Sunday, 28 April 2024
PoliticsTeaTimes

เกมบีบตู่!! ขับ ‘ธรรมนัส’ พ้นจากพรรค สถานะ ส.ส. ที่ยังอยู่ ต่อรองได้ยาวๆ 

เกมนี้ไม่มีผลประโยชน์ประเทศ หรือผลประโยชน์ของฟากฝั่งใด มีแต่ประโยชน์ส่วนตนล้วนๆ

รอยต่อการเมืองไทยต่อจากนี้น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพรรคพลังประชารัฐ มีการลงมติ ขับร้อยเอกธรรมนัส และ สส. อีก 20 คน รวมเป็น 21 คน ให้พ้นจากสมาชิกพรรค ด้วย 3 สาเหตุหลัก คือ ตัวบุคคลผิดวินัยร้ายแรง ผิดจรรยาบรรณร้ายแรง ทำให้พรรคบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ และเพื่อแก้ไขความขัดแย้งภายในพรรค

โดยตลอดช่วงเย็นวาน (19 ม.ค. 65) มีกระแสข่าวลือสะพัดว่า ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า จะนำทีม สส. ลาออกจากพรรค ขณะที่มีกระแสว่า ทางร้อยเอกธรรมนัสเอง จะใช้เรื่องนี้ต่อรองกับทางพรรค เพื่อต้องการให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี อีกทั้งยังขอตำแหน่งรัฐมนตรี 1 ตำแหน่ง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เพื่อแลกกับจำนวน ส.ส. ในมือกว่า 20 คน ที่จะยอมยกมือเป็นองค์ประชุมในสภาให้

กระทั่งในช่วงเย็นวานนี้ มีการเรียกประชุมด่วน กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ที่มูลนิธิป่ารอยต่อ ซึ่งมีรายงานว่า การประชุมครั้งนี้กินเวลาตั้งแต่ช่วง 17.00 น. ไปจนถึง 20.30 น. จึงเลิกประชุม ขณะที่ผู้สื่อข่าวก็ไปเกาะติดรอกันที่พรรคพลังประชารัฐ ว่าผลการประชุมจะเป็นอย่างไร แต่สุดท้ายไม่มีการแถลงข่าว 

ทั้งนี้ยังมีรายงานข่าวว่า ในที่ประชุม พลเอกประวิตร ถึงขั้นแจ้งต่อที่ประชุมว่า “ยอม ๆ ไปเถอะ ถ้าอยากออกก็ให้ออกไป จะได้สงบ พรรคจะได้เดินต่อ”, “และเรื่องนี้ได้คุยกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว” 

ทั้งนี้ เงื่อนไขในการให้ขับออก เพราะร้อยเอกธรรมนัสขอโควตา รัฐมนตรีที่ว่างลง 2 ตำแหน่ง แต่คาดว่าจะไม่ใช่รัฐมนตรีช่วยฯ เพราะเล็งไปที่ตำแหน่งรัฐมนตรีเลย เนื่องจากมีเสียง ส.ส. ในมือถึง 21 คน ซึ่งเรื่องนี้ร้อยเอกธรรมนัสก็คงทราบดีว่า บิ๊กตู่ไม่น่าจะยอม จึงต่อรองหวังให้ทางพรรคมีมติขับออกจากพรรค เพราะถ้าลาออกเอง จะพ้นสถานะ ส.ส. ทันที และยังต้องไปเลือกตั้งซ่อมกันใหม่สิ้นเปลืองงบประมาณ 

เรื่องนี้หากมองดูผิวเผิน เหมือนเป็นเกมเขี่ยอดีตรัฐมนตรีแป้ง แต่ไม่ว่าผลจะเป็นลาออกยกทีมของธรรมนัส หรือถูกขับออกจากพรรคในช่วงเวลานี้ ก็ไม่อาจเป็นผลดีต่อรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้เชื่อว่าทุกฝ่ายก็คงรู้ เพราะอย่างที่บอก ไหนจะสิ้นเปลืองงบประมาณเลือกตั้ง ไหนจะต้องมีการเลือกตั้งซ่อมทีเดียวร่วม 20 เขต ซึ่งเป็นไปได้ยาก 

เปิดเอกสารลับสหรัฐฯ กรณี ‘บลูไดมอนด์’ แค่เรื่องลวงรายปีจากก๊วนล้มสถาบันฯ

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการพบหลักฐานชิ้นสำคัญ ที่ตอกย้ำข้อเท็จจริงว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไม่ได้เกี่ยวข้อง และมิได้ทรงครอบครอง ‘เพชรบลูไดมอนด์’ ของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียตามที่กล่าวหากัน โดยเฟซบุ๊กเพจ ‘ฤๅ - Lue History’ ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า…

แทบทุกปีจะมีข่าวลือเดิมๆ กุขึ้นว่า เพชรที่สมเด็จพระพันปีหลวง ทรงสวมใส่ คือ ‘เพชรสีน้ำเงิน’ หรือที่เรารู้จักในชื่อ ‘บลูไดมอนด์’ (Blue Diamond) ซึ่งเป็นสมบัติที่ถูกขโมยมาจากราชวงศ์ไฟซาลแห่งซาอุดีอาระเบีย กลายเป็นชนวนเหตุให้เกิดความบาดหมางขึ้นระหว่างซาอุดีอาระเบียและประเทศไทย

แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว มันเป็นแค่วงจรข่าวลือที่ยังคงหมุนเปลี่ยนวนเวียนกลับมาอยู่เรื่อยๆ จากพวก ‘กลุ่มต่อต้านราชวงศ์’ ที่คอยล้างสมองคนรุ่นใหม่ให้หลงเชื่อ เพื่อหวังผลเดิมๆ คือ ‘ทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์’

ทั้งนี้ ข่าวลือที่ว่า สมเด็จพระพันปีหลวง ทรงครอบครองเพชรซาอุฯ (บลูไดมอนด์) ปัจจุบันได้รับการ ‘พิสูจน์’ แล้วว่าเป็นเรื่องโกหกแทบทั้งสิ้น เช่น การนำภาพของสมเด็จพระพันปีหลวง ที่ทรงสวมใส่เครื่องประดับอัญมณีสีน้ำเงินภาพหนึ่ง มาใส่คำบรรยายว่า คือ ‘เพชรบลูไดมอนด์’ ของราชวงศ์ซาอุฯ ที่หายไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 แต่ต่อมาเมื่อมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียดแล้ว พบว่า...

