Thursday, 2 May 2024
โควิด19

‘เสี่ยเฮ้ง’ เดือด!! ซัด ‘ธนาธร’ หากรัฐฯ ‘นิ่งเฉยช่วงโควิด-ไร้แผนรับมือ’ ศก.ไทยมีแต่เจ๊งกับเจ๊ง โบนัสบริษัทต่างๆ พร้อมหลุดเป้า

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้งานติ๊กต็อกชื่อ ‘Krutukta’ ได้โพสต์วิดีโอนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน และผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ขณะปราศรัยหาเสียง โดยช่วงหนึ่งของการปราศรัย นายสุชาติได้กล่างถึงเหตุการณ์ในช่วงที่โควิดระบาดหนัก โดยระบุว่า…

ช่วงที่เดลตาระบาดหนักๆ ผมนั่งประชุมอยู่ในคณะกรรมาการเรื่องแก้ปัญหาโควิดกับท่านนายกฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมทีมแพทย์ ที่ปรึกษาหลายๆ ท่าน ทีมแพทย์ แนะนำให้ปิด-หยุดอยู่กับบ้านอีก 3 เดือน คล้ายๆ กับเดือนเมษายน ปี 2563 ผมทราบบรรยากาศ ทราบอาการท่านนายกฯ ในวันนั้นว่า ถ้าปิดแบบนี้ ประเทศเจ๊งแน่นอน เพราะอะไรรู้ไหมครับ? เพราะออเดอร์ต่างๆ ที่บริษัทส่งออกรับออเดอร์ไว้ คู่ค้าต่างประเทศเขารออยู่ ถ้าเราปิด ก็จะรับออเดอร์ไม่ได้ ลูกค้าก็ต้องไปสั่งที่ประเทศอื่น และหลังจากโควิดหาย บริษัทเหล่านี้จะเอาออเดอร์ที่ไหน ส่งผลกระทบกับผู้ใช้แรงงานแน่นอน 

ในที่ประชุม ผมถามคุณหมอว่ากลัวอะไรที่สุด คุณหมอบอกว่ากลัวเรื่องแคมป์คนงานในกรุงเทพ ผมบอกว่า ปิดแคมป์คนงานไปเลย เดี๋ยวกระทรวงแรงงานเยียวยาเอง แล้วถามว่ากลัวอะไรอีก? หมอบอกว่ากลัวคนเดินห้าง ผมก็สั่งปิดห้างสรรพสินค้าไปเลยหนึ่งเดือน เดี๋ยวเยียวยาเอง แต่ห้ามปิดอุตสาหกรรมส่งออก นี่คือข้อตกลงในที่ประชุม แล้วผมเองก็ไปเยียวยาพี่น้องผู้ใช้แรงงาน พนักงานห้างสรรพสินค้า เยียวยาพี่น้องผู้ใช้แรงงานทั้งต่างด้าวและคนไทย ใช้เงินในสิทธิประกันสังคมเยียวยา

ตอนนั้นมีบริษัทหนึ่ง ชื่อบริษัทยานภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่สมุทรปราการ ต่อสายตรงหาผมและบอกว่า มีพนักงานทั้งหมด 2 พันกว่าคน ติดโควิดประมาณ 20 กว่าคนแต่จะโดนปิดโรงงาน ตอนนั้นผมบอกว่า ปิดไม่ได้ ถ้าปิดเจ๊งทันที วิธีแก้ปัญหาของผมคือ การทำโครงการ Factory Sandbox ตรวจหาเชื้อแบบเชิงรุก เป็นการตรวจ RT PCR 100 % เช่น โรงงานนี้มีหนึ่งพันคน ตรวจเจอเชื้อ 100 คน เอาไปรักษา อีก 900 คนฉีดวัคซีน ม.33 ที่ลุงตู่ให้มา และไม่มีเหตุผลในการปิดโรงงาน จึงได้ผลิตและส่งออกต่อไปได้

‘หมอธีระ’ เผย แม้ WHO ประกาศยุติภาวะฉุกเฉิน แต่การระบาดยังมีอยู่ ย้ำ!! ‘คนไทย-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง’ อย่าประมาทโควิด-19

เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 66 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 48,348 คน ตายเพิ่ม 295 คน รวมแล้วติดไป 687,652,147 คน เสียชีวิตรวม 6,870,442 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส รัสเซีย และเวียดนาม

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.38 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 97.28

อัพเดต XBB.1.16.x ข้อมูลจาก GISAID (Cr: Rajnarayanan R) พบว่าตอนนี้ Omicron สายพันธุ์ย่อย XBB.1.16.x นั้นมีรายงานตรวจพบเพิ่มเป็น 48 ประเทศแล้ว สัดส่วนสายพันธุ์ในอเมริกา รายงานจาก US CDC ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบัน XBB.1.5 ยังครองการระบาดอยู่ราว 67% ในขณะที่ XBB.1.16 และ XBB.1.9.x นั้นมีสัดส่วนพอๆ กันราว 13%

ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern: PHEIC) เป็นคนละเรื่องกับการระบาดทั่วโลก (Pandemic)

เมื่อคืนนี้องค์การอนามัยโลกได้ประกาศยุติการประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์กันไว้ก่อนมีการประชุมเมื่อวานนี้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนลักษณะการรายงานของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงจำนวนเสียชีวิตโดยรวมที่ลดลง การได้รับวัคซีนที่มากขึ้น และแรงกดดันในด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ

ชุดเครื่องมือทางนโยบายจากประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศนั้น ไม่ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ระบาดปัจจุบันที่มีการระบาดต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะที่เรียกว่า subacute to chronic phases แบบในปัจจุบัน

ดังนั้น หลังยุติการประกาศ PHEIC ลงแล้ว จะเป็นช่วงเวลาที่จะพิสูจน์ว่าแต่ละประเทศจะรับมือ และจัดการสถานการณ์ระบาดที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด

ทั้งระบบเฝ้าระวัง การกระตุ้นเตือนและให้ความรู้ประชาชน การควบคุมป้องกันโรค การเข้าถึงบริการ ยา วัคซีน รวมถึงการจัดการคน เงิน และทรัพยากรอื่นที่จำเป็น ทางองค์การอนามัยโลกได้เตือนไว้อย่างชัดเจนว่า การระบาดทั่วโลกยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่กังวล และย้ำเตือนให้ระวังคือ

“The worst thing any country could do now is to use this news as a reason to let down its guard, to dismantle the systems it has built, or to send the message to its people that COVID19 is nothing to worry about”

CEO ISC ส่งเสริมอากาศไร้ไวรัส ป้องกันโควิดฯ แม้ยามปลอดภัย

เมื่อต้นเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก ประกาศสิ้นสุดภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ กรณีโรคโควิด 19 แต่ยังเตือนให้ทุกประเทศยังคงต้องเฝ้าระวัง และป้องกันควบคุมการระบาดอย่างต่อเนื่องรวมทั้งเร่งรัดการฉีดวัคซีนเพื่อให้มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด 19 เพียงพอในระดับบุคคล และประชากรเพื่อลดโอกาสป่วยหนัก และเสียชีวิตจากโควิด 19 โดยสามารถใช้วัคซีนชนิดใดหรือรุ่นใดก็ได้ ฉีดปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ให้เว้นระยะห่างจากเข็มสุดท้ายหรือประวัติการติดเชื้ออย่างน้อย 3 เดือน

แม้ว่าโคโรนาไวรัสจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น และรับมือกันได้ด้วยวัคซีน และลดพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อ
เรายังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันตามสภาพกิจกรรมประจำวัน และสถานที่อยู่อาศัยและการทำงานด้วย

สำหรับ การดูแลสุขภาพกายส่วนบุคคล ยังจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องไปพบปะผู้คนหรืออยู่ในที่ชุมนุมชนรวมถึงล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสจุดต่างๆ ที่อาจเป็นที่สะสมของเชื้อโรค รวมทั้งก่อน และหลังรับประทานอาหาร

สำหรับ สถานประกอบการ หรือสถานที่ที่มีผู้คนสัญจรไปมาพลุกพล่าน อาจมีการส่งเสริมประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงเป็นวาระประจำ ด้วยการเพิ่มความปลอดภัย และสบายใจของบุคลากร หรือลูกค้าในสถานที่นั้นๆ ด้วยเครื่องพ่นฆ่าเชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรีย ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรเลือกผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายที่มีมาตรฐาน และความน่าเชื่อถือ

คุณ ศลีนา ศักดิ์เสรี ประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อินติเกรต ซิสเต้ม (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ ISC ผู้นำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์นวัตกรรมเทคโนโลยีอเนกประสงค์ กล่าวว่า "สามสี่ปีก่อน ช่วงโควิด 19 ระบาดใหม่ ผู้คนตื่นตัว ระแวดระวัง ป้องกัน และลดความเสี่ยง โดยรักษาระยะห่างอย่างเข้มข้น ส่วนในปัจจุบัน ผู้คนมีความคุ้นชิน และอยู่ร่วมกับโรคอุบัติใหม่ที่กลายเป็นโรคประจำถิ่นนี้อย่างหมดความกังวล ทว่า ไวรัสยังคงพัฒนา กลายพันธุ์ไปตามธรรมชาติ มีความหนักเบาด้านความรุนแรงไปตามภูมิภาค และสุขภาพของผู้รับเชื้อ ฉะนั้นเราไม่ควรประมาทกับสิ่งนี้ ยังคงต้องคำนึงถึงการป้องกัน และความปลอดภัย ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว พนักงาน และลูกค้าในสถานประกอบการ ตามมาตรฐานที่ควรปฏิบัติ เพื่อสุขภาวะที่ดีของบุคคล และกิจการค่ะ"

รัฐฟลอริด้าประกาศ มหันตภัยจาก 'วัคซีน mRNA' ที่แท้ถูกสร้างมาเป็นอาวุธชีวภาพทำลายชีวิตผู้คน .

