Friday, 19 April 2024
มิจฉาชีพ

‘เจ้ากระทรวงดีอี’ เผย ‘ลุงตู่’ กำชับชัด ต้องเร่งจับมิจฉาชีพแฮกบัญชีธนาคาร

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรณีผู้ถือบัตรเครดิตและบัตรเดบิตจำนวนมากประสบปัญหาในการชำระเงิน โดยที่ไม่ได้ทำธุรกรรมด้วยตนเองว่า ย้ำว่ากรณีนี้ไม่ได้เป็นการแฮก เพราะระบบธนาคารมีความมั่นคงปลอดภัย แต่ที่เกิดขึ้นมีการเอาข้อมูลเดบิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัญชีไม่รู้ อย่างไรก็ตามขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังติดตามสืบสวนสอบสวนว่ามาจากแหล่งใด ใครไปใช้ประโยชน์ และกำลังสืบสวนว่าเงินไปตัดที่แพลตฟอร์มใด เช่น เกมหรือช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี ส่วนเป็นการตัดเงินจากในประเทศหรือต่างประเทศนั้น เจ้าหน้าที่ก็กำลังตรวจสอบอยู่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีการใช้เงินออนไลน์และผ่านระบบดิจิทัลจำนวนมาก

ตร.ปทุมฯ รวบ! สาวแสบหลอกขายมือถือออนไลน์ ก่อนเชิดเงินหนี พบเงินหมุนเวียนในบัญชีกว่า 7 ล้านบาท

สถานีตำรวจภูธรสามโคก จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 แถลงจับกุมตัว นางสาวรุ้งไพลิน อินทรพัฒน์ อายุ 23 ปี  ที่อยู่ 390 ถนนคลองเรียน 1 ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงชลา ตามหมายจับ จำนวน 2 หมาย ดังนี้ 1.หมายจับศาลจังหวัดปทุมธานี ที่ 133/2564 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2564 ซึ่งต้องหากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง” และ 2.หมายจับศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ 330/2564 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ซึ่งต้องหากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง” โดยทางเจ้าหน้าที่ตามจับกุม นางสาวรุ้งไพลิน อินทรพัฒน์ อายุ 23ปี  ได้ที่จับกุม หน้าบ้านเลขที่ 429/6 ถนนธรรมนูญวิถี ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 เวลาประมาณ 14.30 น.ทางเจ้าหน้าที่จึงได้นำตัวมาที่ สถานีตำรวจภูธรสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ด้านพล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 กล่าว่า ตามนโยบายของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งการให้ระดมกวาดล้างอาชญากรรมที่สร้างความเดือดร้านให้แก่ประชาชนและเป็นภัยต่อสังคม โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งมีการหลอกลวงประชาชนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์(Social Media) เป็นจำนวนมาก ตำรวจภูธรภาค 1 ได้สั่งการให้กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 1 พร้อมชุดสืบสวน สภ.สามโคก ทำการสืบสวนจับกุม ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับ ผู้กระทำความผิด โดยการหลอกลวงประชาชน โดยใช้สื่อสังคมอนไลน์(Social Media )

กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 1 พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี และเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน สภ.สามโคก ได้ร่วมกันจับกุมตัว น.ส.รุ้งไพลิน อินทรพัฒน์ อายุ 23 ปี  ที่อยู่ 390 ถนนคลองเรียน 1 ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงชลา ตามหมายจับ จำนวน 2 หมาย ดังนี้

1.หมายจับศาลจังหวัดปทุมธานี ที่ 133/2564 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2564 ซึ่งต้องหากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง” และ

2.หมายจับศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ 330/2564 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ซึ่งต้องหากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง”

