Thursday, 23 January 2025
LITE

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
✨ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

🟢รางวัลที่ 1 รางวัลละ 6,000,000 บาท : 187221

🔴รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1 จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท : 187220 , 187222

🔴รางวัลเลขหน้า 3 ตัว รางวัลละ 4,000 บาท : 036 923

🔴รางวัลเลขท้าย 3 ตัว รางวัลละ 4,000 บาท : 980 547

🔴รางวัลเลขท้าย 2 ตัว รางวัลละ 2,000 บาท : 38

🟢รางวัลที่ 2 รางวัลละ 200,000 บาท : 856492 739382 164480 459403 339596

🟢รางวัลที่ 3 รางวัลละ 80,000 บาท : 243904 744835 271867 287458 822647
803964 705238 319545 088391 584122

🟢รางวัลที่ 4 รางวัลละ 40,000 บาท: 854444 377347 278756 852768 968311 399138 730035 769620 679006 962056 201819 060223 650025 438914 706630 564974 974578 032420 622075 149320 081623 221831 390470 800670 020102 143088 879859 235398 193067 984918 249235 704511 474735 287080 515974 947933 164159 797585 068457 719828 527535 529166 189506 461418 296736 031147 819942 424200 604235 719577

🟢รางวัลที่ 5 รางวัลละ 20,000 บาท: 822346 577589 393988 737877 888036 455565 763946 466122 982473 244907 436509 895633 541777 831411 171201 585681 306713 730359 229369 040200 719461 332591 777923 647724 720433 504598 508549 190752 925082 429168 361389 992356 680182 419328 200238 447811 796055 273030 279629 032425 148474 986925 799427 410920 247343 260186 057397 428874 204837 025378 625306 216401 727095 856212 944270 908507 269883 300471 921558 301731 441209 780358 525992 941133 542225 768267 643187 657280 308731 612377 852195 092506 645166 848055 911396 464219 477905 171582 731062 340257 047871 650957 653115 216589 448438 269205 440000 101145 867017 992905 715738 344665 694314 301871 028158 606732 363848 345709 369266 033780

16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 121 ปี "คฑาจอมพล" องค์แรกของประเทศไทย กองทัพบกจัดทำ ทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 กองทัพบกได้จัดทำพระคทาจอมพลขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในฐานะองค์จอมทัพไทย ในพระราชพิธีทวีธาภิเษก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีพระคทาจอมพล

พระราชพิธีทวีธาภิเษกเป็นการสมโภชการครองราชย์ของ รัชกาลที่ 5 ที่ยืนยาวเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบรมชนกนาถ โดยพระคทาจอมพลองค์แรกนี้มีรูปทรงกระบอก ยาว 35 เซนติเมตร ยอดคทาเป็นรูปหัวช้างสามเศียรลงยาสีขาว เหนือหัวช้างเป็นรูปพระเกี้ยว ส่วนปลายคทามีรูปทรงกระบอกตัด องค์คทาทำจากทองคำหนัก 40 บาท ใต้หัวช้างประดับลายนูนรูปหม้อกลศ

พระคทาจอมพลองค์นี้ทรงใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ ตลอดรัชกาล และต่อมาได้รับการใช้สืบทอดโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ประเทศไทย จัดเลือกตั้ง สส.เป็นครั้งแรก เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรก และครั้งเดียว

15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรก และครั้งเดียวของไทย โดยเป็นการเลือกผู้แทนตำบลก่อน แล้วให้ผู้แทนตำบลเลือกผู้แทนราษฎรอีกทีหนึ่ง

การเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์กบฏบวรเดชยุติ รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา แถลงต่อสภาในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ว่าได้ปราบกบฏเสร็จสิ้นบ้านเมืองสงบแล้ว จึงสมควรจำเป็นต้องมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น

การเลือกตั้ง สส.ในปี 2476 นี้ นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก เกิดขึ้นในตอนที่ประเทศไทยยังใช้ชื่อว่า สยาม ครั้งนั้น ประเทศไทยมีทั้งสิ้น 70 จังหวัด เป็นอัตราส่วนที่คิดจำนวนประชากรไม่สูงมาก เนื่องจากขณะนั้น ประชากรทั้งประเทศของสยามยังไม่ถึง 18 ล้านคน

มีการเลือกตั้งผู้แทนได้จังหวัดละ 1 คน ยกเว้นจังหวัดพระนคร (จังหวัดในอดีตของไทย ช่วงปี 2408-2515 ก่อนรวมกับจังหวัดธนบุรี เป็นกรุงเทพมหานคร) และจังหวัดอุบลราชธานี สามารถเลือกผู้แทนได้ 3 คน ส่วน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดนครราชสีมา เลือกผู้แทนได้ 2 คน มีผู้แทนจากการแต่งตั้งอีก 78 คน รวมแล้วได้ 156 คน

