Saturday, 27 April 2024
อังกฤษ

กฎใหม่ ‘อังกฤษ’ รับรองผู้ฉีดวัคซีนจากประเทศใหญ่ พร้อมข้ามกักตัว 10 วัน ทั่วโลกบ่น 'ไร้เหตุผล'

กฎการเดินทางใหม่ของอังกฤษที่รับรองเฉพาะการฉีดวัคซีนจากสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เกาหลีใต้ และอียู สร้างความไม่พอใจไปทั่วโลก โดยกฎการเดินทางในยุค Covid-19 ฉบับใหม่ของอังกฤษ เลือกที่จะปฏิเสธการรับรองวัคซีนที่ฉีดจากประเทศแถบละตินอเมริกา, แอฟริกา, เอเชียใต้ และอีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งสร้างความไม่พอใจเป็นวงกว้าง โดยหลายคนมองว่าเป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติและไร้เหตุผล

ภายใต้กฎการเดินทางใหม่ที่ทางการอังกฤษประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer-BioNTech, Moderna หรือ Johnson&Johnson ในประเทศสหรัฐฯ, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เกาหลีใต้ หรือประเทศในสหภาพยุโรป (EU) เท่านั้นที่จะถือว่า ‘ได้รับวัคซีนครบแล้ว’ และได้รับการยกเว้นไม่ต้องกักตัวเป็นเวลา 10 เมื่อเดินทางเข้าอังกฤษจากประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีเหลือง

ขณะที่ผู้ได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้วจากประเทศในแถบแอฟริกา, ละตินอเมริกา, เอเชียใต้ หรือประเทศอื่นๆ รวมทั้งอินเดีย จะถือว่า ‘ได้รับวัคซีนยังไม่ครบ’ และต้องกักตัว 10 วันเมื่อเดินทางจากประเทศในกลุ่มสีเหลืองมาถึงอังกฤษ

นอกจากนี้ ในยุโรปยังเกิดความไม่พอใจที่อังกฤษไม่ยอมรับว่าผู้ที่เคยป่วย Covid-19 และได้รับวัคซีนแล้ว 1 โดส เป็นผู้ที่ ‘ได้รับวัคซีนครบแล้ว’ และยังต้องกักตัว 10 วัน ขณะที่หลายประเทศในสหภาพยุโรปถือว่าคนกลุ่มนี้ได้รับวัคซีนครบแล้วและสามารถเดินทางท่องเที่ยวในสหภาพยุโรปโดยไม่มีข้อจำกัดเพียงแค่ต้องแสดงใบรับรองการฉีดวัคซีน

ทั้งนี้ ทางการอังกฤษกำหนดให้ผู้ที่หายป่วยจาก Covid-19 และมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติแล้ว ยังต้องฉีดวัคซีนที่ต้องใช้ 2 โดส อาทิ Pfizer-BioNTech หรือ Moderna ให้ครบทั้งสองโดสก่อนด้วย 

คนไทยฉีด AZ, ไฟเซอร์, โมเดอร์น่า, J&J เข้าประเทศอังกฤษได้แล้ว 11 ต.ค.นี้

เฟซบุ๊กเพจ ‘Amthaipaper (หนังสือพิมพ์ไทยในอังกฤษ)’ ได้เปิดเผยข่าวดีของคนไทยที่จะไปยังประเทศอังกฤษ ว่า... 

