Tuesday, 7 May 2024
อังกฤษ

‘แล็บอังกฤษ’ ทดลองถ่ายเลือดเทียมในคนครั้งแรก กรุยทางผลิตเลือดกรุ๊ปหายาก ลดปัญหาขาดแคลน

นักวิจัยสหราชอาณาจักรได้นำเลือดเทียมที่สังเคราะห์ในห้องทดลอง ถ่ายเข้าร่างกายมนุษย์ที่ยังมีชีวิต เพื่อทดลองทางคลินิกเป็นครั้งแรกของโลก

เลือดเทียมที่ถ่ายเข้าร่างกายมนุษย์ในการทดลองครั้งนี้ มีปริมาณเพียงน้อยนิด เทียบเท่าปริมาณ 2-3 ช้อนชาเท่านั้น โดยเป็นการทดลองเพื่อตรวจสอบว่า เลือดเทียมจะใช้งานได้เหมือนเลือดจริงในตัวมนุษย์หรือไม่

เป้าหมายสูงสุดของการสังเคราะห์เลือดเทียมในห้องทดลอง คือ การผลิตเลือดกรุ๊ปที่หายากมาก ๆ ที่แทบหาผู้บริจาคเลือดไม่ได้ โดยเฉพาะในคนไข้โรคโลหิตจาง ที่ต้องได้รับการถ่ายเลือดอยู่เป็นประจำ
คนไข้ที่มีเลือดกรุ๊ปหายากนั้น หากได้รับเลือดที่ร่างกายไม่ตอบรับ อาจทำให้การรักษาล้มเหลวได้ เลือดที่ต้องเข้ากันได้ถึงในระดับเนื้อเยื่อ ไม่ใช่เลือดกลุ่มทั่วไป เช่น เอ บี เอบี และโอ

อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยยอมรับว่า เลือดที่ใช้ในทางการแพทย์ทั่วไปนั้น ยังต้องพึ่งพาการบริจาคเลือดของประชาชนต่อไป แม้จะผลิตเลือดเทียมที่ใช้งานได้จริงสำเร็จแล้วก็ตาม

ศาสตราจารย์ แอชลีย์ โทเย จากมหาวิทยาลัยบริสตอลในสหราชอาณาจักรระบุว่า เลือดบางกลุ่ม “หายากมาก ๆ” ในสหราชอาณาจักร “อาจมีแค่ 10 คน” ที่บริจาคได้ยกตัวอย่าง เลือดกลุ่ม ‘บอมเบย์’ ที่ค้นพบครั้งแรกในอินเดีย ซึ่งปัจจุบันมีเลือดเพียง 3 ยูนิตอยู่ในคลังเลือดของสหราชอาณาจักร

>> สังเคราะห์เลือดเทียมอย่างไร
การเพาะเลือดเทียมนี้ เป็นความร่วมมือของทีมงานในเมืองบริสตอล เมืองเคมบริดจ์ กรุงลอนดอน และหน่วยเลือดและการปลูกถ่าย ของระบบประกันสุขภาพสหราชอาณาจักร (NHS) โดยมุ่งเน้นการสร้างเม็ดเลือดแดงเทียมที่สามารถนำพาออกซิเจนจากปอดไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

กระบวนการผลิตเลือดเทียม มีขั้นตอน ดังนี้

- ทีมวิจัยเริ่มจากเลือดปริมาณ 470 มิลลิลิตรที่ได้รับบริจาค
- ใช้อนุภาคแม่เล็กเพื่อดึงสเต็มเซลล์ ที่กลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ ออกมา
- เพาะสเต็มเซลล์เหล่านี้ จนเติบโตในปริมาณมากในห้องทดลอง
- กระตุ้นสเต็มเซลล์ที่เพาะไว้ ให้กลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง

กระบวนการเพาะเลือดเทียมใช้เวลาปริมาณ 3 สัปดาห์ โดยสามารถเพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ 50 ล้านเซลล์ ต่อสเต็มเซลล์ที่สกัดออกมาได้ราว 5 ล้านเซลล์

จากนั้น ทีมวิจัยจะคัดแยกเซลล์เม็ดเลือดแดงราว 15 ล้านเซลล์ ที่พัฒนาจนถึงจุดที่สามารถฉีดเข้าร่างกายมนุษย์ได้

“เราต้องการสร้างเลือดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในอนาคต ในจินตนาการของผม มองเห็นห้องที่เต็มไปด้วยเครื่องจักรที่ผลิตเลือดออกมาต่อเนื่องจากเลือดที่ได้รับบริจาค” ศ.โทเย บอกกับบีบีซี

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 จุดจบแห่งรัชสมัยที่มาก่อนเวลาอันควร เหตุไม่ประนีประนอม ‘กาลเวลา-รัฐสภา’ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ 1600-1649

ถ้าท่านมีโอกาสได้อ่านพระราชประวัติของพระเจ้าแผ่นดินของอังกฤษจะเห็นว่าหลายพระองค์มีวิถีชีวิตที่ถูกเอ่ยขานถึงด้วยเรื่องราวที่ค่อนข้างแปลกแต่จริงอย่างเช่นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 หรือพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 มักจะถูกนำมาเล่าถึงกันบ่อยๆ แต่ยังมีอีกพระองค์หนึ่งที่เส้นทางชีวิตของพระองค์ท่านก็ประหลาดและน่าฉงนอยู่มากทีเดียวและจุดจบของพระองค์ที่ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นด้วย

กษัตริย์พระองค์นั้นคือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ชีวิตของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 มีความขัดแย้งกันหลายอย่างแม้แต่ดิฉันเองเมื่อได้อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวพระราชประวัติของพระองค์ก็อดที่จะตื่นตาตื่นใจไปกับความเป็นไปของชีวิตของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 สิ้นพระชนม์มาแล้วเป็นเวลา 373 ปี แต่เรื่องราวของพระองค์ก็ยังเป็นที่กล่าวถึงจนปัจจุบัน และแม้ระยะเวลาการครองราชย์สมบัติของพระองค์จะไม่ยาวนักเพียง 24 ปี แต่ก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้รัชสมัยของพระองค์วุ่นวาย, เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐสภากับพระเจ้าแผ่นดินจนนำไปสู่สงครามกลางเมืองระหว่างผู้ที่สนับสนุนกษัตริย์กับผู้ต่อต้าน, หรือความขัดแย้งทางศาสนา, ความกระด้างกระเดื่องของสก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์และการรีดนาภาษีจากประชาชน จนท้ายที่สุดพระองค์ต้องถูกตัดพระเศียรเพราะความผิดฐานกบฏ และทำให้อังกฤษต้องว่างเว้นการมีพระเจ้าแผ่นดินไประยะหนึ่ง คงพูดได้ว่าตลอดเวลา 24 ปีที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ปกครองแผ่นดินนั้นประเทศวุ่นวายที่สุด

เพื่อให้ท่านได้เข้าใจเหตุการณ์ทั้งหลายในรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 อย่างชัดเจนและไม่สับสนเพราะมีประเด็นสำคัญเกิดขึ้นมากมายจนนำไปสู่ความขัดแย้งในประเทศ เราจะเริ่มจากพระนิสัยและบุคลิกของพระองค์กันก่อน จากข้อมูลที่บันทึกกันไว้ จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักเกิดจากตัวของพระเจ้าชาร์ลส์เสียเองมากกว่า และถัดไปจะพูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อท่านจะได้เข้าใจง่ายขึ้น

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ประสูติในปี ค.ศ. 1600 ที่สกอตแลนด์ ในขณะที่สมเด็จพระบิดาคือพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ปกครองสก็อตแลนด์อยู่ เมื่อตอนประสูติทรงเป็นเด็กที่อ่อนแอและขี้โรคมาก แม้พระชนมายุ 2 ปีแล้วก็ยังเดินหรือพูดไม่ได้ และเมื่อสามารถเดินได้ก็ต้องใช้เครื่องพยุงที่ข้อพระบาททั้งสองข้างเพราะพระชงค์หรือขาไม่มีแรงนั่นเอง เมื่อพระบิดาคือพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ของอังกฤษอีกตำแหน่งหนึ่ง พระองค์จึงต้องเสด็จมาประทับที่ลอนดอน ต้องทรงทิ้งให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ประทับอยู่ที่สก๊อตแลนด์กับพระพี่เลี้ยงก่อน เพื่อให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงพอที่จะเดินทางไกลได้ในเวลาต่อมา