>> เครื่องประดับอัญมณีนั้นไม่ใช่เพชร แต่เป็น ‘ไพลิน’ ซึ่งได้รับการตกทอดมาในราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

>> ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวได้ถ่ายไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนคดีเพชรซาอุฯ เกือบ 30 ปี

ดังนั้น ภาพดังกล่าว จึงเป็นการใส่ร้ายโจมตีสมเด็จพระพันปีหลวงด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ แถมยังถูกนำมาเผยแพร่ส่งต่อในโลกออนไลน์ทุกๆ ปี

แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ได้ปรากฏเอกสารลับ (โทรเลข) จากสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย เรื่อง ‘คำสาปแห่งเพชรบลูไดมอนด์’ (THE CURSE OF THE BLUE DIAMOND) ที่ระบุชัดว่า ‘กลุ่มต่อต้านราชวงศ์’ อยู่เบื้องหลังการปล่อยข่าวลือว่า สมเด็จพระพันปีหลวงทรงครอบครอง ‘เพชรบลูไดมอนด์’ ของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย

‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ นักบริหารมืออาชีพ ตัวจริงข้างรัฐบาลลุงตู่

นับตั้งแต่การก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐเมื่อปลายปี 2561 จนถึงวันนี้ ตัวละครในพรรคพลังประชารัฐเปลี่ยนโฉมหน้าไปหลายคำรบ ตั้งแต่ผู้บริหารพรรคยันไปจนถึง ส.ส. เหตุเพราะตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา พรรคพลังประชารัฐ ต้องเผชิญกับปัญหาภายในพรรคมาอย่างต่อเนื่อง 

แน่นอนว่า หนึ่งในภาพใหญ่ที่คอการเมืองคงจำได้ดี นั่นคือ กลุ่ม ‘4 กุมาร’ ภายใต้การนำของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ กลุ่ม อดีต กปปส. ที่ต้องคำพิพากษา จนต้องตัดสินใจหันหลัง ออกจากพรรคไป ทั้งที่เป็นกลุ่มที่ตั้งพรรคมากับมือ แต่สัมพันธภาพของ 4 กุมาร และ ‘สุริยะ’ ก็ไม่ได้ขัดแย้งกันแต่อย่างใด ทุกอย่างยังคงเหนียวแน่น เป็นการออกกันไปเองของ 4 กุมาร และตอนนี้ก็มีพรรคสร้างอนาคตไทย เป็นเรื่องเป็นราวแล้ว

อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ของเหล่าคีย์แมนหลักอย่าง ‘นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รมว.อุตสาหกรรม, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม และ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ดูจะไม่ได้กระเทือนอย่างที่ใครคาดคิด เพียงแต่ดุลอำนาจจากกลุ่มสามมิตรที่เสียไป อาจจะสั่นคลอนไปบ้าง สังเกตได้จากกรณี นายอนุชา นาคาศัย ถูก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า กระชากเก้าอี้ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ไปแบบต่อหน้าต่อตา 

ขณะเดียวกันความขัดแย้งระหว่างสามมิตรกับธรรมนัส ที่ยังคงดูจะยังคุกรุ่นต่อเนื่อง จนถึงขั้นมีข่าวลือหนาหูว่าสามมิตร จะหวนกลับไปซบรังเก่า ‘พรรคเพื่อไทย’ พลันให้แกนหลักอย่าง ‘สุริยะ’ ต้องรีบออกมาสยบข่าวลือว่า ‘กลุ่มสามมิตรจะยังอยู่กับ พปชร. ต่อไป ไม่ย้ายซบเพื่อไทยแน่นอน’

แต่ถึงกระนั้น ภายหลังก๊วน ส.ส. กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส ถูกขับออกจากพรรคเมื่อ 19 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา กูรูการเมืองต่างก็วิเคราะห์กันว่า ‘กลุ่มสามมิตร’ จะกลับมาพาวเวอร์ฟูล ในพลังประชารัฐอีกครั้ง หากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันที่จะนำรัฐนาวาแห่งนี้แล่นไปถึงฝั่ง (อยู่ครบเทอม) เพราะ ส.ส.ที่อยู่ในกลุ่มนี้ราว 30 คน ล้วนเป็นฐานเสียงสำคัญที่จะช่วยประคองขาเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ไม่ให้หักก่อนเวลาอันควร

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่การมโน เพราะหากตรวจแนวรบของสามมิตร โดยมี ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ ค้ำยันเป็นคีย์แมนหลักแล้ว ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่า โอกาสที่สถานการณ์ความขัดแย้งภายในพรรคพลังประชารัฐจะหมดสิ้น รวมไปถึงการทำงานกับพรรคร่วมรัฐบาลต่างๆ น่าจะเดินหน้าไปด้วยกันได้ดี

เหตุที่กล่าวเช่นนี้ นั่นเพราะ ในยุทธจักรการเมืองไทย ‘สุริยะ’ ถือเป็น ‘นักการเมืองที่ไม่ค่อยมีภาพความขัดแย้ง’ และที่สำคัญสามารถทำงานได้กับทุกฝ่ายทุกก๊วน 

'โบว์ - ณัฏฐา' ชี้ ขายออนไลน์แล้วปากจัด เป็นหนึ่งใน 'การสร้างความบันเทิง' ท้ายสุด 'คุณภาพสินค้า' ก็ต้องมาก่อนเป็นที่หนึ่ง

ขายออนไลน์ต้องปากจัด ?

