Thursday, 2 May 2024
โควิด19

‘ดร.อนันต์’ แนะ!! คนไทยต้องหมั่นล้างมือให้บ่อย หลังพบโอมิครอนเกาะติดบางพื้นผิวได้นาน 7 วัน

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana’ ถึงผลการทดลองของทีมวิจัยในฮ่องกง ที่มีความน่าสนใจ โดยระบุว่า...

ทีมวิจัยในฮ่องกงได้เปรียบเทียบความเสถียรของไวรัส (ความสามารถที่ไวรัสจะติดเชื้อต่อได้) บนพื้นผิวชนิดต่างๆ ระหว่างโอมิครอน กับ สายพันธุ์ดั้งเดิม ผลการทดลองชิ้นนี้บอกว่า ไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์จะสูญเสียสภาพการติดเชื้อไประดับนึง (ประมาณ 10 เท่า) เกือบทันทีที่อยู่นอกร่างกายและไปติดอยู่บนพื้นผิวต่างๆ

แต่หลังจากนั้นจะเห็นความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์โดยโอมิครอนมีแนวโน้มจะอยู่บนพื้นผิวอย่างน้อย 3 ชนิด คือ สแตนเลส พลาสติก และ แก้ว ที่ยาวนานกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ดูเหมือนว่าโอมิครอนจะคงสภาพบนพื้นผิวทั้ง 3 ได้นานถึง 7 วัน ในสภาวะความชื้น และ อุณหภูมิที่ทำการทดลองนี้ แต่บนพื้นผิวกระดาษไวรัสเสียสภาพไวกว่า และ อยู่ได้ไม่นานพอๆ กัน

การทดลองนี้ไม่ได้เปรียบเทียบไวรัสในสภาวะอยู่ในอากาศ หรือ aerosol ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่โอมิครอนอาจจะอยู่ในอากาศได้นานกว่าปกติ ซึ่งอาจอธิบายความสามารถในการแพร่กระจายของไวรัสได้ไว และ รวดเร็ว

 ลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด! ‘หมอยง’ ย้ำ ‘วัคซีนยังจำเป็น’ โดยเฉพาะ ‘กลุ่มเสี่ยง-ผู้สูงอายุ’!

(19 มี.ค.65)  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า...

“ โควิด 19 วัคซีน การลังเลในการรับวัคซีน

ยง ภู่วรวรรณ 19 มีนาคม 2565

การรับวัคซีน covid 19 เป็นไปโดยสมัครใจ จะเลือกวัคซีนชนิดใด ก็สามารถทำได้
การให้ความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับวัคซีน ประโยชน์ในการได้รับวัคซีน และอาการไม่พึงประสงค์
การตัดสินใจ อยู่กับผู้รับ ไม่ได้มีการบังคับ โดยคำนึงถึง น้ำหนักของประโยชน์และความเสี่ยงมาเปรียบเทียบกัน

ผมจะข้ามถนนที่สีลม ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น มีแน่นอน ความจำเป็นที่จะต้องข้ามถนน ก็ต้องตัดสินใจ ความเสี่ยงในการข้ามถนนที่สีลม อาจจะมีมากกว่าความเสี่ยงจากการได้รับวัคซีน เราจะเห็นได้จากอุบัติเหตุทางท้องถนน

กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะที่เราเรียกว่า 608 คือผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เมื่อติดเชื้อโควิด 19 จะทำให้เกิดความรุนแรง ต้องนอนโรงพยาบาล หรืออาจจะเข้า ICU และอาจทำให้ถึงชีวิตได้

ดังที่เราเห็นยอดการเสียชีวิตทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
กลุ่มดังกล่าวจึงมีความจำเป็น ที่จะต้องได้รับการป้องกัน และดูแลเป็นพิเศษ สิ่งหนึ่งในการลดความรุนแรงคือ วัคซีน

ทั่วโลกขณะนี้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 11,000 ล้านโดส วัคซีนขณะนี้มีเพียงพอ ให้เลือกชนิดของวัคซีนได้เลย
เราจะต้องอยู่กับ โควิด 19 จำเป็นที่จะต้องลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด”

ที่มา :เฟซบุ๊ก Yong Poovorawn

https://siamrath.co.th/n/332426

ขู่ไม่ต่อสัญญา! ‘ประกันสังคม’ เอาจริง! อาจทวนต่อสัญญา ‘โรงพยาบาล’ ปัดดูแลผู้ประกันตนติดโควิค-19

