Monday, 5 June 2023
LITE

๕ พฤษภาคม วันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
เกล้ากระหม่อม คณะผู้บริหาร และพนักงาน สำนักข่าวออนไลน์ THE STATES TIMES

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ประสูติเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2527 เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ หรือพระนามลำลองว่าพระองค์ติ๊ด ประสูติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน มีพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระองค์และพระกนิษฐภคินีมีฐานันดรศักดิ์เป็น 'พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า' ตั้งแต่ประสูติ ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งพระยศดังกล่าวเทียบเท่าตำแหน่ง 'พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า'

วันฉัตรมงคล ๔ พฤษภาคม ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน สำนักข่าวออนไลน์ THE STATES TIMES

วันฉัตรมงคล ตรงกับวันที่ 4 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรีและราชอาณาจักรไทย

ในหลวงรัชกาลที่ 10 โปรดให้ตั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง มีการเฉลิมพระปรมาภิไธยตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว" และมีพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป"

ทั้งนี้ คำว่า 'ฉัตรมงคล' หมายความว่า พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร จะกระทำในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้ถูกต้องสมบูรณ์ โดยพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะไม่ใช้คำว่า 'พระบาท' นำหน้า 'สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว' และคำสั่งของพระองค์ก็ไม่เรียกว่า 'พระบรมราชโองการ' และอีกประการหนึ่งคือ ยังไม่มีการใช้ นพปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร 9 ชั้น

3 พฤษภาคม ของทุกปี วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ตระหนักถึงเสรีภาพการแสดงออกของสื่อมวลชน

ย้อนเวลากลับไปราว 30 ปีก่อน เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1991 (หรือ พ.ศ.2534) องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

สาเหตุของการมีวันสำคัญนี้ เกิดจากการที่มีนักข่าวภาคสนามมากมาย ต้องเสียชีวิต หรือถูกจับเป็นตัวประกัน และรวมไปถึงถูกคุกคาม จากการทำหน้าที่รายงานข้อเท็จจริง จึงเป็นที่มาของการสร้างสัญลักษณ์ของความมีเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชน โดยจัดตั้งให้ทุก ๆ วันที่ 3 พฤษภาคม เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ‘ปรีดี พนมยงค์’ ถึงแก่อสัญกรรม หลังลี้ภัยนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารปี 2490

ครบรอบ 40 ปี ‘ปรีดี พนมยงค์’ อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม

ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)

1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น ‘วันแรงงานแห่งชาติ’ ระลึกถึงความสำคัญผู้ใช้แรงงาน

ทุกวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น 'วันแรงงานแห่งชาติ' หรือที่เรียกว่า 'Labour Day' ถือเป็นวันหยุดประจำปีที่มีผลมาจากการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน เพื่อเฉลิมฉลองผลงานทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ใช้แรงงาน

ในสมัยก่อนประเทศแถบยุโรปจะถือเอา 'วันเมย์เดย์' (May Day) เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม จึงมีพิธีเฉลิมฉลองและทำการบวงสรวงขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งทางภาคเหนือของยุโรปก็จะมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ซึ่งประเพณีนี้ในประเทศอังกฤษก็ยังมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ 

จากตอนแรกที่เป็นเพียงวันหยุดพักผ่อนประจำปี ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศจึงถือเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ 

ความหมายของ วันเมย์เดย์ (May Day) จึงเปลี่ยนไปจากเดิม จนเมื่อปี พ.ศ. 2433 ได้มีการเรียกร้องในหลายประเทศทางตะวันตกให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็น 'วันแรงงานสากล' ทำให้หลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 และได้สืบทอดมาจนถึงในปัจจุบัน 

ในประเทศไทย เมื่ออุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น ผู้ใช้แรงงานมีปัญหามากขึ้น รวมทั้งแรงงานมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น จึงทำให้ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยริเริ่มมีการบริหารจัดการแรงงาน เพื่อสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

กระทั่งวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึก ได้จัดประชุมขึ้น พร้อมทั้งมีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็น 'วันที่ระลึกแรงงานไทย'

‘อุ้ม ทวีพร’ มิสแกรนด์ชุมพร คว้าแชมป์มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023 เตรียมเป็นตัวแทนประเทศ ไปประกวดที่เวียดนาม 25 ต.ค.นี้

เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2566 น.ส.ทวีพร พริ้งจำรัส หรือ ‘น้องอุ้ม’ มิสแกรนด์ชุมพร คว้าตำแหน่งมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ไปครองได้สำเร็จ ท่ามกลางเสียงแฟน ๆ ที่ลุ้นระทึก และส่งเสียงเชียร์เหล่านางงามกันอย่างคึกคัก

ทำให้ตำแหน่งรองอันดับ 1 มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023 ตกเป็นของ ‘น.ส.เทีย ลี่ ทวีพาณิชย์พันธุ์’ หรือ ‘น้องเทีย’ มิสแกรนด์ภูเก็ต เรียกได้ว่าบีบหัวใจกองเชียร์เป็นอย่างมาก

ขณะที่โลกออนไลน์ มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นยินดี ชื่นชมอย่างมาก พร้อมรัวคอมเมนต์ชื่นชมความสวยว่า สมตำแหน่ง หลังเจ้าตัวฝ่าฟัน จนคว้ารางวัลมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023 ท่ามกลางความยินดีของเพื่อน ๆ ที่เข้าประกวด

วันที่ 30 เมษายน ของทุกปี เป็นวัน ‘คุ้มครองผู้บริโภคไทย’ รำลึกถึงวันตรา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค

30 เมษายน ของทุกปี กำหนดเป็นวันคุ้มครองผู้บริโภค น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ในปี พ.ศ. 2522 

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้เป็น วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2522 ถือได้ว่าผู้ได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้โดยตรง คือประชาชนในฐานะผู้บริโภค

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการ ดังนี้

‘เมญ่า’ ควง ‘สามี’ เปิดใจถึงเส้นทางความรักครั้งใหม่ หลุดแซว ‘หนิง ปณิตา’ ผู้ที่ดีคือผู้ใหม่!!

(29 เม.ย.66) ทำแฟนๆ รายการฮาหนัก รวมไปถึง “หนิง ปณิตา ธรรมวัฒนะ” ภายหลังจากรายการคุยแซ่บโชว์ ได้สัมภาษณ์ “เมญ่า นนธวรรณทัศ บรามาซ” มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2014 ที่ควงสามีป้ายแดงชาวฮังการี “ชาบิ” และลูกชาย “น้องเบลิน” มาเปิดใจครั้งแรกหลังเข้าพิธีวิวาห์รอบ 2 โดยช่วงนึงในการสัมภาษณ์ หนิงซึ่งเป็นพิธีกร ได้บอกเมญ่าว่าดีใจที่เห็นน้องมีความสุขกับชีวิตในการแต่งงานรอบใหม่

วันที่ 29 เมษายน วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ

วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ตรงกับวันที่ 29 เมษายนของทุกปี พระองค์เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548 เวลา 18.35 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช พระองค์มีพระเชษฐภคินีต่างพระมารดา 2 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

คณะแพทย์ถวายพระประสูติโดยการผ่าตัด เมื่อแรกประสูติ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติทรงมีน้ำหนัก 2,680 กรัม มีพระพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง พระเนตรโต พระนาสิกโด่ง โดยพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานพระนามว่า 'พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ' เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และพระราชทานเสมาอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.ทองคำ ส่วนพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชตินั้น พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระมหากรุณาธิคุณอธิบายพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ว่า 'ผู้ทำประทีปคือปัญญาให้สว่างกระจ่างแจ้ง, ผู้ทำเกาะคือที่พึ่งให้รุ่งเรืองโชติช่วง'

คำต้องห้ามทางการบินทั่วโลก โทษหนัก!! แต่เบาหวิวในไทย

ไม่กี่วันก่อนมีข่าว ‘เล็ก’ ที่เป็นเรื่อง ‘ใหญ่’ พอสมควร แม้จะไม่ทันเกิดเรื่องใหญ่เช่นที่ว่ามาก็ตาม กรณีนั้นเกิดจากกลุ่มคนมีชื่อเสียงบนโลกคลิปวิดีโอออนไลน์แพลตฟอร์มยูทูบ (youtube.com) หรือรู้จักกันว่า ‘ยูทูบเบอร์’ (YouTuber) นั่นเอง

กลุ่มคนเหล่านั้นทั้งหมดสร้างบทสนทนาอันตรายในท่าอากาศยานแห่งหนึ่ง โดยข่าวอธิบายคำพูดบางส่วนออกมาประมาณนี้...

