Thursday, 8 June 2023
LITE

23 เมษายน พ.ศ. 2159 โลกสูญเสียยอดกวีเอก ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) เกิดเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้แน่ รู้แต่ว่าเขาได้รับศีลล้างบาปในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1564 ซึ่งตามธรรมเนียมในสมัยนั้นการรับศีลของทารกมักจะทำกัน 3 วันหลังการเกิด วันที่ 23 เมษายนจึงถูกถือเอาเป็นวันเกิดของเขา

เชกสเปียร์เติบโตขึ้นในเมืองสแตรทฟอร์ดริมฝั่งเอวอน (Stratford-upon-Avon) วอร์วิกไชร์ (Warwickshire) ประเทศอังกฤษ รายละเอียดของชีวประวัติของเชกสเปียร์มีบันทึกไม่มากนักเนื่องจากเขามิใช่ชนชั้นสูง เรื่องราวในชีวิตช่วงแรกๆ ของเขาจึงมีแต่เพียงเรื่องที่ถูกบันทึกในเอกสารของทางการ เช่น การรับศีล และการแต่งงาน

พ่อของเขาจอห์น เชกสเปียร์ (John Shakespeare) ทำการค้าหลายอย่างและดูเหมือนจะมีปัญหาทางการเงินเป็นระยะ ขณะที่แม่ของเขาแมรี อาร์เดน แห่งวิล์มโคต (Mary Arden, of Wilmcote) มาจากครอบครัวเก่าแก่และเป็นทายาทที่จะได้รับมรดกเป็นที่ดินบางส่วน ทำให้เชื่อกันว่าการแต่งงานของทั้งคู่เป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อยกฐานะของจอห์น เชกสเปียร์

เชื่อกันว่าเชกสเปียร์น่าจะเข้าเรียนในโรงเรียนไวยากรณ์ (Grammar School เป็นโรงเรียนสอนภาษาละตินและวรรณกรรมคลาสสิกในยุคกลาง ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นโรงเรียนระดับมัธยมของอังกฤษ) ในสแตรทฟอร์ด แต่ไม่ได้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

เมื่ออายุได้ 18 ปี เขาแต่งงานกับแอนน์ แฮทธาเวย์ หญิงซึ่งแก่กว่าเขา 8 ปี และตั้งท้องอยู่แล้วก่อนแต่งงานกับเขา หลังแต่งงานได้ 6 เดือนทั้งคู่ได้ลูกสาวคนแรกชื่อว่า ซูซานนา (Susanna) ในปี 1585 ทั้งคู่ได้ลูกแฝด แฮมเน็ต (Hamnet) และจูดิธ (Judith) ก่อนที่แฮมเน็ตลูกชายคนเดียวของครอบครัวเชกสเปียร์จะเสียชีวิตในอีก 11 ปีถัดมา

เชกสเปียร์เริ่มมีชื่อถูกอ้างถึงในฐานะนักเขียนในปี 1592 เมื่อเขาถูกวิจารณ์โดย โรเบิร์ต กรีน (Robert Greene) ผู้เป็นนักเขียนบทละครเช่นเดียวกับเชกสเปียร์ เชื่อกันว่าในขณะนั้นเชกสเปียร์ น่าจะเขียนเรื่องเฮนรีที่ 6 (Henry VI) ไปแล้ว 3 ตอน ในปี 1593 วีนัสแอนด์อดอนิส (Venus and Adonis) เป็นบทกวีชิ้นแรกของเชกสเปียร์ที่ถูกนำออกเผยแพร่ ซึ่งเป็นงานที่ทำขึ้นเพื่ออุทิศให้กับเฮนรี ไรโอเธสลีย์ ที่ 3 เอิร์ลแห่งเซาแธมป์ตัน (Henry Wriothesley, the 3rd earl of Southampton)

ในปี 1594 เชกสเปียร์ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะละครลอร์ดแชมเบอร์เลน (Lord Chamberlain’s Men) ซึ่งภายหลังกลายเป็นคณะละครในพระบรมราชูปถัมภ์ (King’s Men) เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 1 (James I) ขึ้นครองราชย์ ซึ่งเป็นคณะละครที่เชกสเปียร์ร่วมงานด้วยจนกระทั่งเขาเกษียณอายุ

'พงศ์พรหม' มอง!! 'คนรุ่นก่อน' หวังดี แต่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ส่วนคนรุ่นใหม่ อยากเปลี่ยนแปลง อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย

(22 เม.ย.66) นายพงศ์พรหม ยามะรัต ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Pongprom Yamarat' ระบุว่า...

คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ Gen X ปลาย Y ต้น แทบทุกคนบ่นเหมือนกันว่า คนรุ่นเราแม่งเหนื่อย แต่สู้ เพราะอะไรไม่รู้ที่ทำให้ทัศนคติเราดี

อาจเพราะเราโตมาด้วยการขึ้นรถเมล์ แต่ก็มีมือถือใช้บ้าง โตด้วยการกินข้าวแกงข้างถนน แต่ก็รู้จัก Starbucks ที่เมืองนอก

มันทำให้เรานั่งรถบีเอ็มก็ได้ รถเมล์ก็ดี ทำให้เรารู้จักความพอเพียง แต่ก็ไม่ปฏิเสธการว่าก็อยากจะหาเงินพันล้าน เพราะเราก็ทะเยอทะยานพอที่จะบอกว่า เราก็ต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้สำเร็จด้วย

สิ่งที่คนรุ่นเราเจอปัญหามาก คือคนรุ่นก่อนเรา แม้จะน่ารัก แต่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในโลกใบใหม่น้อยมาก เราจึงมักเจอคำพูดดีๆ แต่ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดนอกกรอบเพื่อการเปลี่ยนแปลง

เอาหละ!! งั้นคนรุ่นเราเปลี่ยนให้...