โดยทางเจ้าหน้าที่ตามจับกุม นางสาวรุ้งไพลิน อินทรพัฒน์ อายุ 23ปี จึงได้นำตัวมาที่ สถานีตำรวจภูธรสามโคก จังหวัดปทุมธานี พฤติการณ์ กล่าวคือ ก่อนเกิดเหตุ น.ส.รุ้งไพลิน อินทรพัฒน์ (ผู้ต้องหา) ได้ประกาศหลอกขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยี่ห้อไอโฟน รุ่น เอ็กซ์อาร์ (Iphone XR) สีดำ ขนาด 64 Gb ในราคาประมาณ 11,000-12,000 บาท ในแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรม(Instagram) ที่รับฝากขายสินค้าประเภทไอที ซึ่ง น.ส.รุ้งไพลินฯ ผู้ต้องหา ได้ลงรายละเอียดของข้อมูลสินค้าพร้อมข้อมูลการ ติดต่อซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน

โดยเมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อและสนใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ฯที่น.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา) ที่ประกาศเอกสารประชาสัมพันธ์หลอกขาย ผู้เสียหายจะไปติดต่อซื้อโทรศัพท์ฯกับน.ส.รุ้งไพลินฯผู้ต้องหาผ่านทางแอปพลิเคชั่นไลน์(Line)กับตัวน.ส.รุ้งไพลินฯผู้ต้องหา โดยระหว่างที่พูดคุยซื้อ-ขายกันอยู่นั้น น.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา) จะใช้กลอุบายสร้างความน่าเชื่อถือ ว่ามีสินค้าฯจริง และจะแถมอุปกรณ์เสริมจำนวนหลายรายการให้ ซึ่งสร้างความน่าเชื่อถือ และแรงจูงใจ ในการซื้อโทรศัพท์ฯให้กับผู้เสียหาย และเมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้ตกลงราคาซื้อ-ขายแล้วเรียบร้อยแล้ว น.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา) จะส่งบัญชีธนาคารของน.ส.รุ้งไพลินฯ ให้กับผู้เสียหายไว้สำหรับโอนเงินชำระค้าโทรศัพท์ฯ เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อ จึงโอนเงินให้กับน.ส.รุ้งไพลินฯผู้ต้องหาไป น.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา)ไม่ยอมส่งสินค้าโทรศัพท์ฯ ให้กับผู้เสียหาย และเมื่อผู้เสียหายได้ทวงถามน.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา) ก็ได้บ่ายเบี่ยงที่จะส่งสินค้า และจะบล็อกผู้เสียหายทันที จนไม่สามารถติดต่อตัวน.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา)ได้ ต่อมาผู้เสียหายจึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ดำเนินคดีกับน.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา) จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน และขออนุมัติหมายจับต่อศาลฯ ตามรายละเอียดข้างต้น เพื่อสืบสวนติดตามตัวน.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา) มาดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อมาวันที่ 22 ตุลาคม 2564 เวลาประมาณ 14.30 น. จากการสืบสวนจนทราบว่า น.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา) ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับฯ ได้หลบหนีมาพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 469/6 ถนนธรรมนูญวิถี ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงได้เดินทางไปตรวจสอบ เมื่อไปถึง และพบน.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา) ยืนอยู่บริเวณหน้าบ้านหลังดังกล่าว ทางเจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุม จึงได้เข้าไปแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ โดย น.ส.รุ้งไพลินฯ (ผู้ต้องหา) รับเป็นบุคคลตามหมายจับจริง และยังไม่เคยถูกจับกุมตามหมายจับในคดีนี้มาก่อน จากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุม จึงได้แจ้สิทธิ์และข้อกล่าวหา ตามหมายจับ ให้น.ส.รุ้งไพลินฯผู้ต้องหาทราบ ว่ากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง” ทางด้าน น.ส.รุ้งไพลินฯผู้ต้องหาทราบและเข้าใจดีแล้ว ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา

 