พระองค์ทรงเติบโตมาด้วยพระวรกายที่เล็ก, อ้อนแอ่นและยังทรงพูดติดอ่าง แม้เมื่อเจริญพระชนม์พรรษามากขึ้นได้พยายามที่จะแก้ไขการติดอ่างนี้, นอกจากจะพูดติดอ่างท่านยังมีสำเนียงสกอตอีกด้วย, ปัญหาสำคัญอีกอันหนึ่งคือทรงขี้อายอย่างมาก จึงไม่ชอบสุงสิงกับใคร เมื่อทรงพระชันษามากขึ้นคนจะเห็นว่าทรงเย่อหยิ่งไม่พูดคุย ที่จริงเพราะทรงขี้อายมากๆ นั่นเอง

ที่จริงท่านไม่น่าที่จะมีโอกาสได้เป็นพระมหากษัตริย์เลยเพราะทรงมีพระเชษฐา คือ เจ้าชายเฮนรี่ ที่ทรงเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไปมีบุคลิกร่าเริงร่างกายแข็งแรง แต่ด่วนสิ้นพระชนม์ด้วยโรคไข้ ไทฟอยด์ไปเสียก่อนเมื่อพระชนม์พรรษาเพียง 18 ปี พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงสนิทสนมเสน่ห์หากับพระเชษฐาพระองค์นี้มากทรงเสียพระทัยอย่างยิ่งเมื่อเจ้าชายเฮนรี่สิ้นพระชนม์ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 12 ปี และต้องทรงโดดเดียวมากขึ้นอีกเมื่อพระพี่นางเอลิซาเบธทรงเสกสมรสและต้องเดินทางไปประทับที่เยอรมนี

แม้จะทรงขี้โรคและเหงาหงอย แต่ก็ทรงเติบใหญ่มาจนพระชนมายุ 25 ปี เป็นชายหนุ่มที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่พร้อมที่จะแบกรับหน้าที่พระเจ้าแผ่นดินได้พอดี เมื่อพระบิดาพระเจ้าเจมส์ที่ 4 แห่งสกอตแลนด์และเจมส์ที่ 1 ของอังกฤษ สวรรคต

เมื่อเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 หน้าที่สำคัญอันดับแรกของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ คือ ต้องตั้งครอบครัว ดังนั้นก็ต้องเสาะหาพระชายา ครั้งแรกทรงมุ่งไปที่สเปนหมายมั่นจะอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินสเปน  แต่ฝ่ายสเปนมีเงื่อนไขที่ทรงยอมรับไม่ได้ เลยเบี่ยงเข็มมาที่ฝรั่งเศส ในที่สุดทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิง เฮนเรียตต้า มาเรีย พระน้องนางของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แต่ก็มีปัญหาอยู่ตรงที่ศาสนาคือเจ้าหญิงเฮนเรียตต้า มาเรีย ทรงเป็นคาทอลิคแต่อังกฤษเป็นโปรแตสแตน

เรื่องศาสนาของพระชายานี่ทำให้สภาอังกฤษและคนอังกฤษคลางแคลงใจว่าอาจจะนำปัญหามาสู่อังกฤษแต่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงให้คำมั่นต่อสภาอังกฤษว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อจำกัดของนิกายโรมันคาทอลิคในประเทศแต่อย่างใด  และในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ที่วิหารเวสมินสเตอร์ พระชายา-พระราชินี ก็ไม่ได้เสด็จมาร่วมด้วยตามบันทึกเพราะทรงไม่ยอมรับพิธีของนิกายโปรแตสแตน

รัชสมัยของพระองค์เริ่มต้นด้วยปัญหาทางศาสนาเป็นอันดับแรกเลย และตามด้วยความไม่พอใจในความประพฤติของพระสหายสนิทคือ ดยุคแห่งบัคกิ่งแฮม ที่คนเห็นว่ามีอิทธิพลและอำนาจมากไป จนเขาถูกกำจัดไปในที่สุด และปัญหาอื่นๆ ก็ตามมา

แต่ที่สำคัญที่สุดคือความเชื่อและความดื้อรั้นของพระองค์เอง พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงมีความเชื่ออย่างแน่วแน่ในสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิอันศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ Divine Right of King และนี่ก็เป็นความเชื่อของราชวงศ์สจ๊วต ทั้งมวลที่เชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นจะเป็นผู้เลือกพระมหากษัตริย์ให้มาเป็นผู้ปกครอง และมีเพียงพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่จะล้มล้างกษัตริย์ได้ 

และพระองค์ยังเชื่อต่อไปอีกว่าเพียงพระองค์แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์จะกำหนดกฎหมายปกครองประเทศ ถ้าผู้ใดต่อต้านก็เท่ากับทำบาปที่ต่อต้านพระผู้เป็นเจ้า และความเชื่ออีกอันหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ขึ้นไปอีกคือ ทรงเชื่อว่าอำนาจเผด็จการเท่านั้นคือรูปแบบของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ หมายความว่าสภาผู้แทนอย่ามายุ่ง

สิ่งนี่แหละที่ทำให้พระองค์ต้องขัดแย้งกับรัฐสภาอย่างยาวนานและรุนแรง ความเชื่อในเรื่องนี้ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 มีปรากฏในจดหมายที่ยังหลงเหลืออยู่ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่เขียนว่า “ไม่ทรงไว้วางใจสภาที่ดื้อด้านแห่งนี้เลยและไม่สามารถที่จะยอมรับสภานี้ได้”

ด้วยความถือมั่นในตนเองและไม่ทรงประนีประนอม จึงทำให้การประชุมสภาในนัดแรกๆ ในตอนเริ่มต้นรัชกาลมีปัญหามาก บวกกับการที่พระองค์ไม่สามารถที่จะอดทนอธิบายชี้แจงให้สมาชิกสภาเข้าใจในสิ่งที่พระองค์ทำได้จึงนำไปสู่ความแตกแยกทางสังคม, การเมือง และศาสนาภายในประเทศในเวลาต่อมา

มีการบันทึกว่าหลังจากการประชุมสภาในสามนัดแรกเมื่อตอนต้นรัชกาล ทั้งสภาและพระเจ้าชาร์ลส์ไม่สามารถที่จะหารือและตกลงกันได้ในประเด็นต่างๆ ในการประชุมนัดแรกก็ขัดแย้งกันในเรื่องการเก็บภาษี, ประชุมครั้งที่สองยิ่งรุนแรงมากขึ้นเมื่อพระองค์พยายามที่จะปกป้องคนสนิทคือดยุคแห่งบัคกิ่งแฮมให้พ้นผิด 

เมื่อสภาต้องการให้ลงโทษ พระเจ้าชาร์ลส์ก็สั่งให้ปิดการประชุมทันที และขณะนั้นอังกฤษก็ทำสงครามกับทั้งฝรั่งเศสและสเปนอีกด้วย พระเจ้าชาร์ลส์ทรงต้องการเงินมาอุดหนุนการสงครามของพระองค์ทรงให้บังคับให้มีการกู้ยืมเงินโดยใช้เครื่องเพชรพลอยของราชบัลลังค์ค้ำประกัน แต่ฝ่ายยุติธรรมเห็นว่าผิดกฎหมาย ท่านก็สั่งจับหัวหน้าผู้พิพากษา และสั่งจับอัศวินและขุนนางอีกกว่า 70 คนที่ไม่ยอมให้เงิน
เพื่อให้ท่านได้เข้าใจความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 กับสภาชัดเจนขึ้น 

จะขอเล่าเพิ่มอีกในการประชุมสภาครั้งที่สี่นี้เป็นเรื่องราวกันใหญ่โตทีเดียว เพราะสภาเสนอที่จะ ‘จำกัด’ พระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินโดยออกคำร้องที่เรียกว่า ข้อเรียกร้องสิทธิ์ the Petition of Right สี่อย่างคือ หนึ่ง. ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้โดยสภาไม่อนุมัติ, สอง. ไม่สามารถจองจำคนได้โดยไม่มีสาเหตุ, สาม.ไม่สามารถประกาศกฎอัยการศึกได้ในเวลาที่บ้านเมืองสงบและ  สี่. ไม่สามารถที่จะบังคับให้เจ้าของบ้านรับทหารเข้าไปพักอาศัยในบ้านได้โดยเจ้าของไม่ยอมรับ

ข้อเรียกร้องสิทธิ์ ทั้ง 4 นี้ พระเจ้าชาร์ลส์ ไม่ทรงเห็นด้วยกับสภาแต่จำใจต้องยอมรับ และในการประชุมสภาครั้งที่สี่ สภาก็ขัดแย้งกับการที่รื้อฟื้นหลักปฏิบัติของพระในโบสถ์และการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าและส่งออกของเจ้าหน้าที่ของพระเจ้าแผ่นดินโดยที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา

เรื่องนี้พระเจ้าชาร์ลส์ ทรงไม่เห็นด้วยกับสภาอย่างยิ่งทรงสั่งให้เลื่อนการประชุมออกไป แต่ก่อนที่จะปิดประชุมปรากฏว่า ประธานสภาถูกบังคับให้นั่งอยู่กับที่ และสภาได้อ่านประกาศผ่านญัตติประณามการกระทำของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ซึ่งทรงเห็นว่านั่นเป็นการปฏิวัติของสภา ดังนั้นในเวลา 11 ปีต่อมาพระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยการไม่เรียกประชุมสภาเลย

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าราชสำนักและสภาจะสามารถลืมเลือนและลงรอยกันได้ สงครามระหว่างราชสำนักและสภาสงบไประยะหนึ่ง แต่พระเจ้าชาร์ลส์ก็ไปเปิดศึกกับสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์ที่ไม่ยอมอยู่ภายใต้พระเจ้าชาร์ลส์อีกต่อไป อย่างไรก็ดีในเวลาต่อมาเมื่อมีการเปิดประชุมสภาอีกพระเจ้าชาร์ลส์ทรงยอมอ่อนข้อต่อสภาลงบ้าง แต่ทว่าในการประชุมสภาในปลายปี ค.ศ. 1641 เป็นเรื่องใหญ่โตทีเดียวนะคะ เมื่อสภาเอาเรื่องกับพระเจ้าแผ่นดินด้วยการผ่านรายงานที่เรียกกันว่า Grand  Remonstance โดยเป็นรายงานที่เขียนถึงการกระทำของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 นับแต่ขึ้นครองราชย์ที่สภาเห็นว่าไม่ถูกต้อง  การกระทำของสภาดังกล่าวในครั้งนี้เป็นการแตกหักระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์กับสภา และเป็นการมัดมือชกกับพระองค์ เพราะก่อนที่จะนำมาทูลให้ทรงทราบและยอมรับ ปรากฏว่าสภาได้ผ่านรายงานเรื่องนี้ก่อนที่จะเปิดการประชุมกับพระเจ้าชาร์ลส์เสียก่อนคือไม่สนใจว่าพระเจ้าแผ่นดินจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม เหตุการณ์นี้นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยึดเยื้อของอังกฤษในเวลาต่อมา

ขออธิบายเพิ่มตรงนี้อีกหน่อย ท่ามกลางความวุ่นวาย ก็ได้เกิดเหตุการณ์ คือในระหว่างการประชุมสภา ก็มีข่าวการกบฏของพวกไอร์แลนด์ สภาเห็นว่าจะต้องมีการเกณท์กำลังทหารเพื่อปราบกบฏกลุ่มนี้ ขณะเดียวกันสภาก็กลัวว่าการเกณท์ทหารนี้พระเจ้าชาร์ลส์อาจจะใช้กำลังทหารนี้มาปราบสมาชิกสภาด้วย ก็เลยขอให้พระองค์ลงพระนามในร่างกฎหมายทหารอาสา ซึ่งเท่ากับเป็นการริดรอนพระราชอำนาจในการสั่งการของกองทัพ พระเจ้าชาร์ลส์จึงสั่งให้จับสมาชิกสภาขุนนางคนหนึ่งและสมาชิกสภาผู้แทนอีกห้าคนในข้อหากบฏและทรงนำกำลังทหารไปจับสมาชิกดังกล่าวด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นได้เสด็จออกจากลอนดอน ไปตั้งมั่นในทางเหนือของประเทศ

มีการเจรจาระหว่างราชสำนักและสภาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งกันอยู่ แต่ในที่สุดสงครามกลางเมืองของอังกฤษก็เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1642

พระเจ้าชาร์ลส์ ทรงตั้งมั่นของกองทัพของพระองค์ในทางเหนือและตอนกลางของประเทศในการรบครั้งแรกๆกองทัพของพระองค์ที่สวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าแผ่นดินมีชัยเหนือพวกที่สนับสนุนสภา แต่เมื่อการรบมาถึงปีค.ศ. 1646 กองทัพของพระองค์ที่เมืองอ๊อกซฟอร์ดก็ยอมแพ้ต่อกองกำลังสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวล และผู้บัญหาการทหาร เซอร์ โทมัส แฟร์เฟตท์ที่ทำการรบที่เข็มแข็งขึ้น พระเจ้าชาร์ลส์ทรงหนีด้วยการปลอมพระองค์ไปกับผู้ติดตามสองคนขึ้นสก็อตแลนด์ แต่ก็ถูกพวกสก็อตจับตัวส่งลงมาให้กองกำลังสภา
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงแสดงให้เห็นถึงความเด็ดเดียวของพระองค์อย่างไม่มีเหตุผล ไม่ทรงยอมรับข้อเสนอของสภาที่จะให้พระองค์เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในระหว่างถูกจับก็ทรงพยายามที่จะวางแผนเพื่อที่จะหาทางกลับมาปกครองประเทศ แต่ในที่สุดพระองค์ก็ถูกกลุ่มนายทหารหนุ่มจับตัว ส่งกลับมายังลอนดอน

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 พระองค์จะทรงเป็นกษัตริย์แบบไหน ภายใต้ความท้าทายของอังกฤษยุคใหม่

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ ของอังกฤษ ที่เพิ่งจะเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อเดือนกันยายนปี พ.ศ. ๒๕๖๕ นี้จะมีทิศทางในการเป็นพระมหากษัตริย์อย่างไร ท่านจะดำเนินตามแนวทางของสมเด็จพระมารดาคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ หรือจะทรงมีแนวทางของพระองค์เอง

จากที่ได้อ่านข่าวและบทความภาษาอังกฤษมา พอจะประมวลได้ว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ นี่ท่านคงจะมีกุศโลบายของพระองค์เองเป็นหลัก และดำเนินรอยตามพระมารดาในสิ่งที่ทรงเห็นว่าเป็นผลดีอยู่แล้ว เห็นมีการวิเคราะห์กันว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ นี่คงจะทรงงานในฐานะพระประมุขได้อย่างราบรื่น ไม่น่าจะมีปัญหามากนัก เพราะทรงรั้งตำแหน่งมกุฎราชกุมารมาอย่างยาวนานที่สุดถึง ๕๒ ปี อย่าลืมกันนะคะว่า ปีนี้พระชนมายุ ๗๓ พรรษาแล้ว ทรงรู้ทรงเห็นและทรงเจอกับปัญหาทั้งบวกและลบมาพอสมควร 

ประกอบกับระยะเวลาอันยาวนานที่พระมารดาดำรงฐานะพระประมุขของประเทศถึง ๗๐ ปี ทรงพบปะเจอะเจอกับนายกรัฐมนตรีของอังกฤษเองถึง ๑๕ คนและประธานาธิบดีสหรัฐถึง ๑๔ คน และผู้นำของประเทศอื่นๆอีกทั่วโลก เพราะฉะนั้นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ คงทรงได้เรียนรู้การงานภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศมาอย่างเต็มที่แล้วและจากนี้ต่อไปการที่จะต้องทรงงานด้วยพระองค์เอง คงทรงทำได้และอาจทำได้ดีอีกด้วย

แต่มีสิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปได้ทราบหรือคนที่ใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกับพระองค์ท่านทราบกันดีคือ พระนิสัยที่ทรงชอบวิจารณ์หรือเสนอแนะในเรื่องต่างๆต่อรัฐบาลอังกฤษ มีหลายเรื่องหลายประเด็นเช่นการเกษตร ท่านสนับสนุนการเกษตรอินทรีจนมีโครงการของตัวเอง,เรื่องผังเมือง,สถาปัตยกรรม,การศึกษา หรือแม้แต่เรื่องการสงวนรักษาพันธุ์ปลา ดังนั้นเมื่อทรงได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วจะยังมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานรัฐบาลอีกหรือไม่

แน่นอน แต่อาจจะเปลี่ยนจากการส่งโน๊ตไปถึง แต่ท่านจะสามารถพูดโดยตรงกับนายกรัฐมนตรีของอังกฤษได้เลย เพราะมีธรรมเนียมปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีจะเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินทุกสัปดาห์ ในการเข้าเฝ้านั้นพอที่จะทราบกันว่าจะต้องเป็นการหารือข้อราชการงานเมืองทั้งหลาย นายกรัฐมนตรีอาจจกราบทูลในเรื่องต่างๆ ที่พระเจ้าแผ่นดินควรทรงทราบและพระองค์ท่านก็จะทรงแสดงความคิดเห็น ส่วนรัฐบาลจะทำตามหรือไม่ ก็ได้เพราะอำนาจในการบริหารเป็นของรัฐบาล และที่ผ่านมาไม่มีการเปิดเผยเนื้อหาของการหารือนะคะ ไม่มีใครทราบ