ตอนนี้เราโตจนเป็นผู้บริหารตามองค์กรละ ไม่ก็เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้างละ 

เราเจอปัญหาเพิ่มเติมจากคนรุ่นใหม่ แทนที่เขาจะขยันกว่าเรา เพราะโอกาสเขามีมากกว่าเรา แต่กลายเป็นว่า...

'อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย'

ซึ่งวนกลับมาเรื่องเดิม ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง แถมท้อเร็ว ท้อง่าย ขาด Global mindset ที่มีในเด็กเวียดนาม, สิงคโปร์, จีน, อเมริกา, อังกฤษ, เยอรมนี

แต่กลับบ่นเก่งกว่า...
...ทำไมไทยไม่เจริญ
...ทำไมถนนเราไม่เรียบ
...ทำไมต้นไม้ไม่เยอะๆ แบบเมืองนอก
...ทำไมไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ เยอะๆ

ผมมักเปรียบเทียบให้คน Gen X ปลาย Y ต้นฟัง ว่าคนอายุก่อนเกษียณวันนี้ ลงล่างไปจนอายุ 30 ต้น กำลังแบกภาระใหญ่ให้ประเทศไทย

เรามีคนรุ่นก่อนเราจำนวนไม่น้อยที่หวังดีต่อประเทศ แต่ไม่เข้าใจถึงการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง (คนดีๆ เก่งๆ ก็เยอะ ตรงนี้ต้องขออภัย)

เรามีคนรุ่นใหม่ที่อยากให้ประเทศดีอย่างเมืองนอก แต่ความอดทนไม่พอ เพราะไม่เข้าใจว่า “ไม่มีความสำเร็จใดบนโลกใบนี้ที่ได้มาโดยไม่ต้องเหนื่อย”

22 เมษายน ของทุกปี เป็นวัน 'คุ้มครองโลก' (Earth Day) ร่วมตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้ ทุกวันที่ 22 เมษายน เป็นวัน 'วันคุ้มครองโลก' เพื่อให้ผู้คนบนโลกตระหนักถึงการกระทำต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

22 เมษายน ของทุกปีเป็น 'วันคุ้มครองโลก' (Earth Day) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ United Nations Environment Program (UNEP) เพื่อให้ผู้คนบนโลกได้ตระหนักถึงการกระทำต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดนี้เป็นคนแรกคือ เกย์ลอร์ด เนลสัน สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา 

โดยในปี พ.ศ. 2505 เกย์ลอร์ด เนลสัน ได้ขอให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ หยิบยกเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้เห็นด้วย จากนั้นได้ออกทัวร์ทั่วประเทศเป็นเวลา 5 วัน 11 รัฐในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่ม 'วันคุ้มครองโลก'

‘เจ้านิโคร’ หมาจรเดินตามพระธุดงค์ไทย จากอินเดีย เดินทางไกลเกือบพันกิโลเมตร ก่อนลาจากไม่หวนคืน

(21 เม.ย.66) จากกรณีโซเชียลให้ความสนใจเหตุการเสียชีวิตของสุนัขตัวหนึ่ง ที่ชื่อเจ้านิโคร วิ่งตามคณะพระธุดงค์ไทยที่ประเทศอินเดีย ไล่กลับยังไงก็ไม่ยอม จนทางพระสงฆ์ท่านมีความเมตตา ตัดสินใจรับเลี้ยงและนำกลับมาอยู่วัดที่ประเทศไทยด้วย 
.
ต่อมาเกิดเรื่องเศร้า เมื่อเจ้านิโครเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวริมถนน ที่จังหวัดมหาสารคาม เพราะแอบเดินตามหลวงตามาบิณฑบาต เกิดพลัดหลง เดินเร่ร่อนจากสุรินทร์ไปถึงมหาสารคาม
.
ล่าสุดเพจ วัดหนองบัว - เวือดตระเปียงโชค เปิดประวัติเจ้านิโคร ถึงเส้นทางพรหมลิขิตที่ทำให้มาเจอกับคณะพระธุดงค์ไทย ในระหว่างอยู่ที่อินเดีย ดังต่อไปนี้
.
ประวัติชีวิตนิโคร ... ตอนที่ ๑ เช้าวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เป็นปกติที่พระธุดงค์ตื่นเช้า ตี ๓ เก็บเต็นท์และบริขาร
.
เตรียมออกเดินจากเขตเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นวัดที่พระเจ้าสุทโธทนะ ถวายพระพุทธองค์เมื่อครั้งเสด็จนิวัติเมืองของพุทธบิดา ... และเป็นวัดที่บรรพชาสามเณรราหุลอีกด้วย ... นิโคร เริ่มตามเรามาตั้งแต่จุดนี้
.
นิโครธาราม - ลุมพินี (ประสูติ) - ชายแดนโสเนาลี-กุสินารา (ปรินิพพาน) - แม่น้ำอโนมาเสาอโศกคู่ -มหาสถูปเลารียา - เสาอโศกนันดานการ์ -เสาอโศกอเรราช - มหาสถูปเกสรียา – เมืองไวสาลี - สถานที่ปลงอายุสังขาร - เมืองปัตตนะ - วัดอโศการาม สังคายนาครั้งที่ 3 - วิกรมศิลา - นาลันทา - ราชคฤห์ - เขาคิชกูฏ - ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (คยา) (สถานที่ตรัสรู้)

รวมระยะทาง เดินตามพระธุดงค์ ประมาณ 985 กิโลเมตร ผ่านพุทธสถานมากมาย ขออนุโมทนาบุญกับ นิโคร.


