Saturday, 27 April 2024
TODAY SPECIAL

วันนี้เมื่อปี 2529 เครื่องบิน ‘Rutan Voyager Aircraft’ สามารถบินรอบโลกโดยไม่มีการหยุดพัก!!

“รูตันโวเยเจอร์” (Rutan Voyager หรือ Vogerger หรือ Model 76 Voyager) เป็นเครื่องบินลำแรกของโลกที่บินรอบโลกโดยไม่ได้ลงจอด และไม่ได้มีการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ ซึ่งมีนักบิน 2 คน คือ Dick Rutan และ Jeana Yeager (ผู้หญิง ที่ไม่ได้เป็นญาติกับชักเยเกอร์ ผู้ที่บินเร็วเหนือเสียงคนแรกของโลก) ขึ้นบินจากฐานทัพอากาศเอ็ดเวิดส์ (Edwards Air Force Base) 

โดยใช้ทางวิ่งยาว 15,000 ฟุต (4,600 ม.) ในทะเลทราย Mojave ใช้เวลาบิน ทั้งหมด 9 วัน 3 นาที 44 วินาที มุ่งหน้าบินไปทางตะวันตกได้ระยะทาง 26,366 ไมล์ (42,432 กม. หรือ FAI accredited distance เท่ากับ 40,212 กม.) ที่ระดับความสูงเฉลี่ย 11,000 ฟุต (3.4 กม.) เป็นการทำลายสถิติของเครื่องบินแบบโบอิง B-52 ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา

22 ธันวาคม 2562 'วันเหมายัน' (เห-มา-ยัน) วันที่กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี!!

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. เปิดเผยว่า แต่ละวัน ดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกันไป เปลี่ยนไปประมาณวันละ 1 องศา ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงกลางวันสั้นและช่วงกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี 

ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า “วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice) ประเทศไทยจะเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” วันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 06.36 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 17.55 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ) รวมระยะเวลากลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาทีเท่านั้น ท้องฟ้าจะมืดเร็วกว่าช่วงเวลาอื่นๆ ของปี ประเทศทางซีกโลกเหนือนับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน

ย้อนอดีต พิธีลงนามในสัญญาร่วมวงศ์ไพบูลย์ ระหว่าง ‘ประเทศไทยและญี่ปุ่น’

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งพิเศษ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ได้มีการพิจารณาเรื่อง การทำกติกาสัญญาทางทหารระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าทางญี่ปุ่นเห็นว่า กิจการทหารของเขาได้คืบหน้าไปมาก แต่ทางไทยยังไม่มีอะไรผูกพันกับเขาเลย เหมือนมีรากฐานอยู่บนทราย ดังนั้นทางญี่ปุ่นจึงขอให้ไทย เลือกเอาทาง military co - operation คือการร่วมมือทางทหารของญี่ปุ่น

โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และได้ประมวลสถานการณ์ ที่ได้พัฒนาไปตามลำดับ กล่าวคือ คาดว่าอังกฤษจะประกาศสงครามกับไทยไม่เกิน 2 อาทิตย์ ซึ่งเวลานั้นเครื่องบินอังกฤษได้มาทิ้งระเบิดที่หาดใหญ่เสียหายมาก และทหารอังกฤษสองพันคน ได้เข้ามาที่แม่สอด กำลังเผชิญหน้ากับตำรวจอยู่ 

จนในที่สุดที่ประชุมได้ตกลงใจ ให้ดำเนินการทหารรวมกันกับญี่ปุ่น จากนั้นนายกรัฐมนตรีก็ได้ออกจากที่ประชุม เพื่อพบทูตญี่ปุ่นซึ่งมาที่ทำเนียบวังสวนกุหลาบ และได้ลงนามใน กติกาสัญญาทางทหารระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยลงนามร่วมกับเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ลงนามใน หลักการร่วมยุทธระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยมี นายพลโท อีดา แม่ทัพกองทัพที่ 15 ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกญี่ปุ่นในประเทศไทย และนายพลเรือตรี ชาดอง ทูตทหารเรือญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ ในฐานะผู้แทนจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายญี่ปุ่น