โฆษก ตร.เตือนภัย!! มิจฉาชีพ ปลอม LINE “หน่วยงานตำรวจ” หลอกโอนเงิน

8 พ.ย.64 พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจํานงค์ โฆษก ตร. เผยว่า จากกรณีมีประชาชนหลายรายแจ้งว่าได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จากบุคคลไม่ทราบชื่อซึ่งได้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรพนัสนิคม บุคคลดังกล่าวได้แจ้งต่อผู้ได้รับการติดต่อว่า จะให้ความดูแลและช่วยเหลืออำนวยความสะดวก เรื่องการชำระเงินค่าปรับตามใบสั่งและเรื่องคดีต่าง ๆ ได้ แต่ประชาชนผู้ได้รับการติดต่อจะต้องเข้าร่วมกลุ่มไลน์ Line Accout ชื่อ สภ.ภูธรพนัสนิคม หลอกลวงให้โอนเงินชำระค่าปรับ หลังจากได้รับเงินแล้ว ก็ไม่สามารถติดต่อได้ นั้น

โฆษก ตร. ขอแจ้งเตือนไปยังพี่น้องประชาชนว่า ไลน์ดังกล่าวนั้นไม่ใช่ของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสถานีตำรวจที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด ขอให้พี่น้องประชาชนอย่าได้หลงเชื่อกรอกข้อมูลกับไลน์ปลอมดังกล่าว เพราะว่าอาจจะถูกขบวนการปลอมไลน์ขโมยข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในทางที่เสียหายได้ และขอเตือนไปยังผู้ที่ร่วมขบวนการหลอกลวงทำไลน์ปลอมของสถานีตำรวจว่า การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความผิดตามกฎหมาย มีโทษหนักถึงขั้นจำคุก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ตร. แนะนำ!! “กำหนดวงเงินบัตร” ให้พอดีกับค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยงถูกสูบเงิน

วันที่ 13 ธ.ค. 2564 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น โดยทุกคนสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ด้วยระบบอินเทอร์เน็ต ของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อสินค้าและบริการ ที่มีการผูกบัตรเข้ากับเว็บไซต์ของร้านค้าหรือผู้ให้บริการต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการชำระเงิน เป็นจำนวนมาก

พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อไปอีกว่า การทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายให้กับพี่น้องประชาชนก็จริง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงในการถูกคนร้ายดักรับข้อมูลหมายเลขหน้าบัตร และหมายเลขรหัส CVV ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในการทำธุรกรรมของคนร้าย ทำให้เจ้าของบัตรมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียทรัพย์สินผ่านช่องทางบัตรดังกล่าว

เพื่อให้รู้เท่าทันมิจฉาชีพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก จึงขอแนะนำพี่น้องประชาชนถึงเทคนิคในการลดความเสี่ยง และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากบัตรเครดิต และบัตรเดบิต ดังนี้

1. ควรกำหนดวงเงินบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ให้พอดีกับค่าสินค้าและบริการ เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

2. ควรกำหนดวงเงินบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ไว้ที่ 0 บาท หรือระงับบัตรชั่วคราวผ่านแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ แล้วเปิดใช้งานหรือเพิ่มวงเงินเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องใช้บัตรในการชำระเงิน (ทั้งนี้ขึ้นกับเงื่อนไขการให้บริการของแต่ละธนาคาร ซึ่งอาจมีการจำกัดจำนวนครั้งในการปรับวงเงิน หรือระงับบัตรชั่วคราว)

3. ควรยกเลิกบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่ไม่ได้ใช้งาน โดยให้ถือบัตรเฉพาะเท่าที่จำเป็น เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบยอดธุรกรรมที่ผิดปกติ

4. หากต้องการผูกบัตรเครดิต/บัตรเดบิต กับร้านค้าหรือผู้ให้บริการเพื่อชำระยอดค่าบริการแบบตัดผ่านบัตรอัตโนมัติ ควรเลือกบัตรที่สามารถกำหนดวงเงิน หรือบัตรที่ต้องใช้การเติมเงินเข้าไปในบัตรก่อนจึงจะสามารถใช้ในการชำระเงินได้ เพราะจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกิดความจำเป็น

 

‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ เตือนภัย!! มิจฉาชีพ อ้างเป็นพนักงานบริษัทขนส่งสินค้า - เจ้าหน้าที่ Call Center - ส่ง SMS หลอกลวงข้อมูลส่วนตัว และให้โอนเงิน!!

