Friday, 3 May 2024
สงคราม

“สงคราม” อัด “บิ๊กตู่” ใช้สภาต่อรองผลประโยชน์ไม่แก้ปัญหาให้ประชาชน ชี้ ทุจริตยุครัฐบาลนี้เฟื่องฟู บ่อนการพนัน ตู้ม้า แรงงานเถื่อน เกลื่อนประเทศ รัฐไร้น้ำยาแก้ 

นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การอภิปรายมาตรา 151-152 ที่จะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ฝ่ายค้านเตรียมข้อมูลมากมายที่จะเสนอแนะไปยังรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้น รัฐบาลไปไม่ไหวแล้ว ยิ่งแก้ ปัญหายิ่งขยายตัว เพราะไม่รู้ต้นตอของปัญหา มาตรการที่รัฐบาลออกมาจึงไม่ตอบโจทย์ของประเทศ 

นอกจากนี้จะเน้นไปที่ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่พลเอกประยุทธ์ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ตลอด 7 ปีที่ผ่านมามีการทุจริตเกิดขึ้นทุกพื้นที่ทุกโครงการของรัฐบาล นอกจากนี้พลเอกประยุทธ์ยังโกหกประชาชนทั้งประเทศว่าเข้ามาปราบโกง  แต่รัฐบาลตัวเองโกงมหาศาล อยากถามว่าเงินค่าถุงมือยาง 2,000 ล้านบาทที่กระทรวงพาณิชย์จ่ายออกไปแต่ไม่ได้สินค้า จะทำอย่างไร พลเอกประยุทธ์บอกไม่รู้ไม่ได้ จ่ายเงินแต่ไม่ได้ของ พลเอกประยุทธ์กลับเฉยเพราะเกรงใจพรรคร่วม เงินแก้ภัยแล้งแสนล้าน ทุกวันนี้ก็เกษตรกรต้องระสบปัญหาภัยแล้งทุกปี การกระทำผิดกฎหมายเฟื่องฟู ทั้งบ่อนการพนัน ตู้ม้า การลักลอบนำเข้าแรงงานผิดกฎหมาย ยังคงมีให้เห็นตลอด พลเอกประยุทธ์ เลิกเสียทีชี้หน้าด่าคนอื่นว่าโกง แต่ในรัฐบาลตัวเองกลับนิ่งเฉย แม้แต่สมาชิกวุฒิสภายังยอมรับว่าทุจริตสูงขึ้น 

นายสงคราม กล่าวด้วยว่า ปัญหาตลอดหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลมุ่งสร้างความมั่นคงทางการทหาร 7 ปีซื้ออาวุธให้เหล่าทัพด้วยงบประมาณหลายแสนล้าน  แต่ละเลยปัญหาพี่น้องประชาชน ส่งผลให้ เกษตรกรไทยลำบาก ต้องเจอกับปัญหารุมเร้า ทั้งต้นทุนการเพาะปลูกสูงขึ้น ทั้งค่าปุ๋ย ค่าน้ำมัน นอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายเก็บค่าใช้น้ำชลประทาน ซ้ำเติมพี่น้องเกษตรกรอีก สินค้าเกษตรส่งออกของไทยเจอแต่ปัญหา เกษตรกรไทยเสียทั้งขึ้นทั้งล่อง หากพลเอกประยุทธ์ บริหารประเทศแล้วคนไทยจะเสียเปรียบขนาดนี้ ขอแนะลาออกเถอะ ก่อนที่เกษตรกรไทย คนไทย และประเทศไทย จะเสียหายไปมากกว่านี้

‘ปูติน’ รับรองเอกราช 2 แคว้นกบฏยูเครน ส่งสัญญาณจุดชนวนสงครามครั้งใหญ่

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ให้การรับรองเอกราช 2 แคว้นแบ่งแยกดินแดนทางภาคตะวันออกของยูเครนในวันจันทร์ (21 ก.พ.) กระตุ้นให้สหรัฐฯ และยุโรปประกาศมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ และโหมกระพือความเสี่ยงในวิกฤตที่ทางตะวันตกกังวลว่าอาจจุดชนวนสงครามครั้งใหญ่

ในการปราศรัยผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐที่ใช้เวลานาน ปูติน ซึ่งดูฉุนเฉียวอย่างเห็นได้ชัด ให้คำจำกัดความยูเครนว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในประวัติศาสตร์ของรัสเซีย และบอกว่าทางตะวันออกของยูเครนเคยเป็นดินแดนเก่าของรัสเซีย และเชื่อมั่นว่าประชาชนรัสเซียจะสนับสนุนการตัดสินใจของเขา

สถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของรัสเซียเผยแพร่ ปูติน ร่วมด้วยบรรดาผู้นำกลุ่มกบฏที่รัสเซียให้การสนับสนุน ลงนามในกฤษฎีกาฉบับหนึ่งรับรองเอกราช 2 แคว้นแบ่งแยกดินแดนของยูเครน เช่นเดียวกับข้อตกลงต่างๆ ในด้านความร่วมมือและมิตรภาพ

ปูติน เพิกเฉยต่อคำเตือนของตะวันตกที่คัดค้านความเคลื่อนไหวดังกล่าว แต่เขาได้แจ้งการตัดสินใจของเขาระหว่างพูดคุยทางโทรศัพท์กับพวกผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศสก่อนหน้านี้ ซึ่งผู้นำทั้งสองส่งเสียงแสดงความผิดหวังเป็นอย่างมาก วังเครมลินเผย

ความเคลื่อนไหวของมอสโกอาจเป็นการยิงตอร์ปิโดใส่ความพยายามนาทีสุดท้ายในการจัดประชุมซัมมิตกับโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เช่นกัน โดยการประชุมนี้มีเป้าหมายเพื่อขัดขวางรัสเซียไม่ให้รุกรานยูเครน

เจน ซากิ โฆษกทำเนียบขาวระบุในถ้อยแถลงว่า "ไบเดนจะออกคำสั่งพิเศษเร็วๆ นี้ ห้ามพลเมืองสหรัฐฯ ลงทุนใหม่ๆ ค้าขายและสนับสนุนทางการเงิน ทั้งเข้าและออก หรือใน 2 แคว้นแบ่งแยกดินแดน" ทำเนียบขาวระบุ นอกจากนี้ คำสั่งพิเศษจะมอบอำนาจกำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อบุคคลใดก็ตามที่ถูกสรุปแล้วว่า ดำเนินการต่างๆ ในพื้นที่เหล่านี้ของยูเครน

ซากิ เผยด้วยว่ามาตรการเพิ่มเติมจะมีตามมาและหลายอย่างนั้นอยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อตอบโต้คำสั่งของปูติน ซึ่งจะเป็นคนละส่วนกับมาตรการคว่ำบาตรที่สหรัฐฯ และพันธมิตรพร้อมดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว หากว่ารัสเซียรุกรานยูเครน

"สหภาพยุโรปจะตอบสนองด้วยมาตรการคว่ำบาตรกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวผิดกฎหมายนี้" อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และชาร์ลส์ มิเชล ประธานคณะมนตรียุโรประบุในถ้อยแถลงร่วม

'ปูติน' ประกาศสงคราม!! สั่งปฏิบัติการทางการทหาร ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของประเทศยูเครน

เพจ 'ลงทุนแมน' ได้โพสต์ความเคลื่อนไหวสถานการณ์​ รัสเซีย-ยูเครน​ ระบุว่า...

ด่วน!! ปูตินประกาศสงครามยูเครน มีระเบิดเกิดขึ้นในกรุงเคียฟ

เมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา ปูตินได้ออกแถลงการณ์ฉุกเฉิน บอกว่ารัสเซียไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการใช้ “ปฏิบัติการทางการทหาร” ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของประเทศยูเครน

ซึ่งการทำแบบนี้มันจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการต่อสู้กันระหว่างทหารรัสเซียกับยูเครน

โดยปูตินกล่าวว่า สำหรับคนที่เข้ามาขวางปฏิบัติการนี้ “รัสเซียจะโต้กลับแบบฉับพลัน แล้วคุณจะได้รับผลที่ตามมา อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์...”

