Friday, 3 May 2024
โควิด19

ไทยรอดได้ยังไง? วิเคราะห์ 8 ประเด็นที่ทำให้ไทย รอดพ้นจาก ‘COVID-19’ | THE STATES TIMES Y WORLD EP.63

สรุปบทเรียนจาก 'COVID-19' สาเหตุอะไรที่ทำให้ประเทศไทยของเรารอดพ้นจากไวรัสร้ายมาได้
THE STATES TIMES Y World วิเคราะห์และสรุปมาให้เหลือเพียงแค่ 8 ประเด็น
จะมีประเด็นอะไรน่าสนใจบ้าง ไปชมกันได้เลย....

ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Y World 
และสามารถรับชมคลิปอื่น ๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PLvNTQ_fOAFugvfiWfiUXJ8JJYho1ADnG8

#THESTATESTIMES
#THESTATESTIMESYWORLD
#โควิด19
#ไทยรอดโควิด
#ไทยชนะ

ความสำเร็จรับมือโควิด-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

เกียรติยศและรางวัลแห่งความสำเร็จ : เกิดจากความร่วมมือของคนไทยทั้งประเทศ ที่รัฐบาลนี้ นำมาสู่ประชาชนชาวไทย คือ ‘การสร้างโอกาสในวิกฤต’ 

โดย ‘ปีแรก’ ของการระบาด ประเทศไทยถือว่าเป็นอันดับ 2 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย ที่สามารถฟื้นตัวจากโควิดได้ดี เป็นอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย ที่มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับโรคระบาดและด้านสุขภาพได้ดีที่สุด อีกทั้งไทยเป็นอันดับ 5 ของโลก ที่มีความมั่นคงทางสุขภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เลือกประเทศไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศจากทั่วโลก และเป็นประเทศเดียวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการดำเนินโครงการกลไกทบทวนการเตรียมความพร้อม กรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health and Preparedness Review : UHPR) และถอดบทเรียนความสำเร็จการรับมือวิกฤตโควิด

นอกจากนี้...ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการของ ‘ศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่’ (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases : ACPHEED) ที่ส่งเสริมโอกาสให้ประเทศไทยเป็น ‘ศูนย์กลางทางการแพทย์และสาธารณสุข’ (Medical Hub) แห่งหนึ่งในโลก และไปไกลได้กว่านั้น คือ เป็นตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ในอนาคต

การนำพาบ้านเมืองฝ่าวิกฤตต่าง ๆ ดึงพลังความสามัคคีของคนในชาติ จนสามารถเอาชนะ ‘สงครามโควิด’ ได้อย่างงดงาม จนนานาชาติต่างชื่นชม แน่นอนว่าการท่องเที่ยวในปี 64 หลัง ‘เปิดประเทศ’ อย่างเป็นระบบ นักท่องเที่ยวต่างชาติไหลกลับเข้าประเทศตามเป้า 10 ล้านคน ตั้งแต่ยังไม่ครบปี 

ในขณะที่หลายประเทศยังซบเซา เศรษฐกิจโลกยังถดถอย แต่ก็มั่นใจว่าปีหน้า 2566 จะมีชาวต่างชาติมาเยือนไทย ไม่น้อยกว่า 23.5 ล้านคน มองเห็นสร้างรายได้จากกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึง 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมชาวจีนที่ยังคงปิดประเทศ

'หมอยง' ชี้ วิวัฒนาการของ 'โควิด' เป็นไปเพื่อความอยู่รอด ไวรัสปรับตัว ลดความรุนแรง เพื่อให้อยู่ร่วมกันกับเจ้าบ้านได้

(20 ก.พ. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด-19 ระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา องค์ความรู้แสดงให้เห็นความจริงต่างๆ

ตามที่ได้เคยกล่าวไว้ในอดีต จะเห็นได้ว่า ความจริงต่างๆ ได้เริ่มปรากฏชัดขึ้น

1.) วิวัฒนาการของไวรัสเป็นไปเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นไวรัสจะปรับตัวเพื่อลดความรุนแรงลงให้อยู่ร่วมกันกับเจ้าบ้านได้ ความรุนแรงของโควิด 19 จึงลดลงมาโดยตลอด จากอัตราตายสูง 3-5% จนขณะนี้เหลือน่าจะน้อยกว่า 0.1% เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่

2.) โรคที่มีความรุนแรงสูง เช่น Ebola, Marburg, Lassa โอกาสที่จะระบาดไปทั่วโลกเป็นไปได้ยาก ตรงข้ามกับโรคที่มีความรุนแรงต่ำ เช่นไข้หวัดใหญ่ โควิด 19 สามารถระบาดไปทั่วโลกได้

3.) วัคซีนแต่ละชนิดไม่แตกต่างกัน มีการเรียกร้องวัคซีน mRNA ที่กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูง และมีผลการทดลองเป็นเพียงระยะสั้น ประสิทธิผลในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อติดตามในระยะยาวแล้วภูมิต้านทานลดลงเร็ว และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ถ้าดูอัตราการเสียชีวิตของแต่ละประเทศ และวัคซีนที่ฉีด ก็จะเห็นได้ชัด เมื่อประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไปแล้ว อัตราการเสียชีวิตในประเทศที่ฉีด mRNA ล้วน ก็ไม่ได้ต่ำกว่าประเทศที่ไม่ได้ฉีด ดังนั้นที่ผ่านมาจึงไม่มีวัคซีนเทพ วัคซีนขณะนี้หลายบริษัท ได้ลดการผลิตหรือเลิกการผลิต