น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ชี้แจงกรณีผู้ประกันตนร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน จากสาเหตุติดเชื้อโควิด-19 โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิประกันสังคมไม่ให้การรักษา เนื่องจากคิวเต็ม และเสียค่าตรวจ RT PCR ต้องซื้อยากินเองตามที่ปรากฏเป็นข่าว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 

ในกรณีดังกล่าว นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน มีความห่วงใยสั่งการให้สำนักงานประกันสังคม เร่งตรวจสอบและให้การช่วยเหลือโดยด่วน ทั้งนี้สำนักงานประกันสังคมได้ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิดังกล่าว เพื่อส่งตัวผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาใน Hospitel และจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ตามสิทธิ์ประกันสังคม พร้อมให้โรงพยาบาลออกใบรับรองแพทย์เพื่อรับรองการหยุดงานเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้กำชับให้โรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม ให้ความร่วมมือดูแลรักษาผู้ประกันตน ที่ตรวจพบการติดเชื้อโควิด-19 ในทันที และมีความพร้อมในการให้บริการแก่ผู้ประกันตนตั้งแต่เข้ารับการรักษา จนสิ้นสุดการรักษาอย่างเต็มศักยภาพ 
 

‘นายกฯ’ สั่ง ‘ผู้สูงอายุ-เด็ก-ผู้ป่วยเรื้อรัง’ เข้ารักษาได้ทันที ลดการสูญเสีย!

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้ฝ่ายปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดปรับระบบการคัดแยกผู้ป่วยโควิด-19 หากพบว่า เป็นกลุ่ม 608 กล่าวคือ ผู้สูงอายุเกินหกสิบปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเด็กเล็ก ให้ดำเนินการประสานเพื่อส่งตัวไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลโดยพลัน ไม่ต้องรอรักษาตามอาการ เพื่อลดการสูญเสีย

ขณะนี้ทางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)สปสช. อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อปรับเข้าสู่การคัดแยกตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี

‘ฟาวิพิราเวียร์’ เอาไม่อยู่! ‘หมอมนูญ’ เตือน ‘โอมิครอน’ ดุ ‘สูงอายุ - ไม่รับวัคซีน’ มีสิทธิถึงตาย!

(9 เม.ย.65) นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงผู้ป่วยโควิด-19 ว่าผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง เมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน มีโอกาสสูงที่จะเกิดปอดอักเสบ ป่วยหนักต้องเข้าไอซียู ใส่เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิตได้โดยเฉพาะคนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ฉีดเข็มเดียว หรือฉีดครบ 2 เข็ม แต่ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้ยาต้านไวรัสตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ยาโมลนูพิราเวียร์ หรือในอนาคตอันใกล้ ยาแพกซ์โลวิดภายใน 5 วันแรกที่เริ่มป่วย ซึ่งยาใหม่ 2 ขนานนี้มีหลักฐานช่วยลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ ไม่ใช่ยาฟาวิพิราเวียร์

หมอมนูญ โดยยกเคสคนไข้ เป็นผู้ป่วย เพศชายอายุ 85 ปี เป็นโรคกระดูกพรุน เคยกระดูกสะโพกหัก เดินไม่ได้ นอนติดเตียง เป็นโรคความดันโลหิตสูง ต่อมลูกหมากโต มาตรวจตามปกติ วันที่ 12 มี.ค.65 สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี ความดันปกติ ไม่อ้วน รู้ตัวดี ขยับแขนขาได้ แต่เดินไม่ได้ ผู้ป่วยยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิดแม้แต่เข็มเดียว แพทย์จึงแนะนำให้รีบฉีดโดยด่วน ลูกสาวจึงติดต่อไปยัง อบจ. และได้ส่งเจ้าหน้าที่มาฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา เข็มแรกที่บ้าน วันที่ 18 มี.ค.65

'ณัฐชา' ชี้!! รัฐประกาศส่งๆ ให้คนกลับบ้าน ไร้มาตรการรองรับ วอน!! เชื่อกันสักครั้งก่อนติดเชื้อหลักแสน 

ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กรุงเทพ และโฆษกพรรคก้าวไกล ให้ความเห็นต่อสถานการณ์โควิด-19 ว่า ในขณะที่มีตัวเลขผู้เสียชีวิตสูงกว่าร้อยรายติดต่อกัน 4 วัน โดยกลุ่มที่น่าห่วงที่สุดคือผู้สูงอายุและเด็ก