ทีนี้สำหรับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ ในครั้งที่ทรงเป็นมกุฎราชกุมารท่านกล้าที่จะแสดงความเห็นต่อรัฐบาลว่าควรทำหรือจัดการกับเรื่องนั้นหรือทำให้ดีขึ้นอย่างไร เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อทรงอยากจะเสนอแนะในเรื่องใดจะทรงส่งลายพระหัตถ์ส่วนพระองค์ไปถึงรัฐมนตรีคนนั้นจนมีการเอ่ยกันในรัฐบาลว่ามีใครได้รับ “Black Spider Memos” บ้าง

อันหมายถึงลายพระหัตถ์ยุ่งๆเหมือนใยแมงมุมนั่นเอง คือ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์จะทรงมีลายพระหัตถ์ไปถึงรัฐมนตรีโดยตรงอันแสดงให้เห็นว่าพระองค์ท่านมีความมั่นพระทัยมากทีเดียวที่ทำเช่นนั้น ทีนี้มี reaction ต่อ Black Spider Memos นี้กันอย่างไร ตามที่บทความบีบีซีภาษาอังกฤษเขาเขียนไว้ อดีตรัฐมนตรีคนหนึ่งเขาบอกว่า การที่ได้รับจดหมายข้อความจากท่าน เขาไม่รู้สึกว่าถูกกดดัน แต่เห็นว่าเป็นเพียงความต้องการที่อยากจะให้เกิดการกระทำในเรื่องนั้นเท่านั้น และไม่ใช่การที่จะนำไปสู่การขัดแย้งใด เป็นเพียงการเสนอความเห็นของพระองค์และ ไม่เป็นการแทรกแซงหรือบังคับ

ในตอนนั้นเมื่อมีการกล่าวถึงพระองค์ว่าทรงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารของรัฐบาล เมื่อนักข่าวทูลสัมภาษณ์ท่านประเด็นนี้ ท่านตอบดีมาก คือ “ถ้าหากเขาเห็นว่าเป็นการแทรกแซง ฉันก็ภูมิในทีเดียว”

“If that's meddling, I'm very proud of it." But he acknowledged that he was in "a no-win situation.”

แต่ก็ทรงยอมรับว่าท่านไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะชนะได้ คำตอบเช่นนี้ทำให้เห็นว่าเจ้าฟ้าชายหรือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ ทรงทราบดีว่าพระองค์อยู่ในฐานะพระประมุขเท่านั้น แต่ท่านก็พูดเหมือนจะประชดประชันในทีครั้งหนึ่งว่า “ถ้าไม่ทำอะไรเลย คนก็จะบ่นว่าไม่ทำอะไร แต่ถ้าพยายามหรือยืนกรานที่จะช่วยทำอะไรในสิ่งที่เห็น อีกนั่นแหละก็จะถูกบ่นว่าเช่นกัน”

ในการประทานสัมภาษณ์อีกครั้งหนึ่งคนละเวลานะคะ ทรงบอกว่า พระองค์พยายามที่จะหลีกเลี่ยงการเมืองของพรรคต่างๆ คือไม่สนับสนุนหรือติเตียนพรรคใด แต่ในบางครั้งก็รู้สึกว่าถูกบังคับให้ต้องพูดออกไปในปัญหาที่เกี่ยวกับชีวิตการเป็นอยู่ของประชาชน ทรงเข้าใจสังคมอย่างดี

ถึงอย่างไรก็ดีก็มีนักการเมืองบางคนที่เข้าใจในความคิดของเจ้าชายอยู่เหมือนกัน  อดีตรัฐมนตรีของพรรคเลเบอ คนหนึ่งเล่าว่าหลังจากที่เขาได้สนทนากับพระองค์แล้ว เขาเห็นว่าท่านมีจิตใจที่แน่วแน่และมุ่งมั่นในเรื่องที่คิดและยินดีที่จะเสี่ยงที่จะแหย่เท้า (พระบาท)เข้าไปในเรื่องที่ทรงเห็นว่าจำเป็นและสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการช่วยเหลือวัยรุ่นที่โชคไม่ดีมีปัญหา, ไม่พอใจกับชีวิตหรือการสิ้นหวัง มีพระประสงค์ที่จะช่วยคนหนุ่มสาวเหล่านี้อย่างจริงจัง ซึ่งอดีตรัฐมนตรีพรรคเลเบอคนนี้บอกว่า เขาประทับใจกับการใส่พระทัยในปัญหาวัยรุ่นของพระองค์มากทีเดียว ซึ่งอันที่จริงเขาบอกว่าในตำแหน่งมกุฎราชกุมารอาจจะไม่ต้องสนใจในเรื่องเหล่านี้ก็ได้สามารถดำรงตำแหน่งสบายๆ ไปเรื่อยๆ ปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐบาลแก้ไขไป
แต่ท่านก็ไม่ยอมอยู่สบายๆ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์หรือองค์ประธานองค์กรต่างๆ ถึง ๔๐๐ กว่าแห่ง และองค์กรที่สร้างชื่อเสียงให้พระองค์อย่างมากคือ การตั้ง the Prince’s Trust อันเป็นองค์กรการกุศลช่วยเหลือวัยรุ่นโดยเฉพาะขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ทรงใช้เงินส่วนพระองค์ที่ได้จากกองทัพเรือมาตั้งกองทุนนี้

The Prince’s trust ช่วยวัยรุ่นด้อยโอกาสจากพื้นที่ที่ยากจนทั่วประเทศในด้านการประกอบอาชีพ มาแล้ว ๙ แสนกว่าคน การตั้งองค์กรนี้ทำให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ พระอิสริยยสในขณะนั้นเห็นปัญหาที่หลากหลายของสังคมของประเทศของพระองค์โดยตรง แต่ทรงเล่าว่าเรื่องนี้กลับไม่ได้ความเห็นดีเห็นงามจากกระทรวงมหาดไทยนัก เพราะมหาดไทยเห็นว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำให้การช่วยเหลือนี้สำเร็จได้เพราะเป็นปัญหาที่ยากที่จะแก้ไข

แต่ความเห็นดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้พระองค์ทรงท้อถอย ในการประทานสัมภาษณ์อีกครั้งในปีพ.ศ. ๒๕๔๘ ทรงบอกว่า ท่านประสูติในฐานะเจ้าฟ้าชายและต่อมาเป็นมกุฎราชกุมาร ดังนั้นจึงทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ว่า จะทรงทำหน้าที่อย่างดีที่สุดและจะทำทุกอย่างที่ทรงทำได้

แน่นอนคนอาจจะเห็นว่า คำพูดจะพูดอย่างไรก็ได้ แต่ท่านทำจริง ตามที่เป็นข่าวจะเห็นว่าทรงแสดงความเห็นถึงการเป็นนักปฏิรูปที่อึดอัดกับการที่เห็นบางชุมชนถูกปล่อยปละละเลยหรือทอดทิ้งให้ล้าหลังไม่มีการพัฒนา ซึ่งการที่ท่านพูดแต่ละทีก็เป็นข่าวกระตุ้นได้บ้างเหมือนกัน

การให้ความสำคัญต่อส่วนรวมไม่ใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะภายในประเทศอังกฤษเท่านั้น มีคนที่ทำงานกับท่านคนหนึ่งเล่าว่าได้รับโทรศัพท์จากท่านตอนราว ๓ ทุ่มเมื่อทรงทราบข่าวน้ำท่วมในปากีสถาน
Hitan Mehta, ฮิทาน เมตตา เป็นเจ้าหน้าที่ที่ช่วยท่านตั้งองค์กรที่เรียกว่า The British Asian Trust คือองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือระหว่างอังกฤษกับประเทศในเอเชีย เธอเล่าว่าในคืนวันศุกร์วันหนึ่ง ราวสามทุ่มได้รับโทรศัพท์จากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ทรงบอกว่าพระองค์ทราบข่าวเกิดน้ำท่วมในปากีสถานและถามเธอว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง เมตตาบอกว่าท่านมีงานอื่นมากมายแต่ก็ยังเมื่อทรงทราบถึงความเดือดร้อนในปากีสถานและแม้จะมืดค่ำก็ยังทรงถามไถ่เธอมาว่าจะให้ความช่วยเหลืออย่างไร ท่านเป็นคนที่มีมนุษยธรรมอย่างจริงใจ

ความจริงจังและจริงใจนี้เมื่อฟังเจ้าชายแฮรี่พระโอรสเล่าถึงพระบิดาได้ฟังแล้วก็อดที่จะอมยิ้มไม่ได้ เจ้าชายแฮรี่บอกว่า พระบิดามักจะเสวยพระกระยาหารค่ำค่อนข้างดึก หลังจากเสวยเสร็จก็จะเสด็จไปที่โต๊ะทรงงาน แล้วก็จะหลับคาสมุดโน้ตของพระองค์

