Monday, 29 April 2024
Y WORLD

ราชกิจจานุเบกษา ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และการชำระเงินคืนกองทุน ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้ กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน พ.ศ. 2563 ความว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 (7) และ (17) มาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 44 และมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในการประชุมครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ได้มีมติให้ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน พ.ศ. 2563”

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับการดำเนินการให้กู้ยืมเงินตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิก

(1) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน พ.ศ. 2561

(2) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562

ข้อ 4 ในระเบียบนี้

“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

“ผู้กู้ยืมเงิน” หมายความว่า นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ได้รับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้หมายความรวมถึงนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ได้รับเงินกู้ยืมตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และนิสิตหรือนักศึกษาผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนจากกองทุนเพื่อการศึกษาตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ด้วย

“เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา” หมายความว่า เงินที่กองทุนจัดสรรให้ผู้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ

“นักเรียนหรือนักศึกษา” หมายความว่า ผู้ซึ่งศึกษาอยู่ในสถานศึกษา และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาในสถานศึกษาด้วย

“สถานศึกษา” หมายความว่า โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา หรือสถานศึกษาอื่นของรัฐ โรงเรียนของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

“ค่าเล่าเรียน” หมายความว่า เงินค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษา

“ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายอื่นที่มิใช่ค่าเล่าเรียนที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียนหรือนักศึกษาตามระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งของสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา

“ค่าครองชีพ” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพระหว่างศึกษา

“สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

“นิติบุคคล” หมายความว่า นิติบุคคลไทยที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย

“ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

“ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ข้อ 5 ในการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน ให้กองทุนสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงิน ผู้กู้ยืมเงิน และผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และตามระเบียบนี้ รวมทั้ง กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของกองทุน ทั้งที่ออกใช้บังคับอยู่แล้ว และที่จะออกใช้บังคับต่อไปในภายหน้าโดยเคร่งครัด

ข้อ 6 ให้ผู้จัดการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ รวมทั้งการออกประกาศกำหนดแนวปฏิบัติเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมแนวทางและวิธีดำเนินการตามระเบียบนี้

หมวด 1 การให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

ข้อ 7 กองทุนจะสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ใน 4 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

อ่านต่อทั้งหมด http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/058/T_0001.PDF

หลังจากตอนที่แล้ว คุณพ่อแฟรงค์ เล่าเรื่องการรับมือกับลูกวัยรุ่นในแบบของคุณพ่อ วันนี้จะมาแบ่งปันวิธีจัดการกับเวลาและงานอดิเรก รวมถึงการเตรียมพร้อมลูกให้เดินทางไปสู่ความฝันได้

“ความเชื่อทำให้เราไม่ได้ตรวจสอบอะไรทั้งสิ้น”

คำพูดของคุณพ่อแฟรงค์ทำให้ได้ฉุกคิด คุณพ่อแฟรงค์มีลูก 2 คน คนโตก้าวเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว ในช่วงวัยรุ่นคุณพ่อผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก และพ่อแฟรงค์คือผู้ใหญ่ที่เตือนเราให้ไม่ลืมตรวจสอบความเชื่อของเราเอง

“ผมจะบอกกับลูกว่า ฟังพ่อนะลูก แต่อย่าเชื่อพ่อทั้งหมด มีอะไรที่พ่อไม่รู้ ให้บอกพ่อด้วย เด็กรุ่นนี้ถูกต่อว่าว่ารอไม่เป็น แต่มองอีกอย่าง เค้าเกิดมารองรับความรวดเร็วของเทคโนโลยีสมัยที่คนรุ่นเราเริ่มตามไม่ทัน ผมเคยคุยกับลูก เวลาเราเห็นคนนุ่งจีวร เราเห็นเค้าเป็นอะไร เห็นเป็นพระ ลองให้ลูกจินตนาการว่าให้คนเดิมที่นุ่งจีวรมาใส่ชุดแนวฮิปฮอป เราจะเห็นเค้าเป็นแบบไหน ผมกับลูกก็หัวเราะกัน บางทีรูปลักษณ์ภายนอกหรือเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็ส่งผลต่อความเชื่อของเราที่มีต่อเค้าได้ ผมไม่ได้ให้ปฏิเสธความเชื่อ แต่ให้ตรวจสอบความเชื่อ”

ตอนที่แล้วคุณพ่อแฟรงค์พูดถึงการรับมือกับลูกวัยรุ่นในแบบของคุณพ่อ วันนี้เรามาต่อกันว่า คุณพ่อแฟรงใช้วิธีใดจัดการกับเวลาและงานอดิเรก รวมถึงการเตรียมพร้อมลูกให้เดินทางไปสู่ความฝันได้

จากที่พ่อแฟรงค์เล่า พ่อแฟรงค์ไม่ได้ทำอะไรแตกต่างไปจากพ่อแม่คนอื่น ๆ ส่งลูกไปเรียนดนตรี เล่นกีฬา หรือกิจกรรมที่เป็นที่นิยม แต่สิ่งที่พ่อแฟรงค์น่าจะทำได้ดีเป็นพิเศษกว่าพ่อแม่หลายคน คือคุณพ่อแฟรงค์เลือกที่จะใช้เวลากับลูกให้มากที่สุด

“ครั้งหนึ่งผมส่งลูกไปเรียนดนตรีเป็นปกติ แล้วหลังจากเค้าเรียนเสร็จ ก็ให้ลูกเดินเล่นในห้างรอพ่อไปรับ ผมรู้สึกว่าทำไมเราปล่อยให้เค้าเดินเรื่อยเปื่อยในห้างรอเราอยู่คนเดียว หลังจากนั้นผมตั้งใจว่าจะใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากที่สุด แล้วพอเราใช้เวลากับเค้า เราจะรู้ว่าลูกชอบอะไร เก่งอะไร พิเศษเรื่องไหน เราก็จัดเวลา จัดลำดับความสำคัญให้ลูกได้ จัดลำดับความสำคัญของงานอดิเรก อันไหนหาเงินได้ หาได้เท่าไหร่ เราจะทำอันไหนก่อนหลัง จัดตารางแต่ละวัน เด็กสมัยนี้ทำงานอดิเรกได้หลายอย่างต่อวัน อันไหนเร่งด่วนและมีประโยชน์ก็ทำก่อน การบ้านยังถึงเวลาส่ง ก็ทำทีหลังได้ งานไหนได้ประโยชน์ ได้ความรู้ได้ทักษะ ก็แบ่งเวลาไปทำ และเมื่อเราทำแล้ว ก็ให้ทำงานอดิเรกนั้นให้ดี”

ความฝันมีให้เรารู้ว่าเราไปไหน แค่ระหว่างเดินทางไปเรามีความสุขก็เพียงพอแล้ว

“จะทำตามความฝัน ต้องเตรียมตัวเราให้เราไปสู่เป้าหมายได้ สุขภาพต้องพร้อมด้วย อาหารการกินสำคัญ ทานอาหารเช้า ออกกำลังกาย พยายามนอนช่วง 4 ทุ่มถึงตี 5 นอนเวลาอื่นยังไงก็ไม่เพียงพอเหมือนช่วงนี้ เพราะไม่ใช่ช่วงที่ Growth Hormones หลั่ง”

เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ให้ลูกหา skill ของเค้าเอง แล้วสนับสนุนเค้า

“เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนพูดได้ก่อน บางคนวิ่งได้ก่อน ให้ลูกหา skill ของเค้าเอง แล้วสนับสนุนเค้า ถ้าเรากดเค้าไว้ นอกจากสิ่งนั้นจะไม่เบิกบานแล้ว เราจะสูญเสียอัจฉริยะบุคคลแน่นอน ความฝันมีไว้ให้เรารู้ว่าเราเดินไปไหน เราก็เดินสบาย ๆ เดินของเราไปเรื่อย ๆ อย่างมีความสุข สำคัญคือ อย่าผลักลูกไปอยู่ฝ่ายตรงข้าม”

น้องเฟียนที่นั่งอยู่เคียงข้างพ่อ ดูเป็นตัวของตัวเองเหมือนวัยรุ่นทั่วไป และเมื่อเค้าเดินไปจับเปียโน น้องเฟียนก็ฉายแสงของศิลปินออกมาทันที ความสัมพันธ์ที่ดีของลูกชายศิลปินวัยรุ่นกับพ่อที่ทุ่มเทเวลาให้กับลูกเปล่งประกายตลอดการสัมภาษณ์

เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่และคุณลูกทุกคนค่ะ


สามารถย้อนไปฟังการ LIVE หัวข้อที่น่าสนใจเหล่านี้เพิ่มเติมได้ที่ เพจดีต่อลูก

หัวข้อ รับมือกับลูกวัยรุ่น เพื่อไปต่อให้ถึงเป้าหมาย

Link https://www.facebook.com/299800753872915/videos/249307613299909

เขียนและเรียบเรียงเรื่องโดย: พิมพ์นารา สุวรรณไตรย์ 

ศึกษาธิการ ประชุมปรับนโยบาย ป้อนนักวิทยาศาสตร์สู่ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ตอบโจทย์กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต พร้อมขยายฐานส่งนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ทุน พสวท. ชดใช้ทุนในหน่วยงานวิจัยเอกชน

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ รักษาราชการแทน รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 38-1/2564 ณ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีมติเห็นชอบให้ขยายฐานหน่วยงานเอกชนที่มีหน่วยปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ให้ผู้สำเร็จการศึกษาทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) สามารถปฏิบัติงานตอบแทนทุนได้ในเบื้องต้น 46 แห่ง

โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาจากทุน พสวท. เข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานเอกชนเป็นกรณีนำร่องแล้ว เช่น บริษัท เอสบีซี อบาคัส จำกัด สถาบันวิทยสิริเมธี บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นต้น ทั้งนี้ผู้สำเร็จการศึกษา จะต้องรายงานความก้าวหน้าการทำวิจัยทุก 6 เดือน และในการประชุมครั้งนี้ได้มีมติให้เพิ่มหน่วยงานเอกชนอีก 1 แห่ง คือ บริษัท ฮอทิเจนเนติคส์ รีเสิร์ช (เอส.อี.เอเซีย) รวมเป็น 47 แห่ง

การที่นักวิจัยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. ได้เข้าร่วมในหน่วยปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในหน่วยงานเอกชน ตามที่มีแผนพัฒนาร่วมกัน นับว่าเป็นการขยายฐานการวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศได้ตรงจุด

รวมทั้งทำให้นักวิจัยได้รับการสนับสนุนในด้านเทคโนโลยีและทรัพยากรที่เหมาะสม ทันสมัยจากภาคเอกชน ส่งผลให้เกิดขวัญกำลังใจที่จะสร้างงานวิจัยตอบแทนประเทศ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการให้ทุน พสวท. คือ ต้องการสร้างนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ศักยภาพสูงมาร่วมพัฒนาประเทศ

“นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติให้ปรับเพิ่มสาขาวิชาที่สามารถเลือกศึกษาในระดับปริญญาตรีสู่ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล เพื่อตอบโจทย์กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ภายใต้แนวคิดที่ว่า ประเทศไทยสามารถผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต”

“5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (FIRST S-CURVE) คือ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปอาหาร

5 อุตสาหกรรมอนาคต (NEWS - CURVE) คือ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม การบินและโลจิสติกส์ ดิจิทัล เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และการแพทย์ครบวงจร”

จากเดิมการรับทุน พสวท. ระดับปริญญาตรี สามารถเลือกศึกษาได้เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ 6 สาขาวิชา (คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ธรณีวิทยา และพฤกษศาสตร์) จึงได้ปรับเพิ่มให้สามารถเลือกศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้ โดยให้พิจารณาสัดส่วนระหว่างวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์กับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ อีก 42 หลักสูตร

เช่น จุลชีววิทยา เคมีบูรณาการ เคมีอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ วัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาการข้อมูล วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพรังสี วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น

ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. 1,732 คน เข้าปฏิบัติงานตอบแทนทุนตามหน่วยงานต่าง ๆ 1,692 คน อยู่ระหว่างรอบรรจุเข้าตอบแทนทุน 40 คน

ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาได้สร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมจำนวนมาก และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 19 คน ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติในระดับชาติและนานาชาติ และทุนวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ 62 รางวัล

และยังมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจนเป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ ขณะที่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนหนึ่งได้สร้างนวัตกรรม งานวิจัย พัฒนา และสื่อสารข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ COVID-19 ที่ถูกต้อง

ในส่วนของการดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ตลอดระยะเวลา 24 ปีที่ผ่านมา มีผู้สำเร็จการศึกษาทุน สควค. และเข้าปฏิบัติงานในโรงเรียนและหน่วยงานทางการศึกษา 5,397 คน ซึ่งนอกจากได้ปฏิบัติงานสอน พัฒนาและส่งเสริมนักเรียนให้ได้รับรางวัลในเวทีการประกวดต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว

ยังมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเรียนการสอนของประเทศ โดยร่วมเป็นวิทยากรแกนนำในโครงการต่าง ๆ ของ สสวท. ร่วมเป็นคณะทำงานในโครงการต่าง ๆ ของ สพฐ. ตลอดจนได้รับรางวัลหนึ่งครูแสนดี 44 คน รางวัลครูสอนดี ครูดีเด่น ครูดีเยี่ยม ครูดีในดวงใจ 94 คน รางวัล OBEC AWARDS 18 คน รางวัลวิจัยคุรุสภา 9 คน รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น 4 คน และรางวัลอื่น ๆ อีกจำนวนมาก และบางส่วนได้รับเชิญเป็นกรรมการระดับนานาชาติ

ทั้งนี้ สสวท.ได้เสนอขออนุมัติการดำเนินงานโครงการ สควค. ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2564-2567) โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้าน Digital Literacy การทำวิจัยในชั้นเรียน และการนำการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ หรือใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี


ที่มา: https://moe360.blog/2021/03/17/new-engine-of-growth/?fbclid=IwAR0sOF03nwgjp4N7QP684Q-jXmi4p9iT4d26ZdYz7W41cZHenZtPrNGJZw4

ข่าวดี! โอกาสมาแล้วสำหรับผู้ที่กำลังรอสอบบรรจุข้าราชการ มาเตรียมตัว เช็คความพร้อมกับการสมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2564 จำนวน 4,000 กว่าอัตรา ใครที่รอสอบอยู่ตอนนี้ รีบไปสมัครเลย!

