Wednesday, 26 March 2025
LITE

4 มีนาคม ของทุกปี วันสถาปนาไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.) รำลึกวีรกรรมหญิงกล้า ‘ท้าวสุรนารี’ วีรสตรีของไทย

วันที่ 4 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนาไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.) โดยความเป็นมาของวันไทยอาสาป้องกันชาติสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 บรรพชนของไทยได้สร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ โดยได้สละชีวิต เลือดเนื้อ และหยาดเหงื่อ เข้าปกป้องเอกราชอธิปไตยของแผ่นดิน กล่าวคือ ท้าวสุรนารี วีรสตรีของไทย ได้รวมพลังประชาชนหญิงชายชาวนครราชสีมาจับอาวุธเข้าต่อสู้ขับไล่อริราชศัตรูอย่างเข้มแข็ง แม้จะเป็นเพียงประชาชนพลเมือง และมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่น้อยกว่า แต่ด้วยจิตใจที่แกร่งกล้าและอุดมการณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาเอกราชไว้ ทำให้สามารถขับไล่ข้าศึกจนแตกพ่ายไป เหตุการณ์นั้นนับเป็นวีรกรรมที่เสียสละอย่างแท้จริงของประชาชน ที่รวมพลังกันลุกขึ้นต่อสู้กับศัตรูจนได้รับชัยชนะ ทางราชการจึงได้ประกาศ ให้วันที่ 4 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันไทยอาสาป้องกันชาติ” หรือ วัน ทสปช.

ในส่วนของการจัดตั้งไทยอาสาป้องกันชาติ หรือ ทสปช. เกิดขึ้นเมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายอำนาจเข้ามาในประเทศไทย ราษฎรชาวไทยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากการช่วยเหลือของทางราชการ จึงได้ผนึกกำลังเป็นกลุ่มอาสาสมัครต่าง ๆ ขึ้นต่อต้าน โดยรวมตัวกันในรูปแบบและเรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ไทยอาสาป้องกันตนเอง (ทสป.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ราษฎรอาสาสมัครพัฒนาท้องถิ่นและป้องกันปราบปรามอาชญากรรม (รส.พป.) ราษฎรอาสาและป้องกันชายแดน ราษฎรอาสาสมัครป้องกันผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เป็นต้น

และเพื่อให้กลุ่มราษฎรต่าง ๆ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และให้เกิดการจัดตั้งการฝึกอบรม การควบคุมดูแลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รัฐบาลจึงได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยไทยอาสาป้องกันชาติ พ.ศ.2521 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติตั้งแต่ 4 กันยายน 2521 โดยให้กลุ่มราษฎรอาสาสมัครต่าง ๆ รวมเข้าเป็นรูปแบบเดียวกันเรียกว่า “ไทยอาสาป้องกันชาติ” โดยเรียก ชื่อย่อว่า “ทสปช.”

‘ตี๋ลี่เร่อปา’ นางเอกระดับท็อปของวงการบันเทิงจีน ปัจจุบันขึ้นแท่นนักแสดงฝ่ายหญิงที่มีค่าตัวสูงสุด

(3 ก.พ. 68) เพจ WorldPulse โลกเล่าเรื่อง โพสต์ข้อความถึงนางเอกสาวชาวจีน เชื้อสายอุยกูร์ ‘ตี๋ลี่เร่อปา’ ว่า อุยกูร์ในมุมที่ฉีกออกไปบ้าง

ตี๋ลี่เร่อปา (Dilireba) เป็นศิลปินชาวจีน เชื้อสายอุยกูร์ โลดแล่นในวงการบันเทิงได้หมดทั้งนักแสดงมือรางวัล นักร้อง นักเต้น และนางแบบ

ตี๋ลี่เร่อปา หรือ ชื่อจริง ดิลราบา ดิลมูรัต (Dilraba Dilmurat) สามารถพูดได้ 5 ภาษา คือ ภาษาอุยกูร์, จีนถิ่นซินเจียง, จีนกลาง, อังกฤษ และเกาหลี

เธอมีแฟนคลับติดตามใน Weibo มากกว่า 80 ล้านคน 

Dilireba เกิดและเติบโตในเมืองอูรุมชี เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ลืมตาดูโลกเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 1992 ปัจจุบัน อายุ 33 ปี เป็นนักแสดงหญิงที่มีค่าตัวสูงที่สุด ในวงการบันเทิงจีน รับค่าตัวต่อเรื่อง 80-100 ล้านหยวน หรือราว 400-500 ล้านบาท 

ในปี 2019 เธอรับเป็นพรีเซนเตอร์ให้แบรนด์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ แบรนด์ระดับโลกถึง 35 แบรนด์ รวมรับค่าตัวทั้งหมด 3,700 ล้านหยวน (17,325,000,000 บาท)

แฟนคลับคนหนึ่ง เคยเขียนบรรยายความน่ารักจิตใจงามของตี๋ลี่เร่อปาว่า เธอมักซื้อขนมนมเนย ให้แฟนคลับที่มารอหลายชั่วโมงเพื่อเจอเธอ

ปัจจุบัน 
แปลโดย : วัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น
ข้อมูลจาก : South China Morning Post
Who is Dilraba Dilmurat?