ขอแสดงความยินดีกับ #Thailand แดนสยาม ที่กำลังจะได้ออกจากบัญชีแดงของอังกฤษ ในวันที่ 11 ตุลาคมนี้
โดยอังกฤษจะยอมรับการฉีดวัคซีน AZ, ไฟเซอร์, โมเดอร์น่า, จอห์นสัน & จอห์นสัน (J&J) จากประเทศไทย 

หมายความว่า อังกฤษจะยอมรับการฉีดวัคซีนจากประเทศไทย พร้อมกับให้ ประเทศไทย ออกจาก List แดงตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคมนี้ โดยผู้เดินทางมาจากประเทศไทย ที่ฉีดวัคซีนครบสองเข็ม จะสามารถเข้าสหราชอาณาจักรได้ แบบไม่ต้องกักตัว 

#ขอแสดงความยินดี
#วีซ่านักท่องเที่ยว
#ก็มาได้แล้ว

*** ทั้งนี้ วัคซีนที่ยอมรับมีเพียง AZ, ไฟเซอร์, โมเดอร์น่า, จอห์นสัน & จอห์นสัน (J&J) ครบสองเข็มเท่านั้น (ฉีดสลับกันได้ภายในวัคซีนที่ระบุนี้) ต้องฉีดครบ 2 เข็มตาม List ก่อน 14 วันที่จะเดินทาง

>> หากฉีดวัคซีนอื่น หรือฉีดเพียง 1 เข็ม จาก List ที่อังกฤษยอมรับ จะถือว่ายังไม่ได้ฉีด!!

และผู้ที่ฉีดไม่ครบ ต้องทำตามกฎสีอำพันเดิม คือ กักตัวที่บ้าน 10 วัน (Day2 & Day8 COVID Tests) หรือ กักตัวแบบเร่งรัดที่บ้าน 5 วัน (Test to release)

>> ก่อนเดินทางต้อง:
▶️ตรวจโควิดก่อนขึ้นเครื่องบิน 72 ชม.
▶️กรอกใบ Passenger locator
???????? https://www.gov.uk/provide-journey-contact-details-before-travel-uk
▶️จองที่ตรวจโควิดตามรายชื่อบริษัทที่รัฐบาลอังกฤษกำหนด
????????https://www.gov.uk/find-travel-test-provider
รายละเอียดเพิ่มเติม ตามที่แอมไทยเคยโพสต์ข้อปฏิบัติก่อนเดินทางมายังสหราชอาณาจักร จากลิสต์สีอำพัน????ตามลิงก์ ????????
https://www.facebook.com/178210772217942/posts/4391072974265013/?d=n

หมายเหตุ เมื่อเดินทางมาถึงประเทศอังกฤษ ผู้ที่ฉีดสองเข็มครบ ตามลิสต์วัคซีนที่อังกฤษยอมรับ จะไม่ต้องกักตัวตามกฎบัญชีเขียว???? (Green List) (อังกฤษยกเลิกบัญชีสีอำพัน Amber list)

‘ฟิลิปปินส์ - อังกฤษ’ ย้ำจุดยืน!! ‘ไม่แบนบุหรี่ไฟฟ้า’ เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้าแนะไทย ดูเป็นแบบอย่าง

เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า เผยความเคลื่อนไหวจากการประชุมยาสูบโลก ชี้รัฐบาลฟิลิปปินส์ลุกขึ้นแถลงจุดยืนกลางที่ประชุมฯ ว่าจะเน้นนโยบายควบคุมยาสูบแบบสมดุล ทั้งทางด้านกฎระเบียบและการเก็บภาษี และจะไม่แบนบุหรีไฟฟ้า เพื่อป้องกันผลเชิงลบ ขณะที่อังกฤษระบุอัตราผู้สูบบุหรี่ลดต่ำสุด เป็นผลมาจากมาตรการที่ครอบคลุมรวมถึงการสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า แนะประเทศไทยเดินตามรอยสองประเทศ เพื่อประโยชน์ประเทศและผู้สูบบุหรี่