เหตุใดการค้าขายออนไลน์ในสมัยนี้ เหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ขายถึงมักงัด ‘ฝีปาก+ท่าทาง’ หรืออาจจะถึงขั้นทำพฤติกรรมถ่อยๆ ผ่านหน้าจอโซเชียลกันมากขึ้น 

เราจะเริ่มเห็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนหลายกลุ่ม เริ่มขายไปด่าไป บางรายหนักไปจนถึงขั้นท้าลูกค้าตบ แต่เรื่องน่าแปลก คือ แม้ว่าท่าทางและถ้อยคำที่ไม่สุภาพเหล่านั้นจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าอภิรมย์ แต่กลับกันดันมีกลุ่มนิยมและทำให้สินค้า ‘ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า’ 

เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย เกิดอะไรขึ้นกับวัฒนธรรมการค้าขาย และการเสพติดของคนในโซเชียลกันแน่?

เกี่ยวกับประเด็นนี้ ‘คุณโบว์-ณัฏฐา มหัทธนา’ ได้ให้ความเห็นไว้ผ่านรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’ ว่า…

“การค้าขายในลักษณะนี้ หากมองในหลากหลายมิติ โดยเลือกมองในมิติที่ตื้นสุดแล้ว จะพบว่า การค้าขายเหล่านี้ คือ ‘การสร้างความบันเทิง’ อย่างหนึ่งให้กับผู้รับชม

“มิติต่อมา คือ ‘นี่เป็นของแปลก’ เพราะหากมองย้อนไปการค้าขายในรูปแบบก่อนๆ  ผู้ค้าขายมักจะประพฤติตนด้วยความสุภาพ ให้เกียรติลูกค้า พร้อมตั้งใจบรรยายสรรพคุณต่างๆ แต่พอเป็นสมัยนี้ การค้าขายเปลี่ยนรูปแบบการขายไปด่าไป หรืออาจใช้การแต่งตัวเข้าช่วย ก็ทำให้คนรู้สึกว่าแปลกใหม่ จึงสร้างความสนใจให้กันคน 

'โบว์ ณัฏฐา' แสดงมุมมองต่อกรณี นักแสดงสาว 'แตงโมนิดา' จมน้ำเสียชีวิต พร้อมเตือนสติสื่อ อย่า 'โยนขยะเข้าสู่สังคม' แล้วหวังให้ชาวบ้านใช้วิจารณญาณ

จากกรณี ‘แตงโม นิดา’ หรือ ‘ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์’ อายุ 38 ปี ดารานักแสดงสาวชื่อดังที่พลัดตกแม่น้ำเจ้าพระยาจมหายไป ขณะล่องเรือสปีดโบ๊ตไปเที่ยวกับกลุ่มเพื่อนชาย-หญิง รวม 6 คน กว่า 38 ชั่วโมง จนกระทั่งพบร่างของนักแสดงสาวลอยขึ้นมาใกล้กับโป๊ะเรือในจุดที่จมหายไป ซึ่งกรณีนี้ก็ได้กลายเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้าง และในเกือบทุกแวดวง ซึ่งรวมไปถึงวงการกฎหมายนั้น

ทางด้าน ‘คุณโบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ได้ให้ความเห็นในมุมมองที่น่าสนใจ ผ่านรายการ MEET THE STATES TIMES เดอะ ดีเบต โดยยกกรณีของดาราสาวมาเป็นบทเรียนว่า...

“โบว์ ได้มีโอกาสฟังข่าววิทยุ โดยได้มีสื่อไปสัมภาษณ์ทนายความท่านหนึ่ง ซึ่งบางทีรายการข่าวชอบโทรสัมภาษณ์ทนายเวลาที่มีเคสอะไรขึ้นมา เหมือนเป็นแหล่งอ้างอิง แล้วก็จะใช้ทนายซ้ำๆ อยู่ไม่กี่คน 

“แต่ประเด็น คือ การตอบคำถามของทนายบางครั้งจะเกินเลยไป จนเป็นการสร้างจำเลยสังคมขึ้นมา ซึ่งโบว์บอกเลยในฐานะที่พอรู้กฎหมายบ้าง ถ้าคุณไปถามทนาย 10 คน บางทีก็ตอบไม่เหมือนกันหรอก อีกทั้งความรู้ก็ไม่เท่ากัน อคติต่อแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน แล้วก็ความเชี่ยวชาญต่างกัน”

“ดังนั้นเรื่องนี้ที่ยกขึ้นมาพูดในวันนี้ เพราะอยากจะแนะนำสื่อตรงๆ ว่า ไม่ควรไปยึดทนายคนใดคนหนึ่งมาเป็นสรณะ แล้วชี้นำสังคมผ่านการสัมภาษณ์แบบนี้ โดยที่เขาไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวกับคดี เพราะเขาอาจจะมโนไป พูดกันเป็นละคร วางเป็นพลอตเรื่องเองกันหมด มันแย่มาก กลายเป็นว่าไม่ใช้ปัญญา ไม่ได้ตั้งอยู่บนความรู้อะไร แต่อยากจะสร้างความบันเทิงจากสิ่งนี้”

“ถ้าคุณอยากสัมภาษณ์ทนายหรือนักกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีจริงๆ ควรมีมากกว่าหนึ่งคน ต้องมี Second Opinion แล้วให้สังคมใช้วิจารณญาณ”

ทั้งนี้ คุณโบว์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตบัณฑิตในสาขานิติศาสตร์อีกด้วยว่า “สิ่งหนึ่งที่เห็นว่าอาจจะหายไปในการสอนนิติศาสตร์ในบางสถาบันในปัจจุบัน คือ วิชา ‘นิติปรัชญา’ พอไม่ได้เรียนลึกซึ้ง ถึงระดับปรัชญาของกฎหมาย มันก็จะมีการตีความอะไรทื่อๆ ไปตามตัวอักษร และท้ายที่สุดแล้วจะไม่นำไปสู่ความยุติธรรม” 