ล่าสุดยูเครนประกาศปิดน่านฟ้าของประเทศ นอกจากนั้นสำนักข่าว NBC News, CNN ยังมีรายงานว่าเกิดเหตุระเบิดขึ้นหลายจุด ที่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศยูเครนในเวลาใกล้กันกับที่ปูตินมีแถลงการณ์

ผู้นำยูเครนกล่าวตัดพ้อ 'ผมมองไม่เห็นใครเลยที่จะต่อสู้เคียงข้างยูเครน' หลังรัสเซียสังหารทหารกว่าร้อยชีวิต

ในการปราศรัยทางโทรทัศน์ ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวว่าตนรู้สึกท้อแท้หลังจากพูดคุยกับผู้นำชาติตะวันตก "ผมมองไม่เห็นใครเลยที่จะต่อสู้เคียงข้างยูเครน" เขากล่าว พร้อมระบุว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 137 ราย และบาดเจ็บ 316 ราย จากการรุกรานของยูเครน

"เราถูกทิ้งให้อยู่ลำพังเพื่อปกป้องประเทศของเรา ใครพร้อมจะสู้เคียงข้างเราบ้าง? ผมไม่เห็นใคร ใครพร้อมที่จะรับประกันการเป็นสมาชิกนาโตแก่ยูเครน? ทุกคนกลัว" เซเลนสกีกล่าว

'เทอดศักดิ์'​ อัดกลุ่มการเมืองไทย อย่าจุ้นความขัดแย้งต่างชาติ หวั่น!! 'ชักศึกเข้าบ้าน'​ พาไทยเข้าสู่สงครามไม่รู้ตัว

นายเทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา นักวิจารณ์การเมืองทางช่องยูทูบวิหคนิวส์ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก 'เทอดศักดิ์ ดร.โต้ง​ เจียมกิจวัฒนา'​ ถึงกรณีที่นักการเมืองไทยบางคนแสดงความเห็นชัดเจนกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน​ ว่า... 

ทะลึ่งจะนำไทยสู่สงคราม

หัวหน้าพรรคการเมืองไทยบางคนอ่อนหัด จุ้นความขัดแย้งสหรัฐ-รัสเซีย ทะลึ่งเรียกร้องให้รัสเซียยุติสงคราม ในขณะที่พรรคอื่นๆ​ เขาเงียบกริบ เพราะเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน เอาความขัดแย้งชาติอื่นมาเป็นชาติของตน

บางคนก็เรียกร้องให้ไทยเคลื่อนไหว เข้าไปจุ้นวุ่นวาย เป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทั้งไทยเป็นประเทศเล็กๆ​ ในโลกใบนี้ ศึกนี้เป็นศึกช้างสาร เมื่อชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ

ศึกรัสเซีย-ยูเครน มหาอำนาจเขาเจตนาใช้ยูเครนเป็นสมรภูมิ โดยมหาอำนาจทั้ง 2​ ประเทศต่างได้ประโยชน์ ทั้งขายน้ำมัน ขายอาวุธ เหมือนที่เคยทำกับซีเรีย อัฟกานิสถาน ฯลฯ

'กรณ์'​ ชี้!! สงคราม​ 'รัสเซีย-ยูเครน'​ กระทบราคาน้ำมัน หุ้น อาหาร หวังทุกฝ่ายเห็นประชาชนเป็นที่ตั้ง ยึดสันติวิธี

25 ก.พ. 65​ นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความลง Facebook ถึงสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยว่า ทุกประเทศมีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับไทย ไม่ว่าจะเป็น EU สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และแม้กระทั่งยูเครน ความขัดแย้งอันก่อให้เกิดสงคราม จึงมีผลกระทบกับเราไม่มากก็น้อย ตอนนี้ที่ปรากฏชัดคือราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และราคาหุ้นและคริปโต ที่ลดลง หากยืดเยื้อหรือขยายวง เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบแน่นอน

นายกรณ์ กล่าวต่อว่า ยูเครนมีความสำคัญทางเศรษฐกิจโลกมากกว่าที่คิด ก๊าซจากรัสเซียส่งผ่านยูเครนไปยุโรป หากมีปัญหาจะส่งผลกระทบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ นอกจากนั้นยูเครนเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางอาหารมาก โดยเฉพาะเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีที่สำคัญ รวมไปถึงปศุสัตว์และพืชอาหารชนิดอื่นๆ ว่ากันว่ายูเครนมีศักยภาพที่จะผลิตอาหารเลี้ยงมนุษย์ได้ถึง 600 ล้านคน ดังนั้นหากความขัดแย้งครั้งนี้ยืดเยื้อ จะมีผลทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าและค่าครองชีพสูงขึ้นด้วย

