Wednesday, 17 April 2024
TODAY SPECIAL

'พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5' ครั้งเสด็จเมืองตราด หลัง 'จังหวัดตราด' กลับคืนสู่พระราชอาณาเขตสยาม!! ในวันนี้เมื่อปี 2450

เนื่องในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสจังหวัดตราด ในโอกาสที่ได้กลับคืนสู่พระราชอาณาเขตอีกครั้ง หลังเสด็จกลับจากยุโรป ก่อนเสด็จนิวัตพระนคร ร.ศ. 126 หลังจากที่เมืองตราดถูกฝรั่งเศสยึดครองกว่า 2 ปี ด้วยน้ำพระทัยของพระพุทธเจ้าหลวงที่ทรงเห็นประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวสยามที่อยู่ใต้ร่มฉัตรของพระองค์โดยแท้

จังหวัดตราดเคยอยู่ใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส เป็นเวลา 2 ปีกว่า เหตุใด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 5 ทรงยอมยกเมือง พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่มีเนื้อที่ประมาณ 50,000 ตร.กม. ให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราดเล็ก ๆ ที่มีเนื้อที่ประมาณ 2,900 ตร.กม. จนได้กลับมาอยู่ใต้การปกครองของประเทศไทย ตามสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 (จังหวัดตราดถือเอาวันนี้เป็นวันตราดรำลึก) จากนั้น วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 มีพิธีส่งมอบเมืองตราดให้กับไทย ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ยุโรป ทรงมีราชโทรเลขกลับมาถึงชาวตราดว่า

เกิดเหตุโศกนาฏกรรม!! ‘เครื่องบินชนกันกลางอากาศ’ ที่จรรขีทาทรี เมื่อปี พ.ศ. 2539 นับได้ว่าเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ตามมาด้วยการสูญเสียกว่า 349 ชีวิต

ในวันนี้เมื่อปี 2539 ได้เกิดโศกนาฏกรรมกลางเวหาครั้งใหญ่ จากอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่ประเทศอินเดีย โดยตำแหน่งที่เกิดเหตุ อยู่ใกล้กับเมืองจรรขีทาทรี รัฐหรยาณา

ลำหนึ่ง เป็นเครื่องบินโบอิง 747 ของ ‘สายการบินซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์’ เที่ยวบินที่ 763 ที่ที่กำลังจะบินขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติ ‘อินทิรา คานธี’ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เพื่อมุ่งหน้าไป ‘ซาอุดีอาระเบีย’

ส่วนอีกลำหนึ่ง คือ เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76 ของ ‘สายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์’ เที่ยวบินที่ 1907 ที่กำลังจะลงจอดที่ท่าอากาศยาน ‘อินทิรา คานธี’

โดยในส่วนของเครื่องบินโบอิง 747 นั้น ขณะที่เกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีผู้โดยสาร 289 คน และลูกเรือ 23 คน ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ที่ประกอบไปด้วยผู้เดินทางไปทำงานและไปแสวงบุญที่ซาอุดีอาระเบีย รวมถึงยังมีชาวต่างชาตินอกเหนือจากอินเดียและซาอุดีอาระเบียอยู่ด้วยอีก 17 คน

ส่วนเที่ยวบินที่ 1907 ซึ่งเป็นเที่ยวบินเหมาลำเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติชิมเคนต์ เมืองชิมเคนต์ ทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน มีคนบนเครื่องบินเพียง 37 คน โดยเป็นลูกเรือ 10 คน และผู้โดยสาร 27 คน

>> 5 ไทม์ไลน์ช่วงเวลาระทึกขวัญ!!