ที่มา : https://www.naewna.com/likesara/725821

21 เมษายน พ.ศ. 2325 วันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งที่ 4 ของสยาม

วันนี้ เมื่อ 241 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พร้อมมีพระราชพิธีฝังเสาพระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง 'พระราชวังหลวง' ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ โดยการก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อพุทธศักราช 2325

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325 เวลา 06.54 นาฬิกา

ละรุนแรงต่อ 'สตรีเพศ' ให้สมเกียรติเยี่ยง 'สุภาพบุรุษ'  ทิ้งกมลสันดานชั่วในร่าง 'บุรุษ' เตือนตนว่าอย่าหาทำ

เมื่อส่วนแรกพระคัมภีร์ หรือส่วนปฐมกาลเขียนไว้ว่า...

"...พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาให้คล้ายพระองค์ ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง" ทำให้นักวิชาการผู้ศึกษาไบเบิลหลายคนตั้งคำถาม "หรือพระเจ้าเองมีทั้งความเป็นชายและหญิงอยู่ในตัว?"

หากพระเจ้าได้สร้างมนุษย์ผู้ชายคนแรกขึ้นจากดิน ซึ่งนั้นก็คือ 'อดัม' และต่อมาก็ได้ใช้กระดูกซี่โครงของอดัมสร้าง 'อีฟ' นั่นจึงหมายความว่าทั้ง 'บุรุษ' และ 'สตรี' เคยเป็นหนึ่งเนื้อนาบุญเดียวกันมาก่อนใช่หรือไม่?

เรื่องดังกล่าวสอดคล้องต้องกันกับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่สังฆอริยเจ้า 'พระพรหมคุณาภรณ์' (ป.อ. ปยุตฺโต) เคยเทศนาไว้ "...ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า แต่ละคนเกิดเป็นหญิงบ้าง เป็นชายบ้าง หมุนเวียนไป แล้วแต่กรรมของตน ในแง่นี้ทุกคนเป็นมนุษย์ จึงไม่มีอะไรต่างกัน เพราะฉะนั้น ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชายจึงมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมเช่นเดียวกัน ส่วนการที่เรามามองแยกเป็นผู้หญิง เป็นผู้ชายนี้ เป็นการมองในช่วงเวลาสั้นๆ ระยะหนึ่งๆ หรือเฉพาะหน้า แต่ความจริงแต่ละคนก็มีทั้งความเป็นหญิงและความเป็นชาย ที่จะเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ"

เมื่อเป็นเช่นนั้นจริง ปัจจุบันใยบุรุษจึงตั้งตนเป็นใหญ่ในโลก!!

หลังผ่านพ้นยุคหิน โลกโบราณถูกปกครองโดยนักรบ (กษัตริย์) ตามกลไกธรรมชาติซึ่งผู้แข็งแรงกว่าย่อมมีอำนาจดูแล ปกป้อง ผู้ด้อยกว่า ซึ่งในที่นี้ก็คือ สตรี (และเด็ก) นั่นเอง จึงไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าบุรุษยุคโน้นข่มเหงสตรี เพียงแต่เพศมีความสำคัญต่างกัน ชายออกรบ ล่า แสวงหาอาหาร (ความมั่นคง) ส่วนหญิงก็ดำรงบทบาทระดับสังคมย่อยลงมา อาทิ ดูแลบ้านช่องและกิจการภายในยามผู้นำออกศึกทุกกรณี

คาดว่าค่านิยมดูแคลนสตรีเพศเริ่มต้นมาจากการบิดเบือนคำสอนตามพระคัมภีร์ต่างๆ หลายกรรมหลากวาระ หวังสร้างความวุ่นวายเพื่อแย่งชิงอำนาจ แม้ในพระไตรปิฎกก็มีเป็นต้น "...ขึ้นชื่อว่าหญิงในโลกนี้ไม่น่ายินดี เพราะหญิงเหล่านั้นไม่มีเขตแดน มีแต่ความกำหนัด คึกคะนอง ไม่มีเลือก เหมือนกับไฟที่ไหม้ทุกสิ่งทุกอย่าง" ตรงข้ามกับความจริงจากพระพุทธโอษฐ์

20 เมษายน พ.ศ.2454 วันคล้ายวันเกิด ‘ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช’ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทย

20 เมษายน พ.ศ. 2454 วันเกิด พล.ต. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ ปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย 

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็นโอรสของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) เป็นน้องชายของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช (อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของไทย) เรียนมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 

จากนั้นไปเรียนต่อวิชาปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการเมือง จากวิทยาลัยควีนส์ (The Queen’s College) มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด กลับมารับราชการที่กรมสรรพากร และกระทรวงการคลัง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าเป็นทหาร ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตรีในปี 2531

'สมรักษ์ คำสิงห์' ชายผู้ชูพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ร.9 เหนือหัว พร้อมพาเพลงชาติไทยดังกระหึ่มโอลิมปิกที่แอตแลนตา

(19 เม.ย.66) จากเพจ 'ความเห็นของผม' ได้โพสต์ข้อความถึงความเป็นมาของ 'พี่บาส' สมรักษ์ คำสิงห์ ระบุว่า...