Chechen VS Chechen เปิดสมรภูมิรบ Ukraine แต่นักรบ Chechen ต้องมารบราฆ่าฟันกันเอง

สำหรับวันนี้อยากชวนทุกท่านไปรู้จักเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับกระแสโลกอย่างสงคราม ‘รัสเซีย-ยูเครน’ กัน 

ธงของสาธารณรัฐเชเชนในปัจจุบัน

เรื่องของชาว Chechen ซึ่งเป็นประชากรของสาธารณรัฐเชเชน (Chechen Republic) หรือ เชชเนีย (Chechnya) ซึ่งเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของประเทศรัสเซีย 

เชชเนีย ตั้งอยู่ในเขตคอเคซัสเหนือ อันเป็นส่วนใต้สุดของยุโรปตะวันออก และอยู่ในรัศมี 100 กิโลเมตรจากทะเลแคสเปียน มีเมืองหลวงคือ กรุงกรอซนีย์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2553 ระบุว่า มีประชากรชาวเชชเนียราว 1,268,989 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย บริเวณเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับจอร์เจีย 

ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตปกครองตัวเองเชเชน-อินกุช (Chechen-Ingush ASSR)

ภายหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 ขบวนการชาตินิยมกลุ่มมุสลิมหัวใหม่ในรัสเซียต้องการที่จะผนวกดินแดน 4 สาธารณรัฐคือ สาธารณรัฐอิงกูเชเตีย, คาร์บาดีโน-บัลคาเรีย, ดาเกสถาน และนอร์ทออสซีเชีย เข้าด้วยกัน เรียกว่า "สหพันธรัฐอิสลามคาลีฟัด (Islamic Caliphate)" ภายใต้การสนับสนุนจากประเทศในตะวันออกกลาง และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตปกครองตัวเองเชเชน-อินกุช (Chechen-Ingush ASSR) แบ่งออกเป็นสองสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐอินกูเชเตียและสาธารณรัฐเชเชน 

ธงของสาธารณรัฐอินกูเชเตียเชเชน

สาธารณรัฐเชเชนได้รับการประกาศเป็นสาธารณรัฐอินกูเชเตียเชเชน ซึ่งต้องการเป็นเอกราช หลังสงครามเชเชนครั้งที่หนึ่งกับรัสเซีย เชชเนียได้รับเอกราชโดยพฤตินัยเป็นสาธารณรัฐอินกูเชเตียเชเชน ระบอบการควบคุมจากส่วนกลางของรัสเซียได้รับการฟื้นฟูระหว่างสงครามเชเชนครั้งที่สอง ปัจจุบันยังมีการสู้รบประปรายไปในเขตภูเขาและทางใต้ของเชชเนีย

นายพลโซคคาร์ ดูดาเยฟ (ประธานาธิบดีเชชเนียคนแรก ผู้ซึ่งประกาศให้สาธารณรัฐเชชเนียเป็นเอกราช)

ปัญหาของเชชเนียเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2535 เมื่อนายพลโซคคาร์ ดูดาเยฟ ประธานาธิบดีเชชเนีย ประกาศให้สาธารณรัฐเป็นเอกราช แต่รัสเซียยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้ดินแดนในปกครองเป็นอิสระ ด้วยเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัสเซียอีกด้วย จึงได้มีการส่งทหารจำนวน 40,000 นาย เข้าไปยังเชชเนีย เพื่อปราบปรามการแบ่งแยกดินแดน ทำให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2537-2539) แต่ได้สิ้นสุดลง เมื่อรัสเซียตกลงให้สิทธิปกครองตนเองชั่วคราวแก่กลุ่มกบฏ และยอมถอนทหารออกจากเชชเนียทั้งหมด และสนับสนุนให้ อัสลาน มาสคาดอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเชชเนียในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 สืบแทนประธานาธิบดีดูคาเยฟที่เสียชีวิตไปในช่วงสงคราม 