(21 ก.ค.66) ผู้ใช้ Blockdit 'ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

รัฐฟลอริด้ามีความกล้าหาญมากที่ออกมาแถลงว่าวัคซีน mRNA ที่ใช้ฉีดแก้โควิด-19 นั้น เป็นอาวุธชีวภาพที่เป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ถูกฉีดมากกว่าเป็นคุณและกำลังดำเนินการเพื่อประกาศให้เป็นสิ่งผิดกฎหมายภายในรัฐ (Florida declare mRNA Covid shots a ‘Bio-Weapon’.  Legislation looking to be passed to make it ILLEGAL to administer any mRNA Covid-19 Vaccine to anybody in the state)

เห็นหรือยังครับ? คำว่า *ทฤษฎีสมคบคิด* (Conspiracy Theory) เป็นวาทกรรมที่ CIA สร้างขึ้นมาเพื่อสกัดมิให้คนเชื่อเมื่อมีคนแฉอาชญากรรมของยิวไซออนิสต์ที่คิดครองโลก 

ข่าวใดก็ตามที่ถูกตราว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิด วิญญูชนไทยต้องศึกษาให้ลึกหรือต้องวิจัย แล้วจะเข้าใจความจริงเอง ไม่ต้องรอให้ฝรั่งมาชี้นิ้วว่าควรจะเป็นอย่างไร จักรวรรดิ์นิยมอเมริกานี้เติบโตมาพร้อม ๆ กับนโยบายลดจำนวนประชากรโลก 

ถือว่าทีมผู้บริหารรัฐฟลอริด้ากล้าหาญมากครับ กล้าหาญมากว่าประเทศไทยที่นักการเมืองส่วนใหญ่ถูกล้างสมองด้วยข่าวโฆษณาชวนเชื่อ ไม่มีวิจารณญาณมากพอจะแยกแยะ 

น่าจะเรียกว่าเป็น *ประเทศฟลอริด้า* กันได้แล้วนะครับเพราะนโยบายแตกต่างจากรัฐบาลกลางอย่างสิ้นเชิง เมื่อเปโตรดอลล่าร์ล่มสลายลง ถ้าจะแยกตัวไปเป็นเอกราช ก็ขอให้สำเร็จ

ตอนนี้ เชื่อหรือยังว่าโควิด-19 มาพร้อมๆ กับนโยบายลดจำนวนประชากรโลก? แน่นอนครับ ขอให้ค้นคว้ากันเองและตัดสินใจเองว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

ครม. อนุมัติงบกลางฯ 2.99 พันล้านบาท จ่ายค่าตอบแทนเสี่ยงภัยโควิดให้ ‘บุคลากรการแพทย์’

(8 ส.ค. 66) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ส.ค. 66 ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 2,995.95 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานระหว่างเดือน ก.ค. 64 - มิ.ย. 65 ของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขและนอกสาธารณสุข รวม 8 หน่วยงาน ดังนี้

1. กระทรวงสาธารณสุข 1,362.77 ล้านบาท
2. กระทรวงการอุดมศึกษาฯ 561.46 ล้านบาท
3. กระทรวงกลาโหม 385.10 ล้านบาท 
4. กระทรวงมหาดไทย 420.39 ล้านบาท 
5. กระทรวงยุติธรรม 92.16 ล้านบาท
6. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 52.16 ล้านบาท
7. สภากาชาดไทย 111.78 ล้านบาท
8. โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 10.13 ล้านบาท

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ความจำเป็นของเรื่องที่นี้เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้รวบรวมค่าใช้จ่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 พบว่ายังมีค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขค้างจ่ายในปีงบประมาณ 2564-64 ของหน่วยงานทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ค่าตอบแทนบุคลากรนอกเหนือภารกิจปกติ สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานนอกสถานพยาบาล 

ดังนั้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้รับค่าตอบแทนเสี่ยงภัยจากการปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด-19 ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง จึงต้องเสนอเรื่องให้มีการอนุมัติในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานต่อไป

อย่างไรก็ตาม การจัดสรรงบกลางให้ในวงเงิน 2,995.95 ล้านบาทในครั้งนี้เป็นกรณีค่าเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงานช่วง ก.ค. 64 - มิ.ย. 65 จะมีส่วนของค่าเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงานช่วง มิ.ย. - ก.ย. 65 อีก 3,745.64 ล้านบาท โดยกระทรวงสาธารณสุขจะขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีในลำดับต่อไป

