Sunday, 5 May 2024
เยอรมนี

ข่าวดี!! เมื่อรัฐ Hessen พร้อมให้การสนับสนุนและบรรจุภาษาไทยเข้าสู่หลักสูตร

ไม่นานมานี้ ทางเพจ ‘พ่อบ้านเยอรมัน’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า...

เป็นผลดีอย่างมากสำหรับผู้ปกครองที่อยู่ในรัฐ Hessen โดยจากที่พ่อบ้านได้พูดคุยโดยตรงกับทาง กลุ่มครูและแม่คนไทยในรัฐ Hessen โดยคุณครูเบญ พบว่า…

“ภาษาไทยจะกลายเป็นอีกหนึ่งภาษาที่เด็กๆ จะได้เรียนและบรรจุในหลักสูตรของรัฐ ในส่วนของหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาแม่หรือภาษาถิ่นกำเนิด (Herkunftssprache)”

โดยโครงการนี้ได้ถูกผลักดันจนได้รับการยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมัน น้องๆ ที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้ จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และน้องๆ นักเรียนในหลักสูตรภาษาไทยนี้ จะถูกนำไปบันทึกในสมุดพก และตัดเกรดตามหลักสูตรปกติเลยทีเดียว

สำหรับนักเรียนที่มีสิทธิสมัครนั้น จะเป็นนักเรียนที่อยู่ในระดับ Klasse 1-10 ในรัฐ Hessen ซึ่งทางเพจพ่อบ้านเยอรมันมองว่า หลักสูตรนี้จะช่วยให้…

>> น้องๆ ได้พัฒนาความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม

>> น้องๆ จะสามารถเข้าใจในภาษา, วัฒนธรรม, แนวความคิดของระหว่างสองประเทศมากยิ่งขึ้น และแน่นอนว่าจะสามารถใช้ภาษาพูดคุยกับครอบครัวของพ่อหรือแม่ที่เมืองไทยได้อีกด้วย

>> เป็นการเพิ่มโอกาสในอนาคตของน้องๆ เพราะประเทศไทยกับเยอรมนีนั้น มีความสัมพันธ์ทางด้านการค้า, ด้านการทำธุรกิจ หรือมีหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานระหว่างสองประเทศเป็นจำนวนมาก 

>> และแน่นอนว่าภาษาไทยนั้นได้ถูกบรรจุในหลักสูตรปกติ ดังนั้นน้องๆ ก็มีโอกาสที่จะได้รับคะแนนที่ดีและมีเกรดเฉลี่ยที่สูงขึ้นด้วยน้า

เยอรมนี ส่อวิกฤต! โควิดระบาดซ้ำ ชี้! อาจคร่าชีวิตอีกนับแสน หากไม่ลงมือสกัด

นักไวรัสวิทยาระดับสูงของเยอรมนี เตือนว่าอาจมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในประเทศ เพิ่มอีกกว่า 100,000 คน หากไม่ดำเนินการใด ๆ ในการกำหนดข้อจำกัดอันเข้มงวดในทันที เพื่อยับยั้งการจู่โจมของการแพร่ระบาดระลอก 4 ที่กำลังลุกลามอย่างรวดเร็ว

เสียงเตือนจาก คริสเตียน ดรอสเทน หัวหน้าแผนกไวรัสวิทยาแห่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยชารีเท ในกรุงเบอร์ลิน มีขึ้นในขณะที่ประเทศแห่งนี้พบเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่รายวันทุบสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดอีกครั้ง

ดรอสเทน กล่าวว่าจำนวนผู้เสียชีวิต 100,000 คน เป็นการประเมินตัวเลขในเชิงสงวน (conservative estimate) หรือเลี่ยงประเมินด้วยตัวเลขที่สูงเกินไป ท่ามกลางเคสผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้น พร้อมระบุว่ามาตรการล็อกดาวน์อีกรอบจะเป็นสิ่งจำเป็น หากไม่สามารถเร่งโครงการฉีดวัคซีนให้คืบหน้าอย่างรวดเร็ว

"ตอนนี้เราอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างแท้จริง" เขากล่าวถึงสถานการณ์ตามห้องไอซียูตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ "เราจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างในทันที"

จากข้อมูลอย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่โรคระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น มีผู้คนในเยอรมนีเสียชีวิตจากโควิด-19 ไปแล้ว 96,963 ราย