โดยหลักการร่วมยุทธระหว่างไทยกับญี่ปุ่น มีดังนี้

1.) กองทัพญี่ปุ่น ณ ประเทศไทย และกองทัพไทยจะทำการร่วมยุทธต่อกองทัพข้าศึกในพม่า 
2.) ก่อนอื่น กองทัพไทยจะยึดชายแดนไทยพม่าให้มั่นคง พร้อมกับทำการรักษาฝั่งทะเล ทิศตะวันตกของประเทศทางภาคใต้ เพื่อป้องกันการชุมพลของกองทัพไทย - ญี่ปุ่น ในระหว่างนี้ กองทัพไทยจะช่วยถนนสายระแหง - แม่สอด - มิยาวดี (เมียวดี) และสายกาญจนบุรี - บ้องตี้ ทั้งนี้กองทัพญี่ปุ่นจะเข้าร่วมด้วย 
3.) กองทัพญี่ปุ่น ณ ประเทศไทย มีความหมายสำคัญที่จะทำการยุทธในภูมิภาคทางทิศใต้ ของแนวระแหง - แม่สอด - มิยวดี (รัฐฉานของพม่า) แนวนี้อยู่ในเขตด้านตรงไปย่างกุ้ง กองทัพไทยนั้นมีความมุ่งหมายสำคัญที่จะทำการยุทธในภูมิภาค ทางทิศเหนือของแนวที่กล่าวแล้ว มุ่งตรงไปเชียงตุงและมัณฑเลย์ 
4.) กองทัพอากาศไทย และญี่ปุ่น ต่างฝ่ายต่างทำการยุทธในด้านของตน ถ้ามีความจำเป็น กองทัพอากาศญี่ปุ่น จะเข้าร่วมกำลังกับกองทัพอากาศของไทยด้วย 
5.) ราชนาวีแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ครองน่านน้ำไทย ประมาณตั้งแต่เหนือแนวสัตหีบ - หัวหิน ขึ้นไป

วันนี้เมื่อ 54 ที่แล้ว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเป็นทางการ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen University; อักษรย่อ: มข., KKU.) เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ส่วนภูมิภาคตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 ของประเทศ 

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากำลังคนและองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหาให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีประชากรเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ ในแต่ละปีต้องเผชิญกับปัญหาภัยแห้งแล้งและผลผลิตทางภาคการเกษตรไม่ดีอย่างต่อเนื่อง 

อีกทั้งยังมีประชากรที่ยากจนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510 และได้พระราชทานพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 วันประสูติ ‘เสด็จเตี่ย’ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอลำดับที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมารดาคือ เจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423

พระองค์ทรงได้รับถวายพระสมัญญาจากกองทัพเรือว่าเป็น “พระบิดาของกองทัพเรือไทย” และต่อมาได้แก้ไขเป็น “องค์บิดาของทหารเรือไทย” เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 จากพระกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงวางรากฐานและพัฒนาปรับปรุงทหารเรือสยามให้เจริญก้าวหน้าตามแบบประเทศตะวันตก

ส่วนกรณีที่นักเรียนนายเรือพากันเรียกพระองค์ว่า “เสด็จเตี่ย” นั้น พลเรือโท ศรี ดาวราย สันนิษฐานว่า มาจากการที่พระองค์ทรงขัดดาดฟ้าให้นักเรียนนายเรือใหม่ ๆ ที่ฝึกภาคทางทะเลบนเรือหลวงพาลีรั้งทวีปดูเป็นแบบอย่าง ในปี พ.ศ. 2462 หลังจากที่ทอดพระเนตรเห็นนักเรียนเหล่านั้นทำงานนี้ด้วยท่าทางเงอะงะเก้งก้าง โดยตรัสกับพวกนักเรียนเหล่านั้นว่า “อ้ายลูกชาย มานี่เตี่ยจะสอนให้”

เมื่อช่วงต้นรัชกาลที่ 6 กรมหลวงชุมพรฯ ทรงออกจากราชการซึ่ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “…กรมหลวงชุมพรฯ ไม่ทรงสบาย ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกเป็นนายทหารกองหนุนอยู่ชั่วคราว ๑ จนถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๖๐ จึงเสด็จกลับเข้ามารับราชการเป็นตำแหน่งจเรทหารเรือ…”