เงื่อนไข คุณสมบัติ

- ช - ญ สัญชาติไทย อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั่วประเทศ

- เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ

- ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

- ไม่เป็นผู้มีการทุพพลภาพจนไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้

- เริ่มสมัครออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 9 - 31 มี.ค. 2564

- รับสมัครผ่านเว็บไซต์เท่านั้นที่ http://www.dlaapplicant2564.com

ดาวน์โหลด!! ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564

http://27.254.40.48/Docs/2564-02-09/enroll-notice/ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน%20ปี%2064.pdf

คติประจำใจจาก 'Aristotle' (นักปรัชญากรีกโบราณ)

“The roots of education are bitter, but the fruit is sweet.”

“รากของการศึกษาอาจขม แต่ผลของมันนั้นหวาน.”

- Aristotle (นักปรัชญากรีกโบราณ)

สรุปเนื้อหาจาก Webinar “เด็กโรงเรียนไทยจะฝึกภาษาอังกฤษยังไงให้ปัง?” โดยครูหญิง (Applied Linguistics จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย) ครูเต้ (TESOL จากมหาวิทยาลัยยอร์ค) และติวเตอร์พริม (อักษร จุฬาฯ ภาคอินเตอร์) จาก Edsy

จากที่ครูหญิง ครูเต้ และพี่พริม ได้แชร์ผ่าน Zoom Webinar เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทีมงาน Edsy ขอสรุปใจความมาแบ่งปันดังนี้...

เราควรเริ่มจากการหาแรงบันดาลใจก่อน อะไรคือสิ่งที่เราชอบ? อะไรคือสิ่งที่เราทำแล้วมีความสุข? เป็นธรรมชาติ ไม่รู้สึกฝืน เช่น ถ้าเราชอบดูหนังหรือฟังเพลง ก็อาจจะเริ่มหัดเรียนภาษาอังกฤษ ฟังภาษาอังกฤษจากสิ่งเหล่านั้นก่อน พี่พริมแชร์ว่าเขาชอบฟังเพลงของ Taylor Swift จึงเริ่มดูและพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อร้อง เป็นการฝึกอ่านทำความเข้าใจ (reading comprehension) ไปในตัว ด้วยการพยายามโยงหลักการใช้ภาษากับ context ต่างๆ ในเนื้อร้อง เมื่อเริ่มเข้าใจเนื้อเพลง พี่พริมก็เริ่มสนใจในตัวคำศัพท์ (vocabulary) มากขึ้น ทำให้เริ่มรู้คำศัพท์ที่หลากหลาย ทั้งคำที่คล้ายคลึง คำที่มีความหมายตรงกันข้าม คำขยายความ และในขณะเดียวกันก็เริ่มซึมซับหลักไวยากรณ์ไปทีละเล็กน้อย

เมื่อไปเรียนที่อักษร จุฬาฯ ภาคอินเตอร์ (BALAC – Bachelors of Art in Language and Culture) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สอนภาษา 50% สอนวัฒนธรรมอีก 50% พี่พริมจึงได้แรงบันดาลใจและเข้าใจในตัวภาษามากยิ่งขึ้นอีก เช่น คำว่า “เกรงใจ” ไม่มีคำที่ตรงตัวเช่นเดียวกันในภาษาอังกฤษ เนื่องจากความเกรงใจเป็นวัฒนธรรมของคนไทยหรือคนเอเชียมากกว่า

ในขณะที่พี่พริมและครูหญิงเริ่มสนใจภาษาอังกฤษจากรายการเพลง รายการทีวี ครูเต้ได้รับแรงบันดาลใจจากอาจารย์เมื่อสมัยมัธยมต้นที่มีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีมาก สื่อสารได้เหมือนชาวต่างชาติ กลายเป็นต้นแบบหรือ Role model ที่ครูเต้อยากดำเนินรอยตาม ครูเต้เชื่อว่าหากครูผู้สอนภาษาอังกฤษสามารถนำความรักชอบในภาษาและความสามารถ ทักษะที่มีออกมาถ่ายทอด สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน เด็กนักเรียนไทยจะมีความสนใจและโอกาสที่จะพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษมากขึ้น ด้วยการ “put oneself in the language”

ดังนั้น หากน้องๆนักเรียนโรงเรียนไทยรู้สึกไม่สนุก ไม่เอ็นจอยกับการเรียนเน้นหลักไวยากรณ์และท่องศัพท์ในห้องเรียน ก็ควรลองออกไปค้นหาดูว่ามีความชอบอะไรของเราที่เกี่ยวโยงกับภาษาอังกฤษบ้างมั้ย หรือมีใครที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้เราได้เลียนแบบ เพื่อที่จะได้ทำให้ตัวเอง immerse ไปกับภาษาและรู้สึกชอบหรือมีความสุขกับการเรียน การใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น

ในการพัฒนาทักษะ โดยเฉพาะการพูด คุณครูทั้งสามท่านย้ำว่าเราต้องมีทัศคติที่ถูกต้อง อย่าไปกลัวที่จะลองผิดลองถูก ถึงแม้ว่าสถานการณ์ในห้องเรียน (หรือในที่อื่นๆ) บ่อยครั้งที่คนไทยกันเองมักจะจ้องจับผิดสำเนียงหรือความถูกต้องในการพูดของผู้พูด เราต้องจำไว้ว่าเราจะไม่สามารถพัฒนาได้ ถ้าเราไม่เริ่มมีความกล้าที่จะลอง “ยิ่งฝึกเยอะ ยิ่งผิดเยอะ ยิ่งเก่งนะ” ครูหญิงย้ำ

จากมุมมอง Applied Linguist ครูหญิงจะบอกผู้ปกครองและน้องๆ เสมอว่าเมื่อเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ “อย่าเริ่มจากแกรมม่าค่ะ วางมันไว้ข้างๆ ไว้ไกลๆก่อนเลยก็ได้” เราควรจะเริ่มจากการหากิจกรรมที่สนุก ที่จะสร้างทัศนคติและความรักชอบในตัวภาษาให้กับน้องๆ ก่อน “ปัจจุบันมีแนวคิดที่แพร่หลายในเรื่องการใช้กิจกรรม Integrated skills เพื่อสอดแทรกภาษาอังกฤษ เช่น ให้น้องๆ ไปปั้นดินน้ำมันแล้วพูดเป็นภาษาอังกฤษ ให้ทำกิจกรรมอะไรก็ตามที่จะทำให้เด็กๆ เขาเชื่อมโยงว่า เมื่อใช้ภาษาอังกฤษ เขาจะได้ทำอะไรสนุกๆ เช่นนั้น” ควรสนใจทุกทักษะพูด ฟัง อ่าน เขียน อาจจะเริ่มจากการพูดก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเริ่มจากการสร้างทัศนคติที่ดี