เผื่อเด็กรุ่นหลังที่ตามข่าว #เบสท์รักษ์วนีย์ อาจจะไม่รู้รายละเอียดว่า สมรักษ์ คำสิงห์ เป็นใครมาจากไหน 

โพสต์นี้จึงขอเขียนวีรกรรมของตำนานยอดฝีมือนักมวยสากลสมัครเล่นคนนี้พอสังเขป...

สมรักษ์ คำสิงห์ เกิดในครอบครัวที่ยากจนที่จังหวัดขอนแก่น เขาฝึกชกมวยไทยมาตั้งแต่เด็ก และขึ้นสังเวียนชกครั้งแรกตอนอายุ 7 ขวบ โดยใช้ขื่อในวงการมวยไทยว่า พิมพ์อรัญเล็ก ศิษย์อรัญ

ต่อมาเมื่ออายุ 12 ปี เขาเริ่มเบนเข็มมาสู่วงการมวยสากลสมัครเล่น โดย สมรักษ์ คำสิงห์ ปรากฏตัวในเวที 'โอลิมปิกเกมส์' ครั้งแรกเมื่ออายุ 19 ปี ที่ โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 25 เมืองบาร์เซโลน่า ปี 1992 เขาขึ้นชกในรุ่นเฟเธอร์เวท ผลคือ ตกรอบที่สอง

แม้จะไปได้เพียงแค่รอบสอง แต่เด็กอายุ 19 ปี ที่แพ้ในโอลิมปิก มันไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมานั่งเสียใจ เพราะเขายังมีเวลาที่จะเขียนประวัติศาสตร์ 

และหลังจากนี้ สมรักษ์ คำสิงห์ ก็เริ่มเขียนมัน

เขาเริ่มเรียกความสนใจจากผู้คนได้เป็นครั้งแรก เมื่อเขาเป็นหนึ่งในสองนักกีฬาไทยที่ได้เหรียญทองจากการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ที่ ฮิโรชิม่า ในปี 1994 ร่วมกับ 'ฉลามนุก' รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ จากกีฬาว่ายน้ำ

2 ปีต่อมาหลังจากได้เหรียญทองเอเชียนเกมส์ เขาก็ไปโอลิมปิกเป็นครั้งที่ 2 ที่แอตแลนต้า (1996)

ด้วยสภาพร่างกายที่สดเต็มพิกัดในวัย 23 บวกกับประสบการณ์ที่เคยแพ้มาแล้วในครั้งก่อน และความมั่นใจจากเหรียญทองเอเชียนเกมส์ ทำให้ในรุ่นเฟเธอร์เวท กล้าพูดได้ว่า นาทีนั้น สมรักษ์ คำสิงห์ ‘เจอใครก็ได้’ แม้ว่ามันจะเป็นเวทีโอลิมปิก แม้ว่ามันจะมีพยัคฆ์หนุ่มคะนองอย่าง ฟลอยด์ เมเวเธอร์ จูเนียร์ อยู่ในพิกัดเดียวกันก็ตาม

สมรักษ์เอาชนะคู่ต่อสู้คนแล้วคนเล่า เข้ารอบลึกขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง ...

ประวัติศาสตร์ถูกเขียนอีกครั้ง เมื่อเขาเป็นนักมวยสากลสมัครเล่นคนที่สองในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ได้เข้ามาถึงรอบชิงชนะเลิศในกีฬามวยสากลสมัครเล่น ต่อจาก ทวี อัมพรมหา ที่ได้เหรียญเงินจากโอลิมปิกเกมส์ ที่ ลอสแอลเจลิส ในปี 2527

หรือโอลิมปิกที่สหรัฐอเมริกา จะถูกโฉลกกับนักชกไทยจริงๆ...

ในรอบชิงเหรียญทอง สมรักษ์ คำสิงห์ ต้องเจอกับนักมวยยอดฝีมือจากบัลแกเรีย ที่เอาชนะโคตรมวยอนาคตไกลอย่าง ฟลอยด์ เมเวเธอร์ จูเนียร์ มาในรอบรองชนะเลิศ

และในที่สุด ...

4 สิงหาคม 1996 ประวัติศาสตร์ได้ถูกบันทึกเอาไว้ว่า สมรักษ์ คำสิงห์ นักมวยจากแดนสยาม สามารถเอาชนะ เซราฟิม โทโดรอฟ คู่ชกจากบัลแกเรียได้อย่างหมดจด

เขาทำสำเร็จ เขาคว้าเหรียญทองให้กับทัพนักกีฬาไทยในโอลิมปิกได้เป็นครั้งแรก..!!!!

