Saturday, 4 May 2024
สีจิ้นผิง

'สี จิ้นผิง' ร่วมประชุมสุดยอดผู้นำ SCO คาด!! อาจมีการหารือนอกรอบกับ 'วลาดิมีร์ ปูติน'

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2565 กล่าวว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เดินทางถึงเมืองซามาร์กันด์ของประเทศอุซเบกิสถานเมื่อวันพุธ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (เอสซีโอ) ครั้งที่ 22 ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัว

องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (เอสซีโอ) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 ในฐานะองค์กรทางการเมือง, เศรษฐกิจ และความมั่นคงที่เป็นคู่แข่งกับชาติตะวันตก โดยประกอบด้วยจีน รัสเซีย, อินเดีย, ปากีสถาน และประเทศอื่น ๆ ในเอเชียกลางซึ่งแยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียตเดิม

สีจิ้นผิงได้เข้าร่วมประชุมหารือกับประธานาธิบดีชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ และนายกรัฐมนตรีอับดุลลา โอรีพอฟ ของอุซเบกิสถาน โดยสำนักข่าวซินหัวกล่าวว่า ประเด็นหารือเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความร่วมมือทวิภาคี เพื่อประโยชน์ร่วมกันในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

ไบเดนขู่ ‘สี จิ้นผิง’ ระวังหายนะจะมาเยือน หากคิดจะช่วยเหลือรัสเซีย

โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่า เขาได้พูดคุยกับ สี จิ้นผิง ผู้นำจีน ที่กำลังตัดสินใจผิดพลาดอย่างมหันต์ที่คิดจะฝ่ามาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกเพื่อเข้าไปช่วยเหลือรัสเซีย

สถานีข่าวช่อง CBS ของสหรัฐฯ ได้ออกอากาศงานสัมภาษณ์ โจ ไบเดน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 65 ที่ผ่านมา โดย ไบเดน กล่าวว่า เขาได้มีโอกาสพูดคุยกับสี จิ้นผิง ผ่านทางโทรศัพท์เมื่อไม่นานมานี้ และได้บอกกับผู้นำจีนอย่างเด็ดขาดว่า หากจีนมั่นใจว่า นักธุรกิจชาวอเมริกัน และชาติพันธมิตรอื่นๆ ยังคิดที่จะไปลงทุนในจีนอยู่ หลังจากที่จีนยังคงเลือกที่จะช่วยเหลือคบค้ากับรัสเซีย และเพิกเฉยต่อมติคว่ำบาตรของพันธมิตรชาติตะวันตก ขอบอกเลยว่า ผู้นำจีนคิดผิดอย่างมหันต์ และ จีนจะต้องรับผลกระทบหนักอย่างแน่นอนจากความผิดพลาดของตัวเอง 

โจ ไบเดน กล่าวต่อไปว่า ที่โทรไปนี่ ไม่ได้แค่ไปขู่ แต่เป็นการเตือนให้จีนได้รู้ถึงผลที่จะตามมาหากยังไม่คิดที่จะสนใจมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก แต่ทั้งนี้ ไบเดน ยอมรับว่า จนถึงตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานชี้ว่าจีนได้ส่งอาวุธ และทรัพยากรอื่นๆ ไปช่วยเหลือตามที่รัสเซียร้องขอ และไบเดนก็เชื่อมั่นว่า จีนยังต้องพึ่งพารายได้จากตลาดตะวันตกเป็นหลัก ดังนั้นจีนคงไม่ทำอะไรแตกแถวที่จะสร้างความหายนะให้กับเศรษฐกิจของตัวเอง

เศรษฐกิจรัสเซียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกหลังจากที่รัสเซียนำทัพบุกยูเครนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา ดังนั้นจีนจึงกลายเป็นตลาดสำคัญของรัสเซีย ทั้งการส่งออกน้ำมัน และสินค้าอื่นๆ โดยใช้เงินสกุลหยวน และระบบธุรกรรมการเงินของจีนในการซื้อขายได้ 

สหรัฐฯ-แคนาดา ส่งเรือรบล่องผ่านช่องแคบไต้หวัน หลัง 'ไบเดน' ประกาศจะปกป้องไต้หวัน หากจีนรุกราน

เรือรบสหรัฐฯ และแคนาดา ล่องผ่านช่องแคบไต้หวัน เมื่อวันอังคาร (20 ก.ย. 65) ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ประกาศกร้าวเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ ว่าอเมริกาจะปกป้องพิทักษ์ไต้หวัน ในกรณีที่ถูกจีนโจมตี

ยูเอสเอส ฮิกกินส์ เรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถีชั้นอาร์เลห์เบิร์ค แห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ ดำเนินการล่องเรือผ่านช่องแคบไต้หวันตามปกติในวันอังคาร (20 ก.ย.) เรือเอกมาร์ค แลงฟอร์ด โฆษกกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุในถ้อยแถลง