1.) คาซัคสถานแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 1907 ใกล้ถึงท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี ได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของเดลีตามปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่สั่งให้เที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงมาที่ 15,000 ฟุต 

2.) ขณะเดียวกัน ด้าน ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 763 ก็ได้ทำการขึ้นบินจากท่าอากาศยาน และมุ่งหน้าไปในเส้นทางบินเดียวกัน ซึ่งกำลังจะสวนทางกับเที่ยวบินที่ 1907 โดยไต่ระดับขึ้นไปที่ 14,000 ฟุต

3.) เสี้ยวนาทีนั้น เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งเตือนให้เที่ยวบินที่ 1907 ทราบว่า มีเที่ยวบินที่ 763 กำลังมุ่งหน้าสวนทางกัน และให้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต

4.) แต่อันที่จริงแล้วเที่ยวบินที่ 1907 ไม่ได้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต หากแต่กำลังลดระดับลงมา โดยในขณะนั้นอยู่ที่ระดับความสูง 14,500 ฟุตและกำลังลดระดับลงไปอีก

5.) มัจจุราชมาเยือน เมื่อเที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงไปอีกประมาณ 310 ฟุต ทำให้เกิดการปะทะกับเที่ยวบิน 763 เข้าอย่างจัง เครื่องทั้งสองแตกระเบิดเป็นเสี่ยง ๆ

รำลึก! วันนี้ในอดีตเมื่อ 113 ปีก่อน "พระปิยมหาราช" เสด็จฯ เปิดและวางศิลาฤกษ์ "พระบรมรูปทรงม้า" ในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 40 ปี

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า ตั้งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนำแบบอย่างมาจากพระบรมรูปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่กรุงปารีส ด้วยฝีมือนายช่างชาวฝรั่งเศส บริษัท ซุซ แฟรส์ ฟองเดอร์ (Susse Frères Fondeur) ในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2450

พระองค์เสด็จประทับ ให้ช่างปั้นชื่อ จอร์จ เซาโล (Georges Saulo) ปั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2450 พระบรมรูปสำเร็จเรียบร้อยส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 อันเป็นเวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ 40 ปี เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองหน้าพระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง

พระบรมรูปทรงม้าสร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน ส่วนเงินที่เหลือเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำไปสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย

สำหรับองค์พระบรมรูปทรงม้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปทำการตกลงและเลือกชนิดโลหะด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังเสด็จไปประทับเป็นแบบให้นายช่างปั้นหุ่น ขณะเสด็จประทับอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระรูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง เสด็จประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง โดยม้าพระที่นั่งนั้นมิใช่ปั้นจากแบบม้าพระที่นั่งจริง แต่เป็นม้าที่บริษัทได้ปั้นเป็นแบบเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว

วันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2531 คนไทยรวมพลังทวงคืน 'ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์' กลับมาได้! หลังถูกโจรกรรมร่วม 30 ปี

10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทับหลังศิลาโบราณวัตถุล้ำค่าของไทย ซึ่งถูกลักลอบนำไปจากปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเวลาเกือบ 30 ปี กลับคืนสู่ไทยอีกครั้ง โบราณวัตถุชิ้นนี้เป็นประติมากรรมศิลาจำหลักบนทับหลังประตูของปรางค์ประธาน ด้านทิศตะวันออกของปราสาทหินพนมรุ้ง 

โบราณวัตถุชิ้นนี้ มานิต วัลลิโภดม ภัณฑารักษ์พิเศษแห่งกรมศิลปากร ได้สำรวจและบันทึกภาพไว้เมื่อ พ.ศ. 2503 ปรากฏว่าทับหลังชิ้นนี้นั้น หักออกเป็นสองท่อน ตกอยู่ที่เชิงประตูปรางค์ประธาน และต่อมาทับหลังทั้งสองชิ้น ได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย 
 

ลอบสังหาร ‘จอมพล ป.’ โดยฝีมือคนใกล้ชิด รอดหวุดหวิดก่อนได้สมญา ‘จอมพลกระดูกเหล็ก’

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น ซึ่งเป็นวันที่พันเอกหลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ถูกลอบสังหารอีกเป็น ‘ครั้งที่ 2’ โดยการใช้ปืนยิง ซึ่งในวันที่ถูกยิงเป็นช่วงเวลาหลังการยุบสภาและก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และแม้ว่าหลวงพิบูลสงคราม ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งโดยตรง เพราะตัวท่านเองไม่ได้ลงเลือกตั้ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าท่านเองเป็นนักการเมืองที่มีอำนาจมากที่สุดโดยฐานสนับสนุนทางกองทัพ

