Sunday, 6 July 2025
LITE

27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 วันเกิด ‘พุทธทาสภิกขุ’ ปราชญ์แห่งไชยา ผู้ได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) หรือ พุทธทาสภิกขุ เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2449 ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมชื่อ “เงื่อม พานิช” ท่านเป็นพระผู้ผลิตสื่อธรรมะในยุคที่เทคโนโลยียังไม่พัฒนา

ท่านได้ร่วมกับ “ธรรมทาส พานิช” ผู้เป็นน้องชาย ก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรมที่วัดร้างตระพังจิก ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมโดย “พุทธทาสภิกขุ” ท่านให้ชื่อว่า สวนโมกขพลาราม เพราะบริเวณที่ตั้งมีต้นโมกและต้นพลาขึ้นอยู่มาก มีความหมายว่า “สวนป่าอันเป็นกำลังแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์” ต่อมาในปี 2486 “สวนโมกขพลาราม” ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดธารน้ำไหล บริเวณเขาพุทธทอง ริมทางหลวงหมายเลข 41 อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ท่านมีความปรารถนาให้ “สวนโมกขพลาราม” หรือ สวนโมกข์ เป็นสถานที่แสวงหาความสงบและศึกษาธรรม โดยภายในมี “โรงมหรสพทางวิญญาณ” ซึ่งเป็นอาคารที่รวบรวมภาพศิลปะ คำสอนในศาสนานิกายต่าง ๆ ภาพพุทธประวัติ รอบบริเวณวัดเป็นสวนป่าร่มรื่นเต็มไปด้วยปริศนาธรรม ปราศจากโบสถ์และศาลาอย่างวัดทั่วไป เหมาะสำหรับเป็นที่ฝึกอบรมจิตใจและศึกษาพุทธศาสนา ทั้งยังมีการฝึกสอนสมาธิสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติด้วย

“พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)” หรือ “พุทธทาสภิกขุ” มรณภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2536 ที่วัดสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาในวันที่ 20 ตุลาคม 2548 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประกาศยกย่องให้ “พุทธทาสภิกขุ” เป็นบุคคลสำคัญของโลก

โปรแรงเฉพาะ วันนี้ - 3 มิถุนายน 2568 เท่านั้น! รีบเลยก่อนของหมด! 

วิธีการสั่งซื้อง่ายๆ
1.เลือกชมสินค้าที่ร่วมรายการ 
2.แคปหน้าจอรุ่นที่ต้องการ แจ้งแอดมินผ่านช่องทางติดต่อ
3.แอดมินจะดำเนินการสั่งซื้อให้
4.ชำระเงินผ่านการแสกน QR Code เท่านั้น!

จัดส่งไวภายใน 1 - 3 วัน สินค้าที่แถมต้องมีราคาน้อยกว่าหรือเท่ากับสินค้าหลัก โปรแรงเฉพาะ วันนี้ - 3 มิถุนายน 2568 เท่านั้น! รีบเลยก่อนของหมด! 
เลือกช้อปได้ที่ https://vans.lotsthailand.com/buy-1-get-1-free.html?p=3

26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมผู้อพยพชาวเขมรเป็นการฉุกเฉิน

สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมผู้อพยพชาวเขมรที่ลี้ภัยสงครามที่ บ.เขาล้าน ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เป็นการฉุกเฉิน และมีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดสร้างศูนย์สภากาชาดไทยขึ้นที่บริเวณเขาล้านทันที เพื่อเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมแก่ผู้อพยพ และดูแลผู้ป่วยเจ็บ โดยเน้นในด้านสุขภาพอนามัย รวมถึงการให้การศึกษาแก่ชาวเขมรอพยพเหล่านั้นด้วย 

โดยมีพระราชเสาวนีย์ว่า “ฉันตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เหล่านี้ เท่าที่กำลังความสามารถของฉันจะมี”

และในเวลาต่อมา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ยังได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมผู้อพยพชาวกัมพูชาด้วยพระองค์เองอีกด้วย

ภายหลังจากการปิดศูนย์ช่วยเหลือฯ ได้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ 'ศาลาราชการุณย์' เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานแก่ชาวไทยชายแดนและชาวเขมรอพยพ

25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเป็น ‘พระมหากษัตริย์วังหน้า’

วันนี้เมื่อ 174 ปีก่อน คือ วันพระราชพิธีราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ ในลำดับรัชกาลที่ 4 พระองค์ที่ 2

25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 2 ในรัชกาลที่ 4 หรือ พระมหากษัตริย์วังหน้า ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2351 