แลงฟอร์ดกล่าวต่อว่า เรือรบของสหรัฐฯ ทำการล่องเรือ ในความร่วมมือกับเอชเอ็มซีเอส แวนคูเวอร์ เรือฟริเกต ชั้นแฮลิแฟกซ์ แห่งกองทัพเรือแคนาดา พร้อมระบุว่า "เรือทั้ง 2 ลำล่องผ่านแนวกันชนหนึ่งในช่องแคบ ที่อยู่นอกทะเลอาณาเขตรัฐชายฝั่งใด ๆ การล่องเรือนี้แสดงให้เห็นถึงพันธสัญญาของสหรัฐฯ พันธมิตรและคู่หูของเรา ที่มีต่อแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง"

เจ้าหน้าที่กลาโหมรายหนึ่ง เปิดเผยกับซีเอ็นเอ็นว่า นับตั้งแต่นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐฯ เดินทางเยือนไต้หวันในช่วงต้นเดือนสิงหาคม อเมริกาพพบเห็นเรือและเรือดำน้ำของกองทัพเรือจีนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก รอบ ๆไต้หวัน

แม้สหรัฐฯ เรียกมันว่าเป็นการล่องเรือตามปกติ แต่มันมีขึ้นหลังจาก ไบเดน ซ้ำเติมสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่งเกี่ยวกับไต้หวัน ด้วยให้สัมภาษณ์กับรายการ 60 มินิตส์ของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ว่าเขาจะใช้กองกำลังสหรัฐฯ ปกป้องเกาะแห่งนี้ หากว่าจีนพยายามรุกราน

ปักกิ่งอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือไต้หวัน เกาะที่มีประชากร 23 ล้านคน แม้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่เคยควบคุมมันก็ตาม นอกจากนี้แล้วปักกิ่งยังกล่าวอ้างอำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และขอบเขตอำนาจศาลเหนือน่านน้ำต่าง ๆ ในช่องแคบไต้หวัน ภายใต้กฎหมายของจีน และจากการตีความของพวกเขาเองต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฏหมายทะเล (UNCLOS)

อย่างไรก็ตามกองทัพเรือสหรัฐฯ บอกว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของช่องแคบแห่งนี้อยู่ในน่านน้ำสากล โดยอ้างคำนิยามของ UNCLOS เกี่ยวกับน่านน้ำอาณาเขต ซึ่งครอบคลุมรัศมี 12 ไมล์ทะเล (22.2 กิโลเมตร) จากชายฝั่งประเทศหนึ่ง ๆ ทั้งนี้อเมริกาส่งเรือรบล่องผ่านช่องแคบแห่งนี้เป็นประจำ แต่หลายสิบครั้งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ระหว่างการให้สัมภาษณ์ในรายการ '60 มินิตส์' ของเครือข่ายทีวีซีบีเอสของสหรัฐฯ ซึ่งนำมาแพร่ภาพออกอากาศในวันอาทิตย์ (18 ก.ย.) ที่ผ่านมา เมื่อเขาถกถามว่ากองกำลังสหรัฐฯ จะเข้าป้องกันเกาะแห่งนี้หรือไม่ ไบเดน ก็ตอบว่า “ครับ ถ้าในทางเป็นจริงแล้ว มีการโจมตีอย่างชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

เมื่อถูกซักไซ้ว่า เขาหมายความว่ามันจะไม่เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาในยูเครนใช่ไหม โดยที่กองกำลังสหรัฐฯ ซึ่งก็คือชายและหญิงชาวอเมริกันจะเข้าพิทักษ์ป้องกันไต้หวันในกรณีที่จีนรุกรานหรือ ไบเดนก็ตอบว่า “ใช่”

จากกระแสลือสนั่นในโลกออนไลน์ เกี่ยวกับการรัฐประหารเงียบในจีน ที่มีเป้าหมายเพื่อโค่นล้ม 'สี จิ้นผิง' ผู้นำสูงสุดของจีน ก่อนการประชุมใหญ่ของสภาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีน ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคม 65 ที่จะมีการลงมติรับรอง สี จิ้นผิง เป็นผู้นำจีนต่อ

แม้ตอนนี้จะยังไม่มีการยืนยันข่าวลือใดๆ ทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ค่อนข้างชัดเจนในระบบการเมืองหลังม่านไม้ไผ่อันแน่นหนาของจีนก็คือ...

'คลื่นใต้น้ำ' ในพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้น มีอยู่จริง!!

ในขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศกำลังจับตามองสถานการณ์อันคลุมเครือในจีน และเฝ้ารอการปรากฏตัวออกสื่อของ สี จิ้นผิง ว่ายังปกติดีหรือไม่นั้น...ก็มีนักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยเชื่อมโยงข่าวลือดังกล่าวนี้กับ 2 คดีใหญ่ที่ศาลสูงจีนเพิ่งตัดสินไปเมื่อ 2 วันก่อนจะเกิดข่าวลือรัฐประหารในจีน

>> คดีนั้น ก็คือการตัดสินโทษประหารชีวิต 2 นักการเมืองที่เคยดำรงตำแหน่งสูงระดับรัฐมนตรี แถมเคยได้ชื่อว่าเป็น 'ดาวรุ่งของพรรคคอมมิวนิสต์' และมีแววพอที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำสูงสุดของจีน

2 นักการเมืองปีกหักนั้นก็คือ 'ซุน ลี่จุน' และ 'ฝู เจิ้งหัว'