3 มีนาคม พ.ศ. 2544 เครื่องบินโบอิ้งการบินไทย ระเบิดคาลานจอด ก่อน ‘ทักษิณ ชินวัตร’ จะขึ้นเครื่องเพียงไม่กี่นาที

วันนี้ เมื่อ 24 ปีก่อน เครื่องบินโบอิ้ง 737-4D7 ของการบินไทย เที่ยวบินที่ 114 เกิดระเบิดขึ้นก่อนที่ผู้โดยสารขึ้นเครื่องไม่กี่นาที 

เครื่องบินลำดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้น กลางสนามบินดอนเมือง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้คนจำนวนมาก โชคดีของผู้โดยสารที่ยังไม่มีใครขึ้นบนเครื่องบิน จึงไม่มีผู้โดยสารสังเวยชีวิตในครั้งนั้น มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คนอยู่บนเครื่องและในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

เครื่องบินโบอิ้ง 737-4D7 ของการบินไทย เที่ยวบินที่ 114 ที่มีกำหนดการเดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปท่าอากาศยานเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เวลา 14.48 น. แต่ปรากฏว่า 35 นาทีก่อนกำหนดการบิน ขณะที่เครื่องจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เกิดการระเบิดขึ้น ผลการสอบสวนพบว่าเกิดการสันดาปที่ถังน้ำมันส่วนกลาง ซึ่งอยู่ใกล้กับระบบปรับอากาศซึ่งทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีความร้อนสูง ขณะเกิดเหตุยังไม่มีผู้โดยสารอยู่บนเครื่อง มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

ทั้งนี้ เที่ยวบินดังกล่าว มีบุคคลสำคัญหลายคนเดินทางไปด้วย รวมทั้งนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และพานทองแท้ ชินวัตร บุตร ซึ่งจะเดินทางไปร่วมพิธีเปิดศูนย์การค้าสุรวงศ์เซ็นเตอร์ ของ ‘เจ๊แดง’ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่จังหวัดเชียงใหม่

หลังเกิดเหตุนายทักษิณ แถลงว่า การระเบิดนี้เป็นการก่อวินาศกรรมเพื่อหวังลอบสังหารตนเอง โดยฝีมือของผู้เสียผลประโยชน์ชาวต่างชาติ (ว้าแดง) เนื่องจากนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล หลังจากที่เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานของไทยตรวจพบหลักฐานที่เชื่อว่าอาจเป็นร่องรอยของระเบิดซีโฟร์หรือเซมเท็กซ์ (Semtex)

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 เมษายน 2544 คณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่งแห่งชาติของสหรัฐ (National Transportation Safety Board) ที่ส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางเข้ามาร่วมสอบสวนด้วย แถลงว่า ได้นำชิ้นส่วนไปทดสอบที่ห้องทดลองของเอฟบีไอแล้วไม่พบร่องรอยของวัตถุระเบิด และว่ากรณีนี้คล้ายกับการระเบิดของเครื่องโบอิง 737 ของสายการบินฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของถังน้ำมันเชื้อเพลิง

ภายหลังการระเบิด ท่าอากาศยานในประเทศไทยได้กำหนดมาตรการตรวจสอบผู้โดยสารรัดกุมขึ้น มีการตรวจสอบบัตรประจำผู้โดยสารทุกคนก่อนขึ้นเครื่อง มีการเอกซเรย์กระเป๋า และสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดซื้อเครื่องบินประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ‘ไทยคู่ฟ้า’

2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ ในขณะประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ

วันนี้เมื่อ 91 ปีก่อน ... 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 คืออีกหนึ่งวันสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่อยากให้คนไทยทุก ๆ คนจดจำ สำนึก และตระหนักซึ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย เพราะนี่คือวันที่รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ โดยขณะนั้นพระองค์ได้ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ

หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 จากคณะราษฎรส่งผลให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีไปประทับที่ประเทศอังกฤษ และแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

หลังจากนั้นไม่นาน พระองค์ทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 โดยในพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ ปรากฏข้อความที่ใช้อ้างอิงกันเสมอในเวลาต่อมา ดังนี้

"... ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร ... บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ..."

อนึ่ง พระองค์ทรงกลับไปใช้พระนามและพระราชอิสริยยศเดิม ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา รวมระยะเวลาในการครองราชย์ได้ 9 ปี ขณะมีพระชนมายุได้ 41 พรรษา โดยไม่ทรงตั้งรัชทายาทเพื่อพระราชทานวโรกาสให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คัดเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เอง คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ 9 พรรษา ซึ่งพระองค์เป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477

‘ลิซ่า’ ใส่ทองเส้นเท่าโซ่โชว์ในเอ็มวีเพลงใหม่ อวดชาวเน็ตที่เคยตั้งคำถาม รวยจริงเหรอ? ไม่เห็นเคยใส่ทอง!

(1 มี.ค.68) ‘ลิซ่า ลลิษา มโนบาล’ ออกมายอมรับว่าในฐานะที่ตนเป็น Lady Boss แล้ว จำเป็นอย่างมากที่ตามอ่านคอมเมนต์ อยากใส่ใจชาวเน็ต เพื่อนำฟีดแบ็กมาปรับปรุง พัฒนางานและตนเอง

ล่าสุดชาวเน็ตก็ได้เห็นความใส่ใจของลิซ่า หลังเคยมีชาวเน็ตตั้งคำถามว่า ลิซ่า รวยจริงเหรอ? หรือสะกดจิตกันว่ารวย ทำไมไม่เคยเห็นซื้อทอง ใส่ทองออกงานเลย ในเอ็มวีเปิดตัวอัลบั้มเพลง Fuckuptheworld ก็เลยได้เห็นลิซ่าใส่ทองเส้นเท่าโซ่เต็มคอ เป็นการการันตีว่า ลิซ่ารู้คอมเมนต์คนไทยบางคน และชีแคร์!