ดรอสเทน คาดหมายว่าฤดูหนาวปีนี้จะเป็นฤดูหนาวที่เหนื่อยยากมาก ๆ หากการฉีดวัคซีนไม่มีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว และมองว่ารัฐบาลเยอรมนีจะจำเป็นต้องพิจารณาบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ นานา

"เป็นไปได้มากว่าเราจำเป็นต้องควบคุมการแพร่ระบาดอีกครั้งผ่านมาตรการป้องกันการสัมผัสใกล้ชิด ไม่ใช่แค่อาจจะ แต่แน่นอนว่าเราต้องทำ" เขากล่าว "เราอยู่ในสถานการณ์ที่แย่ เรามีอีก 15 ล้านคนที่มีสิทธิ์ฉีดวัคซีนและควรฉีดวัคซีน"

ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการพบว่าราว 67% จากประชากรทั้งหมด 83 ล้านคนของเยอรมนี ฉีดวัคซีนครบแล้ว และจนถึงตอนนี้รัฐบาลยังไม่มีคำสั่งบังคับฉีดวัคซีนกับกลุ่มอาชีพไหน ๆ

เสียงเตือนอย่างน่ากลัวของนักวิทยาศาสตร์มีขึ้นในขณะที่ศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติของเยอรมนี รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่รายวันในวันพุธ (10 พ.ย.) ทุบสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาด

สถาบันโรเบิร์ต คอช รายงานว่าพบผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน 39,676 คน ทุบสถิติเดิม 37,102 คน ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ (5 พ.ค.) ที่ผ่านมา ขณะที่อัตราการติดเชื้อของเยอรมนี ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 232.1 เคสต่อประชากร 100,000 คน ในช่วง 7 วันหลังสุด

อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่รัฐบาลยังคงเน้นย้ำว่าพวกเขาไม่มีเจตนากำหนดมาตรการล็อกดาวน์ และหันไปวิงวอนขอประชาชนให้เข้าฉีดวัคซีนแทน

ปัจจุบันเยอรมนีมีรัฐบาลรักษาการตามหลังศึกเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกันยายน และ 3 พรรคการเมืองของเยอรมนี ที่อยู่ระหว่างเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม เห็นพ้องว่าจะไม่ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไป

เยอรมนี ขยายสถานการณ์ฉุกเฉิน คุมเข้มโควิด หลังยอดผู้ป่วยพุ่ง หวั่น!! สธ.รับมือไม่อยู่

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเยอรมนีเริ่มเลวร้ายลงต่อเนื่อง ทำให้หลายรัฐออกมากระตุ้นพรรคการเมือง ที่กำลังเจรจาจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ต่อเวลาสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก ขณะที่ผู้ป่วยโควิดเริ่มล้นโรงพยาบาลอีกครั้ง เตียงในห้องผู้ป่วยหนักใกล้เต็มความจุ

รัฐมนตรีสาธารณสุข 3 รัฐ จากทั้งหมด 16 รัฐของเยอรมนี คือ รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค, รัฐเฮสเซน, รัฐบรันเดินบวร์ค เรียกร้องให้พรรคการเมืองที่กำลังเปิดการเจรจาตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ขยายอำนาจรัฐในการบังคับใช้มาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น เช่น การใช้มาตรการจำกัดพื้นที่ หรือการปิดโรงเรียน ขณะอัตราการติดเชื้อในประเทศระยะ 7 วัน ทำสถิติสูงสุดต่อเนื่อง

โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีผู้ติดเชื้อต่อประชากร 100,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 277.4 ซึ่งเป็นข้อมูลจากสถาบัน โรแบร์ท ค็อค หรือ RKI หน่วยงานด้านสาธารณสุขของเยอรมนี ที่เผยแพร่ในวันเสาร์ (13 พฤศจิกายน) ที่ผ่านมา และเพิ่มสูงขึ้นกว่า 500 ในหลายภูมิภาคของประเทศ

มาร์บูร์เกอร์ บันด์ ประธานสมาคมแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี กล่าวกับสื่อเยอรมนีว่า ห้องฉุกเฉิน หรือไอซียู ที่ผู้ป่วยมากขึ้นจนไม่สามารถรับมือได้ไหว อาจต้องย้ายผู้ป่วยระหว่างภูมิภาค เพื่อไปหาเตียงว่าง ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้