ครูเต้เสริมว่าเด็กไทยถูกบังคับให้เรียนด้วยการเริ่มจำกฏเกณฑ์ (เช่น หลักไวยากรณ์) เร็วเกินไป ทำให้ขาดความสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ และไม่ได้เป็นการเรียนอย่างเป็นธรรมชาติ การสอนโดนเน้นหลักไวยากรณ์ คำศัพท์ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ซึ่งต้องการโอกาสที่จะได้สนุกสนานกับการเรียน ได้เริ่มพัฒนาความกล้าและความมั่นใจในการใช้ภาษา

โดยสรุปแล้ว ทั้งสามท่านแนะนำให้เริ่มจากสิ่งที่เราชอบก่อน “เริ่มจากสิ่งที่สามารถทำให้เราเปิดใจได้ แล้วทุกอย่างมันจะง่ายขึ้นเอง ทุกคนมีความกลัว แต่ทุกความผิดพลาดจะทำให้เราได้เรียนรู้จากมันและพัฒนากลายเป็นความชำนาญและความมั่นใจ”

ครูหญิงฝากไว้ว่า “มันเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเหนื่อย เมื่อตั้งใจแล้วแต่ยังไม่เห็นผลหรือถึงจุด plateau stage พี่หญิงจะบอกเสมอว่าให้พัก แล้วค่อยสู้ต่อ ทักษะภาษาอังกฤษเหมือนทักษะ ความสามารถอื่นๆ เราพักได้ แล้วค่อยเริ่มใหม่”

ดูคลิปวิดีโอเต็มได้ที่ https://fb.watch/4hoOLSGfOA/

อยากฝึกภาษาอังกฤษแต่ไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นอย่างไร...? หาแรงบันดาลใจจากที่ไหน...? ควร focus อะไรก่อน...? แล้วเมื่อไหร่จะเห็นผล...? ลงทะเบียนเพื่อทดลองเรียนฟรีวันนี้กับ Edsy! ที่ https://bit.ly/3q2kQyU


เขียนโดย : ทีมงาน Edsy สตาร์ทอัพด้านการศึกษา

Line ID : @edsy.th

การสำรวจความเห็นเด็กนักเรียนมัธยมปลายอเมริกัน พบว่า พวกเขามีความสนใจที่จะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยน้อยลง เพื่อให้ได้งานการที่ดีในอนาคต และเผยว่าผลจากโควิด-19 กระทบแนวคิดเรื่องการเรียนต่อของพวกเขาอย่างมาก

การสำรวจความเห็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายชาวอเมริกัน 3,202 คน โดย ECMC Group ร่วมกับ VICE Media ที่ถามว่า มหาวิทยาลัยคือหนทางสำหรับเส้นทางอาชีพที่ดีหรือไม่? ปรากฏว่ามีเพียง 1 ใน 4 ของนักเรียนอเมริกันในการสำรวจ ที่คิดเห็นเช่นนั้น

วัยรุ่นอเมริกันครึ่งหนึ่งในการสำรวจ บอกว่า พวกเขาสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ในระยะ 3 ปีข้างหน้าได้ หรือเชื่อว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องเรียนได้วุฒิสูงๆ ขณะที่ส่วนใหญ่ในการสำรวจบอกว่า พวกเขาต้องการจะเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง แม้ว่าจะไม่แน่ใจนักว่าจะเริ่มต้นอย่างไรและชีวิตจะไปในเส้นทางไหนก็ตาม

ระดับความสนใจในการเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่ลดลงของวัยรุ่นอเมริกัน เกิดขึ้นหลังจากการปิดการเรียนการสอนช่วงการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส โควิด-19 ประเด็นการเมือง เหตุการณ์การใช้ความรุนแรงกับคนต่างเชื้อชาติสีผิว ที่สะท้อนการแบ่งแยกในสังคมอเมริกันที่ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งค่าเล่าเรียนที่สูงสำหรับระดับอุดมศึกษาในอเมริกา

เมื่อจัดอันดับปัจจัยที่นักเรียนม.ปลายอเมริกันในยุคนี้กังวล อันดับแรก คือ ค่าเล่าเรียนระดับอุดมศึกษาที่สูงลิ่ว อันดับ 2 คือเส้นทางชีวิตที่ไม่แน่นอนหลังจบม.ปลาย อันดับ 3 คือ รู้สึกว่าเตรียมตัวไม่พร้อมสำหรับการประกอบอาชีพหลังจบการศึกษา

กว่าครึ่งหนึ่งในการสำรวจ ยอมรับว่า โควิด-19 ทำให้พวกเขากังวลถึงอนาคตอย่างยิ่ง และไม่พร้อมสำหรับชีวิตในก้าวต่อไป และผลกระทบทางการเงินจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้พวกเขาไม่อยากเรียนมหาวิทยาลัยอีก 4 ปีต่อจากนี้ และไม่อยากจะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้น

เจเรมี วีตัน ซีอีโอของ ECMC Group องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นเรื่องการศึกษาในระดับอุดมศึกษา บอกว่า นักเรียนมัธยมปลายและพ่อแม่ผู้ปกครองของพวกเขา เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตเมื่อปีก่อน จากการระบาดของโควิด-19 นั่นหมายถึงความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นกับอาชีพของพวกเขา

ซีอีโอของ ECMC Group ระบุว่า การเปลี่ยนแนวคิดด้านการศึกษาต่อไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร และเป็นโจทย์สำหรับครูอาจารย์นักการศึกษาที่จะมอบโอกาสในอนาคตให้พวกเขาอย่างเหมาะสม ซึ่งรวมถึงการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเส้นทางการศึกษาต่อที่หลากหลายในปัจจุบัน

นักเรียนม.ปลายในการสำรวจนี้ ระบุว่า พวกเขาต้องการให้โรงเรียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกหลังจบมัธยมปลายที่หลากหลายกว่านี้ และเรียกร้องให้รัฐบาลและภาคเอกชน จัดเตรียมระบบการศึกษา เงินทุนการศึกษา และยกเว้นผ่อนผันเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาด้วย


ที่มา : https://www.voathai.com/a/fewer-us-high-schoolers-plan-to-attend-university-03162021/5817072.html

ผนึกเครือข่ายนักวิจัยอาเซียน เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสะเต็มศึกษา กระตุ้นให้เกิดงานวิจัยที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาในอาเซียน หลังพบปัญหาเยาวชนอาเซียนคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานโลก

ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM-ED) ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และเชฟรอน คอร์ปอเรชั่น จัดประชุมนักวิจัยระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสะเต็มศึกษา เพื่อกระตุ้นให้เกิดงานวิจัยที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาในอาเซียน หลังพบปัญหาเยาวชนอาเซียนคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานโลก

ประกอบกับ 3 ปัจจัยที่การศึกษาแบบเดิมไม่ตอบโจทย์ คือ ดิจิทัล ดิสรัปชั่น ความเหลื่อมล้ำของเด็กในเมืองและชนบท และผลกระทบจากโควิด-19 การประชุมมี 3 วิทยากรหลักนำเสนอภาพรวม ได้แก่ ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการศูนย์ และ มิสดี เบอบอน ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการลงทุนเพื่อสังคม เชฟรอน คอร์ปอเรชั่น