'อ.ไชยันต์' เทียบ 'จำนวนประชากร-ผู้เสียชีวิต' จากโควิด-19 ผู้เสียชีวิตในไทยต่ำกว่าชาติอื่นที่มีประชากรใกล้เคียงกัน

(9 ส.ค. 66) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19

- สหราชอาณาจักร 228,890 (จำนวนประชากร 67.33 ล้าน)

- ฝรั่งเศส 167,642 (จำนวนประชากร 67.75 ล้าน)

- สวีเดน 24,537 (จำนวนประชากร 10.42 ล้าน)

- ไทย 34,437 (จำนวนประชากร 71.6 ล้าน)

แกนนำกลุ่มทะลุวัง กล่าวหาว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยเป็น ‘ฆาตกร’ เพราะประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เป็นจำนวน 34,437 คน

แล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, สวีเดน ฯลฯ ล่ะครับ ?

ส่วนประเทศที่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เลยนั้น

ขอยกตัวอย่าง 3 ประเทศ ได้แก่...
ลาว, กัมพูชา และเกาหลีเหนือ 

ส่วนรายชื่อประเทศที่เหลือที่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เลย ดูได้จากภาพแนบครับ

‘หนุ่ม’ ไม่โทษ ‘ภูมิใจไทย’ หลังสูญเสียญาติ 2 คนจากโควิด ไม่มีชาติไหนรับมือได้สมบูรณ์ ขนาดสหรัฐฯ ยังเละไม่เป็นท่า

(9 ส.ค. 66) สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา กลุ่มทะลุวังได้เดินทางมาที่พรรคเพื่อไทย เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านไม่ให้พรรคภูมิใจไทยร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ทําให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของพรรคเพื่อไทยต่างเร่งรักษาความปลอดภัย ได้นําล้อเหล็กมากั้นไว้ที่บันไดหน้าทางขึ้น โดยแก๊งทะลุวัง นําโดยสายน้ำ บุ้งทะลุวัง หยก ตะวัน และแนวร่วมไม่ถึงสิบคนเดินทางมาถึงพรรคเพื่อไทย จากนั้นได้มีการตะโกนด่าพรรคภูมิใจไทยที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค ว่า ‘เป็นฆาตกร’ เนื่อจากการบริหารจัดการที่ผิดพลาดในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนทำให้มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน

ล่าสุด มีหนุ่มรายหนึ่งออกมาอัดคลิปผ่านช่อง TikTok บัญชี kittikarn_kotcharkarn โดยได้กล่าวถึงกลุ่มทะลุวัง ที่ได้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา และตราหน้าพรรคภูมิใจไทย และนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยว่าเป็นฆาตกร โดยระบุว่า

“พอดีเมื่อเช้าผมได้เห็นข่าวกลุ่มทะลุวัง ได้เข้าไปพูดคุยกับตัวแทนของพรรคภูมิใจไทย แล้วไปบอกว่าเขาเป็นฆาตกร เป็นพรรคฆาตกร ผมจึงอยากจะเล่าว่า ผมได้สูญเสียญาติไป 2 คนจากโควิด-19 แต่ผมก็ไม่ได้โทษพรรคภูมิใจไทย ถึงแม้ว่าการปฏิบัติงานบริหารจัดการอะไรต่าง ๆ มันควรจะดีกว่านี้ เพราะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยนั่งเก้าอี้สาธารณสุขอยู่ แต่ผมก็เข้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าไม่มีชาติไหนรับมือได้เพอร์เฟคจริง ๆ สักชาติหนึ่ง ขนาดชาติที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกายังเละไม่เป็นท่า แถมหนักกว่าเราอีก เพราะบ้านเขาคือเอาความเสรี หน้ากากก็ไม่ใส่ อะไรก็ไม่ใส่ เละเลย…บ้านเรายังถือว่าประชาชนตื่นตัว ตื่นรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมและน่ายินดี ก็เลยทำให้ผ่านมาได้” 

“แต่การที่ไปตราหน้าเขาว่าเป็นฆาตกร ซึ่งมันไม่ใช่ เขาไม่ใช่ฆาตกร ฆาตกรตัวจริงคือชาติที่คิดเชื้อนี้ขึ้นมา ผมไม่เชื่อว่าโควิด-19 จะเป็นไวรัสที่กลายพันธุ์ตามธรรมชาติ ผมเชื่อว่ามันคืออาวุธชีวภาพ ดังนั้นฆาตกรตัวจริงคือคนที่คิดมันขึ้นมา ก็ยังไม่เห็นว่าชาตินั้นน่ะจะต้องรับผิดชอบอะไร”