'โบว์ ณัฏฐา' ชี้ ในการทำงาน จำเป็นต้องมี Flexibility หรือความยืดหยุ่น เช่นเดียวกับทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

จากกรณีที่นิสิตจากม.ดัง ได้ไปฝึกงานกับโรงแรมแห่งหนึ่ง ก่อนถูกส่งตัวกลับ เพราะก้าวร้าวใส่ผู้บริหาร อีกทั้งทางคณะต้นสังกัดของนิสิตดังกล่าว ดูจะไม่ช่วยอะไรนัก จนอาจทำให้จบไม่ทันเพื่อน และเสียเวลาไปฟรีๆ 1 ปีนั้น ได้ทำให้เกิดการแชร์และถกกันถึงดรามานี้ โดยมีชาวเน็ตแห่มาให้ความเห็นและทำให้เกิดข้อถกเถียง เสียงแตกเป็น 2 ฝั่ง

กรณีดังกล่าว ‘คุณโบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ก็ได้ให้ความเห็นผ่านรายการ MEET THE STATES TIMES เดอะ ดีเบต ไว้อย่างน่าสนใจด้วยเช่นกันว่า..

จากการติดตามของโบว์ ในกรณีดังกล่าว ตัวนักศึกษาฝึกงานเองก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าตัวเองไม่ผิดในกรณีนี้ แต่ตำหนิคณะที่ไม่ส่งไปฝึกงานในที่ใหม่ที่เขาหามาเลย เพื่อที่เขาจะได้ฝึกเสร็จทันในปีนี้ เหมือนกับคนอื่นๆ ไม่ต้องรอไปปีการศึกษาหน้า แต่ขณะเดียวกันทางคณะก็มีเหตุผลของไทม์ไลน์ และขั้นตอนการส่งเอกสาร ว่าทำไมถึงทำให้ในเทอมนี้ไม่ได้

แต่ว่าประเด็นที่กลายเป็นที่ถกเถียงพูดคุยกันในสังคม ก็คือคำถามว่า ‘ผิดหรือไม่’ ที่มีการใช้งานที่นอกเหนือ Job Description เราจะต้องยอมทำให้หรือ ถ้าเกิดทำงานนอกเวลาเราต้องยอมรึเปล่า 

ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็นขยายไปไม่ได้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเคสดังกล่าวแล้ว แต่เป็นประเด็นที่คนรู้สึกว่า เวลาไปทำงานเราต้องทำตาม Job Description หรือว่าเราต้องยืดหยุ่นไปทำงานนอกเหนือจากนั้น มันเป็นสิทธิของเราหรือไม่ถ้าเราจะปฏิเสธ อันนี้คือข้อถกเถียง 

ไทยเกือบเหมือน 'ยูเครน' หากไร้ 'ปราชญ์แห่งสยาม' พลิกเกม!! หลังพลาดตามก้นเมกา ปล่อยตั้งฐานทัพบินถลาถล่มเพื่อนบ้าน

เป็นที่รู้กันว่า เหตุที่ยูเครนถูกรัสเซียถล่มในตอนนี้ ก็เพราะหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายในสมัยประธานาธิบดี มิคาอิล กอร์บาชอฟ แตกเป็นรัฐเล็กๆ ถึง ๑๕ รัฐ หลายรัฐได้หันเข้าไปหาชาติตะวันตก หวังจะให้ช่วยคุ้มกัน ยอมร่วมสนธิสัญญานาโต้ จึงค่อยๆ ขยายตัวโอบล้อมรัสเซียเข้ามา จนกระทั่งยูเครนที่รัสเซียหวังให้เป็นกันชน เมื่อประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่มาจากคนดังแต่ยังอ่อนประสบการณ์ทางด้านการเมือง ก็จะเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ด้วย รัสเซียจึงยอมไม่ได้ที่จะให้นาโต้ที่ตั้งขึ้นมาก็เพื่อจะเล่นงานรัสเซียโดยเฉพาะ เอาอาวุธนิวเคลียร์เข้ามาตั้งจ่อคอ

ไทยเราก็เกือบเหมือนยูเครน เมื่อรัฐบาลยุคหนึ่งใช้นโยบาย “ตามก้นอเมริกา” ส่งทหารไปร่วมรบในเวียดนามแล้ว ยังยอมให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพที่อู่ตะเภา, อุดรธานี, นครพนม, อุบล, โคราช, ตาคลี รวมทั้งดอนเมือง ส่งเครื่องบินรบทรงอานุภาพที่สุดเท่าที่มี ขนระเบิดไปถล่มเวียดนามเหนือและลาว สัปดาห์ละ ๘๗๕-๑,๕๐๐ เที่ยว เครื่องบินทิ้งระเบิด B-๕๒ เที่ยวหนึ่งขนได้ ๓๒ ตัน รบกันถึง ๑๙ ปี ๖ เดือน ไม่รู้ว่าถล่มระเบิดไปกี่ล้านตัน แต่ก็แพ้ ต้องถอนทหารกลับไป

แต่เมื่อสหรัฐต้องถอนทหารออกจากเวียดนามใต้ในเดือนเมษายน ๒๕๑๘ ก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน ประเทศไทยก็ได้นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๓ คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้เป็นปราชญ์ที่ลึกซึ้งทั้งประวัติศาสตร์และการเมือง ไม่ใช่มือใหม่หัดขับ อ่านสถานการณ์ได้ทะลุว่า ขืนล่มหัวจมท้ายกับอเมริกันต่อไปต้องถูกเวียดนามคิดบัญชีแน่