๓ ข้าหลวงต่างพระองค์ ที่ ร.๕ วางพระราชหฤทัย มอบให้ดูแลบ้านเมือง ‘ต่างพระเนตร-พระกรรณ’

ตอนที่ผมกำลังเขียนบทความเรื่องนี้ ผมกลับมาอยู่บ้านในภาคอีสานพร้อมกับตระเวนไปตามจังหวัดใกล้เคียงบ้านเกิดของผม ซึ่งในอีสานจะมีถนนและสถานที่รำลึกถึงข้าหลวงต่างพระองค์อยู่หลายแห่ง อาทิ หนองประจักษ์ จ.อุดรธานี ถนนสรรพสิทธิ์ จ.นครราชสีมา หรืออย่าง ถนนพิชิตรังสรรค์ จ.อุบลราชธานี ข้าหลวงต่างพระองค์คือตำแหน่งอะไร สำคัญอย่างไร แล้วมีกี่ท่านที่นับได้ว่าเป็น ‘ข้าหลวงต่างพระองค์’ 

‘ข้าหลวงต่างพระองค์’ นั้นเป็นตำแหน่งสำคัญที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าข้าหลวงปกติ ข้าหลวงเทศาภิบาลหรือสมุหเทศาภิบาล เพราะคำว่า ‘ต่างพระองค์’ มีความหมายว่าเป็นตัวแทนดูแลราษฎรและพื้นที่ ‘ต่างพระเนตรพระกรรณ’ และมีฐานะเป็น ‘ผู้สำเร็จราชการ’ ตีความได้รับมอบความสำเร็จเด็ดขาดมาจากองค์พระเจ้าแผ่นดิน เพื่อดูแลทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร ตำแหน่ง ‘ข้าหลวงต่างพระองค์’ เท่าที่ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีทั้งสิ้น 3 พระองค์ คือ… 

๑.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร 
๒.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
และ ๓.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม 

ซึ่งพระประวัติและพระกรณียกิจของทั้ง ๓ พระองค์ผมจะนำเรื่องที่น่าสนใจมาเล่าโดยสังเขปดังนี้นะครับ

๑.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นพระเจ้าลูกยาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพึ่ง มีพระนามเดิมว่า ‘พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล’ เป็นต้นราชสกุล ‘คัคณางค์’ ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๕ เป็นหนึ่งในพระเจ้าน้องยาเธอที่ ‘เก่ง’ ทั้งทางการปกครอง ทางกฎหมาย และการประพันธ์ ทรงเป็นอธิบดีศาลฎีกา พระองค์แรก มีหนังสือหลายเล่มโจมตีในหลวงรัชกาลที่ ๕ ว่าทรงกริ้ว จึงทรงให้ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ไปดูแลพื้นที่ห่างไกล แต่ถ้าหากมองจากบริบทของการปกครองแบบรวมศูนย์ในยุคนั้น การให้เชื้อพระวงศ์ระดับสูงไปดูแลภูมิภาคต่างๆ นั้นแสดงถึงความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นอย่างยิ่ง โดยกรมหลวงพิชิตปรีชากรนั้นได้ไปดูแลภูมิภาค ‘ต่างพระเนตรพระกรรณ’ อยู่หลายแห่ง เริ่มต้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ พระองค์ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็น ‘ข้าหลวงต่างพระองค์’ ไปรักษาเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับปรับปรุงการศาลต่างประเทศ และจัดระเบียบการปกครองภาคเหนือใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ‘ข้าหลวงใหญ่’ หัวเมืองลาวกาว ประจำอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ทรงปรับปรุงการปกครองหัวเมืองทางภาคอีสาน ประมาณ ๒๐ หัวเมือง โดยขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ แต่ตอนนั้นยังไม่ได้รวมเป็นมณฑล 

ต้องบอกว่าพระองค์มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านชายแดนลาว และกัมพูชาเป็นอย่างดี คือเรียกว่า เสด็จ ฯ ไปทั่วทุกพื้นที่ในหัวเมือง นอกจากนี้พระองค์ยังมีความชำนาญด้านภาษาอังกฤษ มีความเชี่ยวชาญด้านยาทรงเป็นคนไทยคนแรกที่คิดประดิษฐ์ปรุงยาไทยผสมกับยาต่างประเทศ เมื่อเสด็จกลับกรุงเทพฯ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้พิพากษาฝ่ายไทยร่วมกันพิจารณาคดีความร่วมกับฝรั่งเศส ในกรณี ‘พระยอดเมืองขวาง’ ก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ‘เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม’ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ สิริพระชันษาได้ ๕๔ ปีโดยการเป็น ‘ข้าหลวงต่างพระองค์’ ของพระองค์นั้นคือการดำเนินการปรับระบบการปกครองและระบบการพิจารณาคดีความให้เป็นเนื้อเดียวกันกับกรุงเทพฯ เป็นหลัก 