4.) การระบาดของโรค ที่สงบลงขณะนี้ เพราะประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไปแล้ว โดยแต่ละประเทศเชื่อว่าติดเชื้อไปแล้วมากกว่าร้อยละ 70 จึงทำให้การระบาดของโรคทุเลาลง

5.) ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ร่วมกับการฉีดวัคซีน จะเป็นภูมิต้านทานที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และอยู่นานเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนอย่างเดียว

'หมอยง' ชี้ บทสรุป 'วัคซีนทุกตัว' ประสิทธิภาพไม่ต่างกัน ฉีดกี่เข็มก็ไม่กันการติดเชื้อ ได้แค่ลดความรุนแรงของโรค

(3 มี.ค. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเรื่อง โควิด 19 วัคซีน ความต้องการที่น้อยลง ระบุว่า...

ในปีแรกที่เริ่มมีวัคซีน ทุกคนแย่งกันมาก เมื่อมีวัคซีนมากขึ้น เรียกร้อง mRNA เป็นวัคซีนเทพ เมื่อกาลเวลาผ่านไป จะเห็นได้ว่าวัคซีนทุกตัวประสิทธิภาพไม่ต่างกันเลย

มาถึงปัจจุบัน จะฉีดวัคซีนกี่เข็มก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เพียงแต่ลดความรุนแรงของโรคลง

ในวันนี้ ประชากรทั่วโลกส่วนใหญ่ได้ติดเชื้อไปแล้ว น่าจะถึง 5 พันล้านคน แม้กระทั่งประเทศไทยก็น่าจะติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 50 ล้านคน

การ์ดอย่าตก!! ‘กรมควบคุมโรค’ แจ้ง!! ยอดผู้ติดเชื้อ ‘โควิด’ สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ป่วย 122 ราย เสียชีวิต 6 คน

(13 มี.ค. 66) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 5 -11 มีนาคม ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 122 ราย เฉลี่ยรายวัน จำนวน 17 ราย/วัน รวมสะสม 4,385 ราย และมีผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 6 คน เฉลี่ยรายวัน จำนวน 1 คนต่อวัน

ทั้งนี้ ยอดเสียชีวิตสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 จำนวน 255 คน มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 46 คน และผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ 27 คน


ที่มา : https://mgronline.com/uptodate/detail/9660000023353
 

ครม. เคาะ!! ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ นทท.ต่างชาติ พร้อมจัดเก็บค่าวัคซีนเป็นรายได้แผ่นดิน

(14 มี.ค.66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ให้กรมควบคุมโรคเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ซึ่งเป็นสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทยจำนวน 60 ล้านโดส (AstraZeneca) ปี พ.ศ. 2565 โดยการปรับลดราคาวัคซีนตามโครงการเหลือ 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส ส่งผลให้วงเงินตามโครงการลดลงเหลือ 18,382.46 ล้านบาท (เดิม 18,639.10 ล้านบาท) และปรับเพิ่มกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นกลุ่มเป้าหมายตามโครงการด้วย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รวมถึงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชากรในประเทศไทยจำนวน 30 ล้านโดส (Pfizer) ปี พ.ศ. 2565 โดยปรับเพิ่มกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากสิ้นสุด ธ.ค. 65 เป็น ก.ย. 66

‘ไบเดน’ ประกาศสิ้นสุดสถานการณ์ฉุกเฉิน ‘โควิด’ ในสหรัฐ ขอยุติส่งเงินสนับสนุน ‘ตรวจหาเชื้อ-จัดสรรวัคซีน’ แบบฟรี

(11 เม.ย.66) สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐอเมริกา ได้ทำการสิ้นสุดสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากได้ประกาศใช้มาตรการดังกล่าวมานานกว่า 3 ปี ในความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะดูแลประชาชนของประเทศที่ปรากฏผู้เสียชีวิตจากโควิดดังกล่าวกว่า 1 ล้านราย
.
ทำเนียบขาวกล่าวว่า ไบเดนได้ลงนามอนุมัติร่างกฎหมายที่สภาครองเกรสได้รับรองไปแล้วในช่วงก่อนหน้า โดยเนื้อความของกฎหมายกล่าวถึงการสิ้นสุดสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ซึ่งจะหมายถึงการยุติการส่งเงินสนับสนุนจำนวนมากไปกับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 การจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงมาตรการฉุกเฉินอื่นๆ ที่ใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 หรือช่วงต้นของการแพร่ระบาดของหายนะทางสาธารณสุขทั่วโลกนี้ ในการปลดเปลื้องสหรัฐซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ของโลกจากเงื้อมือของโควิด-19
.
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนคือ ผลกระทบจากการประกาศสิ้นสุดภาวะฉุกเฉินนี้ต่อประเด็นชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโกที่มีความตึงเครียดในปัจจุบัน จากการที่ทางการสหรัฐประสบปัญหาในการจัดการกับกระแสของผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารและผู้ขอลี้ภัยจำนวนมากมาเป็นระยะเวลายาวนาน

