Tuesday, 7 May 2024
อังกฤษ

'เดวิด เบ็คแฮม' รอคิวนานถึง 12 ชั่วโมง เพื่อเข้าเคารพพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2

สกายสปอร์ต สื่อชั้นนำของประเทศอังกฤษ เปิดเผยคลิปวิดีโอที่ เดวิด เบ็คแฮม ตำนานนักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ และแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เดินทางไปเข้าคิวพร้อมกับผู้คนนับพันเพื่อรอเข้าเฝ้าพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 เป็นเวลานานถึง 12 ชั่วโมงเต็ม

ทั้งนี้ เดวิด เบ็คแฮม ให้สัมภาษณ์เปิดใจผ่านสกายสปอร์ต ว่า “วันนี้เป็นเรื่องที่ทำใจได้ยาก มันยากสำหรับประเทศของเรา และเป็นเรื่องที่ยากสำหรับทุกคนทั่วโลก ผมคิดว่าทุกคนรู้สึกได้ ความคิดของครอบครัวเรามันชัดเจนเช่นเดียวกับทุกคนที่นี่”

“เพราะเป็นสิ่งที่พิเศษที่ได้มาอยู่ตรงนี้เพื่อทำความเคารพ และได้รับฟังเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้คนต่างต้องพูดถึง ช่วงเวลาที่พิเศษที่สุดสำหรับผมคือการได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ ชั้นโอบีอี วันนั้นผมพาปู่ย่าไปกับผมด้วย พวกเขาเป็นคนที่เลี้ยงดูผมให้กลายเป็นผู้ที่นิยมในลัทธิราชาธิปไตย และหลงรักในราชวงศ์ รวมถึงภรรยาของผมด้วย”

รัฐประหารเงียบในพรรครัฐบาลอังกฤษ เมื่อ 'ลิซ ทรัสส์' กำลังจะโดนยึดอำนาจ

ดูเหมือนว่า รัฐบาลอังกฤษจะยังอยู่ในสภาพง่อนแง่น หาหลักยึดยังไม่ได้จริง ๆ เมื่อมีกระแสข่าวลือที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ภายในพรรคอนุรักษ์ แกนหลักของรัฐบาลอังกฤษว่า ลูกพรรคอนุรักษ์เริ่มจับกลุ่มกดดัน ลิซ ทรัสส์ หัวหน้าพรรคหญิงคนใหม่ และเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในแผ่นดินพระเจ้าชาลส์ที่ 3 จนถึงขั้นวางแผนยึดอำนาจของเธอ หากจำเป็น!!

สาเหตุเกิดจากความไม่ลงรอยกันในนโยบายของลิซ ทรัสส์ ที่เธอเคยสัญญาไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งภายในพรรค หนึ่งในนั้นคือนโยบาย "45p rate" หรือการลดอัตราภาษี 45% ในกลุ่มผู้มีรายได้สูง ซึ่งนโยบายนี้ของเธอกลับถูกต่อต้านจากทีมรัฐบาลของเธอเองจนเสียงแตก ที่อาจขั้นจะโหวตคว่ำในสภาเลยทีเดียว 

ข่าวการแตกแยกของรัฐบาลลิซ ทรัสส์ ที่ยังไม่ทันได้เริ่มทำงานอะไรเลย ยิ่งชัดเจนขึ้นอีก หลังงานประชุมพรรคอนุรักษ์ที่เมืองเบอร์มิงแฮม เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่ข่าววงในบอกว่าเสียงแตกหนักมาก จน ซูเอลลา เบรฟเวอแมน รัฐมนตรีมหาดไทยหญิง พันธมิตรคนสนิทของลิซ ทรัสส์ ถึงกับออกมาบ่นว่า เธอผิดหวังมาก ๆ ที่ทีมรัฐบาลบางคนมากลับลำกับนโยบายที่คุยกันไว้แล้ว และยังบอกด้วยว่า มีกลุ่ม สส.ของพรรคอนุรักษ์หลายคน วางแผนจะโค่น ลิซ ทรัสส์ ให้ได้