สมมติ 1 : มันมีก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา ‘ระเบิด’ 
สมมติ 2 : พี่ลองไปพูดตรงที่ตรวจคนเข้านะ จะได้โดนไล่ออกไปเลย ไปค่ะ เชิญ
สมมติ 1 : กูอยากกินก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา ‘ระเบิด’
สมมติ 2 : พี่กำลังล้อเล่นกับระบบ ทำเป็นแบบว่าล้อเล่น พลิกลิ้น พลิกแพลง ลองไปพูดตรงโน้นเลยค่ะ 
สมมติ 1 : มึงแต่งตัวเปรี้ยว ‘ระเบิด’ อันนี้ได้ไหม 
สมมติ 2 : พี่…หนูไม่รู้ด้วยนะ

เป็นที่รู้กันว่าคำเรียก ‘ระเบิด’ (Bomb) หรือคำอันมีความหมายเกี่ยวข้อง ล้วนคือ คำต้องห้ามทุกกรณีในสนามบินทุกแห่งทั่วโลก รวมถึงบนอากาศยาน และอาณาเขตปริมณฑลโดยรอบ ซึ่งไทยเราบัญญัติกฏหมายไว้อย่างรุนแรง โดยถือว่า “...แจ้งข้อความซึ่งเป็นเท็จ จนเป็นเหตุ หรือน่าจะเป็นเหตุ ให้ผู้ที่อยู่ในท่าอากาศยาน หรือในอากาศยานระหว่างการบิน ตื่นตกใจ ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

หลายปีก่อนมีเด็กวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งขึ้นโดยสารเครื่องบินเที่ยวบินภายในประเทศ และคะนองปาก (ด้วยปราศจากบุพการีอันจะคอยเคยสั่งสอนอบรมหรือไม่ก็หาทราบ) หนึ่งในนั้นตะโกนหยอกเพื่อนว่า “กูพกระเบิดมาด้วยนะเว้ย!”

เพียงไม่กี่พยางค์เท่านั้น ลูกเรือจึงแจ้งต่อกัปตันผู้ควบคุมเครื่องฯ จนที่สุดคำสั่ง ‘ฉุกเฉิน - งดบิน’ ก็เกิดพร้อมกับการเข้าตรวจทุกซอกมุม กระเป๋าทุกใบ และไม่พ้นกับผู้โดยสาร (และลูกเรือ) ทุกๆ คน ส่วนเด็กปากเปราะต้นเหตุก็ถูกนำไปสอบสวนปากคำ - กักตัวชั่วคราว รอผู้ปกครอง (ที่ไม่ค่อยว่างสอนลูกหลาน) มารับตัวกลับบ้าน หลังจ่ายค่าปรับเต็มจำนวนที่กฏหมายระบุ

แฟนคลับส่ง Food Truck เซอร์ไพรส์วันเกิดล่วงหน้า ด้านพี่น้องในกองถ่ายยกเค้กก้อนโต อวยพรอบอุ่น

งานนี้ทำเอานางเอกสาวคนสวย ‘เก้า สุภัสสรา ธนชาต’ เป็นปลื้มสุด ๆ กันเลยจ้า เพราะแค่วันเดียวก็โดนเซอร์ไพรส์วันคล้ายวันเกิดล่วงหน้าไปถึง 2 รอบ (เก้าเกิดวันที่ 29 เมษายน) กลางกองถ่ายละครเรื่อง ‘เกมส์โกงเกมส์’ ของค่าย BEC Studio (บีอีซี สตูดิโอ) ที่เตรียมออกอากาศให้ได้ชมกันทางช่อง 3 เร็วๆ นี้ เมื่อจู่ๆ เหล่าแฟนคลับคนรักเก้าก็ส่ง Food Truck เครื่องดื่มเย็นๆ หลากเมนูคลายร้อนมาให้ทั้งเก้าและทีมงานทุกคนได้ดื่มกันให้ชื่นอกชื่นใจกันถึงกองถ่าย 

‘โจอี้ ภูวศิษฐ์’ ร่วมเฟรมกับตำรวจ ถูกยืนประกบซ้ายขวา แฟนคลับแห่แซว ถ่ายยังไงให้เหมือนผู้ต้องหา

(28 เม.ย.66) เรียกว่ากลายเป็นไวรัลแชร์สนั่นโลกโซเซียล เมื่อนักร้องหนุ่มคนดัง ‘โจอี้ ภูวศิษฐ์’ เจ้าของเพลงฮิตทั้งดวงเดือน และนะหน้าทอง ได้โพสต์ภาพผ่านไอจีส่วนตัว  joeypws หลังจบคอนเสิร์ตที่ จ.นครสวรรค์