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนประชาสัมพันธ์ภัยมิจฉาชีพที่หลอกลวงประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน SMS ไลน์ เฟซบุ๊ก หรือโทรศัพท์ผ่าน Call Center แสดงตนอ้างว่าเป็นพนักงานบริษัทขนส่งหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแจ้งว่ามีพัสดุผิดกฎหมายส่งมายังผู้รับหรือส่งพัสดุไปยังต่างประเทศซึ่งเกี่ยวข้องในการกระทำผิด ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ ยินยอมส่งข้อมูลส่วนตัวและโอนเงินไปให้ สร้างความเสียหายห้วงการแพร่ระบาดโควิด-19

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประชาชนเป็นปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำกิจกรรมหรือธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์หรือแอปพลิเคชันมากขึ้นแต่ในขณะเดียวกันเหล่ามิจฉาชีพได้อาศัยช่องว่างหลอกลวงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะต่าง ๆ  อาทิ ส่ง SMS ไลน์ เฟซบุ๊ก หรือโทรศัพท์ผ่านมือถือ ดังเช่นกรณีเมื่อเดือน พ.ย.64 ที่ผ่านมามิจฉาชีพแสดงตนว่าเป็นพนักงานบริษัทขนส่งหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โทรผ่านโทรศัพท์มือมาแจ้งกับผู้เสียหายว่ามีพัสดุที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายส่งมายังที่อยู่ของผู้รับและมีการส่งพัสดุไปต่างประเทศ โดยทางบริษัทและเจ้าหน้าที่ของภาครัฐจะขอเข้าไปทำการตรวจสอบและดำเนินคดีตามขั้นตอนกฎหมาย ทำให้ผู้เสียหายตกใจกลัวและหลงเชื่อ จึงยินยอมส่งข้อมูลส่วนตัวและโอนเงินไปยังบัญชีที่แก๊งมิจฉาชีพได้แจ้ง เพื่อให้ทำการตรวจสอบเงินดังกล่าว ต่อมาภายหลังผู้เสียหายจึงรู้ว่าตนนั้นถูกหลอก  ซึ่งในเบื้องต้นพบผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงในลักษณะเดียวกันในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศเกือบ 50 ราย  มูลค่าความเสียหายกว่า 17 ล้านบาท โดยผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายไว้แล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยประชาชนเกี่ยวภัยการจากการหลอกลวงของมิจฉาชีพในลักษณะดังกล่าว ซึ่งประชาชนอาจตกเป็นเหยื่อและเป็นการสร้างความเสียหายซ้ำเติมความเดือดร้อนห้วงการแพร่ระบาดโควิด-19 จึงได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรการและดำเนินการป้องกันปราบปรามตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างจริงจัง

พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลโดยสั่งการและกำชับไปยังหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องทุกพื้นที่ โดยเฉพาะกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ให้ทำการสืบสวนสอบสวน ปราบปราม กลุ่มมิจฉาชีพ สืบสวนขยายผลถึงเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างเด็ดขาดจริงจังต่อเนื่อง มีผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

การกระทำลักษณะดังกล่าวนอกจากจะเป็นการซ้ำเติมพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนกันอยู่แล้วยังเข้าข่ายความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและความผิดฐานฉ้อโกง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งในฐานความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายจะต้องเข้าร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนในท้องที่เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด

รองโฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝากประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชน ถึงแนวทางการป้องกันการถูกหลอกลวงผ่านแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันออนไลน์ SMS ไลน์ เฟซบุ๊ก หรือผ่านทางโทรศัพท์ ดังนี้

1.หากมีการกล่าวอ้างว่าท่านไปเกี่ยวข้องการกระทำผิด ให้ตั้งสติ อย่าพึ่งตื่นตระหนกและหลงเชื่อ

2.ทำการบันทึกข้อมูลการสนทนา ภาพหรือวิดีโอ ข้อมูลการโอนเงิน เอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการดำเนินคดี

3.หากมีการอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ โดยหลักจะไม่มีการให้โอนเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคลโดยเด็ดขาด

 

‘ตร.เตือน’ ระวัง!! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้ “หมายเรียกตำรวจปลอม” หลอกให้เหยื่อตกใจ โอนเงินมาให้มิจฉาชีพ!!