และยังบอกถึงลูกพรรคอนุรักษ์ ที่คิดจะก่อหวอดเพื่อล้มนโยบาย 45p rate นั้นไม่ต่างจากการก่อรัฐประหารเงียบภายในรัฐบาล ซึ่งนโยบายเจ้าปัญหาที่อาจกลายเป็นประเด็นรัฐนาวาแตก คือ 45p Rate หรืองดภาษี 45% สำหรับบุคคล หรือองค์กรที่มีรายได้เกิน 150,000 ปอนด์ต่อปี 

โดยปกติ อังกฤษจะมีอัตราภาษีระดับขั้นบันได โดยคำนวนจากรายได้ต่อปี ในอัตราเรทดังนี้...

- รายได้ต่ำกว่า 12,570 ปอนด์/ปี ไม่ต้องเสียภาษี
- รายได้ตั้งแต่ 12,571 - 50,270 ปอนด์ต่อปี จะเริ่มเก็บภาษีที่ 20%
- รายได้ตั้งแต่ 50,271 - 15,000 ปอนด์ต่อปี เก็บภาษีที่ 40%

แต่ถ้ามีรายได้เกิน 150,000 ปอนด์ต่อปี เมื่อไหร่ จะถูกเก็บภาษีในอัตรา 45% ซึ่งเป็นเรทสูงสุด

สื่ออังกฤษได้ไปหาข้อมูลพบว่ามีชาวอังกฤษราวๆ 5 แสนคนทั่วประเทศที่มีรายได้เกิน 150,000 ปอนด์ต่อปี คิดเป็น 1% ของประชากรอังกฤษทั้งประเทศ

และหากรัฐบาลอังกฤษตัดสินใจไม่เก็บภาษีเพิ่ม 45% จากรายได้ที่เกินมาของคนกลุ่มนี้ เท่ากับรัฐจะเสียรายได้จากภาษีถึง 6 พันล้านปอนด์ต่อปี และเมื่อรายได้หายไป หมายถึงต้องการลดรายจ่ายของภาครัฐลงด้วย ซึ่งก็คือแผนค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการสังคมบางส่วนอาจต้องถูกตัดไป 

แต่ทั้งนี้ ลิซ ทรัสส์ มองว่า นโยบายการลดภาษี 45p Rate จะช่วยกระตุ้นการลงทุนของกลุ่มคนที่มีศักยภาพในสังคม ที่สามารถผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ และการแก้ปัญหาด้วยการแจก จ่าย ในรูปแบบสวัสดิการก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไป ซ้ำยังเป็นเหมือนกับดักประชานิยม ที่ทำให้ผู้คนคาดหวังแต่สวัสดิการช่วยเหลือจากรัฐ

ซึ่งลิซ ทรัสส์ เคยบอกว่านโยบายนี้ อาจเป็นเหมือนยาขม และเป็นหนทางที่ยาก แต่อังกฤษต้องลองหาทางแก้ปัญหาที่ต่างไปจากเดิม ถ้าต้องการที่จะ "change" เธอเชื่อว่าสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจได้อย่างแน่นอน 

แต่ต่อมา นโยบายนี้ของเธอ ถูกโจมตีอย่างหนักจากพรรคฝ่ายค้าน ว่าเป็นการอุ้มคนรวยเพียงแค่ 1% ของประเทศ แต่กลับรีดเลือดกับปูจากประชาชนส่วนใหญ่อีก 99% ที่ยังต้องจ่ายภาษีในอัตราเกือบเท่าเดิม โดยเฉพาะกลุ่มคนเกือบจะรวย ในระดับฐานรายได้ 50,271 - 150,000 ปอนด์ คือโดนเต็มๆ 40% โดยไม่มีการลดหย่อน

ยุโรปสะท้าน เมื่อหนาวเยือนยาม 'แก๊ส-ไฟฟ้า' สะดุด ส่งผลราคา 'ฟืน' สูงลิ่วและมีค่าเหมือนทองคำ

ท่ามกลางสงครามที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ แต่ความซวยหล่นใส่กบาลชาวโลกทั่วหน้า น้ำมันแพง ก๊าซแพง สินค้าอาหารแพง ทั้งที่เพิ่งรอดตายจากโควิดกันมาแท้ ๆ ล่าสุดชาวอังกฤษแห่ตุนฟืน เพื่อให้ผ่านหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง

บรรดายามเฝ้าโกดังต่างยืนยามขันแข็ง เพราะตอนนี้ชาวอังกฤษแอบบุกโกดังเข้าไปขโมยฟืน ซึ่งในวันนี้ราคาสูงลิ่วและมีค่าเหมือนทองคำ อย่าว่าแต่อังกฤษเลย ทั่วยุโรปนั่นแหละที่กังวลว่าอาจเกิดไฟดับเป็นวงกว้างและยาวนาน เพราะวิกฤติด้านพลังงาน ทั้งนี้สืบเนื่องจากท่อลำเลียงก๊าซนอร์ดสตรีมรั่ว เชื่อกันว่าน่าจะเป็นการลอบก่อวินาศกรรม นี่คือสัญญาณว่าทั้งยุโรปหนาวแน่ และหนาวนานไปจนถึงปีหน้า

บรรดาผู้นำสหภาพยุโรปสุมหัวกัน แต่ยังตกลงไม่ได้ เรื่องการกำหนดเพดานราคาก๊าซรัสเซีย ไม่ว่าจะหันทางไหนก็เหมือนหยิกเล็บเจ็บเนื้อ บีบไข่เขาเราเจ็บเอง 

กว่า 70% ของการทำความร้อนในยุโรป มาจากแหล่งพลังงานก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าของรัสเซีย ถ้าไม่มีก๊าซจากรัสเซีย ต้องหาแหล่งทดแทนอื่นมาใช้แทนเพื่อไม่ให้หนาวตายทั้งยุโรป นาทีนี้ฟืนจึงกลายเป็นสิ่งที่ล้ำค่า 

ที่ผ่านมา มีประชาชนใช้ฟืนสำหรับทำความร้อนอยู่ก่อนแล้วราว ๆ 40 ล้านคน

เติมสัมพันธ์ 2 ชาติ 'กรณ์' หารือรัฐมนตรีการค้าคนใหม่อังกฤษ ถกยุทธศาสตร์อุตฯ อาหาร-มอบเสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนากล้า ระบุว่า ได้รับเชิญรับประทานอาหารเช้ากับ นายมาร์คัส ฟิช (Marcus Fysh MP) รัฐมนตรีการค้าของอังกฤษ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีป้ายแดงในรัฐบาลใหม่ของนายกรัฐมนตรีนางลิซ ทรัสส์  (Liz Truss)  

นายกรณ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐมนตรีการค้าอังกฤษ เลือกเดินทางมาไทยเป็นประเทศแรก โดยทางอังกฤษหาช่องทางการค้าขายเพิ่มเติมตามยุทธศาสตร์การลดการพึ่งพาสหภาพยุโรป เราได้คุยกันถึงโอกาสด้านการลงทุนในไทยโดยอุตสาหกรรมอาหารของอังกฤษเพื่อแปรรูปสินค้าเกษตรของไทย และการขยายความสัมพันธ์เพิ่มเติมระหว่างสองราชอาณาจักร

“ท่านรัฐมนตรีมีความรู้เกี่ยวกับประเทศเราดีมาก ท่านเคยทำงานสายการลงทุนในภูมิภาคนี้ในตำแหน่งงานเดียวกันกับผมที่ SG Warburg (ท่านเข้ามาในแผนกที่ผมได้ร่วมก่อตั้งไว้ก่อนที่ผมจะกลับมาไทยเพื่อเปิดบริษัทหลักทรัพย์ของตัวเองเมื่อ 30 ปีที่แล้ว) แถมท่านยังเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมัธยมเดียวกับผมที่อังกฤษ และเรียนต่อมหาวิทยาลัยเดียวกันด้วย เราเลยมีเรื่องคุยกันเยอะจนเจ้าหน้าที่สถานทูตต้องมายุติการสนทนาเพื่อไม่ให้ท่านพลาดนัดหมายต่อไป” นายกรณ์ กล่าว 

รัฐมนตรีคลังอังกฤษ ถูกปลดหลังทำงานได้ 38 วัน เหตุออกนโยบายเศรษฐกิจที่ประชาชนไม่ยอมรับ

เมื่อวานมีประเด็นร้อนในสหราชอาณาจักร เมื่อรัฐมนตรีคลังอังกฤษ ถูกปลดออก หลังจากทำงานได้ เพียง 38 วันเท่านั้น!!

