Tuesday, 7 May 2024
Softpower

ชุดนักเรียนไทย เสน่ห์ดึงดูดเมียนมา 'อยากใส่-อยากเรียน' ผลลัพธ์แห่ง Soft Power ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่หมู่คนจีน

เราอาจจะเคยเห็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่แต่งตัวชุดนักเรียน ชุดนักศึกษา ตอนมาเที่ยวไทย จนกลายเป็นหนึ่งใน Soft Power ของไทยกันไปบ้างแล้ว

แต่ เอย่า ขอบอกเลยว่า ชุดนักเรียน-ชุดนักศึกษาไทย ไม่ได้บูมแค่ในหมู่คนจีนเท่านั้น หากแต่ยังเป็น Soft Power ที่ดังไกลมาถึงเมียนมาด้วยเช่นกัน

เอย่าขอยกเรื่องราว เช่นในปี พ.ศ. 2562 หลายปีก่อนที่ Soft Power ชุดนักเรียนจะเป็นที่รู้จักนั้น Han Lay ดารา และนางแบบสาวในเมียนมาก็เคยสวมชุดนักศึกษาไทยถ่ายแบบมาแล้ว  

หรือแม้เมื่อช่วงตุลาคมปีที่แล้ว (2565) May Thada Kyaw Phyu นางแบบวัยรุ่นที่ใครๆ รู้จักเธอในชื่อ Hillary Soe ก็สวมชุดนักเรียนไทยถ่ายแบบลงไอจีส่วนตัวของเธอ สร้างความฮือฮาให้แฟนคลับชาวไทยที่ติดตามเธออยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

แต่นอกจากเรื่องการสวมชุดเป็น Soft Power แล้ว ในทุกวันนี้สถาบันการศึกษาในไทยหลายแห่งเริ่มมีนักศึกษามาจากเมียนมาเข้ามาศึกษามากขึ้น ซึ่งต่างจากในอดีตที่นักศึกษาจากเมียนมาจะมาเรียนที่เอแบคหรือสถาบัน เอ ไอ ที หรือแม่ฟ้าหลวงเท่านั้น

ตำรวจภูธรภาค 5 จัดไหว้ครูมวยไทยยิ่งใหญ่ พร้อมยกระดับมวยไทยให้เป็น Soft Power

เมื่อวันที่ (7 เม.ย. 66) ที่ ลานประตูท่าแพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พลตำรวจโทปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บังคับบัญชา ตำรวจภูธรภาค 5 เป็นประธานพิธีไหว้ครูมวยไทย ตำรวจภูธรภาค 5 โดยมี ร้อยโทสมบัติ บัญชาเมฆ (บัวขาว) และครูมวยค่ายบัญชาเมฆ ร่วมพิธีไหว้ครูมวยไทยดังกล่าว 

พล.ต.ท.ปิยะ กล่าวว่า โครงการ ‘มวยไทย ตำรวจไทย มรดกไทย ตำรวจภูธรภาค 5’ ประจำปี 2566 จัดขึ้นตามโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้มีแนวคิดยกระดับมวยไทยให้เป็น Soft Power ที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีแนวคิดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมวยไทยในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับสากลทั่วโลก และ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.ได้สั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัดดำเนินการให้ได้ผลอย่างจริงจังในทุกตำรวจภูธรภาค

‘มาดามเดียร์’ กระทุ้งรัฐหนุนส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิง ชูนโยบายกองทุนไอเดียหมื่นล้านปั้น Soft Power ไทย

(12 เม.ย.66) น.ส.วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมือง กทม. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แชร์โพสต์ของ YOUNGOHM ศิลปินเจ้าเพลง ‘ธาตุทองซาวด์’ ที่กำลังเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ที่โพสต์ถึงความสำเร็จของเพลงนี้ที่ตัวเองลงทุนไปด้วยเงินส่วนตัว 1,200,000 บาทยังดังขนาดนี้ แล้วถ้าได้รับการสนับสนุนจากรัฐหรือคนไทยจะดังกว่านี้แค่ไหน ลงในเพจ ‘เดียร์ วทันยา บุนนาค’ มีเนื้อหา ระบุว่า…

