ความสำเร็จรับมือโควิด-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
เกียรติยศและรางวัลแห่งความสำเร็จ : เกิดจากความร่วมมือของคนไทยทั้งประเทศ ที่รัฐบาลนี้ นำมาสู่ประชาชนชาวไทย คือ ‘การสร้างโอกาสในวิกฤต’
โดย ‘ปีแรก’ ของการระบาด ประเทศไทยถือว่าเป็นอันดับ 2 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย ที่สามารถฟื้นตัวจากโควิดได้ดี เป็นอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย ที่มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับโรคระบาดและด้านสุขภาพได้ดีที่สุด อีกทั้งไทยเป็นอันดับ 5 ของโลก ที่มีความมั่นคงทางสุขภาพ
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เลือกประเทศไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศจากทั่วโลก และเป็นประเทศเดียวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการดำเนินโครงการกลไกทบทวนการเตรียมความพร้อม กรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health and Preparedness Review : UHPR) และถอดบทเรียนความสำเร็จการรับมือวิกฤตโควิด
นอกจากนี้...ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการของ ‘ศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่’ (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases : ACPHEED) ที่ส่งเสริมโอกาสให้ประเทศไทยเป็น ‘ศูนย์กลางทางการแพทย์และสาธารณสุข’ (Medical Hub) แห่งหนึ่งในโลก และไปไกลได้กว่านั้น คือ เป็นตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ในอนาคต
การนำพาบ้านเมืองฝ่าวิกฤตต่าง ๆ ดึงพลังความสามัคคีของคนในชาติ จนสามารถเอาชนะ ‘สงครามโควิด’ ได้อย่างงดงาม จนนานาชาติต่างชื่นชม แน่นอนว่าการท่องเที่ยวในปี 64 หลัง ‘เปิดประเทศ’ อย่างเป็นระบบ นักท่องเที่ยวต่างชาติไหลกลับเข้าประเทศตามเป้า 10 ล้านคน ตั้งแต่ยังไม่ครบปี
ในขณะที่หลายประเทศยังซบเซา เศรษฐกิจโลกยังถดถอย แต่ก็มั่นใจว่าปีหน้า 2566 จะมีชาวต่างชาติมาเยือนไทย ไม่น้อยกว่า 23.5 ล้านคน มองเห็นสร้างรายได้จากกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึง 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมชาวจีนที่ยังคงปิดประเทศ
หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่อนคลาย และรัฐบาล ‘เปิดประเทศ’ ส่งผลให้ตลอดปี 2565
1. มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 2,119 โครงการ เพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 41 ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุน 664,630 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 39
2. มีการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1,554 โครงการ ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุน 618,620 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 21
3. มีการออกบัตรส่งเสริม 1,490 โครงการ ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุน 489,090 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 21
4. มีโครงการขนาดใหญ่ในหลายประเภทกิจการ เช่น
(1) กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท มูลค่ารวม 53,991 ล้านบาท
(2) กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า มูลค่ารวม 50,495 ล้านบาท
(3) กิจการ Data Center มูลค่ารวม 42,548 ล้านบาท เป็นต้น
ในส่วนของ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ในปี 2565 มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน
1. มีเงินลงทุน 468,668 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 71 ของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น
2. ส่วนใหญ่อยู่่ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 129,475 ล้านบาท
3. รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน, อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร, อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
จากนโยบายการ ‘เปิดประเทศ’ อย่างยั่งยืน ค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวแรงระดับต้น ๆ ของโลก มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนไทย ‘เพิ่มขึ้น’ จาก 4 แสนคน ในปี 2564 เป็น 11.8 ล้านคน ในปี 2565 และคาดการณ์ว่าในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นมากถึง 25.5 ล้านคน สร้างเม็ดเงินสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง 1.07 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นอานิสงส์มาจาก ‘จีนเปิดประเทศ’ และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว/ผู้ประกอบการชาวจีน เดินทางออกนอกประเทศได้ ทั้งแบบบุคคลและกรุ๊ปทัวร์ / โดยมีประเทศไทยอยู่ในบัญชีประเทศปลายทาง 20 ประเทศแรก ที่รัฐบาลจีนเชื่อมั่น (เริ่มตั้งแต่ 6 ก.พ.66) และนักท่องเที่ยวชาวจีนก็นิยมมาเยือนไทยมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ในโลก