ด้านรัฐบาลกลางและบรรดาผู้นำ 16 รัฐของเยอรมนี เตรียมหารือกันเกี่ยวกับการใช้มาตรการใหม่ในการควบคุมการระบาดของไวรัสในสัปดาห์หน้านี้ แต่ 3 พรรคการเมืองที่กำลังเจรจาต่อรองจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ตกลงที่จะขยายสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่ไวรัสเริ่มต้นระบาด ที่ตามแผน จะสิ้นสุดลงในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้

รัฐมนตรีสาธารณสุขของ 3 รัฐ แย้งว่า รัฐต้องเปิดทางเลือกเพื่อดำเนินการตามนโยบาย ซึ่งบังคับใช้สถานการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็น เช่น การห้ามประชาชนออกนอกเคหสถาน หรือเคอร์ฟิว, การจำกัดพื้นที่ หรือปิดโรงเรียน หากสถานการณ์เลวร้ายลง

'โปแลนด์' โวย 'ฝรั่งเศส-เยอรมนี' ใกล้ชิดรัสเซียเกินไป แถมล้มเหลวหนุนอาวุธยูเครน-ไม่คว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย

สำนักข่าว AFP รายงาน รัฐบาลวอร์ซอได้กล่าวหารัฐบาลปารีส-รัฐบาลเบอร์ลิน ว่าใกล้ชิดกับรัฐบาลมอสโกมากเกินไป

โดยรองนายกรัฐมนตรีของโปแลนด์ กล่าวหาถึงท่าทีของฝรั่งเศสและเยอรมนีว่า มีความใกล้ชิดรัสเซียมากเกินไปในการให้สัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ขณะที่เขาประณามพฤติกรรมของรัฐบาลเบอร์ลินที่มีต่อรัฐบาลมอสโกก่อนการรุกรานยูเครนด้วย

"เยอรมนีก็เหมือนกับฝรั่งเศส ที่มีอคติอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนมอสโก” ยาโรสลอว์ คาซินสกี้ ซึ่งเป็นผู้นำพรรคกฎหมายและความยุติธรรม (PiS) บอกกับหนังสือพิมพ์รายวันของเยอรมัน Die Welt ในการให้สัมภาษณ์ โดยเขาบนเข็มต่อว่าไปทางรัฐบาลเบอร์ลินหนักกว่ารัฐบาลปารีสค่อนข้างมากอีกด้วยว่า...

“ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ดูเหมือนรัฐบาลเยอรมันจะไม่ต้องการเห็นสิ่งที่รัสเซียกำลังทำสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน แต่เราเห็นผลลัพธ์ที่จริงแล้วในวันนี้” คาซินสกี้ กล่าว

“โปแลนด์ไม่พอใจกับบทบาทของเยอรมนีในยุโรป” เขากล่าวเสริม พร้อมตำหนิเบอร์ลิน ที่พยายามเดินตามรอยสิ่งที่อดีตนายกรัฐมนตรีออตโต ฟอน บิสมาร์ก เคยทำมาในศตวรรษที่ 19 นั่นคือ "พลังอำนาจของเยอรมันที่มีรัสเซียคอยเคียงข้าง"

(ทั้งนี้ ในยุคของบิสมาร์กเยอรมนีได้กลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปและของโลกและสามารถถ่วงดุลอำนาจในยุโรป ด้วยการไม่ทำตัวเป็นศัตรูกับรัสเซีย เพื่อให้เยอรมนีสามารถต่อกรกับภัยคุกคามจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรได้) 
 

บ.เยอรมนี เซ็นซื้อก๊าซ บ.รัสเซียต่ออีก 10 ปี ด้านมะกะโรนีจ่อตามรอยเบียร์ติด ๆ

สหรัฐฯ กุมขมับ หลังส่อแววอดขายก๊าซแพง เมื่อ Uniper ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของเยอรมนีประกาศเลิกเล่นละครลิง เดินหน้าสู่วิถีคนจริง ยอมรับกันตรง ๆ ว่าจะนำเข้าก๊าซจากรัสเซียต่อไปอีกอย่างน้อย 10 ปีแม้สหภาพยุโรปจะมีมติหรือหรือการรณรงค์ให้คว่ำบาตรพลังงานรัสเซียก็ตาม