ดร.สุภัทรชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยที่ช่วยยกระดับการศึกษาของอาเซียน เนื่องจากสภาพปัญหาที่มีความคล้ายกัน 3 เรื่องคือ เยาวชนอาเซียนมีผลประเมินด้านการศึกษาต่ำ (PISA) การขาดแคลนกำลังคนที่มีทักษะสะเต็มศึกษา โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งเป็นกลไกที่จะช่วยดึงประเทศให้หลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง และการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงต้องเร่งส่งเสริมงานวิจัยด้านการศึกษาที่ตอบโจทย์อนาคต นำผลการวิจัยไปขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อยกระดับศักยภาพของอาเซียนอย่างยั่งยืน

ขณะที่ ดร.พรพรรณกล่าวถึงบทบาทของสถาบันการศึกษากับการพัฒนาอาชีพครู และการสนับสนุนงานวิจัยที่ตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบัน โดยระบุว่าการหารือครั้งนี้ครอบคลุม 3 ประเด็นหลักคือ กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การบูรณาการสะเต็มศึกษาตั้งแต่ระบบเรียนฟรี หรือ K-12 และการสร้างโมเดลวิทยาลัยอาชีวะสะเต็มศึกษาที่ได้มาตรฐานโลก เวทีนี้ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดงานวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา หลังผลกระทบจากดิจิทัล ดิสรัปชั่น ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของเด็กในเมืองและชนบท และสภาพเศรษฐกิจจากโควิด-19

ด้าน มิสดี กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างเชฟรอนกับ SEAMEO STEM-ED เพื่อพัฒนาสะเต็มศึกษาในภูมิภาคอาเซียน โดยเชฟรอนเริ่มมีส่วนร่วม พัฒนา “พลังคน” ในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง 6 ปีแล้วภายใต้โครงการ “Chevron Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” ซึ่งปัจจุบันเข้าสู่ระยะที่สองกลายเป็นโมเดลต้นแบบงานซีเอสอาร์ ด้านการศึกษาระดับภูมิภาค โดยนำเสนองานวิจัย ที่ถอดบทเรียนในโครงการให้กับนักวิจัยทั้งอาเซียน โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะการสอนในห้องเรียน ประโยชน์ของกระบวนการสร้างชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) รวมถึงการประเมินครู ผู้สอน ซึ่งมีความสำคัญต่อเด็กและการยกระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในอาเซียน

บทสรุปและแนวทางที่ได้จากงานประชุมครั้งนี้ จะถูกนำไปพัฒนาและบรรจุเป็นวาระนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีและผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ 11 ชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEAMEO Congress 2021 ที่จะมีขึ้นปลายเดือน เม.ย.นี้


ที่มา: https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6142318

ห้ามพลาด!! UPDATE ทุนที่กำลังเปิดรับสมัครในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2564 สนใจทุนไหน กดตามลิงค์ได้เลย

✅ ทุน TEA ทุนสัมมนา/พัฒนาวิชาชีพ สำหรับครูมัธยม วิชาภาษาอังกฤษ คณิตฯ วิทย์ฯ สังคม 6 สัปดาห์ ในสหรัฐอเมริกา เดินทาง กันยายน 2022

ปิดรับสมัคร 31 มีนาคม 2021 (เวลา 14.00 น. ประเทศไทย)

http://www.fulbrightthai.org/programs/2022tea/

✅ ทุน TGS ทุนเรียนต่อป.โท / ป.เอก 2 ปี ในสหรัฐอเมริกา เดินทาง สิงหาคม 2022

ปิดรับสมัคร 22 เมษายน 2021 (เวลา 17.00 น. ประเทศไทย)

http://www.fulbrightthai.org/programs/2022-tgs/

✅ ทุน HHH ทุนอบรม/ฝึกงาน ส่งเสริมความเป็นผู้นำ สำหรับผู้บริหารระดับกลาง อายุ 30-55 ปี ในองค์กรรัฐ/เอกชน/รัฐวิสาหกิจ ประสบการณ์ทำงาน 5 ปีขึ้นไป 10 เดือน ในสหรัฐอเมริกา เดินทาง สิงหาคม 2022

ปิดรับสมัคร 24 พฤษภาคม 2021 (เวลาเที่ยงวัน ประเทศไทย)

http://www.fulbrightthai.org/programs/2022-hubert-h-humphrey-fellowship-program/

✅ ทุน FLTA ทุนสอนภาษาไทยให้นักศึกษาอเมริกันระดับอุดมศึกษา และพัฒนาทักษะความสามารถในการสอนภาษาสำหรับครูมัธยมปลาย รร.รัฐ / อาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนวิชาภาษาอังกฤษ อายุไม่เกิน 35 ปี 9 เดือน ในสหรัฐอเมริกา เดินทางสิงหาคม 2022

ปิดรับสมัคร 7 มิถุนายน 2021 (เวลาเที่ยงวัน ประเทศไทย)

http://www.fulbrightthai.org/programs/2022-flta-program/


ที่มา: https://www.facebook.com/FulbrightThailand/posts/10158072571127308

สพฐ. คัดเลือก 349 โรงเรียน ลุยแผนบูรณาการการศึกษาจังหวัด เสนอของบพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในปีงบประมาณ 2565 ชี้ ผู้บริหารโรงเรียนคิดโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาคนละ 1 โครงการ ให้ ศธ.พิจารณา

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ รักษาการ รมว.ศธ. กล่าวภายหลังการประชุมมอบนโยบายแผนบูรณาการการศึกษาจังหวัดทั่วประเทศให้แก่ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ทุกจังหวัด ว่า

ขณะนี้แผนบูรณาการการศึกษาจังหวัดมีความคืบหน้าอย่างมาก ศธ.พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้ต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ทำการคัดเลือกโรงเรียนจำนวนทั้งสิ้น 349 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนคุณภาพของชุมชนจำนวน 183 แห่ง โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมืองจำนวน 77 แห่ง และโรงเรียนขนาดเล็กที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) จำนวน 89 แห่ง เพื่อเสนอของบประมาณพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในปีงบประมาณ 2565 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แต่ในปี 2564 นี้ ตนต้องการคัดเลือกโรงเรียนนำร่องที่สามารถเป็นต้นแบบของโรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง และโรงเรียน Stand Alone แบ่งเป็น 5 ภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น 15 แห่งให้แต่ละโรงเรียนเขียนโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 1 โครงการเพื่อเสนอของบประมาณปี 2564

“ขอให้ผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 349 แห่ง คิดโครงการในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาคนละ 1 โครงการ และส่งเข้ามาให้ ศธ.พิจารณา เราจะมีคณะกรรมการพิจารณา แต่หากโครงการไม่ตอบโจทย์ตัวชี้วัดด้านคุณภาพเราก็จะไม่อนุมัติโครงการให้ ทั้งนี้เชื่อว่า รมว.ศธ.คนใหม่จจะให้ความสำคัญกับแผนการศึกษาจังหวัด” คุณหญิงกัลยา กล่าว


ที่มา: https://www.facebook.com/312592942736950/posts/728841491112091/

คติประจำใจจาก "B. F. Skinner" นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

“Education is what survives when what has been learned has been forgotten.”