ซุน ลี่จุน เป็นอดีตรองรัฐมนตรีด้านความมั่นคงสาธารณะ และเป็นสมาชิกระดับสูงในพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่เคยสร้างผลงานไว้มากมาย อีกทั้งยังเคยนำทีมควบคุมโรคลงพื้นที่เมืองอู่ฮั่นตอนที่เกิดการระบาด Covid-19 ใหม่ๆ ด้วย 

แต่ไปๆ มาๆ เมื่อเดือนเมษายน 2020 ซุน ลี่จุน ถูกทางการจีนจับกุมตัวด้วยข้อหา คอร์รัปชัน รับสินบนกว่า 646 ล้านหยวน (ประมาณ 3.4 พันล้านบาท) ตลอดระยะเวลาที่เขาเล่นการเมืองตั้งแต่ 2001-2020 อีกทั้งยังถูกกล่าวหาว่า ใช้อำนาจทางการเมืองเข้าไปชักใยในตลาดหุ้นจีน เพื่อหาผลประโยชน์นับร้อยล้านหยวน และครอบครองปืนอย่างผิดกฏหมายอีก 2 กระบอก 

>> แต่ข้อหาที่ดูจะหนักสุดจริงๆ คือ มีหลักฐานว่า ซุน ลี่จุน สมคบคิดกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมืองในการซ่องสุมอำนาจเพื่อเป็นใหญ่ในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งกลุ่มการเมืองนี้มีชื่อว่า 'แก๊งเซี่ยงไฮ้'

การที่จีนประกาศรายชื่อสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนรวม 2,296 คน ที่ได้รับเลือกเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 สะท้อนสถานการณ์ในจีนตอนนี้ เป็นไปโดยปกติ

รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีน จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ความคลุมเครือในประเทศจีนช่วง 1-2 วันมานี้ ผ่านเฟซบุ๊ก 'Aksornsri Phanishsarn' ระบุเนื้อหา ดังนี้...

ทำไมอำนาจการเมืองจีนอยู่ในกำมือสีจิ้นผิงแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และเป็นไปไม่ได้ที่จะถูกยึดอำนาจ !!

‘ทำไมรัฐประหาร ‘สีจิ้นผิง’ เป็นไปไม่ได้!!’ โครงสร้างการเมืองจีนซับซ้อนซ่อนเงื่อน ประชุมลับ #เป่ยไต้เหอ หากมีความเห็นต่างก็เคลียร์ใจ #สลายขัดแย้ง แล้วก็จบ !! ไม่มีการดิสเครดิตกันทางการเมืองหรือหวังยึดอำนาจ #จบคือจบ 

>> ที่มาข่าวลือรัฐประหาร ‘สีจิ้นผิง’ และความซับซ้อนโครงสร้างอำนาจในจีน
ตอนนี้ถือเป็นช่วงใกล้การประชุมใหญ่สมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 (จัดประชุมทุก 5 ปี) ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ผู้นำระดับ“คีย์แมน”ของจีน ซึ่งมีอยู่ 7 คน บางคนอาจจะถูกปรับเปลี่ยนออกไปตามกลไก แต่ที่จะไม่เปลี่ยนแปลง คือเบอร์ 1 ของพรรคฯ ‘สีจิ้นผิง’ และเป็นการครองตำแหน่งในวาระที่ 3 ของสีจิ้นผิงด้วย ดังนั้น ข่าวลือ ข่าวปล่อยในช่วงนี้ของจีน โดยเฉพาะประเด็นรัฐประหารในจีน จึงกลายเป็นที่จับตาทั้งของไทยและชาวโลก 

‘จีนมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน’ ในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะด้านการเมืองของจีนมีความแตกต่างจากประเทศไทย และหลาย ประเทศทั่วโลก บางเรื่องเป็นสิ่งที่เราไม่รู้ และจีนเองไม่เปิดเผยข้อมูลออกสื่อ จึงทำให้เกิดข้อสงสัยกลายเป็นปริศนา ด้วยเหตุนี้ จึงควรที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองในแบบของจีน...

>> หมวก 3 ใบ กุมอำนาจการเมือง การปกครอง และการทหารในจีน
เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน อาจารย์จะขออธิบายกลไกการเมืองการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนี้…

‘พรรคคอมมิวนิสต์จีน’ เปรียบเสมือนเป็น ‘สถาบันการเมืองสูงสุดของจีน’ เป็นพรรคการเมืองเดียวที่กุมอนาคตประเทศจีน ในขณะนี้ มีสมาชิก 90 กว่าล้านคน และมีกลไกโครงสร้างซับซ้อน ที่สำคัญ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ในการเข้าไปแทรกซึมในทุกภาคส่วนของจีน ทั้งทางตรงและทางอ้อม

สี จิ้นผิงเชือดคนสนิท! เชื่อคลื่นใต้น้ำพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีอยู่จริง! | THE STATES TIMES Y WORLD EP.5

เปิดแผลมังกร!! 'สี จิ้นผิง' เชือด 2 คนสนิท
สะท้อนให้เห็นว่า 'คลื่นใต้น้ำ' ในพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นมีอยู่จริง!!