๒.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพึ่ง เช่นเดียวกับ กรมหลวงพิชิตปรีชากร มีพระนามเดิมว่า ‘พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช’ เป็นต้นราชสกุล ‘ชุมพล’ ทรงเข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งแรกทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรมหลวงพิชิตปรีชากร ซึ่งทรงเป็นอธิบดีศาลฎีกาและศาลแพ่งก่อนจะดำรงตำแหน่งอธิบดีในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ จนกระทั้งในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมขึ้นตามหัวเมืองทางตะวันออก ตั้งแต่เมืองนครราชสีมาลงไปจนถึงเมืองปราจีนฯ เจ้าเมือง กรมการเมือง ไม่สามารถที่จะปราบปรามให้สงบเรียบร้อยลงได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงพิเศษเสด็จขึ้นไปทรงบัญชาการปราบปรามโจรผู้ร้ายที่เมืองนครราชสีมา ซึ่งก็ทรงสามารถทำได้เป็นผลดีตามพระราชประสงค์ก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นข้าหลวงใหญ่เมืองนครราชสีมาจนถึงต้นปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการว่างลง จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ แต่ก็ได้ทรงดำรงตำแหน่งใหม่นี้อยู่ได้ไม่นานนัก ก็เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ จำเป็นต้องมี ‘ข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณ’ ไปดูแลพื้นที่มณฑลลาวกาว
และมณฑลอุดร กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้รับราชการสนอง พระเดชพระคุณในตำแหน่งข้าหลวงต่างประเทศสำเร็จราชการมณฑลลาวกาวอยู่เป็นเวลานานถึง ๑๗ ปี โดยประทับและตั้งกองบัญชาการข้าหลวงอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี 

กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงปรับปรุง พัฒนามณฑลลาวกาว ซึ่งต่อมาคือ มณฑลอีสาน อย่างต่อเนื่อง ปรับรูปแบบ การปกครอง จากตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง ตำแหน่งอุปฮาดเป็นปลัดเมือง ฯลฯ จัดตั้งกองทหารในเมืองอุบลราชธานี เรียกคนเข้ารับราชการเป็นตำรวจ พ.ศ.๒๔๕๑ ทรงตั้งศาลยุติธรรมขึ้นที่เมืองอุบลราชธานี มีฐานะเป็นศาลเมืองอุบลราชธานี และศาลมณฑลอีสานอีกด้วย  โดยเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อพระองค์ทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์นั้นก็คือ ‘การปราบกบฏผีบุญ’ โดยเริ่มต้นจาก โนนโพขององค์มั่นก่อนจะดำเนินการอย่างราบคาบเรียบร้อย ซึ่งมีนักเขียนหลายสำนักโจมตีเรื่องการปราบผีบุญนี้ว่าเป็นการปราบที่โหดร้ายป่าเถื่อน แต่เอาเข้าจริงๆ บริบทของยุคสมัยที่กบฏผีบุญกลายเป็นลัทธิแห่งความขี้เกียจ การมั่วสุมไม่ทำงาน ผิดลูกผิดเมีย และชิงเอาของชาวบ้านดื้อๆ ไม่ผิดกับโจร ไม่ปราบ ก็ไม่รู้จะปล่อยไว้ทำขี้เกลืออะไร? จนมาถึง พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้เสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕ พระชันษาได้ ๖๕ ปี

19 เมษายน พ.ศ. 2509 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเรือใบ ‘เวคา’ เสด็จข้ามอ่าวไทย ด้วยลำพังพระองค์เอง

วันนี้เมื่อ 57 ปีก่อน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเรือใบข้ามอ่าวไทย ด้วยลำพังพระองค์เอง จากพระราชวังไกลกังวล ไปยังหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

เมื่อปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9ทรงต่อเรือใบประเภทโอเค (International O.K. Class) พระราชทานชื่อว่า เรือนวฤกษ์ แปลว่า ฤกษ์ใหม่ 

ต่อมาก็ทรงต่อเรือประเภทนี้ขึ้นมาอีกลำ พระราชทานชื่อว่า เรือเวคา (Vega) ความหมายว่าดวงดาวที่สว่างสุกใส หลังจากนั้นทรงต่อเรือประเภทนี้ขึ้นอีกหลายลำ เช่น เรือเวคา 1 เรือเวคา 2 เรือเวคา 3 เป็นต้น 

18 เมษายน พ.ศ. 2398 สยามลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ ต่อมารู้จักกันในชื่อ 'สนธิสัญญาเบาว์ริง'

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ โดยมีเซอร์จอห์น เบาริ่ง เป็นราชทูต สนธิสัญญานี้รู้จักกันในชื่อ 'สนธิสัญญาเบาว์ริง', ไทยทำสัญญากับอังกฤษเรื่องอำนาจของกงสุลอังกฤษในไทย

หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษและประเทศสยาม หรือบนปกสมุดไทย ใช้ชื่อว่า หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริงหรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำกับสหราชอาณาจักร ลงนามเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 โดยเซอร์จอห์น เบาว์ริง ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา ซึ่งมีสาระสำคัญในการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ โดยการสร้างระบบการนำเข้าและส่งออกใหม่ เพิ่มเติมจากสนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาฉบับก่อนหน้าซึ่งได้รับการลงนามระหว่างสยามและสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2369

สนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าเสรีในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตกได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพมหานครและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2393 มีพระราชปณิธานช่วยเหลือราษฎรด้านความเป็นอยู่ โดยมีพระราชดำริแตกต่างจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเชษฐา หลายอย่าง โดยทรงเห็นว่าการเปิดให้ค้าข้าวกับต่างประเทศได้อย่างเสรีจะสร้างประโยชน์แก่บ้านเมืองมหาศาล จะทำให้ข้าวราคาสูงขึ้น เพราะมีความต้องการซื้อข้าวจากต่างชาติ ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาลเช่นกัน ตลอดจนทรงเห็นว่านโยบาย 'ปิดข้าว' สร้างรายได้ให้แก่คนส่วนน้อย ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