จากประเด็นดังกล่าวทำชาวเน็ต เม้าธ์มอยคอมเมนต์กันต่อว่าลิซ่ายังต้องใส่ใจอีก 2 เรื่องคือ ลิซ่าต้องมีซีนรถฟอร์จูนเนอร์ และ ซีนสอบ กพ. ให้คนไทยบางส่วนสบายใจด้วย ทำโซเชียลฮากับประเด็นนี้อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2568

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
✨ประจำวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2568

🟢รางวัลที่ 1 รางวัลละ 6,000,000 บาท : 818894

🔴รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1 จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท : 818893 818895

🔴รางวัลเลขหน้า 3 ตัว รางวัลละ 4,000 บาท : 139 530

🔴รางวัลเลขท้าย 3 ตัว รางวัลละ 4,000 บาท : 781 656

🔴รางวัลเลขท้าย 2 ตัว รางวัลละ 2,000 บาท : 54

🟢รางวัลที่ 2 รางวัลละ 200,000 บาท : 626086 009425 706361 445710 966801

🟢รางวัลที่ 3 รางวัลละ 80,000 บาท :  
073890 543296 989397 164491 337602 
708975 265729 198946 939068 123509

🟢รางวัลที่ 4 รางวัลละ 40,000 บาท 
940408 033953 531409 036660 705735
083894 298466 403073 109672 776759
050705 892775 917346 596529 648142 
606229 534220 035786 656620 802886
924160 359272 461198 730796 347098
314436 652959 466654 963209 938342
190194 786889 482643 760808 764499
770896 433312 399140 261092 730690
783813 127601 121143 801667 406749
300157 052868 722324 815244 047197

🟢รางวัลที่ 5 รางวัลละ 20,000 บาท

608427 795363 399660 215784 720680 
622328 154530 495643 253930 172143 
993052 400084 237014 561656 880304
336835 325053 827929 332950 359521
108798 922294 272193 765241 850203
837254 196824 157570 713335 244432
255142 028348 879210 092952 836397
989074 372164 816587 641873 679023
906844 989237 55774 060137 753659
450981 667158 506232 219953 701748
750470 583089 660401 549267 767982
824645 510846 702804 291205 519732
419305 432973 429243 983571 805860
376226 519069 284819 875552 840042
140002 384608 887529 968167 777059
965121 266027 933882 609909 764291
452554 560073 163865 013081 522828
712633 289079 751539 015145 735425
044736 947659 261524 554737 015230
181502 336944 153215 788314 559492

1 มีนาคม พ.ศ. 2433 รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย

รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย จากกรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีมา หลังจากที่ทำการสำรวจพื้นที่ เพื่อทำการสร้างทางรถไฟ เมื่อปี พ.ศ.2430 ดังมีพระราชดำริบางตอนว่า “การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้ความเจริญแก่บ้านเมืองได้ เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถไฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยากให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ไปมาถึงกันได้โดยสะดวก....”

ย้อนกลับไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากการทรงทอดพระเนตรการสร้างทางรถไฟในชวาและทรงประทับรถไฟในอินเดีย พระองค์ทรงเห็นว่ารถไฟจะทำให้ราชอาณาจักรสยามมีความเจริญยิ่งขึ้น และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับราชอาณาจักรได้ ซึ่งในขณะนั้นราชอาณาจักรสยามกำลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกในการล่าอาณานิคม ดังนั้นการสร้างทางรถไฟจึงได้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา ดังมีข้อความแสดงพระราชดำริบางตอนว่า

"การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้ความเจริญแก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถไฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยากให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ไปมาถึงกันได้โดยสะดวกเร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปทางเป็นการลำบาก ก็สามารถจะย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย เป็นการเปิดโอกาสให้อาณาประชาราษฎร์ มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไปและทำทรัพย์สมบัติกรุงสยามให้มากมียิ่งขึ้นด้วย ทั้งเป็นคุณประโยชน์ในการบังคับบัญชา ตรวจตราราชการบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขได้โดยสะดวก"

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงขุดดินถมทางรถไฟหลวงสายแรก

สำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาได้แล้วเสร็จบางส่วน ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระอัครราชเทวี ไปทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักร พระองค์ทรงตอกหมุดตรึงรางรถไฟกับไม้หมอนและเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกิจการของกรมรถไฟสายเหนือและกรมรถไฟสายใต้เป็นกรมรถไฟหลวง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และได้เปลี่ยนขนาดทางกว้างรางรถไฟให้เป็นทางกว้าง 1 เมตรทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกในประเทศไทยเพื่อเชื่อมทางรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าด้วยกัน

จากนั้นรัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มีผลใช้บังคับวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 กรมรถไฟจึงได้เปลี่ยนเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย และมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคมตามพระราชบัญญัตินี้

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างสูง จึงได้จัดสร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534 ณ บริเวณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักร และถือเอาวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟอีกด้วย

28 กุมภาพันธ์ 2501 ในหลวง ร.9 - พระราชินี เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวร และสมโภชพระพุทธชินราช ณ พิษณุโลก

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เวลา 09.30 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังศาลเทพารักษ์ พระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อทรงบวงสรวงสักการะเทพารักษ์และพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยในโอกาสนี้ได้พระราชทานผ้าแพรสีชมพูสำหรับผูกที่หน้าศาลเทพารักษ์เป็นเครื่องสักการะ  

จากนั้น ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชพระพุทธชินราช ในพระราชพิธีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายถวายพัดรัตนาภรณ์ พร้อมด้วยต้นไม้ทองและต้นไม้เงิน ทั้งยังทรงเปลื้องเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตน์ราชภรณ์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ขณะที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเปลื้องผ้าสะพักถวายแด่พระพุทธชินราช  

ในโอกาสเดียวกัน พระองค์ทรงพระราชทานผ้าไตรแก่พระสงฆ์จำนวน 20 รูป เพื่อประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ จากนั้นได้ทรงประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และทรงร่วมพิธีถวายดอกไม้เพลิงเป็นพุทธบูชา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นผู้จุดดอกไม้เพลิง หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธี เจ้าพนักงานได้เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระพุทธชินราช ก่อนที่ทั้งสองพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ  

พระราชพิธีครั้งนี้สะท้อนถึงพระราชศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระพุทธศาสนา และเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย

27 กุมภาพันธ์ 2514 ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชินี เสด็จฯ จ.อุตรดิตถ์ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ‘เขื่อนสิริกิติ์’

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญในประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ ณ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

เขื่อนแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า 'เขื่อนผาซ่อม' เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา โดยเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อกั้นแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในลำน้ำสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาขนานนามใหม่ว่า 'เขื่อนสิริกิติ์' เพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์

เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการกักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน การผลิตกระแสไฟฟ้า และการป้องกันน้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่ราบสองฝั่งแม่น้ำน่านตั้งแต่จังหวัดอุตรดิตถ์ลงไป ซึ่งแต่เดิมมักประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ

รัฐบาลได้วางแผนพัฒนาลุ่มน้ำน่านเป็น 3 ระยะ โดยเขื่อนสิริกิติ์เป็นส่วนหนึ่งของแผนในระยะแรก เพื่อใช้กักเก็บน้ำให้เพียงพอต่อการเกษตรและการผลิตไฟฟ้า ส่วนระยะที่สองและสาม มีการวางแผนก่อสร้างเขื่อนนเรศวรและเขื่อนอุตรดิตถ์เพื่อทดน้ำและกระจายน้ำให้ทั่วถึงมากขึ้น

การก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2511 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2515 โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนตัวเขื่อนและระบบชลประทาน ซึ่งดำเนินการโดยกรมชลประทาน และส่วนของโรงไฟฟ้า ซึ่งรับผิดชอบโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ตัวเขื่อนมีโครงสร้างที่แข็งแรง สามารถกักเก็บน้ำได้ในปริมาณมหาศาล และยังมีอุโมงค์ระบายน้ำ อุโมงค์ส่งน้ำเข้าเครื่องกังหันผลิตไฟฟ้า และระบบกระจายน้ำที่ช่วยให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจุบันเขื่อนสิริกิติ์ยังคงเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ช่วยให้พื้นที่เกษตรกรรมหลายล้านไร่ได้รับน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมธรรมชาติรอบเขื่อน รวมถึงศึกษาระบบการจัดการน้ำของไทย

54 ปีผ่านไป นับตั้งแต่พิธีวางศิลาฤกษ์ในวันนั้น เขื่อนสิริกิติ์ยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตของประชาชน และเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของพระราชกรณียกิจที่ทรงคุณค่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

26 กุมภาพันธ์ 2500 การเลือกตั้งครั้งที่ 9 ของไทย สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์ ในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม นับคะแนนยืดเยื้อถึง 7 วัน 7 คืน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ถือเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 9 ของประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดวาระ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495) การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกจัดขึ้นโดยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และถูกกล่าวขานว่าเป็น 'การเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย'

การเตรียมการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส

ก่อนการเลือกตั้ง มีรายงานว่า พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ได้จัดเลี้ยงกลุ่มอันธพาลและนายตำรวจระดับสูง เพื่อขอให้ช่วยสนับสนุนพรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งมีจอมพล ป. เป็นหัวหน้าพรรค นอกจากนี้ ยังมีการทุจริตในกระบวนการเลือกตั้งหลายประการ เช่น การเพิ่มชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างผิดปกติ, การติดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งล่าช้าหรือไม่ติดเลย, การพบบัตรเลือกตั้งปลอมที่มีการกาเครื่องหมายเลือกผู้สมัครของพรรคเสรีมนังคศิลาไว้ล่วงหน้า (เรียกว่า 'ไพ่ไฟ') การใช้กลุ่ม 'พลร่ม' ที่เวียนไปลงคะแนนเสียงให้พรรคเสรีมนังคศิลาในหลายเขต, การออกแบบคูหาลงคะแนนให้อยู่ห่างจากจุดรับบัตรเลือกตั้งเพื่อสร้างความสับสน, วันเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความรุนแรง

ในวันเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 มีเหตุการณ์ไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นหลายกรณี โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรงและข่มขู่ผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เช่น กลุ่มอันธพาลบุกเข้าทำร้ายกรรมการเลือกตั้งประจำหน่วยและลงคะแนนแทน, ผู้ใช้สิทธิ์บางรายที่แสดงความคิดเห็นขัดแย้ง เช่น ตะโกนว่า "นายควงชนะแน่" ถูกทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส, บางหน่วยเลือกตั้งไม่เปิดให้ลงคะแนนจนถึงเที่ยงวัน และบางหน่วยเปิดให้ลงคะแนนเกินเวลาที่กำหนด

ในระหว่างการนับคะแนน พบว่าหมายเลข 25-33 ซึ่งเป็นของพรรคเสรีมนังคศิลา ถูกนับเป็นบัตรดี แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดหรือเสียหาย แต่บัตรเสียของผู้สมัครพรรคอื่นกลับถูกนับเป็นบัตรเสียตามเดิม, ที่หน่วยเลือกตั้งสวนลุมพินีเกิดไฟดับระหว่างการนับคะแนน เมื่อไฟกลับมา คะแนนเสียงของพรรคเสรีมนังคศิลาเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ พบว่าคะแนนเสียงของหมายเลข 25-33 ใน 13 หน่วยเลือกตั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 200% เมื่อเทียบกับจำนวนผู้มาลงทะเบียน

เมื่อผลการเลือกตั้งถูกเปิดเผย ประชาชนจำนวนมากแสดงความไม่พอใจ โดยเฉพาะกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ร่วมสังเกตการณ์และพบหลักฐานการโกงเลือกตั้งมากมาย สื่อมวลชนและประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เต็มไปด้วยการทุจริตและไร้ความชอบธรรม อย่างไรก็ตาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ออกแถลงการณ์ผ่านหนังสือพิมพ์ว่า "อย่าเรียกว่าการเลือกตั้งสกปรกเลย ควรเรียกว่าเป็นการเลือกตั้งไม่เรียบร้อย"