นายอาสา ศาลิคุปต เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มลาขาดควันยาสูบ และเพจ "บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร" เผยความเคลื่อนไหวจากการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ขององค์การอนามัยโลก ครั้งที่ 9 หรือ FCTC COP 9 ระบุว่า “กระทรวงต่างประเทศของฟิลิปปินส์เป็นตัวแทนของประเทศลุกขึ้นเรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกพิจารณาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทดแทนการสูบบุหรี่ เพื่อทำให้มาตรการควบคุมการสูบบุหรี่กลับมามีประสิทธิภาพอีกครั้ง ฟิลิปปินส์ยอมรับว่าการเก็บภาษีบุหรี่ทำให้รัฐบาลมีรายได้จำนวนมาก เพื่อใช้บริหารประเทศและทำกิจกรรมรณรงค์เลิกบุหรี่ แต่ฟิลิปปินส์รู้ว่าการเก็บภาษีอย่างสุดโต่งไม่ทำให้การเลิกบุหรี่สำเร็จได้ จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมยาสูบแบบสมดุลทั้งทางด้านกฎระเบียบและการเก็บภาษี และย้ำอย่างชัดเจนว่าจะไม่มีการแบนบุหรี่ไฟฟ้าแน่นอน”

นายเทอโดโร ลอคสิน จูเนียร์ รมว.ต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมระหว่างการเปิดประชุม FCTC COP 9 ว่าการแบนบุหรี่ไฟฟ้ายิ่งทำให้เกิดตลาดใต้ดินและการลักลอบนำเข้าในประเทศมากขึ้น ซึ่งฟิลิปปินส์เสนอว่าการแก้ปัญหาบุหรี่และตลาดใต้ดินบุหรี่ไฟฟ้าจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และการปรึกษาหารืออย่างครอบคลุมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

ขณะที่ตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุขประเทศอังกฤษกล่าวว่า อัตราการสูบบุหรี่ในประเทศอังกฤษลดลงอย่างต่อเนื่องมาตลอด 20 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบอย่างครอบคลุม ซึ่งรวมถึงการขึ้นภาษีบุหรี่ การห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ และการสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่ได้รับการควบคุม

นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายลาขาดควันยาสูบ อีกรายกล่าวเสริมว่า “ฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญกับงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งสรุปตรงกันว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ จึงเพิ่งผ่านร่างกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเป็นกรอบควบคุมยาสูบรูปแบบใหม่ที่จะช่วยให้ดอันตรายให้กับผู้สูบบุหรี่ได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันการขายผลิตภัณฑ์ให้กับเด็กอายุต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนอังกฤษก็เป็นประเทศต้นแบบที่สนับสนุนเรื่องการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อการเลิกบุหรี่ สองประเทศนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการพิจารณาอย่างรอบคอบและรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย มาตรการที่ออกมาจึงมีการศึกษาข้อดีและผลกระทบอย่างรอบคอบแล้ว”

 

อังกฤษประกาศใช้ 'แผนบี' รับมือโอมิครอน หลังพบระบาดเร็วมาก ติดเชื้อเพิ่มเท่าตัวทุก 2-3 วัน

บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ออกข้อกำหนดเมื่อวันพุธ (8 ธ.ค.) ให้ประชาชนทำงานจากที่บ้าน สวมหน้ากากในที่สาธารณะและใช้บัตรผ่านวัคซีนเพื่อชะลอการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตัวกลายพันธุ์โอมิครอน หลังพบข้อมูลการแพร่เชื้อรวดเร็วมาก ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเท่าตัวในทุก 2 ถึง 3 วัน และตัวเลขที่แท้จริงอาจเฉียด ๆ 10,000 คนแล้ว

จอห์นสันระบุว่า โอมิครอนกำลังระบาดอย่างรวดเร็วและเขาไม่มีทางเลือกยกเว้นแต่เคลื่อนเข้าสู่ "แผนบี" พร้อมกับเริ่มดำเนินโครงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ทั้งนี้ แม้ยังคงห่างไกลจากมาตรการล็อกดาวน์เต็มรูปแบบที่เคยกำหนดในช่วงต้น ๆ ของโรคระบาดใหญ่ แต่มาตรการใหม่นี้ถูกโวยวายว่าเป็นค้อนทุบธุรกิจร้านอาหาร คาเฟ่และห้างร้านทั้งหลาย ที่คาดหวังว่าการค้าขายในช่วงคริสต์มาสจะช่วยกอบกู้สถานะทางการเงินของพวกเขา