อัสลาน มาสคาดอฟ อดีตประธานาธิบดีเชชเนีย ผู้ซึ่งถูกหน่วย FSB สังหาร

ต่อมาอำนาจของประธานาธิบดีมาสคาดอฟได้ลดลงเป็นลำดับ เนื่องจากอดีตหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ซึ่งกระจายอยู่ตามดินแดนส่วนต่างๆ ของเชชเนีย เริ่มตั้งตนขึ้นมามีอำนาจอย่างเป็นเอกเทศ และจากการที่ประธานาธิบดีมาสคาดอฟ ได้ดำเนินนโยบายแยกตัวเป็นเอกราชจากรัสเซียในภายหลัง ทำให้รัฐบาลรัสเซียต้องการจับกุมตัวประธานาธิบดีมาสคาดอฟ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ขณะที่สุดท้ายประธานาธิบดีมาสคาดอฟ เสียชีวิตด้วยฝีมือของหน่วย FSB ขณะเข้าทำการจับกุมเมื่อ 8 มีนาคม พ.ศ. 2548

นายพลชามิล บาซาเยฟ (อดีตหัวหน้ากลุ่มกบฏเชชเนีย)

อย่างไรก็ตาม สงครามเชชเนียครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2542) ก็ได้เริ่มขึ้น เมื่อนายพลชามิล บาซาเยฟ หัวหน้ากลุ่มกบฏเชชเนีย ซึ่งมีอำนาจมากที่สุด นำกำลังเข้ายึดสาธารณรัฐดาเกสถานทางตะวันออกของเชชเนีย พร้อมประกาศจะปลดปล่อยดินแดนทางตอนเหนือของเทือกเขาคอเคซัสออกจากรัสเซีย และเปลี่ยนให้เป็นรัฐอิสลามทั้งหมด ทำให้รัสเซียต้องส่งทหารเข้าโจมตีที่ตั้งของนายพลบาซาเยฟในเชชเนียตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยสามารถยึดพื้นที่ไว้ได้ทั้งหมด รวมทั้งกรุงกรอซนีย์เมืองหลวงของเชชเนีย เหลือแต่เพียงบริเวณเทือกเขาตามแนวชายแดนเท่านั้น ที่มักเกิดการสู้รบกับกลุ่มกบฏในลักษณะการซุ่มโจมตี และต่อมา อัคมัด คาดีรอฟ ซึ่งย้ายข้างมาสนับสนุนรัสเซียได้ขึ้นเป็นผู้นำเชชเนีย และถูกลอบสังหารเมื่อ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และปัจจุบัน รัมซาม คาดีรอฟ บุตรชายของ อัคมัด คาดีรอฟ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐเชเชน ภายใต้สหพันธรัฐรัสเซียซึ่งมี ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นผู้นำ

น่าเสียดาย!! Ghost of Kyiv (ปีศาจแห่งเคียฟ) ‘เสืออากาศ’ ที่มีอยู่แค่ในโลก Social ของยูเครน

กลายเป็นอีกปรากฏการณ์แห่งโลกอินเทอร์เน็ต เมื่อเรื่องราวของ Ghost of Kyiv ที่ถูกเผยแพร่เล่าลือกันในโลก Social Media ระหว่างที่ใครหลายคนกำลังติดตามข่าวสารการรบระหว่าง Russia กับ Ukraine 

Ghost of Kyiv เป็นฉายาของนักบินเครื่องบินขับไล่แบบ MiG-29 ของยูเครนผู้หนึ่ง ซึ่งสามารถยิงเครื่องบินรบของรัสเซียตกถึงหกลำภายในวันแรกของสงคราม และได้รับการขนานนามว่า Ghost of Kyiv เหตุเพราะ Ghost of Kyiv สามารถบรรลุความเป็น ‘เสืออากาศ’ ได้ภายในวันเดียว (*** คำว่า ‘เสืออากาศ (Flying Ace)’ หมายถึงนักบินรบที่สามารถยิงเครื่องบินรบของศัตรูตกตั้งแต่ 5 ลำขึ้นไป)

เครื่องบินรบแบบ MiG-29 ของกองทัพอากาศยูเครน

ในวันแรกที่รัสเซียบุกยูเครน ข่าวลือที่ไม่ได้รับการยืนยันนี้ ก็ถูกแพร่กระจายไปทั่วอินเทอร์เน็ต โดยมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอลงสื่อ Social Media กล่าวอ้างถึงเรื่องราวของนักบินรบ MiG-29 ชาวยูเครนผู้ลึกลับนายหนึ่ง ซึ่งสามารถสังหารเครื่องบินข้าศึก 6 ลำภายใน 30 ชั่วโมงแรกของสงคราม โดยเครื่องบินที่ถูกสอยร่วงนั้นเป็นเครื่องบินรบแบบ SU-35 จำนวน 2 ลำ, SU-25 จำนวน 2 ลำ, SU-27 จำนวน 1 ลำ และ MiG-29 อีกหนึ่งลำ และจากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงส่งผลให้ประชาชนชาวยูเครนต่างพากันให้ฉายานักบินผู้นี้ว่า Ghost of Kyiv ที่เข้าโหมด ‘เสืออากาศภายในวันเดียว’ (Ace in a Day) คนแรกของศตวรรษที่ 21 เลยก็ว่าได้