การเลือกตั้งครั้งแรก มีผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 4,278,231 คน
มีผู้ออกมาใช้สิทธิ 1,773,532 คน คิดเป็นร้อยละ 41.5
จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิมากที่สุด คือจังหวัดเพชรบุรี คิดเป็นร้อยละ 78.82
จังหวัดที่มีผู้ออกไปใช้สิทธิน้อยที่สุด คือจังหวัดแม่ฮ่องสอน คิดเป็นร้อยละ 17.71

หลังการเลือกตั้ง ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลขึ้นมาใหม่ โดยเสียงส่วนใหญ่เลือกเอา พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง (สมัยที่ 2)

14 พฤศจิกายน ของทุกปี วันพระบิดาแห่งฝนหลวง น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ร.9

สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 พระองค์ทรงพบว่าราษฎรได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมและฝนแล้ง ทำให้ทรงมีพระราชดำริในการแก้ปัญหาความทุกข์ร้อนของราษฎรอย่างฉับพลันในขณะนั้นว่า "สมควรที่จะสร้างฝายหรือเขื่อนขนาดเล็ก และอ่างเก็บน้ำจำนวนมากขวางทางน้ำ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงการไหลบ่าของน้ำ และกักเก็บน้ำไว้ในฤดูแล้งซึ่งเป็นการบรรเทาสภาวะแห้งแล้งได้ทางหนึ่ง" ที่สำคัญทรงเกิดประกายความคิดด้วยความมั่นพระราชหฤทัยว่าน่าจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เกิดฝนได้ และน่าจะมีวิธีการที่จะรวมเมฆที่กระจายอยู่ในท้องฟ้า ไปรวมตัวกันเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นที่แห้งแล้ง

จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยาและการดัดแปรสภาพอากาศ เมื่อทรงมั่นพระราชหฤทัยแล้ว ทรงพระราชทานแนวคิดนี้แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยใช้พื้นที่บนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้งขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลอง ทำให้กลุ่มเมฆทดลองมีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆทำให้เกิดการกลั่นรวมตัวกันอย่างหนาแน่น และต่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็ว และจากการติดตามผล ก็ได้รับรายงานว่าเกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึงเป็นนิมิตหมายที่ดีที่บ่งชี้ให้เห็นว่าการบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และความสำเร็จดังกล่าวยังส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวงเรื่อยมา 

จากการที่ทรงศึกษาค้นคว้า ทรงทดลองทางวิทยาศาสตร์ และปฏิบัติการทำฝนที่ประสบความสำเร็จมาโดยลำดับ โดยทรงประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีในการทำฝนเบื้องต้น และทรงบัญญัติคำศัพท์ การทำฝน 3 ขั้นตอน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและการสื่อสารคือ 'ก่อกวน เลี้ยงอ้วน และโจมตี' โดยเฉพาะเทคนิคการโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายอย่างแม่นยำ และเพิ่มปริมาณฝนตกให้สูงขึ้น โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียกว่า เทคนิคการโจมตีแบบแซนด์วิช (SANDWICH) และพระราชทานให้ใช้เป็นเทคโนโลยีการทำฝนตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา

พ.ศ. 2542 ได้เกิดสภาวะแห้งแล้งรุนแรงต่อพื้นที่เกษตรกรรม และราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดส่งคณะปฏิบัติการฝนหลวงกู้ภัยแล้ง โดยในการปฏิบัติการนี้ ทรงพัฒนาเทคนิคการโจมตีที่เรียกว่า 'เทคนิคการโจมตี แบบ SUPER SANDWICH' อันเป็นนวัตกรรมใหม่ที่พระราชทานให้ใช้เป็นเทคโนโลยีฝนหลวงที่สามารถกู้ภัยแล้งให้คืนสู่สภาวะปกติได้อย่างทันท่วงที จึงเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวงให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง และพระราชทานให้ใช้เป็น 'ตำราฝนหลวงพระราชทาน' ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ได้ดำเนินงานโครงการพระราชดำริฝนหลวงมาตั้งแต่เริ่มแรกโครงการได้เสนอให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น 'วันพระบิดาแห่งฝนหลวง' ในการประชุมคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2545

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงคิดค้น วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวงจนประสบผลสำเร็จสามารถช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากภัยแล้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้จนถึงปัจจุบัน

‘ฟิล์ม รัฐภูมิ’ ยอมรับอ้างชื่อ ‘หนุ่ม กรรชัย’ จริง แต่ถูกตัดต่อ แจงปมเรียกเงิน 20 ล้าน ยัน! แค่อยากได้งานพีอาร์เท่านั้น

(13 พ.ย. 67) ‘ฟิล์ม รัฐภูมิ’ ยอมรับทำผิดจริง ปมอ้างชื่อ หนุ่ม กรรชัย และรายการ โหนกระแสยันไม่เจตนาตบทรัพย์ เรียกเงิน 20 ล้าน เป็นเพียงค่าทำพีอาร์เท่านั้น