ความไม่พอใจของประชาชนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้สถานการณ์การเมืองร้อนระอุ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำกองทัพเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคเผด็จการทหาร ซึ่งดำเนินต่อไปจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่นำไปสู่การล่มสลายของระบอบเผด็จการทหารในที่สุด

‘ลิซ่า’ เตรียมสร้างประวัติศาสตร์ อีกครั้ง หลังมีคิวขึ้นโชว์บนเวทีประกาศรางวัลออสการ์ 2025

‘ลิซ่า’ จะได้ขึ้นแสดงบนเวทีออสการ์ที่จะมีการถ่ายทอดสดช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 3 มี.ค. 68 นี้ สามารถรับชมได้ทาง ดิสนีย์พลัส ฮอตสตาร์ ทั้งช่วงพรมแดง และประกาศรางวัล

(25 ก.พ. 68) ดิ อะคาเดมี่ อวอร์ดส ผู้จัดงานประกาศรางวัลออสการ์ เวทีมอบรางวัลด้านภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประกาศว่า ‘ลิซ่า’ ลลิษา มโนบาล, Doja Cat และ RAYE ที่ร้องเพลง Born Again ร่วมกัน จะได้ขึ้นแสดงในงานประกาศรางวัลออสการ์ 2025 ที่จะมีขึ้นในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม 2568 ตามเวลาประเทศไทย

Born Again เป็นเพลงประกอบซีรีส์ The White Lotus ซีซัน 3 ที่ลิซ่านำแสดง โดยเธอได้ร่วมร้องเพลงนี้กับ Doja Cat และ RAYE นักร้องสาวชาวอังกฤษซึ่งเป็นผู้แต่งและโปรดิวซ์เพลงนี้

อย่างไรก็ตาม การขึ้นแสดงครั้งนี้ได้รับเสียงวิจารณ์ตามมา เนื่องจากในปีนี้ไม่มีศิลปินเจ้าของผลงานเพลงที่ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้ขึ้นเวทีแสดงแม้แต่รายเดียว

ขณะที่นักร้องเพลง Born Again ทั้ง 3 คน ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับเวทีออสการ์เลยเพราะเป็นเพลงประกอบซีรีส์

นอกจากลิซ่าแล้ว ผู้ที่มีรายชื่อขึ้นแสดงบนเวทีออสการ์ในปีนี้ยังประกอบด้วย Queen Latifah ที่เคยได้เข้าชิงรางวัลในปีก่อน แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ในปีนี้ รวมถึง ซินเธีย เอริโว และอาริอานา กรานเด้ ผู้มีรายการเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาเกี่ยวกับการแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง Wicked โดยทั้งคู่จะมาร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งไม่ได้เข้าชิงในสาขาเพลงแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ต้องรอติดตามชมกันว่าโชว์ของ 'ลิซ่า' บนเวทีออสการ์จะออกมาในรูปแบบใด โดยเบื้องต้น เดอะ ฮอลลีวู้ด รีพอร์ตเตอร์ สื่อบันเทิงชั้นนำ รายงานว่าการแสดงในปีนี้จะมีขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชุมชนผู้สร้างหนัง และตำนานในวงการภาพยนตร์ และนอกจากศิลปินที่กล่าวถึงแล้วยังมีคณะนักร้องประสานเสียง Los Angeles Master Chorale มาร่วมแสดงด้วย

รับชมถ่ายทอดสดทาง ดิสนีย์พลัส - ทรูวิชั่นส์

สำหรับประเทศไทย สามารถรับชมการถ่ายทอดสดงานประกาศรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 97 ทั้งช่วงเดินพรมแดง และพิธีมอบรางวัล ในเช้าวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม  2568 เวลา 06:30 น. ตามเวลาประเทศไทย ได้บนแอปพลิเคชัน Disney+ Hotstar และทางช่อง True Film 1 (222) และแอปทรูวิชั่นส์ นาว แพ็กเกจ NOW PRIME

ส่วนผู้ที่พลาดการรับชมสด สามารถดูการถ่ายทอดสดแบบย่อ 90 นาที ได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจบงาน และสามารถรับชมได้ตลอด 24 วันบน Disney+ Hotstar โดยงานประกาศรางวัลออสการ์ครั้งนี้ได้ Conan O'Brien ผู้จัดรายการ และนักเขียนรางวัล Emmy® มารับหน้าที่พิธีกรเป็นครั้งแรก

25 กุมภาพันธ์ 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นอย่างสมพระเกียรติ พระราชพิธีนี้ถือเป็นโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์และแสดงถึงพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ กระบวนการในพระราชพิธีได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อทางศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา ซึ่งมีรากฐานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม พ.ศ. 2468 โดยมีลำดับพระราชพิธีดังนี้ การเตรียมพระราชพิธี, พระราชพิธีเบื้องต้น, พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, พระราชพิธีเบื้องปลาย และ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร

สำหรับกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระมหามณเฑียร เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 

ช่วงเช้า (09.15 น.)พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์เต็มยศทหารเรือ ทรงสายสะพานนพรัตนราชวราภรณ์ เสด็จฯ ออกจากพระที่นั่งบรมพิมานโดยกระบวนราบ ประทับพระราชยานกง เสด็จไปยังหมู่พระมหามณเฑียร เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พิธีสรงพระมุรธาภิเษก (09.53 น.)ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์เป็นพระภูษาเศวตพัสตร์และทรงสะพักขาวขลิบทองคำ ประทับบนตั่งไม้อุทุมพรหุ้มผ้าขาวในมณฑปพระกระยาสนาน พระราชครูวามเทพมุนีและพราหมณ์พิธีกราบบังคมทูลเชิญเสด็จสรงน้ำพระมุรธาภิเษก ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญที่แสดงถึงการเปลี่ยนพระราชสถานะเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์