ติดตามสาระดีๆ ได้ใน THE STATES TIMES Y WORLD
ใครที่สนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ อยากให้เรานำมาเล่าก็คอมเมนต์ไว้ใต้คลิปกันได้เลย!

'ดร.อักษรศรี' ถอดรหัสสาระสำคัญคำกล่าวรายงานของสีจิ้นผิง ในการเปิดการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 20 

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีน จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก 'Aksornsri Phanishsarn' สรุปสาระสำคัญการกล่าวรายงานของสีจิ้นผิงในการเปิดการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 20 #CPC ไว้ดังนี้...

การกล่าวรายงานของสีจิ้นผิงในการเปิดการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 20 #CPC วันที่ 16 ตุลาคม 2565

📌 ย้อนประเมินผลงานในรอบ 10 ปี 📌 
สี จิ้นผิง กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนผ่านเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของพรรคและประชาชน 

1.) ประการแรก 🇨🇳 เป็นการฉลองครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน 
2.) ประการที่สอง 🇨🇳 สังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์จีนเข้าสู่ยุคใหม่แล้ว 
3.) ประการที่สาม 🇨🇳 ความสำเร็จในภารกิจบรรเทาความยากจน และสร้างสังคมพอมีพอกินรอบด้าน #เสี่ยวคง นับเป็นการบรรลุ #เป้าหมายร้อยปีแรก คือ ชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและประชาชนจีนได้รับจากการต่อสู้ร่วมกัน 

📌สานต่อเป้าหมาย 2035 📌
จากนี้ไป ภารกิจหลักของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คือ การรวมตัวของผู้คนจากทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเพื่อสร้าง “ประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่อย่างรอบด้าน” ตระหนักถึงศตวรรษที่สอง เป้าหมายและส่งเสริมการฟื้นฟูที่ยิ่งใหญ่ของชาติจีนอย่างทั่วถึงด้วยการสร้างความทันสมัยแบบจีน🇨🇳 #ความทันสมัยแบบจีน 

#เป้าหมาย2035 🇨🇳 จีนจะเป็นประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่เจริญรุ่งเรือง เข้มแข็ง เป็นประชาธิปไตย ก้าวหน้าทางวัฒนธรรม กลมกลืนและสวยงาม ดังนั้น อีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการเริ่มต้นสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่อย่างรอบด้าน 

“การพัฒนาคุณภาพสูง” เป็นภารกิจหลักในการสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่อย่างรอบด้าน #การพัฒนา คือ สิ่งสำคัญสูงสุดของพรรคในการปกครองและฟื้นฟูประเทศ 

📌ความสำคัญภาคเศรษฐกิจจริง 📌 #RealSector 
สี จิ้นผิง กล่าวว่า ในการสร้าง “ระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่” การพัฒนาเศรษฐกิจต้องเน้นที่ “เศรษฐกิจที่แท้จริง” (ไม่ใช่เศรษฐกิจฉาบฉวย) ส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ และเร่งการสร้างอำนาจการผลิต พลังงานคุณภาพ พลังงานอวกาศ พลังงานขนส่ง พลังเครือข่ายและดิจิทัลจีน

📌เน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยี📌
จีนจะมุ่งส่งเสริมและพัฒนา “นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ปรับปรุงระบบระดับชาติใหม่ เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงยุทธศาสตร์ของชาติ ปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของ ระบบนวัตกรรมแห่งชาติ และสร้าง “ระบบนิเวศนวัตกรรมแบบเปิด” พร้อมความสามารถในการแข่งขันระดับโลก

ส่อง 7 โปลิตยูโร ยุคใหม่ ที่ได้ชื่อว่าเป็น 7 อรหันต์แดนมังกร ผู้กุมอำนาจการบริหารสูงสุดของจีน ภายใต้ผู้นำ 'สีจิ้นผิง

รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความถึงคณะกรรมการประจำกรมการเมือง หรือ โปลิตบูโร ชุดที่ 20 ของจีน ผู้กุมอำนาจทางการเมืองของจีนในปัจจุบันว่า ...

ถ้าให้สรุป 3 คำ สำหรับ PSC ชุดที่ 20 ผมจะใช้คำว่า "ทีมสีจิ้นผิง สายปฏิรูป ทีมเศรษฐกิจ"

หลังจากการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อเปิดสมัยการประชุมที่ 20 จบลงในวันที่ 22 ตุลาคม 2022 เราก็ได้เห็นรายชื่อของคณะกรรมการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนประเภทสมาชิกเต็ม จำนวน 205 คน และนั่นทำให้เราต้องเริ่มวางตัวศึกษาประวัติว่า ใครบ้างที่จะได้มีโอกาสสูงที่จะได้ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการประจำกรมการเมือง (Politburo Standing Committee: PSC) ซึ่งถือเป็นกลไกสูงสุดในการตัดสินใจของประเทศ โดยจะมีจำนวน PSC ทั้งหมด 7 ท่าน รายชื่อที่ผมพยายามจะรวบรวม และประวัติพอสังเขปของแต่ละท่าน เรียงตามลำดับหน้าที่ความรับผิดชอบ มีดังนี้