World Maker เผย ล่าสุดเยอรมนีเซ็นสัญญาค้าก๊าซกับรัสต่ออีก 10 ปี โดยไม่ฟังคำสั่งสหรัฐฯ ที่เริ่มเสื่อมอำนาจ และยังกล่าวอีกว่า จนถึงตอนนี้บริษัท Gazprom ของรัสเซียก็ยังถือเป็น Supplier ที่ไว้ใจได้เสมอ ทำให้เยอรมนีไม่อาจตัดขาดก๊าซจากรัสเซียได้

Klaus-Dieter Maubach ซีอีโอ ของ Uniper ซึ่งถือเป็น 1 ในผู้ซื้อก๊าซรัสเซียรายใหญ่ที่สุดของทวีป ประกาศว่าล่าสุดได้ทำสัญญากับ Gazprom PJSC ต่ออีก 10 ปี (จะหมดอายุในกลางทศวรรษที่ 2030)

อย่างไรก็ตาม Klaus ก็ยังมีฟอร์มอยู่เล็กน้อย โดยเขากล่าวว่า Uniper จะไม่ขยายสัญญาเหล่านี้ หรือเริ่มต้นสัญญาใหม่ใด ๆ ในตอนนี้

‘ผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมนี-อิตาลี’ ดอดพบเซเลนสกี้ กล่อม ‘ยูเครน’ ให้อ่อนข้อต่อ ‘รัสเชีย’ จริงหรือ?

เฟซบุ๊กเพจ ‘Pat Sangtum’ โพสต์ข้อความในหัวข้อ ‘OVERNIGHT TRAIN TO KIEV’ ระบุว่า…

เมื่อผู้นำอิตาลี เยอรมนี และฝรั่งเศส นั่งรถไฟจากโปแลนด์ขบวนข้ามคืนเข้ายูเครน เพื่อไปเยี่ยม เซเลนสกี้ ที่กรุงคีฟ

เดากันว่า ผู้นำ 3 ท่านนี้ ไปเกลี้ยกล่อมให้เซเลนสกี้ เจรจากับปูติน 

อย่าเชื่อมาก!! 

เพราะข่าวต่าง ๆ จากการประชุม อ้างถึงคำพูดโอ้อวดและป้ายความเลวให้รัสเชียทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฆ่าหมูชาวยูเครน หรือยุทธการของรัสเชียที่อ่อนแอ หรือกองทัพรัสเชียสูญเสียทหารและอาวุธจำนวนมาก

แต่บทสรุปจะออกมาเป็นเช่นไร ก็ยังไม่ทราบได้ หากอ้างถึงคำถามจาก ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส, นายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ ผู้นำเยอรมนี และนายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี ผู้นำอิตาลี ว่า “ชัยขนะของยูเครน” มีนิยามว่าอย่างไร ชัยชนะทางทหารที่เซเลนสกี้ต้องการ คือ ชนะระดับไหน

อย่างไรเสีย ชาวยุโรปในประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินเฟ้อ และความขาดแคลนทั้งน้ำมัน และสินค้าอุปโภคบริโภค เริ่มออกมาบอก EU และผู้นำยูเครนว่า รัสเชียต้องการอะไร ให้สนองตอบให้เร็วที่สุด

Trümmerfrau ‘เหล่าสตรี’ ผู้เก็บกวาดเศษซากปรักหักพังของเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒


ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อาคารบ้านเรือน ๓.๖ ล้านหลัง จาก ๑๖ ล้านหลัง ใน ๖๒ เมืองของเยอรมนีถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองจนพังราบ และอีก ๔ ล้านหลังได้รับความเสียหาย 

ครึ่งหนึ่งของอาคารบ้านเรือนทั้งหมด โครงสร้างพื้นฐานกว่าร้อยละ ๔๐ และโรงงานมากมายหลายพันแห่งได้รับความเสียหายหรือถูกทำลาย ประมาณว่า ทำให้มีเศษหินหรืออิฐประมาณ ๕๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็นปริมาตรที่มากกว่าหินที่ใช้สร้างมหาพีระมิดแห่งกิซา ๑๕๐ เท่า) และทำให้ชาวเยอรมันราว ๗.๕ ล้านคนกลายเป็นคนไร้บ้าน