จากนั้นเสด็จขึ้นประทับ ณ พระที่นั่งอัฐทิศภายใต้พระบวรเศวตฉัตร ทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีพิชัยสงครามประจำวันพฤหัสบดี ทรงรับน้ำอภิเษกจากราชบัณฑิตและพราหมณ์ทั้งแปดทิศ ต่อด้วยการเสด็จประทับบนพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เพื่อทรงรับพระสุพรรณบัฏ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องขัตติยราชูปโภค รวมทั้งพระแสงอัษฎาวุธจำนวน 19 รายการ

เมื่อเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ซึ่งเป็นคำปฏิญาณของพระมหากษัตริย์ในการครองแผ่นดิน ความว่า

“ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรงราชภาระครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน เราแผ่ราชอาณาเหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติ เปนที่พึ่ง จัดการปกครองรักษาป้องกัน อันเปนธรรมสืบไป ท่านทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบาย เทอญฯ”

ในวันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเป็นพระบรมราชินี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พร้อมกับการเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งเป็นพระราชพิธีครั้งแรกในรัชกาล

อีกหนึ่งความสำคัญคือ การบันทึกภาพยนตร์ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" เป็นภาพยนตร์ข่าวที่ผลิตโดยกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง ซึ่งจัดทำขึ้นโดยได้รับพระบรมราชานุญาตเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจเก็บไว้เป็นที่ระลึก ภาพยนตร์ชุดนี้บันทึกเหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปลายปี พ.ศ. 2468 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกภาพยนตร์ในพระราชพิธีสำคัญที่จัดขึ้นตามโบราณราชประเพณีของไทย

24 กุมภาพันธ์ของทุกปี วันศิลปินแห่งชาติ รำลึกถึงพระอัจฉริยภาพของรัชกาลที่ 2 และยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์มรดกศิลปะไทย

วันศิลปินแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยพระปรีชาสามารถในหลายด้านของศิลปกรรม อาทิ กวีนิพนธ์ ดนตรี และประติมากรรม

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีผลงานที่ยิ่งใหญ่ในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกับช่างประติมากรรมสมัยนั้นในการแกะสลักบานประตูไม้พระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นงานประติมากรรมที่ถือเป็นผลงานชั้นเยี่ยม ปัจจุบันบานประตูนี้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมที่มีคุณค่ามากมาย เช่น "อิเหนา" ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 และยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกอีกถึง 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในสาขาวรรณกรรม เพื่อแสดงถึงความสำคัญในวงการศิลปะและวรรณกรรมโลก

ด้วยพระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆ จึงมีการจัดตั้งวันศิลปินแห่งชาติขึ้นเพื่อเชิดชูและยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานที่ยิ่งใหญ่ โดยในปี พ.ศ. 2527 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งในขณะนั้นสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำ "โครงการศิลปินแห่งชาติ" เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศิลปินผู้มีผลงานดีเด่นในทุกสาขาของศิลปะ

โครงการนี้มีจุดประสงค์ในการส่งเสริมและยกย่องศิลปินที่ช่วยรักษาและสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของชาติจากอดีตสู่ปัจจุบัน โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาและคัดเลือกศิลปินที่มีผลงานทรงคุณค่า ซึ่งตั้งแต่เริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน ได้มีศิลปินหลายท่านที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติในสาขาต่างๆ

การยกย่องศิลปินแห่งชาติไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมคุณค่าของศิลปะในปัจจุบัน แต่ยังช่วยถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้คงอยู่และเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังมีการจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติและศิลปะพื้นบ้านทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่ เพื่อสร้างความตระหนักและยกย่องผลงานศิลปะที่มีคุณค่าของไทย

ประวัติ ‘กิมย้ง’ ผู้เขียน ‘มังกรหยก’ ผู้สร้างจักรวาลแห่งยุทธภพ และจอมยุทธ์ผู้กล้า สะท้อน!! ‘ภาพสังคม-ประวัติศาสตร์จีน-ปรัชญาเต๋า-ขงจื้อ’ ด้วยการต่อสู้ที่เข้มข้น

(23 ก.พ. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘All around China’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

ประวัติคุณกิมย้ง ผู้เขียนมังกรหยก 

1. ภูมิหลังครอบครัว ความชอบ และการศึกษา 

สารภาพว่าไม่ใช่แฟนตัวยงของคุณกิมย้งครับ แต่เห็นมังกรหยกกลับมาบูมอีก แล้วก็ดูเป็นวรรณกรรมอมตะที่ไม่หายไปตามเวลาเลย ผมอยากรู้จนต้องมาหาประวัติคนเขียนแล้วก็ต้องบอกว่า Wow จริงๆ ต่อไปคงต้องลองอ่านจริงๆ จังๆ ละครับ (ถ้ามีเวลา) คุณกิมย้ง 金庸 จีนกลาง - จินยง) มีชื่อจริงว่า ฉา เหลียงยง (查良镛) เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1924 ที่เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ครอบครัวเป็นตระกูลที่มีการศึกษาอย่างดี และคุณกิมย้งก็รักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะวรรณกรรมจีนคลาสสิก เช่น สามก๊ก และ ซ้องกั่ง ในปี ค.ศ. 1944 ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย Chongqing Central Political School (重庆中央政治学校外交系) แต่ไม่ชอบรูปแบบการสอนเลยย้ายไปศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยตงอู่ ( 东吴大学Dongwu University)

2. การทำงาน
หลังจากสำเร็จการศึกษา ก็ทำงานให้กับ หนังสือพิมพ์ต้า กงเป่า (大公报) ในเซี่ยงไฮ้ และต่อมาย้ายไปฮ่องกง ปี ค.ศ. 1959 คุณกิมย้งก่อตั้ง หนังสือพิมพ์หมิงเป้า (明报) ซึ่งกลายเป็นสื่อที่มีอิทธิพลสูงมากในฮ่องกงเวลานั้น