‘สธ.’ เตรียมรับมือ ‘โอมิครอน’ สายพันธุ์ใหม่ ‘หมอยง’ ชี้ แพร่หนัก มิ.ย. เผย 1 พ.ค. นี้ รณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควบ วัคซีนโควิด-19 

เมื่อวันที่ 18 เม.ย.66 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมติดตามสถานการณ์โควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุข ว่า เทศกาลสงกรานต์มีประชาชนออกไปร่วมกิจกรรมจำนวน อาจทำให้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ แต่ไม่ได้มีนัยยะสำคัญ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไปร่วมกิจกรรมสงกรานต์ขอให้อยู่ห่างจากกลุ่มเสี่ยง ขณะนี้สายพันธุ์ที่ระบาดในไทย ยังเป็นลูกผสมโอมิครอน XBB.1.5 ส่วนลูกผสม XBB.1.16 ส่วนการกลายพันธุ์ก็เป็นไปตามธรรมชาติ โดยองค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่ต้องติดตาม ไม่ใช่สายพันธุ์ที่ต้องกังวล แต่อาจติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

“ขณะที่การฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ประชุมวันนี้มีความเห็นว่าจะให้ฉีดเป็นวัคซีนประจำปีเหมือนไข้หวัดใหญ่ ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จะรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่พร้อมกับวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศ”

‘บิ๊กตู่’ หวั่นยอด ‘โควิด-19’ พุ่ง!! ห่วงกลุ่มเสี่ยง 608 ขอเร่งให้รับวัคซีน กำชับ สธ. ติดตามการระบาดสายพันธุ์ XBB.1.16 ใกล้ชิด คาดยอดเพิ่มช่วงหน้าฝน

(26 เม.ย.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทยขณะนี้ และรับทราบสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ภายในประเทศรายสัปดาห์ (วันที่ 16-22 เมษายน 2566) ตามรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีห่วงใยประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ขอให้รีบเข้ารับวัคซีนที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้านโดยเร็ว พร้อมสั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขติดตามสถานการณ์โรคโควิด 19 และการระบาดของเชื้อสายพันธุ์โควิด XBB.1.16 อย่างใกล้ชิด 

นายอนุชา กล่าวว่า จากข้อมูลกรมควบคุมโรค ผู้ป่วยโควิด 19 ภายในประเทศสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 16 - 22 เมษายน 2566) พบผู้ป่วยรายใหม่ 1,088 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ผู้ป่วยปอดอักเสบ 73 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 35 ราย และผู้เสียชีวิต 5 ราย เฉลี่ยน้อยกว่า 1 คนต่อวัน ผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล สะสม 6,571 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) ผู้เสียชีวิต สะสม 278 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) ผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนกว่า 2 เท่า พบกระจายในหลายจังหวัดโดยเฉพาะเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในสมาชิกครอบครัว และการร่วมกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 5 ราย พบว่าเป็นกลุ่ม 608 อายุเฉลี่ย 75 ปี โดย 4 รายที่เสียชีวิตเป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน และอีก 1 ราย ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เมื่อติดเชื้อแล้วเกิดอาการรุนแรง ดังนั้น การฉีดวัคซีนหรือวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันจึงยังมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 จะช่วยลดอาการหนักและเสียชีวิตได้ ส่วนผู้ที่มีปัญหาเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ LAAB ได้เช่นกัน โดยติดต่อขอรับบริการได้ที่สถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน 

นายอนุชา กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้เผยข้อมูลของเชื้อโควิด XBB.1.16 ซึ่งเป็นลูกผสมของสายพันธุ์โอมิครอน BA.2.10.1 และ BA.2.75 การระบาดมีแนวโน้มพบเพิ่มขึ้น มีความสามารถในการแพร่กระจายได้ดีกว่า XBB.1.5 มีความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันได้ดี ยังไม่มีหลักฐานแสดงว่าทำให้โรครุนแรงขึ้น อาการที่พบคือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก อาจพบเยื่อบุตาอักเสบ คันตา ตาเหนียวร่วมด้วย แต่ยังไม่มีข้อมูลชี้ชัดว่าอาการดังกล่าวเป็นลักษณะจำเพาะที่เกิดจากสายพันธุ์ XBB.1.16 

นายอนุชา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่ากรณีเชื้อสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลและหลายคนวิตกนั้น เป็นธรรมชาติของเชื้อไวรัสที่จะมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา แต่ยังคงเป็นลูกผสมของสายพันธุ์โอมิครอนเดิม และไม่ได้มีความรุนแรงไปกว่าสายพันธุ์เดิม ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดเพิ่มขึ้น เป็นไปตามการคาดการณ์ของกรมควบคุมโรค และไม่ได้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกัน ทั้งจากการติดเชื้อและการได้รับวัคซีน 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top