1. Xi Jinping 
ใครอยากฟังประวัติชีวิตของท่าน เชิญไปฟังตาม link นี้ได้เลยครับ https://www.youtube.com/watch?v=s7pfQVb0QiA&t=10s 

2.Li Qiang

สายตรงคุมเศรษฐกิจเซี่ยงไฮ้ ถึงแม้จะบริหารผิดพลาดในเรื่องโควิด แต่ก็ได้รับโอกาสอีกครั้ง ในฐานะว่าที่นายกรัฐมนตรี

Li Qiang เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 1959 ในมณฑลเจ๋อเจียง ปัจจุบันอายุ 63 ปี เรียนจบทางด้านวิศวกรรมการเกษตรจากมหาวิทยาลัยเจ๋อเจียง ซึ่งเป็นหนึ่งในห้ามหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของจีน

เริ่มต้นเข้าทำงานกับพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 1983 โดยรับตำแหน่งเป็นเลขาธิการของ Communist party Youth League จนได้รับตำแหน่งเลยเลขาธิการพรรคประจำเมือง Yongkang และ Wenzhou

และในปี 2005 เขาได้เป็นคณะกรรมการประจำกรมการเมืองในระดับจังหวัด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับเลขาธิการประจำมณฑลเจ๋อเจียงซึ่งก็คือสี จิ้นผิงในขณะนั้น 

Li Qiang จบการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัย Hong Kong polytechnic University

ในที่สุดเขาก็ได้ขึ้นเป็นรองเลขาธิการพรรคประจำมณฑลเจ๋อเจียงในปี 2011 พร้อมๆกับที่ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการประชุมสมัชชาสมัยที่ 18

ความใกล้ชิดกับ สีจิ้นผิง ทำให้เขาได้ร่วมคณะเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาในครั้งที่สีจิ้นผิงยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี

ปี 2016 เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคมณฑลเจียงซู 

ก่อนที่จะได้รับการโปรโมทอีกครั้ง โดยได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำมหานครเซี่ยงไฮ้ ในปี 2017 และด้วยตำแหน่งนี้ทำให้เขาได้อยู่ในกรมการเมือง ในการประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 19

3. Zhao Leiji

ผลงานที่สำคัญที่สุดของ Zhao Leiji คือ การเป็นเลขาธิการของคณะทำงานปราบปรามคอรัปชั่น Central Commission for Discipline Inspection (CCDI) ที่เกิดขึ้นในยุคของ สี จิ้นผิง และปราบปรามคดีคอรัปชั่นได้อย่างเป็นรูปธรรม หาคนผิดมาลงโทษได้ถึง 650,000 กรณี จากที่มีข้อสงสัยร่วม 2 ล้านกรณี และมีมากกว่า 84,000 กรณี ที่ผู้ทำผิดยอมสารภาพ โดยเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นจากการนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยเฉพาะ AI และ Big Data เข้ามาประยุกต์ใช้

Zhao Leiji เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 1957 ที่เมือง Xining มณฑล Qinghai ปัจจุบันอายุ 65 ปี เขาเริ่มต้นเป็นสมาชิกพรรคตั้งแต่ปี 1975 ในช่วงปลายของการปฏิวัติวัฒนธรรม และเมื่อเหตุการณ์เลวร้ายจบลง เขาก็เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ในวิทยาลัย ongnongbing xueyuan ที่สอนเกษตรกร/ทหาร/นักศึกษา ไปพร้อมๆ กัน เมื่อผมไปเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง นักศึกษาจากวิทยาลัยนี้ก็ยังมีอยู่ พวกเขาจะทำการฝึกทั้งวิชาทหาร เดินแถว ออกกำลังกาย สวนสนาม เรียนทำการเกษตร และธุรกิจการเกษตร ควบคู่กับ การเรียนปรัชญาการเมืองคอมมิวนิสต์ และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เพื่อจบการศึกษาจะได้กลับไปทำงานให้พรรคเพื่อพัฒนาพื้นที่ต่างๆ โดย Zhao Leiji เมื่อจบจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งก็กลับไปทำหน้าที่สมาชิกพรรคที่ Qinghai

ปี 1999 เขาได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำเมืองบ้านเกิด ก่อนที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในระดับมณฑล นั่นคือ เลขาธิการพรรคประจำมณฑล Qinghai และเมื่อเขาควบคุมนโยบายของมณฑลได้อย่างเต็มที่ ผลงานการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการขยายโอกาสให้กลุ่มชาติพันธุ์ และเคร่งครัดเรื่องการลงทุนที่ต้องเป็นมิตรกับสภาวะแวดล้อม ร่วมกับการส่งเสริมการค้า การลงทุนอย่างเต็มที่ ทำให้ในระหว่าง ปี 2003 – 2007 ผลผลิตมวลรวมของมณฑล ปรับตัวสูงขึ้นถึง 300%