นับตั้งแต่การโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ชาวเยอรมันต่างก็คุ้นเคยกับการเก็บกวาดซากเศษอันเกิดจากความเสียหายของการทิ้งระเบิด ซึ่งงานเก็บกวาดเหล่านี้ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยแรงงานบังคับและเชลยศึก แต่หลังจากสิ้นสุดสงคราม พวกเขาไม่สามารถใช้แรงงานเหล่านั้นได้อีกต่อไป ดังนั้นชาวเยอรมันจึงต้องทำงานเก็บกวาดเศษซากปรักหักพังต่าง ๆ ด้วยตนเอง
 

Trümmerfrau (The rubble woman) เป็นภาษาเยอรมันที่เรียกหญิงซึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ออกมาช่วยเก็บกวาดซากเศษ รวมถึงการสร้างเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดในเยอรมนีและออสเตรียขึ้นใหม่ เมืองหลายร้อยแห่งได้รับความเดือดร้อนจากการทิ้งระเบิด และความเสียหายจากเพลิงไหม้จากการโจมตีทางอากาศและสงครามภาคพื้นดิน และด้วยผู้ชายจำนวนมากที่เสียชีวิตหรือตกเป็นเชลยศึก ภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้จึงตกอยู่กับหญิงชาวเยอรมันจำนวนมาก

ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๙ ภายใต้การยึดครองของกองกำลังสัมพันธมิตรทั้งในเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออก ได้มีคำสั่งให้หญิงชาวเยอรมันทุกคนที่มีอายุระหว่าง ๑๕ ถึง ๕๐ ปี ต้องมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดเก็บกู้จัดการเศษซากปรักหักพังอันเกิดจากสงคราม โดยทำงานนี้เพื่อแลกกับอาหาร (ซุป) เมื่อสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวัน

และเนื่องจากการสูญเสียชายชาวเยอรมันในสงคราม ทำให้มีประชากรหญิงมากกว่าประชากรชายในเยอรมนีถึงเจ็ดล้านคน
 

ตอนแรก ๆ งานที่ออกมายังไม่เรียบร้อย ทั้งยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก โดยมีรายงานว่า เศษหินหรือเศษอิฐ มักถูกทิ้งลงไปในปล่องระบายอากาศของรถไฟใต้ดินที่อยู่ใกล้ที่สุด ซึ่งต่อมาต้องรื้อถอนออก ตามปกติบริษัทเอกชนจะได้รับมอบหมายให้ขนย้ายเศษซากปรักหักพังออกไป พร้อมกับอนุญาตให้จ้างผู้หญิงเพื่อทำงานดังกล่าว โดยงานหลักคือการรื้อถอนส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่เหลือรอดจากการทิ้งระเบิด แต่ไม่มีความปลอดภัยพอและไม่เหมาะสำหรับการซ่อมแซมปรับปรุง

ปกติแล้วการทำงานแบบนี้จะไม่ใช้เครื่องจักรกลหนัก โดยมีเครื่องมือหลักคือ ค้อน เลื่อย จอบ บุ้งกี๋ และรอกกว้านมือหมุน หลังจากรื้อซากปรักหักพังแล้ว ส่วนที่เหลือจะต้องถูกรื้อถอนเพิ่มเติมต่อไป 

'เยอรมนี' ยอมรับอยู่ไม่รอดฤดูหนาว หากไม่ได้ก๊าซจากรัสเซียเพิ่มเติม

เยอรมนีจำเป็นต้องซื้อก๊าซธรรมชาติของรัสเซียเพิ่มเติม เนื่องจากคลังสำรองก๊าซในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะเห็นประเทศแห่งนี้ผ่านพ้นช่วงฤดูหนาวไปได้ จากความเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเบอร์ลิน ที่รับผิดชอบงานด้านเครือข่ายไฟฟ้าและก๊าซ ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

เคลาส์ มุลเลอร์ ประธานสำนักงานเครือข่ายกลาง (Federal Network Agency) กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของเยอรมนี ให้สัมภาษณ์กับ Bild am Sonntag สื่อมวลชนท้องถิ่น ที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ (17 ก.ค.) เตือนว่าแม้คลังสำรองก๊าซขยับเข้าใกล้ 65% ของความจุและมันดีขึ้นกว่าช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มันยังคงไม่เพียงพอที่จะผ่านพ้นฤดูหนาวหากปราศจากก๊าซของรัสเซีย