“การศึกษาคือสิ่งที่เหลือรอดเมื่อสิ่งที่เคยได้เรียนรู้ถูกหลงลืมจนหมดสิ้น”


B. F. Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

EDEX-Education Experts ให้คำปรึกษาและแนะแนวการไปเรียนต่อสหราชอาณาจักร ที่ทำขึ้นมาด้วยใจรักและต้องการช่วยเหลือคน สร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่ต้องการไปเรียนต่อ ผ่าน “ที่ปรึกษา” ผู้เชี่ยวชาญ

เพราะมีความเชื่อในปรัชญาที่ว่า “Knowledge is power” หรือ “การศึกษาคือพลัง” คืออำนาจชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ จนเป็นรากฐานของความสำเร็จ ทั้งยังเป็นการลงทุนดีที่สุดในชีวิต

จึงทำให้สองพี่น้องครอบครัว “สกุลตั้งไพศาล” จับมือกันเปิด “ แพลตฟอร์มให้คำปรึกษาและแนะแนวการไปเรียนต่อสหราชอาณาจักร” เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่ต้องการไปเรียนต่อหรือเพิ่มพูนต่อเติมความรู้ของตัวเอง อันเสมือนเป็นการสร้างถนนไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

การเดินทางไปเรียนในต่างประเทศ นอกจากเป็นเรื่องลำบากยุ่งยาก สำหรับคนที่ไม่รู้ ยังเป็นการสร้างความกดดันให้กับหลาย ๆ คน ทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง ผลเช่นนี้จึงทำให้ 2 พี่น้อง “ชินวัฒน์ - ศุภนิดา สกุลตั้งไพศาล” สวมบทบาทเป็น “ที่ปรึกษา” หรือ “โค้ช” รับอาสาทำหน้าที่แก้ปัญหาให้กับคนที่อยากไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ

ตั้งแต่ระดับชั้นประถม มัธยม ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา และนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก รวมถึงประชาชนคนทั่วไปที่สนใจเพิ่มเติมความรู้ โดยทั้งคู่มีหลักในการทำธุรกิจว่า “ไม่ได้เน้นเป็นธุรกิจจ๋า แต่เป็นการทำด้วยใจรักและต้องการช่วยเหลือคน”

“ชินวัฒน์” (น้องชาย) จบจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในประเทศอังกฤษ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท เกียรตินิยมทั้ง 2 ใบ จาก London School of Economics and Political Science (LSE) ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของโลก

ขณะที่ “ศุภนิดา” (พี่สาว) เรียนจบปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นจึงไปต่อปริญญาโทด้านมานุษยวิทยา ที่ SOAS, University of London มหาวิทยาลัยด้านมานุษยวิทยาอันดับต้น ๆ ของโลก

“ชินวัฒน์” บอกว่า ผมเรียนในระบบอังกฤษตั้งแต่อายุยังน้อย หลังจบชั้นประถมจากเซนต์คาเบรียล ก็ไปเรียนมัธยมในระบบอังกฤษ จึงรู้และซึมซับวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนอังกฤษเป็นอย่างดี เวลามีลูกเพื่อนคุณแม่หรือรุ่นน้องจะไปเรียนต่อที่อังกฤษ มักจะมาปรึกษาขอคำแนะนำเสมอ ๆ

“นับตั้งแต่แรกจนถึงตอนนี้ สัก 40 - 50 คนได้มั้ง จนผู้ใหญ่ที่เคารพท่านหนึ่งเห็นว่าไม่ควรทำฟรี แต่ควรทำเป็นธุรกิจได้แล้ว เพราะเราทำกันอย่างจริงจัง ทุ่มเทมาก ๆ ดูแลให้ทุกอย่างตั้งแต่เริ่มจากศูนย์ กระทั่งเรียนจบ เพื่อให้คนที่มาปรึกษาเราได้ในสิ่งที่เขาต้องการ เมื่อสำเร็จจึงเป็นความสุขใจทั้งของเรา และของคนที่มาขอคำปรึกษา นี่คือที่มาของธุรกิจ

ที่จริงแล้ว ธุรกิจที่ว่านี้ไม่ได้ตั้งเป็นรูปของบริษัท แต่เป็นลักษณะไพรเวตแบบพรีเมี่ยม ใช้ชื่อเรียกง่าย ๆ ว่า EDEX-Education Experts โดยติดต่อผ่าน LINE Official ID : @edex ที่บริการรับให้คำปรึกษา ให้คำแนะแนวทางแก่ผู้ที่ต้องการไปเรียนต่อในสหราชอาณาจักรทุกระดับ”

“ไม่เฉพาะแค่เรื่องเรียนเท่านั้น ยังรวมถึงแนะนำและแก้ปัญหาสำหรับการเรียน กระทั่งเรื่องของการใช้ชีวิต และมารยาทในสังคมผู้ดีอังกฤษ พร้อมกับแนะนำเรื่องที่พัก ย่านที่อยู่อาศัยอีกด้วย”

มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง “ชินวัฒน์” บอกว่า ไม่ใช่จะเข้าได้ง่าย ๆ ยกตัวอย่าง หากเปิดรับสมัคร 50 คน จะมีคนแห่ไปสมัครถึง 700 คน และใน 700 คนนั้น เป็นคนที่มีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยระบุไว้ทุกคน เช่น เกรดจะต้องได้ 3.75 ต้องได้ A กี่ตัว วิชาไหนบ้างทุกคนจะได้ตามนี้หมด

“แต่จะเฉือนกันตรงไหน เราจะเป็น 1 ใน 50 ได้ยังไง อันนี้แหละคือกุญแจสำคัญที่จะต้องรู้ เพราะที่อังกฤษมองว่า คนที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยคือคนที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีความเป็นผู้ใหญ่มากพอ ดังนั้น ต้องรู้แล้วว่าตัวเองอยากทำอะไร อยากเรียนอะไร ไม่เหมือนอเมริกาที่ปีแรกยังไม่ต้องเลือกวิชาเอก หรือวิชาหลัก แต่ที่อังกฤษต้องเลือกแล้ว

ฉะนั้น การเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ยกตัวอย่าง คุณอยากเข้าเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ยื่นสมัครเข้าเรียนเลย เขากำหนดไว้เลยว่า ถ้าใครไม่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ในชั้นมัธยม พอระดับมหาวิทยาลัยจะไม่สามารถเรียนคณะนี้ได้”

“ข้อมูลนี้ต้องรู้ และต้องเตรียมตัวตั้งแต่มัธยม ถ้าไม่รู้ถือว่าพลาด หลายคนเครียดมาก กลายเป็นคนมีปัญหาก็มี ดังนั้น หากได้คนมาให้คำปรึกษาหรือแนะนำ เขาจะไม่เครียด และยังจะได้ในสิ่งที่อยากเรียน อยากได้ ธุรกิจของเราที่เปิดมานี้ก็เพื่อตอบโจทย์ตรงนี้ และเราไม่ได้ให้คำปรึกษาเฉพาะกับเด็กเท่านั้น แต่ยังให้คำปรึกษากับพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยว่าจะต้องทำอย่างไร”