หลังจากที่ทาง หนุ่ม กรรชัย ออกมาเปิดคลิปเสียง ศิลปินชาย ร่วมมือนักร้องหญิง ตบทรัพย์ 20 ล้านบาท จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักในขณะนี้ ซึ่งหลายคนก็ตั้งคำถามว่าศิลปินดังคนนั้นคือใคร สุดท้ายหวยไปออกที่ ฟิล์ม รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ และเจ้าตัวก็รีบติดต่อรายการดังทางช่อง 8 เพื่อชี้แจงความจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดในทันที ทั้งยืนยันว่าเป็นเสียงของตนจริง แต่ถูกตัดต่อให้เข้าใจผิดว่าเป็นการเรียกเงิน 20 ล้านบาท

ฟิล์ม รัฐภูมิ ติดต่อไปที่รายการ คนดังนั่งเคลียร์เพื่อที่จะออกมาชี้แจงถึงประเด็นที่มีเสียงตัวเองโผล่อยู่ในคลิปเสียงตบทรัพย์ 20 ล้าน โดยเจ้าตัวเผยว่า ได้รับการติดต่อให้ทำพีอาร์ให้กับทางดิไอคอนผ่าน คุณกฤษอนงค์ ตอนนั้นยังไม่เกิดคดีความขึ้น ตนอยู่ในสถานะของผู้ถูกจ้าง

โดยคนกลางกำหนดงบประมาณมาให้เองว่ามีงบ 20 ล้านบาท และจากที่ฟังเรื่องที่เขาเล่ามาตนก็ไม่ได้ตกใจอะไร ก็คิดว่าเป็นบริษัทที่ขายของเท่านั้น ไม่ได้ทราบว่า ดิไอคอนกรุ๊ป คืออะไร ตนมีหน้าที่แค่วางแพลนมาร์เก็ตติ้งเพื่อให้เขาได้ไปดีแคร์ตัวเองผ่านทางรายการโทรทัศน์เท่านั้น เพราะเขาอ้างว่ากำลังถูกสื่อและสังคมโจมตีอย่างหนัก

ส่วนประเด็นที่อ้างชื่อ หนุ่ม กรรชัย นั้น ศิลปินดัง ยอมรับว่าในเรื่องนี้ตนผิดจริง ๆ พิธีกรดังโทรศัพท์มาหาแล้วตั้งแต่เมื่อคืน (11 พ.ย. 67) ตนก็โดนด่าเหมือนที่พี่เขาด่าในรายการวันนี้เลย อยากจะขอโทษที่กล่าวอ้างไปแบบนั้นไม่ได้มีเจตนาทำให้เสียชื่อเสียง น้อมรับทุกสิ่งที่เขาต่อว่ามา และพร้อมจะปรับปรุงให้ดีขึ้น 

สาเหตุที่เอ่ยชื่อ หนุ่ม กรรชัย ไปแบบนั้น เพราะหลงเชื่อคนกลาง เพื่อต้องการจะขายงานของตัวเองให้ได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วบริษัทดิไอคอนก็ไม่ได้ซื้องานของตน ตนไม่ได้รับเงินก้อนนี้ และไม่ทราบว่าใครได้งานนี้ไป ยืนยันว่าไม่ได้ตบทรัพย์หรือรีดทรัพย์ 20 ล้านตามที่คลิปเสียงถูกตัดต่อจนคนมองผิดไปแน่นอน ย้ำว่าเรื่องทุกอย่างเกิดขึ้นก่อนหน้าที่บริษัท ดิ ไอคอน กรุ๊ป จะถูกดำเนินคดี ถือว่าเป็นบทเรียนให้ต้องมีสติในการรับงานมากกว่านี้

13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ในหลวง ร.9 เสด็จเยือนจังหวัดนครพนม ก่อเกิดภาพประวัติศาสตร์ ‘ดอกไม้แห่งหัวใจ’

วันนี้เป็นวันครบรอบ 69 ปี ของภาพเหตุการณ์ที่กลายมาเป็นภาพประวัติศาสตร์สำคัญภาพหนึ่ง ...ของประเทศเล็กๆ..บนโลกใบนี้ที่ชื่อว่าประเทศไทย กับภาพ ‘ดอกไม้แห่งหัวใจ’ ที่ตราตรึงอยู่ในใจคนไทยตลอดมา

วันนั้นเป็นหนึ่งวันในพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน ระหว่างวันที่ 2-20 พฤศจิกายน 2498 โดยในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2498 ทรงสร้างประวัติศาสตร์อย่างแรกคือทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จฯไปสักการะ พระธาตุพนม 

แต่ในวันเดียวกันนั้นยังเกิดภาพประทับใจ ที่คนไทยคุ้นตาเป็นอย่างดี และถือได้ว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ ที่แสดงถึง 'ความอ่อนโยน' ( หรือ มทฺทวํ) ของพระผู้เป็นประมุขของประเทศ ที่ทรงน้อมพระองค์ลงสู่ราษฎร อันเป็นข้อหนึ่งในทศพิธราชธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ 

เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจากพระราชกรณียกิจภาคเช้าที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารแล้ว ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จกลับมายังที่ประทับแรม ตลอดทางมีราษฎรมารอเฝ้ารับเสด็จอยู่ตามรายทางเป็นระยะ ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็ทรงหยุดรถพระที่นั่ง เสด็จลงไปทักทายปฏิสันถารกับราษฎรเหล่านั้นเป็นระยะ 

ที่สามแยกชยางกูร-เรณูนคร มีราษฎรอุ้มลูกจูงหลานมารอเฝ้าอยู่กลุ่มใหญ่ หนึ่งในนั้นคือครอบครัวจันทนิตย์ ที่บรรดาลูกหลานได้พา แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ วัย 102 ปี(อายุในขณะนั้น) มาเฝ้าอยู่ ณ จุดนั้นด้วย ซึ่งอยู่ห่างจากบ้าน 700 เมตร และได้หาดอกบัวสาย สีชมพูให้แม่เฒ่ามาถวาย 3 ดอก แล้วพาไปนั่งแถวหน้าสุดเพื่อให้ได้โอกาสเข้าเฝ้าใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท 

ตั้งแต่เช้าจนบ่าย แม้ความร้อนจากแสงแดดจะทำให้ดอกบัวในมือของแม่เฒ่าเหี่ยวเฉา แต่ก็ไม่อาจจะแผดเผาให้หัวใจแม่เฒ่าวัย 102 ปีเหี่ยวเฉาไปได้ จะขอเฝ้าล้นเกล้าฯทั้งสองพระองค์สักครั้งในชีวิต 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึงตรงหน้า แม่เฒ่ายกดอกบัวสายที่เหี่ยวทั้ง 3 ดอกนั้นขึ้นเหนือหัว แสดงความจงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง 

พระเจ้าอยู่หัวทรงหยุดพระราชดำเนินที่แม่เฒ่า และโน้มพระองค์ลงจนพระพักตร์แทบแนบชิดศีรษะแม่เฒ่า แย้มพระสรวลด้วยความเมตตา พระหัตถ์แตะมืออันกร้านของแม่เฒ่าด้วยความอ่อนโยน รับดอกบัวทั้ง 3 ดอกไว้ด้วยพระหัตถ์ 

ขอบพระคุณ ที่วินาทีนั้น คุณอาณัติ บุนนาค หัวหน้าส่วนช่างภาพประจำพระองค์ ได้กดชัตเตอร์บันทึกภาพนี้ไว้ได้ในนาทีประวัติศาสตร์ 

ไม่ว่าพระเจ้าอยู่หัวจะมีรับสั่งกับแม่เฒ่าอย่างไร ภาพนี้ก็ไม่ต้องการคำอธิบายใด ๆ ทั้งสิ้น และบอกถึงความสัมพันธ์ของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ที่ทรงมีกับราษฎรของพระองค์ ได้มากกว่าคำอธิบายใด ๆ เป็นล้านคำ 

หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯแล้ว สำนักพระราชวังยังได้ส่งภาพนี้ พร้อมด้วยพระบรมรูปหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ พระราชทานผ่านมาทางอำเภอพระธาตุพนม ให้แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็นที่ระลึกด้วย และนั่นอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้แม่เฒ่าวัย 102 ปียังคงมีชีวิตยืนยาวอย่างชุ่มชื่นหัวใจต่อมาอีก 3 ปี 

ในช่วงชีวิตที่ผ่านมาของพวกเราคงไม่เคยพบเห็นภาพ ประมุขหรือผู้นำของประเทศไหน ๆ ในโลกใบนี้ ได้แสดงออกถึงความรักและให้ความใกล้ชิดกับประชาชนของตนอย่างมากในลักษณะเช่นนี้อีกแล้ว ภาพนี้จึงมักเป็นภาพแรกๆ ที่ปรากฏในห้วงความทรงจำของคนไทยเมื่อยามที่ระลึกถึงพระองค์ท่าน....

‘ใหม่ ดาวิกา’ สุดช้ำ! เจอคนเมนต์ด่าแรง ลั่น ไม่เข้าใจทำไมถึงเกลียดเราขนาดนี้

(12 พ.ย.67) ‘ใหม่ ดาวิกา’ โพสต์เศร้าปมดราม่า #แบนแม่หยัว หลังมีชาวเน็ตถล่มหนัก ลั่น ทำไมถึงเกลียดเราได้ขนาดนี้ พร้อม ขอโทษทุกการกระทำอีกครั้ง

จากกรณีละครเรื่อง แม่หยัว EP : 5 ที่มีการฉายฉากแมวถูกวางยาตายในเรื่อง ซึ่งน้องแมวมีท่าทางกระตุกตัวเกร็ง งานนี้ทำเอาแฟนละครและเหล่าทาส แห่สงสัยว่าเป็นเพียงเทคนิคถ่ายทำ หรือวางยาจริง หวั่นใจว่านี่คือการทารุณสัตว์หรือไม่ นอกจากนี้ สังคมออนไลน์ยังมีการติดแฮชแท็กและคอมเมนต์ถกประเด็นดังกล่าว

