Thursday, 16 May 2024
ยูเครน

“ดอน” ระบุ ไทยเตรียมปรับท่าทีปมขัดแย้ง "รัสเซีย-ยูเครน" แย้ม มีช่องทางเสริมการเจรจาให้สถานการณ์ดีขึ้น ชี้ มีคนหวังประโยชน์จากความยืดเยื้อ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ว่า โดยหลักแล้วเราต้องดูสถานการณ์ที่เป็นจริง ขณะนี้ประเทศไทยอาจจะต้องปรับท่าทีนิดนึง เพราะเรารับรู้อยู่แล้วว่ามีการประณามเยอะอยู่แล้ว แต่เราต้องหาจุดที่ช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ต้องมาช่วยกันดูว่าจะทำอย่างไรให้สถานการณ์คลี่คลายได้ อย่านั่งประณามอย่างเดียว 

ผู้สื่อข่าวถามว่า การปรับท่าทีของไทย จะทำให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร นายดอน กล่าวว่า เป็นไปได้ ต้องหาทางให้เกิดขึ้น เพื่อไปเสริมการเจรจา เรามีช่องทางที่จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น

เมื่อถามถึงกรณีประธานาธิบดียูเครนสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) นายดอน กล่าวว่า ตามหลักของการเจรจาเป็นการทำให้ท่าทีเข้มขึ้น แข็งขึ้น ไม่ใช่เจรจาแล้วจะอยู่ในท่าทีเดิมๆ แต่การเสริมท่าทีนั้นจะทำให้การคุยกันยากขึ้นไปได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น จะต้องชวนกันมาเอาจริงเอาจังที่จะหาทางออก มากกว่าการแสดงความแกร่ง

เมื่อถามย้ำว่า ยูเครนมีจุดยืนชัดเจนที่จะเข้าร่วมอียูใช่หรือไม่ นายดอน กล่าวว่า ไม่เชิง เราต้องคิดว่ามีปัจจัยต่างๆ อีกเยอะ อาจจะไม่ได้แค่คิดเรื่องการเป็นสมาชิกอียูเท่านั้น แต่อาจจะมาจากที่อื่นก็ได้เพื่อให้เกิดการยืดเยื้อ คนที่ต้องการให้เกิดความยืดเยื้อมีอยู่เยอะ 

ต่อข้อถามว่าคนที่ต้องการให้เกิดความยืดเยื้อต้องการอะไร นายดอน กล่าวว่า ให้ช่วยคิดกันเองว่าชีวิตจริงเป็นอย่างไร คนที่ต้องการให้ยืดเยื้อก็ได้ประโยชน์จากหลายๆ อย่าง 

เมื่อถามย้ำว่า ต้องกดดันคนที่ต้องการให้ยืดเยื้อหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า มันมีคนที่ได้ประโยชน์ แต่คนเสียผลประโยชน์คือคนทั้งโลก เราจึงต้องหาวิธีการที่จะช่วยกัน ให้การหารือเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ต้องไม่มานั่งด่ากัน ไทยโชคดีอย่างหนึ่งที่เป็นเพื่อนและสามารถคุยกับคนทั้งโลก แต่ว่าคุยแล้วมีน้ำหนักแค่ไหนนั้นอีกเรื่องหนึ่ง เราสามารถพูดได้กับทั้งอียู สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย 

'บิ๊กตู่' บอกครม. ไทยต้อง ละเอียดรอบคอบและเป็นกลาง ต่อปม'รัสเซีย-ยูเครน'  'บิ๊กป้อม' ถกนอกรอบ คาใจ เหตุ' ไพบูลย์' หลุด ประธานกมธ.

เมื่อวันที่ 1 มี.ค. รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ใช้เวลาหารือถึงเรื่องความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน นานที่สุดโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุว่าขณะนี้มีความกดดันจะให้ไทยเข้าข้างสหภาพยุโรป(อียู) แต่หากจะทำอะไรเราต้องคิดถึงประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย ที่มีมาอย่างยาวนานด้วย โดยประเทศในอียูไม่รู้รายละเอียดความสัมพันธ์ที่เรามี  เราจึงต้องคิดอย่างละเอียดและรอบคอบ ด้านนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกฯและรมว.การต่างประเทศ ระบุว่า อียู รุกไทยอย่างมาก ว่าให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งมีรัฐมนตรีหลายคนแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ซึ่งทำให้ นายกฯ กล่าวสรุปว่า “เราต้องสุขุมและรอบคอบในการตัดสินใจ” และภาพรวมในการหารือ คือต้องการให้ไทยวางตัวเป็นกลาง และเร่งนำคนไทยในพื้นที่ดังกล่าวกลับมาโดยเร็ว 