มุลเลอร์ ระบุว่า เยอรมนีจำเป็นต้องซื้อก๊าซธรรมชาติของรัสเซียเพิ่มเติมมากน้อยแค่ไหน เวลานี้ขึ้นอยู่กับว่างานซ่อมบำรุงท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม 1 จะแล้วเสร็จตามความคาดหมายในวันพฤหัสบดี (21 ก.ค.) หรือไม่

เมื่อถามว่าในกรณีที่รัสเซียหยุดส่งมอบก๊าซโดยสิ้นเชิง มันจะใช้เวลานานแค่ไหนก่อนที่ราคาพลังงานสำหรับผู้บริโภคในเยอรมนีจะปรับขึ้น มุลเลอร์ตอบว่ายังไม่มีการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม เขาพยายามสร้างความอุ่นใจ ด้วยเน้นว่า "ราคาในสัปดาห์นี้ไม่ได้ดีดตัวขึ้นมากนัก แม้มีการปิดซ่อมบำรุงนอร์ดสตรีม 1" พร้อมบอกมันอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า "ตลาดอาจซึมซับกับภาวะสูญเสียอุปทานก๊าซรัสเซียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเรามาถึงจุดสูงสุดของราคาก๊าซแล้ว"

ประธานของหน่วยงานควบคุมกฎระเบียบด้านพลังงานแห่งนี้ เน้นย้ำว่าชาวเยอรมนี ไม่ควรตื่นตระหนก และให้คำรับประกันว่าบ้านเรือนประชาชนเป็นกลุ่มที่จะมีความกังวลน้อยที่สุด โดยจะได้รับการป้อนก๊าซนานกว่าภาคอุตสาหกรรมมากๆ

ยิ่งไปกว่านั้น "จะไม่มีเหตุการณ์ที่เราต้องอยู่โดยปราศจากก๊าซโดยสิ้นเชิง" มุลเลอร์ย้ำ โดยบอกว่าหากแม้รัสเซียตัดอุปทานอย่างเด็ดขาด ประเทศอื่นๆ อย่างเช่นนอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์และเบลเยียม จะยังคงขายเชื้อเพลิงฟอสซิลให้เยอรมนี และในอนาคต สถานีก๊าซธรรมชาติเหลวของประเทศเองจะช่วยสร้างความแตกต่าง ประธานสำนักงานเครือข่ายกลางระบุ

มุลเลอร์ กล่าวว่า ถ้าภาวะปันส่วนก๊าซเกิดขึ้น หน่วยงานของเขาจะพิจารณาว่าการหยุดจ่ายก๊าซป้อนภาคธุรกิจหรือโรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนโดยเฉพาะจะก่อความเสียหายต่อเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ เขาเชื่อว่าแม้หากเกิดปัญหาขาดแคลน แต่มันน่าจะส่งผลกระทบเฉพาะพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ในส่วนท้ายของโครงข่ายก๊าซเท่านั้น

ขณะเดียวกัน มุลเลอร์ ได้ปฏิเสธทำตามคำแนะนำที่ชี้แนะว่า เบอร์ลิน ควรห้ามส่งออกก๊าซไปยังบรรดาประเทศเพื่อนบ้านยุโรป โดยเขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของความเป็นหนึ่งเดียวกัน "ก็เหมือนกับเราในตอนนี้ที่กำลังได้ประโยชน์จากท่าเรือก๊าซธรรมชาติเหลวในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ เยอรมนีจะให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านหากพวกเขาเผชิญปัญหาขาดแคลนก๊าซรุนแรง"

อย่างไรก็ตาม มุลเลอร์ ยอมรับว่าเยอรมนีคงต้องเผชิญกับฤดูหนาวที่ยากลำบาก 2 ปีติด จากความเสี่ยงก๊าซธรรมชาติขาดแคลน แต่พอถึงช่วงฤดูร้อนปี 2024 ประเทศของเขาจะเป็นอิสระจากก๊าซของรัสเซีย "แต่สิ่งที่เป็นความจริงเช่นกัน คือ ราคาจะไม่มีทางกลับมาอยู่ในระดับต่ำเหมือนในอดีตอีกแล้ว"

เยอรมนียึดโรงกลั่นรัสเซีย อ้างจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ให้ สาเหตุเพื่อความมั่นคงทางพลังงานของชาติ | NEWS GEN TIMES EP.69