โดยในภาพโจอี้ได้ถ่ายรูปร่วมกับแฟนคลับพี่ๆตำรวจ 3 นาย ที่ร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าทำเอาฮาครืนกันทั้งโซเชียล เนื่องจากเพราะท่าทางการยืนกุมมือ บวกกับสีหน้าท่าทางที่ดูเกร็งๆ ทำให้แฟนคลับจะแซวโจอี้ว่า “ถ่ายรูปยังไงให้เหมือนเป็นคนร้าย”, “ทำไมเราเหมือนผู้ต้องหา ไม่เหมือนศิลปินอะ โอ้ยยยยยยยย 55555”, “เป็นการยืนถ่ายรูปที่เกร็งมากเลยค่ะ” , “ตกใจคะ คิดว่าโดนรวบ”, “ถ่ายรูปยังไงให้เหมือนผู้ต้องหาได้ขนาดนี้ครับ” เป็นต้น


ที่มา : https://www.naewna.com/entertain/727284

ซีรีส์ดังค่าย HBO เลือกแปลงโฉม 'หาดใหญ่' เป็น 'กรุงไซง่อน' ไทยจะใช้โอกาสในครั้งนี้เปลี่ยนเป็นจุดแข็งของเมืองได้อย่างไร

ย้อนไปเมื่อวันที่ 20 เม.ย.66 เพจ 'Hatyai Connext' ได้โพสต์ข้อความ ในหัวข้อ 'เปลี่ยนหาดใหญ่ให้กลายเป็นเวียดนามยุคสงคราม ด้วยทีมงานซีรีส์ฮอลลี่วู้ดและ A24' ระบุว่า...

ร้อนแรงกว่าอากาศ ก็คือความฮอตของเมืองหาดใหญ่ในเวลานี้

ล่าสุดยิ่งกว่าเพราะพึ่งถ่ายเสร็จกันไปหมาดๆ คือกองถ่ายจากอเมริกาที่บินลัดฟ้ามาแปลงโฉม Art Direction 'ร้านอ้า' ที่เราคุ้นเคยกันดี ให้เป็นโลเคชั่นนึงที่จะปรากฎอยู่ในซีรีส์ 'The Sympathizer'

#เรื่องย่อซีรีส์
เกริ่นก่อนว่า The Sympathizer (เดอะซิมพาไทซ์เซอร์) คือซีรีส์ที่ว่าด้วยเรื่องราวของผู้กองนายหนึ่งแห่งกองทัพของเวียดนามใต้ ซึ่งความจริงแล้วเป็นคอมมิวนิสต์และเป็นสายลับให้ฝั่งเวียดกง ออกจากไซง่อนราวปี 1975 เพื่อย้ายไปอยู่ในแคลิฟอร์เนียแล้วเข้าไปติดอยู่ในชุมชนของชาวเวียดนามพลัดถิ่น จากนั้นก็กลายเป็นที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมให้กองถ่ายหนังอเมริกันเรื่องหนึ่งที่ทำหนังสงครามเวียดนาม ต่อมาถูกชวนกลับไปเวียดนามเพื่อบุกคอมมิวนิสต์ ซึ่งตัวซีรีส์เองดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer Prize) ของ เวียต ธาน เหวียน (Viet Thanh Nguyen) ซีรีส์แนวระทึกขวัญและการเสียดสีข้ามวัฒนธรรมว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้ของสายลับ

28 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นวัน ‘พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส’ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันนี้ เมื่อ 73 ปีก่อน เป็นวันพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (พระยศในขณะนั้น)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง กำหนดให้วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นวันประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อใกล้ถึงเวลาพระฤกษ์ เวลา 09.30 น. หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ทรงนำหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ไปยังวังสระปทุม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ลงนามในสมุดทะเบียนสมรส ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชสักขี 2 คน คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี, พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมลงนามด้วย เช่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชปิตุลา

เมื่อสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จออก ณ ชั้น 2 ของพระตำหนักแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ฯ ทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียนเครื่องราชสักการะ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์แก่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ตามโบราณราชประเพณี พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และบุคคลที่ได้รับเชิญมาร่วมในพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญ ในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานของที่ระลึกเป็นหีบบุหรี่เงินขนาดเล็ก ประดับอักษรพระนามาภิไธยย่อ ภ.อ. และ ส.ก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top