ในการแถลงนโยบายต่อสภาในวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๘ นายกรัฐมนตรีจึงประกาศว่าปรารถนาจะสถาปนาการทูตระหว่างไทยจีนขึ้นใหม่ เป็นการส่งสัญญาณไปถึงจีนก่อน

ต่อจากนั้นในวันที่ ๓๐ มิถุนายน นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วย พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีต่างประเทศ ก็บินเงียบฝ่ากฎหมายป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ไปพบผู้นำจีน ซึ่งทำให้โลกเสรีต้องตกตะลึง

การต้อนรับคณะนายกรัฐมนตรีไทยนั้น เป็นการต้อนรับที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์อย่างที่จีนไม่เคยต้อนรับใครมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีของประเทศมหาอำนาจหรือมุขบุรุษของประเทศใด นอกจากได้เข้าพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีโจวเอนไล และรองนายกรัฐมนตรีเติ้งเสี่ยวผิงแล้ว ประธานเหมาเจ๋อตุงในวัยชรา ยังเพิ่มรายการพิเศษแหวกคิวกะทันหันให้ไปพบขณะพักผ่อนอยู่ที่บ้าน และคุยกันอย่างเป็นกันเองเป็นเวลายาวนาน ซึ่ง สละ ลิขิตกุล นักหนังสือพิมพ์อาวุโส ผู้ติดตามคึกฤทธิ์บันทึกไว้ว่า

"ถึงใจพระเดชพระคุณ" อย่างผู้ใหญ่พูดกับลูกกับหลาน ถาม พล.ต.ชาติชายว่า “ไอ้หนูนี่เคยมาเมืองจีนแล้วไม่ใช่หรือ” ส่วน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ก็เรียก “ไอ้หนู” เหมือนกัน เข้ามากอดและตบบ่า เป็นการทูตแบบตะวันออกที่ตะวันตกไม่มีทางเข้าใจ
ก่อนหน้าที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์จะพาทีมไปจีนนั้น ได้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญขึ้นอย่างหนึ่ง ซึ่งเปิดโอกาสให้ไทยได้ประกาศเปลี่ยนนโยบาย

ในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๘ หลังจากที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์แถลงนโยบายต่อสภาในวันที่ ๑๙ มีนาคม ก็เกิด “กรณีมายาเกซ” ขึ้น เมื่อเรือสินค้าของสหรัฐอเมริกาชื่อ มายาเกซ บรรทุกเวชภัณฑ์และเสบียงจะมาท่าเรือสัตหีบ ขณะแล่นผ่านเข้าไปใกล้ชายฝั่งกัมพูชา ได้ถูกเรือปืนเขมรแดงยึดและจับลูกเรือเป็นประกัน สหรัฐจึงส่งนาวิกโยธินจำนวน ๑,๐๐๐ นายจากโอกินาวามายังฐานทัพอู่ตะเภา และเข้าไปชิงลูกเรือที่ถูกควบคุมอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งโดยมีเครื่องบินจากฐานทัพอุดรธานีและนครราชสีมาเข้าร่วม หลังจากรบกัน ๓ วันก็สามารถช่วยลูกเรือกลับมาได้ แต่ทหารสหรัฐเสียชีวิตไป ๔๐ คนและสูญหายไปอีกจำนวนหนึ่ง

เรื่องนี้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก รัฐบาลไทยเห็นว่าสหรัฐใช้ดินแดนไทยไปปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ จึงได้เชิญอุปทูตสหรัฐมาพบ ประท้วงอย่างเป็นทางการต่อการกระทำของสหรัฐ และเรียกร้องให้สหรัฐถอนกำลังกลุ่มนี้ออกไปทันที

ต่อมาในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีต่างประเทศ ยังได้เชิญอุปทูตสหรัฐมาพบ เพื่อแจ้งอย่างเป็นทางการว่า รัฐบาลไทยจะทบทวนความร่วมมือและข้อผูกพันระหว่างไทยกับสหรัฐทั้งหมด และในวันเดียวกันก็มีคำสั่งให้เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันเดินทางกลับกรุงเทพฯ แสดงความไม่พอใจในการกระทำในครั้งนี้

จับโป๊ะ!! เหตุประท้วง ต้าน ‘พ.ร.บ.เอ็นจีโอ’ อ้างปิดกั้นการชุมนุม ทั้งที่เป็นกม.เผยที่มาเงิน NGO

จากรายการ ‘NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช’ โดย ‘อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์’ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ชวนคิดถึงประเด็นกฎหมายเปิดเผยที่มาของเงินอุดหนุน NGO ในไทย ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่ม NGO ออกมาประท้วงเพื่อคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้ ว่า…

จากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีขบวนการ NGO (เอ็นจีโอ) บางกลุ่ม ออกมาประท้วง ‘ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร’ หรือเรียกสั้นๆ กันว่า ‘พ.ร.บ.เอ็นจีโอ’ โดยอ้างว่าเป็นกฎหมายที่ปิดกั้นเสรีภาพการรวมกลุ่มของประชาชน ซึ่งหลายฝ่ายต่างก็สงสัยว่า ร่าง พรบ.ดังกล่าว ไปเกี่ยวอะไรด้วย

เพราะไม่มีข้อความใดๆ ที่ระบุถึงการปิดกั้นเสรีภาพการรวมกลุ่มของประชาชนในเลย ในขณะที่สาระหลักของร่างกฎหมายฉบับนี้ คือ การตรวจสอบเส้นทางการเงินของ NGO หรือบรรดาองค์กรอิสระที่รับเงินจากองค์กรต่างชาติ เพื่อเข้ามาดำเนินกิจกรรมบางประการในประเทศไทยมากกว่า