อีกทั้ง 'สันต์ ศรีแก้วหล่อ' ผู้กำกับแม่หยัว ได้ออกมาแจงปมดราม่าวางยาแมว ยืนยันยังไม่ตาย และมีผู้เชี่ยวชาญดูแลทุกขั้นตอน พร้อมเตรียมหลักฐานชี้แจง งานนี้เจอชาวเน็ตสวนยับ ติดแฮชแท็กแบนแม่หยัว ขึ้นเทรนด์ในโลกโซเชียล ขณะที่สัตวแพทยสภา ได้ออกมาประกาศตรวจสอบด้วย ตามที่ข่าวเสนอไปก่อนหน้านี้

ล่าสุด เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีชาวเน็ตรายหนึ่งก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวผ่านทวิตเตอร์ (X) คอมเมนต์ด่าทอ 'ใหม่ ดาวิกา' ผู้รับบท 'แม่หยัว' พร้อมระบุข้อความว่า “ก็แค่รู้สึกว่า “ใหม่ ดาวิกา” หลายครั้งเกิน แบบคนธรรมดาน่าจะเกิดการเรียนรู้แล้ว แต่นี่คือไม่เลย คนแบบ “ดาวิกา” ไม่น่าจะเรียนรู้อะไรได้แล้ว” จากนั้น “Davika Hoorne” หรือ “ใหม่ ดาวิกา” ได้โพสต์ตอบกลับว่า “ใหม่อ่านอันนี้ไม่เจ็บค่ะ แต่งงว่าทำไมถึงเกลียดเราได้ขนาดนี้ ถ้าพี่พอจะมีเวลา ลองติดตามใหม่จริงๆ ดูนะคะ ตอนนี้ใหม่เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ในชีวิตเยอะมากค่ะ”

ก่อนที่จะโพสต์เพิ่มเติมว่า “มีทวีต1 ที่เอาเรื่องในอดีตใหม่มาโพสต์ ทำให้คนด่าใหม่เป็นจำนวนมาก ใหม่เข้าใจนะคะที่พี่ๆ หรือน้องๆ จะคิดได้ แต่ในมุมใหม่ คือ ใหม่กลับไปแก้ไขอดีตไม่ได้ ตอนนี้ใหม่ได้เรียนรู้จากเรื่องราวนั้นๆ และจะไม่ทำอีกใหม่ ขอโทษทุกการกระทำอีกครั้งด้วยค่ะ”

อย่างไรก็ตาม “ทุกคนบอกให้ใหม่นิ่งและส่งความรัก พร้อมข้อความมาให้ใหม่ขอบคุณจากใจนะคะ แต่ครั้งนี้ใหม่รู้สึกว่าถ้าไม่ได้พูดในส่วนตัวเอง ที่ไม่ได้พาดพิงถึงผู้อื่น ใหม่จะอึดอัดและจะส่งผลต่อสุขภาพจิตแน่ๆ ค่ะ ขอโทษที่พิมพ์เยอะไปค่ะ” ใหม่ ดาวิกา กล่าวทิ้งท้าย

12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 พิธีปล่อยรถโดยสารรุ่นแรก สร้างที่โรงงานมักกะสัน ตามโครงการพัฒนาของการรถไฟฯ ปี 2510 - 2514

การรถไฟแห่งประเทศไทย ทำพิธีปล่อยรถโดยสารรุ่นแรกที่สร้างโดยกองโรงงานมักกะสัน ฝ่ายการช่างกล ตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของการรถไฟฯ พ.ศ.2510 - 2514 ออกจากโรงงานมักกะสัน จำนวน 14 คัน ได้แก่ รถ บชส. 10 คัน และรถ บพห. (ข้างโถง) 4 คัน โดยมี พลเอกครวญ สุทธานินทร์ ประธานคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย มาเป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2511 

สำหรับโครงการ 5 ปีดังกล่าวข้างต้น ได้กำหนดสร้างรถโดยสาร 180 คัน และรถสินค้า 597 คัน เป็นงบประมาณที่ตั้งไว้รวมทั้งสิ้น 223.55 ล้านบาท ในการสร้างรถโดยสารนี้ จำนวนหนึ่งเป็นการสร้างตัวรถขึ้นใหม่ทั้งคัน และอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นการประหยัดโดยใช้โครงประธาน และแคร่โบกี้ของเดิมของรถโบกี้โดยสารที่ตัดบัญชีแล้ว นำมาสร้างตัวรถบนโครงประธานเหล่านี้ เรียกว่าประเภทรถ Rebuilt

‘ลิซ่า' ร่วมแสดง 'The White Lotus' ซีซั่น 3 เผยโฉมในซีรีส์ระดับโลกพร้อมสถานที่ถ่ายทำในไทย

(11 พ.ย.67) HBO และ Max เปิดตัวซีซั่นใหม่ของ The White Lotus พร้อมเผยภาพแรกจากสถานที่ถ่ายทำในไทย และภาพแรกของ 'ลิซ่า' ที่ร่วมแสดงในซีรีส์เรื่องนี้ด้วย

