากกว่า และที่สำคัญ ไม่มีเรื่องสงครามการค้าในปวดหัวด้วย

และประเทศที่เนื้อหอมเป็นที่ถูกตาต้องใจนักลงทุน ก็คือ ‘ประเทศไทย’ บ้านเรานั่นเอง โดยล่าสุดทาง J.P.Morgan ธนาคารระดับโลก ได้ออกมาบอกว่า ‘ประเทศไทย’ เป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในอาเซียนด้วย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ช่องยูทูบ ‘Kim Property Live’ โดยคุณคิม ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจ ว่า…

การวิจัยของทาง McKinsey ได้ออกมาบอกว่า Asia’s Future is now หรือว่า ‘อนาคตของเอเชียอยู่ตรงนี้แล้ว’ โดยประเมินว่าในปี 2040 เอเชียจะกินสัดส่วน GDP ของโลกอยู่ที่ราว ๆ 50% เลยทีเดียว และจะเป็นคนขับเคลื่อนการบริโภคของโลกมากถึง 40% ทั้งนี้เอเชียจะเป็นศูนย์กลางของโลกแห่งใหม่ในอนาคต และถ้าหากมองไปถึงด้านองค์กร/บริษัทของเอเชียจะพบว่าสร้างรายได้กว่า 19 ล้านล้านเหรียญฯ ให้กับเศรษฐกิจของโลกในทุก ๆ ปี

บริษัทเล็กใหญ่ของเอเชีย เช่น Alibaba หรือ Toyota ก็มีพวกเทคโนโลยีขั้นสูง ไม่ต่างจากประเทศโซนยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา และในเอเชียก็มีการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงออกมาใช้แล้วด้วย

ระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของเอเชียก็เป็นหนึ่งในระดับที่สูง อย่างเช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งรวมกันถึง 30% ในการส่งออกอุตสาหกรรมความรู้ และเทคโนโลยีเร่งรัดทั่วโลก หรือเรียกว่า KTI (เช่น ยานยนต์ คอมพิวเตอร์)

ส่วนอุตสาหกรรม EV จะยังคงเติบโตอย่างมหาศาล แบรนด์ในฝั่งเอเชียค่อนข้างแกร่งเลยทีเดียว อย่างเช่น BYD ที่สร้างยอดขายอันดับหนึ่งของโลก รวมถึงแบรนด์จากจีนอีกหลายแบรนด์เลย ส่วนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ จีนก็เป็นผู้นําด้วยเช่นกัน โดยอันดับหนึ่ง คือ CATL. อันดับสองเป็น BYD อันดับสาม LG ของเกาหลีใต้

อีกทั้งอุตสาหกรรมไมโครชิพ ทางจีนก็สร้างได้ค่อนข้างเยอะ รวมถึงทาง TSMC ทางไต้หวัน และก็ยังมีทางญี่ปุ่น หมายความว่าทางเอเชียบ้านเรา เริ่มครอบครองอุตสาหกรรมที่เป็นดิฟเทค แล้วก็เชิงลึกความรู้ข้อมูลในอนาคตอยู่เยอะพอสมควรเลย

เจ้าของ 'เต่าบิน' เตรียมปูพรมตู้ชาร์จ 'กิ้งก่าอีวี' เบื้องต้นรุกตลาด 'คอนโด-สำนักงาน' 5,000 จุด

(16 ก.พ. 66) บมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส (FSMART) เปิดตัวตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 'GINKA Charge Point' อย่างเป็นทางการ ตั้งเป้าหมายขยายปีนี้ 5,000 จุดผ่านการร่วมลงทุนกับเจ้าของพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน และอพาร์ทเม้นท์ ช่วงแรกจะเน้นคอนโดมิเนียมที่มีตู้เต่าบินติดตั้งอยู่ราว 5,000 จุด ก้าวต่อไปกระจายไปในหัวเมืองหลักในต่างจังหวัด คาดว่าจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์และติดตั้งได้ในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.66

นายณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ FSMART กล่าววว่า การติดตั้ง GINKA Charge Point จะเป็นการร่วมลงทุนกับเจ้าของพื้นที่ โดยจะมีโมเดลเดียวกับตู้เต่าบิน ซึ่งบริษัทจะลงทุนให้ตู้ชาร์จ ระบบบริการ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมเปิดให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันในช่วงไตรมาส 2/66 ขณะที่ค่าบริการขึ้นอยู่กับการตกลงกับเจ้าของพื้นที่ แต่จะไม่ให้เกิน 6.5 บาท/หน่วย ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในตลาดที่ 7.5 บาท/หน่วย