✨ เยอรมนียึดโรงกลั่นรัสเซีย อ้างจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ให้ สาเหตุเพื่อความมั่นคงทางพลังงานของชาติ

✨ ฮังการีไม่เป็นประชาธิปไตย หลังสภาสหภาพยุโรปโหวตเสียงข้างมาก รับรองมติว่าฮังการีไม่เป็นประชาธิปไตย ด้านผู้นำฮังการีชี้เป็นเรื่องตลก ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าเป็นการจัดการประเทศที่มีสัมพันธ์กับรัสเซีย

✨ สายลับจีนใน Twitter!! เมื่อทวิตเตอร์เจอฝ่ายการเมืองในสหรัฐ
ใช้ข้ออ้างเรื่องความมั่นคงเข้ามาควบคุม

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ทริปเยือนปักกิ่งสุดแปลกของ 'โอลัฟ ช็อลทซ์' เมื่อเยอรมนีเล่นบทแยกหมู่ เพื่อหวังความอยู่รอด

เมื่อวันศุกร์ (3 พฤศจิกายน 2022) โอลัฟ ช็อลทซ์ ผู้นำของเยอรมนี ได้เดินทางเยือนกรุงปักกิ่งอย่างเป็นทางการในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เกิดยุค Covid-19 เป็นต้นมา ทำให้เยอรมนีกลายเป็นประเทศแรกในกลุ่ม G7 ที่ส่งผู้นำมาเยือนปักกิ่ง และยังเป็นผู้นำชาติมหาอำนาจตะวันตกคนแรกจริงๆ ที่มาหาลุงสี จิ้นผิง ถึงบ้าน ในยุค 'สี เทอม 3'

ดังนั้นอย่าแปลกใจเลยว่า ทำไมทริปของ โอลัฟ ช็อลทซ์ ถึงถูกวิจารณ์หนักทั้งจากในบ้าน และ พันธมิตรนอกบ้าน ว่าผู้นำเยอรมนี ประเทศเสาหลัก EU อยู่ดี ๆ มารับบท 'นายย้อนแย้ง' ที่ปากก็บอกว่าจะพยายามให้เศรษฐกิจเยอรมนีพึ่งพาจีนน้อยลง เพราะเข็ดแล้วกับการที่เยอรมนีไปพึ่งพาน้ำมันราคาถูกจากรัสเซียมาหลายสิบปี พอเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ก็เดือดร้อนด้านพลังงานกันไปหมด 

แต่กลับกลายเป็นว่า ผู้นำเยอรมนี พาคณะนักธุรกิจชั้นนำของประเทศ ทั้ง Volkswagen/ Deutsche Bank/ Siemens ฯลฯ บินลัดฟ้าไปหาลุงสี่ถึงปักกิ่ง ด้วยเหตุผลว่าเป็นการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างกัน

แถมก่อนหน้านี้ รัฐบาลเยอรมนีเพิ่งอนุมัติให้ COSCO  บริษัทชิปปิ้งของรัฐบาลจีนสามารถถือหุ้นในท่าเรือฮัมเบิร์ก ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนีได้ถึง 24.9% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่รัฐบาลเยอรมนีให้สุดเพดานได้เท่านี้ เพราะจีนเคยเสนอขอซื้อหุ้นท่าเรือเยอรมนีถึง 35% และเพิ่งจะปิดดีลซื้อหุ้นท่าเรือกันแค่สัปดาห์เดียวก่อนที่ผู้นำเยอรมนีจะมาเยือนจีน จนชาวเยอรมนีชักจะงงแล้วว่า ตกลงว่าเราจะพึ่งจีนน้อยลงแน่นะ โอลัฟ????

ความประหลาดของโอลัฟ ทริป ยังไม่หมดแค่นี้!!