นอกจากนี้ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรียังหารือถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างของไทย-ซาอุดิอารเบีย ที่จะทำให้มีพัฒนาการด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน ทั้งเรื่องการส่งออก การท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้ซาอุฯต้องการซื้อไข่ไก่จากประเทศไทยเป็นจำนวนมาก นายกฯจึงมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รีบตรวจสอบตัวเลขไข่ไก่ของประเทศไทยว่าขณะนี้มีปริมาณเท่าไหร่ บริโภคในประเทศเท่าไหร่ ส่งออกเท่าไหร่ และให้ดูด้วยว่าไทยจะสามารถเพิ่มผลผลิตเพื่อขายให้ซาอุฯได้หรือไม่ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ก็ได้กล่าวขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ ที่เปิดทางด้านการค้าขาย ทำให้ความสัมพันธ์พัฒนาเป็นรูปธรรมมากขึ้น

รายงานแจ้งว่า หลังการประชุมครม. เสร็จสิ้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้หารือแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลวงเล็กในห้องรับรอง หรือห้องสีเหลือง โดยมีรัฐมนตรีเข้าร่วมประกอบด้วย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาตร์พรรคชาติไทยพัฒนา นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ  นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการพรรคพลังประชารัฐ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะรักษาการเลขาธิการพรรค พลังประชารัฐ และ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม โดยใช้เวลาหารือกันนานประมาณ 15 นาที

“บิ๊กตู่” ห่วง คนไทยในยูเครน ย้ำ กต.-หน่วยงานเกี่ยวข้อง ส่งกลับคนไทย ให้ถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ติดตามความคืบหน้าการช่วยเหลือคนไทยในยูเครน จากสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครน ด้วยความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของชาวไทยในยูเครน พร้อมขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ที่ยังติดค้างอยู่ในยูเครน โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือคนไทยด้วยความรอบคอบ และเร่งดำเนินการส่งชาวไทยที่ประสงค์เดินทางกลับประเทศ ให้กลับถึงไทยโดยสวัสดิภาพ

นายธนกร กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงความคืบหน้าแผนการช่วยเหลือคนไทยในยูเครน จากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์  โดยเมื่อวันที่28 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้ช่วยเหลือคนไทย ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคนไทยในยูเครนอีก 43 คน อพยพออกจากยูเครน เข้าประเทศโปแลนด์และกำลังเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งนี้ซึ่งสามารถอพยพคนไทย ออกนอกยูเครน จำนวน 142 คน

‘รัสเซีย-ยูเครน’ วิกฤตสะเทือนเศรษฐกิจทั่วโลก! | Click on Clear THE TOPIC EP.159

📌จับตา ‘รัสเซีย-ยูเครน’ จุดเริ่มต้นวิกฤตเศรษฐกิจโลก !! ไปกับ ‘ปริญญ์ พานิชภักดิ์’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ !!
📌ใน Topic : ‘รัสเซีย-ยูเครน’ วิกฤตสะเทือนเศรษฐกิจทั่วโลก!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

“บิ๊กตู่” ติดตามความคืบหน้าการช่วยเหลือชาวไทยในยูเครน ห่วง 31 คน ที่ยังประสงค์อยู่ในพื้นที่ กำชับทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือชาวไทยอย่างทันท่วงทีต่อทุกสถานการณ์

เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 3 มี.ค.นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือคนไทยในยูเครนอย่างใกล้ชิด แม้ได้ให้ความช่วยเหลือคณะชาวไทย 2 กลุ่มแรกจำนวน 96 คน ที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยโดยสวัสดิภาพเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมาแล้ว แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครนที่เพิ่มสูงขึ้น นายกรัฐมนตรี ยังคงแสดงความห่วงใยต่อความปลอดภัยของประชาชนชาวไทยในยูเครนที่เหลืออยู่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ชาวไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ยูเครน อีกทั้งได้กำชับให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเตรียมความพร้อมในทุกด้านเพื่อให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยในยูเครนอย่างทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานความคืบหน้าแผนการให้ช่วยเหลือคนไทยในยูเครน จากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 คณะคนไทยที่อพยพออกจากยูเครนชุดที่ 3 จำนวน 40 คน ได้เดินทางออกจากประเทศโปแลนด์กลับมายังประเทศไทยและมีกำหนดถึงประเทศไทยในวันนี้ (3 มีนาคม 2565) โดยสายการบินเอมิเรตส์ เที่ยวบินที่ EK384 เวลา 12.05 น. ทั้งนี้ ยังคงการช่วยเหลือคนไทยอพยพออกจากยูเครนเพิ่มเติม ได้แก่ คนไทยจำนวน 43 คนได้เดินทางจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคนไทยในยูเครน เมืองลวิฟ เข้าสู่ประเทศโปแลนด์และเข้าพักในโรงแรมที่กรุงวอร์ซอเพื่อเตรียมเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 4 มีนาคม 2565 พร้อมกันนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ได้ช่วยเหลือให้คนไทยที่อพยพออกจากประเทศยูเครน จำนวน 16 คน เพื่อเตรียมเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 4 มีนาคม 2565 ต่อไป