ส.ส. หลายคนในพรรคการเมืองของจอห์นสันเองก็แสดงความไม่พอใจต่อข้อจำกัดรอบใหม่เช่นกัน ด้วยหวั่นเกรงต่อผลกระทบของมาตรการดังกล่าว หลังจากเศรษฐกิจของประเทศหดตัวถึง 10% เมื่อปีที่แล้ว รุนแรงสุดเป็นประวัติการณ์

"ขณะที่ภาพรวมอาจดีขึ้น ซึ่งผมก็หวังด้วยความจริงใจว่ามันจะเป็นเช่นนั้น แต่เรารู้ว่าการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อแบบก้าวกระโดด อาจทำให้จำนวนผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และน่าเศร้า ด้วยเหตุนั้น จำนวนผู้เสียชีวิตก็อาจเพิ่มขึ้นเช่นกัน" จอห์นสันกล่าวระหว่างแถลงข่าว

นายกรัฐมนตรีจอห์นสัน ซึ่งยกเลิกข้อจำกัดโควิด-19 เกือบทั้งหมดในอังกฤษในเดือนกรกฎาคม ตามหลังโครงการฉีดวัคซีนที่มีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว เคยประกาศเดินทางเข้าสู่ฤดูหนาวโดยปราศจากทางเลือกของการล็อกดาวน์รอบที่ 4 แต่สำรองไว้ซึ่งมาตรการที่เรียกว่า "แผนบี"

บางส่วนของมาตรการเหล่านั้น เช่น การกลับมาบังคับสวมหน้ากากบนระบบขนส่งสาธารณะและตามห้างร้านต่าง ๆ ได้ถูกบังคับใช้ไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่ในวันพุธ (8 ธ.ค.) จอห์นสันระบุเพิ่มเติมว่า เวลานี้ประชาชนควรทำงานจากที่บ้าน

มาตรการสวมหน้ากากจะถูกบังคับใช้ในสถานที่สาธารณะ อย่างเช่น โรงภาพยนตร์และโรงละคร และจะมีการบังคับแสดงบัตรผ่านโควิด-19 สำหรับเข้าไปในไนต์คลับและสถานที่ต่าง ๆ ที่มีผู้คนจำนวนมาก

จอห์นสันกล่าวว่า มาตรการนี้มีความจำเป็น หลังพบเคสผู้ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์โอมิครอนแล้ว 568 รายในประเทศ ซึ่งข้อมูลบ่งชี้ว่ามันใช้เวลา 2 ถึง 3 วันในการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้นเท่าตัว

'จีน - อาร์เจนตินา' ท้าชนอังกฤษที่หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ยุทธศาสตร์ 'หนามยอก-หนามบ่ง' จากพญามังกร 

ความสัมพันธ์ระหว่างจีน และ อังกฤษ ยังคงเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อสำนักข่าว CCTV ของจีนได้รายงานข่าวการเซ็นข้อตกลงร่วมกันครั้งสำคัญในช่วงการพบปะกันระหว่าง 'สี จิ้นผิง' ผู้นำจีน และ 'อัลเบอโต เฟอร์นานเดซ' ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา ที่เดินทางไปร่วมพิธีเปิดงานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่นครปักกิ่ง 

โดยทางอาร์เจนตินาจะเข้าร่วมขบวนเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจกต์ Belt and Road Initiatives (BRI) ของจีน แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อเส้นทางเศรษฐกิจจากจีนออกไปทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งจีน และ อาร์เจนตินา แน่นแฟ้นยิ่งกว่าเดิม