บริษัทคาดว่า รายได้จากการใช้บริการ GINKA Charge Point จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยตั้งเป้ารายได้ภายใน 3 ปีข้างหน้าไว้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท/เดือน และมีเป้าหมายที่จะเห็น 'GINKA Charge Point' เพิ่มขึ้นแตะ 50,000 ถึง 100,000 จุดในอนาคต

BEV บริษัทย่อยในกลุ่ม EA รับมอบ Certificate ISO/EC 17025 : 2017ยกระดับมาตรฐานศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ เทียบเท่าระดับสากล

บจก. ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือ BEV บริษัทย่อยในกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ ได้รับมอบ  มอก.17025-2561 (ISO/IEC 17025-2017)ความสามารถของปฏิบัติการทดสอบ โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นประธานในพิธีมอบให้แก่ นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์

'อลงกรณ์' เร่งเดินหน้าเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy) เผยปี2565 'ปลาทู' เพิ่ม 63% ชี้มาตรการปิดอ่าวของกรมประมงบรรลุความสำเร็จภายใต้นโยบาย '3ป.' ของรัฐมนตรีเกษตรฯ.

พร้อมประกาศปิดอ่าวไทยดีเดย์ 15 ก.พ. คุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทูและสัตว์น้ำมีไข่ หวังเพิ่มผลผลิตและฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 เพื่อคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทูและสัตว์น้ำมีไข่ให้แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน 

โดยมี นายกิตติพงศ์ สุขภาคกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกรมประมง สมาคมประมง องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น เข้าร่วม ณ สวนสาธารณะปากน้ำปราณบุรี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำดังกล่าว ครอบคลุมพื้นที่บริเวณอ่าวไทยทั้งหมด แบ่งเป็น บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง 2 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2566 

ในบริเวณอาณาเขตตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลางและเขตต่อเนื่องตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และบริเวณพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก 2 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2566 ในพื้นที่อ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร และระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน ในพื้นที่อ่าวไทยตอนในด้านเหนือของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี  

สำหรับพิธีประกาศปิดอ่าวฯ ในวันนี้ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกอบพิธีบวงสรวงพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และกล่าวคำปฏิญาณตนที่บริเวณด้านหน้าอ่าวประจวบฯ พร้อมกล่าวเปิดพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ มีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 พร้อมทั้งได้มอบแผ่นป้ายเงินอุดหนุนโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านประมงให้กับผู้แทนองค์กรประมงท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน 200 ชุมชน 

โดยมอบให้กับผู้แทนสมาคมประมงพื้นบ้าน และมอบป้ายเงินอุดหนุนให้แก่ประธานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในเขตจังหวัดชุมพร จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ สมาคมประมงด่านสวี หมู่ที่ 3 ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ชุมชนประมงท้องถิ่นบ้านควนเสาธง หมู่ที่ 9 ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านกลางอ่าว 1 หมู่ที่ 13 ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร กลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านกลางอ่าว 2 หมู่ที่14 ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ประธานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในเขตจังหวัดชุมพรประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ กลุ่มแปรรูปอาหารทะเลบ้านเขาแดง ตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านปากคลอง ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประมงและการท่องเที่ยวบางสะพาน ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และประธานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ 

กลุ่มประมงพัฒนาสาหร่ายทะเลเพชรบุรี ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ตำบลนาพันสาม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี และได้มอบพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่ตัวแทนชุมชนประมงท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวนรวมทั้งสิ้น 215,000 ตัว ประกอบด้วย กุ้งกุลาดำ 200,000 ตัว กุ้งแชบ๊วย 10,000 ตัว และปลากะพง 5,000 ตัว

 

จากนั้นนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดแผ่นป้ายประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ มีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 พร้อมพิธีปล่อยเรือตรวจประมงทะเลออกปฏิบัติงานในพื้นที่ ประกอบด้วย เรือตรวจประมงทะเลขนาด 60 ฟุต เรือตรวจประมงทะเล ขนาด 38 ฟุต เรือตรวจประมงทะเลขนาด 24 ฟุต เรือตรวจประมงทะเลขนาด 19 ฟุต และเรือยางตรวจประมงทะเล และได้เยี่ยมชมนิทรรศการจากหน่วยงานกรมประมงและนิทรรศการหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อาทิ นิทรรศการการจัดตู้แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่เพาะพันธ์เพื่อการอนุรักษ์พร้อมบอร์ดแสดงข้อมูล นิทรรศการผลการศึกษาทางวิชาการมาตรการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน บริเวณอ่าวไทยตอนกลาง อ่าวไทยรูปตัว ก นิทรรศการมาตรการปิดอ่าวไทยตอนกลางและมาตรการปิดอ่าวไทยตอนในในภาพรวม รวมไปถึงมาตรการที่เกี่ยวข้อง นิทรรศการการลงทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตประมงพื้นบ้านและเตรียมความพร้อมก่อนลงทะเบียนขอรับใบอนุญาตประมงพื้นบ้าน นิทรรศการการควบคุมการทำประมงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมชุมชนประมง การอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (MMPA) นิทรรศการการจัดทำหนังสือคนประจำเรือ (Sea book) ฯลฯ