Chechen VS Chechen เปิดสมรภูมิรบ Ukraine แต่นักรบ Chechen ต้องมารบราฆ่าฟันกันเอง

สำหรับวันนี้อยากชวนทุกท่านไปรู้จักเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับกระแสโลกอย่างสงคราม ‘รัสเซีย-ยูเครน’ กัน 

ธงของสาธารณรัฐเชเชนในปัจจุบัน

เรื่องของชาว Chechen ซึ่งเป็นประชากรของสาธารณรัฐเชเชน (Chechen Republic) หรือ เชชเนีย (Chechnya) ซึ่งเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของประเทศรัสเซีย 

เชชเนีย ตั้งอยู่ในเขตคอเคซัสเหนือ อันเป็นส่วนใต้สุดของยุโรปตะวันออก และอยู่ในรัศมี 100 กิโลเมตรจากทะเลแคสเปียน มีเมืองหลวงคือ กรุงกรอซนีย์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2553 ระบุว่า มีประชากรชาวเชชเนียราว 1,268,989 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย บริเวณเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับจอร์เจีย 

ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตปกครองตัวเองเชเชน-อินกุช (Chechen-Ingush ASSR)

ภายหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 ขบวนการชาตินิยมกลุ่มมุสลิมหัวใหม่ในรัสเซียต้องการที่จะผนวกดินแดน 4 สาธารณรัฐคือ สาธารณรัฐอิงกูเชเตีย, คาร์บาดีโน-บัลคาเรีย, ดาเกสถาน และนอร์ทออสซีเชีย เข้าด้วยกัน เรียกว่า "สหพันธรัฐอิสลามคาลีฟัด (Islamic Caliphate)" ภายใต้การสนับสนุนจากประเทศในตะวันออกกลาง และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตปกครองตัวเองเชเชน-อินกุช (Chechen-Ingush ASSR) แบ่งออกเป็นสองสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐอินกูเชเตียและสาธารณรัฐเชเชน 

ธงของสาธารณรัฐอินกูเชเตียเชเชน

สาธารณรัฐเชเชนได้รับการประกาศเป็นสาธารณรัฐอินกูเชเตียเชเชน ซึ่งต้องการเป็นเอกราช หลังสงครามเชเชนครั้งที่หนึ่งกับรัสเซีย เชชเนียได้รับเอกราชโดยพฤตินัยเป็นสาธารณรัฐอินกูเชเตียเชเชน ระบอบการควบคุมจากส่วนกลางของรัสเซียได้รับการฟื้นฟูระหว่างสงครามเชเชนครั้งที่สอง ปัจจุบันยังมีการสู้รบประปรายไปในเขตภูเขาและทางใต้ของเชชเนีย

นายพลโซคคาร์ ดูดาเยฟ (ประธานาธิบดีเชชเนียคนแรก ผู้ซึ่งประกาศให้สาธารณรัฐเชชเนียเป็นเอกราช)

ปัญหาของเชชเนียเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2535 เมื่อนายพลโซคคาร์ ดูดาเยฟ ประธานาธิบดีเชชเนีย ประกาศให้สาธารณรัฐเป็นเอกราช แต่รัสเซียยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้ดินแดนในปกครองเป็นอิสระ ด้วยเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัสเซียอีกด้วย จึงได้มีการส่งทหารจำนวน 40,000 นาย เข้าไปยังเชชเนีย เพื่อปราบปรามการแบ่งแยกดินแดน ทำให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2537-2539) แต่ได้สิ้นสุดลง เมื่อรัสเซียตกลงให้สิทธิปกครองตนเองชั่วคราวแก่กลุ่มกบฏ และยอมถอนทหารออกจากเชชเนียทั้งหมด และสนับสนุนให้ อัสลาน มาสคาดอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเชชเนียในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 สืบแทนประธานาธิบดีดูคาเยฟที่เสียชีวิตไปในช่วงสงคราม 