นอกจากนี้ ทางรัฐบาลจีนยังทำข้อตกลงกับทางอาร์เจนตินาในการสนับสนุนการอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทระหว่าง อาร์เจนตินา และอังกฤษมานานถึง 40 ปี ที่ในปัจจุบันทางอังกฤษได้ครอบครองอยู่ โดยทางจีนยังต้องการให้รัฐบาลอาร์เจนตินาออกมาประกาศอธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบในเขตหมู่เกาะฟอล์กแลนด์อีกด้วย

ส่วนรัฐบาลอาร์เจนตินา ก็จะสนับสนุนนโยบาย “จีนเดียว” อย่างเต็มที่ รวมถึงการยอมรับไต้หวันว่าเป็นส่วนหนึ่งของจีนเท่านั้น 

'อังกฤษ'​ อึ้ง!! หลังชวนอินเดียร่วมลดพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย แต่ถูกสวน!! 'ยุโรปซื้อน้ำมันรัสเซียมากกว่าอินเดียอีก'​

เมื่อ 31 มี.ค. 65 สื่ออินเดียได้รายงานข่าวการไปเยือนลอนดอนอย่างเป็นทางการของ เอส. ไจแชนการ์ รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย เพื่อประชุมหารือกับ ลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศของฝั่งอังกฤษ ซึ่งประเด็นที่เป็นไฮไลต์ของการพูดคุยครั้งนี้ หนีไม่พ้นเรื่องมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของประเทศยุโรป จากกรณีการรุกรานยูเครน

โดยรัฐมนตรีต่างประเทศหญิงของอังกฤษได้เน้นย้ำถึงเป้าหมายของอังกฤษที่จะลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำของรัสเซีย และยังเป็นข้อตกลงร่วมกันในกลุ่มประเทศยุโรปเพื่อแสดงออกว่าจะยืนเคียงข้างชาวยูเครน

ลิซ ทรัสส์ กล่าวกับ ไจแชนการ์ว่า ถึงแม้ว่าอังกฤษไม่อาจบังคับให้ประเทศอื่นทำตามเป้าหมายของเรา และอินเดียก็เป็นประเทศเอกราช แต่ทางอังกฤษก็รู้ว่ารัสเซียได้เสนอขายน้ำมันให้รัฐบาลอินเดียในราคาพิเศษ จึงได้ตั้งคำถามว่า ทำไมอินเดียถึงยังสนใจรับข้อเสนอของรัสเซีย ประเทศที่ใช้กำลังทหารรุกรานประเทศอื่นอยู่อีก

แต่ทว่าสิ่งที่นาย เอส. ไจแชนการ์ ตอบกลับรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษกลับมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเขามองว่า การรวมกลุ่มกันคว่ำบาตรรัสเซียดูเป็นเหมือนแคมเปญของทางฝั่งยุโรปมากกว่า และหากเทียบปริมาณการพึ่งพาน้ำมันของทางฝั่งยุโรปกับอินเดียนั้นก็มีความแตกต่างกันอย่างมาก 

เพราะที่ผ่านมา แหล่งน้ำมันที่อินเดียนำเข้ามาเกือบทั้งหมด มาจากประเทศทางตะวันออกกลาง มีประมาณ 7.5-8% นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา แล้วจึงตามด้วยรัสเซีย ซึ่งบางครั้งน้อยกว่า 1% เสียอีก 

แต่ในทางกลับกัน ประเทศทางฝั่งยุโรปต่างหากที่พึ่งพาพลังงานน้ำมันจากรัสเซียเป็นส่วนใหญ่ มิหนำซ้ำ ประเทศในยุโรปยังนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียเพิ่มขึ้นอีกถึง 15% ในเดือนมีนาคมปีนี้ ซึ่งมากกว่าตอนก่อนเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนเสียอีก

โลกระทึก!! ศักราชใหม่แห่งยุคสงครามเย็นระดับเร็วเหนือเสียง เมื่อ 'สหรัฐฯ-อังกฤษ-ออสซี่' จับมือพัฒนาขีปนาวุธ Hypersonic

สมาชิกพันธมิตร 3 อ. หรือ AUKUS อันประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา-อังกฤษ-ออสเตรเลีย ได้ร่วมแถลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565 ว่าจะจับมือกันพัฒนาขีปนาวุธ Hypersonic เพื่อติดตั้งในกองทัพเรือดำน้ำราชนาวีของออสเตรเลียภายในอีก 6 เดือนข้างหน้านี้

โดยผู้นำทั้ง 3 ประเทศได้อ้างว่าที่จำเป็นต้องเดินหน้ายกระดับแสนยานุภาพทางทหารของตนในย่านแปซิฟิก เนื่องจากกรณีรัสเซียบุกยูเครน ซึ่งได้เปิดตัวใช้ขีปนาวุธ Hypersonic โจมตียูเครนไปแล้วก่อนหน้านี้ ได้เปลี่ยนโฉมหน้าการใช้เทคโนโลยีด้านการทหารไปสู่อีกขั้นหนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนี้ พันธมิตร AUKUS ที่เป็นกลุ่มระดับมหาอำนาจของโลกคงยอมไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมี Hypersonic กับเขาบ้าง เพื่อมาถ่วงดุลกัน

ข้ออ้างในการพัฒนาขีปนาวุธ Hypersonic ของสหรัฐฯ และ อังกฤษ นั้นพอเข้าใจได้ หากยกกรณีข้อพิพาทระหว่างรัสเซีย กับชาติพันธมิตรในตะวันตก

ว่าแต่...ออสเตรเลีย ประเทศในย่าน Down Under มาเกี่ยวอะไรกับเขาด้วย??

แม้ในแถลงการณ์ร่วมของพันธมิตร 3 อ. ไม่ได้กล่าวออกมาตรงๆ แต่ทุกคนก็น่าจะรู้ว่าการที่ออสเตรเลียจำเป็นต้องติดขีปนาวุธ Hypersonic ไว้ลาดตระเวนแถวน่านน้ำแปซิฟิก ที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแถวทะเลบอลติกแม้แต่น้อยนั้น ก็เพื่อข่มแสนยานุภาพ

ของกองทัพจีนในน่านน้ำทะเลจีนใต้!!

เนื่องจากทางจีนเอง ก็เริ่มมีการทดสอบขีปนาวุธ Hypersonic ของตัวเองไปแล้วตั้งแต่ช่วงกลางปี 2021 ที่อ้างว่ามีความเร็วสูงถึง 5 มัค และตอนนี้ประกาศว่าได้พัฒนารุ่นที่ 2 เรียบร้อยแล้ว ซ้ำยังคุยข่มด้วยว่าใช้เทคโนโลยีล้ำหน้ากว่าใครใน 7 ย่านน้ำ แม้แต่กองทัพสหรัฐฯ อาจต้องใช้เวลาถึงปี 2025 ถึงจะตามได้ทัน

ทั้งนี้ฟากฝ่ายความมั่นคงสหรัฐฯ ได้เผยว่า จีนกำลังเพิ่มปริมาณหัวรบนิวเคลียร์ของตัวเองให้ได้ถึง 1,000 ลูกในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีบวกกับเทคโนโลยี Hypersonic เข้าไปด้วย ซึ่งจะทำให้จีนเป็นประเทศมหาอำนาจด้านการทหารเบอร์ 1 ในย่านเอเชีย แม้ปริมาณหัวรบนิวเคลียร์จะน้อยกว่าที่สหรัฐฯ มีถึง 3 เท่า แต่ก็ถือเป็นภัยคุกคามที่สหรัฐฯ จะยอมปล่อยให้ขยายอิทธิพลมากไปกว่านี้ไม่ได้