แต่กรณีนี้ ศรัณย์ ทองปาน มีความเห็นต่างออกไปโดยเห็นว่า “…ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ เกิดเหตุนายทหารเรือผู้หนึ่งเมาสุราในร้านอาหารสันธาโภชน์ ที่ตำบลบ้านหม้อ แล้วเกิดวิวาทกับมหาดเล็กหลวง ทำให้รัชกาลที่ ๖ ทรงพิโรธ ดังความในพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า ‘…ปรากฏชัดว่าได้ฝึกสอนนักเรียนนายเรือในหนทางไม่ดี ทำให้มีจิตฟุ้งซ่านจนนับว่าเสื่อมเสียวินัยและนายของทหาร…สมควรลงโทษเป็นตัวอย่าง’

ประกอบกับมีข่าวลือว่า กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์กับกรมขุนนครสวรรค์วรพินิต กำลังวางแผนก่อกบฏ ชิงราชสมบัติ โดยแม้ว่าพระองค์ทรงออกจากราชการแล้วทางการก็ยังให้ตำรวจท้องที่คอยติดตามการเคลื่อนไหวของพระองค์…”
 

จับฆาตกรโหด!! ‘คิด เดอะริปเปอร์เมืองไทย’ ที่สถานีรถไฟปากช่อง หลังก่อคดีฆ่าต่อเนื่อง 6 ศพ 

สำหรับคดีดังกล่าว เป็นคดีดังช่วงปลายปี 2562 โดยช่วงสายวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ตำรวจ สภ.กระนวน จ.ขอนแก่น ระบุว่า เมื่อคืนวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้รับแจ้งเหตุฆาตกรรมนางรัศมี มุลิจันทร์ อายุ 51 ปี เหตุเกิดภายในบ้านเลขที่ 293 ม.19 ต.หนองโก อ.กระนวน จ.ขอนแก่น ของผู้ตาย เจ้าหน้าที่พบศพนางรัศมีถูกห่อด้วยผ้าห่ม ท่อนบนสวมเสื้อยืด ลำคอถูกพันด้วยเทปใส ข้อเท้ามัดด้วยสายชาร์จแบตโทรศัพท์ ซุกอยู่ในฟูกที่นอนที่วางอยู่ในห้อง ตรวจสอบพบว่าเสียชีวิตมาประมาณ 8 ชั่วโมง ร่างกายไม่มีร่องรอยถูกทำร้าย ไม่มีร่องรอยต่อสู้ ไม่มีร่องรอยรื้อค้นในบ้าน คาดคนร้ายลงมือตอนที่ผู้ตายนอนหลับ

สอบสวนทราบว่าก่อนหน้านี้ผู้ตายมีอาชีพเป็นแม่บ้าน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม มีผู้ชายคนหนึ่ง ทราบชื่อว่า “แขก” เข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านของ น.ส.รัศมี ในลักษณะคบหาเป็นแฟนกัน โดยระบุว่าแฟนใหม่เป็นชาวนครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพทนายความ กระทั่งเช้าวันที่ 14 ธันวาคม นายแขกขี่จักรยานยนต์ไปส่งนางรัศมีทำงานที่โรงแรมตามปกติ แต่พอช่วงเลิกงาน นายแขกไม่ได้ไปรับ ทำให้นางรัศมีกลับบ้านเอง กลางคืนนายแขกกลับมาที่บ้าน แต่ก็ไม่มีรถจักรยานยนต์กลับมาด้วย
 

วันพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ “เกษตรศาสตร์” โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ‘พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาจารย์ นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบันของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าเฝ้าฯ อย่างใกล้ชิด พระราชทานเลี้ยงอาหารเย็น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และทรงดนตรีร่วมกับวง อ.ส. 

พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ "เกษตรศาสตร์" ให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขึ้นในวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2509 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อย่างหาที่สุดมิได้ 

สำหรับเพลงพระราชนิพนธ์ "เกษตรศาสตร์" นี้ ในเวลานั้นมีเพียงทำนองยังไม่มีเนื้อร้อง จึงเรียกว่า เพลง K.U. Song ภายหลัง ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้เป็นผู้แต่งเนื้อร้องให้ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน


ที่มา : http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p9007.html

‘วันกีฬาแห่งชาติ’ 16 ธันวาคม เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร” รัชกาลที่ 9