นอกจากนี้หนุ่มรายดังกล่าวยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในทางกลับกันขยันปล่อยให้ชาติอื่น ๆ กู้
ในช่วงเวลาที่ประเทศหลายประเทศประสบปัญหาเรื่องการเงินก็ต้องไปกู้ชาตินั้น มันกลายเป็นการช้อนซื้อประเทศแบบเลือดเย็น แล้วเรายิ่งมาเสียเวลาทะเลาะกันเองอีก ซึ่งไม่มีประโยชน์ เราควรจะร่วมมือกัน คนไทยทุกคนกินของไทย ใช้ของไทย สนับสนุนของไทย ที่เจ้าของเป็นคนไทยแท้ ๆ

“มันจะทําให้ประเทศไทยสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เรื่องพื้นฐานเลย คือไม่อยากจะด่า ไม่อยากจะใช้คําหยาบแล้ว เพราะว่าผมอยากจะเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ พูดในเรื่องที่มีคุณภาพมากกว่า”

อย่างที่ทราบกันดีกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ทั่วโลกก็มีการสูญเสียกันเยอะมาก หากเราเทียบสถิติการเสียชีวิตกับประเทศอื่น รวมถึงการบริหารจัดการโควิด-19 ในประเทศไทย ถือว่าประเทศไทยนั้น รับมือเกี่ยวกับการบริหารจัดการโควิด-19 ได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ถึงขนาดที่ทาง WHO ก็มีการชื่นชมในเรื่องของการบริหารจัดการโควิด-19 ของประเทศไทย ชื่นชมว่าเป็นแชมป์ทางด้านสาธารณสุขเลยก็ว่าได้

'มะเดี่ยว' เปิดใจ!! หลัง 'หมอยง' ไขกระจ่างทุกแง่มุมสถานการณ์โควิดไทย ยอมรับอดีตปิดหูปิดตา ทั้งที่ทีมวิจัยวัคซีนทำหน้าที่เพื่อคนไทยอย่างหนัก

(29 ส.ค. 66) จากเฟซบุ๊ก 'Chookiat Sakveerakul' โดยชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

เคยเข้าใจผิดจากการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน จนวันนี้ได้มีโอกาสได้มาพูดคุยกับอาจารย์หมอยง ท่านก็ได้เมตตาให้ความกระจ่างเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 เมื่อครั้งยังวิกฤติ ทำให้เรารู้ว่าทีมวิจัยวัคซีนทำงานหนักบนข้อจำกัดมากมายเพื่อให้คนไทยได้รับการดูแลที่ปลอดภัยที่สุด หลายเรื่องไม่เคยถูกสื่อสารออกมาและด้วยความร้อนรนของสังคม ณ เวลานั้นผู้คนจำนวนมากรวมทั้งเราเองก็อาจจะแสดงออกในทางที่ไม่ถูกไม่ควรกับอาจารย์ออกไปโดยเป็นการด่วนตัดสินไปตามอารมณ์หุนหันพลันแล่น

อาจารย์ให้เกียรติเราได้พบกันในห้องประชุมของทางโรงพยาบาลจุฬาฯ และได้ใช้เวลาพูดคุยอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นกันเอง โดยไม่มีวี่แววของความขุ่นเคืองเลยแม้แต่น้อย จนเมื่อเราได้เอ่ยขอขมาที่ได้ล่วงเกินท่านไปตามที่ตั้งใจไว้ อาจารย์ก็บอกว่าไม่เคยถือโทษโกรธเคืองกันเลยสักนิด แต่ท่านเมตตารับเอาไมตรีจิตไว้ แล้วยังเอ่ยปากเชิญชวนให้มาพบกันอีกในอนาคต

การพบกันในครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากการบังคับ หรือการมีคดีความอะไรต่อกันทั้งสิ้น เป็นความสมัครใจเมื่อมีโอกาสได้พบกับคุณพีท หลานชายของอาจารย์หมอและได้พูดคุยปรับความเข้าใจกันถึงประเด็นนี้ เราเลยอยากขอพบกับอาจารย์เพื่อได้รู้จักไถ่ถามความเป็นจริงโดยไม่ผ่านสื่อใด ๆ และก็ได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากอาจารย์หมอยงให้เข้าพบเจอ และพบว่าท่านคือผู้ใหญ่ที่ทำงานหนักเพื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้สร้างหลายสิ่งที่ควรจะได้รับการยกย่องไว้อย่างสง่างาม

ขอบคุณทุกท่านที่ทำให้เกิดการพูดคุยในวันนี้ขึ้นมานะครับ เป็นประสบการณ์ดี ๆ ครั้งหนึ่ง ที่ทำให้รู้ว่าบางครั้งการด่วนตัดสินใจไปโดยที่ไม่รู้จักอาจจะพลาดโอกาสที่จะทำให้เราเปิดหูเปิดตาได้รู้ได้เห็นอะไรที่เป็นจะทำให้เรามองโลกนี้ได้กว้างขึ้น 😍