“เริ่มตั้งแต่มานั่งคุยกันก่อน เพื่อหาความชอบร่วมกันดูว่าเด็กอยากเรียนสิ่งนี้จริงไหม หรือถูกผู้ปกครองบังคับ จะต้องช่วยกันปั้นเขาขึ้นมาอย่างไร สร้างตัวตนของเขายังไง ทั้งนี้ทั้งนั้น จะต้องไม่โกหกในเรื่องข้อมูล ไม่บีบให้เด็กเป็นในสิ่งที่เขาไม่ใช่ และจะไม่สร้างโปรไฟล์ของเด็กแบบลวก ๆ ต้องเป็นตัวตนเขาจริง ๆ”

“นอกจากในเรื่องของการเลือกวิชา และคณะที่อยากเรียนแล้ว สิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เป็นการเลือกโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยที่เหมาะสมที่สุดกับผู้เรียน จะต้องมีสภาพแวดล้อม สังคมที่เหมาะสมอยู่ในย่านที่ปลอดภัย และยังต้องเป็นที่ที่สามารถเชื่อมสัมพันธ์ และสร้างเพื่อนที่ดีได้ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับอนาคต ต้องยอมรับว่าการส่งลูกไปเรียนต่างประเทศของพ่อแม่บางราย ไม่ใช่แค่เรื่องเรียนอย่างเดียว นอกจากวิชาความรู้แล้วยังเป็นเรื่องของคอนเน็กชั่น โดยเฉพาะครอบครัวที่ทำธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ต้องวางแผนอย่างรอบคอบและสมบูรณ์แบบ”

เพราะสังคมโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสลับซับซ้อน การแข่งขันเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางในอนาคตจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกคนต่างมีโอกาส แต่โอกาสที่ว่านั้นจะไปสู่ความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการลงทุนมองอนาคตอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และด้วยวิธีการที่เป็นระบบ ซึ่งไม่สามารถคิดเอง ทำเองได้ โดยไม่มีความรู้ คนแนะนำหรือคนให้คำปรึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเหมือนกับ 2 พี่น้องคู่นี้


ขอบคุณที่มา: https://www.prachachat.net/csr-hr/news-629012?fbclid=IwAR1AiVDIVHJdHs72D7Luk9e4iBHhEmiLQ9oM7fYqa2Ds4eZzULIdI8TS0_A

เรื่องเล่าของคุณพ่อแฟรงค์ คุณพ่อที่มีลูกก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น จะมาแบ่งปันมีวิธีการ พ่อแม่จะพาลูกก้าวข้ามช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ไปกับลูกได้อย่างไร Part 1

“ถ้าเรากดเค้าไว้ นอกจากสิ่งนั้นจะไม่เบิกบานแล้ว เราจะสูญเสียอัจฉริยะบุคคลแน่นอน”

คำพูดของคุณพ่อน้องเฟียน หรือคุณพ่อแฟรงค์ เปิดนำก่อนที่จะส่งไม้ต่อให้น้องเฟียนโชว์ฝีมือการบรรเลงเปียโนให้ฟัง บทเพลงที่น้องเฟียนเล่นเป็นเพลงแนวคลาสสิค และที่น่าประทับใจไปกว่านั้น น้องเฟียนแต่งเพลงนี้ขึ้นมาเอง ตอนนี้หนุ่มน้อยนักดนตรีคลาสสิคคนนี้ได้ก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นแล้ว พ่อแฟรงค์จึงมาแบ่งปันมีวิธีการว่าเราจะพาลูกก้าวข้ามช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อไปกับลูกได้อย่างไร

คุณพ่อแฟรงค์เปรียบวัยรุ่นเป็นเหมือนกับผีเสื้อ

“ผมเปรียบวัยรุ่นเป็นผีเสื้อตอนที่กำลังเปลี่ยนจากดักแด้เป็นผีเสื้อ ช่วงที่เค้ากำลังออกมาจากตัวดักแด้มันเร็วมากแล้วเค้าจะกลายเป็นผีเสื้อเลย พ่อแม่จะทำตัวไม่ถูกเมื่อเห็นลูกเปลี่ยนไป จะกลัวและเครียด พ่อแม่ต้องเข้าใจว่า ถึงเมื่อวานเค้ายังเป็นเด็กอยู่ก็จริง แต่วันนี้เค้ากำลังจะไปเป็นผู้ใหญ่แล้ว ลูกเค้าเปลี่ยนไปแล้ว เค้าไม่ใช่คนเดิมแล้ว มีแต่เรานั่นแหละที่ยังเหมือนเดิม เราต้องเข้าใจการเติบโตของลูก”

คุณพ่อแฟรงค์ไม่ห้ามลูก และสนันสนุนให้ลูกได้ลองทำ

“เวลาจะห้ามลูก ให้นึกถึงตอนเราอายุเท่ากันกับเค้า ตอนเราอายุ 15 - 16 ปีเท่าเค้าเรารู้สึกยังไง เราก็เป็นแบบเค้าเหมือนกัน ผมจะคุยกับลูกว่าสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้คือการซ้อมในการใช้ชีวิตจริง ลูกซ้อมไว้เลย ทำให้ดี แล้วเรียนรู้ว่าอยากจะมีชีวิตแบบไหน วัยรุ่นเป็นช่วงที่เค้ากำลังสร้างตัวตน ปล่อยให้ลูกสร้างตัวตน เค้าจะได้เป็นเค้าที่แข็งแรง ไปห้ามเค้า เค้าจะสร้างตัวตนไม่สำเร็จ อย่าเป็นศัตรูกับลูก การห้าม เป็นการผลักให้ลูกไปอยู่ฝั่งตรงข้าม แล้วเมื่อไหร่ที่เค้าอยู่ฝั่งตรงข้ามกับเรา เค้าจะอยู่กับเราเพราะเค้ามาขอเงินเราเท่านั้น เมื่อเค้าไปได้เค้าจะไปทันที ตอนเด็กเค้ายอมเราได้ แต่ตอนเค้าเป็นวัยรุ่น เค้าไม่ยอมเราแล้ว ฉะนั้นให้เค้าได้ลองและสนับสนุนเค้า”

ให้ลูกได้เห็นชีวิตจริง น้องเฟียนเล่าให้ฟังคร่าว ๆ ว่าพ่อเคยพาไปดูเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิต เฟียนจึงรู้ว่ากว่าจะได้ข้าวแต่ละเม็ดเพื่อแลกกับเงินไม่มากนั้นยากเย็นขนาดไหน

“ผมให้ลูกเห็นว่า มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีการรอคอย มีงาน มีหน้าที่ ความรู้เป็นเรื่องที่หาได้ทั่วไปแล้ว แต่การกระทำ การรู้จักหาวิธีสร้างรายได้สำคัญกว่า ผมเห็นตอนนี้มี AI ที่แปลภาษาได้หลายภาษาแล้ว ฉะนั้น AI จะเข้ามาทำงานแทนที่ทักษะด้านนี้ เราต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง เทรนด์มันมาแล้ว ถ้าปรับตัวได้ก่อน ก็ไปได้ก่อน”

