ข่าวดี!! เมื่อรัฐ Hessen พร้อมให้การสนับสนุนและบรรจุภาษาไทยเข้าสู่หลักสูตร

ไม่นานมานี้ ทางเพจ ‘พ่อบ้านเยอรมัน’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า...

เป็นผลดีอย่างมากสำหรับผู้ปกครองที่อยู่ในรัฐ Hessen โดยจากที่พ่อบ้านได้พูดคุยโดยตรงกับทาง กลุ่มครูและแม่คนไทยในรัฐ Hessen โดยคุณครูเบญ พบว่า…

“ภาษาไทยจะกลายเป็นอีกหนึ่งภาษาที่เด็กๆ จะได้เรียนและบรรจุในหลักสูตรของรัฐ ในส่วนของหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาแม่หรือภาษาถิ่นกำเนิด (Herkunftssprache)”

โดยโครงการนี้ได้ถูกผลักดันจนได้รับการยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมัน น้องๆ ที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้ จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และน้องๆ นักเรียนในหลักสูตรภาษาไทยนี้ จะถูกนำไปบันทึกในสมุดพก และตัดเกรดตามหลักสูตรปกติเลยทีเดียว

สำหรับนักเรียนที่มีสิทธิสมัครนั้น จะเป็นนักเรียนที่อยู่ในระดับ Klasse 1-10 ในรัฐ Hessen ซึ่งทางเพจพ่อบ้านเยอรมันมองว่า หลักสูตรนี้จะช่วยให้…

>> น้องๆ ได้พัฒนาความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม

>> น้องๆ จะสามารถเข้าใจในภาษา, วัฒนธรรม, แนวความคิดของระหว่างสองประเทศมากยิ่งขึ้น และแน่นอนว่าจะสามารถใช้ภาษาพูดคุยกับครอบครัวของพ่อหรือแม่ที่เมืองไทยได้อีกด้วย

>> เป็นการเพิ่มโอกาสในอนาคตของน้องๆ เพราะประเทศไทยกับเยอรมนีนั้น มีความสัมพันธ์ทางด้านการค้า, ด้านการทำธุรกิจ หรือมีหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานระหว่างสองประเทศเป็นจำนวนมาก 

>> และแน่นอนว่าภาษาไทยนั้นได้ถูกบรรจุในหลักสูตรปกติ ดังนั้นน้องๆ ก็มีโอกาสที่จะได้รับคะแนนที่ดีและมีเกรดเฉลี่ยที่สูงขึ้นด้วยน้า

โดยเมื่อนักเรียนครบจำนวนตามที่กำหนดแล้ว จะเริ่มทำการเปิดสอนและจะแจ้งสถานที่เรียนอีกครั้งครับ (โดยเค้าจะดูก่อนว่านักเรียนที่สมัครนั้นอยู่บริเวณไหนมากที่สุดแล้วจะเลือกสถานที่ๆ สะดวกที่สุดแก่ทุกคน)

สำหรับผู้ปกครองที่สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลและลงทะเบียนได้ที่...
ครูเบญ หมายเลขโทรศัพท์ 0178-4376317 หรือ Email: [email protected]

ดีใจนะครับที่ภาษาไทยเราก็เป็นอีกหนึ่งภาษาที่ได้รับความสนใจ และมีคนอีกหลายคนช่วยกันผลักดัน ดีใจกับผู้ปกครองรัฐ Hessen ด้วยนะครับ"

“นี่ถือว่าเป็นรัฐที่ 2 ที่ให้การยอมรับภาษาไทยแล้วน้า โดยรัฐแรกนั้นคือรัฐ NRW”

รายละเอียดของรัฐ NRW >> https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1711837595635240&id=191168457702169

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://schulaemter.hessen.de/schulbesuch/herkunftssprache-mehrsprachigkeit/herkunftssprachlicher-unterricht


ที่มา: https://www.facebook.com/100050470960651/posts/416874433338252/