"การแล่นใบ สอนให้คนคิดเองทำเอง เพราะเมื่อเราลงไปเล่นเรือใบแล้วเรือไม่วิ่ง จะไม่มีใครมาคอยสอน เราต้องคิดเอง ทำเอง ว่าลมมาทางไหน ลมแรงขนาดนี้ เราสู้ไหวไหม ถ้าไหวเราก็สู้ แต่ถ้าไม่ไหวแล้วเรายังสู้ เรือก็จะคว่ำ ถ้าลมเบาเราจะต้องทำอย่างไรเรือจึงจะวิ่ง แล้วถ้าไม่มีลมเราจะทำอย่างไร เราก็ควรจะนั่งรอสักครู่ให้ลมมา ถ้าเราเล่นเรือเป็น ดูทิศทางลมเป็น ถ้าเราเป็นตัวนี้ เด็กไทยเป็นตัวนี้แล้วนำมาใช้ในชีวิต นำมาใช้ในกิจการงานได้ ไม่มีทางขาดทุน เพราะรู้เทคนิคการใช้ชีวิต เด็กไทยจะรู้จักและเข้าใจในการคิดเอง ทำเอง" พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว " ในหลวงรัชกาลที่ 9"  

"เรือใบ" เป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "ในหลวงรัชกาลที่ 9" ทรงโปรดปราน เช่นเดียวกับ แบดมินตัน, เทนนิส และยิงปืน "ในหลวงรัชกาลที่ 9" ทรงต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง และทรงนำไปแข่งขันในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นซีเกมส์) 

พระองค์ทรงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการแล่นเรือ ที่ต้องใช้ลมในการบังคับทิศทางจนได้รับชัยชนะในการแข่งขันเรือใบประเภท OK เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ทรงครองเหรียญทอง ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ได้รับการบันทึกให้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในทวีปเอเชีย ที่ได้ครองรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน เป็นที่ยอมรับในวงการกีฬาเรือใบระดับโลก 

‘วันชาสากล’ วันที่เกษตรกรผู้ปลูกชา ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมในการค้าชา และเป็นวันแห่งเครื่องดื่มยอดนิยมของคนทั่วโลก!! 

วันที่ 15 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันชาสากล” (International Tea Day) ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยจุดเริ่มต้นของวันชาสากลมาจากเกษตรกรผู้ปลูกชากลุ่มเล็ก ๆ หลายกลุ่มในเบงกอลตะวันตกและหลายรัฐทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องถึงสิทธิและความชอบธรรมในการค้าชาของตนเอง

ในช่วงนั้นแม้ชาจะเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีการปลูกอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ แต่อุตสาหกรรมค้าชาในประเทศอินเดียกลับมีความอ่อนแอและบริหารจัดการได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เกษตรกรผู้ปลูกชากลุ่มเล็ก ๆ ในหลายพื้นที่ได้นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการปลูก ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตดีขึ้น ได้ผลิตผลเพิ่มมากขึ้น และชาที่ได้ก็มีคุณภาพดี

แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรเหล่านี้กลับไม่ได้รับความเป็นธรรมในการค้าขาย พวกเขาถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกกดราคา จนทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง จนกระทั่งองค์กรเพื่อการสื่อสารและการศึกษาของประเทศอินเดีย (CEC-Centre for Communication and Education) ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือสิทธิของเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยในประเทศ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาและได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ พวกเขาได้ร่วมมือกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติเข้ามาพัฒนาและช่วยเหลือเกษตรกรผู้ค้าชากลุ่มย่อย ๆ ให้ได้รับความเป็นธรรมในการค้าชาและทำให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้น

14 ธันวาคม ค.ศ. 1701 ‘วันแห่งการแก้แค้น ของ 47 โรนิน’

‘การแก้แค้นของ 47 โรนิน’ บางครั้งอาจเรียกว่า 'การแก้แค้นของ 47 ซามูไร' หรือ ‘เหตุการณ์เก็นโรกุอาโก’ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเอโดะในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์ชาวดัตช์ชื่อ ไอแซก ทิทซิงก์ กล่าวว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในวิถีบูชิโด 

เรื่องราวกล่าวถึงกลุ่มนักรบซามูไรจำนวน 47 คนในสังกัดของไดเมียวอาซาโนะ นางาโนริ ซึ่งถูกบังคับให้กระทำเซ็ปปูกุ (การฆ่าตัวตายโดยการคว้านท้อง) เมื่อปี ค.ศ. 1701 หลังจากบันดาลโทสะ ใช้ดาบทำร้ายคิระ โยชินากะ ข้าหลวงผู้มีอิทธิพลของโชกุนโทกูงาวะ สึนาโยชิ ที่ปราสาทมัตสึโอะโอโรกะ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top