อัสลาน มาสคาดอฟ อดีตประธานาธิบดีเชชเนีย ผู้ซึ่งถูกหน่วย FSB สังหาร

ต่อมาอำนาจของประธานาธิบดีมาสคาดอฟได้ลดลงเป็นลำดับ เนื่องจากอดีตหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ซึ่งกระจายอยู่ตามดินแดนส่วนต่างๆ ของเชชเนีย เริ่มตั้งตนขึ้นมามีอำนาจอย่างเป็นเอกเทศ และจากการที่ประธานาธิบดีมาสคาดอฟ ได้ดำเนินนโยบายแยกตัวเป็นเอกราชจากรัสเซียในภายหลัง ทำให้รัฐบาลรัสเซียต้องการจับกุมตัวประธานาธิบดีมาสคาดอฟ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ขณะที่สุดท้ายประธานาธิบดีมาสคาดอฟ เสียชีวิตด้วยฝีมือของหน่วย FSB ขณะเข้าทำการจับกุมเมื่อ 8 มีนาคม พ.ศ. 2548

นายพลชามิล บาซาเยฟ (อดีตหัวหน้ากลุ่มกบฏเชชเนีย)

อย่างไรก็ตาม สงครามเชชเนียครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2542) ก็ได้เริ่มขึ้น เมื่อนายพลชามิล บาซาเยฟ หัวหน้ากลุ่มกบฏเชชเนีย ซึ่งมีอำนาจมากที่สุด นำกำลังเข้ายึดสาธารณรัฐดาเกสถานทางตะวันออกของเชชเนีย พร้อมประกาศจะปลดปล่อยดินแดนทางตอนเหนือของเทือกเขาคอเคซัสออกจากรัสเซีย และเปลี่ยนให้เป็นรัฐอิสลามทั้งหมด ทำให้รัสเซียต้องส่งทหารเข้าโจมตีที่ตั้งของนายพลบาซาเยฟในเชชเนียตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยสามารถยึดพื้นที่ไว้ได้ทั้งหมด รวมทั้งกรุงกรอซนีย์เมืองหลวงของเชชเนีย เหลือแต่เพียงบริเวณเทือกเขาตามแนวชายแดนเท่านั้น ที่มักเกิดการสู้รบกับกลุ่มกบฏในลักษณะการซุ่มโจมตี และต่อมา อัคมัด คาดีรอฟ ซึ่งย้ายข้างมาสนับสนุนรัสเซียได้ขึ้นเป็นผู้นำเชชเนีย และถูกลอบสังหารเมื่อ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และปัจจุบัน รัมซาม คาดีรอฟ บุตรชายของ อัคมัด คาดีรอฟ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐเชเชน ภายใต้สหพันธรัฐรัสเซียซึ่งมี ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นผู้นำ

ประธานาธิบดียูเครน ซัด 'NATO' อ่อนแอ-ไม่คิดรักษาอิสรภาพยุโรป เหตุเมินคำขอปิดน่านฟ้ายูเครน เหมือนเปิดไฟเขียวให้รัสเซียโจมตีทางอากาศ

ผู้นำยูเครนจวกยับ "นาโต" อ่อนแอ-ไม่มีสักชาติเดียวที่คิดจะรักษาอิสรภาพของยุโรป หลังโดนปฏิเสธคำร้องขอให้ประกาศเขตห้ามบินเหนือน่านฟ้ายูเครน ชี้เท่ากับเป็นการเปิดไฟเขียวให้รัสเซียโจมตีทางอากาศได้โดยสะดวก ขณะที่รมต.สหรัฐฯ อ้างหากนาโตทำเช่นนั้นก็จะทำให้สงครามยิ่งขยายตัว ย้ำไม่ต้องการทำสงครามกับรัสเซีย

5 มี.ค.65 ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์องค์การนาโต ที่ปฏิเสธคำร้องขอให้ประกาศเขตห้ามบินเหนือน่านฟ้ายูเครน เท่ากับเป็นการเปิดไฟเขียวให้รัสเซียโจมตีทางอากาศยูเครนได้โดยสะดวก และระบุว่า การประชุมขององค์การนาโต เป็นการประชุมที่อ่อนแอ สับสน และไม่มีสักชาติเดียวที่คิดจะรักษาอิสรภาพของยุโรป

'รัสเซีย' ประกาศ ‘หยุดยิงชั่วคราว’ 2 เมืองในยูเครน เปิดเส้นทางอพยพพลเรือนจาก ‘มารียูปอล-โวลโนวาคา’

กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศ “หยุดยิง” บางส่วน เพื่อเปิดเส้นทางให้ประชาชนสามารถอพยพออกจากเมืองท่ามารียูปอล (Mariupol) และเมืองโวลโนวาคา (Volnovakha) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน

ถ้อยแถลงจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่า “วันที่ 5 มี.ค. ตั้งแต่ 10.00 น. เป็นต้นไปตามเวลากรุงมอสโก รัสเซียขอประกาศหยุดยิง และจะเปิดเส้นทางมนุษยธรรมเพื่อให้พลเรือนสามารถอพยพออกจากมารียูปอลและโวลโนวาคา”

กระทรวงฯ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า พื้นที่ซึ่งจะเปิดเป็นเส้นทางอพยพและทางออกนั้นได้มีการตกลงกับฝ่ายบริหารท้องถิ่นของยูเครนเรียบร้อยแล้ว

ประกาศหยุดยิงมีขึ้น หลังจากที่ วาดิม บอยเชนโก นายกเทศมนตรีเมืองมารียูปอล ออกมาระบุวันนี้ (5 ก.พ.) ว่า เมืองท่าสำคัญของยูเครนกำลังถูก “ปิดล้อม” โดยกองกำลังของรัสเซีย ซึ่งระดมยิงถล่ม “อย่างไร้ความปรานี” ตลอดหลายวันที่ผ่านมา

ระหว่างที่ปิดล้อมมารียูปอลอยู่หลายวัน กองทัพรัสเซียได้ทำการตัดไฟฟ้า, น้ำประปา, ระบบทำความร้อน, การคมนาคมขนส่ง รวมไปถึงเสบียงอาหารท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวเหน็บในช่วงกลางฤดูหนาว จนทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่าไม่ต่างอะไรกับตอนที่กองทัพนาซีปิดล้อมเลนินกราด (Leningrad) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

“เรากำลังหาทางแก้ไขวิกฤตด้านมนุษยธรรมครั้งนี้ และมองหาลู่ทางต่างๆ ที่พอจะเป็นไปได้ เพื่อยุติการปิดล้อมมารียูปอล” บอยเชนโก ระบุ พร้อมเรียกร้องให้รัสเซียหยุดยิง และเปิดทางให้มีการขนส่งอาหารและยารักษาโรคเข้ามาในเมืองแห่งนี้

พระเอกขี่ม้าขาว? ยูเครนร้องจีนช่วยยุติสงคราม ด้านจีนตอบรับพร้อมเป็น 'คนกลาง' | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช EP.42

✨ พระเอกขี่ม้าขาว? ยูเครนร้องจีนช่วยยุติสงคราม ด้านจีนตอบรับพร้อมเป็น 'คนกลาง'
✨ จีนได้ประโยชน์เต็มๆ !! หลังยุโรปแบนธนาคารรัสเซีย ออกจากระบบการโอนเงินข้ามชาติ
✨ 'เราเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโควิด' นายกรัฐมนตรีอังกฤษประกาศนโยบาย ยกเลิกการกักตัวและการแจกชุดตรวจ
✨ Social Media กระอัก หลัง Android อัปเดตใหม่ ลดการติดตามข้ามแอปพลิเคชัน กระทบรายได้โฆษณานับแสนล้าน
✨ ญี่ปุ่นเตรียมออกกฎหมาย ห้ามคนเคยทำผิดคดีทางเพศ เข้ามาทำอาชีพครูและพี่เลี้ยงเด็ก

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ปธน.ยูเครนต่อสายคุยไบเดน ขอสหรัฐฯช่วย ทั้งเงินสนับสนุน - มาตรการคว่ำบาตรกดดันรัสเซีย

ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี เปิดเผยในวันอาทิตย์(6มี.ค.) ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อหารือถึงการสนับสนุนทางการเงินและมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานรัสเซีย ในขณะที่ประเทศของเขาต้องเผชิญการโจมตีอย่างหนักหน่วง

"ในฐานะส่วนหนึ่งของการพูดคุยที่มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผมได้สนทนาอีกครั้งกับ @POTUS(บัญชีทวิตเตอร์ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ)" เซเลนสกีกล่าว "วาระต่างๆนั้น รวมไปถึงประเด็นด้านความมั่นคง การสนับสนุนทางการเงินสำหรับยูเครนและการเดินหน้าคว่ำบาตรรัสเซีย"

ในถ้อยแถลงของการพูดคุยที่ใช้เวลานานราว 30 นาที ทำเนียบขาวระบุว่าไบเดนเน้นย้ำถึงก้าวย่างต่างๆที่รัฐบาลของเขาและพันธมิตรได้ใช้ "เพื่อให้รัสเซียชดใช้มากยิ่งขึ้นต่อกรณีที่รุกรานยูเครน"


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top