ตอนต่อไปเราจะมาต่อเรื่องวิธีการจัดเวลาให้กับงานอดิเรกที่ไม่อดิเรก และวิธีจัดการกับความเชื่อของคนยุคเก่าที่คุณพ่อแฟรงค์ใช้กันค่ะ

เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่และคุณลูกทุกคนค่ะ


สามารถย้อนไปฟังการ LIVE หัวข้อที่น่าสนใจเหล่านี้เพิ่มเติมได้ที่ เพจดีต่อลูก

หัวข้อ รับมือกับลูกวัยรุ่น เพื่อไปต่อให้ถึงเป้าหมาย

Link : https://www.facebook.com/299800753872915/videos/249307613299909

เขียนและเรียบเรียงเรื่องโดย: พิมพ์นารา สุวรรณไตรย์

สพฐ. เตรียมดำเนินโครงการโรงเรียนทางเลือก ให้เด็กได้เลือกเรียนตามความถนัดของตัวเอง ปรับรูปแบบบริหารจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งเน้นการต่อยอดอาชีพ

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมที่จะดำเนินโครงการการศึกษา มุ่งสู่อาชีพที่เป็นอาชีพเฉพาะทาง เลือกตามความถนัดของผู้เรียน โดยได้เลือกการทำโครงการนี้ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.พื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร

เนื่องจากมองว่าโรงเรียนใน กทม.ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงอยู่หลายแห่ง และเด็กเลือกไปสมัครแย่งที่นั่งในโรงเรียนเหล่านี้จำนวนมาก จนทำให้โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางและเล็กมีจำนวนผู้เข้าเรียนลดน้อยลง ดังนั้นตนจึงคิดว่าหากโรงเรียนของ สพฐ.ในเขตกทม.ปรับรูปแบบบริหารจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อมุ่งเน้นการต่อยอดอาชีพจะดีหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษา และสำรวจข้อมูลแล้ว

“เรามีความเป็นห่วงโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางและเล็ก ที่ทุกวันนี้เด็กลดจำนวนลง ไม่เพียงเพราะผู้ปกครองที่สนใจอยากจะพาบุตรหลานไปเข้าโรงเรียนดังอย่างเดียว แต่อัตราการเกิดของประชากรก็ลดน้อยลงเช่นกัน เช่น โรงเรียนวัดสังเวช ในอดีตเป็นโรงเรียนมัธยมฯ ขนาดใหญ่ แต่ทุกวันนี้มีเด็กน้อยมาก

ดังนั้นเราจึงคิดว่า จะส่งเสริมให้โรงเรียนลักษณะนี้จัดการศึกษาเพื่ออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนสำหรับดนตรี กีฬา คหกรรม ซึ่งหากอนาคตเด็กสนใจจะประกอบอาชีพเชฟ หรืออยากเป็นนักแสดง ก็สามารถนำความรู้ที่เรียนไปต่อยอดอาชีพในฝันของตัวเองได้ โดยโรงเรียนเหล่านี้จะเป็นโรงเรียนทางเลือกให้เด็กได้เลือกเรียนตามความถนัดของตัวเอง

รวมถึงในอนาคต สพฐ.มีแนวคิดจะทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย โดยเด็กคนไหนอยากเรียนคณะรัฐศาสตร์ก็ให้นำเนื้อหาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมาให้เด็กม.ปลายได้เรียน หากสอบผ่านก็ให้เก็บสะสมเป็นหน่วยกิตหรือเครดิตแบงค์ เมื่อเรียนจบม.6 และเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่ทำความร่วมมือก็ไม่จำเป็นต้องไปลงเรียนในวิชาเหล่านั้นอีก” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว


ที่มา: https://www.facebook.com/312592942736950/posts/728729127789994/

สสส.- มหิดล ชูนวัตกรรมแนวคิด MIDL 4 ด้าน เสริมเกราะป้องกันเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ห่วงเด็กตกเป็นเหยื่อการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (Cyberbullying) พบเด็กเข้าถึงสื่ออย่างปลอดภัยเพียง 56 %

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) แถลงผลสำรวจและการเสวนาหัวข้อ “ทิศทางการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเด็กไทยวัยเรียนในยุค New Normal” ภายใต้โครงการวิจัยการสำรวจสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของเด็กไทย อายุ 6 - 12 ปี

โดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย สำรวจโดยใช้นวัตกรรมแนวคิด Media Information and Digital Literacy (MIDL) ว่าด้วยกรอบสมรรถนะ 4 ด้าน ได้แก่ 1.) เข้าถึงสื่อ อย่างปลอดภัย 2.) วิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมิน 3.) สร้างสรรค์เนื้อหา และ 4.) ประยุกต์ใช้และสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์สังคมที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ พร้อมออกแบบและสร้างเครื่องมือในรูปแบบแอนิเมชัน สีสันสดใส เข้าใจง่าย เหมาะสมกับพฤติกรรมและความสนใจของเด็ก

ความน่าเป็นห่วงที่พบคือการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (Cyberbullying) พบเด็กเป็นทั้งผู้กระทำและเหยื่อจากการถูกกระทำโดยไม่รู้ตัว รวมถึงการพบเห็นภาพโป๊เปลือย และเว็บไซต์การพนัน สิ่งสำคัญคือความใส่ใจของผู้ปกครองในการดูแลการเข้าใช้สื่อของเด็ก ถือเป็นการสร้างองค์ความรู้และฐานข้อมูลระดับประเทศ

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า การสำรวจสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของเด็กไทย อายุ 6 - 12 ปี ได้ดำเนินการสำรวจผ่านเว็บไซต์ www.midlkids.com

ในโรงเรียนไทยทั่วประเทศ 63 โรง มีเด็กนักเรียนร่วมตอบแบบสำรวจ 2,609 คน พบว่า การรู้เท่าทันสื่อเฉลี่ยของเด็กช่วงอายุ 6–8 ปี มีคะแนนอยู่ที่ร้อยละ 73 ส่วน 9 - 12 ปี อยู่ที่ร้อยละ 76 การสำรวจแบ่งเป็น 4 ด้านตามกรอบสมรรถนะ ได้แก่ ด้านที่ 1 เข้าถึงสื่อ สารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัยอยู่ที่ร้อยละ 56 ด้านที่ 2 วิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินอยู่ที่ร้อยละ 73 ด้านที่ 3 สร้างสรรค์เนื้อหาและข้อมูลอยู่ที่ร้อยละ 86 และ ด้านที่ 4 ประยุกต์ใช้และสร้างการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ร้อยละ 71

ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าเด็กไทยควรได้รับการพัฒนาทักษะการเข้าถึงสื่อ ทุกภาคส่วนจึงควรร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของเด็กไทย รวมถึงการผลิตสื่ออย่างมีความผิดชอบต่อเด็ก กระตุ้นให้เด็กไทยฉลาดทางดิจิทัล ใช้สื่อได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์


ที่มา: https://www.facebook.com/312592942736950/posts/726732504656323/


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top