"แต่ก่อนในหลวงห้ามปิดเข้า [ข้าว] ไว้ไม่ให้เอาออกไปขายนอกประเทศ ยอมให้เอาไป แต่ภอเปนสเบียง คนทั้งปวงที่มิใช่ชาวนาแลพ่อค้าเรือต่างประเทศก็มีความสบาย ด้วยเข้าถูก [ข้าวมีราคาถูก] แต่ชาวนาไม่ชอบใจ เพราะขายเข้าได้น้อย ไม่ภอกิน ต้องทิ้งที่นาไปหากินอย่างอื่น ถึงพ่อค้าก็ไม่ชอบใจ ด้วยอยากจะขายเข้าออกไปนอกประเทศ ต้องลักลอบเอาไป ..."

หมายเหตุ : ทั้งหมดสะกดตามต้นฉบับ

การที่รัฐบาลไทยไม่ยอมแก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าขายกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดความตึงเครียดใน พ.ศ. 2393 มิชชันนารีทั้งหลายถึงกับเกรงว่าจะเกิดสงครามขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงอันตรายจากการที่ไทยไม่ยอมประนีประนอมกับชาติตะวันตก โดยทรงดูจากจีนและพม่าที่ตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ตลอดจนทรงตระหนักถึงความจำเป็นของวิทยาการสมัยใหม่สำหรับอนาคตของชาติ จึงได้ทรงประกาศเจตนาว่ายินดีจะทำสนธิสัญญาฉบับใหม่กับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สิงคโปร์ฟรีเปรสได้นำจดหมายของเรเวอเรนด์ ยอนเทเลอโยนส์ ลงพิมพ์ มีใจความว่า

"เจ้าฟ้ามงกุฎได้ตรัสอย่างชัดเจน ว่าทางการที่ปฏิบัติต่อคณะทูตเมื่อปีก่อนนั้นทั้งหมดเป็นไปด้วยความเห็นผิดเป็นชอบของคน ๆ เดียว และถ้าคณะทูตกลับมาอีก ก็คงจะได้รับความต้อนรับโดยเมตตา ไม่ต้องระแวงว่าความประสงค์อันสำคัญยิ่งของคณะทูตจะไม่สำเร็จดังปรารถนา..."

สนธิสัญญาเบาว์ริงนี้มีเนื้อหาคล้ายกับสนธิสัญญานานกิงซึ่งจีนลงนามร่วมกับอังกฤษภายหลังสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง ใน พ.ศ. 2385 และก่อนหน้าสนธิสัญญาเบาว์ริงเพียงหนึ่งปี (พ.ศ. 2397) สหรัฐอเมริกาก็บังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศด้วยการลงนามในสนธิสัญญาคะนะงะวะโดยใช้สนธิสัญญานานกิงเป็นต้นแบบ สนธิสัญญาเบาว์ริงถูกเรียกว่าเป็น "สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม" หรือ "สนธิสัญญาที่เสียเปรียบ" เนื่องจากสยามไม่อยู่ในตำแหน่งที่จะเจรจาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเกรงกลัวในแสงยานุภาพทางทหารของอังกฤษในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้ทำให้รู้สึกท้อถอยที่จะป้องกันมิให้มีการค้ากับชาติตะวันตก โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ระบุว่า ความต้องการสำคัญของอังกฤษก็คือการเข้ามาค้าฝิ่นได้อย่างเสรีในสยามและไม่ต้องเสียภาษี และอังกฤษพร้อมทำสงครามกับสยามอยู่แล้วหากการเจรจาไม่ประสบผล

เมื่อทราบว่าพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใหม่ทรงแสดงความต้องการจะทำสนธิสัญญาด้วย รัฐบาลอังกฤษก็ได้ส่งจอห์น เบาว์ริงเข้ามาทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ใน พ.ศ. 2398 โดยปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมไทย ให้ทูตเชิญพระราชสาส์นสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียเข้ามาถวายพระเจ้าแผ่นดินไทย จึงได้รับการต้อนรับดีกว่าทูตตะวันตกที่ผ่านมาทั้งหมด

17 เมษายน พ.ศ. 2277 วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

วันนี้ เมื่อ 289 ปีก่อน เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ ผู้กอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง (ภายหลังเป็นกรมพระเทพามาตย์)

'ยังโอม' กับ 'ธาตุทองซาวด์' ปรากฏการณ์ที่ยังเพรียกหามือช่วย

ปรากฏการณ์ 'อีกี้' จาก MV ธาตุทองซาวด์ ของศิลปิน 'ยังโอม' อันเปรี้ยงปร้างเกินกว่าเพลงและมิวสิควิดีโอฮิพฮอพดาดๆ เพราะผู้คนพากันขุดอีกี้ของตัวเองมาโพสต์เต็มฟีดของโซเชี่ยลมีเดียทุกแพล็ตฟอร์ม สมเจตนาจนยังโอมเองก็ต้องออกมาโพสต์

"MV เพลงนี้ผมใช้เงินตัวเองลงไปประมาณ 1,200,000 บาท เป็น MV ที่ผมใช้เงินเยอะที่สุดในชีวิต…"