แต่ใช่ว่าสหรัฐฯ จะไม่รู้ว่า จีน หรือ แม้แต่รัสเซีย ว่ามีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีขีปนาวุธระดับไหน ดังจะเห็นได้ว่าทันทีที่มีข่าวรัสเซียยิงขีปนาวุธ Hypersonic รุ่น Kinzhal Missile ใส่คลังแสงของกองทัพยูเครนปุ๊บ ทางรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐก็ออกมาให้สัมภาษณ์ออกสื่อทันทีว่า ทางสหรัฐฯ ก็มีการทดสอบขีปนาวุธ Hypersonic ไปเมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาแล้ว ที่มีความเร็วมากกว่า 5 มัค

แถมยังเกทับอีกว่า ขีปนาวุธรัสเซียนั้น 'กระจอก' เป็นแค่จรวดพิสัยใกล้ ไหนเลยจะเทียบรุ่นกับของเราได้ สเปกแน่น จัดเต็ม ความแม่นยำสูง แค่เราทดสอบเงียบๆ แบบไม่อยากบอกใครเท่านั้นเอง

และอันที่จริงแล้ว ฟากออสเตรเลีย หนึ่งในสมาชิก 5 Eyes ก็มีโครงการพัฒนาเทคโนโลยี Hypersonic ร่วมกับสหรัฐอเมริกามาตั้งนานแล้ว ก่อนจะจับมือตั้งเป็นพันธมิตร AUKUS ร่วมกันเสียอีก โดยใช้ชื่อโครงการว่า SCIFIRE (the Southern Cross Integrated Flight Research Experiment) มีเป้าหมายในการพัฒนาเครื่องยนต์ หัวยิง และขีปนาวุธ Hypersonic ให้ได้ความเร็วตั้งแต่ 5-8 มัค

ซึ่งเรื่องนี้น่าจะมีความเป็นไปได้อย่างมาก ถึงขนาดที่ออสเตรเลียยอมหักหน้า ทิ้งสัญญาเรือดำน้ำของฝรั่งเศสจนเป็นเหตุให้เคืองใจกันอย่างแรงระหว่าง เอมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส กับ สก็อต มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียอยู่พักใหญ่

ดังนั้นแผนการยกระดับการครอบครองขีปนาวุธ Hypersonic จึงน่าจะอยู่ในแผนระหว่างสหรัฐฯ กับ ออสเตรเลีย อยู่ก่อนแล้ว แม้จะไม่มีกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ก็ตาม เพียงแต่ช่วงนี้ประเด็นรัสเซียกำลังร้อนๆ ออสเตรเลียก็เลยโบ้ยตามน้ำว่าเพราะรัสเซียเป็นเหตุ สังเกตได้ เท่านั้นเลยจริงๆ

ความหน้าด้านของตะวันตก เมื่อ 'ผู้นำอังกฤษ' กดดัน 'อินเดีย' ต้านรัสเซีย แต่เมื่อถูกทวงคำขอโทษสังหารหมู่ 'จลิยานวาลาบาค' กลับเพิกเฉย

'ครูแพท-พัฒนพงศ์ แสงธรรม' อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ (ภาควิชาภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ความหน้าด้านของตะวันตก ท้้งเยอรมนี, อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่มนุษยชาติจะได้จดจำไปตลอดกาล เป็นการยืนยันความเห็นแก่ตัวและกักขฬะที่ไม่ได้ต่างจากสัตว์ที่ชัดเจนที่สุดในประวัติศาสตร์

อินเดียซึ่งนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียและเป็นผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก งดออกเสียงในการลงคะแนนเสียงของสหประชาชาติที่ประณามรัสเซียสำหรับการบุกรุกยูเครน และไม่ได้ร่วมมือกับชาติตะวันตกในการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ซึ่งแม้ว่าอินเดียจะใกล้ชิดกับตะวันตกมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังต้องพึ่งพาอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากจากรัสเซีย ท่ามกลางความตึงเครียดกับจีนและปากีสถาน