ปล. ขออนุญาตปิดเมนต์นะ เพราะคนเขาคุยกันดีแล้ว รำคาญพวกมาแซะมาเสี้ยม 😂

‘แพทย์จีน’ เตือน!! โควิด-19 มีโอกาสกลับมาระบาดสูง เฝ้าระวัง 20 สายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวแพร่กระจายสู่มนุษย์

(26 ก.ย. 66) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า จีนออกมาเตือนทั่วโลกให้เตรียมพร้อมรับมือกับไวรัสโคโรนา 20 สายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวที่อาจแพร่ระบาดมาสู่คน

ดร. ฉี เจิ่งลี่ ผู้อํานวยการศูนย์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ออกมาเตือนว่าพบไวรัสโคโรนาจากค้างคาวกว่า 20 สายพันธุ์ใหม่ ‘มีความเสี่ยงสูง’ ที่อาจก้าวข้ามมาระบาดในคน

• ดร. ฉี เจิ่งลี่ ได้รับสมญาว่า ‘หญิงค้างคาว (bat woman)’ และ ‘นักล่าไวรัส (virus hunter)’ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนผู้ที่มีชื่อเสียง ทําการวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาที่กระโดดข้ามจากสัตว์โดยเฉพาะค้างคาวมาติดต่อในคน

• ดร. ฉี เจิ่งลี่ เป็นผู้อํานวยการศูนย์ติดเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่นและโด่งดังจากงานวิจัยเกี่ยวกับ SARS-CoV-1

• ในปี 2560 ดร. ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยค้นพบว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ SARS น่าจะมีต้นกําเนิดมาจากค้างคาวเกือกม้า (Horseshoe Bat) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน

• ดร. ฉี เจิ่งลี่ ถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดในช่วงการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากห้องปฏิบัติการของเธอที่สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่นทําการวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา แต่เธอปฏิเสธว่าไวรัสโคโรนา-2019 มิได้หลุดมาจากห้องปฏิบัติการของเธอ ปัจจุบันรัฐบาลจีนยังคงสนับสนุนงานวิจัยของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ ในการสืบค้นไวรัสในสัตว์ที่อาจแพร่ข้ามมาสู่มนุษย์

• ในผลการวิจัยล่าสุด ดร. ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยได้เตือนว่ามีโอกาส ‘สูงมาก’ ที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาอีกในอนาคต

ไวรัสโคโรนา (CoV) มีสี่สกุล ได้แก่ alpha (α), beta (β), gamma (γ) และ delta (δ) CoV ทั้งหมดที่ทำให้เกิดการระบาดของมนุษย์นั้นมาจาก alpha- หรือ beta-CoV จากการจำแนกประเภทของ ICTV ล่าสุด พบว่ามี CoV สายพันธุ์ 40 ชนิดในสกุล alpha- และ beta-CoV โดย 27/40 ของสายพันธุ์ CoV (67.5%) สามารถพบได้หรือพบเฉพาะในค้างคาว

>>หลักฐานของการระบาดของไวรัสโคโรนาในอนาคต

• ทีมวิจัยได้ระบุว่าพบไวรัสโคโรนาจํานวนกว่า 20 สายพันธุ์ที่มี ‘ความเสี่ยงสูง’ ที่จะแพร่ติดเชื้อในคนได้ โดยให้เหตุผลว่าไวรัสโคโรนาเคยก่อให้เกิดการระบาดจากสัตว์สู่คนมาก่อน (เช่น SARS และ COVID-19) ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่มันจะก่อให้เกิดการระบาดอีกในอนาคต

• ผู้เชี่ยวชาญบางคนเปรียบเทียบงานวิจัยของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ เสมือนการทำ ‘พจนานุกรมของไวรัสโคโรนา’ ที่จะช่วยในการพยากรณ์และป้องกันการระบาดในอนาคต

>>ผลกระทบงานวิจัยของ ดร. ฉี เจิ่งลี่

• เน้นถึงภัยคุกคามต่อเนื่องจากไวรัสโคโรนาที่มาจากค้างคาว

• ย้ำให้เห็นว่าภาครัฐควรลงทุนด้านการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อสืบค้นหาไวรัสที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อประโยชน์แห่งการพัฒนาวัคซีน/ยาสำหรับรักษาล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาดในอนาคต

• เตือนผู้ดูแลระบบสาธารณสุขทั่วโลกให้เตรียมรับมือการแพร่ระบาดของโรคจากไวรัสโคโรนาใหม่ ๆ ในอนาคต

• การถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนาทั้งจีโนมที่แยกเชื้อได้จากสัตว์โดย ดร. ฉี เจิ่งลี่  และ ทีมวิจัยสถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น จะมีคุณค่าอย่างยิ่งในการพยากรณ์และป้องกันโรคระบาดในอนาคต