ยิ่งไปกว่านั้น ร่างกฎหมายดังกล่าว ยังนำต้นแบบมาจาก ‘กฎหมายลงทะเบียนองค์กรต่างชาติ’ หรือ The Foreign Agents Registration Act (FARA) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 ที่ระบุให้องค์กรที่รับเงินต่างชาติทุกองค์กร ต้องลงทะเบียนและชี้แจงเส้นทางการเงินอย่างเปิดเผยอีกด้วย 

โดย FARA นั้น ถูกวางไว้เพื่อป้องกันต่างชาติที่จะเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านการใช้องค์กรไม่แสวงหากำไร หรือ NGO มาเป็นเครื่องบังหน้า
 

เมื่อ ‘รอยยิ้ม-น้ำตา’ จาก ‘คนในครอบครัว’ มีส่วนให้เลือก ‘รับ-ไม่รับ’ ใบปริญญาบัตร

ครั้งหนึ่งในชีวิต!! การเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร อาจจะเป็นอีกความสำคัญที่มอบความภาคภูมิใจ และความสำเร็จแก่ ‘บัณฑิตจบใหม่’ ที่ต่างเฝ้ารอ!! หากแต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เรื่องนี้อาจจะกลายเป็นเพียง ‘แค่ครั้งหนึ่งในชีวิต’ ของบัณฑิตจบใหม่บางคนในด้วยเช่นกัน 

ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะต้องยอมรับว่า เด็กยุคใหม่กำลังให้ความสำคัญต่อการเข้ารับปริญญาเมื่อจบการศึกษาน้อยลง หลังจากมีการรณรงค์ไม่เข้ารับปริญญาในหมู่นักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลส่วนตัว หรือเหตุผลทางการเมืองก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ยังมีบัณฑิตจบใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่พร้อมจะเลือกเข้ารับปริญญาด้วยความเต็มใจ โดยในพิธีเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร สำหรับบัณฑิตจบใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562 และ 2563 ที่ผ่านมาในเดือนพฤษภาคม (2565) ได้มีการสอบถามบัณฑิตจบใหม่ถึงเหตุผลในการเข้ารับปริญญา ภายใต้คำตอบที่ฟังแล้วยังแอบชื่นใจแทนพ่อแม่ยุคนี้ได้บ้าง ว่า...

บัณฑิตจบใหม่ที่มาเข้าพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร ส่วนหนึ่งยอมรับว่าที่เลือกมาเข้ารับเพราะ ‘ครอบครัว’ โดยพวกเขาถูกปลูกฝังจากคุณพ่อคุณแม่ว่า ‘ปริญญาบัตร’ คือ อีกความภาคภูมิใจที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของชีวิตอย่างหนึ่ง และการที่พ่อแม่พยายามทำงานหาเงินเพื่อส่งลูกหลานเข้าเรียนจนจบปริญญา ก็เพราะพวกเขาหวังที่จะให้เด็กๆ ได้มีโอกาสสัมผัสความภูมิใจที่สะท้อนความสำเร็จแบบเดียวกันกับยุคของพวกเขา 

ขณะเดียวกัน บัณฑิตจบใหม่ ก็เข้าใจดีว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่มองว่าการเข้ารับปริญญา คือ อีกคุณค่าที่เติมเต็มพลังใจแก่พวกเขา เปรียบเหมือนกับการเลี้ยงดูลูกน้อยมาตั้งแต่วัยแรกเริ่ม สามารถเดินได้ เติบโตเป็นใหญ่ และวันนี้วันที่ปริญญาบัตรได้อยู่ในมือลูกหลาน ก็เหมือนกับเรือท่าที่ส่งพวกเขาได้ถึงฝั่ง

รู้ความจริง 'งบส่วนราชการในพระองค์' ก่อนหลงเชื่อ ‘วาทกรรมมั่ว ๆ’ ที่ไม่มีอยู่จริง

>> ยาวหน่อยแต่อยากให้ค่อย ๆ อ่าน!!

นั่นก็เพราะนี่เป็นเรื่องของการเปิด ‘ข้อเท็จจริง’ ที่จริงเสียยิ่งกว่าจริง ให้คนที่ยังหลงผิดหลุดพ้นจากวาทกรรมบิดเบือนที่ถูกสร้างขึ้นแบบสมจริงเกี่ยวกับ ‘งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์’ ซึ่งยังคงหลุดออกไปสู่สังคม และหลอมรวมให้เกิดข้อสงสัย จนนานวันได้กลายเป็นความเชื่อผิด ๆ และคนรู้ต้องมาตามไล่สีซอแบบไม่จบไม่สิ้น!!

อย่างล่าสุด ที่มีการกล่าวถึง งบประมาณสถาบันฯ จากข้อกล่าวอ้างของหน้าเดิม ๆ ฝ่ายโจมตีสถาบันฯ เดิม ๆ ส.ส.บางพรรคหน้าเดิม ๆ และกลุ่มเคลื่อนไหวที่เดาชื่อไม่ยากหน้าเดิม ๆ ว่า มีการปันงบไปให้สถาบันฯ จำนวนถึง 3 หมื่นกว่าล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายโดยตรง 2 หมื่นล้านบาท และรายจ่ายโดยอ้อมอีก 1.5 หมื่นล้านบาท เป็นเงินจำนวนไม่น้อย แถมยังตรวจสอบไม่ได้อีกด้วย

พลันเห็นภาพแบบนี้ปรากฏ วินาทีนี้ จึงไม่อยากใช้คำว่า ‘ความเข้าใจผิด’ จากคนกลุ่มนี้ หากแต่ต้องใช้คำว่า ‘มั่ว’ ตั้งแต่มีการพูดชื่อ ‘งบฯ’ และสถานะที่ ‘ตรวจสอบไม่ได้’ !! 

>> ทำไมน่ะหรือ?