บอริส จอห์ฺนสัน ไปเยือนอินเดีย เพื่อพูดคุยเรื่องการให้อินเดียงดซื้อพลังงานจากรัสเซีย และคว่ำบาตรรัสเซีย หลังจากที่สหรัฐฯ ได้พยายามมาแล้ว และยังกดดันอินเดียตลอดมา

อินเดียจึงทวงคำขอโทษจากอังกฤษสำหรับเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่จลิยานวาลาบาคเมื่อกว่า 100 ปีก่อนอีกครั้ง เพราะตลอดมาอังกฤษเพิกเฉย

ส.ส. ฝ่ายรบ.อังกฤษ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังสารภาพแอบดู 'หนังโป๊' ในสภาฯ

นีล แพริช สมาชิกรัฐสภาสหราชอาณาจักร จากพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ของนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน เปิดเผยในวันเสาร์ (30 เม.ย.) จะลาออกจากตำแหน่ง หลังยอมรับว่าแอบดูหนังโป๊ในสภาสาสมัญชน (สภาผู้แทนราษฏร) ถึง 2 รอบ

แพริช ให้สัมภาษณ์กับบีบีซี ว่า ครั้งแรกที่เขาดูหนังโป๊นั้นเป็นอุบัติเหตุ พลาดเข้าไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ระหว่างพยายามค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวกับรถแทรกเตอร์ทางออนไลน์ แต่ด้วยที่มีคำคล้ายกัน เขาจึงถูกนำไปยังเว็บไซต์ดังกล่าว ส่วนครั้งที่ 2 เป็นการจงใจและเป็นช่วงเวลาบ้าๆ บอๆ ส.ส.วัย 65 ปีกล่าว

ปัจจุบัน รัฐบาลของจอห์นสัน กำลังถูกห้อมล้อมด้วยเรื่องอื้อฉาวต่างๆ ไม่กี่วันก่อนถึงศึกเลือกตั้งท้องถิ่นอันสำคัญ ตัวนายกรัฐมนตรีเพิ่งถูกตำรวจปรับเงินฐานละเมิดกฎระเบียบป้องกันโควิด-19 ของตนเองระหว่างการล็อกดาวน์ปี 2020 และเผชิญการสืบสวนกรณีโกหกรัฐสภาเกี่ยวกับงานปาร์ตีต่างๆ ที่จัดขึ้นในทำเนียบนายกรัฐมนตรี

พิษสงคราม ทำชีวิตคนอังกฤษสะเทือน อดอยาก-ไร้บ้าน-นอนร้านฟาสต์ฟู้ด

ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อและราคาพลังงานที่พุ่งกระฉูด ชาวอังกฤษส่วนหนึ่งต้องอดมื้อกินมื้อ-พักพิงในร้านอาหาร

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าขณะนี้ชาวอังกฤษกำลังประสบปัญหาปากท้องท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ และราคาพลังงานที่พุ่งกระฉูด โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของอังกฤษเผยว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนเม.ย. ซึ่งระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ 9%

ท่ามกลางราคาพลังงานที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ตลอดจนราคาอาหารและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ชาวอังกฤษจำนวนไม่น้อยต้องใช้ชีวิตอย่างลำบาก

แอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) กล่าวว่าปัญหาอาหารราคาสูงและขาดแคลนอันเป็นผลมาจากสงครามในยูเครน เป็นความกังวลใหญ่สำหรับชาวอังกฤษ และหลายพื้นที่ทั่วโลก

พักพิงในร้านอาหาร
The Guardian รายงานว่าครอบครัวที่ประสบปัญหาในการรับมือกับค่าไฟกำลังใช้ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแมคโดนัลด์เป็นที่พักพิงชั่วคราว โดยใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในร้านเป็นครัวฉุกเฉิน ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top