ส่วนชนวนเหตุสำคัญ คือ การออกนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่เป็นที่ยอมรับ

อย่างไรงั้นหรือครับ?

ปัญหา คือ นโยบายนี้เป็นนโยบายที่นายกรัฐมนตรีมีส่วนร่วม 100% ในการคิดและนำเสนอ 

ดังนั้นการปลดรัฐมนตรีคลัง อาจไม่พอ!! ในการปกป้องตำแหน่งตนเอง เพราะตลาดเงินไม่ได้ไม่พอใจตัวบุคคล แต่ไม่พอใจนโยบาย และถึงแม้นายกฯ อังกฤษ จะได้เพิ่งประกาศกลับลำนโยบายบางส่วน ก็อาจจะไม่ช่วยให้เธออยู่ต่อได้ 

นโยบายศก.ล้มเหลว ชนวนเหตุนายกฯ อังกฤษลาออก บทเรียนราคาแพง ที่ไทยต้อง 'เรียนรู้-เฝ้าระวัง'

3 วันก่อน ผมได้แสดงความเห็นว่านายกรัฐมนตรีอังกฤษท่าจะอยู่ยาก เพราะหนีความรับผิดชอบความผิดพลาดในนโยบายเศรษฐกิจที่ประกาศออกไปไม่ได้ 

วันนี้นายกฯ อังกฤษได้ประกาศลาออกแล้ว! ไม่สามารถทนต่อกระแสความไม่พอใจทั้งในพรรค และในสังคมได้ หลังจากที่อยู่ในตำแหน่งเพียง 45 วัน 

มองในมุมหนึ่งคือ ความเละเทะต่อเนื่องในการเมือง และเศรษฐกิจอังกฤษ นับแต่การลงคะแนน Brexit เมื่อ 6 ปีก่อน

แต่มองอีกมุมหนึ่ง อังกฤษยังมีวัฒนธรรมการเมืองที่ยืดหยุ่น และพร้อมปรับตัวต่อกระแสความรู้สึกของประชาชน

ประเทศไทยเรา ก็เคยมีการตัดสินใจลักษณะนี้เช่นกัน ตอน นายกฯ ชวลิต ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นกรณีเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ถือได้ว่าการเสียสละโดยผู้มีอำนาจ คือการให้โอกาสบ้านเมือง

มีคนขอให้อธิบายสั้น ๆ ว่า...นโยบายอะไรที่ Liz Truss ประกาศออกมาที่ทำให้ต้องลาออกหลังเป็นนายกฯ เพียง 45 วัน?

5 ความท้าทาย พิสูจน์กึ๋นนายกฯ หนุ่ม 'ริชี ซูนัค' ภายใต้รัฐบาลใหม่ ความหวังใหม่ที่ประชาชนรอชม

"I will place economic stability and confidence at the heart of this government's agenda.
“เสถียรภาพและความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจคือหัวใจของนโยบายของรัฐบาลชุดนี้”

นี่เป็นส่วนหนึ่งของคำปราศัยยาวหกนาทีของนายกรัฐมนตรีคนใหม่หมาด ๆ ของอังกฤษอย่าง นายริชี ซูนัค หน้าบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวท์นิ่ง ซึ่งจะเป็นที่พักของเขาหลังจากนี้

นายริชีแถลงต่อสื่อมวลชนหลังจากที่เข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในตอนเช้าของวันอังคารที่ 25 กันยายนที่มีรับสั่งให้เขาจัดตั้งรัฐบาล นายริชีรู้ดีว่าการล่มสลายภายใน 45 วันของรัฐบาลของนางลิซ ทรัสส์มาจากอะไร เขาจึงบอกกับคนอังกฤษว่า รัฐบาลของเขาจะมีความซื่อสัตย์, เป็นมืออาชีพและรับผิดชอบในทุกระดับ และชาวอังกฤษจะได้รับความเชื่อมั่นนี้