และเมื่อเขาได้รับการสนับสนุนให้ไปเป็นเลขาธิการพรรคที่มณฑล Shaanxi ในปี 2007 เขาก็ทำให้ในปี 2008 Shaanxi กลายเป็นมณฑลที่ GDP ขยายตัวสูงที่สุดในประเทศจีน ด้วยอัตรา 15% ผลงานที่เข้าตานี้เองทำให้เขาได้เข้ามาเป็นกรมการเมืองในปี 2012 การประชุมสมัชชาพรรคที่ 18 โดยควบคุมดูแลการจัดตั้งของพรรค และในปี 2017 การประชุมสมัชชาพรรคที่ 19 เขาก็ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง PSC ที่ดูแลคณะทำงานปราบปรามคอร์รัปชัน Central Commission for Discipline Inspection (CCDI)

4.Wang Huning

Wang Huning คือ มันสมองและกุนซือที่ทำหน้าที่วางหมากทางการเมืองมาแล้วตลอด 3 ยุคผู้นำที่ผ่านมา ทั้ง เจียง เจ้อหมิน, หู จินเทา และ สี จิ้นผิง ผู้สังเกตการณ์เรื่องจีนหลายท่านขนานนามเขาว่าคือ China’s Kissinger

เขาเกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 1955 ที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ปัจจุบันอายุ 67 ปี Wang Huning เริ่มเรียนวิชาภาษาฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัย Shanghai Normal University และด้วยผลคะแนนดีเลิศ เขาได้รับข้อเสนอพร้อมทุนการศึกษาให้เรียนต่อในมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของจีนทันที นั่นคือ มหาวิทยาลัย Fudan โดยเขาเลือกเรียนสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และจบปริญญาโทได้วุฒิกฎหมาย ในปี 1981 และเริ่มต้นการเป็นรองศาสตราจารย์ที่มีอายุน้อยที่สุดของจีนในขณะนั้น ก่อนที่จะได้เป็นศาสตราจารย์ เป็นผู้อำนวยการภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และคณบดีคณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย Fudan ในปี 1995

Wang Huning เริ่มเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ปี 1984 และเป็นคณะทำงานร่างนโยบายด้านทฤษฎีการเมืองให้กับการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 13 (1987-1992) และทำงานด้านวิชาการให้พรรคมาโดยตลอด จนได้รับเลือกเป็นสมาชิกคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 2002 

ในสมัยการประชุมสมัชชาพรรคที่ 16 เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง Secretariat of the CPC หรือเทียบเท่ากับ เลขานุการด้านกิจการการเมืองของผู้นำรุ่นที่ 4 หู จินเทา โดย Wang Huning ร่วมกับ Ling Jihua และ Chen Shiju คือ 3 บุคคลที่ร่างนโยบายให้กับพรรคคอมมิวนิสต์และประเทศจีนในขณะนั้น

ปี 2012 ที่ สี จิ้นผิง ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคสมัยแรกใน การประชุมสมัชชาพรรคที่ 18 Wang Huning ได้รับคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกกรมการเมือง และขึ้นเป็น คณะกรรมการประจำกรมการเมือง (Politburo Standing Committee: PSC) ในปี 2017 การประชุมสมัชชาพรรคที่ 19 โดยถือเป็น PSC คนแรกที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ไม่เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำมณฑล และขึ้นมาด้วยความเป็นสายวิชาการล้วน ๆ (แทบจะเรียกได้ว่าไม่เคยไปประจำการในต่างจังหวัดเลยด้วยซ้ำ)

ปี 2020 เขาคือ รองหัวหน้าคณะทำงานควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีนายกรัฐมนตรี หลี่ เคอเฉียงเป็นหัวหน้า และในปี 2021 เขาคือ ผู้ร่างเอกสารการทบทวนประวัติศาสตร์จีนครั้งที่ 3 ที่เป็นการสร้างความชอบธรรมเพื่อประกาศว่า สี จิ้นผิง คือผู้นำคนแรกของยุคที่ 3 ของจีน ที่มีเป้าหมายการสร้างความมั่งคั่งรุ่งเรืองร่วมกัน (Common Prosperity 共同富裕 Gòngtóng fùyù) ต่อจากยุคแรกที่จีนยืนขึ้นมาได้ ในยุคของประธานเหมา และยุคที่ 2 ที่คนจีนพอมีพอกิน ภายใต้การนำของผู้นำรุ่นที่ 2-5 เติ้ง เสี่ยวผิง, เจียง เจ๋อหมิน, หู จินเทา และสี จิ้นผิงใน 2 สมัยแรก

และในเมื่อ แนวคิดนำในยุคอนาคตของจีน คือ ความมั่งคั่งรุ่งเรืองร่วมกัน (Common Prosperity) Wang Huning จึงเป็นอีก 1 คนที่ต้องจับตา 

5.Cai Qi

เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคมปี 1955 ณ มณฑลฟูเจี้ยน อายุ 66 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี (เศรษฐศาสตร์การเมือง) โท (กฎหมาย) และ เอก (เศรษฐศาสตร์การเมือง) จากมหาวิทยาลัย Fujian Normal University