3. ผลงานวรรณกรรมและนวนิยายกำลังภายใน
คุณกิมย้งเริ่มเขียนนวนิยายกำลังภายในในปี ค.ศ. 1955 และสร้างจักรวาลแห่ง "ยุทธภพ" ขึ้นมา โดยแต่งนิยายทั้งหมด 15 เรื่อง ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการวรรณกรรมจีน

ผลงานเด่นมีดังนี้ครับ:
• "ไตรภาคมังกรหยก" (The Condor Trilogy):
•《射雕英雄传》(มังกรหยก เล่ม 1, The Legend of the Condor Heroes, 1957-1959)
•《神雕侠侣》(มังกรหยก เล่ม 2, The Return of the Condor Heroes, 1959-1961)
•《倚天屠龙记》(ดาบมังกรหยก, The Heaven Sword and Dragon Saber, 1961-1963)
• 《天龙八部》(แปดเทพอสูรมังกรฟ้า, Demi-Gods and Semi-Devils, 1963-1966)
• 《笑傲江湖》(กระบี่เย้ยยุทธจักร, The Smiling, Proud Wanderer, 1967-1969)
• 《鹿鼎记》(อุ้ยเสี่ยวป้อ, The Deer and the Cauldron, 1969-1972)

นิยายจะเต็มไปด้วยฉากต่อสู้ที่เข้มข้น ปรัชญาเต๋า พุทธ และขงจื๊อ รวมถึงสะท้อนสภาพสังคมและประวัติศาสตร์จีน 

4. อิทธิพลและการดัดแปลงเป็นสื่ออื่น
นวนิยายของคุณกิมย้งถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงเกม การ์ตูน เช่น มังกรหยก และ แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วเอเชีย และยังได้รับการแปลเป็นหลายภาษา เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และเกาหลี

5. บทบาทด้านวิชาการและวัฒนธรรม
คุณกิมย้งได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Cambridge โดยงานวิจัยของเขาเกี่ยวกับ "อิทธิพลของปรัชญาขงจื๊อต่อการเมืองจีน" และเคยเป็นศาสตราจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง

6. บั้นปลายชีวิตและการจากไป
วันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2018 กิมย้งถึงแก่กรรมในฮ่องกง ขณะมีอายุ 94 ปี

*นอกจากนี้หลังจากที่คุณกิมย้งประสบความสำเร็จในในงานเขียน ก็ได้ไปศึกษาต่อปริญญาเอกที่ Cambridge University โดยใช้เวลาทั้งหมด 13 ปี (1992-2005) แต่ผมเดาว่าน่าจะเรียนไปทำงานไปเพราะป.เอกที่อังกฤษแทบไม่ต้องเจออาจารย์เลยครับผม ชัวร์ 

หัวข้องานวิจัยคือ 《试论中国历史上的儒家思想与法律制度》("An Examination of the Relationship Between Confucianism and the Rule of Law in Chinese History")ซึ่งน่าสนใจมากๆเพราะเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของลักทธิขงจื้อกับระบบกฏหมายในประวัติศาสตร์จีน 

สื่อมวลชนอาวุโส วิเคราะห์ ‘มังกรหยก’ หลังจากได้ชม ชี้!! นี่คือ ‘สีจิ้นผิง’ ในยุคปัจจุบัน ดำเนิน!! นโยบายการทูต สร้างมิตรภาพเชิงบวกกับนานาชาติ ‘ไม่รุกราน-ไม่รังแกใคร’

(23 ก.พ. 68) นายเถกิง สมทรัพย์ อดีตนายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับ ‘มังกรหยก’ โดยมีใจความว่า ...

ผมเขียนบทความนี้ในฐานะคนดูหนังที่ไม่มีข้อมูลเชิงลึกในการสร้างหนัง แต่มีโอกาสไปจีนบ่อยๆ และอ่านโน่นนี่นั่นเอามาปะติดปะต่อกัน หลังจากที่ชม มังกรหยก เวอร์ชั่น ล่าสุดของ ฉีเคอะและเซียวจ้าน ดังนี้

1 . มังกรหยก ภาคนี้ คือหนังสงครามที่มี บรรดายอดฝีมือห้ำหั่นกันราวกับ Superhero เทคนิคอลังการ สนุกสนานตลอดเรื่อง

2 ฉีเคอะ จับเอา ก๊วยเจ๋งกับอึ้งย้ง โยนเข้าไปในสงครามระหว่างมองโกล กับ ชาวกิม และชาวฮั่นในสมัยราชวงศ์ซ่ง ตัดตัวละครอื่นๆออกไปเกือบหมด เน้นสงครามของเจงกิสข่านที่จะบุกจีน

3 มังกรหยก ภาคนี้จึงเป็นหนังสงครามที่ไม่ขาดอรรถรสหนังกำลังภายในของชาวยุทธภพ ความสนุกสุดมันจึงบังเกิดทั้งฉากสงครามและฉากดวลของยอดยุทธภพ

4 ก๊วยเจ๋ง กับ อึ้งย้ง แสดงบทบาทของการเป็น ผู้รักชาติเต็มที่ ตามเนื้อเรื่องในมังกรหยก ที่ทั้งคู่ต่อต้านการรุกรานของมองโกล

5 หนังนำเรื่องพิชัยสงครามของ งักฮุย วีรบุรุษผู้ซื่อสัตย์จงรักภักดีแห่งราชวงศ์ซ่ง มาเน้นในเนื้อหาเป็นพิเศษ

6 ผมขยายความเรื่อง “งักฮุย ” นิดนึง คือ งักฮุยได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ในยุคก่อน “กวนอู” เขาได้รับอิทธิพลจากแม่ที่สั่งสอนให้เขาจงรักภักดีต่อแผ่นดินและต่อต้านศัตรูจากชนเผ่านอกกำแพงใหญ่