ซีรีส์ Anthology ที่โด่งดังที่สุดของ HBO และ Max The White Lotus กลับมาพร้อมกับซีซั่น 3 กับภาพแรกจากสถานที่ใหม่ในประเทศไทย

ในคลิปรวมผลงานของ HBO และ Max ที่โชว์ผลงานดัง ๆ ที่จะฉายในปี 2024 นอกจาก The White Lotus แล้วก็ยังมีทั้ง Peacemaker Season 2 และ Dune: Prophecy และ The Righteous Gemstones ด้วย

The White Lotus คว้ารางวัล Emmy ถึง 15 รางวัล สร้างโดย ไมค์ ไวท์ โดยทุกซีซั่นจะเล่าเรื่องเหตุฆาตกรรมในโรงแรมหรูหราที่เป็นชื่อของซีรีส์ แต่ละปีจะเปลี่ยนสถานที่, เปลี่ยนเหตุการณ์ และตัวละคร แต่จะมีนักแสดง และบางตัวละคร ที่ร่วมแสดงในหลาย ๆ ซีซัน โดย The White Lotus จะเน้นที่ปัญหาครอบครัว, ความขัดแย้งในหมู่เครือญาติ และคดีฆาตกรรม

The White Lotus ปีนี้จะมี วอลตัน กอกกินส์ รับบทนำ รวมด้วย มิเชล มอนาแฮน, แครี่ คูน, เจสัน ไอแซคส์, เลสลี่ บิบบ์, พาร์คเกอร์ โพซีย์, สก็อตต์ กลินน์, แพทริค ชวาร์ซเน็กเกอร์ และอีกมากมาย โดย นาตาชา รอธเวลล์ จะกลับมารับบทเดิมจากซีซั่น 1

นอกจากนักแสดงหลักแล้ว ซีซั่น 3 ของ The White Lotus ยังจะได้เห็นการแสดงของ ลิซ่า จากวง BLACKPINK ซึ่งเป็นการปรากฏตัวในงานแสดงครั้งแรกของเธอในซีรีส์ระดับโลกนี้ด้วย

11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เปิด 'พระบรมรูปทรงม้า' ด้วยพระองค์เอง

วันนี้ในอดีต เมื่อ 116 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเปิดพระบรมรูปทรงม้า ด้วยพระองค์เอง

ทั้งนี้ พระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นเนื่องในงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ซึ่งเป็นพิธีที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช และสมโภชสิริราชสมบัติ ในมหามงคลสมัยที่ทรงครองแผ่นดินครบ 40 ปี ซึ่งยาวนานกว่าทุกพระองค์ โดยจ้างบริษัท Susse Frères (Fondeur) ทำการหล่อที่ประเทศฝรั่งเศส มีขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย อยู่ในอิริยาบถทรงม้า ฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมพลทหาร สร้างเมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450 เสร็จทันในวโรกาสพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2451 นับเป็นอนุสาวรีย์บุคคลแห่งแรกในไทยที่สร้างขึ้นในขณะที่บุคคลนั้นยังมีชีวิต

เมื่อพระบรมรูปสร้างเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อย ส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เปิดด้วยพระองค์เองก่อนจะเสด็จสวรรคตอีก 2 ปีต่อมา

ขณะที่ประเพณีถวายบังคมและวางพวงมาลาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิตนั้น เริ่มขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังจากที่พระบรมชนกนาถ ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยเสด็จสวรรคต จึงมีพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า เพื่อแสดงความจงรักภักดีในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลของพระองค์

ในปีต่อมา มีพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนวันถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้ามาเป็นวันที่ 23 ตุลาคมแทน ซึ่งกลายเป็นพิธีสืบเนื่องต่อมา

10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ กลับคืนสู่ไทย หลังถูกลักลอบนำออกนอกประเทศกว่า 30 ปี

วันนี้ เมื่อ 36 ปีก่อน นับเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประเทศไทย เมื่อ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทับหลังศิลาโบราณวัตถุล้ำค่าของไทย ซึ่งถูกลักลอบนำไปจากปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเวลาเกือบ 30 ปี กลับคืนสู่ไทยอีกครั้ง 

โบราณวัตถุชิ้นนี้เป็นประติมากรรมศิลาจำหลักบนทับหลังประตูของปรางค์ประธาน ด้านทิศตะวันออกของปราสาทหินพนมรุ้ง โบราณวัตถุชิ้นนี้ มานิต วัลลิโภดม ภัณฑารักษ์พิเศษ แห่งกรมศิลปากร ได้สำรวจและบันทึกภาพไว้เมื่อ พ.ศ. 2503 ปรากฏว่าทับหลังชิ้นนี้นั้น หักออกเป็นสองท่อน ตกอยู่ที่เชิงประตูปรางค์ประธาน และต่อมาทับหลังทั้งสองชิ้น ได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย จนปี พ.ศ. 2508 จึงได้ พบทับหลังชิ้นนี้ขนาด 1 ใน 3 ของด้านขวาที่ร้านขายของเก่าแห่งหนึ่ง กรมศิลปากรจึงได้ยึดมาเก็บรักษาไว้ แล้วนำไปประดับไว้ที่เดิม เมื่อมีการซ่อมปราสาทแต่ยังขาดชิ้นส่วนของทับหลังที่เหลืออีกสองส่วน 