ทว่า วิดีโอและภาพถ่ายส่วนใหญ่ที่แสดงให้เห็นการสู้รบในอากาศของเครื่องบินรบแบบ MiG-29 ของยูเครนที่แชร์บน Social Media กลับได้รับการพิสูจน์โดยผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและนักวิจัยว่า...เก่า - ล้าสมัย และในบางกรณีก็มีการนำ Footage จากวิดีโอเกมจำลองการบินยอดนิยมกลับมาใช้ใหม่ 

นอกจากนี้แล้วรายงานเครื่องบิน MiG-29 ของยูเครนที่สามารถยิงเครื่องบินรัสเซียหลายลำตกตั้งแต่เริ่มการบุกรุก ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันจากสื่อสากลใด ๆ อีกด้วย 

แต่ถึงกระนั้น เรื่องนี้ก็ไม่หลุดรอดและหยุดยั้งการเดินเครื่องโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อของรัฐบาล และนักการเมืองยูเครนไปได้ เพราะพวกเขายังพยายามเผยแพร่เรื่องราวของ ‘Ghost of Kyiv’ ทางโลกออนไลน์ ด้วยหวังว่าจะเป็นการเสริมสร้างและเพิ่มเติมขวัญกำลังใจให้ชาวยูเครนเกิดแรงฮึดในการป้องกันประเทศ 

อาทิ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 กระทรวงกลาโหมของยูเครน ก็ได้ปลุกกระแสข่าวลือด้วยการทวีตว่า Ghost of Kyiv อาจเป็นหนึ่งในอดีตนักบินนอกประจำการที่กลับมาสู้รบอีกครั้งหลังจากถูกรัสเซียรุกราน “นักบินทหารผู้มากประสบการณ์หลายสิบคน ยศตั้งแต่เรืออากาศเอกไปจนถึงนายพล ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกปลดเป็นกองหนุนกำลังกลับสู่กองทัพอากาศ” และ “ใครจะไปรู้ว่า บางทีหนึ่งในนั้นอาจเป็นนักบิน MiG-29 ซึ่งชาว Kyiv มักได้เห็นบ่อย ๆ !"

ฉะนั้น ปรากฏการณ์ Ghost of Kyiv จึงเหมือนเป็นการปรับภาพให้ผู้คนทั่วโลกและชาวยูเครนเห็นว่า ความจริงแล้วรัสเซียยังไม่ได้สร้างความเหนือชั้นกว่าในการครองอากาศได้เลย

โดยทางด้านเจ้าหน้าที่กลาโหมระดับสูงของสหรัฐฯ ซึ่งไม่เปิดเผยชื่อ ก็ดูจะโหนกระแสเรื่องนี้อีกคำรบ โดยเขาได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวก่อนหน้านี้ด้วยว่า “การป้องกันทางอากาศของยูเครนยังคงใช้งานได้” และบนอากาศยัง “มีการสู้รบกันอย่างมีพลวัตสูงมากอยู่ (กองทัพอากาศยูเครนยังรับมือกับรัสเซียได้อยู่)” 

ยิ่งไปกว่านั้น การขาดข้อมูลที่ชัดเจนจากทั้งรัฐบาลรัสเซียและยูเครนเกี่ยวกับจำนวนตัวเลขความเสียหายและการบาดเจ็บล้มตาย ก็ดูเหมือนจะช่วยเพิ่มความลึกลับให้แก่ Ghost of Kyiv ได้ดียิ่งขึ้น โดยกระทรวงกลาโหมของยูเครนอ้างว่า กองกำลังของรัสเซียเกือบ 6,000 นายและเครื่องบิน 30 ลำถูกทำลายโดยกองกำลังของตนเมื่อเช้าวันพุธ ต่อมาในวันเดียวกัน กระทรวงกลาโหมของรัสเซียอ้างว่า ทหาร 500 นายเสียชีวิต แต่ไม่ได้เปิดเผยว่า มีเครื่องบินถูกทำลายหรือสูญหาย ซึ่งทำให้ The Ghost of Kyiv กลายเป็นขวัญและกำลังใจที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชาวยูเครนที่ต่างเต็มใจจับอาวุธเข้าต่อต้านกองทัพรัสเซีย