ซึ่งเหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งนี้เกิดขึ้นตอนค่ำของวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ที่บ้านพักนายทหารของท่านเอง ในกรมทหารปืนใหญ่บางซื่อ ขณะที่หลวงพิบูลสงครามและภริยากำลังแต่งตัวจะไปงานเลี้ยงรับรองที่กระทรวงกลาโหม นายลี บุญตา เป็นคนสวนและคนขับรถในบ้านได้แอบเอาปืนพกของคุณหลวงพิบูลสงครามเองที่ท่านวางไว้ในรถออกมาลอบยิงท่าน 

บังเอิญท่านกำลังยืนแต่งตัวอยู่หน้ากระจกส่องหน้าจึงได้มองเห็นก่อนที่นายลี บุญตา จะลั่นไกกระสุนนัดแรก เมื่อนัดแรกพลาด ท่านจึงวิ่งหลบออกจากห้อง โดยนายลี บุญตา พยายามวิ่งไล่และยิงซ้ำอีก แต่กระสุนก็พลาดเป้า และทหารติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายทหารคนสนิทของรัฐมนตรี คือ ร.อ.เผ่า ศรียานนท์ ได้วิ่งเข้าไปจับตัวมือปืนเอาไว้ได้

มือปืนรายนี้ถูกจับดำเนินคดีโยงเข้ากับกลุ่มกบฏพระยาทรงสุรเดช แต่จากคำให้การของ นายลี บุญตา นั้นดูจะเป็นเรื่องแปลก นายลี บอกว่า

“ได้อยู่กับหลวงพิบูลมา 7 ปีแล้ว ได้เงินเดือนครั้งแรก 6 บาทและขึ้นมาเป็นลำดับจนถึงวันเกิดเหตุได้เดือนละ 25 บาท หลวงพิบูลเป็นคนใจคอดี ไม่เคยดุด่าว่าจำเลยแต่อย่างใดเลย วันเกิดเหตุได้ยิงหลวงพิบูลสงคราม 2 นัดจริง นัดแรกยิงเมื่อหลวงพิบูลสงครามได้วิ่งเข้าไปอยู่อีกห้องหนึ่งแล้วปิดประตู จำเลยได้ผลักประตูตามเข้าไปยิงอีก คนที่อยู่ในห้องนั้นตลอดจนหญิงและเด็ก ต่างร้องเสียงเกรียวกราว แล้วจึงมีนายร้อยตรี ผล มาตวัดคอ แย่งปืนไป การที่ยิงนั้นเพราะเมาและไม่ได้ตั้งใจจะยิง”

โดยจากการที่ นายลี บุญตา อ้างว่า “เมา” และ “ไม่ได้ตั้งใจยิง” นั้นมีความผิดปกติไม่น้อย จาการอ้างว่าไม่ได้ตั้งใจยิงหากแต่ยิงออกไปถึง 2 นัด แต่ขณะเดียวกันก็ยิงไม่โดนทั้ง 2 นัด ซึ่งดูสมเหตุสมผลกับสิ่งที่นายลี อ้างว่าตนเองนั้นเมา แต่การเมาไปหยิบปืนของนายพันเอกหลวงพิบูลสงครามมาได้อย่างไรเหมือนรู้ และถ้าไปดูคำให้การของนายทหารติดตามรัฐมนตรีที่แย่งปืนมาได้ก็ให้การว่า นายลี บุญตา วิ่งไล่ยิงเจ้านายของตัว จนวิ่งหนีแทบไม่ทัน

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 

โดยเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 96 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 14 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

โดยตลอดรัชสมัยพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง โปรดให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรี ทรงตรากฎหมายเพื่อควบคุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน ระบบเทศบาล ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรมนั้น พระองค์โปรดให้สร้างหอพระสมุด ทรงปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 

วันนี้เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ‘ในหลวงรัชกาลที่ 9’ เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ครั้งใหญ่ซึ่งเป็นที่จดจำ คือ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ใหญ่) เฉลิมฉลองในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 

ซึ่งทรงครองราชย์นานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในอดีต โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 อย่างยิ่งใหญ่ โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม

ซึ่งขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งนี้ได้มีการจัดริ้วขบวนอย่างยิ่งใหญ่และสง่างาม อีกทั้งยังมีเรือพระราชพิธีลำใหม่ คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งกองทัพเรือและกรมศิลปากรร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

โดยได้นำโขนหรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 มาเป็นแม่แบบ ซึ่งกองทัพเรือได้ดำเนินการสร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างของตัวเรือ พายและคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากรดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับศิลปกรรมของเรือทั้งหมด

โดยหัวเรือพระที่นั่ง จำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ ซึ่งได้แสดงรูปพระวิษณุและลักษณะอันโดดเด่นของพระองค์ เช่น พระวรกายคล้ำ ในพระกรทั้ง 4 ทรงถือจักร สังข์ คทา และตรีศูล ประทับบนครุฑยุดนาค หรือครุฑที่จับนาค 2 ตัวชูขึ้น

ตามคัมภีร์ปุราณะ ครุฑกับนาคเป็นศัตรูกัน แต่ทั้งสองก็รับใช้พระวิษณุ ครุฑ เจ้าแห่งนกทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของท้องฟ้า นาค เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของน้ำ เมื่อพระวิษณุอยู่เหนือครุฑและนาค ย่อมแสดงว่าพระองค์ทรงมีพลังในการพิทักษ์ปกป้องโลกทั้งมวล
 

วันนี้เมื่อปี 2540 “พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ” ตัดสินใจประกาศลาออกจากการเป็น “นายกรัฐมนตรี” ของประเทศไทย จากแรงกดดันสืบเนื่องจาก ‘วิกฤติต้มยำกุ้ง’

วันนี้เมื่อ 20 ปีก่อน คือวันที่ ‘พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ’ ตัดสินใจประกาศลาออกจากการเป็น “นายกรัฐมนตรี” ของประเทศไทย ด้วยสาเหตุจากแรงกดดันจากผลสืบเนื่องของวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่สะท้อนการบริหารงานที่หลายคนใช้คำว่า “ล้มเหลว!”

ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ได้เกิดเหตุประชาชนชาวไทย กว่า 5,000 คน ชุมนุมบริเวณถนนสีลมเพื่อเรียกร้องให้ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยระบุ ว่าเป็นเพราะการบริหารผิดพลาด ประกาศลอยตัวเงินบาท ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลาดหลักทรัพย์ สถาบันการเงิน ราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จนบานปลายกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจกินวงกว้าง ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย จนหลายคนเรียกวิกฤติครั้งนี้ว่า “ฟองสบู่แตก” หรือ “ต้มยำกุ้งดีซีส” (Tomyamkung disease)

ย้อนรอยไปต้นเรื่อง หลังจากที่ “บิ๊กจิ๋ว” ที่เบนเส้นทางจากทหารมาสู่ถนนการเมือง และได้ชื่อว่า “รุ่งสุด ๆ” เพราะยังเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ตั้งแต่ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร กระทั่งตัดสินใจก่อตั้ง และนั่งเป็นหัวหน้าพรรคความหวังใหม่คนแรก และยังมีคะแนนเสียงหนาแน่นใน จ.นครพนม พอมาปลายปี 2539 พล.อ.ชวลิต นำพาพรรคความหวังใหม่ชนะเลือกตั้ง และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้สมใจ โดยมีพรรคชาติไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ รวมตัวกันในซีกฝ่ายค้าน

วันนั้นบิ๊กจิ๋วบอกว่าจะมาแก้วิกฤติ กับคำขวัญ “ถึงเวลาอยู่ดีกินดี” โดยมี อำนวย วีรวรรณ เป็นหัวหน้าดรีมทีมเศรษฐกิจ และ ดร.ทนง พิทยะ แต่แล้วใครจะคาดคิด เมื่อ ดร.ทนง พิทนะ รัฐมนตรีคลังขณะนั้น ยื่นเอกสารลอยตัวค่าเงินบาทให้บิ๊กจิ๋วเซ็นแกร๊ก! ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 จนสร้างความเสียหายกลายเป็นวิกฤติการณ์ทางการเงินตามที่เกริ่นไว้ข้างต้น จริงอยู่ที่หลายคน หลายฝ่าย พยายามหาต้นเหตุที่แท้จริงของเรื่องนี้ เพราะว่ากันว่า วิกฤติครั้งนี้ ใครนั่งนายกฯ เวลานั้นก็ต้องเซ็นแบบนั้น