“คนไทยไม่แพ้ชาติไหนในโลก!!! นอกจากแพ้กันเอง เบื่อแล้วที่ต้องนั่งดูคนที่มีความสามารถผลักดันตัวเองจนโด่งดัง แล้วสุดท้ายก็มานั่งเคลมว่าเป็นความภูมิใจของคนในชาติ”

‘ดร.นิว’ ชี้!! สงกรานต์นี่แหละ Soft Power ไทยสุดทรงเสน่ห์ สร้างชื่อให้เมืองไทย เป็นที่รู้จัก ชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลก

(15 เม.ย. 66) ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ‘ดร.นิว’ นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้โพสต์ข้อความถึงประเพณีสงกรานต์ที่ถือเป็นอีก Soft Power สำคัญ ช่วยทำให้ทั่วโลกรู้จักเมืองไทย และล่าสุดพระเอกซุปตาร์แห่งฮ่องกงอย่าง ‘หลิวเต๋อหัว’ ก็ยังมาร่วมประเพณีนี้ในแผ่นดินไทย หลังโลกโซเชียลแชร์สะพัดว่า “หล่ออมตะ” ผู้นี้ได้มาเยือนเมืองไทยในช่วงสงกรานต์ด้วย ว่า...

‘หมอมิยู’ ทันตแพทย์สาว คว้าสถิติโลก ในงานวิ่ง ‘ลอนดอนมาราธอน’  หลังวิ่งด้วยชุดไทยได้เร็วที่สุด ดัน Soft Power ชูชุดไทยสู่สากล

(23 เม.ย. 66) ทันตแพทย์สาวนักวิ่ง อยากเผยแพร่ Soft Power แฟชั่นไทย สวมชุดไทยเต็มยศวิ่งระยะ 42 กิโลเมตร ประกาศความงามชุดไทยให้โลกรู้ในลอนดอนมาราธอน ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 45 นาที คว้าสถิติโลกการวิ่งด้วยชุดไทยได้เร็วที่สุด

ข่าวดีจากประเทศอังกฤษ เมื่อวานนี้ (23 เม.ย. 66) เมื่อ ‘หมอยูมิ’ ทันตแพทย์หญิง ชรินญา กาญจนเสวี คุณหมอนักวิ่งชาวไทย ลงวิ่งในรายการ ‘ลอนดอนมาราธอน’ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 รายการวิ่งเมเจอร์ระดับโลก ในระยะมาราธอน (42.195 กิโลเมตร)

ความพิเศษของการวิ่งในครั้งนี้ อยู่ที่ หมอยูมิ เลือกที่จะแต่งชุดไทยแบบเต็มยศ มีทั้งรัดเกล้า สไบ โจงกระเบน รวมน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม พร้อมทั้งยื่นขอจดสถิติโลก Guinness World Records เป็นนักวิ่ง ‘Fastest Marathon dressed in Thai Traditional Dress’ หรือ นักวิ่งที่แต่งชุดไทยวิ่งมาราธอนได้เร็วที่สุด

‘กรณ์’ ยกพล ‘ชพก.’ เยือนร้อยเอ็ด ช่วย ‘เอม อภัสรา’ หาเสียง เล็งหนุนหมอลำโกอินเตอร์ ดันเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของไทย

(27 เม.ย. 66) นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า พร้อมด้วยนายปรีชญา ฉำมณี ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ 2 ผู้สมัคร ส.ส.จากจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ นางสาวนุจรีภรณ์ อินทะสร้อย ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 เบอร์ 5 และ นางสาวกมลวรรณ มณีศรี ผู้สมัคร ส.ส.เขต 3 เบอร์ 10 ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อช่วย น.ส.ดนิตา มาบุญธรรม หรือ ‘เอม อภัสรา’ หมอลำซอฟต์พาวเวอร์อีสานชื่อดัง ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 เบอร์ 5 พรรคชาติพัฒนากล้า จังหวัดร้อยเอ็ด หาเสียงในบริเวณ ตลาดหนองแคน อำเภอเมือง เพื่อพบปะ พ่อค้าแม่ค้า พี่น้องประชาชน ที่ให้การต้อนรับและให้กำลังใจกันอย่างคึกคักและต่างแสดงความชื่นชมนโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้า ที่เน้นแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง นอกจากนี้ชาวบ้านยังถามถึงจุดยืนเกี่ยวกับเงื่อนไขของการร่วมรัฐบาล ซึ่งนายกรณ์ได้ยืนยันว่าพรรคชาติพัฒนากล้าจะไม่ร่วมกับรัฐบาลเสียงข้างน้อย พรรคที่มีเสียงข้างมากต้องมีสิทธิ์ได้ตั้งรัฐบาลก่อน

จากนั้น คณะของนายกรณ์ และ เอม อภัสรา ได้เข้าร่วมเสวนากับคณะหมอลำชื่อดัง ได้แก่ หมอลำรัญจวน ดวงเด่น หมอลำสาธิต ทองจันทร์ หมอลำพิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย ในหัวข้อ ‘หมอลำสู่เวทีโลก’ ณ หอประชุมวิทยาลัยนาฏศิลป์จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเอม อาภัสรา กล่าวว่า หมอลำถือเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสาน ที่สามารถผลักดันให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทยได้ เนื่องจากปัจจุบัน วัยรุ่นหันมานิยมดูหมอลำกันมากขึ้น ส่วนหนี่งมาจากการปรับตัวของหมอลำเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย นอกจากนี้หมอลำ ยังช่วยกระจายรายได้ให้กับชุมชนในรูปแบบของ ช่างทำผม ช่างแต่งหน้า ช่างเย็บชุด คนทำพิธีประกอบฉาก คนแต่งเพลง หมอลำชื่อดังหนึ่งคนในอีสาน สามารถกระจายเม็ดเงินเศรษฐกิจให้คนในชุมชน

ต่อมาในช่วงเย็น นายกรณ์ ได้ขึ้นเวทีปราศรัย ณ สนามลานสาเกตุ สวนศรี (หอโหวด) โดยนายกรณ์ กล่าวว่า พิษภัยที่มีต่อบ้านเมืองของเราในยุคนี้สมัยนี้คือทุนผูกขาด  และว่าในการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้วพี่น้องประชาชนจำนวนมาก ตัดสินใจว่าจะเลือกอยู่ฝ่ายไหน ตามความคิดทางการเมือง อารมณ์ ความรู้สึกตอนนั้นคือเลือกที่จะต่อสู้กับกลุ่มที่ประชาชนมองว่าเป็นเผด็จการ แต่วันนี้สิ่งที่ท้าทายและเป็นอุปสรรคต่อชีวิตความประชาชนมากที่สุดมันยังเป็นประเด็นการเมืองแบบนั้นหรือไม่ โดยส่วนตัวตนมองว่าเป็นเรื่องเก่าแล้ว วันนี้สาเหตุที่ของแพง ขายของลำบาก ลูกหลานไม่มีโอกาสมีงานดีทำ เป็นเพราะทุนผูกขาดเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ

‘รัฐบาล’ ยกระดับ Soft Power ไทย ดัน ‘16 เทศกาลไทย’ สู่เวทีสากล ดึงดูด นทท. สร้างรายได้ให้ชุมชน

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งส่งเสริมฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน สร้างรายได้แก่ประชาชน ผ่านการคัดเลือกเทศกาลประเพณีทั่วประเทศที่โดดเด่น เพื่อยกระดับเทศกาลประเพณีไทย (Festival) ไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ 

โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินตามนโยบายของรัฐบาล ในการขับเคลื่อน Soft Power ของไทยที่มีศักยภาพ หรือ 5F (Food, Fight, Film, Fashion, Festival) โดยแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการคัดเลือกเทศกาลประเพณีของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 16 ประเภท ซึ่งทั้ง 16 เทศกาลประเพณีที่ได้รับการคัดเลือก ล้วนมีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ แสดงออกถึงวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถนำมาพัฒนาต่อยอด ส่งเสริมการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และเผยแพร่ประเพณีของไทยให้เป็นที่รู้จัก ดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้แก่ชุมชนและประเทศชาติ

‘สุรพงษ์’ ชู ดันอุตฯ หนังไทย เป็น soft power สู่เวทีโลก ใช้ศักยภาพดึงดูดนักลงทุน-สร้างรายได้ นำพาประเทศพ้นความจน

(4 พ.ค. 66) นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ตัวแทนพรรคเพื่อไทย กล่าวบนเวทีรับฟังปัญหาและแสดงวิสัยทัศน์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ที่ห้องออดิทอเรี่ยม ชั้น 5 Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถึงแนวทางให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยว่า วงการภาพยนตร์ไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว แต่รัฐฯ ต้องเข้าไปช่วยพัฒนาในส่วนของ 4M คือ man (ทรัพยากรมนุษย์), money (เงินทุน), management (การบริการจัดการ) และ material (วัตถุดิบ)

นายสุรพงษ์ขยายความว่า ปัญหาด้านการบริหารจัดการ พรรคเพื่อไทยมีแนวคิดที่จะตั้ง ‘Thailand Creative Public Agency’ ขึ้นมา เป็นองค์กรที่แยกออกจากส่วนราชการ เพื่อให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและต่อเนื่อง มี พ.ร.บ. รองรับ เพื่อให้มีอำนาจและงบประมาณที่ชัดเจน ที่สำคัญองค์กรดังกล่าวจะต้องได้รับความสำคัญจากรัฐบาล และมีตัวแทนของภาคเอกชนเข้าไปร่วมขับเคลื่อน เช่น สนับสนุนให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยน สร้างองค์ความรู้ เช่าโรงภาพยนตร์เพื่อฉายภาพยนตร์ไทยทุกจังหวัด

ส่วนปัญหาเรื่องเงินทุนและทรัพยากรมนุษย์นั้น สุรพงษ์กล่าวว่า แก้ไขได้ด้วยการผลักดันให้โกอินเตอร์เพื่อดึงดูดทุนจากต่างประเทศเข้ามา ทุนจะดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาด้วยค่าตอบแทนและสวัสดิการที่สมเหตุสมผล นอกจากนี้พรรคเพื่อไทยยังมีแนวคิดว่า วัตถุดิบอย่างบทภาพยนตร์ควรถูกนำมาตีมูลค่าเป็นทรัพย์สิน เพื่อให้นำไปใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจการเงินต่าง ๆ ได้ 

“ทั้งนี้ทั้งนั้น คนที่ขึ้นมาเป็นรัฐบาลต้องมีความเจตจำนงทางการเมือง นายกรัฐมนตรีต้องสนใจและทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง ลำพังรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมแก้ปัญหาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยไม่ได้” นายสุรพงษ์ เสริม


ที่มา : https://www.facebook.com/pheuthaiparty/posts/pfbid0s6F3Aw9HhniVppJqhwCmaW4Bh7VSRuUHnSc39jovkktKzRGh1L3WSHci7U9FqZY7l

‘กระเป๋าย่านลิเภา’ ในสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี งานหัตถศิลป์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระพันปีหลวง

(8 พ.ค. 66) ภายหลังจาก ‘พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว’ และ ‘สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี’ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักรตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

มีอีกสิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึง นอกเหนือพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นสิ่งที่หัวข้อสนทนาและถกถามกันในหมู่ชาวต่างชาติ นั่นก็คือ ‘กระเป๋าทรงถือ’ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี ทรงเลือกถือ นั่นเอง

เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีชาวอังกฤษได้เขียนโพสต์ลงในทวิตเตอร์ระบุว่า "That purse is fabulous. Anyone know who made it?" มีความหมายประมาณว่า ‘กระเป๋าใบนั้นช่างสวยเลิศเหลือเชื่อ ใครก็ได้บอกหน่อยว่าใครทำ’ 

หลังจากนั้นก็มีชาวไทยหลายคนเข้าไปตอบข้อความนั้น โดยสรุปในความรวมได้ว่า ‘กระเป๋าทรงถือ’ ของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี เป็นงานหัตถกรรมจากย่านลิเภา งานหัตถศิลป์ฝีมือคนไทยจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ต่อมาเพจเฟซบุ๊ก ‘มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ’ ได้โพสต์ข้อความอธิบายเกี่ยวกับ ‘กระเป๋าย่านลิเภา’ โดยระบุว่า…

“กระเป๋าย่านลิเภา คือ เครื่องจักสานชนิดหนึ่งที่สานโดยเส้นย่านลิเภาซึ่งเป็นพืชในสกุลเฟิร์นหรือไม้เถาชนิดหนึ่ง (ไม้เถาเรียกย่านลิเภาในภาษาปักษ์ใต้) ส่วนใหญ่พบในป่าทางภาคใต้ของประเทศไทย เส้นย่านลิเภา มีความเหนียวทนทานเหมาะที่จะทำกระเป๋า

ซึ่งกว่าเราจะได้ผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาแต่ละชิ้นนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย เพราะต้องใช้ความอดทนบวกกับทักษะฝีมือ ถือเป็นงานหัตถกรรมที่มีกรรมวิธียุ่งยากซับซ้อนไม่แพ้งานหัตถกรรมชนิดอื่น

#มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ #จักสาน #ย่านลิเภา”

ทางด้านผู้ใช้เพจ ‘ดร ณัชร สยามวาลา Nash Siamwalla, PhD’ ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงประเด็นนี้เช่นกัน โดยระบุว่า...

“😍🙏 เห็นแล้วนึกถึงตอนเด็ก ที่ทันเห็นสมเด็จพระพันปีหลวงทรงพระราชทานคำแนะนำช่วยชาวบ้านนำกระเป๋าย่านลิเภานี้สู่สายตาชาวโลกครับ ตอนนั้นเป็นวันเฉลิมฯ 12 ส.ค. ที่ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทต่อมหาสมาคมที่เข้าไปถวายพระพรที่ตำหนักดุสิตาลัย คุณหญิงย่าเข้าเฝ้าฯ ด้วยจำแม่นเลยเห็นในถ่ายทอดสด พระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรมีมากมายจาระไนไม่หมด เห็นมากับตา สัมผัสมาด้วยตนเอง 😊🙏❤️”

‘บิ๊กตู่’  ปลื้ม!! อาหารไทย ติดอันดับ 4 อาหารต่างถิ่นยอดนิยม มั่นใจ!! เป็น soft power ชูเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล

(27 พ.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบและยินดีกับอาหารไทย ได้รับการชื่นชมว่าเป็นผู้นำด้านอาหารในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และติดอันดับ 4 ของอาหารต่างถิ่นยอดนิยมของชาวจีน รองจากอาหารตะวันตก อาหารญี่ปุ่น และอาหารเกาหลี จากรายงานการจัดอันดับร้านอาหารห้ามพลาดประจำปี 2565 ของเว็บไซต์ ‘เตี่ยนผิง’ (dianping) ซึ่งเป็นเว็บไซต์นำเสนอไลฟ์สไตล์คนเมืองในจีน สะท้อนความสำเร็จของเอกลักษณ์วัฒนธรรมอาหารไทย ที่ได้รับการยอมรับต่อเนื่อง สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสอดรับกับการขับเคลื่อนนโยบาย ‘ครัวไทยสู่ครัวโลก’