พร้อมกันนี้นายริชียังให้คำมั่นสัญญาต่อไปว่า การบริการทางสาธารณะสุขจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น, โรงเรียนจะดีกว่าเดิม, ถนนหนทางจะปลอดภัย, การควบคุมชายแดนของประเทศจะรัดกุมยิ่งขึ้น, คุ้มครองรักษาสิ่งแวดล้อม, ให้การสนับสนุนกองทัพ,ยกระดับและเสริมสร้างเศรษฐกิจที่จะก่อให้เกิดโอกาสของการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป อันจะนำไปสู่การลงทุนทางธุรกิจ, การคิดค้นสิ่งใหม่และการสร้างงาน

สิ่งที่นายริชีกล่าวมา ตามภาษาอังกฤษที่ว่า it’s too good to be true มันดูจะดีเกินจริงไปหน่อยมั้ย ซึ่งเขาก็ดูจะรู้ดี จึงย้ำว่า...

"ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่อหน้าท่านขณะนี้และพร้อมที่จะนำประเทศของเราไปสู่อนาคต จะทำให้ความต้องการของท่าน (ให้ความสำคัญของประชาชน) อยู่เหนือการเมือง, และสร้างรัฐบาลที่แสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพพรรคการเมืองดังเช่นพรรคของข้าพเจ้า"

"So I stand here before you, ready to lead our country into the future, to put your needs above politics, to reach out and build a government that represents the very best traditions of my party.”

นี่ถือเป็นคำมั่นสัญญาของนายกรัฐมนตรีหนุ่มวัย 42 ปีเชื้อสายอินเดียต่อประเทศที่เขาบอกว่ามีบุญคุณที่ต้องตอบแทน

ว่าแต่รัฐบาลของนายริชีจะมีหน้าตาอย่างไร?

บีบีซีภาษาอังกฤษได้รวบรวมมาให้ดู ซึ่งก็ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นายเจเรมี่ ฮันท์ยังคงเป็นรมต.คลังต่อไป, นายโดมินิค ลัปป์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และ รมต.ยุติธรรม, นางซูเอลล่า บลาเวอแมน กลับมาเป็นรมต. มหาดไทย หลังจากประกาศลาออกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเธอยอมรับผิดว่าใช้อีเมล์ส่วนตัวส่งเอกสารราชการให้คนรู้จัก ข่าวบอกว่าเธออาจเป็นเป้าของพรรคฝ่ายค้านที่จะโจมตีรัฐบาล, รมต.ต่างประเทศ และ รมต.กลาโหมคนเดิมไม่เปลี่ยน เช่นเดียวกับนางเพนนี มอร์ด้อนน์ ผู้ที่ลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกับนายริชชี่ แต่ต้องถอนตัวออกเพราะคะแนนเสียงไม่พอ เธอยังคงได้ตำแหน่งประธานสภาสามัญเช่นเดิม 

แต่มีตำแหน่งหนึ่งที่คนค่อนข้างแปลกใจคือ นายไมเคิล โกรฟ  Michael Gove กลับมาเป็นรมต. ที่เรียกว่า The Levelling Up Secretary โดยตำแหน่งนี้ พรรคคอนเซอร์เวทีฟตั้งขึ้นมาไม่นานนักและนายโกรฟ เคยเป็นมาก่อนและถูกนายบอริส จอนห์สันไล่ออกเพราะความขัดแย้งที่นายโกรฟขอให้นายบอริสลาออกหลังจากความผิดพลาดหลายอย่าง ซึ่งหน้าที่ของ รมต.นี้ คือ ทำหน้าที่ที่จะลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนในประเทศ

เหล่านี้ ก็เป็นไปตามกฎที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้ 22 คน

อย่างไรเสีย พรรคเลเบอร์ก็วิจารณ์คณะรัฐมนตรีชุดใหม่นี้ว่าส่วนใหญ่ก็หน้าเดิมๆ ที่หน้าเดิมนี้อาจตีความหมายได้ว่า นายริชีต้องการประนีประนอมภายในพรรคให้เกิดความสามัคคี แต่รมต.ที่จะทำให้รัฐบาลอยู่รอดปลอดภัยก็คือ นายเจเนมี่ ฮันต์ ผู้ที่จะต้องเสนอแผนงบประมาณชุดเล็ก Mini-budget ต่อสภาในวันที่ 31 ต.ค. นี้