อีกด้านหนึ่ง  พระราชินีคามิล่าได้เล่าในการให้สัมภาษณ์โทรทัศน์ในวันครบรอบวันประสูติ ๗๐ ชันษาของพระเจ้าชาร์ลส์ ที่ ๓ ว่า ท่านเป็นคนที่พระทัยร้อนมาก ถ้ามีพระประสงค์จะทรงงานอันใดแล้ว คืองานนั้นต้องเสร็จตั้งแต่เมื่อวานนี้ คือใจร้อนจนรอให้งานเสร็จวันนี้ไม่ได้ อยากทำอะไรให้เสร็จโดยเร็วนั่นเอง
แต่ว่าเมื่ออยู่กับหลานๆ คือพระโอรสธิดาของเจ้าชายวิลเลี่ยมจะทรงหลอกล้อกับเด็กๆ หรืออ่านแฮรี่ พอตเตอร์ให้ฟัง ทรงทำเสียงตามตัวละครให้ด้วย

อังกฤษในช่วง ๗๐ ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายอย่าง มีประชากรหลายเชื้อชาติอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น มีการตั้งคำถามว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างไร ศาสตราจารย์ เวอร์นอน บร็อคดานอร์ Vernon Bogdanor ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐธรรมนูญ คาดว่า พระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ จะสามารถเข้าถึงประชาชนหลากหลายเชื้อชาติและหลากหลายความเชื่อถือได้อย่างดีเพราะทรงคุ้นเคยกับเรื่องนี้มานานและจะทรงพยายามสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้เกิดขึ้นในประเทศได้ และจะสามารถเชื่อมกลุ่มชนที่ด้อยทางสังคมหรือประชาชนที่เป็นกลุ่มเล็กๆ ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้

นอกจากนี้ก้อมีการคาดหวังอีกด้วยว่าในฐานะที่ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์งานศิลปะ, ด้านดนตรีและวัฒนธรรม งานเหล่านี้คงอยู่ในสายพระเนตรที่จะได้รับความสนใจและสนับสนุน แต่คาดกันว่าเรื่องม้าแข่งอาจจะไม่มากเท่ากับสมเด็จพระมารดาค่ะ

เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่คาดว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ จะไม่ทอดทิ้งเพราะอยู่ในความสนพระทัยมากและมานานแล้วคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ Climate Change เรื่องนี้พูดกันว่าพระองค์ได้แสดงความห่วงใยและพูดถึงปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกมาก่อนคนอื่นๆ ทรงเป็นเสียงสำคัญที่ทำให้คนทั่วไปหันมาร่วมมือกันแก้ไข เมื่อปีที่แล้วได้ทรงเข้าร่วมการประชุมใหญ่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ COP 26 ที่เมืองกลาสโกว์ในสกอตแลนด์ ทรงพบกับประธานาธิบดีไบเดน ของสหรัฐฯ ซึ่งได้ทูลว่าให้พระองค์ช่วยแก้ไขเรื่องนี้ต่อไป

Sir Lloyd Dorfman ผู้ที่ถวายงานมานานเห็นว่าเรื่อง Climate change นี่พระองค์อาจจะยังคงผลักดันต่อไปแต่อาจจะไม่เป็นตัวตั้งตัวตีเหมือนที่ผ่านมา

'ฝรั่งเศส-ซาอุฯ' ไม่เลือกข้าง หลัง 'ซูแน็ก' กร้าว!! มอง ‘จีน’ เป็นภัยคุกคาม | NEWS GEN TIMES EP.77

'ฝรั่งเศส-ซาอุฯ' ไม่เลือกข้าง หลัง 'ซูแน็ก' กร้าว!! มอง ‘จีน’ เป็นภัยคุกคาม แม้การแก้ปัญหาบนเวทีโลกยังต้องพึ่งจีน

.

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

.

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง .

นายกหนุ่มแห่งอังกฤษ เลือกวิ่งชนกำแพงเมืองจีน หลังลั่น!! ยุคทองความสัมพันธ์ 'จีน-อังกฤษ' จบลงแล้ว

ในคำปราศัยของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายริชชี่ ซูแน็กเมื่อต้นสัปดาห์นี้ ได้สร้างความงงๆ ให้กับคนทั่วไป แม้แต่นักการเมืองและนักข่าวของอังกฤษเองถ้วนหน้า เมื่อนายซูหนักบอกว่า “ยุคทองของความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับจีนได้สิ้นสุดลงแล้ว และอังกฤษจะปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่กับจีนให้เข้มแข็งจริงจังเหมือนคู่แข่งขันที่แท้จริง” 

นายซูแน็กยังวิจารณ์ต่อไปว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างอังกฤษกับจีนนั้นเป็นเรื่องอ่อนหัด

เรื่องนี้ดูท่า นายซูแน็กดู จะเอาจริง!! เพราะที่ที่เขาพูดคืองานเลี้ยงประจำปีที่เรียกว่า The Lord Mayor’s Banquet ในกรุงลอนดอน ซึ่งแขกผู้ฟังของเขาก็คือบรรดาผู้นำทางธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายต่างประเทศ แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การพูดในงานเลี้ยงครั้งนี้เป็นการประกาศนโยบายต่างประเทศครั้งแรกของนายซูแน็กหลังจากเป็นนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะประเด็นที่เฉพาะเจาะจงกับจีน

แน่นอนว่า การพูดเช่นนี้ออกมา เจ้าตัวเองก็คงจะรู้ดีว่า ต้องถูกวิจารณ์ว่านี่เป็นพูดให้ดูสวยหรูดูดี แต่เขาก็ดักคอไว้ว่าสิ่งที่เขาพูดออกไป ไม่ใช่วาทศิลป์ที่ให้ฟังเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ประทับใจเท่านั้น

นั่นก็เพราะในปีใหม่ที่จะมาถึงในไม่ช้านี้นั้น นายซูแน็ก บอกว่า รัฐบาลอังกฤษจะประกาศถึงแผนการที่เขาเรียกว่า 'การทบทวนแผนรวมความมั่นคงของประเทศกับนโยบายต่างประเทศ' ที่เรียกว่า The Integrated Review ซึ่งตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะมีหน้าตาอย่างไรและต้องคอยดูว่าจะกล้าหาญเด็ดเดียวเหมือนในยุคของนางลิส ทรัสส์เป็นนายกรัฐมนตรีแค่ไหน 

เนื่องจากมีรายงานว่าในระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรี 45 วันนั้น นางทรัสส์กำลังวางแผนที่จะจัดประเภทของจีนให้อยู่ในประเทศที่ 'คุกคาม' ต่ออังกฤษ แต่เธอยังไม่ได้ทำเรื่องนี้ ก็ต้องลาออกไปเสียก่อน กลับกันคำปราศัยของนายซูหนักในงานเลี้ยงดังกล่าวเขาเพียงแต่กล่าวว่าจีนมีความท้าทายที่เห็นได้ชัดเจนต่อความเชื่อและผลประโยชน์ของอังกฤษ และจีนได้เพิ่มความท้าทายไปสู่การเป็นเผด็จการมากขึ้นกว่าเดิม โดยนายซูหนักใช้คำว่าจีน 'ท้าทาย' แทนคำว่า 'คุกคาม' ซึ่งก็ถูกวิจารณ์ว่าอ่อนไป 

อย่างไรก็ตามการกล้าออกมาประกาศว่ายุคทองของความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับจีนหมดสิ้นแล้วก็ถือได้ว่า แข็งกร้าวใช้ได้ไม่น้อย ในขณะที่จีนกำลังมีบทบาทเด่นชัดในเวทีโลกทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจขณะนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษหมาดๆ และหนุ่มที่สุด และมีเชื้อสายอินเดียผู้นี้ ย่อมตระหนักดีว่าจีนมีบทบาทอย่างสำคัญต่อโลกในด้านต่างๆ เช่นเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกหรือปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก (ฟังๆ ดูก็ขัดแย้งกันอยู่ว่าอังกฤษจะเอาอย่างไงกับจีน)

>> ทีนี้เมื่ออังกฤษ จะไม่ให้ความสำคัญกับจีน แล้วอังกฤษจะให้ความสำคัญกับใคร?

นายซูหนักประกาศว่ารัฐบาลของเขาจะยังคงความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับสหรัฐฯ, แคนาดา, ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เพื่อผนึกกำลังทางการทูตและธุรกิจให้เกิดการแข่งขันที่มีพลังยิ่งขึ้น (ในการสู้กับจีน) 

กลับมาที่คำถามว่า ทำไมจู่ๆ นายกรัฐมนตรีอังกฤษผู้นี้จึงออกมาประกาศเปรี้ยงว่า ยุคทองกับจีนจบสิ้นลงแล้ว!!