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากข้อมูลระบุว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จำนวนร้านอาหารไทยในปักกิ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า มีขนาดทั้งเล็กและใหญ่กระจายตัวอยู่ทั่วเมือง และเสิร์ฟอาหารไทยสารพัดเมนู ตั้งแต่ตำรับชาววังจนถึงสตรีทฟู้ด โดยเฉพาะเมนูต้มยำกุ้ง ซึ่งสำนักข่าวซินหัว (Xinhua) ได้เปิดเผยบทสัมภาษณ์ของคุณสุขุมาล ตู้ คนไทยที่ได้เปิดธุรกิจร้านอาหารไทยในเขตทงโจว กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนมากว่า 20 ปี ทั้งร้านในชื่อ ‘ครัวคุณแม่’ และ ‘สองพี่น้อง’ รวมถึงล่าสุด ‘นกเอี้ยงและควาย’ (Bird & Buffalo) ซึ่งได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT จากกระทรวงพาณิชย์ เมื่อปลายปี 2022 เพื่อยืนยันว่า การประกอบอาหาร วัตถุดิบ และรสชาติของร้านนี้มีความ ‘ไทยแท้’ โดยคุณสุขุมาล กล่าวว่า มีลูกค้าแวะเวียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยบางวันมีลูกค้าเข้ามาที่ร้านมากกว่า 50 โต๊ะ แม้ที่ตั้งร้านจะไกลจากใจกลางเมืองปักกิ่ง อีกทั้งยังเคยมีลูกค้าขับรถมาไกลกว่า 60 กิโลเมตร เนื่องจากอยากรับประทานต้มยำกุ้ง รวมทั้งยังซื้อน้ำซุปต้มยำกลับบ้านอีก 5 กิโลกรัมด้วย

นายอนุชา กล่าวว่า การค้าและการแลกเปลี่ยนระหว่างไทยและจีนยังมีพัฒนาการต่อเนื่อง ด้วยอานิสงส์จากแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) โดยชาวจีนสนใจอาหารไทยเพิ่มขึ้น ไปจนถึงการแวะเช็กอินร้านอาหารไทยและซื้อวัตถุดิบกลับไปทำกับข้าวด้วยตนเองที่บ้าน เนื่องจากปัจจุบันสามารถหาวัตถุดิบอาหารไทยในจีนได้สะดวก ทำให้สามารถฝึกทำอาหารไทยที่บ้านได้ ประกอบกับความเชื่อมั่นจากการให้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT จากหน่วยงานไทย ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคตามคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ว่า ร้านอาหารดังกล่าว จะต้องใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ร้านมีความสะอาด ถูกสุขอนามัย บรรยากาศภายในร้านสะท้อนความเป็นไทย รวมถึงเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการร้านอาหารไทยเพื่อยกระดับคุณภาพร้านอาหารให้มีมาตรฐาน สร้างโอกาสทางการตลาดให้เป็นที่รับรู้ในหมู่ผู้บริโภคอีกด้วย

“นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าอาหารไทยจะเป็นอีก Soft power สำคัญในการเผยแพร่ความนิยมของเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยผ่านมิติด้านอาหาร โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญโดยไทยมีความได้เปรียบจากการเป็นผู้ผลิตและส่งออกวัตถุดิบต่าง ๆ สอดรับกับนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกของไทยซึ่งรัฐบาลผลักดันมาโดยตลอด เป็นการขยายโอกาสทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการไทย ทั้งการสนับสนุนธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ตลอดจนการผลิตและส่งออกวัตถุดิบของไทยให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงผู้บริโภคในแต่ละประเทศมากขึ้น” นายอนุชา กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top