ชาวอินเดียผงาด! ขึ้นเป็นผู้นำชาติมหาอำนาจ และผู้บริหารบริษัทระดับโลก | NEWS GEN TIMES EP.73

ชาวอินเดียผงาด! ขึ้นเป็นผู้นำชาติมหาอำนาจ และผู้บริหารบริษัทระดับโลก

.

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

.

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง .

.

#THESTATESTIMES

#NEWSGENTIMES

#นายกอังกฤษ

#อังกฤษ

#อินเดีย

 

ส่อง ‘เงินเดือน’ ของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ พร้อมสิทธิพิเศษการเข้าถึงงบอื่นๆ หลังปลดระวาง

ขณะที่ข่าวนายกรัฐมนตรีอังกฤษกำลังเป็นประเด็นที่ทั่วโลกจับจ้องมองดู อาจมีใครที่ใคร่รู้ว่านายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้นมีหน้าที่การงานอะไรบ้างและได้เงินเดือนมากน้อยเพียงใด

เริ่มต้นก่อนคือ ก่อนที่จะเข้ารับหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีเต็มตัวเขาจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าแผ่นดินเสียก่อน ปัจจุบันคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3

เมื่อเข้ารับหน้าที่แล้ว ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ เขาจะต้องรับผิดชอบต่อนโยบายของรัฐบาลทั้งหมด รวมถึงการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในการบริหารประเทศด้วย

โดยนายกรัฐมนตรี สามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้ 22 คน ซึ่งในระบบของอังกฤษ รัฐมนตรีที่มีอาวุโสที่สุดจะเรียกว่า Cabinet Ministers, หรือ รัฐมนตรี ที่มีหน้าที่บริหารกระทรวงสำคัญที่ได้รับมอบหมาย เช่น กระทรวง 'การคลัง' หรือ 'มหาดไทย' ซึ่งตำแหน่งรัฐมนตรีนี้ นายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์ที่จะแต่งตั้งหรือปลดออกได้ หรือสามารถยุบกระทรวงและตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นได้ (อังกฤษจะมีการเปลี่ยนแปลงกระทรวงให้เหมาะสมกับความต้องการในการบริหารงานในด้านต่างๆ ของประเทศ)

นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะทำงานคู่ขนานกับรัฐมนตรีคลังในเรื่องภาษีและนโยบายงบประมาณของรัฐบาล รัฐบาลอังกฤษจะมีการแถลงนโยบายงบประมาณสองครั้งในรอบหนึ่งปี คือในฤดูใบไม้ร่วง (ตุลาคม) และฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม) และทั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีสามารถที่จะออกกฎหมายมาบังคับใช้ในประเทศได้โดยได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทน

ไม่เพียงแต่นายกฯ จะควบคุมดูแลคณะรัฐมนตรีของตนแล้ว เขายังมีอำนาจและหน้าที่สั่งการข้าราชการในกระทรวงหรือหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลอีกด้วย

นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องการป้องกันและความมั่นคงของประเทศ เช่น ตัดสินใจที่จะส่งกำลังทหารเข้าปฏิบัติการ แต่ประเด็นนี้เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการหารือกันว่าควรจะให้สภาเห็นด้วยไม่ใช่เพียงนายกฯ คนเดียวตัดสิน และมีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นไปได้

หน้าที่รับผิดชอบอื่นๆ ที่ยังตกอยู่บนบ่าของนายกรัฐมนตรีคือ ต้องตัดสินใจว่า จะยิงเครื่องบินที่ถูกจี้หรือเครื่องบินที่ไม่สามารถที่จะรู้ว่าเป็นของใครได้ และที่พูดถึงกันบ่อยๆ คือ สามารถสั่งการยิงอาวุธนิวเคลียได้อีกด้วย

และที่อังกฤษยังถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอยู่จนถึงปัจจุบันคือ นายกรัฐมนตรีจะต้องเข้าเฝ้าถวายรายงานต่อพระเจ้าแผ่นดินทุกสัปดาห์ในเรื่องการบริหาราชการงานเมืองของรัฐบาล หากแต่จะเป็นการพบส่วนตัวและไม่มีการจดบันทึกการหารือแต่อย่างใด

>> ทีนี้มาถึงคำถามสำคัญ คือ แล้วนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้รับเงินเดือนเท่าไหร่?