'รัสเซีย' ออกโรงขู่ ชาติตะวันตก ล็อกเป้าถล่มขบวนอาวุธที่จัดหาให้ยูเครน 

รัสเซียเปิดเผยว่าทหารของพวกเขาอาจล็อกเป้าถล่มเสบียงอาวุธของตะวันตกในยูเครน หลังสหรัฐฯ และอียูยังคงเดินหน้าจัดหาอาวุธแก่เคียฟ สำหรับใช้ต่อกรกับพวกเขา ชี้เป็นความเคลื่อนไหวที่อันตราย

"เราขอเตือนสหรัฐฯ ที่บงการคาดคั้นอาวุธจากหลายประเทศ มันไม่ใช่แค่เป็นความเคลื่อนไหวที่อันตราย แต่มันเป็นความเคลื่อนไหวที่จะเปลี่ยนขบวนขนอาวุธเหล่านี้เป็นเป้าหมายที่ชอบธรรม" เซอร์เก รยาบคอฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐในวันเสาร์ (12 มี.ค.)

เขาบอกว่ามอสโกขอเตือน "ถึงผลสนองของการขนย้ายอันเลินเล่อไปยังยูเครน ไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบประทับบ่า ระบบขีปนาวุธต่อต้านรถถังและอื่นๆ"

รยาบคอฟกล่าวต่อว่าวอชิงตันไม่ใส่ใจอย่างจริงจังกับคำเตือนของมอสโก พร้อมเผยว่ารัสเซียและสหรัฐฯ ไม่ได้เตรียมจัดการเจรจาใดๆ ในประเด็นยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ส่งทหารรัสเซียเข้าไปยังยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ โดยอ้างว่ามีเป้าหมายทำให้ประเทศแห่งนี้ไม่เป็นนาซี

มอสโกถูกนานาชาติกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเป็นชุดๆ นับตั้งแต่เปิดฉากรุกราน ในขณะที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี เรียกร้องซ้ำๆ ให้มหาอำนาจตะวันตกส่งมอบความช่วยเหลือทางทหารเพิ่มเติมแก่ประเทศของเขา และเตือนว่าทหารรัสเซียจะไม่หยุดที่พรมแดนยูเครน หากมอสโกสามารถยึดครองประเทศของเขาได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

แม้สหรัฐฯ และนาโต้ปฏิเสธเสียงเรียกร้องของเซเลนสกีซ้ำๆ ในการบังคับใช้เขตห้ามบินเหนือยูเครน แต่พวกเขาได้จัดหาและส่งมอบอาวุธแก่ยูเครนในระดับที่รวดเร็วอย่างมาก ในนั้นรวมถึงยุทโธปกรณ์ที่อ่อนไหวสูงอย่างเช่นขีปนาวุธยิงจากบ่าหรือที่เรียกว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบประทับบ่า ซึ่งมีแสนยานุภาพสอยอากาศยานได้

'นันทิวัฒน์' ชี้ ยูเครนเคว้ง ไร้การเหลียวแลจากมหามิตร ชมเปาะ ไทยวางตัวดี ไม่ถลำลึกเชื่อผู้นำอย่างไบเดน

13 มี.ค. 65 - นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Nantiwat Samart โดยมีรายละเอียดดังนี้

ไม่จบง่ายๆ

การสู้รบในยูเครนทำท่าไม่จบง่ายๆ การเจรจาผ่านไปสามครั้งไม่มีอะไรคืบหน้า ไม่สามารถหาข้อยุติเรื่องใดๆได้เลย แน่นอนรัสเซียไม่ยอมลดเงื่อนไขในข้อเรียกร้อง และจะไม่ยอมหยุดยิง แต่ฝ่ายยูเครนซึ่งประเทศยับเยิน ประชาชนเดือดร้อนกลับไม่ลดราวาศอก มหามิตรใหญ่ก็ไม่มีใครช่วย ปล่อยเกาะยูเครนให้เสี่ยงภัยเอาเอง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top