7 งักฮุย เห็นการล่มสลายของราชวงศ์ซ่งเหนือ เมื่อโตขึ้นเขาเข้ารับราชการทหารในราชวงศ์ซ่งใต้ โดยก่อนที่งักฮุยจะออกจากบ้านไปรับใช้ชาติ มารดาได้สลักอักษรจีน 4 ตัวไว้ที่กลางแผ่นหลังของบุตรชาย ความว่า 精忠報國 จิงจงเป้ากว๋อ (ซื่อตรง ภักดี ตอบแทน ชาติ)

8 ผมดูหนังแล้ว คิดเล่นๆว่า “งักฮุย” คือ บุคคลที่กิมย้งใช้เป็นแคแรคเตอร์ “ก๊วยเจ๋ง” ทั้งเกิดในสมัยซ่ง มีแม่เป็นผู้คุ้มครองผลักดันให้รักชาติ จน ก๊วยเจ๋ง ยืดหยัดต่อต้านเจงกิสข่านด้วยจิตวิญญาณผู้รักชาติ

9 งักฮุย เป็นวีรบุรุษผู้ซื่อสัตย์ของชาวจีนมาหลายร้อยปี จนกระทั่ง “ราชวงศ์ชิงของแมนจู” เข้ายึดจีนปกครองชาวฮั่น ราชวงศ์ชิง จึงส่งเสริม “กวนอู” ขึ้นมาเป็นสัญญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ จงรักภักดี จนคนทั่วไปนับถือ กวนอูมากกว่า “งักฮุย” เพราะ “งักฮุย ต่อต้าน ชนกลุ่มน้อยที่มารุกรานชาวฮั่น” แต่ กวนอู ไม่มีการต่อต้านชนเผ่าอื่น ( กวนอู เป็นนับถือมานานแล้ว ดังจะเห็นว่าในสมัยราชวงศ์หมิง สร้างศาลเจ้ากวนอูไว้บนกำแพงด่านเจี่ยยู่กวน สุดเส้นทางสายไหม เมื่อแมนจูมาปกครอง แมนจูกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตชาวฮั่น รับวิถีชาวฮั่นมาใช้บริหารบ้านเมือง รวมทั้งส่งเสริมการนับถือเทพเจ้ากวนอูมากขึ้น)

10 แต่ “มังกรหยก 2025” สร้างบทสรุปความสามัคคี แม้เริ่มต้น มองโกลจะมีท่าทีรุกไล่ทำสงครามกับจีน สุดท้ายก็ยอมล่าถอยในยุคเจงกิสข่าน ก่อนจะมาอีกครั้งในยุคหลังจนยึดจีนได้และก่อตั้งราชวงศ์หยวน 

11 “ก๊วยเจ๋ง” จะมีบทพูด เน้นว่า วีรบุรุษที่แท้จริง ไม่ใช่คนที่ไปรุกรานแผ่นดินอื่น ทำร้ายฆ่าฟันคนอื่น แต่วีรบุรุษแท้จริง ต้องบำรุงแผ่นดิน บำรุงสุขให้ประชาชน …

12. ถ้าเราไปจีนทุกวันนี้เราจะเห็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของชนเผ่า 56 เผ่าในประเทศจีน อยู่ทั่วทุกแห่งหน…มองโกล ในมังกรหยก เวอร์ชั่นยุค สีจิ้นผิง จึงเป็นชนเผ่าแห่งมิตรภาพ

13 “สีจิ้นผิง” จะมีสุนทรพจน์สำคัญอยู่ประเด็นหนึ่งคือ เขายึดหลักการสร้างมิตรภาพเชิงบวกกับนานาชาติ ไม่รุกราน ไม่รังแก ใคร บางสุนทรพจน์เขาจะยกเรื่อง “แม่ทัพเรือเจิ้งเหอ” ที่นำกองทัพเรือไปสร้างไมตรีกับทุกประเทศทั่วน่านน้ำในยุคจักรพรรดิราชวงศ์หมิง โดยยึดหลัก ไปอย่างมีไมตรี ไม่รุกรานยึดครองใคร

14 สาระสำคัญหนึ่งในมังกรหยก คือ นโยบายการทูตของจีนปัจจุบัน 

15 ผมสงสัยอยู่ประเด็นเดียวคือ อาวเอี้ยงฮง พิษประจิม…ถ้าเอาการเมืองระหว่างประเทศมาตีความ…อาวเอี้ยงฮง จะหมายถึงใคร

16 แล้ว อาวเอี้ยงฮง ทำศึกกับ เจงกีสข่าน วินาศสันตะโร…จนต้องจบสิ้นในสมรภูมิด้วยน้ำมือมองโกล…..หนังจะต้องการสื่ออะไร

17 หรือจะบอกว่า ใครอย่ามาครอบงำแผ่นดินมองโกลเพื่อสร้างให้มองโกลต้องมาขัดแย้งกับเพื่อนบ้านอย่างจีน (เหมือนยูเครนกับรัสเซีย)

18….ผมก็เขียนไปเรื่อยเปื่อยตีความไปตามความคิดข้อมูลที่เคยได้ยินได้อ่านมา…ถูกผิดอย่างไรช่วยแนะนำด้วยครับ

มังกรหยก สนุกเสมอ อมตะตลอดกาล

ใครจะเน้นวิเคราะห์ความรักหนุ่มสาวสามเส้า ก็ได้

ใครจะเน้นวิเคราะห์เนื้อหาที่ดัดแปลงใหม่ก็ได้

ไปชมเถอะครับ…คุ้มค่าทุกนาที

ฉีเคอะ นายแน่มาก

เซียวจ้าน …นายเป็น ก๊วยเจ๋ง ที่เจ๋งจริงๆ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top