ผู้สื่อข่าวบีบีซีบอกว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะนายซูแน็กถูก ส.ส. พรรคคอนเซอเวทีฟด้วยกันกดดันว่าอังกฤษควรมีท่าทีที่แข็งกร้าวกับจีนตั้งแต่เขาเข้ามาเป็นนายกฯใหม่ๆ อีกด้านหนึ่งนายซูแน็กก็ถูกคณะกรรมการด้านต่างประเทศของสภาผู้แทนตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ของอังกฤษที่มีต่อจีนหลังจากที่คณะกรรมการชุดนี้ไปพบกับประธานาธิบดีของไต้หวัน และมีคำถามต่อไปอีกด้วยว่านโยบายต่างประเทศของอังกฤษต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิคเป็นอย่างไรและอังกฤษจะสามารถเพิ่มอิทธิพลของตนในภูมิภาคนี้ได้หรือไม่

เพราะฉะนั้นนายซูแน็กจึงใช้โอกาสที่พบพูดจากับนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศในงานเลี้ยงของนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนประกาศถึงท่าทีของอังกฤษที่มีต่อจีนอย่างแข็งกร้าว ว่าต่อจากนี้ไปความสัมพันธ์นั้นจะเปลี่ยนเป็นการแข่งขันที่อังกฤษเอาจริง ไม่เหมือนกับท่าทีของรัฐบาลอังกฤษเมื่อสิบปีที่แล้ว ที่อดีตนายกฯ ยุคนั้นอย่างนายเดวิด แคมเมอรอน พยายามที่จะดึงจีนให้มาเป็นมิตรทางเศรษฐกิจและคู่ค้าที่สำคัญ โดยไม่เป็นศัตรูทางการเมือง

ทว่าคำประกาศที่ดูจะตัดญาติขาดมิตรไม่ยี่หระกับจีนของนายซูแน็ก ก็ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงจาก ส.ส. พรรคเดียวกัน เช่น อดีตหัวหน้าพรรคคอนเซอเวทีฟ เซอร์ เอียน ดังคั้น สมิท ที่เป็นผู้หนึ่งที่ผลักดันให้รัฐบาลอังกฤษมีนโยบายไม่อ่อนกับจีนว่า "กระทรวงต่างประเทศอังกฤษจะใช้วิธีการอย่างไรที่จะสร้างความตื่นตระหนกวิตกให้จีนบ้างในคำประกาศว่าจะกระทำอย่างจริงจังนี้ช่วยขยายความหน่อย" ส่วนแน่นอนพรรคฝ่ายค้าน คือ เลเบอร์ วิจารณ์ว่า "คำพูดนี้จืดเหมือนโจ๊ก และใช้วาจาเปลี่ยนไปมากับนโยบายที่มีต่อจีน"

ชาวอังกฤษ 85% อาการหนัก หลังรัฐยังหนุนยูเครนไม่เลิก ‘ค่าครองชีพพุ่ง-เริ่มกินอาหารสัตว์เลี้ยง-เทียนไขทำอาหาร’

(4 ธ.ค. 65) World Update เผยว่า ภายหลังรัฐบาลสหราชอาณาจักร เดินตามแนวทางของสหรัฐฯ ร่วมคว่ำบาตรพลังงานราคาถูกจากรัสเซีย...ผ่านมา 9 เดือน ผลปรากฏเศรษฐกิจเละ เปลี่ยนนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 3 คนพร้อมคณะรัฐมนตรีอีก 300 ตำแหน่ง (ครม.อังกฤษมี 100 ตำแหน่ง/ชุด)

อัตราเงินเฟ้อทะยานอวกาศเป็น 11.1% เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดในรอบ 41 ปี เกิดม็อบสหภาพแรงงานต่าง ๆ นัดหยุดงานประท้วงไม่เว้นแต่ละวัน เมืองใหญ่คราคร่ำไปด้วยม็อบเผาบิลค่าไฟฟ้าที่แพงจัดจนจ่ายไม่ไหว กลายเป็นฝันร้ายสำหรับคนนับล้าน

มีการคาดว่าอัตราเงินเฟ้ออังกฤษแท้จริงคือ 13.8% ไปแล้วแต่เมื่อรัฐบาล เยียวยาบางส่วนจึงอยู่ที่ 11.1% ส่งผลให้ลักลั่นกับค่าครองชีพที่ทะยานโด่งลิ่วไปก่อน

แต่ถึงกระนั้นนายกรัฐมนตรี ริชี ซูแน็ก แห่งอังกฤษ ก็ยังคงสานต่อนโยบายรัฐบาลชุดเดิม คือ คว่ำบาตรพลังงานราคาถูกรัสเซีย น้ำเข้าราคาแพงจากสหรัฐฯ และเป็นปฏิปักษ์จีน ด้วยการประกาศว่าความสัมพันธ์ยุคทองระหว่างอังกฤษกับจีนได้จบลงแล้ว เนื่องจากจีนมีบทบาทสำคัญในเวทีโลกล้ำหน้าอังกฤษเกินไป

นอกจากนี้อังกฤษ ยังคงยื้อความขัดแย้งสงครามในยูเครนต่อไป เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เป็นผู้ให้เงินช่วยเหลือ (เงินกู้) ค่าอาวุธรายใหญ่อันดับ 2 ของยูเครน รองจากสหรัฐฯ มูลค่า 2,300 ล้านปอนด์ (99,568 ล้านบาท)

ขณะที่ปัจจัยค่าพลังงานแพง ซ้ำเติมด้วยเงินคลังไหลออกติดหล่มสงครามที่ไม่รู้จะได้เงินคืนเมื่อใด ยิ่งซ้ำเติมให้เงินหมุนเวียนภายในชาติหดหายลงไปอีก 

ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ ได้ประเมินว่าครัวเรือนต้องจ่ายค่าเครื่องทำความร้อนและแสงสว่างสูงกว่าปีที่แล้วถึง 88.9% 

และภายในสิ้นปีนี้ จะมีค่าใช้จ่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตเฉลี่ย 4,960 ปอนด์/ครอบครัว ซึ่งมากกว่าปีก่อนถึง 380 ปอนด์

โพลสำรวจความคิดเห็นยังระบุอึกว่า ชาวอังกฤษมากถึง 85% หรือเกือบทั้งประเทศ วิตกกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในชีวิตความเป็นอยู่ 

ชาวอังกฤษทั่วประเทศต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในช่วงคริสต์มาสปีนี้ และมีการขาดแคลนไก่งวงและนกในฤดูหนาว อาหารค่ำวันคริสต์มาสกลายเป็นภาระที่น่าเป็นห่วงสำหรับครอบครัวชาวอังกฤษจำนวนมาก

โพลระบุอีกว่า 20% ของครอบครัวในอังกฤษ จะขอให้แขกมาบ้านช่วยจ่ายค่าอาหารค่ำวันคริสต์มาส รวมถึงวางแผนที่จะใช้จ่ายของขวัญในปีนี้น้อยลงมากกว่า 36.3% และไม่สามารถจ่ายเงินฟุ่มเฟือยได้เหมือนที่ผ่านมา 33%

หากย้อนไปในเดือนที่ผ่านมา ราคาวัตถุดิบในครัวเรือน เช่น นม, เนย, ชีส, เนื้อ และขนมปัง เพิ่มขึ้นสูงถึง 42% ทำให้ชาวอังกฤษต้องพึ่งพาธนาคารอาหารบริจาคมากขึ้นกว่าเดิม

จากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแพง และอาหาร ที่พุ่งสูงขึ้นเป็นสาเหตุหลักของภาระค่าครองชีพที่สูงเป็นประวัติการณ์ ชาวอังกฤษกำลังดิ้นรนอย่างสุดชีวิตเพื่อเอาตัวรอด ผลกระทบต่อหลายพื้นที่ของเวลส์อย่างหนัก 

ชาวเวลล์บางส่วนไม่ได้รับค่าจ้างมากพอที่จะซื้อสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดวิกฤตค่าครองชีพที่ไม่สามารถจ่ายไหว ต้องใช้ชีวิตมาตรฐานระดับต่ำสุดเพื่อเลี้ยงครอบครัว

ชุมชนที่ยากไร้มากที่สุด 6 แห่งของเวลส์อยู่ในเมืองคาร์ดิฟฟ์ ครอบครัวจำนวนมากขาดสิ่งจำเป็นพื้นฐานปัจจัย 4 ในการดำรงชีพ คือ 'อาหาร'