วันที่ 21 ธ.ค. 2564 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

ในช่วงที่ผ่านมาอาชญากรรมในรูปแบบของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ นอกจากจะแอบอ้างเป็นตำรวจหรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายแล้ว อ้างว่าบัญชีธนาคารของท่านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดหรือพัสดุที่ส่งไปต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ค้ามนุษย์ ฯลฯ ต้องโอนเงินในบัญชีธนาคารมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบไปถึงการปลอมหมายเรียกของพนักงานสอบสวน เพื่อใช้ทำให้เหยื่อเกิดความหวาดกลัวว่าจะถูกดำเนินคดี จึงหลงกลโอนเงินไปยังบัญชีมิจฉาชีพ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอประชาสัมพันธ์ไปยังพี่น้องประชาชน ถึงวิธีการตรวจสอบเบื้องต้น ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหมายเรียกของพนักงานสอบสวนจริงหรือไม่ ดังนี้

1. ชื่อ นามสกุล และที่อยู่ ที่ปรากฏบนหมายเรียกตรงกับชื่อ นามสกุล และที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของท่านหรือไม่

2. สถานีตำรวจหรือหน่วยงานที่ออกหมาย มีอยู่จริงหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้ที่ https://www.royalthaipolice.go.th/station.php

3. หมายเรียกของตำรวจ ไม่จำเป็นต้องมีตราประทับใด ๆ ปรากฏอยู่บนหน้าหมาย จะมีเพียงลายมือชื่อของพนักงานสอบสวนปรากฏอยู่บนหมายเท่านั้น

4.ตรวจสอบว่ามีพนักงานสอบสวนที่ลงลายมือชื่อ อยู่ที่หน่วยงานดังกล่าวจริงหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์สถานีตำรวจได้ที่ https://www.royalthaipolice.go.th/station.php และแอปพลิเคชัน “สมุดโทรศัพท์ตำรวจ”

5. เมื่อตรวจสอบกับหน่วยงานที่ออกหมายแล้วว่ามีพนักงานสอบสวนคนดังกล่าวจริง ให้ขอหมายเลขโทรศัพท์ของพนักงานสอบสวนเพื่อสอบถามรายละเอียดเบื้องต้นและนัดหมายวันเวลาในการเข้าพบพนักงานสอบสวน

6. ระมัดระวังการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ที่ปรากฏบนหน้าหมาย เพราะอาจเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของคนร้าย

 

ตร.เตือน!! โดนโทรทวงหนี้ “อ้างว่าเป็นผู้ค้ำประกัน” ถ้าไม่เคยค้ำ อย่าหลงเชื่อ!!

พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

สืบเนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนจากการโทรศัพท์มาทวงถามหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีถูกอ้างชื่อว่าเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ถูกข่มขู่ว่าหากไม่ใช้หนี้แทนผู้กู้ จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ติดเครดิตบูโร ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินได้ ฯลฯ โดยที่ไม่เคยรู้เรื่องการค้ำประกันดังกล่าวมาก่อน ซึ่งสาเหตุที่เจ้าหนี้รู้ถึงข้อมูล ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ของเรานั้น ก็มักเกิดจากการที่บุคคลที่มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเราบันทึกไว้ในรายชื่อผู้ติดต่อ ไปโหลดแอปพลิเคชันเงินกู้ และอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงรายชื่อผู้ติดต่อและหมายเลขโทรศัพท์นั่นเอง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอประชาสัมพันธ์มายังพี่น้องประชาชน หากได้รับโทรศัพท์อ้างว่าท่านได้ไปค้ำประกันเงินกู้ โดยที่ท่านไม่เคยทราบเรื่องดังกล่าว และไม่เคยลงลายมือชื่อค้ำประกันให้กับบุคคลตามที่ถูกกล่าวอ้าง ขอให้ท่านอย่าหลงเชื่อ ไม่ต้องชำระเงินค้ำประกันเงินกู้ตามที่มิจฉาชีพอ้างและไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับความเสียหายหรือถูกฟ้องร้อง หากท่านไม่เคยค้ำประกันให้บุคคลที่ถูกกล่าวอ้างจริง

พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดตั้งศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปน.ตร.)ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบหมายให้ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ

 

‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ เตือนภัย!! ช่วงเทศกาลหยุดยาว อาจมีมิจฉาชีพฉวยโอกาส “สร้างข่าวปลอม – เว็บไซต์ปลอม” เพื่อหลอกเอาทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนตัวของประชาชน!!

‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ เตือนภัย!! ช่วงเทศกาลหยุดยาว อาจมีมิจฉาชีพฉวยโอกาส “สร้างข่าวปลอม – เว็บไซต์ปลอม” เพื่อหลอกเอาทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนตัวของประชาชน!!

​พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยห้วงเทศกาลหยุดยาว อาจมีมิจฉาชีพฉวยโอกาสสร้างข่าวปลอมหรือจัดเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกเอาทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนตัวของประชาชน

​เนื่องด้วยปัจจุบันมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ประชาชนเข้าถึงโลกออนไลน์รวมถึง Application ต่าง ๆ ประกอบกับห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้มีการปรับเปลี่ยนใช้บริการผ่านโลกออนไลน์มากขึ้น โดยเหล่ามิจฉาชีพก็ได้อาศัยช่องว่างดังกล่าวสร้างกลอุบายในการหลอกลวงข้อมูลส่วนตัว หลอกให้โอนเงิน ดังกรณีในห้วงที่ผ่านจะพบว่ามีข่าวปลอมหลายเรื่องเกี่ยวกับการจัดโปรโมชั่นของขวัญสำหรับห้วงเทศกาลหยุดยาวปีใหม่ อาทิ รัฐบาลโอน 1,000 บาท ให้บัตรคนจนเป็นของขวัญขวัญปีใหม่กดจากตู้ใช้ได้ทันที , กรณีปรับเบี้ยยังชีพแจกเพิ่ม 2,000 บาท เป็นต้น โดยมิจฉาชีพสร้าง Link หลอกลวงให้คลิกเข้าไปเพื่อลวงเอาข้อมูลส่วนตัว หรือในบางครั้งก็ทำการติดต่อให้โอนเงินสำหรับค่าดำเนินการไปก่อน ซึ่งอาจสร้างความเสียหายในวงกว้างให้กับประชาชนก็เป็นได้

​พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ตระหนักถึงพิษภัยภัยจากการหลอกลวงของมิจฉาชีพในลักษณะดังกล่าว อันเป็นการสร้างความเสียหายซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนในห้วงการแพร่ระบาดโควิด-19 จึงได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรการและดำเนินการป้องกันปราบปรามตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างจริงจัง

​พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงภัยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมาโดยตลอด จึงได้สั่งการให้ บช.น.,ภ1-9,บช.ก.,บช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งดำเนินการสืบสวน ปราบปรามจับกุมและขยายผล ผู้กระทำความผิดในทุกรูปแบบ พร้อมทั้งเร่งทำการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ถึงพิษภัยบนโลกออนไลน์พร้อมแนวทางการป้องกันให้ประชาชนได้รับทราบต่อไป

​การกระทำลักษณะดังกล่าวนอกจากจะเป็นการซ้ำเติมประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนกันอยู่แล้วและยังเข้าข่ายความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและความผิดฐานฉ้อโกง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในฐานความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายจะต้องเข้าร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนในท้องที่ เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด รวมถึงเตรียมหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักฐานการโอนเงิน บันทึกการสนทนา รายการเดินบัญชีธนาคาร เป็นต้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินคดี

 

 