>>เหตุใดงานวิจัยของดร. ฉี เจิ่งลี่ จึงมีความสำคัญ

• เน้นย้ำถึงภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องของไวรัสโคโรนาจากสัตว์สู่คน โดยเฉพาะจากค้างคาว
• เป็นพื้นฐานในการพยากรณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดในอนาคต
• ระบุไวรัสโคโรนาสายพันธุ์จากค้างคาวที่คล้ายกับ SARS-CoV-1, MERS-CoV, และ SARS-CoV-2
• ทำให้สามารถพัฒนาวัคซีนและยารักษาก่อนที่จะเกิดการระบาด
• ติดตามเก็บตัวอย่างจากประชากรค้างคาวทำให้สามารถตรวจพบไวรัสใหม่ๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
• ถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสทั้งจีโนมเพื่อติดตามบริเวณที่กลายพันธุ์ซึ่งจำเป็นสำหรับการติดเชื้อในมนุษย์

สรุปได้ว่างานบุกเบิกของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาจากค้างคาวได้วางรากฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อคาดการณ์ ป้องกัน และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น การค้นพบของเธอเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเฝ้าระวังและการเตรียมพร้อมในระบบสาธารณสุขทั่วโลก ‘พจนานุกรมไวรัสโคโรนา’ ของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ น่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งในการรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดจากไวรัสโคโรนาจากสัตว์สู่คนในศตวรรษที่ 21

>>วิธีที่ ดร. ฉี เจิ่งลี่  และทีมวิจัยใช้ตรวจจับและระบุสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่มีความเสี่ยงสูง 20 สายพันธุ์จากค้างคาวคือ:

• เก็บตัวอย่างส่งตรวจจากประชากรค้างคาวทั่วประเทศจีนทั้งจากอุจจาระและการสวอปในช่องปากของค้างคาว
• ทำการทดสอบด้วยเทคนิค PCR เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาในตัวอย่าง
• ตัวอย่างที่ PCR ให้ผลบวกต่อไวรัสโคโรนา จะถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม
• นำข้อมูลรหัสพันธุกรรมโดยเฉพาะในส่วนยีนที่ควบคุมการสร้างส่วนหนามมาวิเคราะห์เปรียบความเหมือนความต่างกับส่วนหนามของโควิด-19 ที่ระบาดในคนอยู่ในขณะนี้
• ประเมินความสามารถของไวรัสในการเข้าจับกับตัวรับ ‘ACE2’ บนผิวเซลล์ของมนุษย์ โปรตีนส่วนหนามหรือสไปค์ (spike protein) ของไวรัส SARS-CoV-2 สามารถจับกับโปรตีน ACE2 บนผิวของเซลล์ปอด ส่งผลให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์และเริ่มการติดเชื้อ

>>ปัจจัยสำคัญที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของไวรัสโคโรนาที่แยกได้จากค้างคาว

• ตรวจสอบความคล้ายคลึงของรหัสพันธุกรรมกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรค (SARS-CoV-1, MERS-CoV, SARS-CoV-2)
• การมีอยู่ของการกลายพันธุ์ตำแหน่งสำคัญบริเวณส่วนหนามที่จำเป็นสำหรับการจับตัวรับ ACE2 บนผิวเซลล์มนุษย์
• หลักฐานของการวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วและการปรับรูปร่างของตัวรับเข้าจับ ACE-2
• การแพร่พันธุ์ของค้างคาวสายพันธุ์ที่ทราบกันว่าเป็นแหล่งรังโลกของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม
• การไหลเวียนของประชากรค้างคาวที่มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์

>>ตัวอย่างชนิดพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่มีความเสี่ยงสูงที่จะข้ามมาสู่คน

• Bat-SL-CoV-RaTG13 - 96% เหมือนกับ SARS-CoV-2
• Bat-SL-CoV-RmYN02 – จับกับตัวรับ ACE2 เช่นเดียวกับ SARS-CoV-2
• Bat-SL-CoV-SC2013 - คล้ายกับ MERS-CoV มาก

>>ผลที่อาจติดตามมาหากเราไม่เตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของไวรัสโคโรนาครั้งใหม่ในอนาคต:

ผลที่ตามมาด้านสุขภาพ

• อัตราการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจะเพิ่มขึ้นหากการตอบสนองจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการระบาดล่าช้า
• ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศจะล้มเหลวไม่มีเตียงและอุปกรณ์พอเพียงในการรักษา
• ความยากลำบากในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น
• เกิดการระบาดใหญ่เป็นเวลานานและมีการติดเชื้อซ้ำอีก
• การเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่องที่สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจนไม่สามารถควบคุมได้