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2394 ขุนนางผู้ใหญ่ได้กราบทูลเชิญ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์ ซึ่งขณะนั้นได้ผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ให้เสวยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จากนั้นพระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจุฬามณี ทรงมีพระปรีชาสามารถรอบรู้ในการพระนคร และการต่างประเทศ ตลอดจนขนบธรรมเนียมต่าง ๆ อีกทั้งพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีนิยมนับถือมาก จึงโปรดเกล้าให้จัด พระราชพิธีอุปราชาภิเษก ขึ้นเป็น พระมหาอุปราช พระราชวังบวรสถานมงคล 

พร้อมทั้งพระราชทานพระนามอย่างพระเจ้าแผ่นดินว่า พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระเกียรติยศเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดิน เหมือนเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกย่องสมเด็จพระเอกาทศรถ ราชอนุชามหาอุปราชครั้งกรุงเก่า 

ชาวต่างประเทศรู้จักพระองค์ในนาม 'the second king' พระราชพิธีอุปราชาภิเษกให้มีพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์นี้ เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้า และปฏิรูประบบการปกครองใหม่ ให้มกุฎราชกุมารเป็นผู้สืบต่อราชสมบัติ

สถานทูต ณ กรุงปารีส ร่วมแสดงความยินดี หนังไทย!! คว้ารางวัลใหญ่จาก ‘เมืองคานส์’

(24 พ.ค. 68) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ขอร่วมแสดงความยินดีกับภาพยนตร์ไทยเรื่อง “ผีใช้ได้ค่ะ” หรือ A Useful Ghost ในภาษาอังกฤษ และ Un Fantôme Utile ในภาษาฝรั่งเศส

ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ Grand Prize จากเวที Critics Week (Grand prix de la Semaine de la critique) ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ในปีนี้ 

กาลเวลาทำอะไรเขาไม่ได้ ‘Daddy พีท’ พรีเซนเตอร์ MANDO หลังนำภาพในอดีต เทียบปัจจุบัน ‘หล่อไม่เคยเปลี่ยนแปลง’

(24 พ.ค. 68) พูดถึงพระเอกอมตะ “พีท ทองเจือ” ต้องบอกเลยว่าอายุจะเลข 6 อยู่แล้ว แต่ความแซ่บและความหล่อยังคงไม่เปลี่ยนแบบไม่น่าเชื่อ! เปิดภาพเทียบกันชัดๆ ระหว่างตอนหนุ่มๆ กับตอนนี้ บอกเลยว่าเหมือนเวลาหยุดเดินไปเลยจริงๆ

ไม่ใช่แค่เรื่องหน้าตาที่ยังดูดีไม่มีเปลี่ยน แต่พลังและความสดชื่นของพีท ทองเจือ ก็ยังคงเต็มเปี่ยม เหมือนย้อนวัยกลับไปได้อีกครั้ง บอกเลยว่าเคล็ดลับนี้ไม่ใช่แค่การดูแลตัวเองธรรมดาๆ

เพราะล่าสุด พีท ทองเจือ ได้เผยเคล็ดลับความแกร่งแบบผู้ชายยุคใหม่ ที่ช่วยให้ร่างกายฟิตปั๋ง สดชื่นไม่ตก คืออาหารเสริม “MANDO” สำหรับผู้ชายทุกวัย โดยเฉพาะ 40+ ที่อยากคืนความมั่นใจ เติมพลังให้เต็มที่ ไม่ว่าจะงานหนัก หรือชีวิตส่วนตัว ก็เอาอยู่!!

ใครอยากลุคหล่อใส ใจฟิตแบบ ‘พีท ทองเจือ’ ต้องไม่พลาด!! ‘แมนโด’ ช่วยคืนความหนุ่มคืนความสดใสให้ชีวิตอีกครั้ง เหมาะกับผู้ชายทุกวัยที่อยากเอาชนะกาลเวลาอย่างมั่นใจ 

ติดตามพีท ทองเจือได้ที่ 
ไอจี : https://www.instagram.com/pete_thongchua.nmg?igsh=cXo1bjluMWVxZXNs

24 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ‘ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก’ สร้างประวัติศาสตร์ คว้ามงกุฎนางงามจักรวาลเป็นคนที่ 2 ของไทย

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 หรือวันนี้ 37 ปีที่แล้ว ประเทศไทยได้กลายเป็นที่รู้จักของชาวโลกอีกครั้ง กับการขึ้นไปคว้าตำแหน่งนางงามจักรวาลคนที่ 37 ของ ‘ปุ๋ย ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก’ ตัวแทนสาวงามจากประเทศไทย

ซึ่งเธอถือเป็นตัวแทนชาวไทยคนที่ 2 ที่ได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาล หลังจาก ‘อาภัสรา หงสกุล’ นางงามจักรวาลชาวไทยคนแรกที่ชนะการประกวดนางงามจักรวาลในปี ค.ศ. 1965 หรือ พ.ศ. 2508