ตำรวจเตือนภัย ‘สมัครงานออนไลน์’ ระวังถูกหลอกเอาบัญชีไปโกงเงินผู้อื่น

10 ม.ค. 65 - พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีประชาชนตกเป็นเหยื่อคนร้ายนำบัญชีธนาคารจากที่สมัครงานทางออนไลน์ไปใช้ว่า พฤติการณ์ของคนร้ายเริ่มต้นจากการประกาศรับสมัครงานผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ อ้างว่าเป็นงานที่รายได้สูง สามารถทำงานจากที่บ้านได้ แค่เพียงมีคอมพิวเตอร์เท่านั้น ซึ่งหากสนใจสมัคร คนร้ายก็จะอธิบายรูปแบบของการทำงาน 

โดยงานดังกล่าวจะเป็นการรับโอนเงิน อ้างว่าเป็นตำแหน่งบัญชี รับเงินจากผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ เมื่อมีเงินเข้าบัญชี จะให้โอนเงินต่อไปยังบัญชีที่คนร้ายกำหนด และจะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินตามจำนวนครั้งที่ทำรายการ ซึ่งเงินที่เข้ามาในบัญชีจริงๆ แล้วเป็นเงินที่ได้จากการหลอกลวงผู้อื่นหรือได้มาจากการกระทำความผิด ส่งผลให้เจ้าของบัญชีถูกแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากเป็นเจ้าของบัญชีธนาคารที่ถูกใช้ในการกระทำความผิด

ตร. เตือน!! สมัครงานออนไลน์ ระวังถูกหลอกเอาบัญชีไปโกงผู้อื่น เสี่ยงถูกดำเนินคดี

วันที่ 10 ม.ค. 2565 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

ปัจจุบัน พบว่ามีพี่น้องประชาชนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของอาชญากร อย่างไม่รู้ตัวในรูปแบบของการสมัครงานทางออนไลน์ โดยขอให้นำบัญชีธนาคารของตนเองมาใช้ในการทำงาน สำหรับพฤติการณ์ของคนร้ายเริ่มต้นจาก การประกาศรับสมัครงานผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ อ้างว่าเป็นงานที่รายได้สูง สามารถทำงานจากที่บ้านได้ แค่เพียงมีคอมพิวเตอร์เท่านั้น ซึ่งหากสนใจสมัคร คนร้ายก็จะอธิบายรูปแบบของการทำงาน

โดยงานดังกล่าวจะเป็นการรับโอนเงิน อ้างว่าเป็นตำแหน่งบัญชี รับเงินจากผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ เมื่อมีเงินเข้าบัญชี จะให้โอนเงินต่อไปยังบัญชีที่คนร้ายกำหนด และจะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินตามจำนวนครั้งที่ทำรายการ ซึ่งเงินที่เข้ามาในบัญชีจริง ๆ แล้วเป็นเงินที่ได้จากการหลอกลวงผู้อื่นหรือได้มาจากการกระทำความผิด ส่งผลให้เจ้าของบัญชีถูกแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากเป็นเจ้าของบัญชีธนาคารที่ถูกใช้ในการกระทำความผิด

พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ได้กล่าวต่อไปอีกว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก จึงอยากจะประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้พี่น้องประชาชนโปรดใช้ความระมัดระวังในการสมัครงานผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์โดยใช้บัญชีธนาคารของท่านในการรับโอนเงินจากผู้อื่น เพราะท่านอาจ ตกเป็นเครื่องมือของคนร้ายในการหลอกลวงผู้อื่น หรือคนร้ายอาจนำบัญชีธนาคารของท่านไปใช้ในการกระทำความผิดอื่น เช่น ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกง การพนัน ยาเสพติด หรือการกระทำผิดกฎหมายอื่น ๆ เจ้าของบัญชีธนาคารอาจถูกดำเนินคดีอาญาได้ในกรณีดังต่อไปนี้

1.ในฐานะตัวการร่วมในการกระทำความผิด ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83

2.ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วน ของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top