ผลที่ตามมาทางเศรษฐกิจ

• ธุรกิจต่าง ๆ ถูกบังคับให้ปิดกิจการจากข้อจำกัดด้านสาธารณสุข
• การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น
• ความผันผวนของตลาดหุ้น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือภาวะถดถอย
• ค่ารักษาพยาบาลที่สูงสำหรับการรักษาและการรักษาในโรงพยาบาล

ผลที่ตามมาทางสังคม

• การหยุดเรียน หยุดเดินทาง หยุดกิจกรรมทางสังคม และหยุดบริการทางศาสนา
• ผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า การใช้สารเสพติด
• ความไม่มั่นคงทางการเมืองและการพังทลายของความไว้วางใจของประชาชนต่อสถาบันหรือรัฐบาล
• ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล การตรวจทดสอบคัดกรอง และการรับวัคซีน
• การเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดและทฤษฎีสมคบคิด

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม

• สต๊อกวัคซีน ยารักษาโรค อุปกรณ์ PPE
• ปรับปรุงระบบการเฝ้าระวังทั่วประเทศเพื่อการตรวจจับการระบาดของไวรัสแต่เนิ่นๆ
• พัฒนาแผนเพื่อเพิ่มการคัดกรองและการติดตามผู้สัมผัสอย่างรวดเร็ว
• เตรียมแผนการสื่อสารกับประชาชนและแผนบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจ
• เพิ่มขีดความสามารถของโรงพยาบาลทั้งจากภาครัฐและเอกชนด้านการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย
• ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการประสานงานการรับมือโรคระบาด

สรุปว่าหากไม่เตรียมพร้อม หรือขาดการวางแผนเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นระบบและครบวงจรอาจทำให้การแพร่ระบาดยืดเยื้อ คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก และทำให้สังคมและเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 อยู่แล้วสั่นคลอนยิ่งขึ้นไปอีก รัฐต้องลงทุนกับการเตรียมพร้อมรับมือการระบาดระลอกใหม่ของโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในทุกมิติโดยการถอดบทเรียนของการระบาดของโควิด-19 ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

‘หมอยง’ กางข้อมูล วัคซีนโควิด-19 ทุกยี่ห้อ ประสิทธิภาพพอๆ กัน ‘ลดป่วยหนัก-เสียชีวิต’ แต่ไม่มียี่ห้อไหน ‘ป้องกันการติดเชื้อ’

(7 ธ.ค. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ โพสต์รูปพร้อมเนื้อหาบนเฟซบุ๊ก เรื่อง ‘โควิด-19 บทสรุปขององค์การอนามัยโลก เกี่ยวกับโควิด 19 วัคซีน’ ระบุว่า…

“เป็นไปตามคาดและอย่างที่เคยเสนอเรื่องโควิด-19 วัคซีนมาโดยตลอด วัคซีนโควิด-19 ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ลดความรุนแรงของโรคได้ รวมทั้ง ลดการเสียชีวิตลงได้ และไม่มีความแตกต่างของชนิดวัคซีน ดังที่คนจำนวนมากเคยคิด และใฝ่ฝันอยากได้วัคซีนเทพ ประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไปเป็นจำนวนมากน่าจะถึงร้อยละ 90 แล้ว โรคก็ได้ลดความรุนแรงลง จากตัวไวรัสเองด้วย จนปัจจุบันเห็นได้ชัดเจน อัตราผู้เสียชีวิตน่าจะเท่า ๆ กับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ในปีแรก ขณะนี้สัปดาห์ละ 1-3 คน

บทสรุปขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับโควิด-19 วัคซีน ธันวาคม 2566

1.ผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน แนะนำให้ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม

2.ผู้ที่ได้รับวัคซีนมาแล้ว และอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นแล้วโรคจะรุนแรง เช่นสูงอายุ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันต่ำ สตรีตั้งครรภ์ ควรได้รับวัคซีน ซ้ำอีก 1 ครั้งห่างจากเข็มสุดท้าย 6-12 เดือน

3.เด็กปกติแข็งแรงอายุ 6 เดือนถึง 17 ปี ถือว่าอยู่ในกลุ่มลำดับสำคัญต่ำ (low priority) ในการได้รับวัคซีน

4.เด็กที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนเลย ควรได้รับวัคซีน 1 เข็ม

5 ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะบอกว่า โควิดวัคซีนต้องให้ประจำทุกปีต่อ ๆ ไปหรือเป็นวัคซีนประจำปี อย่างไข้หวัดใหญ่ คงต้องรอข้อมูลการศึกษาต่อไป จึงจะให้คำแนะนำต่อ

ข้อมูลรายละเอียดอ่านได้จากบทความ องค์การอนามัยโลก และสรุปที่แสดงในตารางดังรูป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top