ต่อมาในปี 2515 ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ไปพบทับหลังส่วนที่เหลือซึ่งเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่สถาบันศิลปะชิคาโก (The Art Institute of Chicaco) ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยบังเอิญ จึงแจ้งให้กรมศิลปากรทราบ จนเกิดการเรียกร้อง จนผู้ครอบครองยอมคืนให้ในที่สุด

9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 สหพันธ์พิทักษ์เด็ก ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเกียรติคุณ แด่ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้เมื่อ 43 ปีที่แล้ว ณ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สหพันธ์พิทักษ์เด็ก (Save The Children Federation) ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัลเกียรติคุณ (First Distinguished Service Award) แด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเทิดพระเกียรติในฐานะที่ ทรงเป็นบุคคลดีเด่นด้านพิทักษ์เด็ก อันเนื่องมาจากการที่ทรงช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเขมรที่เขาล้าน จ.ตราด และทรงมีพระเมตตาอย่างยิ่งแก่เด็ก ๆ 

สำหรับ พระมหากรุณาธิคุณในครั้งนั้น สืบเนื่องจากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองของกัมพูชากับเขมรแดงเมื่อ พ.ศ. 2522 ส่งผลให้เกิดการอพยพของชาวกัมพูชาจำนวนมากสู่ชายแดนไทย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยร่วมมือกับสภากาชาดสากลในการช่วยเหลือผู้อพยพโดยการจัดตั้ง “ศูนย์ราชการุณย์” บ้านเขาล้าน จังหวัดตราด และได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรด้วยพระองค์เองเมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เมื่อพบเห็นสภาพที่ย่ำแย่อย่างยิ่งของผู้อพยพ พระองค์จึงพระราชทานความช่วยเหลือทันที ทั้งพยาบาลสนาม และอาสาสมัครไปช่วยเหลือจัดหาอาหารและยาบรรเทาความเจ็บไข้ พร้อมทั้งพระราชทานครูสอนวิชาชีพแก่ผู้อพยพเพิ่มเติมอีกด้วย โดยทรงมีพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่ว่าจะช่วยเหลือประชาชนโดยไม่เลือกเชื้อชาติหรือศาสนาใด ๆ ทั้งสิ้น

'รัสเซล โครว์' เยือนไทยอีกครั้ง แวะชิมเมนูดัง 'เจ๊ไฝ' พร้อมอวยยศฉ่ำ “เธอเป็นร็อคสตาร์ตัวจริง”

(8 พ.ย.67) นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดัง ‘รัสเซล โครว์’ กลับมาไทยอีกครั้ง ไม่พลาดทำหน้าที่ทูตท่องเที่ยว แวะหา ‘เจ๊ไฝ’ ชิมเมนูดัง พร้อมบอ “เธอเป็นร็อคสตาร์ตัวจริง” หยอดคำชมกรุงเทพฯ ฉ่ำ

กลับมาทำหน้าที่เป็นทูตเที่ยวไทยอีกแล้ว สำหรับ 'Russell Crowe' (รัสเซล โครว์) นักแสดงชื่อดังแห่งวงการฮอลลีวูด เจ้าของรางวัลออสการ์ระดับตำนาน ที่ฝากผลงานไว้ให้โลกจดจำมากมาย

ไม่ว่าจะเป็น Gladiator (2000),A Beautiful Mind (2001), American Gangster (2007), Les Misérables (2012), Proof of Life (2000), The Insider (1999)

หลังเคยเดินทางมาถ่ายทำภาพยนตร์ 'The Greatest Beer Run Ever' ที่เมืองไทย ในปี พ.ศ. 2564 และได้โพสต์ภาพต่าง ๆ ในเมืองไทย จนกลายเป็นไวรัลเรียกเสียงฮือฮา ชาวเน็ตแห่แซวว่า เหมือนเป็นทูตด้านการท่องเที่ยว

ล่าสุด นักแสดงคนดัง ก็ได้ออกมาโพสต์ภาพคู่กับ 'เจ๊ไฝ' ในแพลตฟอร์ม X พร้อมบอกว่า
“Popped in to see my friend Jay Fai at her unique and wonderful restaurant.
Crab curry!
Crab omelette!!
If you know, you know.
If you don’t … you should.
She is an absolute rockstar!
Bangkok remains an exhilarating experience. So nice to be back in amazing Thailand !!”

โดยแปลเป็นไทยว่า “แวะมาเยี่ยมเพื่อนของผม เจ๊ไฝ ที่ร้านอาหารอันเป็นเอกลักษณ์และยอดเยี่ยมของเธอ แกงปู! ไข่เจียวปู!! ถ้าใครรู้จัก ก็จะรู้ว่าอร่อยแค่ไหน ถ้าใครยังไม่รู้จัก… ควรต้องมาลอง
เธอเป็นร็อคสตาร์ตัวจริงเลย!