คดีปริศนา!! พบศพครูใหญ่หญิงโรงเรียนเอกชนหรูอังกฤษ พร้อมครอบครัวกลางสนามหญ้าโรงเรียน

กลายเป็นข่าวปริศนาของชาวอังกฤษทันที เมื่อมีการพบศพของนาง เอ็มมา แพททิสัน อาจารย์ใหญ่หญิงวัย 45 ปี แห่งโรงเรียนเอกชนสุดหรูชื่อดัง Epsom College ในเมืองเซอร์เรย์ ประเทศอังกฤษ พร้อมกับศพของสามี (จอร์จ) วัย 36 ปี และ ลูกสาว (เลทตี้) ลูกสาวของทั้งคู่ที่อายุเพียง 7 ขวบเท่านั้น ที่บริเวณสนามหญ้าภายในโรงเรียน เมื่อช่วงตี 1 ของวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมา

ทางตำรวจเซอร์เรย์ ได้รับแจ้งเหตุฉุกเฉินในโรงเรียนเอกชนชื่อดังประจำโรงเรียนเมื่อช่วงกลางดึกจึงรุดไปยังที่เกิดเหตุ และได้พบศพของผู้เสียชีวิตทั้ง 3 คน ที่เป็นถึงครูใหญ่ประจำโรงเรียน และครอบครัว ที่สนามหญ้าในพื้นที่ของโรงเรียน โดยที่ตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยสาเหตุการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของทั้ง 3 เพียงแต่สรุปว่าเป็นการเสียชีวิตที่เป็นเหตุการณ์เดี่ยว ๆ และไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3 ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่คดีฆาตกรรม 

ล่าสุด ด็อกเตอร์ อลาสแตร์ เวลส์ ประธานบอร์ดผู้บริหารของโรงเรียน Epsom College ได้ออกมาแสดงความเสียใจกับการเสียชีวิตของครูใหญ่หญิง และครอบครัวในโรงเรียน และย้ำว่าทั้งคณะครู นักเรียน และผู้ปกครองต่างรู้สึกตกใจอย่างมากต่อการจากไปของอาจารย์ใหญ่ เอ็มมา แพททิสัน

‘UK’ อ่วม!! เงินเฟ้อ-สินค้าแพงเป็นประวัติการณ์ สวนทาง ปชช.ต้องอดมื้อกินมื้อ เพื่อลดค่าใช้จ่าย

ดูเหมือนว่าวิกฤติเงินเฟ้อจะดันราคาอาหารในสหราชอาณาจักรพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ประชาชนยังคงต้องทนทุกข์ทรมานกับวิกฤตค่าครองชีพ 

จากผลสำรวจที่เผยแพร่ในวันอังคาร (28 ก.พ.) ราคาอาการพุ่งสูงขึ้น 17.1% ในช่วง 4 สัปดาห์จนถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จากข้อมูลของคันทาร์ (Kantar) บริษัทที่ปรึกษาด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและแบรนด์ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน หลังติดตามราคาสินค้ามากกว่า 75,000 รายการ

ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตามการบันทึกของคันทาร์ ซึ่งเริ่มทำการสำรวจในปี 2008

"บรรดานักช็อปปิงทั้งหลายกำลังเผชิญกับราคาที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาสักพักแล้ว มันกำลังส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อชีวิตผู้คน" เฟรเซอร์ แม็คเควิตต์ หัวหน้าฝ่ายเจาะลึกด้านค้าปลีกและการบริโภคของคันทาร์ระบุ

ผลการสำรวจของคันทาร์ยังพบว่าเงินเฟ้อราคาของชำ เป็นประเด็นการเงินหนักหนาที่สุดอันดับ 2 ของชาวสหราชอาณาจักร รองจากราคาพลังงานที่พุ่งสูง

ครั้งที่ทำการสำรวจข้อมูลผู้บริโรคเกือบ 10,000 คนในเดือนมกราคม คันทาร์ พบว่ามีถึงราว 1 ใน 4 ของครัวเรือนทั้งหลายที่ประสบปัญหาทางการเงิน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งตอนนี้มี 1 ใน 5 ของครัวเรือนที่ประสบปัญหาทางการเงิน

'ตัวเลขล่าสุดนี้น่ากังวลอย่างยิ่ง' โรซิโอ คอนชา ผู้อำนวยการด้านนโยบายขององค์กร Which กลุ่มกดดันเพื่อผู้บริโภค 'บางครัวเรือนถึงขั้นเว้นมื้ออาหารเพื่อประทังชีวิต'

หุ้นของโอคาโด ดิ่งลง 12.2% ในวันอังคาร (28 ก.พ.) หลังกลุ่มซูเปอร์มาร์เกตออนไลน์สัญชาติสหราชอาณาจักรแห่งนี้บอกว่าราคาที่พุ่งสูงกระทบยอดขาย ผลคือทำให้ตัวเลขขาดทุนสุทธิเมื่อปีที่แล้วเพิ่มเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ ทางกลุ่มเผยว่าพวกเขาได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้นของตนเองเช่นกัน

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ เปิดตำนานพระประธานแห่งเมือง Zalun  สะพรึงสะเทือนราชวงศ์อังกฤษในยุคล่าอาณานิคม

อย่างที่ทราบกันว่า เมื่ออังกฤษเข้ามายึดพม่าในตั้งแต่ปี 1824 นั้น นอกจากอังกฤษจะเข้ามาวางระบบผังเมืองในย่างกุ้งแล้ว อีกมุมหนึ่งอังกฤษก็ขนเอาทรัพยากรอันมีค่าของพม่าในยุคนั้น อาทิ ไม้สัก งาช้าง อัญมณี รวมถึงทองคำและทองเหลือง กลับมายังเกาะอังกฤษหรืออินเดียที่ถือเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอังกฤษในเวลานั้น และองค์พระแห่งเมือง Zalun ที่เจดีย์ Mar Aung Myin องค์นี้ ก็เป็น 1 สิ่งที่ถูกขนออกจากพม่าไปในกาลนั้นด้วยเช่นกัน

ในตำนานกล่าวไว้ว่า องค์พระท่านถูกขนออกไปจากเมือง Zalun ในรัฐอิรวดีไปยังเมืองบอมเบย์ในประเทศอินเดีย ซึ่งตอนนั้นในเมืองบอมเบย์เป็นที่ตั้งของโรงเก็บของอังกฤษที่นำมาจากสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นเครื่องทองเหลืองที่ยึดมาได้จากเมืองอาณานิคมจะถูกนำมาหลอมใหม่ เพื่อทำเป็นเหรียญกษาปณ์ ลูกปืน

แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้น หลังจากที่องค์พระถูกย้ายมาที่นี่ โดยมีการระบุว่าหลังจากที่องค์พระเดินทางมาถึงโรงเก็บของในเมืองบอมเบย์ ก็เกิดฝนตกหนัก และลมกรรโชกแรง และเมื่อนำองค์พระไปหลอมก็ปรากฎว่า องค์พระไม่ถูกหลอมเหลวเหมือนทองเหลืองทั่วไป จนต้องเชิญท่านกลับมาในโรงเก็บเหมือนเดิม หลังจากนั้นคนงานชาวอินเดีย 64 คนที่ทำงานในการหลอมองค์พระก็กระอักเลือดตายอย่างเป็นปริศนา  

ไม่เพียงแค่นั้น เมื่อสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ครองราชย์ราชวงศ์อังกฤษ ก็ได้เกิดพระอาการประชวรปวดศีรษะอย่างรุนแรง ซึ่งหมอหลวงในบักกิงแฮมก็ไม่สามารถวินิจฉัยและเยียวยารักษาอาการประชวรนี้ได้ จนต่อมาพระนางได้นิมิตฝันเห็นร่างดำทะมึน โดยในความฝันได้บอกกับพระนางว่าให้นำองค์พระที่อยู่ในโรงเก็บของในเมืองบอมเบย์กลับไปประดิษฐานยังที่เดิมในเมือง Zalun มิฉะนั้นพระนางจะสิ้นใจ 

อว. ผนึก บริติช เคานซิล จัดโครงการ ‘Thai-UK World-class University Consortium’ สร้างความก้าวหน้ามหาวิทยาลัยไทย สู่การแข่งขันในระดับโลก

(13 มี.ค.) นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อรุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์, รศ.ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน และ ผศ. ดร.มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร ได้นำคณะทำงาน Thai-UK Work Class Consortium ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าและตัวแทนโครงการ อีก 6 โครงการ จาก 5 มหาวิทยาลัย เข้าศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยน ความร่วมมือ ด้านงานวิจัยและการเรียนการสอนจากสถาบันการศึกษาชั้นนำในสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 3 มีนาคม 2566