ก็เพราะว่ามันไม่มีคำว่า ‘งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์’ ที่มีผู้เอาไปตีว่าความเป็นเงินไปให้ในหลวงใช้ส่วนตัวอย่างไรเล่า!! แล้วจะให้เอาที่ไหนมาตรวจสอบ? แถมไอ้พวกข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจำนวนงบประมาณ, รายจ่ายโดยตรง, โดยอ้อม ที่มีการนำออกมาขยี้ ก็ล้วนแต่มั่ว หรือปั่นให้เกิดเป็น ‘เฟกนิวส์’ จนเกิดความเข้าใจผิดกันทั้งสิ้น

>> มั่วยังไง?

ก่อนอื่นเลย ขอให้ผู้อ่านทุกท่านเลิกเรียกคำว่า ‘งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์’ ก่อน เพราะอย่างที่บอกว่าการใช้คำว่า ‘งบประมาณสถาบันฯ’ ทำให้เกิดความเข้าใจว่า เป็นเงินส่วนที่เอาไปให้สถาบันหรือว่าเอาไปให้ในหลวงใช้ >> ซึ่งมันไม่ใช่!! 

โดยชื่อจริง ๆ ของงบประมาณส่วนนี้ เขาเรียกว่า 'งบส่วนราชการในพระองค์' ท่องไว้นะ >> งบส่วนราชการในพระองค์ << 

พูดง่าย ๆ ก็คือ งบส่วนราชการในพระองค์นี้นั้น ก็เหมือนกับงบประมาณของหน่วยงานอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น งบของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะมีการจัดสรรงบประมาณลงมาให้ใช้ภายในกระทรวงนั้น ๆ ไม่ใช่เอาไปให้รัฐมนตรีกระทรวงนั้น ๆ ใช้เป็นเงินส่วนตัว >> ชัดนะ!!

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ งบประมาณที่ว่ามาเหล่านี้ ล้วนเป็น ‘งบประมาณแผ่นดิน’ ทั้งสิ้น

>> ขยายความให้!!

หมายความว่า เป็นงบที่ต้องถูกตรวจสอบ โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือว่า สตง. ทุกหน่วยงานนั่นเอง!!

จริง ๆ เรื่องนี้อาจจะแลดูเป็นเรื่องไม่สำคัญอันใด เพราะถ้าคนที่เข้าใจ เนื่องจากหลุดออกจากกรอบ ‘เฟกนิวส์’ ไปนานแล้ว จะไม่ติดใจ แต่พวกที่ยังหมกมุ่น เพราะต้องใช้เรื่องนี้เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อ ก็ยังคงจับมาขยี้ต่อไปเลิก เพราะมันเป็นวาทกรรมที่แตะต้องง่าย หาพวกได้เร็ว เร่งด้วยวลีที่สื่อสารให้เกิดความเท่าเทียมได้ง่าย คนรุ่นใหม่ช้อบ...ชอบ!!

ยิ่งได้เสียงจาก ส.ส. บางกลุ่ม เอาประเด็นเหล่านี้ไปพูดในสภาอันทรงเกียรติ และเผยแพร่จนประชาชนสับสน เข้าใจผิดไปหมดด้วยแล้ว ยิ่งช้อบ...ชอบ!! ทั้งที่จริง ๆ ถ้าใครได้ศึกษาหรือเปิดโลกออกจาก ‘ข้อมูลลวงสังคม’ จะรู้ว่าวาทกรรมเหล่านี้ ทั้ง ‘บ้ง’ ทั้ง ‘มั่ว’ 

>> นั่นก็เพราะในความเป็นจริงแล้ว สำนักงานงบประมาณจะมีการทำข้อมูลให้ดาวน์โหลดมาดูกัน แต่ก็ยังมีกระแสบิดเบียนออกมาอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในทุก ๆ ปี ซึ่งมักจะมีกระแสบิดเบือนเกี่ยวกับเรื่อง 'งบส่วนราชการในพระองค์' วนออกมาตลอด จากทั้งสื่อและพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ที่พยายามสร้างความเข้าใจผิดว่า 'งบส่วนราชการในพระองค์' เป็นงบประมาณก้อนใหญ่มหาศาลกว่า 3 หมื่นกว่าล้านบาท

ล่าสุด!! กล่าวหาไปถึง 9 หมื่นล้านบาท โดยมีความพยายามกล่าวหาว่าเป็นงบที่เอาไปให้ในหลวงใช้บ้าง ตรวจสอบไม่ได้บ้างกันเลยทีเดียว

แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย!! แถมยิ่งไปกว่านั้น 'งบส่วนราชการในพระองค์' ก็อยู่ที่ประมาณ 8 พันล้านบาทเท่านั้น!!

จากร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 งบส่วนราชการในพระองค์ อยู่ที่ 8,611 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ลดลงมาจากปีที่แล้ว 150 ล้านบาท และเอาเข้าจริงแล้ว 'งบส่วนราชการในพระองค์' ก็ลดต่อเนื่องทุกๆ ปี เช่น ในปี 2564 งบประมาณส่วนนี้ได้รับ 8,981 ล้านบาท และในปี 2565 ได้รับ 8,761 ล้านบาท และถ้าหากเทียบ 'งบส่วนราชการในพระองค์' จะคิดเป็น 0.25% ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมดเท่านั้น!!

>> ว่าแต่ 'งบส่วนราชการในพระองค์' เอาไปใช้ทำอะไรบ้าง?

สัดส่วนราว 90% ของ 'งบส่วนราชการในพระองค์' ถูกจัดสรรไว้เป็นค่าดำเนินการ เงินเดือนที่จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากรประมาณ 14,000 คน ที่เหลือก็เป็นค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ (เอาเข้าจริงไม่เพียงพอต่อการใช้จริง และค่าใช้จ่ายบางส่วนมาจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์) โดยบุคลากรส่วนนี้สังเกตได้จาก พนักงานสำนักพระราชวังที่ใส่อินทรธนู ท.ท.น. ที่ย่อมาจากคำว่า ‘เงินท้ายที่นั่ง’

พอเข้าใจกันขึ้นสักนิดแล้วนะว่า 'งบส่วนราชการในพระองค์' ถูกใช้ไปกับอะไรบ้าง แล้วก็ไม่ได้มโหฬารตามงานสร้างของ ‘สายมั่ว’ เลยแม้แต่น้อย

แต่ๆๆ เรื่องมันยังไม่จบง่าย ๆ !!