กรุงเทพฯ ยังคงเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น ดีใจมากที่ได้กลับมาเมืองไทยอันน่าทึ่งอีกครั้ง!!”

แน่นอนว่า นี่เป็นการพบกันของสองตำนานจากสองวงการอีกครั้ง ซึ่งการพบกันในครั้งนี้ ก็ทำชาวเน็ต รวมถึงแฟน ๆ เข้ามาคอมเมนต์รอตามรอย 'รัสเซล โครว์' เป็นจำนวนมาก และลุ้นว่าเจ้าตัวจะไปเที่ยวที่ไหน ในประเทศไทยอีกบ้าง จนมียอดชมกว่า 1 แสนครั้ง

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กษัตริย์นักประชาธิปไตย ผู้สละราชบัลลังก์เพื่อประชาชน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 

โดยเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 96 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 14 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

โดยตลอดรัชสมัยพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง โปรดให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรี ทรงตรากฎหมายเพื่อควบคุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน ระบบเทศบาล ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรมนั้น พระองค์โปรดให้สร้างหอพระสมุด ทรงปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 

นอกจากนี้ มีการปรับปรุงการศึกษาจนยกระดับมาตรฐานถึงปริญญาตรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยสมบูรณ์ ชื่อว่า “พระไตรปิฎกสยามรัฐ” เป็นต้น ความไม่พอพระราชหฤทัยและการเพลี่ยงพล้ำในการคัดค้านคณะราษฎรในหลายโอกาสนำไปสู่การสละราชสมบัติ และพระองค์ยังทรงถูกฟ้องคดียึดทรัพย์

สำหรับชีวิตส่วนพระองค์นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ (ต่อมาเฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี) ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดา แต่มีพระราชโอรสบุญธรรมคือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต 

ทั้งนี้พระองค์ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 สิริพระชนมพรรษา 47 พรรษา หลังสวรรคต พระองค์ได้รับการยกย่องจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 เนื่องในวโรกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 ปี พระองค์ทรงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ว่าเป็น "กษัตริย์นักประชาธิปไตย" ผู้เผชิญหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และยอมสละราชบัลลังก์ เพื่อให้คนกลุ่มใหม่ปกครองประเทศ เพราะไม่อยากสู้รบให้คนไทยต้องเสียเลือดเนื้อ

7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ในหลวง ร. 9 เสด็จฯ ในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามฯ

วันนี้ เมื่อ 28 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539 ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ครองราชสมบัติเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในสมัยรัชกาล ครั้งใหญ่ซึ่งเป็นที่จดจำ คือ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ใหญ่) เฉลิมฉลองในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 

ซึ่งทรงครองราชย์นานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในอดีต โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 อย่างยิ่งใหญ่ โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม

ซึ่งขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งนี้ได้มีการจัดริ้วขบวนอย่างยิ่งใหญ่และสง่างาม อีกทั้งยังมีเรือพระราชพิธีลำใหม่ คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งกองทัพเรือและกรมศิลปากรร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

โดยได้นำโขนหรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 มาเป็นแม่แบบ ซึ่งกองทัพเรือได้ดำเนินการสร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างของตัวเรือ พายและคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากรดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับศิลปกรรมของเรือทั้งหมด

โดยหัวเรือพระที่นั่ง จำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ ซึ่งได้แสดงรูปพระวิษณุและลักษณะอันโดดเด่นของพระองค์ เช่น พระวรกายคล้ำ ในพระกรทั้ง 4 ทรงถือจักร สังข์ คทา และตรีศูล ประทับบนครุฑยุดนาค หรือครุฑที่จับนาค 2 ตัวชูขึ้น

ตามคัมภีร์ปุราณะ ครุฑกับนาคเป็นศัตรูกัน แต่ทั้งสองก็รับใช้พระวิษณุ ครุฑ เจ้าแห่งนกทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของท้องฟ้า นาค เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของน้ำ เมื่อพระวิษณุอยู่เหนือครุฑและนาค ย่อมแสดงว่าพระองค์ทรงมีพลังในการพิทักษ์ปกป้องโลกทั้งมวล

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2555 จำนวน 15 ครั้ง

และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง สำหรับขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ส่วนใหญ่จะเป็นการเสด็จไปทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม

ส่วนการจัดขบวนเรือพระราชพิธี 2 ครั้ง ได้แก่ การจัดขบวนเรือพระราชพิธี เนื่องในการประชุมเอเปก 2003 (20 ตุลาคม พ.ศ. 2546)

และเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีต่างประเทศ ร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (12 มิถุนายน พ.ศ. 2549) โดยการจัดขบวนเรือพระราชพิธี 2 ครั้งนี้ เป็นเพียงการสาธิตแห่ขบวนเรือซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มิได้เสด็จในขบวนด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top