Cai Qi เข้าพรรคในปี 1975 โดยทำงานในระดับจังหวัดในมณฑล Fujian จนขึ้นสู่ตำแหน่งระดับผู้บริหารจังหวัด และย้ายมาทำงานที่มณฑล Zhejiang ในระดับรองเลขาธิการพรรคประจำจังหวัดในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ซึ่งก็เป็นช่วงเดียวกันกับที่ สี จิ้นผิง เข้าสู่ตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำมณฑลเจ๋อเจียง ซึ่งนั่นทำให้ Chi Qi ถูกพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในกลุ่ม New Zhijiang Army หรือ ขุนพลของสี จิ้นผิง ที่ทำงานด้วยกันมาร่วม 20 ปี ตั้งแต่สมัยที่พวกเขาเป็นผู้บริหารระดับมณฑล 

ปี 2014 Cai Qi ได้รับการโปรโมทให้เข้ามาทำงานส่วนกลางด้านความมั่นคง ในกรุงปักกิ่ง โดยดำรงตำแหน่งเบอร์ 2 ของ National Security Commission (เทียบได้กับ สมช.) และในปี 2016/2017 เขาได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งในระดับเลขาธิการพรรคประจำมณฑล และงานสำคัญที่สุดที่เขาได้รับผิดชอบคือเป็นแม่งานในการจัดมหกรรมกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก นั่นคือ กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่จะเกิดขึ้นในปี 2022 รวมทั้งยังเป็นหัวหน้าคณะทำงานควบคุมการระบาดของโควิด-19 ของกรุงปักกิ่ง ซึ่งถือว่ามีผลงานดีเยี่ยมในทั้ง 2 หน้าที่

อีกหนึ่งมิติที่น่าสนใจของ Cai Qi คือ เขาเป็น active user ของ Weibo (เทียบเท่ากับ Twitter ในโลกตะวันตก) โดยใช้นามในโลก Social Media ว่า Cai Qi, a Bolshevik (แต่ตอนเปิด Account ใช้ชื่อว่า Qianshui ซึ่งแปลว่า นักดำน้ำ) โดย Cai Qi มีผู้ติดตามมากกกว่า 10 ล้านคน โดยหลายๆ ครั้งเขากล่าวขานถึง สี จิ้นผิง ในโลก Social Media ด้วยคำว่า “Xi Dada” ซึ่งแปลว่า คุณพ่อสี และ “Boss Xi!”

6. Ding Xuexiang

Ding Xuexiang เกิดวันที่ 13 กันยายน 1963 ในมณฑลเจียงซู ปัจจุบันอายุ 60 ปี เขาจบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Yanshan University ในปี 1982 เริ่มต้นชีวิตการเมือง โดยการเป็นสมาชิกพรรคในปี 1984 และเริ่มต้นทำงานในมหานครเซี่ยงไฮ้ ในปี 1982 ณ Shanghai Research Institute of Materials ในระหว่างทำงานเขาเรียนต่อจนจบปริญญาโทด้านการบริหารจัดการภาครัฐ จากมหาวิทยาลัย Fudan และด้วยประสบการณ์ทำงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมาโดยตลอด ทำให้ในปี 1999 เขาได้รับตำแหน่ง Deputy Director ของ Shanghai Municipal Science and Technology Commission และได้รับตำแหน่งสูงสุดในมหานครเซี่ยงไฮ้ Secretary of the Political and Legal Committee of the Shanghai Municipal Party Committee

Ding Xuexiang ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 2012 และขึ้นเป็นกรมการเมืองในปี 2017 โดยเขาเป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการสนับสนุนและมีบทบาทในพรรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในวันที่จีนต้องการเป็นผู้นำเรื่องวิทยาศาสตร์ในเวทีโลก

7. Li Xi

Li Xi เกิดเดือนตุลาคม 1956 ในมณฑล Gansu ปัจจุบันอายุ 65 ปี เริ่มเป็นสมาชิกพรรคในปี 1982 เขาทำงานให้กับพรรคจนได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำจังหวัด Zhangye ก่อนที่จะย้ายมาเป็นเลขาธิการพรรคประจำเมือง Yan’an มณฑล Shaanxi ในปี 2006 Yan’an ถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์จีน เพราะที่นี่คือจุดหมายปลายทางของการเดินทัพทางไกลในช่วงสงครามกลางเมือง ก่อนการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

ปี 2011 เขาได้รับสนับสนุนให้ไปทำหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายจัดตั้งองค์กรของพรรคคอมมิวนิสต์ มหานครเซี่ยงไฮ้ และเจริญเติบโตจนได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคประจำมหานครเซี่ยงไฮ้ ก่อนที่จะถูกส่งกลับไปที่เมือง Liaoning มณฑล Gansu อีกครั้งเพื่อนำเอาประสบการณ์ที่เซี่ยงไฮ้ไปพัฒนาเมืองในพื้นที่ยากจนห่างไกล และได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำเมือง Liaoning ในปี 2015

ด้วยผลงานการพัฒนาเมืองที่โดดเด่นทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคประจำมณฑลกวางตุ้งซึ่งเป็นมณฑลที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของประเทศจีน โดยเขาเข้ามารับตำแหน่งต่อจากอีก 1 ดาวรุ่งของพรรค นั่นคือ Hu Chunhua 

ตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำมณฑลกวางตุ้ง เป็นอีก 1 ตำแหน่งที่มักจะเป็นเส้นทางของผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำระดับสูงของจีน ไม่ว่าจะเป็น อดีตเลขาธิการพรรค Zhao Ziyang, Xi Zhongxun คุณพ่อของสี จิ้นผิง, อดีตรองนายกรัฐมนตรี Zhang Dejiang และอดีตกรรมการถาวรกรมการเมืองอย่าง Li Changchun และ Wang Yang ก็เคยดำรงตำแหน่งนี้มาก่อน
และด้วยตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำมณฑลกวางตุ้ง จึงทำให้ Li Xi ได้ขึ้นมาเป็นกรมการเมืองในปี 2017 ในการประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 19

เปิด 10 ทิศทางของ ‘สาธารณรัฐประชาชนจีน’ ภายใต้ผู้นำที่ชื่อ ‘สี จิ้นผิง’ ตลอดทศวรรษ

การประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 ปิดม่านไปเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสี จิ้นผิง ครองอำนาจสูงสุดของพรรคเป็นสมัยที่ 3 พร้อมกับคัดเลือกทีมผู้นำระดับสูงสุดในคณะกรรมการประจำของกรมการเมืองมาร่วมปกครองประเทศ โดยทั้งหมดล้วนเป็นผู้ใกล้ชิดจงรักภักดีต่อสีจิ้นผิง ดังนั้น อำนาจใหญ่ของผู้นำสีในสมัยที่ 3 จึงทรงพลังที่สุดนับจากท่านประธานเหมาเจ๋อตง ผู้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

ระหว่างช่วง 10 ปีที่สีครองอำนาจสูงสุดในพรรคนับจากสมัยแรกของการนำเมื่อปี 2012 จีนได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างลึกล้ำทั้งภายในประเทศและกระจายไปทั่วโลก

สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้นำเสนอ 10 เรื่อง หรือ 10 ทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปของจีนภายใต้การนำของสี ดังต่อไปนี้

1.) โลกตะวันตกและเหล่าพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา มีความเข้าใจจีนในทางที่แย่ลง

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ เสื่อมถอยลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยรัฐบาลพญาเหยี่ยวของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เร่งสปีดความเสื่อมถอยดังกล่าว ความเข้าใจของโลกตะวันตกยิ่งแย่ลง ๆ จากความขัดแย้งในประเด็นสิทธิมนุษยชน และการที่จีนทวีความแข็งกร้าวต่อไต้หวัน

2.) แคมเปญปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของสี จิ้นผิง

หลังจากที่สีได้นั่งบัลลังก์อำนาจสูงสุดของพรรค ก็บุกตะลุยกวาดล้างการทุจริตคอร์รัปชันภายในพรรค ซึ่งเรียกคะแนนนิยมจากสาธารณชนได้เป็นกอบเป็นกำ แต่นักวิเคราะห์บางคนมองว่า แคมเปญปราบคอร์รัปชันของสี ยังเป็นเครื่องมือขจัดปฏิปักษ์การเมืองไปด้วย

3.) สร้างระเบียบความสงบเรียบร้อยตามชายแดนที่เคยเป็นเขตมีปัญหาวุ่นวาย

ภูมิภาคทิเบต ซินเจียง ฮ่องกง ซึ่งเป็นเขตปกครองตัวเองและเขตบริหารพิเศษภายใต้อธิปไตยจีน เคยสร้างความปวดเศียรหนักให้พรรคคอมมิวนิสต์จีน

สี ได้จัดปฏิบัติการปราบปรามที่เด็ดขาดอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน กวาดล้างเสี้ยนหนามที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของแผ่นดิน และคุมภูมิภาคชายแดนได้อยู่หมัด

ในซินเจียง ชาติส่วนน้อยมุสลิมอุยกูร์ราวหนึ่งล้าน เข้ามาฝึกฝนอาชีพในค่ายอาชีวศึกษา

ในฮ่องกง ทางการจีนได้จัดกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติมาปราบกลุ่มที่ออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลในปี 2019 จนดินแดนเข้าสู่ภาวะสงบเรียบร้อยโรงเรียนจีน

4.) อุณหภูมิขัดแย้งไต้หวันสูงขึ้น

กลุ่มผู้นำสูงสุดของจีนทุกคนจากยุคเหมาเจ๋อตง ล้วนย้ำนักย้ำหนาถึงความสำคัญของการ “รวมชาติจีน” กับเกาะที่จัดตั้งรัฐบาลปกครองตัวเองแห่งไต้หวัน

ความตึงเครียดในช่องแคบไต้หวันร้อนกระฉูดภายใต้การนำของสี กองทัพปลอดแอกประชาชนจีนเพิ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวรอบ ๆ เกาะในไม่กี่ปีมานี้ ทั้งหมั่นซ้อมรบ ไปยันรุกล้ำเข้าไปท้าทายในเขตป้องกันภัยทางอากาศ

ในเดือนสิงหาคม ประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯ นางแนนซี โพโลซี ยังมาเยือนไทเป กระตุ้นหนวดพญามังกรอย่างย่ามใจยิ่ง และจีนก็ตอบสนองโดยจัดการซ้อมรบครั้งใหญ่ปิดล้อมเกาะไต้หวัน 3 วัน อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top