โดยหากย้อนไปก่อนหน้านั้น ราวปี พ.ศ. 2536 รัฐบาลไทยประกาศนโยบาย BIBF (Bangkok International Banking Facilities) มีเป้าหมายเพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค สิ่งที่เกิดขึ้น พูดง่าย ๆ คือ จากที่เคยควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด กลายเป็นเสรี ที่ใครจะย้ายจะโอนเงินเข้าหรือออกจากประเทศไทยได้เต็มที่ ซึ่ง ณ ขณะนั้น ดอกเบี้ยเงินกู้ในสถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ในไทย อยู่ในอัตราที่สูง ประมาณ 14-17% ต่อปี แต่อีกฟากหนึ่ง ดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินของต่างชาติ เวลานั้นถูกมากแค่ 5%

วันคล้ายวันถึงแก่พิราลัย “เจ้าจักรคำขจรศักดิ์” เจ้าหลวงลำพูนองค์สุดท้าย แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร และนับเป็นเจ้าประเทศราชองค์สุดท้ายของประเทศไทย

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยจักรคำ ณ ลำพูน ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2417 เป็นราชโอรสในเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 กับแม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้ว (อิศรเสนา) และเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ในเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 กับแม่เจ้าปิมปา มีราชภคินีและราชขนิษฐา ร่วมราชมารดา 2 พระองค์ มีนามตามลำดับ ดังนี้  เจ้าหญิงมุกดา ณ ลำพูน - ชายา "เจ้าราชภาคินัย น้อยเมืองไทย ณ ลำพูน, เจ้าราชภาคินัยนครลำพูน" (ราชภคินี), เจ้าหญิงหล้า ณ ลำพูน - ชายา "เจ้าน้อยจิตตะ ณ ลำพูน" ภายหลังเป็น ชายา "เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ น้อยพุทธวงศ์ ณ เชียงใหม่, เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์นครลำพูน" (ราชขนิษฐา)

เจ้าน้อยจักรคำได้ดำรงอิสริยยศเป็นเจ้าบุรีรัตน เมื่อเจ้าอินทยงยศโชติถึงแก่พิราลัย จึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รั้งนครลำพูนสืบต่อมา จนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้านครลำพูน มีราชทินนามว่า เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ อรรคสัตยาทิคุณ หริภุญไชยรัษฎาธิวาส ประชาราษฎร์บริบาล ธาตุเจติยสถานบูชากร ลำพูนนครเชษฐกุลวงษ์ จำนงภักดีนราธิปก เอกัจโยนกชนาธิบดี

หายนะชายฝั่งอ่าวไทย "พายุไต้ฝุ่นเกย์" พายุลูกประวัติศาสตร์ที่เข้าถล่มไทย ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 ชีวิต

เหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นเกย์ พายุไต้ฝุ่นลูกแรกที่พัดเข้าสู่ประเทศไทย และเป็นพายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุด ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 500 คน และประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 150,000 คน 

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2532 พายุดีเปรสชั่นที่ก่อตัวในอ่าวไทยตอนล่าง เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ได้เคลื่อนตัวขึ้นเหนือและทวีกำลังรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน 

ก่อนจะกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน โดยเมื่อเวลา 08.30 น. พายุไต้ฝุ่นเกย์เคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนบนด้วยความเร็ว 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วของพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เข้าถล่มอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ บางสะพานน้อย และบางสะพาน ก่อนขึ้นฝั่งที่อำเภอท่าแซะ และปะทิว จังหวัดชุมพรทำให้เกิดคลื่นพายุซัดฝั่งที่ อำเภอบางสะพานน้อย บางสะพาน ท่าแซะ และปะทิว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top