สำหรับการประกวดนางงามจักรวาล ค.ศ. 1988 หรือ พ.ศ. 2531 จัดขึ้น ณ เมืองไทเป เกาะไต้หวัน โดยมีผู้เข้าประกวด 66 คน ซึ่งตัวเก็งการประกวดในสายสื่อมวลชน คือ นางงามสหรัฐอเมริกา นางงามเม็กซิโก นางงามสาธารณรัฐโดมินิกัน นางงามนิวซีแลนด์ และนางงามของไทย รวมถึงนางงามจากไอซ์แลนด์ ที่เคยได้รับตำแหน่งรองอันดับ 2 มิสเวิลด์ 1987 ที่ อังกฤษ มาแล้ว ซึ่งก็พ่ายให้กับสาวในแถบเอเชีย ในการประกวดรอบแรก

ทั้งนี้ ภรณ์ทิพย์ สามารถทำคะแนนในชุดว่ายน้ำได้ลำดับที่ 11 แต่เมื่อรวมคะแนนจากชุดราตรีและการสัมภาษณ์แล้ว สามารถเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายมาในลำดับที่ 4 โดยมีคะแนนตามหลัง นางงามสหรัฐอเมริกา นางงามสาธารณรัฐโดมินิกัน และนางงามเกาหลีใต้ ซึ่งในการประกวดรอบ 10 คน เธอได้สร้างความประทับใจให้กับกรรมการอย่างมาก ระหว่างช่วงการประกวดรอบสัมภาษณ์ซึ่งทำให้เธอกวาดชัยชนะทั้ง 3 รอบ และกลายเป็นผู้ชนะอย่างขาดลอยของการประกวดนางงามจักรวาลในปีนั้น และนอกจากได้รับมงกุฎนางงามจักรวาลแล้วยังได้รับรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมอีกตำแหน่งเพิ่มด้วย

นอกจากนี้ เธอยังเป็นนักธุรกิจ และได้ดำรงตำแหน่งผู้แทนองค์การสหประชาชาติ สำหรับโครงการช่วยเหลือเด็กและสตรีในระดับนานาชาติ รวมถึงเป็นประธานตั้งมูลนิธิช่วยเหลือเด็กอีกหลายแห่ง

‘กระติ๊บ ชวัลกร’ ปวดไส้ติ่งเฉียบพลันกลางดึกที่เซี่ยงไฮ้ เผยสุดประทับใจโรงพยาบาลรัฐจีน ถูก-ดี-เร็วเกินคาด

(23 พ.ค. 68) นักแสดงสาว 'กระติ๊บ ชวัลกร' เผยประสบการณ์เจ็บป่วยเฉียบพลันระหว่างท่องเที่ยวที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงกลางดึกจนต้องเข้าห้องฉุกเฉิน พบเป็นไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน โดยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ ซึ่งได้รับการดูแลอย่างรวดเร็ว

กระติ๊บเล่าว่า เดิมตั้งใจจะไปโรงพยาบาลเอกชน แต่คนขับแท็กซี่แนะนำให้ไปโรงพยาบาลรัฐแทน โดยมีเพื่อนชาวจีนช่วยแปลภาษา ผลการตรวจ CT Scan พบก้อนเล็กในไส้ติ่ง แพทย์ให้ยา กลับบ้านพร้อมยาฉีด โดยไม่ต้องผ่าตัดทันที

สิ่งที่ทำให้เจ้าตัวประทับใจที่สุดคือ ค่ารักษาถูกเกินคาด ทั้งค่าซีทีสแกน ค่าหมอ ค่ายา รวมแล้วไม่ถึง 3,600 บาท เทียบกับประสบการณ์เดิมที่ญี่ปุ่นที่ต้องจ่ายหลายหมื่นบาทแต่รอนานและทรมาน

ทั้งนี้ หลังอาการดีขึ้น กระติ๊บกลับมาเที่ยวต่อ พร้อมยืนยันยาที่ได้รับเป็นตัวยาคุณภาพ และทิ้งท้ายว่า “เลิฟจีนไปเลย!” ขณะที่แฟนคลับร่วมส่งกำลังใจให้หายป่วยและเดินทางปลอดภัยตลอดทริป

23 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 รัชกาลที่ 10 ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ 'โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ'

ย้อนไปเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2545 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ไปทรงประกอบพิธี วางศิลาฤกษ์ พร้อมพระราชทานนาม 'โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ' ณ บ้านปลาดุก หมู่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

สำหรับโรงพยาบาลแห่งนี้ เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลสงฆ์ต้นแบบ เพื่อบำบัดโรคาพาธ ดูแลสุขภาพพระภิกษุสามเณร และดูแลสุขภาพประชาชนผู้ด้อยโอกาส ในชนบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด

เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา พระสงฆ์ในชนบทของประเทศไทย เวลาอาพาธจะเข้ารับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลท้องถิ่นในอำเภอ หรือในจังหวัดของตนปะปนและแออัดกับคนไข้คฤหัสถ์ ซึ่งมีจำนวนมากอยู่แล้วจนเตียงและห้องไม่เพียงพอ อันเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม ในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญก็จะเข้าไปรับการบำบัดที่โรงพยาบาลสงฆ์ในกรุงเทพฯ ซึ่งก็มักจะมีปัญหาในเรื่องหาที่พำนักก่อนเข้าโรงพยาบาล รวมถึงปัญหาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่าง ๆ เช่น ค่าพาหนะและภัตตาหารตลอดถึงจะต้องหาพระเถระผู้ใหญ่ให้การรับรองเข้าโรงพยาบาลเป็นต้น

ปัญหาเรื้อรังตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็คือ พระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศ ต่างประสบความเดือดร้อนในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น พระสงฆ์และประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงต้องการให้มี 'โรงพยาบาลสงฆ์' ขึ้น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อขจัดขั้นตอนปัญหาต่าง ๆ ในการบำบัดอาพาธของพระสงฆ์ และเพื่อแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลท้องถิ่น ในการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บของประชาชนในชนบทด้วย แต่ความต้องการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว ยังมิได้รับการสนองตอบจากรัฐบาล เนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ คณะสงฆ์และประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเห็นควรรณรงค์ประชาชนร่วมกันบริจาคต้นทุนก่อสร้างตามกำลัง ก่อนที่จะได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งยังเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทราบถึงปัญหาและทรงตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลนี้ เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในมหามงคลเฉลิมพระชนม 50 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2545 พร้อมพระราชทานนามโรงพยาบาลนี้ว่า 'โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ'

10 ไอเทม พกขึ้นเครื่อง เมื่อต้องบินระยะไกล

มีบินไกล หายห่วง ไอเทมช่วยให้การเดินทางของคุณเหนื่อยหรือเพลียน้อยลงได้

Nitori สั่งใน Shopee ได้นะ

ต้องการปรับปรุงพื้นที่ในบ้านหรือเพิ่มสไตล์การตกแต่ง Nitori ตอบโจทย์ทุกสไตล์

เว็บไซต์: www.nitori.co.th
Shopee: https://shopee.co.th/nitori.th

22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 วันสวรรคต สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระองค์ทรงเป็นพระอัครมเหสี ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมเหสีพระองค์แรกตามแบบยุโรปและระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย หลังจากพระราชสวามีสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2477 พระองค์ประทับอยู่ประเทศอังกฤษจวบจนพระราชสวามีเสด็จสวรรคต และเสด็จนิวัติกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2492 ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลในขณะนั้น

ในอดีตกล่าวกันว่าพระองค์เป็นสตรีชาวไทยที่ทรงพระสิริโฉมสามารถเลือกฉลองพระองค์ยุโรปมาสวมใส่ได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังมีพระจริยวัตรนุ่มนวล พระพักตร์แจ่มใส แย้มพระสรวลอยู่เนืองนิตย์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ประสบกับโลกธรรมและความสูญเสียอันใหญ่ยิ่งมาแล้ว

พระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเคียงคู่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะพระบรมราชินีในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังหัวเมือง รวมทั้งต่างประเทศเพื่อเป็นการเชื่อมพระราชไมตรีระหว่างประเทศ ภายหลังการนิวัติประเทศไทยหลังการสวรรคตของพระราชสวามีแล้ว พระองค์ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหลายครั้ง 

เมื่อเสด็จย้ายไปประทับ ณ จังหวัดจันทบุรี ทรงดำเนินกิจการในด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และทรงพัฒนาการทอเสื่อ เพื่อเป็นโครงการตัวอย่างและนำความรู้นั้นออกเผยแพร่แก่ประชาชน นอกจากนี้ พระองค์ยังมีส่วนในการพัฒนาการสาธารณสุขและการศึกษาของชาวจันทบุรี โดยรับเป็นพระราชภาระในการปรับปรุงโรงพยาบาลพระปกเกล้า รวมทั้งทรงตั้งมูลนิธิพระปกเกล้าเพื่อสนับสนุนกิจการต่าง ๆ ของโรงพยาบาลพระปกเกล้า วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

พระองค์ทรงเริ่มมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคความดันพระโลหิตสูง ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 และวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เวลา 15.50 นาฬิกา พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยวายโดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัย รวมพระชนมายุได้ 79 พรรษา 5 เดือน 2 วัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top