ตามอัตราที่ปรากฏในปีพ.ศ. 2565 นี้ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะได้เงินเดือนทั้งหมดปีละ 164,757 ปอนด์ โดยจะแบ่งออกเป็นสองยอด คือ ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปีละ 84,144 ปอนด์ และในฐานะผู้แทนราษฎรอีก 79,936 ปอนด์ สามารถอยู่ในบ้านพักประจำตำแหน่งฟรี คือ 10 ถนนดาวน์นิ่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษอาศัยอยู่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1735 (นายกฯ บางคนจะเปลี่ยนมาอยู่ในบ้านเลขที่ 11 ที่อยู่ติดกันแทน เพราะกว้างใหญ่กว่า)

นอกจากบ้านพักทางการในลอนดอนที่ถนนดาวน์นิ่งแล้ว นายกรัฐมนตรียังมีบ้านพักต่างอากาศของทางการในชนบทที่ชื่อ 'เชคเกอร์' Chequers ที่ตั้งอยู่ในเขต บัคกิ่งแฮมเชียร์อีกด้วย

ถ้าจะว่าไปแล้วเงินเดือนของนายกรัฐมนตรีอังกฤษเมื่อหารออกมาแล้วก็ตกเดือนละ 13,729 ปอนด์ ซึ่งดูจะน้อยกว่าผู้นำประเทศตะวันตกอื่นๆ พอสมควร เช่น ถ้าเป็นนายกฯ แคนาดาจะรับปีละ 200,000 ปอนด์ หรือนายกฯ เยอรมนี 280,000 ปอนด์ ขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขณะนี้ เงินเดือนสูงที่สุด ตกปีละ 300,000 ปอนด์ (จำนวนเงินจะปรับในแต่ละปี) ตามรายงานของ National world.com

นี่เป็นเงินเดือนขณะที่เป็นนายกรัฐมนตรี !!

ทว่า หลังจากหมดหน้าที่นายกฯ แล้ว อดีตนายกรัฐมนตรียังสามารถได้รับเงินเดือนอีกปีละ 115,000 ปอนด์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในหน้าที่การงานในตำแหน่งพิเศษ แต่จะต้องเป็นงานเพื่อสาธารณะ และเงินนี้จะใช้เป็นค่าเช่าสำนักงาน เพื่อรับเรื่องหรือจ้างพนักงานทำงาน โดยเงินก้อนนี้อดีตนายกฯ สามารถเบิกใช้จ่ายได้ตามหน้าที่การงาน แต่ไม่ใช่นำมาใช้จ่ายส่วนตัว

Programme Yarrow ปฏิบัติการลับที่ไม่ลับ หากอังกฤษต้องเผชิญวิกฤติ ไฟดับยกประเทศ

นับเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ร่ำรวยโค้ดปฏิบัติการลับจริงๆ สำหรับแดนผู้ดีอย่างอังกฤษ เจ้าแห่งพิธีรีตอง ที่แม้แต่เมื่อยามสิ้นสมาชิกประมุขแห่งรัฐ ยังต้องกำหนดโค้ดปฏิบัติการลับแยกเป็นรายกรณีไว้เลย เพื่อไม่ให้สับสนเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง 

และล่าสุด รัฐบาลอังกฤษออกโค้ดปฏิบัติการพิเศษออกมาอีกแล้ว โดยใช้ชื่อว่า สถานการณ์ ‘Programme Yarrow’ ว่าด้วยเรื่องระเบียบขั้นตอนหากประเทศต้องเจอสถานการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศนานกว่า 1 สัปดาห์ในช่วงฤดูหนาวที่จะถึงนี้ 