การไปเยือนจีนของผู้นำเยอรมนีไม่ได้เป็นความลับ พันธมิตรผู้ใกล้ชิดอย่างฝรั่งเศสก็รู้ว่าทริปนี้จะต้องเกิดขึ้นสักวันแน่ ๆ แต่ เอมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศสเคยติงว่า ถ้าโอลัฟ จะไป ยูว์อย่าไปคนเดียว ฝรั่งเศสขอไปด้วย เพื่อแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทีมพันธมิตรยุโรป อำนาจการต่อรองก็มีน้ำหนักขึ้น 

แต่สุดท้าย โอลัฟ ช็อลทซ์ ก็เลือกฉายเดียวมาจีนคนเดียว ทิ้งให้เอมานูเอล มาครง เหวออยู่ในทำเนียบที่ปาแลเดอเลลีเช่ 

แล้วก็เป็นการมาเยือนอย่างเป็นทางการที่สุดแสนจะแปลก อุตสาห์บินกันมาจากเบอร์ลินทั้งที แต่กลับจัดให้เป็นการมาเยือนแค่ One Day Trip 

โดยก่อนขึ้นเครื่องบิน คณะเดินทางต้องตรวจ PCR-Test กันถึง 2 รอบ พอลงเครื่องที่ปักกิ่ง ต้องตรวจ Covid ที่จีนอีก 1 รอบ ยกเว้นผู้นำเยอรมนี ที่ขอใช้ชุดตรวจของเยอรมนีเท่านั้น โดยมีเจ้าหน้าที่จีนสังเกตการณ์ 

แล้วผู้นำเยอรมัน และตัวแทนนักธุรกิจก็มาพบปะ พูดคุยกันที่ทำเนียบจีน ปิดดีลเสร็จภายในวันเดียวแล้วบินกลับเลย ซึ่งสื่อเยอรมนีลงความเห็นว่า เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะต้องค้างคืนข้ามวันในโรงแรมที่พักของจีน 

และแน่นอนว่าก่อนขึ้นเครื่องกลับ ต้องถูกจับตรวจ Covid กันอีกรอบ และถ้าเกิดมีใครสักคนในคณะมีผลเป็นบวกขึ้นมาหละก็ ทุกคนในคณะต้องร่วมกันเซ็นรับรองที่จะยอมรับความเสี่ยงว่าต้องพาผู้ที่มีผลตรวจไม่ผ่านขึ้นเครื่องบินกลับมาพร้อมกันทั้งหมด เพื่อไม่ทิ้งให้ผู้ร่วมคณะต้องถูกกักตัวไว้ที่เมืองจีนสักคน 

แล้วก็ไม่ได้บินตรงจากปักกิ่ง กลับเบอร์ลินเลยนะ  ต้องมาเปลี่ยนเครื่องใหม่กันที่เกาหลีใต้ก่อนค่อยบินกลับอีกต่างหาก 

เรียกว่าไม่ไว้ใจกันขนาด.. แต่ก็ยังต้องยอมไปคุยเพื่อความอยู่รอด แล้วก็ไม่สนใจว่าทางรัฐบาลจีนจะรู้สึกอย่างไร ที่เห็นว่าผู้นำเยอรมันทำเหมือนอยากจะมาหานะ แต่ไม่อยากอยู่ คุยนานไม่ได้ ยังไม่ทันเปิดโต๊ะจีนเลี้ยงก็สั่งลาซะแล้ว เพราะระแวงโรค ระแวงสปาย ระแวงไปหมด😑

ทำให้ทริปไปจีนของ โอลัฟ ช็อลทซ์ ดูประดัก ประเดิด ไม่รู้จะไปสุดที่ตรงไหน จะไปเพื่อข้อตกลงทางการค้า เวลาพบหน้ากันก็น้อยเกินไป จะไปสานสัมพันธ์ทางการทูต ยิ่งดูพังไปกันใหญ่ เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ไว้ใจกัน ลุงสี คงนึกด่าอยู่ในใจว่าถ้าจะมาล่กๆ แบบนี้ วิดิโอคอล คุยกันก็ได้มั้ง 5G ของจีนก็ไวอยู่ ประชุมทีละพันคนยังไหว

ด้านพันธมิตรยุโรปก็เริ่มสงสัยว่า เยอรมันจะหาทางตัดช่องน้อย แยกวงเอาตัวรอดไปคนเดียวแล้วกระมัง ส่วนการเมืองภายในบ้านไม่ต้องพูดถึง โดนทั้งพรรคร่วม และฝ่ายค้านโจมตีหนักมากว่า โอลัฟ ช็อลทซ์ เดินทางไปเป็นตรายางรับรองรัฐบาลสี่ จิ้นผิง 3 ให้ถึงที่ ทั้งๆ ที่จีนมีประเด็นด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการปราบปรามกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่ฮ่องกง ซึ่งขัดกับหลักการ และจุดยืนของทางเยอรมันเขา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top