'รมว.คลัง' ชี้ 'การท่องเที่ยว' เครื่องยนต์หลักเคลื่อน ศก. ยัน!! แม้ ศก.โลกไม่แน่นอน แต่คลังไทยยังแข็งแกร่ง

(15 ก.พ. 66) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยในงานสัมมนา Thailand's Future Economic Forum 2023 โดยปาฐกถาพิเศษเรื่อง ฝ่าคลื่นเศรษฐกิจ ปี 2566 จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า ภาคการท่องเที่ยวจะเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกับการลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชน ส่วนการส่งออกอาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะชะลอตัว

ทั้งนี้ ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก แต่ฐานะทางการคลังของไทยยังแข็งแกร่ง โดยปัจจุบันจากการขยายเพดานเงินกู้ ส่งผลให้ไทยยังมีพื้นที่ทางการคลัง และมีช่องว่างที่จะกู้เงินเพิ่มเติมได้ถึง 10% ของจีดีพี ในกรณีที่เกิดวิกฤติและต้องหาเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น โดยไม่เสียวินัยทางการคลังด้วย

'บิ๊กตู่' เร่งเดินหน้าศูนย์ทดสอบยานยนต์-ยางล้อ รองรับฐานผลิต EV ดันไทยเป็นศูนย์กลางมาตรฐานโลก

(15 ก.พ. 66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังเร่งผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก โดยนายกรัฐมนตรี ได้ติดตามและผลักดันการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างไปอย่างมาก

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 อนุมัติโครงการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ วงเงิน 3,705.7 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ส่วนทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R117 และระยะที่ 2 ส่วนทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วน โดยการก่อสร้างระยะที่ 1 ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว ส่วนระยะที่ 2 ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จร้อยละ 55 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! 'กกพ.' ขานรับนโยบาย 'BCG Model' หนุนใช้พลังงานสะอาด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

(15 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยินดีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ขานรับแนวทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม โดยจะพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) และเป็นที่น่าชื่นชมการทำงานของทุกหน่วยงานในประเทศ ที่รับเอาแนวนโยบายของนายกรัฐมนตรี เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม โดย กกพ. มีแนวทางที่จะสร้างกลไกเพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงาน ทั้งก๊าซธรรมชาติ ที่อาจปรับปรุงโครงสร้างรองรับการแข่งขัน พร้อมกับรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน โดยสนับสนุนการใช้พลังงานสีเขียว

โดยระยะเร่งด่วน กกพ. ให้ความสำคัญกับการใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เช่น พลังน้ำ พลังงานหมุนเวียน และในส่วนระยะยาว จะให้ความสำคัญกับการผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อรองรับการใช้พลังงานสีเขียว ตอบสนองความต้องการภาคธุรกิจการค้า และการลงทุนของภาคเอกชนระหว่างประเทศ ซึ่งมีความต้องการซื้อและได้รับการรับรองการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ในการลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนจากมาตรการภาษีคาร์บอนข้ามแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) และข้อกีดกันทางการค้าการลงทุนอื่น ๆ หนึ่งในกลไกสำคัญได้แก่ ไฟฟ้าสีเขียว หรือ Green Tariff ที่ออกแบบให้มีการขายไฟฟ้าพร้อมใบรับรอง (REC) ที่สามารถระบุที่มาของแหล่งผลิตไฟฟ้า เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียว โดยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้า

‘บิ๊กตู่’ สั่งเร่ง ‘บัตรสวัสดิการฯ’ โอนเงินภายใน 1 มี.ค. นี้ ย้ำ!! คุ้มครองข้อมูลผู้มีสิทธิ - ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ

(14 ก.พ.66) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ในที่ประชุมตนได้สั่งการให้เร่งนำโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เข้าคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติจะได้เริ่มโอนเงินให้ประชาชนได้ในวันที่ 1 มี.ค. นี้ และข้อมูลผู้มีสิทธิแต่ละคน จะได้รับการคุ้มครองข้อมูลภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตนได้เข้มงวดไปไม่ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีสิทธิ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top