โดย "...ที่ผมต้องลงทุนเยอะขนาดนี้ เพราะอยากให้ทั้งโลกเห็นว่าคนไทยก็เฟี้ยวเหมือนกันนะ คนไทยถ้าเอาจริงๆ เราทำได้ทุกอย่าง เรามีความสามารถ เรามีศิลปินทที่เก่งมาก ในทุกๆ แขนงของศิลปะ"

และ "...นี่ขนาดผมทำด้วยตัวคนเดียว ด้วยเงินตัวเอง มันยังได้ขนาดนี้ ผมอยากจะรู้จริงๆ ถ้าคนไทยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ หรือจากไหนสักที่ วงการศิลปะบ้านเราจะไปได้ไกลแค่ไหน แล้วจะนำพาประเทศเราไปได้ถึงจุดไหน จะไปได้ไกลเท่าเกาหลีไหมนะ…"

ผมชื่นชมยังโอม ยินดีด้วยกับความสำเร็จระดับไวรัล แต่กับข้อคิดเห็น (หรือคำถาม) "...ถ้าคนไทยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ หรือจากไหนสักที่ วงการศิลปะบ้านเราจะไปได้ไกลแค่ไหน" ผมเองก็อดคิดตามไม่ได้

ศิลปินแขนงวงการบันเทิงบ้านเรามักออกมาพูดถึงอะไรแบบนี้เสมอเมื่อ 'งาน' ถูกนำเสนอจนเป็นที่นิยม ทำนองหยาดเหงื่อตนล้วนๆ ไม่มีใครสนับสนุน 'เหมือนบางประเทศ' ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นยก 'เกาหลี (ใต้)' มาเป็นคู่เปรียบกับไทย

ความจริงที่ต้องถามคือ "เกาหลีเขาสนับสนุนศิลปินกันแค่ไหน?"

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2566

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
✨ประจำวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2566
 

16 เมษายน พ.ศ. 2557 ‘เรือเซวอล’ อับปาง ขณะเดินทางไปเกาะเชจูโศกนาฏกรรมคร่าชีวิตชาวเกาหลีใต้กว่า 304 คน

ในวันนี้เมื่อ 9 ปีก่อน ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สะเทือนใจคนทั้งโลก โดยเฉพาะชาวเกาหลีใต้ นั่นก็คือ โศกนาฏกรรม ‘เรือเซวอล’ อับปาง ที่คร่าชีวิตไปกว่า 304 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักเรียนมัธยม

โดยเหตุการณ์นี้ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) เรือเซวอลกำลังมุ่งหน้าจากเมืองอินชอนสู่เกาะเชจูตามตารางเวลาที่กำหนด โดยบนเรือส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมของโรงเรียนดันวอน ที่กำลังออกไปทัศนศึกษา

เมื่อรวมจำนวนผู้โดยสารและลูกเรือแล้ว เรือลำนี้บรรจุผู้โดยสารกว่า 476 ชีวิต ซึ่งเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำหนักผู้โดยสาร ที่เจ้าของเรืออ้างว่าเซวอลสามารถบรรทุกได้

ในวันเกิดเหตุ กัปตันอีจุนซอก วัย 69 ปี ผู้กุมชะตาชีวิตคนบนเรือเกือบ 500 คน กลับไม่ได้อยู่ในห้องควบคุมเรืออย่างที่ควรจะเป็น แต่กลับสั่งให้ลูกเรือเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างแทน ซึ่งเมื่อเรือเข้าสู่ช่องแคบ ที่เต็มไปด้วยโขดหินและคลื่นแรงใต้ทะเล ลูกเรือที่ไม่มีประสบการณ์มากพอก็ตัดสินใจผิดพลาดได้หันหัวเรือกะทันหัน และกระปุกพวงมาลัยเรือที่ทำงานขัดข้อง จึงเป็นปัจจัยแรกที่ทำให้เซวอลศูนย์เสียการทรงตัว

นอกจากความหละหลวมในการทำหน้าที่ของเขาแล้ว เรือลำนี้ยังบรรทุกสินค้าที่ไม่สมดุลและเกินน้ำหนักมาตรฐาน คอนเทนเนอร์สินค้าที่จัดวางอย่างไม่รัดกุม รวมถึงน้ำอับเฉาที่มีน้อยกว่าที่ทางการกำหนด โดยเรือเซวอลนั้น แท้จริงแล้วเป็นเรือมือสองที่ซื้อต่อมาจากบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทชองแฮจินของเกาหลีใต้ ได้ซื้อมาเพื่อใช้งานต่อเมื่อปี 2012

หลังจากนั้น บริษัทชองแฮจินของเกาหลีใต้ ได้มีการปรับปรุงเรือและทำการต่อเติม เพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้มากกว่าเดิม ซึ่งจุดนี้เองจึงกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ เพราะการต่อเติมเรือ ทำให้ศูนย์ถ่วงเรือมีปัญหา ยิ่งไปกว่านั้นทางบริษัทฯ ยังได้ยื่นขอบรรทุกสินค้าเกือบ 2,000 ตัน ซึ่งต่อมากรมทะเบียนเรือ ได้ปรับลดน้ำหนักบรรทุกสินค้าของเซวอลลงเหลือครึ่งหนึ่ง และกำหนดให้ต้องบรรทุกน้ำอับเฉาถึง 2,000 ตัน เพื่อให้เรือสามารถทรงตัวอยู่ได้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top