นอกจากนี้ ยังมีคำเตือนจากฝ่ายสาธารณสุขว่า หลังเทศกาลสงกรานต์จะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่าแสนรายต่อวัน แต่ดูเหมือนว่าขณะนี้รัฐบาลจะเลิกสนใจความสูญเสียของพี่น้องประชาชนไปหมดแล้ว จึงไม่เห็นความตื่นตัวที่จะออกมาตรการรับมือใดๆ นอกจากการประกาศส่งๆ ให้ประชาชนกลับบ้านและให้ระมัดระวังตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนทำกันเองอยู่แล้ว

ณัฐชา กล่าวว่า เหตุผลที่รัฐบาลเลิกสนใจชีวิตประชาชน คงเพราะบริหารประเทศล้มเหลวจนใกล้ถังแตกเต็มที จึงต้องผ่อนคลายทุกมาตรการและมุ่งเดินหน้าไปสู่การประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น จึงทำเหมือนการตายวันละร้อยคนเป็นเรื่องที่ไม่ต้องใส่ใจ ซึ่งในความเป็นจริงสถานการณ์ยังน่ากังวลมาก โดยเฉพาะการที่ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น และในกลุ่มเด็กก็ยังเข้าถึงวัคซีนลำบาก ไม่รู้จะไปรับวัคซีนเด็กที่ไหน การประชาสัมพันธ์ก็น้อย ส่วนเด็กต่ำกว่า 5 ปี ก็ยังไม่สามารถรับวัคซีนได้

อายุเฉลี่ยสั้นลง!  'หมอธีระ' ยกงานวิจัยอเมริกา  ชี้! ประเทศโควิดระบาดหนัก ส่งผลประชากรอายุสั้นลง!

(17 เม.ย.65) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า...

ทะลุ 504 ล้านคนไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 559,952 คน ตายเพิ่ม 1,567 คน รวมแล้วติดไปรวม 504,190,244 คน เสียชีวิตรวม 6,221,498 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ อิตาลี ญี่ปุ่น และเยอรมัน

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.23 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.81

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 39.49 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 38.35

...สถานการณ์ระบาดของไทย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย
ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก

ทั้งนี้จำนวนคนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 20.79% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

...โควิด-19 ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลกสั้นลง
งานวิจัยจากอเมริกาโดย Woolf SH และคณะ ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์สากล JAMA Network Open เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา

เปรียบเทียบให้เห็นผลของการระบาดระลอกแรกของโรคโควิด-19 ใน 22 ประเทศทั่วโลก
พบว่าประเทศต่างๆ ที่มีการระบาดหนัก ทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตของประชาชนจำนวนมาก ย่อมทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชากรในประเทศนั้นสั้นลง

ทั้งนี้ในปี 2020 ซึ่งระบาดระลอกแรกนั้น ประเทศที่มีการคุมการระบาดได้ดี (เช่น นิวซีแลนด์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์) จะมีอายุขัยเฉลี่ยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในขณะที่กลุ่มประเทศที่มีการระบาดหนัก จะทำให้อายุขัยเฉลี่ยลดลง โดยสหรัฐอเมริกาลดลงมากที่สุดถึงเกือบ 2 ปี

งานวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นสัจธรรม และความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรค

แน่นอนว่า หากมีการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากระลอกเดลต้าและ Omicron ผลกระทบน่าจะมากกว่าที่เห็นจากระลอกแรก

‘ศบค.’ แจง!! ปรับพื้นที่ ‘สีเหลือง 65 จว. - สีฟ้า 12 จว.’ พร้อมผ่อนคลายให้ดื่มถึงเที่ยงคืน ผับบาร์ยังงด

ศบค.เห็นชอบปรับพื้นที่สีใหม่ เหลือแค่สีเหลือง 65 จังหวัด และสีฟ้าท่องเที่ยว 12 จังหวัด เพิ่มขึ้น 2 จังหวัดคือ ระยองและสงขลา ผ่อนคลายดื่มเหล้าในร้านอาหารจาก 5 ทุ่มเป็นเที่ยงคืน ผับบาร์คาราโอเกะยังไม่ให้เปิดเว้นปรับเป็นร้านอาหาร ยันปรับกักตัวเสี่ยงสูงเป็น 5+5