กลุ่มตรงข้ามกับสถาบันฯ เมื่อเริ่มจนต่อข้อมูลประจักษ์ ก็หาเรื่องมาปักธงรุกต่อ โดยมีการโจมตีว่า 'งบส่วนราชการในพระองค์' ทำไมถึงเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2562 ที่ 6 พันล้านบาท เป็น 8 พันล้านบาทในปีถัด ๆ มา

>> เกิดขึ้นเพราะอะไร?

จริง ๆ จะเรียกว่าปรับเพิ่มขึ้นก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะว่าตัวเลขดังกล่าว มาจากการถ่ายโอนกำลังพลในปี 2562 ซึ่งมีการออก พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของ กองทัพบก, กองทัพไทย, กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ 

พอมีการถ่ายโอนกำลังพล ก็ต้องมีการสำรองอัตราเงินเดือนต่าง ๆ มาด้วย ทำให้ตัวเลขงบประมาณส่วนนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งก็เป็นเหตุเป็นผล เป็นตรรกะธรรมดาไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร >> ชัดนะ!!

>> ทีนี้มาถึงไฮไลต์!!

ไอ้ที่มั่ว ๆ กันว่า รายจ่ายโดยตรง 2 หมื่นล้าน รายจ่ายโดยอ้อม 1.5 หมื่นล้าน รวมเป็น 3 หมื่นกว่าล้านบาท เอามาจากไหน?

ก็เพราะ ‘สายปั่นเฟกนิวส์’ ตัวจริง!! จะไปเหมารวมกับงบประมาณของโครงการหลวง, โครงการพระราชดำริ กล่าวคือ งบอะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวโยง หรือเชื่อมโยงกับสถาบันได้ ก็เหมารวมเป็น 'งบส่วนราชการในพระองค์' ไปซะหมด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว โครงการพระราชดำริ กว่า 4,000 โครงการ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นในสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้วก็เป็นโครงการที่ทำสำเร็จไปแล้วมากมาย และแต่ละโครงการ ในหลวงรัชกาลที่ 10 ก็ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด เพิ่มเติมจากโครงการเดิมที่ทำไว้ทั้งสิ้น 

ฉะนั้น ก็จะมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนส่วนนี้ขึ้นมาต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือประชาชน รวมถึงเป็นเงินเดือนค่าจ้างบุคลากร ภายใต้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับประเทศและปวงชนชาวไทยด้วย

ยกตัวอย่างเช่น โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับการสร้างเขื่อน หน่วยงานที่รับสนองพระราชดำริ ก็คือ กรมชลประทาน 

คำถาม คือ โครงการนี้เป็นประโยชน์กับประชาชนหรือเปล่า? ซึ่งก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นประโยชน์แน่นอน เพราะโครงการสร้างเขื่อน ช่วยป้องกันน้ำท่วม เพิ่มพื้นที่เขตชลประทาน ตลอดจนแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชนได้ด้วย หมายความว่า พอมีการสร้างเขื่อน ก็จำเป็นต้องมีงบบำรุงรักษา ซึ่งก็จะมีการตั้งงบประมาณขึ้นมาในแต่ละปีนั่นเอง >> ชัดนะ!!

ดังนั้น จะเห็นได้ชัดว่า โครงการต่าง ๆ ที่ถูกตั้งงบประมาณขึ้นมา ล้วนแล้วแต่เพื่อนำมาสร้างผลประโยชน์แก่ประชาชน 

‘ในหลวง’ หรือ ‘สำนักพระราชวัง’ ท่านไม่ได้แตะต้องงบประมาณส่วนนี้เลย แม้แต่บาทเดียว!!

>> ยิ่งไปกว่านั้น ทุกโครงการพระราชดำริ ที่ในหลวงทรงดำริคิดค้นขึ้นมา จะส่งต่อให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำไปปฏิบัติต่อ ซึ่งโครงการไหนได้ผลต่อเนื่อง หรือว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันแค่ไหนอย่างไรนั้น ก็จะมีการจัดงบประมาณตามความเหมาะสม ซึ่งต้องไปว่าต่อกันในสภาฯ นั่นเอง

>> งบประมาณต่าง ๆ ที่ว่ามาทั้งหมด ที่บรรดา ‘สายมั่ว’ เอาไปเหมารวมแล้วก็เรียกว่าเป็น ‘งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์’ ซึ่งมันไม่มีชื่อเรียกนี้จริงนั้น จึงกลายเป็นตัวเลขจำนวนมหาศาล ทั้งๆ ที่ 'งบส่วนราชการในพระองค์' เอย งบโครงการพระราชดำริเอย ก็ได้มีการแบ่งแยกเอาไว้ชัดเจนอยู่แล้ว แล้วสำนักงานงบประมาณก็ทำข้อมูลไว้ให้ดาวน์โหลดไปเปิดโลกอยู่แล้ว

แต่เหตุไฉน นักการเมือง ส.ส. บางกลุ่ม เอาประเด็นนี้ไปพูดในสภา และเผยแพร่จนประชาชนสับสน เข้าใจผิดไปหมด หรือไม่เข้าใจจริงๆ หรือจริงก็รู้อยู่แล้ว แต่จงใจ? 

จงใจอยู่แล้ว!! 

พวกเขารู้!! แต่เขาแค่ออกมาพูดเพื่อให้คนเอาไปพูดและไปขยายต่อให้เป็นข้อมูลบิดเบือนเท่านั้นเอง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top