Programme Yarrow นี้มีการส่งต่อกันในรัฐมนตรีทุกกระทรวงของอังกฤษ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในแผนที่จะรับมือสถานการณ์ขั้นวิกฤติเสมือนยุคสงคราม หากอังกฤษต้องเผชิญปัญหาไฟฟ้าดับนาน 1 สัปดาห์ ที่จะส่งผลถึงความโกลาหลจากการขาดแคลนอาหาร ระบบคมนาคมล้มเหลว การจ่ายกระแสไฟฟ้าและพลังงานล่าช้า ในช่วงฤดูหนาวอันโหดร้ายของอังกฤษ 

นับเป็นสถานการณ์ขั้นเลวร้ายที่สุด และมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสียด้วย โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ที่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน และน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติ กลายเป็นเครื่องต่อรองทางการเมือง และเศรษฐกิจถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ชาวอังกฤษต้องเจอปัญหาค่าไฟพุ่งกระฉูดรับฤดูหน้าหนาวปีนี้ 

อันที่จริงแผนปฏิบัติการ Programme Yarrow มีการวางแผนกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (2021) ก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครนเสียอีก เป็นระเบียบขั้นตอนที่ร่างขึ้นคร่าว ๆ หากโรงไฟฟ้าอังกฤษเกิดผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ทันช่วงหน้าหนาว รัฐบาลควรมีแผนการรับมือปัญหานี้อย่างมีขั้นตอน 

แต่พอสถานการณ์ในยูเครนยืดเยื้อ ที่ยื้อกันจนถึงฤดูหนาว รัฐบาลอังกฤษจึงดึงแผน Programme Yarrow กลับมาซักซ้อมความเข้าใจกันอย่างจริงจังอีกครั้งโดยมีการส่งเป็นพิมพ์เขียวไปยังกระทรวงต่าง ๆ แต่สุดท้ายเอกสารที่ว่าลับก็ไม่สามารถเล็ดลอดผ่านสายตาผู้สื่อข่าวสายทำเนียบของอังกฤษไปได้ 

โดยสื่อแรกที่ถือเป็นเซียนแฉในวงการก็คือ The Guardian อ้างว่าเห็นเอกสารลับดังกล่าว ซึ่งจั่วหัวว่า ‘เป็นเอกสารลับ’ พร้อมแผนการเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุดังกล่าว โดยทุกกระทรวงจำเป็นต้องเตรียมความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม ที่พักฉุกเฉิน ให้แก่เด็ก คนชรา และ ผู้พิการ เป็นอันดับแรก ๆ และรูปแบบการปฏิบัติงานช่วยเหลือตามลำดับขั้น รวมถึงการทำงาน และสื่อสารกันเองระหว่างกระทรวง 

แน่นอนว่า การเตรียมพร้อมล่วงหน้าเป็นสิ่งที่ดี แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง เอ็ด มิลิแบนด์ เลขาธิการด้านสภาพอากาศกลับมองว่า เรื่องที่รัฐบาลวางแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่หากเอาความจริงมาพูดกันตรง ๆ ก็คือ อังกฤษกลายเป็นประเทศที่อ่อนแอ และเปราะบางในปัญหาด้านพลังงานมานานนับสิบปีจากนโยบายการบริหารจัดการพลังงานที่ล้มเหลว

รัฐบาลอังกฤษไม่สนับสนุนการผลิตพลังงานลมบก ตัดงบด้านการลงทุนในการพัฒนาพลังงานทางเลือก ระงับแผนพลังงานนิวเคลียร์ ลดคลังพลังงาน แต่กลับพาประเทศไปพึ่งพาพลังงานนำเข้า ถึงโดนปูตินมันบีบเช้า บีบเย็นอยู่นี่ไง 

แทนที่จะระดมกำลังรัฐมนตรีทุกกระทรวงมาหาวิธีจัดการปัญหาพลังงานทางเลือก เพื่อรับมือช่วงฤดูหนาวที่มีความต้องการสูง แต่กลับมาร่างแผนรับมือเอาตอนเกิดปัญหาพลังงานขาดแคลน มันปลายเหตุเกินไปไหม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top