เมื่อวันที่ 22 เม.ย. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ว่า การประชุมเรื่องที่ 2 การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอการปรับพื้นที่สีมีผลเริ่มวันที่ 1 พ.ค. โดยเหลือเพียงพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) และพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) เท่านั้น โดยเดิมมีพื้นที่สีส้ม 20 จังหวัด ปรับเหลือเป็น 0 พื้นที่สีเหลืองเพิ่มจาก 47 จังหวัด เป็น 65 จังหวัด และพื้นที่สีฟ้าจากเดิม 10 จังหวัด ได้แก่ กทม. กระบี่ กาญจนบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี พังงา เพชรบุรี และภูเก็ต เป็น 12 จังหวัด ที่เพิ่มขึ้น 2 จังหวัด คือระยองและสงขลา ส่วนพื้นที่สีฟ้าบางพื้นที่มี 16 จังหวัด

'บิ๊กตู่' พอใจ!! สัญญาณดี ยอดโควิดลดฮวบ  แต่ย้ำ!! ยังต้องยกการ์ดสูง วางใจไม่ได้

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พอใจเริ่มจะเห็นสัญญาณที่ดีในการควบคุมของการชะลอตัวการแพร่ระบาดโควิด-19 ในไทย และการติดเชื้อจะเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องได้หลังช่วงเทศกาลสงกรานต์จนถึงต้นเดือนพฤษภาคมนี้ แต่ย้ำทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนต้องไม่ประมาท ตั้งการ์ดสูง ป้องกันตนเองสูงสุดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ลดลงอีก จนกว่าเราจะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับโควิด-19 ได้

'ดร.สันต์' คาด!! โควิดโลกเตรียมเข้าสู่โรคประจำถิ่น ก.ค.นี้ หลัง 'ตายลด-ไม่เกิดสายพันธุ์ใหม่' mRNA Gen2 กำลังมา

ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Sunt Srianthumrong' คาดการณ์โควิดทั่วโลกเข้าสู่โรคประจำถิ่นในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ ว่า...

Covid-19: Global Good News ข่าวดีที่สุดในรอบ 2 ปี โลกกำลังเข้าใกล้ Endemic มากๆ แล้วครับ 

ข่าวดีที่ 1:
สัปดาห์นี้ผู้เสียชีวิตเฉลี่ยต่อวันทั่วโลกลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2,000 คนต่อวันแล้ว เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2020 

แม้ว่าหลายประเทศจะเพิ่งเปลี่ยนวิธีการนับผู้เสียชีวิตแล้วตัวเลขลดลง แต่หลายๆ ประเทศก็นับด้วยวิธีที่ตัวเลขน้อยมานานแล้ว ในภาพใหญ่ตัวเลขที่ต่ำลงนี้จึงเป็นตัวเลขระดับต่ำลงที่แท้จริง และกราฟลงอย่างมั่นคงมาก

ข่าวดีที่ 2:
จำนวนผู้เสียชีวิตเฉลี่ยต่อวันลดลงครึ่งหนึ่งทุกๆ 1 เดือนมา 3 เดือนแล้ว 

4 มี.ค. 2022 อยู่ที่ระดับ 8,000 คน/วัน
5 เม.ย. 2022 อยู่ที่ระดับ 4,000 คน/วัน
4 พ.ค. 2022 อยู่ที่ระดับ 2,000 คน/วัน

ทำให้คาดการณ์ได้ว่า...

4 มิ.ย. 2022 น่าจะลงไปอยู่ที่ระดับ 1,000 คน/วัน
4 ก.ค. 2022 น่าจะลงไปอยู่ที่ระดับ 500 คน/วัน

โลกน่าจะเข้าสู่ Endemic ในช่วงตั้งแต่ 1 ก.ค. เป็นต้นไป ยกเว้นที่จีน ที่คุมการระบาดรอบใหม่ได้แล้ว น่าจะปิดประเทศต่อไปอีก 1 ปี

ข่าวดีที่ 3:
เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่ครบ 6 เดือนแล้วไม่เกิด New Variant of Concern (VOC) สายพันธุ์ย่อยที่เกิดแตกต่างจาก Omicron เดิมน้อยมาก

เป็นไปได้สูงว่า เราจะ End Game กันที่ Omicron นี่แหละครับ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top