สำหรับโครงการ Thai-UK World-class University Consortium เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และบริติช เคานซิล ประเทศไทย เพื่อเพิ่มความมุ่งมั่นและความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและสหราชอาณาจักรและเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยไทยในการแข่งขันในระดับโลก โดยมีโครงการ UK Visit Trip ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้โครงการ Thai-UK World-class University Consortium ด้วย

โดยโครงการ Thai-UK World-class University Consortium มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างกลไกในการเพิ่มความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดการกับลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและสหราชอาณาจักร ผ่านการแลกเปลี่ยนกับแหล่งทุนสำคัญ และเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของระบบการเรียนการสอน การวิจัยและระบบบริหารมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพผ่านการพัฒนาบุคลากรด้วยความเชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักร 

เมื่อวันที่ 27 ก.พ.66 ที่ผ่านมา ทางคณะทำงานได้ไปเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับ De Monfort University ณ เมือง Leicester โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ หลักสูตรและการจัดการศึกษาที่สามารถให้ภาคธุรกิจและเอกชนในพื้นที่และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาผ่านการฝึกงานและนำโจทย์ของภาคธุรกิจและเอกชนมาเป็นส่วนหนึ่งของงานที่สามารถให้นักศึกษานำมาใช้เป็นแบบฝึกหัดในหลักสูตร การทำให้ภาคธุรกิจและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมนี้นอกจากช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกจ้างงานของนักศึกษาแล้ว ยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจและเอกชนเพื่อให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานและเพิ่มโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านงานวิจัยและนวัตกรรม

นอกจากนั้นทาง De Monfort University ยังได้นำเสนอรูปแบบความร่วมมือที่มีกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในการทำหลักสูตรสองปริญญาในสาขา Media Production และ Cyber Security ซึ่งทาง De Monfort University ยังมีความสนใจที่จะขยาย ความร่วมมือไปสู่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในโครงการ Thai-UK Work Class Consortium อีกด้วย

ถัดมาวันที่ 28 ก.พ.66 ทางคณะทำงานได้ไปเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับ Norwich Research Park, University of East Anglia ณ เมือง Norwich ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางบูรณาการความร่วมมือระหว่างงานวิจัยและนวัตกรรมแบบสหสาขาทั้งทางวิทยาศาสตร์, วิศวกรรม, สุขภาพ, สังคม และเศษฐศาสตร์  โดย Research Park เน้นงานวิจัยและนวัตกรรม 4 ด้านหลัก ได้แก่ : Industrial Biotechnology, Agriculture Technology, Food Technology และ Medical Technology ทั้งนี้ทางคณะทำงานมีโอกาสได้เยี่ยมชมศูนย์วิจัยที่บูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพผ่านนวัตกรรมด้านอาหาร โดยเน้นงานวิจัยด้านจุลินทรีย์ในลำไส้เพื่อการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ

วันที่ 1 มี.ค.66 ทางคณะทำงานได้เข้าพบ Ms. Kate McAlister, Head of Quality Stakeholder Management, Office for Students ณ กรุงลอนดอน เพื่อรับฟังประสบการณ์ และนโยบายในการกำหนด Teaching Excellence Framework (TEF) ของอังกฤษโดยทางหน่วยงานมีหน้าที่ในการรับรองและตรวจสอบคุณภาพสถาบันการศึกษาต่างๆ ในสหราชอาณาจักร และมีการประเมินคุณภาพด้านการเรียนการสอนโดยมองที่ผลลัพธ์ของการศึกษา เช่น อัตราการจบและอัตราการมีงานทำ เป็นต้น

โดยช่วงบ่าย วันที่ 1 มี.ค.66 ทางคณะทำงาน ได้ไปเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับ University of Essex ที่เมือง Colchester ในการเยี่ยมศูนย์ Innovation Center ซึ่งเป็นหน่วยงานด้าน Knowledge Transfer Partnership (KTP) โดยหน่วยงานมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลและเน้น การสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งด้านธุรกิจ โดยได้รับโจทย์จากภาคธุรกิจและวางแผนร่วมกับภาคเอกชนเพื่อขอรับทุนด้านนวัตกรรมจากแหล่งทุน เช่น Innovate UK โดยการขอการสนับสนุนจากแหล่งทุนนั้นจะทำให้ สามารถจ้างนักนวัตกรได้  ซึ่งนักนวัตกรนี้จะได้รับคำแนะนำและการดูแลจากอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยเพื่อทำการวิจัยและหลังเสร็จสิ้นโครงการก็สามารถถูกจ้างต่อโดยหน่วยงานเอกชนที่รับทุนร่วมกัน รูปแบบการทำแบบงานนี้ถือเป็นต้นแบบของ KTP ที่ทำให้ศูนย์และ University of Essex ประสบความสำเร็จจนเป็นอันดับหนึ่งของสหราชอาณาจักรด้าน KTP

ต่อมา วันที่ 2 มี.ค.66 ทางคณะทำงานได้เข้าพบตัวแทนจาก University of Liverpool ณ เมือง Liverpool นำโดย Professor Steven Edwards ซึ่งท่านได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความสำเร็จในการทำหลักสูตรปริญญาเอกสองปริญญา (Dual Award Degree Program) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ความร่วมมือนั้นมีมานานกว่า 10 ปี โดย มีจุดเด่น ของความร่วมมือ คือ สามารถให้นักศึกษาไทยมาศึกษาใน University of Liverpool โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการศึกษา (Tuition fee) ให้แก่ University of Liverpool และการเทียบมาตรฐานต่าง ๆ ที่สามารถทำให้นักศึกษาสามารถได้รับปริญญาจากทั้งสองสถาบันตามกำหนด

ช่วงบ่าย วันที่ 2 มี.ค.66 ทางคณะทำงานได้เข้าพบตัวแทนจาก Liverpool John Moores University  ณ เมือง Liverpool  เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการศึกษา และงานวิจัย นำโดย Professor Laura Bishop คณบดีจากคณะวิทยาศาสตร์ โดย ทางคณะวิทยาศาสตร์นั้นมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport and Exercise Science) และเภสัชศาสตร์ (Pharmacy)

และวันที่ 3 มี.ค.66 ทางคณะทำงาน ได้พบปะกับตัวแทนคู่ความร่วมมือใน UK ณ British Council กรุงลอนดอน การจัดประชุมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ในสหราชอาณาจักรจำนวน 14 ท่าน จาก 10 มหาวิทยาลัยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการประชุมเชิงปฏิบัติการในการถอดบทเรียนและกำหนดทิศทางการดำเนินงานโครงการ Thai-UK Work Class Consortium ในระยะต่อไป  

ในที่ประชุม ได้ทบทวนผลลัพธ์การการดำเนินงาน Thai-UK World-class University Consortium ในปีแรก ที่มีผลลัพธ์เป็น MOU 9 ฉบับ, งานตีพิมพ์ 17 เรื่อง, การจัดประชุมวิชาการ 9 ครั้ง และ การได้ทุนวิจัย อีก 5 ทุน โดยมี อาจารย์และนักศึกษา ที่ได้มีส่วนร่วมจากโครงการนี้มากกว่า 500 ท่าน  ซึ่งทางที่ประชุมได้สรุปว่า ลักษณะผลงานดังกล่าวได้เป็นไปตามเป้าหมาย ของโครงการ  ในส่วนการถอดบทเรียนนั้น ทางคณะทำงาน ทั้งจากไทย และ สหราขอาณาจักร ได้กล่าวถึง ความสำคัญของโครงการ ในการเป็นตัวเชื่อม และ ตัวเร่งให้เกิดความร่วมมือ กับ มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหราชอาณาจักร ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ และนักศึกษา และ ดำเนินงานวิจัยร่วมกัน  โครงการยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนมีเสียงเรียกร้องให้มีการขยาย มหาวิทยาลัยเครือข่ายในความร่วมมือ  อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้สะท้อนความกังวล ถึงการดำเนินงานต่อเนื่องที่จำเป็นต้องการ การสนับสนุนจากแหล่งทุน จากไทย และ ต่างประเทศ 

ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรทำการสื่อสารกันภายใน Thai-UK World-class University Consortium ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือสำหรับสมาชิก และเสนอให้มีการทำ Newsletter เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ที่เกี่ยวข้องรวมถึง โอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ  และ ควรจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างโอกาสในการหารือความร่วมมือต่างๆ โดยจะใช้โอกาสที่ทางโครงการจะจัด Capacity building workshop ที่กรุงเทพฯ เป็นโอกาสให้สมาชิก Thai-UK World-class University Consortium มาพบปะกัน ซึ่งทางตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการ (secretariat) ได้รับไปประสานงานในทั้งสองประเด็นต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top